บทที่ 12
พระเยซูกับพระยาห์เวห์ในประสบการณ์ของเรา
รูปเคารพของชนอิสราเอล
ก่อนจะกล่าวถึงเรื่องหลักของบทนี้ ผมอยากใช้เวลาที่จะให้คำตอบที่สมบูรณ์มากขึ้นกับคำถามว่าเพราะเหตุใดชื่อ “พระยาห์เวห์” จึงไม่ได้ถูกกล่าวถึงในพระคัมภีร์ใหม่
หลังจากช่วงของโมเสสไม่นานและที่จริงก็ตั้งแต่ในช่วงของโมเสสแล้ว ชนอิสราเอลได้จมอยู่กับการไหว้รูปเคารพซึ่งเรารู้จักกันดีจากเรื่องของการกราบไหว้รูปโคทองคำ แม้จะมีความพยายามและการต่อสู้อย่างมากที่จะสอนประชาชนอิสราเอลให้นมัสการพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียวคือพระยาห์เวห์ มันก็ไม่ได้เป็นบทเรียนให้พวกเขาได้เรียนรู้กัน ก่อนที่จะนำแผ่นบัญญัติสิบประการลงมาจากภูเขาซีนายไม่นาน ชนอิสราเอลก็นมัสการโค[1]ทองคำกันแล้ว ในโลกยุคโบราณ โคเป็นสัญลักษณ์ของพระต่างๆรวมทั้งพระบาอัล[2]
จากประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของการไหว้รูปเคารพในอิสราเอลนั้นใครก็เข้าใจได้ไม่ยากว่าการไหว้รูปเคารพได้ฝังแน่นอยู่ในวิสัยของมนุษย์ ใจของมนุษย์ดูจะไม่สามารถจดจ่อกับพระเจ้าและมักจะหันเหไปนมัสการสิ่งอื่นเสมอ นั่นเป็นด้านความนึกคิดในจิตวิญญาณที่ยากจะเข้าใจ ทำไมมนุษย์จึงไม่สามารถจดจ่ออยู่กับพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียวได้? ทำไมเราจึงมองหาพระอื่นมานมัสการเสมอ?
ในเหตุการณ์ของโคทองคำนั้น โทสะของโมเสสพลุ่งขึ้นต่อชนอิสราเอล (อพยพ 32:19) เพราะพวกเขาได้ละทิ้งพระยาห์เวห์พระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียวที่โมเสสมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีโดยส่วนตัว นี่คือพระเจ้าที่ได้เปิดเผยพระองค์เองกับโมเสสว่าเป็นผู้ที่ดำรงอยู่และพระนามของพระองค์คือ “ยาห์เวห์” พระนามที่เผยให้เห็นพระเจ้าผู้ทรงเป็นแหล่งที่มาและแหล่งกำเนิดของสิ่งที่ดำรงอยู่ทั้งสิ้น พระเจ้าเป็นผู้ที่เป็นและจะเป็นตลอดไป ในพระองค์มีรูปกริยาเป็นอนาคตกาลและไม่ใช่อดีตกาล แต่มนุษย์ดำเนินอยู่ในกาลเวลา ทุกวินาทีใหม่จะนำเราก้าวเข้าไปในอนาคตเหมือนว่าชีวิตต้องไล่ตามอนาคตเสมอ เมื่อผมพูดประโยคนี้จบผมก็ได้ก้าวเข้าไปในอนาคตภายในช่วงไม่กี่วินาที แต่อนาคตอยู่ในการควบคุมของพระเจ้าผู้ที่ “เราจะเป็นผู้ที่เราจะเป็น”
โมเสสพบกับพระเจ้าที่พุ่มไม้มีไฟลุกโชนและมีประสบการณ์อย่างลึกซึ้งกับพระองค์ แต่คนอิสราเอลก็ไม่มีความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงเกี่ยวกับพระเจ้า และภายในระยะเวลาอันสั้นพวกเขาก็ได้หล่อรูปเคารพเป็นรูปโคหนุ่มขึ้น (อพยพ 32:4)[3] เมื่อลงมาจากภูเขา โมเสสจึงเกิดโทสะและบดรูปเคารพเป็นผงเพื่อไม่ให้เหลือร่องรอย (ข้อ 19-20)[4] แต่นั่นก็ไม่ได้ช่วยหยุดยั้งอิสราเอลจากการหันไปไหว้รูปเคารพได้
แก่นแท้ของการไหว้รูปเคารพคือการนมัสการวัตถุหนึ่งหรือบุคคลหนึ่งที่ไม่ใช่พระเจ้าที่แท้จริง ในประวัติศาสตร์ของอารยธรรมต่างๆผู้ครองบางคนได้ตั้งตนเองให้คนกราบไหว้นมัสการ ในจักรวรรดิโรมันก็มีการนมัสการซีซาร์เป็นพระเจ้า มีการเผาเครื่องเซ่นไหว้ต่อหน้ารูปของซีซาร์เพื่อเป็นการนมัสการ คริสเตียนจำนวนมากถูกลงโทษถึงตายเพราะไม่ยอมเผาเครื่องเซ่นไหว้แก่ซีซาร์ พวกเขาแน่วแน่ในความจงรักภักดีต่อพระเจ้าแม้ว่าจะต้องตายอย่างเจ็บปวดทรมานเพราะไม่ยอมกราบไหว้ซีซาร์ของโรมันซึ่งคล้ายกันมากกับฮ่องเต้ของจีน (ผู้เป็น “บุตรจากสวรรค์”)[5]
ชาวอิสราเอลมักจะกลับไปกราบไหว้รูปเคารพเสมอ การปฏิรูปของกษัตริย์เฮเซคียาห์และการรณรงค์ต้านการไหว้รูปเคารพของพระองค์เป็นความสำเร็จแค่พอประมาณ โยสิยาห์ไปไกลกว่าเฮเซคียาห์ในการกำจัดรูปเคารพให้สิ้นซากแต่ก็เป็นความสำเร็จในช่วงสั้นๆ ทันทีที่โยสิยาห์สิ้นชีวิต ทั้งชาติก็หวนกลับไปไหว้รูปเคารพอีก และภายในเวลาสองศตวรรษ ยูดาห์ที่เป็นอาณาจักรใต้ก็ถูกพวกบาบิโลนทำลายล้างเหมือนกับที่พระเจ้าทรงเตือนผ่านบรรดาผู้เผยพระวจนะ ชาติอิสราเอลก็ไม่มีอีกต่อไปเพราะก่อนหน้านั้นนานมาแล้วอาณาจักรเหนือของอิสราเอลก็ถูกอัสซีเรียทำลายไป
ชนอิสราเอลมีใจเอนเอียงที่จะไหว้รูปเคารพ เมื่อเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวทุกครั้งพวกเขาก็จะนมัสการพระแม่โพสพ (เทพีแห่งการเก็บเกี่ยว)[6] และขอบคุณเธอหรือพระบาอัลผู้เป็นเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ในการเก็บเกี่ยว ใครๆอาจคิดว่าผู้ได้เห็นการเลี้ยงดูและการอัศจรรย์ของพระเจ้าในถิ่นทุรกันดารจะฉลาดพอที่จะไม่ไปนมัสการพระอื่นๆ แต่ทันทีที่ชนอิสราเอลข้ามไปในคานาอันพวกเขาก็เริ่มนมัสการพระต่างๆของชาวคานาอัน หลังจากหลายศตวรรษที่ไหว้รูปเคารพแบบกู่ไม่กลับ ชาติอิสราเอลก็ถูกลบออกจากแผนที่ในศตวรรษที่หกก่อนคริสตกาลและประชากรก็ถูกเนรเทศไปยังดินแดนต่างชาติ
ความกลัวที่จะออกเสียงพระนามของพระเจ้า
ชนอิสราเอลถูกเนรเทศเป็นเวลา 70 ปี ทุกอย่างเป็นไปตามที่ผู้เผยพระวจนะได้เตือนไว้ (2 พงศาวดาร 36:21, เยเรมีย์ 29:10)[7] ช่วงของการเป็นเชลยเป็นช่วงเวลาในการชำระล้างและการทำให้บริสุทธิ์ การที่จะทำให้ชนอิสราเอลรู้สึกตัวได้ก็ต้องใช้ชาติมหาอำนาจโบราณอย่างอัสซีเรีย บาบิโลน และอียิปต์มาทำลายชาติอิสราเอลและถูกเนรเทศในต่างแดน ในที่สุดเมื่อพวกเขากลับมาอิสราเอลหลังจากถูกเนรเทศ พวกเขาจึงมองย้อนดูความทุกข์ยากทั้งสิ้นของพวกเขา มองดูความหายนะ ความอัปยศอดสู การเข่นฆ่า และการที่พวกเขาถูกเนรเทศไปยังต่างแดน พวกเขาจึงตระหนักว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นก็เพราะพวกเขาได้หันเหไปจากพระยาห์เวห์
หลังกลับจากการถูกเนรเทศ พวกเขาก็เข้าสู่ช่วงใหม่ในประวัติศาสตร์ของอิสราเอลในช่วงที่คนอิสราเอลปฏิเสธอย่างแน่วแน่ที่จะไม่นมัสการพระอื่นใดนอกจากพระยาห์เวห์ จากนั้นเรื่อยมาอิสราเอลก็คงความเชื่อในพระเจ้าเพียงองค์เดียวอย่างเคร่งครัดและไม่นับถือรูปเคารพหรือเชื่อในพระเจ้าหลายองค์อีกต่อไป คนอิสราเอลเริ่มท่อง “ชามา”[8]ทุกวัน “ชามา” (คำฮีบรูหมายถึง “จงฟัง”) เป็นคำแรกของเฉลยธรรมบัญญัติ 6:4 “จงฟังเถิด โอ คนอิสราเอล พระยาห์เวห์พระเจ้าของเรา พระยาห์เวห์ทรงเป็นหนึ่ง”[9] (Hear O Israel, the Lord our God, the Lord is one) คำ “Lord” ตรงนี้ในภาษาฮีบรูคือคำ “ยาห์เวห์” เป็นชื่อเฉพาะของพระเจ้า แม้ในทุกวันนี้ชาวยิวทุกคนที่เคร่งศาสนาก็ยังท่อง “ชามา” นี้ทุกวัน
หลังจากการถูกเนรเทศ ความเชื่อในพระเจ้าเพียงองค์เดียวก็ตั้งมั่นอยู่ในอิสราเอล คนเริ่มเกรงกลัวและยำเกรงพระเจ้าจนถึงขนาดไม่ออกเสียงชื่อ “ยาห์เวห์” แต่ก็ไม่มีหลักฐานทางพระคัมภีร์ที่ห้ามออกเสียงพระนามของพระเจ้า เพราะพระเจ้าได้ตรัสกับโมเสสว่า “นี่เป็นนามของเราชั่วนิรันดร์ เป็นนามที่พวกเจ้าจะเรียกเราตลอดทุกชั่วอายุ” (อพยพ 3:15) พระเจ้ายังตรัสอีกว่า “เราได้ไว้ชีวิตเจ้าก็เพื่อจุดประสงค์ข้อนี้เอง คือเพื่อเราจะได้สำแดงฤทธิ์อำนาจของเราแก่เจ้า และเพื่อนามของเราจะเลื่องลือไปทั่วโลก” (อพยพ 9:16) โมเสสกล่าวว่า “ข้าพเจ้าจะประกาศพระนามของพระยาห์เวห์ ขอสดุดีความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าของเรา!” (เฉลยธรรมบัญญัติ 32:3) พระเจ้าบอกชนอิสราเอลว่าเมื่อพวกเขาสาบานในพระนามของพระองค์ พวกเขาจะต้องไม่สาบานเท็จ (เลวีนิติ 19:12)[10] ผู้เขียนสดุดีเขียนไว้ว่า “จงขอบพระคุณองค์พระผู้เป็นเจ้า และร้องทูลออกพระนามของพระองค์ ให้ประชาชาติทั้งหลายได้รู้ถึงสิ่งที่พระองค์ทรงทำ” (สดุดี 105:1 ข้ออ้างอิงในย่อหน้านี้มาจากฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)
ธรรมบัญญัติสั่งให้คนอิสราเอลประกาศพระนามของพระเจ้า แต่หลังจากที่ถูกเนรเทศ พวกเขาก็ไม่กล้าเอ่ยพระนามของพระเจ้าอีกต่อไป ไม่มีตัวอย่างพระคัมภีร์หรือแม้แต่ประวัติศาสตร์ในเรื่องนี้มาก่อน ก่อนการถูกเนรเทศชาวอิสราเอลจะอ่านออกเสียงพระนามพระยาห์เวห์ซึ่งจะพบในเกือบทุกหน้าของพระคัมภีร์ของพวกเขาไปจนถึงข้อสุดท้ายของมาลาคี แต่หลังจากการถูกเนรเทศพวกเขาก็ไม่ออกเสียงพระนามของพระองค์อีกต่อไป ด้วยความเกรงกลัวและความยำเกรงพระยาห์เวห์ครั้งใหม่นี้พวกเขาตระหนักดีว่าถ้าพวกเขาทำบาปต่อพระองค์อีก พวกเขาก็จะถูกทำลายชาติอีกครั้ง พวกเขาไม่อยากจะถูกเนรเทศอีก ดังนั้นพวกเขาจึงไม่เอ่ยพระนามของพระเจ้า และแทนที่พวกเขาจะเรียกพระองค์ว่า “พระยาห์เวห์” พวกเขาก็เรียกพระองค์ว่า “อาโดนาย” (องค์ผู้เป็นเจ้า)[11]แทน
เหตุที่ไม่มีการกล่าวชื่อ “พระยาห์เวห์” ก็เพราะพระคัมภีร์ภาษากรีกฉบับเซปทัวจินต์[12]ฉบับที่สำคัญสุดที่แปลจากพระคัมภีร์ฮีบรูในศตวรรษที่หนึ่งและสองก่อนคริสตกาลนั้นไม่ได้ทับศัพท์ชื่อ “ยาห์เวห์” แต่ได้แปลคำ “ยาห์เวห์” และ “อาโดนาย” เป็นคำว่า “คูริออส” (“kurios” หรือ “Lord”) พระคัมภีร์ฉบับเซปทัวจินต์ทำตามวิธีปฏิบัติของสมัยนั้นซึ่งได้เริ่มขึ้นสองสามศตวรรษก่อนหน้านี้
พระนามของพระเจ้าในยุคของพระคัมภีร์ใหม่
ในยุคของพระคัมภีร์ใหม่ เซปทัวจินต์ได้กลายเป็นพระคัมภีร์ที่มีอิทธิพลในหมู่ชาวยิว (แม้จะมีพระคัมภีร์ภาษากรีกอีกสองสามฉบับที่นิยมน้อยกว่า) การที่ “Yahweh” (ยาห์เวห์) และ “Adonai” (อาโดนาย) ถูกแปลมาเป็น “Lord” (องค์ผู้เป็นเจ้า) ในฉบับเซปทัวจินต์จึงทำให้ชื่อ “Yahweh” (ยาห์เวห์) หายไปจากพระคัมภีร์ แต่พวกยิวรู้มาโดยตลอดว่าพระยาห์เวห์เป็นใคร เมื่อคนยิวพูดถึง “พระเจ้า” หรือ “พระบิดา” เขาจะหมายถึงพระยาห์เวห์เสมอ ทุกคนต่างรู้ว่าพระเจ้าถูกเรียกว่าพระยาห์เวห์แม้จะไม่ได้ใช้คำว่า “ยาห์เวห์” ในพระคัมภีร์ก็ตาม
นั่นคือเหตุผลว่าพระคัมภีร์ใหม่จึงไม่มีการเอ่ยถึงชื่อ “ยาห์เวห์” การไม่มีชื่อ “ยาห์เวห์” ปรากฏอยู่ไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่กับคนยิวเพราะเขารู้ว่าพระเจ้าคือพระยาห์เวห์ เมื่อใดก็ตามที่เปาโลพูดถึง “พระเจ้า” หรือ “พระบิดา” หรือ “องค์ผู้เป็นเจ้า” (เมื่อพูดถึงพระเจ้า) เขาจะหมายถึงพระยาห์เวห์เสมอ เขายังได้บอกชาวต่างชาติในโครินธ์ว่าพระเจ้าคือ “พระเจ้าพระบิดาของเรา” (1 โครินธ์ 1:3)[13] เพราะคนต่างชาติไม่เข้าใจว่าความสัมพันธ์ของพวกเขากับพระยาห์เวห์นั้นเป็นเหมือนบุตรกับบิดา แต่ในหมู่ชาวยิวในศตวรรษแรกแล้วไม่มีความจำเป็นต้องสะกดชื่อ “พระยาห์เวห์” ไว้ในพระคัมภีร์ใหม่
แต่พอมาถึงศตวรรษที่สาม การไม่มีชื่อของ “พระยาห์เวห์” ปรากฏในพระคัมภีร์ใหม่ได้กลายเป็นปัญหาร้ายแรงเพราะพระเยซูกำลังถูกยกให้อยู่ในระดับเดียวกับพระยาห์เวห์ การใช้คำ “องค์ผู้เป็นเจ้า” กับทั้งพระยาห์เวห์และพระเยซูทำให้เพิ่มความสับสนแม้ว่าเดิมทีจะมีความหมายที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่ความคิดของคนต่างชาติไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่างสองความหมายของคำ “องค์ผู้เป็นเจ้า” ที่ต่างกันซึ่งต่างจากชาวยิวที่รู้ความแตกต่างระหว่าง “องค์ผู้เป็นเจ้า”(Lord) ที่หมายถึงพระยาห์เวห์ และ “องค์ผู้เป็นเจ้า” (Lord) ที่หมายถึงพระเยซูและ “ท่าน”[14] (Lord) ที่หมายถึงอาจารย์หรือบุคคลที่น่านับถือ ยิ่งกว่านั้นผู้หญิงยังเรียกสามีของเธอว่า “นาย”[15] (lord) คำเรียก “องค์ผู้เป็นเจ้า” (Lord) ที่มีความหมายต่างๆนี้ก็เริ่มสร้างความสับสนให้กับความคิดของคนต่างชาติแม้ว่าจะไม่ได้มีปัญหากับความคิดของคนยิว
รูปที่ 1 แสดงให้เห็นความหมายต่างๆของคำ “Lord” (องค์ผู้เป็นเจ้า) ตัวอักษรจีน “人” ในวงกลมด้านล่างหมายถึง “มนุษย์”
ที่เห็นในรูปที่ 1 พระยาห์เวห์ถูกเรียกว่า “ลอร์ด” (Lord, องค์ผู้เป็นเจ้า หรือองค์เจ้านาย) พระคริสต์ก็ถูกเรียกว่า “ลอร์ด” (Lord, องค์ผู้เป็นเจ้า หรือองค์เจ้านาย) และสามีหรือผู้นำก็ถูกเรียกว่า “ลอร์ด” (lord, นาย หรือเจ้านาย) 1 เปโตร 3:6[16] (เปรียบเทียบปฐมกาล 18:12) บอกเราว่าซาราห์เรียกอับราฮัมสามีของเธอว่า “ลอร์ด”[17] (Lord หรือ ) ซึ่งเป็นคำกรีกคำเดียวกับ “องค์ผู้เป็นเจ้า” เหมือนคำเรียกพระเยซูและคำเรียกพระยาห์เวห์ ในพระคัมภีร์ใหม่มีตัวอย่างของหลายคนที่เรียกพระเยซูว่า “ลอร์ด” (Lord, องค์ผู้เป็นเจ้า) ในความหมายของอาจารย์หรือบุคคลที่เคารพนับถือ บางครั้งในพระกิตติคุณยอห์นเมื่อใช้คำภาษากรีกว่า “ลอร์ด” (Lord) กับพระเยซู พระคัมภีร์ภาษาอังกฤษจะแปลว่า “เซอร์” ( “Sir” เช่น ยอห์น 4:11, 15, 19, 49)
การไม่แยกให้เห็นความหมายที่แตกต่างกันของคำ “ลอร์ด” (Lord) ก่อให้เกิดความสับสนอย่างมากในคริสตจักรของคนต่างชาติ ความสับสนนี้ไม่ได้เกิดมาจากพระคัมภีร์ฮีบรูซึ่งสอนไว้อย่างชัดเจนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นนอกจากพระยาห์เวห์ (เช่น “นอกจากเราแล้ว ไม่มีพระเจ้าอื่นใด” อิสยาห์ 44:6, 8)[19]
ลูกโซ่ของผู้มีอำนาจ
คำเรียก “ลอร์ด” (Lord) ระบุระดับของผู้มีอำนาจที่อยู่ในลูกโซ่ของผู้มีอำนาจที่มีภายในครอบครัว (ซึ่งรวมถึงพระกายของพระคริสต์) เราจะเห็นสิ่งที่คล้ายกันใน 1 โครินธ์ 11:3 “แต่ขอให้ท่านตระหนักว่า พระคริสต์ทรงเป็นศีรษะของชายทุกคน และชายเป็นศีรษะของหญิง และพระเจ้าทรงเป็นศีรษะของพระคริสต์” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย) ลูกโซ่ของผู้มีอำนาจนี้แสดงไว้ในรูปที่ 1
รูปที่ 2 แสดงให้เห็นลูกโซ่ของผู้มีอำนาจในพันธกิจรับใช้ต่างๆของคริสตจักรตาม 1 โครินธ์ 12:28
และในคริสตจักรพระเจ้าได้ทรงแต่งตั้งอัครทูตเป็นอันดับแรก อันดับที่สองคือผู้เผยพระวจนะ อันดับที่สามคือผู้สอน จากนั้นคือผู้ทำการอัศจรรย์ ผู้มีของประทานในการรักษาโรค ผู้สามารถช่วยเหลือผู้อื่น พวกผู้มีของประทานในการบริหารงาน และผู้พูดภาษาแปลกๆ[20] (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)
รูปที่ 3 รวมรูปที่ 1 กับรูปที่ 2
รูปที่ 4 แสดงให้เห็นโครงสร้างของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ
ด้านล่างของโครงสร้างความเชื่อในตรีเอกานุภาพก็คือมนุษย์[21] วงกลมสามวงด้านบนเป็นตัวแทนของพระเจ้าพระบิดา พระเจ้าพระบุตร (พระคริสต์ของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ) และพระเจ้าพระวิญญาณ ในความเชื่อตรีเอกานุภาพนั้น มีวงกลมสามวงเรียงอยู่ในระดับเดียวกันจากซ้ายไปขวา มีเส้นสามเส้นต่อทั้งสามพระองค์กับมนุษย์ มีแต่เส้นตรงกลางที่เป็นเส้นทึบ นี่เป็นเพราะว่าผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพมีแนวโน้มที่จะสัมพันธ์กับพระคริสต์มากกว่ากับพระบิดาหรือกับพระวิญญาณ มันตรงข้ามกับความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวที่จะมีเพียงบุคคลผู้เดียวเท่านั้น (พระเจ้า) อยู่ด้านบน แต่ในความเชื่อตรีเอกานุภาพจะมีสามบุคคล
รูปที่ 5 แสดงให้เห็นความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์ การเชื่อในพระเจ้าหลายองค์ได้ปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในโลกของคนต่างชาติ แม้แต่ในอิสราเอลก็ได้ปฏิบัติกันช่วงหนึ่งเต็มๆของประวัติศาสตร์ เฮเซคียาห์ (2 พงศ์กษัตริย์ 18) และโดยเฉพาะโยสิยาห์ (2 พงศ์กษัตริย์ 23) ใช้มาตรการอย่างหนักในการกวาดล้างรูปเคารพและความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์ในอิสราเอลแม้ว่าจะมีผลแค่ช่วงสั้นๆ
ในรูปที่ 5 มนุษย์จะอยู่ด้านล่างโดยมีพระเจ้ามากมายอยู่เหนือเขา มีความแตกต่างในโครงสร้างเล็กน้อยระหว่างความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์ (รูปที่ 5) กับความเชื่อในตรีเอกานุภาพ (รูปที่ 4) ถ้าเราเอาวงกลมในรูปที่ 5 มาเรียงแถวกันก็จะเห็นความคล้ายคลึงกันกับความเชื่อในตรีเอกานุภาพชัดมากขึ้น ความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์มีพระเจ้าระดับที่แตกต่างกัน ดังนั้นวงกลมในรูปที่ 5 จึงไม่ได้จัดเรียงไว้ในแนวเดียวกัน ในทางปฏิบัติจริงของการเชื่อพระเจ้าหลายองค์นั้นจะมีพระเจ้าหนึ่งหรือสององค์ที่ได้รับการเคารพนับถือจากผู้คนมากกว่าองค์อื่นๆ พระเจ้าบางองค์ก็สำคัญมากกว่า บางองค์ก็สำคัญน้อยกว่า และมนุษย์จะสัมพันธ์กับองค์ที่เขาเลือก ในรูปที่ 5 เราจะเห็นพระเจ้าสี่องค์แต่ที่จริงเราสามารถจะมีห้า หก หรือเจ็ด หรือแปดองค์ หรือจะมีถึงพันล้านองค์เหมือนในอินเดีย
ในรูปที่ 5 เส้นที่เชื่อมต่อมนุษย์กับพระเจ้าเหล่านี้ไม่ใช่เส้นทึบแต่เป็นเส้นประ เพราะในทางปฏิบัติแล้วผู้เชื่อในพระเจ้าหลายองค์มีแนวโน้มที่จะนมัสการพระเจ้าเพียงองค์เดียวตามที่พวกเขาเลือก เช่น เทพเจ้าจูปีเตอร์ในอาณาจักรโรมัน หรือ “กวนอิม”[22] (เทพีแห่งความเมตตา) และ “กวนอู”[23] ในประเทศจีน
ความเชื่อในตรีเอกานุภาพกับความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์
รูปที่ 6 เป็นการรวมรูปที่ 4 กับ 5 มีโครงสร้างเพิ่มขึ้นที่เรียกว่า “สองเจ้าสองนาย” ตามมัทธิว 6:24 (มีข้อที่เหมือนกันในลูกา 6:13)
“ไม่มีใครเป็นข้าสองเจ้าบ่าวสองนายได้ เขาย่อมเกลียดนายคนหนึ่งและรักนายอีกคนหนึ่ง หรือภักดีต่อนายคนหนึ่งและดูหมิ่นนายอีกคนหนึ่ง ท่านจะรับใช้ทั้งพระเจ้าและเงินทองไม่ได้” (มัทธิว 6:24 ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)[24]
ไม่มีใครจะสามารถรับใช้สองเจ้าหรือ “สองนาย” (คำกรีกคือ “” หรือ “lord”)[25] ได้ ข้อนี้แสดงให้เราเห็นอย่างชัดเจนว่าทำไมเราจึงต้องเป็นผู้ที่เชื่อในพระเจ้าเพียงองค์เดียว เราจะมีสองนายหรือสององค์ผู้เป็นเจ้าที่อยู่ในฐานะเท่าๆกันไม่ได้ เพราะในทางปฏิบัติจริงแล้วเราจะภักดีกับคนหนึ่งและจะดูหมิ่นอีกคนหนึ่ง แล้วยิ่งกว่านั้นเราจะสามารถปรนนิบัติพระเจ้าทั้งสามพระองค์ในความเชื่อตรีเอกานุภาพที่มีฐานะเท่าๆกันซึ่งเป็นกรณีพิเศษของความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์อย่างไรได้ สิ่งนี้เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ นี่เองในรูปที่ 4 (ความเชื่อในตรีเอกานุภาพ) จึงมีเส้นทึบตรงพระเยซูและเส้นประตรงพระบิดาและพระวิญญาณ ในเมื่อคุณไม่สามารถจะปรนนิบัติสองเจ้า (สองนาย) ได้ก็ยิ่งไม่ต้องพูดถึงการจะปรนนิบัติถึงสามพระองค์ ถ้าเรามีองค์ผู้เป็นเจ้าอยู่ตรงหน้าเราสามพระองค์ เราจะปรนนิบัติพระองค์ไหน? คุณจะไม่สามารถจะภักดีกับทั้งสามพระองค์ได้ นั่นคือเหตุผลที่ในทางปฏิบัติคนจึงอธิษฐานกับหนึ่งในสามพระองค์ซึ่งปกติแล้วจะเป็นพระเยซู ดังนั้นเส้นทึบที่โยงกับวงกลมจึงเป็นตัวแทนของพระเจ้าพระบุตร
ความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์มีพระเจ้ามากกว่าความเชื่อในตรีเอกานุภาพ แต่ปัญหาของความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์ไม่ได้เลวร้ายเท่ากับความเชื่อในตรีเอกานุภาพ นั่นก็เพราะในทางปฏิบัติแล้วพวกเขาก็เลือกพระเจ้าหนึ่งองค์และจดจ่อกับการนมัสการพระเจ้าองค์นั้น การนมัสการพระเจ้าองค์หนึ่งในการเชื่อพระเจ้าหลายองค์เป็นที่รู้จักกันในนาม “การเชื่อพระเจ้าหลายองค์แต่บูชาเพียงหนึ่งองค์”[26] มันหมายถึงการเชื่อในพระเจ้าหลายองค์มากแต่จะนมัสการเพียงแค่องค์เดียวจากทั้งหมด ความเชื่อว่ามีพระเจ้าเพียงองค์เดียวก็นมัสการพระเจ้าองค์เดียวเช่นกัน แต่ความแตกต่างที่สำคัญมากจะอยู่ตรงที่ไม่ยอมรับพระเจ้าอื่นใดอีก
หลังจากอิสราเอลกลับจากการถูกเนรเทศ พวกเขาก็ทิ้งพระเทียมเท็จทั้งหมดและนมัสการพระยาห์เวห์พระเจ้าเที่ยงแท้เพียงองค์เดียว พวกเขาได้รับบทเรียนของพวกเขา อันตรายจากการพยายามปรนนิบัติสองเจ้าหรือสองนาย[27]ได้พิสูจน์ให้เห็นจริงในกรณีของชาวอิสราเอลและต่อมาก็กับคริสตจักรที่เชื่อในตรีเอกานุภาพ มนุษย์ไม่สามารถจะจดจ้องอยู่กับวัตถุสองสิ่งในเวลาเดียวกันได้ หากตาของคุณพยายามจ้องไปที่วัตถุสองสิ่งที่ต่างกันตาของคุณจะเหล่ แต่ถ้าคุณมองไปไกลๆและผ่อนสายตา ภาพที่เห็นจะเป็นภาพเบลอๆสองภาพแบบไม่ชัดทั้งคู่ ในทำนองเดียวกันคุณก็ไม่สามารถจะปรนนิบัติสองเจ้าหรือสองนายได้ นั่นคือเหตุผลที่พระเยซูทรงยืนยันว่ามีพระเจ้าเดียวเท่านั้น
ในความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวที่แสดงให้เห็นในรูปที่ 3 นั้นเส้นที่เชื่อมต่อกันจะเป็นแนวตั้ง เส้นเหล่านั้นไม่ได้แผ่ออกไปเหมือนของความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์หรือความเชื่อในตรีเอกานุภาพ มีโครงสร้างอย่างชัดเจนของผู้ที่มีอำนาจเหนือและลูกโซ่ของผู้มีอำนาจที่ขึ้นไปและลงมาไม่มีความคลุมเครือ
การยกพระคริสต์ให้สูงขึ้น
จากที่ได้เห็นลักษณะพื้นฐานของความเชื่อว่าพระเจ้ามีหลายองค์กับความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวเราจึงกลับมาที่คำถามว่าทำไมชื่อ “ยาห์เวห์” จึงไม่ถูกกล่าวถึงในพระคัมภีร์ใหม่ เมื่อยอห์น หรือเปาโล หรือเปโตรเขียนส่วนของพวกเขาในพระคัมภีร์ใหม่นั้น และเมื่อใดก็ตามที่พวกเขาพูดถึงพระเจ้า พวกเขาจะหมายถึงพระยาห์เวห์เสมอ พวกเขาจึงไม่จำเป็นจะต้องระบุว่าพวกเขากำลังพูดถึงพระเจ้าองค์ไหนอยู่ เพราะสำหรับพวกเขาและผู้อ่านของพวกเขาที่เป็นชาวยิวต่างก็รู้ว่ามีพระเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น
เรื่องนี้กลายเป็นปัญหาในช่วงสองหรือสามร้อยปีต่อมาเมื่อคริสตจักรของคนต่างชาติได้ทิ้งพระคริสต์ตามพระคัมภีร์มาตามพระคริสต์ตามความเชื่อในตรีเอกานุภาพแทน ในรูปที่ 1 คุณลองนึกภาพการดึงวงกลมอันที่สอง (พระคริสต์ตามพระคัมภีร์) ออกมาจากลูกโซ่ของผู้มีอำนาจแล้วเอามาวางในระดับเดียวกันกับวงกลมอันแรก (พระยาห์เวห์) เมื่อวงกลมสองวงมาอยู่ในตำแหน่งที่เท่าๆกัน คุณคิดว่าใครจะเป็นผู้มีอำนาจ? ในทางปฏิบัติแล้ววงกลมสองวงไม่สามารถจะอยู่ในตำแหน่งที่เท่าๆกันด้วยซ้ำ เพราะวงที่เป็นตัวแทนของพระคริสต์จะผลักวงที่เป็นตัวแทนของพระยาห์เวห์ออกไป นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับความเชื่อตรีในเอกานุภาพตามประวัติศาสตร์ โครงสร้างของผู้ที่มีอำนาจใน 1 โครินธ์ 11:3[28] จึงไม่มีอีกต่อไป และสิ่งที่เรามีก็คือโครงสร้างใหม่ที่แย่พอๆกับความวิบัติเพราะตอนนี้มันหมายความว่าพระยาห์เวห์พระบิดาได้ถูกผลักออกไปและตอนนี้มีพระเยซูก็เข้าไปครองแทนที่พระองค์ในลูกโซ่ของผู้มีอำนาจเสียแล้ว
ชื่อ “ยาห์เวห์” ไม่ได้ถูกเอ่ยถึงในพระคัมภีร์ใหม่ก็เพราะไม่มีความจำเป็นต้องทำเช่นนั้น โอกาสที่จะสับสนนั้นไม่มีเลยจนเมื่อต่อมาภายหลังในประวัติศาสตร์ของคริสตจักร ราวศตวรรษที่สามเมื่อความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์ปรากฏให้เห็นโดยใช้ความเชื่อในตรีเอกานุภาพมาบังหน้าจึงเกิดความสับสนอย่างมากเมื่อคนอ่านพระคัมภีร์ใหม่ คำ “พระเจ้า” นี้ใช้อ้างถึงพระบิดา หรืออ้างถึงพระคริสต์ หรืออ้างถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์กันแน่? ในความเป็นจริงแล้วคริสเตียนในสมัยนั้นซึ่งก็เหมือนกับคริสเตียนในปัจจุบันนี้จะอ่านคำ “พระเจ้า” ว่าพระคริสต์ ซึ่งเป็นการตีความที่บิดเบือนพระคัมภีร์ไปอย่างสิ้นเชิง
เพื่อหลีกเลี่ยงจากความสับสนนี้คุณควรเรียนรู้ที่จะคิดอย่างผู้เชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียว ดังนั้นทุกครั้งที่คุณเห็นคำ “พระเจ้า” หรือ “พระบิดา” ก็ให้อ่านว่า “พระยาห์เวห์” เพื่อคุณจะได้ปรับความคิดของคุณให้เข้ากับรูปแบบของพระคัมภีร์ใหม่ ผู้เขียนพระคัมภีร์ใหม่ไม่จำเป็นต้องเอ่ยชื่อ “พระยาห์เวห์” แต่ในยุคนี้เราจำเป็นต้องทำให้ชื่อของพระองค์แจ่มแจ้งและชัดเจน
คุณอาจจะคุ้นกับการเปรียบเทียบของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ ที่พระเจ้าเป็นเหมือนกับใบโคลเวอร์[29] โคลเวอร์เป็นพืชที่มีใบสามแฉก ถ้าเจอใบที่มีสี่แฉกก็ถือว่าโชคดี ใบโคลเวอร์ที่มีสามแฉกได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไอร์แลนด์เพราะนักบุญแพทริก[30] นักบุญอุปการีของไอร์แลนด์ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้ใช้ตัวอย่างนี้สอนความเชื่อเรื่องตรีเอกานุภาพให้กับคนไอริช
รูปที่ 4 เข้ากันพอดีกับการเปรียบเทียบกับใบโคลเวอร์ โครงสร้างในแผ่นภาพนี้แสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนในการเชื่อพระเจ้าหลายองค์ของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ ความเชื่อในตรีเอกานุภาพนั้นเห็นได้อย่างชัดเจนว่าไม่ได้เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว ก่อนหน้านี้ผมได้แบ่งปันกับคุณเกี่ยวกับหนังสือ “ความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียว”[31] ที่เขียนโดยผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพหลายคน หนังสือเล่มนี้สนับสนุนความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวแต่ชื่อ แต่ต่อต้านความเชื่อที่แท้ในพระเจ้าเพียงองค์เดียว บรรดาผู้เขียนต่างยอมรับว่า ความเชื่อที่แท้ในพระเจ้าเพียงองค์เดียวนั้นขัดแย้งกับสูตรพระเจ้าพระบิดา พระเจ้าพระบุตร และพระเจ้าพระวิญญาณบริสุทธิ์ของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ ไม่ว่าคุณจะโต้แย้ง ในทางใดก็ยังเป็นพระเจ้าสามพระองค์อยู่ดี
ผมหวังว่าคำถามว่าทำไมชื่อ “ยาห์เวห์” จึงไม่ถูกกล่าวถึงในพระคัมภีร์ใหม่จะได้รับความกระจ่าง คำตอบง่ายๆก็คือผู้เขียนพระคัมภีร์ใหม่ไม่จำเป็นต้องเอ่ยชื่อ “ยาห์เวห์” เพราะว่าทุกคนรวมทั้งผู้อ่านของพวกเขาที่เป็นชาวยิวรู้กันดีว่าทุกครั้งที่เอ่ยถึงพระเจ้าก็คือการเอ่ยถึงพระยาห์เวห์ พระคัมภีร์ใหม่เขียนโดยชาวยิวและชาวยิวเหล่านี้ไม่ได้ออกเสียงพระนามของพระเจ้า เรื่องนี้กลายเป็นปัญหาใหญ่ในศตวรรษที่สอง ที่สามและที่สี่และต่อๆมานี่เอง สถานการณ์ไม่ได้รุนแรงมากในศตวรรษที่สองแต่รุนแรงมากในศตวรรษที่สามและสี่ในช่วงที่ความเชื่อในตรีเอกานุภาพได้กลายเป็นคำสอนมาตรฐาน เมื่อมาถึงศตวรรษที่สี่ ความเชื่อในตรีเอกานุภาพก็ได้กำจัดทุกเสียงที่ไม่เห็นด้วยไปจนหมดสิ้น
การขยายความ การตีความ และการมีประสบการณ์
เมื่อย้อนดูบทก่อนๆ จะเห็นว่าสองสามบทแรกเป็นการขยายความในขณะที่สองสามบทก่อนหน้านี้เป็นการตีความ[32] การตีความเป็นสิ่งสำคัญเพราะมันเป็นรากฐานของการขยายความพระคัมภีร์ เมื่อเราตีความพระคัมภีร์ข้อๆหนึ่ง เราจะนำเอาสิ่งที่อยู่ในข้อนั้นออกมาให้เห็นตามความเป็นจริง ขณะเดียวกันก็ไม่ตีความให้เป็นไปตามความคิดของเราเอง ในทางกลับกันการต่อเติมความ[33]ก็คือการใส่ความคิดของตนเองเข้าไปในตัวบท ดังนั้นเมื่อเราทำการตีความแบบถูกต้องเราก็จะไม่ยอมใส่สิ่งใดซึ่งไม่ได้มีอยู่ในตัวบทเข้าไป
นอกจากการขยายความและการตีความแล้วก็ยังมีด้านที่สำคัญของการมีประสบการณ์ ผมให้การมีประสบการณ์เป็นส่วนสุดท้ายและในลำดับที่ถูกต้อง ถ้าผมได้บอกประสบการณ์ของผมกับคุณตั้งแต่ต้นแล้วคุณควรจะทำอย่างไร? คุณมาเชื่อเพราะประสบการณ์ของผมหรือ? คุณจะทำเช่นนั้นไม่ได้ เพราะไม่ว่าประสบการณ์ของผมจะดีและน่าเชื่อถือแค่ไหนคุณก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อเพราะมันเป็นประสบการณ์ของผมเท่านั้น มันไม่ใช่ประสบการณ์ของคุณ ประสบการณ์ของผมอาจเป็นสะพานให้คุณก้าวไปสู่ความเชื่อแต่มันจะต้องไม่เป็นรากฐานความเชื่อของคุณ
เปาโลกล่าวว่า “จงให้ความเชื่อของท่านเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องระหว่างท่านกับพระจ้า” (โรม 14:22)[34] ความเชื่อของเปาโลก็เป็นของเปาโลและประสบการณ์ของผมก็เป็นของผม เปาโลอาจบอกประสบการณ์ของเขากับคุณแต่คุณจะพูดไม่ได้ว่า “เปาโลได้เห็นพระเยซู เพราะฉะนั้นผมจึงเชื่อในพระเจ้า” ถ้าตัวของผมเองไม่ได้เห็นพระเยซูเอง แล้วทำไมผมจึงควรมาเชื่อตามสิ่งที่เปาโลเห็น? ผมจะรู้ได้อย่างไรว่าประสบการณ์ของเขาเป็นของจริง? เราจะต้องตรวจสอบประสบการณ์ของคนนั้นด้วยพระคำของพระเจ้า แต่แม้หากจะตรงกับพระคำของพระเจ้าก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะให้ความเชื่อของคุณขึ้นกับประสบการณ์ของคนอื่น นิมิตที่เปาโลเห็นพระเยซูบนถนนไปดามัสกัสนั้นไม่ได้เป็นปัญหาของการตีความหรือของพระคัมภีร์เพราะว่าผู้เผยพระวจนะจากพระคัมภีร์เดิมก็มีนิมิตเช่นกัน จะจริงหรือไม่ก็เป็นคำถามอย่างอื่น
ตัวผมเองไม่มีปัญหาเรื่องประสบการณ์ของเปาโลเพราะผมมีประสบการณ์ที่คล้ายกับของเขาแม้จะไม่เหมือนเสียทีเดียว และเมื่อคุณได้ยินเรื่องประสบการณ์ของผม คุณก็ต้องเช็คดูว่ามันสอดคล้องกับพระคัมภีร์หรือไม่ ถ้าคุณไม่มีประสบการณ์ที่คล้ายกันนี้คุณก็จะไม่มีหลักฐานของตัวคุณเองที่จะยืนยันว่าเป็นเรื่องจริง แต่ถ้าคุณมีประสบการณ์ที่คล้ายกัน คุณก็จะพูดได้เต็มปากว่า “ผมรู้ว่าเป็นประสบการณ์จริงของเขา เพราะผมก็มีประสบการณ์แบบนั้นด้วย”
คนที่ไม่มีประสบการณ์เหมือนเปาโลที่ได้เห็นและพูดคุยกับพระเยซูก็อาจเห็นว่าการบอกเล่าประสบการณ์ของเปาโลเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นหรือไม่ก็คิดฟุ้งซ่าน ถ้าคุณไม่เคยขับผีแล้วคุณจะตีความเรื่องการขับผีในพระคัมภีร์ใหม่ได้อย่างไร? แต่ถ้าคุณเคยขับผี (เหมือนที่ผมเคย) คุณจึงพูดได้ว่า “ผมรู้ว่าเป็นเรื่องจริงเพราะผมเองก็ขับผีด้วยฤทธิ์อำนาจของพระเจ้ามาแล้ว” คุณเชื่อเรื่องการขับผีจากที่คุณได้อ่านในพระคัมภีร์แต่คุณก็ยังรู้เรื่องนี้จากประสบการณ์ของคุณเองด้วย ประสบการณ์เป็นสิ่งยืนยัน แต่ประสบการณ์ของผมก็ไม่ใช่ประสบการณ์ของคุณ ผมบอกเล่าประสบการณ์ของผมได้แต่คุณก็ต้องพิจารณาสิ่งนั้นด้วย ผมไม่ได้บอกให้คุณมาเชื่อจากประสบการณ์ของผม คุณจะต้องเชื่อวางใจในพระคำของพระเจ้า
การขยายความ การตีความและการมีประสบการณ์เป็นสาม “การ” ของการสอนพระคัมภีร์ และแต่ละอย่างก็สำคัญ มันน่าสนใจที่ทั้งสามคำมีคำว่า “การ”[35] ทั้งสามสิ่งเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นอย่างยิ่งกับการสอนพระคัมภีร์ ครูสอนพระคัมภีร์บางคนเก่งในการขยายความแต่ไม่เก่งในการตีความ หรือไม่มีประสบการณ์กับพระเจ้า ฉะนั้นคุณคงนึกภาพออกถึงสิ่งที่ยังครอบคลุมไม่หมดจากคำสอนของพวกเขา
ยิ่งคุณรู้วิธีขยายความพระคำของพระเจ้า คุณก็จะเข้าใจการตีความดีขึ้น และเมื่อคุณมีประสบการณ์กับองค์ผู้เป็นเจ้า คำสอนของคุณก็จะยิ่งมีพลัง ถ้าปราศจากประสบการณ์แล้วคำสอนของคุณก็เป็นแค่วิชาความรู้ คุณจะไขความพระคัมภีร์จากความรู้ของคุณ ประสบการณ์ทำให้คำสอนเป็นสิ่งที่ออกมาจากใจ ประสบการณ์จะเพิ่มความมีชีวิตชีวาให้กับคำเทศนาของคุณได้มากกว่าสิ่งอื่นใด เปาโลกล่าวว่า “ข้าพเจ้ารู้จักพระองค์ที่ข้าพเจ้าเชื่อ” (2 ทิโมธี 1:12) คุณจะพูดได้อย่างมั่นใจอย่างนั้นไหม? มันขึ้นกับว่าคุณมีประสบการณ์แค่ไหนและขึ้นกับระดับของการสื่อสารของคุณกับองค์ผู้เป็นเจ้า
ประสบการณ์ของผมกับความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียว
ผมจะเล่าถึงประสบการณ์สักเล็กน้อย เมื่อมองย้อนกลับไปในชีวิตคริสเตียนของผม ผมเชื่อในตรีเอกานุภาพมาเป็นเวลานานเพราะเป็นหลักคำสอนที่ผมถูกสอนมา ผมไม่เคยสงสัยเลยว่าบรรดาอาจารย์ของผมจะพยายามหลอกลวงผม ผมจึงรับเอาความเชื่อในตรีเอกานุภาพด้วยความจริงใจโดยไม่สงสัยความตั้งใจดีของคนอื่น ผมไม่คิดจะสงสัยความเชื่อในตรีเอกานุภาพ ผมจึงไม่ได้เอาดาบคมๆของการตีความมาใช้กับความเชื่อในตรีเอกานุภาพ แต่ผมทำสิ่งที่ตรงกันข้ามคือใช้ดาบนั้นปกป้องเหตุผลของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ
แต่โดยพระเมตตาของพระเจ้าที่ได้เข้าใจในที่สุด ผมจึงทบทวนประสบการณ์ของผมใหม่อีกครั้ง เมื่อดูความเป็นมาในความสัมพันธ์สนิทอันยาวนานของผมกับองค์ผู้เป็นเจ้า ผมจึงพยายามดูว่าผมเคยมีประสบการณ์ที่ผมมีความสนิทสนมกับทั้งสามพระองค์อย่างเท่าๆกันหรือไม่ แต่หลังจากที่ผมได้ทบทวนประสบการณ์ของผมแล้ว ผมก็ต้องตะลึงว่าในประสบการณ์ของผมนั้นผมได้รู้จักพระเจ้าเพียงองค์เดียวตลอดมา ผมไม่เคยรู้จักอีกสองพระองค์หรือแม้แต่อีกหนึ่งพระองค์เลย
เมื่อย้อนดูประสบการณ์ของคุณเอง คุณเคยเข้าเฝ้าทีเดียวกันสองหรือสามพระองค์ไหม? พูดอีกอย่างก็คือประสบการณ์ของคุณยืนยันความเชื่อว่ามีพระเจ้าเพียงองค์เดียวหรือว่ามีหลายพระองค์? เมื่อผมทบทวนจากประสบการณ์ของผม ผมไม่พบพระองค์อื่นเลย ตลอดที่ผ่านมาผมพูดคุยสนิทสนมกับพระเจ้าเพียงองค์เดียว แล้วอีกสองพระองค์ของความเชื่อในตรีเอกานุภาพไปอยู่เสียที่ไหน? พระเยซูดูเป็นจริงกับผมจนผมคิดว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้า ผมไม่เคยมีประสบการณ์กับพระเจ้าองค์อื่นเลย ผมรู้สึกว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าที่ผมพูดด้วยตลอดเวลา แต่บางครั้งบางคราวผมก็รับรู้ถึงพระบิดาแม้ว่าผมจะไม่มีประสบการณ์กับพระองค์
ผมพูดกับพระเยซูเพียงผู้เดียวเท่านั้นและพระองค์ทรงเป็นส่วนสำคัญของการพูดคุยนี้ ประสบการณ์ของผมกับพระเจ้าเป็นประสบการณ์กับพระเจ้าเพียงองค์เดียวเสมอ ประสบการณ์ของคุณต่างจากของผมไหม? คุณเคยพูดกับสามพระองค์ไหม? ผมกำลังพูดถึงประสบการณ์จริง ไม่ใช่การฝึกจิตที่คุณกำลังพูดคุยกับสามพระองค์เหมือนพูดกับกำแพง ในการดำเนินชีวิตคริสเตียนของคุณ คุณเคยพูดกับทั้งสามพระองค์ไหม? ถ้าเคย คุณพูดกับทั้งสามพระองค์อย่างเท่าๆกันไหม?
ผมเป็นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพด้วยการชักนำให้เชื่อ แต่ก็ทำเหมือนกับผู้เชื่อในพระเจ้าเพียงองค์เดียวเพราะว่าผมพูดคุยกับผู้เดียวเท่านั้น เป็นการพูดคุยที่ลึกซึ้งและหวานชื่น มีบางครั้งที่ผมรู้สึกว่ากำลังเดินอยู่ในสวรรค์บนดิน ไม่แน่ใจว่ากำลังอยู่บนสวรรค์หรือว่าอยู่บนโลกกันแน่
ตัวอย่างเช่นเช้าวันหนึ่งในลอนดอนทางเหนือ ผมกำลังคุกเข่าอธิษฐานอยู่ จู่ๆผมก็มีประสบการณ์เหมือนถูกพาขึ้นไปในสวรรค์ ผมยังรู้สึกตัวและเห็นทุกสิ่งรอบตัวผมได้อย่างชัดเจนแต่ว่าผมอยู่ในอีกมิติหนึ่ง ประสบการณ์นั้นอธิบายยากมาก คุณอยู่บนโลกแต่จิตวิญญาณก็อยู่ในอีกมิติหนึ่งที่ผมกำลังมีความสัมพันธ์สนิทที่ยอดเยี่ยมกับพระเจ้า ผมรู้สึกตัวดีกับสิ่งรอบตัวผมทั้งหมดเพราะผมมีนัดตอนเที่ยงกับพี่น้องที่จะมาประชุมที่คริสตจักร ผมดูนาฬิกาของผมแล้วพูดว่า “ถึงเวลาต้องไปแล้ว” แต่ผมไม่อยากจะไป ผมอยากจะอยู่พูดคุยอย่างสนิทสนมกับองค์ผู้เป็นเจ้าในสวรรค์ต่ออีก
สุดท้ายผมจึงลุกขึ้นอย่างไม่สู้เต็มใจและเดินออกไปที่ถนน ผมต้องมองซ้ายมองขวาให้ดีเพราะคุณอาจเสียชีวิตบนถนนที่พลุกพล่านในกรุงลอนดอนนี้ได้ง่ายๆถ้าคุณไม่คอยระวังเวลาไปไหนมาไหน ผมเดินไปจนถึงสถานที่ประชุมและยังอิ่มเอิบกับบรรยากาศในสวรรค์ที่ได้พูดคุยสนิทสนมกับองค์ผู้เป็นเจ้า เมื่อเดินมาถึงประตู องค์ผู้เป็นเจ้าได้ตรัสว่า “เราพูดคุยกับเจ้าแค่ตรงนี้ เข้าไปประชุมเถอะ” ผมเดินเข้าไปในบ้านนั้นและกลับสู่สภาพปกติอย่างเดิม
คุณมองเรื่องนี้อย่างไร? มีเพียงผู้เดียวเท่านั้นไม่ใช่มีสองหรือสาม พระเยซูทรงเป็นศูนย์กลางของทั้งหมดนี้ ทรงเป็นผู้ที่ “โดยพระองค์” และ “ในพระองค์” สิ่งเหล่านี้จึงเกิดขึ้น คำเหล่านี้เป็นคำในพระคัมภีร์ที่เปาโลใช้อยู่เสมอและผมก็สามารถยืนยันจากประสบการณ์ในการใช้คำเหล่านี้ของเขา ผมมีประสบการณ์จริงกับพระเจ้า “ในพระคริสต์” และ “โดยพระคริสต์” คำวลีบุพบทดังกล่าวนี้เห็นได้ทั่วไปซึ่งเปาโลใช้เกี่ยวกับพระคริสต์ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ผมเชื่ออยู่เสมอว่าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้า แม้ว่าคำสอนของพระคัมภีร์จะบอกว่ามีพระเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น
ผมสนใจอยากรู้ว่าประสบการณ์ของคุณแตกต่างจากของผมหรือไม่ และที่จริงแล้วคุณได้พูดคุยกับพระองค์อื่นๆหรือไม่ ผมหวังว่าคุณกำลังพูดอยู่กับพระยาห์เวห์และไม่ได้พูดอยู่กับผู้อื่นที่คุณไม่ควรจะพูดด้วย ผมรู้สึกขอบคุณที่องค์ผู้เป็นเจ้าไม่ได้ปล่อยให้ผมหันเหไปจากพระเจ้าองค์เดียวนี้ เมื่อผมอ่านพระคัมภีร์อีกครั้ง ผมพูดกับตัวเองว่า “นี่เป็นความจริง ผมมีประสบการณ์กับพระเจ้าเพียงองค์เดียวเสมอมา!”
ความรักของผมที่มีต่อพระเยซูไม่ได้ขึ้นกับว่าพระองค์เป็นพระเจ้าหรือไม่
เมื่อผมเริ่มเข้าใจสิ่งต่างๆดีขึ้น ผมก็ต่อสู้กับคำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพระเยซูกับพระเจ้า ถ้าพระเยซูไม่ใช่พระเจ้าแล้วพระองค์เป็นใคร? คำถามนั้นทำให้ผมสงสัยมากขึ้นอีกเพราะผมเคยคิดมาตลอดว่าพระเยซูเป็นบุคคลสำคัญในชีวิตของผม แต่เมื่อผมคิดถึงเรื่องนี้ผมก็เข้าใจว่าถ้าหากพระเยซูไม่ใช่พระเจ้า ความสัมพันธ์ของผมกับพระองค์ก็ไม่ได้ต่างกันเลย(แม้หากพระเยซูไม่ใช่พระเจ้า หรือว่าความรักของผมที่มีต่อพระองค์จะลดน้อยลง
จะมีใครคิดจริงๆหรือที่ผมจะพูดกับพระเยซูว่า “พระเยซู ข้าพระองค์คิดว่าข้าพระองค์กำลังสัมพันธ์กับพระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นพระเจ้าแต่กลายเป็นว่าพระองค์ไม่ใช่พระเจ้า พระองค์ไม่สำคัญสักหน่อย?” ผมจะไม่พูดอย่างนั้นกับพระองค์แน่ มิตรภาพของผมกับพระองค์จะสิ้นสุดลงอย่างงั้นหรือ? ถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะหมายความว่ามิตรภาพของผมกับพระองค์ก็ผิวเผินอย่างมากมาตั้งแต่ต้นที่ขึ้นกับสถานะของพระองค์ ความจริงแล้วมันไม่สำคัญกับผมเลยว่าพระเยซูจะทรงเป็นพระเจ้าหรือไม่เป็น พระองค์ทรงเป็นสหายที่ผมได้รู้จักมาทั้งชีวิตของผม ฉะนั้นพระองค์ก็จะเป็นสหายของผมตลอดไป
เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงเพื่อนที่ดีของผมในเซี่ยงไฮ้ พ่อของเขาเป็นคนกวาดถนนในซอยของเรา ทั้งพ่อและแม่ของเขาก็เป็นคนรับใช้ที่ทำงานให้เพื่อนบ้านคนหนึ่ง ในช่วงตึกจะมีห้องบนหลังคาตึกที่ให้เป็นที่พักอาศัยของคนรับใช้ คนรับใช้ของเพื่อนบ้านและคนรับใช้ของเราก็อาศัยอยู่ที่นั่นรวมทั้งคนรับใช้ของคนอื่นด้วย
อยู่มาวันหนึ่งผมพบชายคนนี้ในซอยและเราก็มาเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน ผมรู้ว่าเขาเป็นลูกของคนกวาดถนนก็เมื่อผมถามเขาว่า “คุณพักที่ไหน?” เขาตอบว่า “ผมอยู่ตรงโน้นและพ่อแม่ของผมทำงานให้ครอบครัวโน้น” มันไม่สำคัญกับผมเลยที่เขาจะเป็นลูกของคนรับใช้ เขาเป็นคนดีที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับผมและเราก็เข้ากันได้ดี
วันหนึ่งคุณพ่อของผมถามเรื่องเพื่อนของผมคนนี้และครอบครัวของเขา ผมบอกว่า “พ่อแม่ของเขาเป็นคนรับใช้ของเพื่อนบ้านคนนั้น” คุณพ่อของผมพูดว่า “อะไรนะ ลูกของคนใช้หรือ?” ถ้าจะว่ากันแล้วคุณพ่อของผมไม่ได้เป็นคนที่แบ่งชนชั้น แต่ในขณะนั้นท่านอาจจะคิดว่ามันไม่ค่อยดีต่อชื่อเสียงของเราถ้าผมมีเพื่อนเป็นชนชั้นคนรับใช้ อย่างไรก็ดีคุณพ่อของผมก็หยุดพูดเรื่องนี้และไม่ได้เอ่ยถึงอีกเลย
การที่ชายคนนี้เป็นลูกของคนรับใช้จะทำให้ความเป็นเพื่อนของเขากับผมน้อยลงไปไหม? มันไม่มีผลอะไรกับผมเลย อาจมีคนพูดว่าความรักและมิตรภาพทำให้คนตาบอด คุณจึงไม่สนใจฐานะทางสังคมของคนนั้น เรื่องแบบนี้ก็เกิดขึ้นกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 ที่ทรงสละราชบัลลังก์เพื่อสมรสกับหญิงสามัญชน
ผมเดินกับพระเยซูมาตลอดชีวิตของผม แล้วผมจะรักพระองค์น้อยลงถ้าพระองค์ไม่ใช่พระเจ้าหรือไม่ได้เท่าเทียมกับพระบิดาอย่างงั้นหรือ? มันไม่มีผลอะไรกับผมเลย ผมไม่ใส่ใจเรื่องฐานะของพระองค์เพราะผมรู้จักพระองค์และมีประสบการณ์กับพระองค์ เปโตรกล่าวว่าพระเยซูทรงมีค่ามหาศาลสำหรับคนที่เชื่อ (1 เปโตร 2:7)[36] มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ
พระเยซูหรือพระยาห์เวห์?
พระเยซูได้ทรงสอนความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวอย่างแจ่มแจ้งและชัดเจนที่สุด (ยอห์น 17:3) ความคิดของพระองค์ที่เชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวบางครั้งก็เผยให้เห็นในการสนทนาที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวกับความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียว เช่น “ท่านจะเชื่อได้อย่างไรถ้าหากท่านยอมรับคำสรรเสริญกันเอง แต่ไม่ขวนขวายหาคำสรรเสริญจากพระเจ้าผู้ทรงเป็นพระเจ้าแต่องค์เดียว” (ยอห์น 5:44 ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย) ในภาษากรีก “ผู้ทรงเป็นพระเจ้าแต่องค์เดียว” คือ “” (tou monou theou)[37] ที่เรารู้จักคำ “monotheism”[38] ฉบับภาษาอังกฤษบางฉบับยกเลิกคำนี้โดยแปลเป็นคำว่า “คำสรรเสริญซึ่งมาจากพระเจ้าเท่านั้น”[39]
ในที่สุดเมื่อผมเห็นความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวอย่างชัดเจนของพระเยซูจากในพระคัมภีร์ตอนต่างๆ เช่น มาระโก 12:28-34 ที่พระองค์ทรงยก “ชามา”[40] ผมจึงประจักษ์ชัดว่าผมไม่ได้ซื่อสัตย์กับคำสอนของพระองค์ ผมต้องการจะให้พระองค์เป็นพระเจ้าด้วยความรักที่ผิดทางของผมต่อพระองค์ แม้ว่าความเชื่อในตรีเอกานุภาพจะไม่ทำให้พระองค์เป็นพระเจ้า ผมก็จะทำ เมื่อคุณรักใครสักคน คุณก็จะเทิดทูนคนนั้นอย่างหลับหูหลับตา อันตรายอย่างร้ายแรงของความรักก็คือคุณจะเทิดทูนคนที่คุณรักและให้ผู้นั้นมาแทนที่พระเจ้า
เมื่อผมรู้ความจริงเกี่ยวกับความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวแล้ว ผมสามารถจะเปลี่ยนความคิดของผมและคิดว่าพระเยซูทรงเป็นมนุษย์ได้ไหม? ในความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวจะมีทางเลือกให้คุณแค่สองทาง คือพระเยซูเป็นพระยาห์เวห์หรือไม่ก็พระองค์ไม่เป็น ถ้าพระองค์ไม่เป็นพระยาห์เวห์ พระองค์ก็ต้องเป็นมนุษย์ ถ้าพระองค์เป็นพระยาห์เวห์พระองค์ก็ไม่ใช่มนุษย์
ประสบการณ์ที่เป็นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพของผมนั้นผิดธรรมดาเพราะผมสามารถจะเปลี่ยนไปมาระหว่างการพูดคุยกับพระเยซูและพูดคุยกับพระยาห์เวห์ได้อย่างลงตัวเหมือนว่าผมกำลังพูดคุยกับคนๆเดียวกัน นั่นทำให้ผมสงสัย แล้วพระเยซูเป็นพระยาห์เวห์ไหม? ถ้าพระองค์เป็นพระยาห์เวห์ พระองค์ก็ไม่ใช่มนุษย์ ถ้าอย่างนั้นด้วยเหตุผลใดจึงพูดถึงพระองค์ว่าพระเยซูคริสต์ผู้เป็นมนุษย์[41]หรืออาดัมสุดท้าย[42] และพระองค์จะสามารถตายเพื่อคุณและผมได้อย่างไร? พระโลหิตของพระองค์จะช่วยผมได้อย่างไร? มีบางอย่างตรงนี้ที่ไม่สอดคล้องกัน
ผมเป็นคนหนึ่งที่ได้พูดคุยและสามัคคีธรรมกับพระเยซู เมื่อผมได้เข้าใจว่าผมกำลังทำสิ่งผิดที่มุ่งสนใจอยู่กับพระองค์มากกว่าพระยาห์เวห์ผมจึงเริ่มพูดคุยกับพระยาห์เวห์ มันน่าสนใจที่การสลับนั้นลงรอยกันเหมือนไม่มีอะไรเปลี่ยนนอกจากชื่อของผู้ที่ผมกำลังพูดด้วย ผมก็ยังกำลังพูดอยู่กับพระเจ้าองค์เดียวกันที่ผมได้นมัสการมาตลอด ผมเกาหัวกับเรื่องนี้เพราะคาดไว้ว่าจะปรับตัวได้ยาก ผมนึกภาพตัวเองพูดว่า “ขอโทษด้วยพระเยซู ตอนนี้ข้าพระองค์จะพูดกับพระบิดา” แล้วผมก็พูดกับพระยาห์เวห์ว่า “ข้าพระองค์ไม่รู้จักพระองค์ดีเท่าไหร่ ข้าพระองค์ได้พูดกับพระเยซูมาตลอดห้าสิบปี และข้าพระองค์ต้องใช้เวลาที่จะรู้จักพระองค์” สิ่งแปลกที่สุดก็คือผมกำลังพูดคุยกับคนคนเดียวกัน เห็นได้ชัดว่าผมได้พูดกับพระยาห์เวห์มาตลอด นี่คือความล้ำลึก มันเป็นได้อย่างไรที่ผมกำลังพูดอยู่กับพระยาห์เวห์เหมือนยังกับว่าผมกำลังพูดอยู่กับพระเยซู? พระเยซูจะเป็นพระยาห์เวห์ได้ไหม? แต่ในเมื่อพระองค์ไม่ใช่พระยาห์เวห์ แล้วทำไมการย้ายจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งจึงได้ลงตัวเช่นนี้?
ผมคิดว่าจะพบคำตอบได้ในยอห์น 20:28 (“องค์พระผู้เป็นของข้าพระองค์ และพระเจ้าของข้าพระองค์”) คำกล่าวของโธมัสนี้ดูจะยืนยันประสบการณ์ของผมเองในการย้ายจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งอย่างลงตัว ผมพูดคุยอยู่กับพระเยซูและพบว่าตัวเองก็กำลังพูดคุยอยู่กับพระยาห์เวห์ ผมทราบว่าในภาษาฮีบรูชื่อ “เยซู” มีชื่อ “ยาห์เวห์” รวมอยู่ด้วย อันที่จริง “เยซู” หรือ “เยชูวา” มีความหมายว่า “พระยาห์เวห์ทรงช่วยให้รอด” หรือ “พระยาห์เวห์ทรงเป็นความรอด” หรือ “พระยาห์เวห์ทรงเป็นผู้ช่วยให้รอด” เมื่อใดก็ตามที่คุณร้องออกพระนามของพระเยซู คุณก็กำลังร้องออกพระนามของพระยาห์เวห์ เหตุนี้เองการร้องออกพระนามของพระเยซูจึงไม่ได้เป็นปัญหา เพราะในที่สุดแล้วคุณก็กำลังร้องออกพระนามของพระยาห์เวห์นั่นเอง
ในยอห์นบท 20 ยอห์นไม่มีความมุ่งหมายที่จะพิสูจน์ว่าพระเยซูเป็นพระเจ้า ยอห์นไม่เคยทำอย่างนั้นและพระเยซูก็ไม่เคยเอ่ยอ้างที่จะเป็นพระเจ้า ยอห์นแจ้งจุดประสงค์ของเขาในการเขียนพระกิตติคุณนี้ในสามข้อต่อมา (ข้อ 31) “แต่ที่บันทึกเรื่องเหล่านี้ไว้ก็เพื่อท่านทั้งหลายจะได้เชื่อว่า พระเยซูเป็นพระคริสต์พระบุตรของพระเจ้า และโดยความเชื่อท่านจะได้มีชีวิตในพระนามของพระองค์” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย) จุดประสงค์ของยอห์นไม่ใช่เพื่อพิสูจน์ว่าพระเยซูเป็นพระเจ้า แต่เพื่อพิสูจน์ว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ (พระเมสสิยาห์) พระบุตรของพระเจ้า เบื้องหลังจากพระคัมภีร์เดิมของข้อนี้คือสดุดีบท 2 เป็นสดุดีเกี่ยวกับพระเมสสิยาห์ที่สำคัญบทหนึ่ง
โธมัสกล่าวในยอห์น 20:28 ว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ และพระเจ้าของข้าพระองค์!” คำพูดที่มาจากประสบการณ์ของโธมัสนี้ยังยืนยันประสบการณ์ของผมเองด้วย คำกล่าวว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ และพระเจ้าของข้าพระองค์”[43] และถ้อยคำที่คล้ายกันเช่น “องค์ผู้เป็นเจ้าพระเจ้า”[44] จะพบอยู่ดาษดื่นในพระคัมภีร์เดิม ถ้อยคำเหล่านี้จะกล่าวถึงพระยาห์เวห์เสมอและไม่เคยกล่าวถึงผู้อื่น
ในพระคัมภีร์เดิมภาษากรีกและพระคัมภีร์ใหม่ภาษากรีกรวมกันจะมีคำ “องค์พระผู้เป็นเจ้าพระเจ้าของท่าน”[45] มีปรากฏ 450 ครั้งและครึ่งหนึ่งมีอยู่ในเฉลยธรรมบัญญัติ “องค์พระผู้เป็นเจ้าพระเจ้าของเรา”[46] มีปรากฏ 100 ครั้งโดยครั้งสุดท้ายปรากฏอยู่ในวิวรณ์ 19:6 (“ฮาเลลูยา! เพราะองค์พระผู้เป็นเจ้าพระเจ้าผู้ทรงฤทธิ์ของเราทรงครอบครองอยู่”[47] และสุดท้ายคำว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าพระเจ้า” (Lord God) เป็นคำผสมของ “”[48] ซึ่งมีปรากฏมากว่า 550 ครั้ง และมี 9 ครั้งในวิวรณ์
คำทั้งหมดนี้รวมกันแล้วมีมากกว่า 1,100 ครั้ง และทั้งหมดเป็นการอ้างอิงถึงพระยาห์เวห์ ดังนั้นในยอห์น 20:28[49] โธมัสจึงกำลังใช้คำพูดที่ปกติมาก การใช้ข้อนี้มาพิสูจน์ความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์นั้นน่าขบขันเพราะจะพิสูจน์ได้อย่างเดียวเท่านั้นคือพิสูจน์ว่าพระเยซูเป็นพระยาห์เวห์ ไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นพระเจ้าพระองค์ที่สอง[50] ถ้าโธมัสพูดแต่เพียงว่า “พระเจ้าของข้าพระองค์” แทนที่จะพูดว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ และพระเจ้าของข้าพระองค์” ก็อาจเป็นส่วนสำคัญที่จะสรุปว่าโธมัสกำลังประกาศความเป็นพระเจ้าของพระเยซู
ประสบการณ์ที่โธมัสมีก็เป็นประสบการณ์ของผมด้วย ไม่ว่าผมจะกำลังพูดคุยกับพระเยซูหรือกับพระยาห์เวห์ผมก็กำลังพูดคุยกับคนคนเดียวกัน ผมได้พูดอยู่กับพระยาห์เวห์มาตลอดโดยไม่รู้ตัว เกิดอะไรขึ้นตรงนี้หรือ? โธมัสมองพระเยซูและกล่าวกับพระยาห์เวห์ว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ และพระเจ้าของข้าพระองค์!” คุณเคยมีประสบการณ์แบบนั้นไหม? เป็นได้อย่างไรที่การพูดกับพระเยซูก็เหมือนกับการพูดกับพระยาห์เวห์? ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ “มองผ่าน” พระเยซูได้ในแง่ว่าเมื่อคุณมองที่พระองค์ คุณก็กำลังมองผ่านพระองค์ไปที่พระยาห์เวห์
หลังจากการคืนพระชนม์แล้วพระเยซูได้รับกายวิญญาณและกายที่ได้รับเกียรติ เมื่อเหล่าสาวกอยู่ในห้องที่ประตูปิดมิดชิดนั้นพระเยซูทรงปรากฏกับพวกเขาโดยไม่ต้องผ่านประตู โธมัสไม่ได้อยู่ที่นั่นในเวลานั้น ต่อมาเมื่อรู้ว่าโธมัสมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการคืนพระชนม์ พระเยซูจึงบอกให้เขาเอานิ้วของเขาแยงรอยตะปูในพระหัตถ์ของพระองค์และแยงที่สีข้างของพระองค์ นั่นคือตอนที่โธมัสอุทานว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ และพระเจ้าของข้าพระองค์!”
สิ่งนี้ไม่สามารถอธิบายได้อย่างแน่ชัดจากการขยายความหรือการตีความเพียงอย่างเดียวแต่จากประสบการณ์ ผมรู้ว่าโธมัสกำลังหมายถึงอะไรเพราะมันเป็นประสบการณ์ของผมด้วย ผมหวังว่ามันจะเป็นประสบการณ์ของคุณด้วยเช่นกันเพราะนั่นจะหมายความว่าคุณกำลังสัมพันธ์ถูกคนแล้วและกำลังพูดคุยกับพระยาห์เวห์ ที่บอกว่าเป็นประสบการณ์ของผมก็เพราะเมื่อกลับไปดูพระคัมภีร์เพื่อหาหลักฐานจากพระคัมภีร์เดิม เมื่อผมอ่านพบว่าพระยาห์เวห์พูดคุยกับอาดัม ผมจึงพูดกับตัวเองว่า “ผมก็มีประสบการณ์อย่างนั้นด้วย!” พระเจ้าพูดคุยกับผมและสัมพันธ์กับผมในแบบเดียวกัน และไม่ใช่แค่ช่วงเวลาเย็น (“เวลาเย็นวันนั้น”)[51] แต่ตลอดทั้งวัน ผมคิดว่าผมกำลังพูดกับพระเยซูในขณะที่เป็นพระยาห์เวห์มาตลอด
ผมครุ่นคิดถึงสิ่งต่างๆที่พระเจ้าทรงกระทำในปฐมกาล แม้แต่เรื่องที่พระองค์ทรงปิดประตูเรือให้โนอาห์ ผมพูดกับตัวเองว่าพระเจ้าทรงเป็นเช่นนั้นจริง จากประสบการณ์ของผมแล้วพระเจ้าทรงกระทำสิ่งทั้งหมดนี้เพื่อคุณ เมื่อผมค้นดูพระคัมภีร์ใหม่ ผมก็เห็นสิ่งคล้ายคลึงกับที่พระเจ้าได้ทรงกระทำในพระคัมภีร์เดิม[52] พระยาห์เวห์จะทรงก้มลงล้างเท้าให้คุณไหม? คำตอบที่ต้องประหลาดใจก็คือ “พระองค์จะทำแน่นอน” มันเป็นเรื่องที่น่างงงวย เพราะถ้ามนุษย์จะล้างเท้าของผมหรือครูของผมจะล้างเท้าให้ผม นั่นก็เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจอยู่แล้ว แต่เราจะนึกไหมว่าพระยาห์เวห์จะทรงทำอย่างนี้ให้เรา? ความจริงก็คือพระองค์ทรงก้มลงขุดหลุมบนพื้นดินเพื่อฝังร่าง[53]ของโมเสส
คุณจะเห็นพระองค์ในพระคัมภีร์เดิมผู้ประทับอยู่ในพระเยซูในพระคัมภีร์ใหม่ คำอธิบายตามการตีความเรื่องนี้ก็คือพระยาห์เวห์ได้เสด็จมาในองค์พระเยซู ทรงแฝงอยู่ในพระกายของพระเยซูเพื่อว่าสิ่งที่พระเยซูทรงกระทำก็คือสิ่งที่พระยาห์เวห์ทรงกระทำ ใครเป็นผู้ที่รักษาคนเจ็บป่วยและชุบให้ฟื้นจากตายหรือ? ตามกิจการ 2:22 นั้นทุกสิ่งที่พระเยซูทรงกระทำก็ทำโดยพระเจ้าผ่านทางพระองค์ “คือพระเยซูชาวนาซาเร็ธผู้ที่พระเจ้าทรงรับรองต่อท่านทั้งหลาย โดยการอิทธิฤทธิ์ การอัศจรรย์และหมายสำคัญต่างๆ ที่พระเจ้าได้ทรงทำโดยพระองค์ท่ามกลางท่านทั้งหลาย” ที่ผ่านมาผมมัวไปอยู่ที่ไหนเสีย? ความเชื่อในตรีเอกานุภาพกันไม่ให้ผมอ่านพระคัมภีร์ของผมอย่างถูกต้อง สิ่งที่พระเยซูกระทำไม่ว่าจะเป็นหมายสำคัญต่างๆ การอิทธิฤทธิ์ และการอัศจรรย์ ทุกสิ่งกระทำโดยพระยาห์เวห์กระทำผ่านพระองค์ ใครเป็นผู้เลี้ยงคน 5,000 คน หรือเลี้ยงคน 4,000 คนหรือ? เป็นพระเยซูหรือพระยาห์เวห์? ในพระคัมภีร์เดิมพระยาห์เวห์ทรงทำสิ่งที่คล้ายกันนี้แต่ในขนาดที่ใหญ่กว่ามาก การทำการอัศจรรย์ของพระเยซูมีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบกับการอัศจรรย์ขนาดใหญ่มากในถิ่นทุรกันดาร การเลี้ยงคน 5,000 หรือ 4,000 คนนั้นไม่เหมือนกับการเลี้ยงคนสองล้านในถิ่นทุรกันดารเป็นเวลาสี่สิบปี ความมุ่งหมายไม่ใช่เพื่อจะเปรียบเทียบขนาดกัน แต่เพื่อให้เห็นตามในกิจการ 2:22 ว่าผู้ที่ทำการอัศจรรย์ในพระคัมภีร์ใหม่ก็คือผู้ที่ทำการอัศจรรย์คล้ายๆกันในพระคัมภีร์เดิมแต่ว่าในขนาดที่ใหญ่กว่า
กลับไปที่ประเด็นเกี่ยวกับการมองทะลุผ่านได้ โธมัสมองดูพระเยซูและสิ่งที่เขาเห็นและพบก็คือพระยาห์เวห์ เขาอุทานว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ และพระเจ้าของข้าพระองค์!” นี่สำเร็จตามยอห์น 14:9 “คนที่ได้เห็นเราก็ได้เห็นพระบิดา”[54] เมื่อคุณมองพระเยซูคุณก็เห็นพระบิดา นี่จะเป็นไปได้ถ้าสามารถมองทะลุผ่านพระเยซูได้ในแง่ว่าเมื่อคุณมองไปที่พระองค์ คุณก็มองทะลุผ่านพระองค์ไปที่พระบิดาผู้ประทับอยู่ข้างในพระองค์ ถ้าจะเปรียบให้ทันสมัย พระเยซูก็เป็นเหมือนกับโทรศัพท์ เมื่อคุณพูดกับโทรศัพท์ คุณก็กำลังพูดกับพระยาห์เวห์ผ่านทางโทรศัพท์ คุณไม่ได้กำลังพูดกับตัวโทรศัพท์แต่กำลังพูดกับใครบางคนที่อยู่อีกฟากหนึ่งของโลก แล้วคุณยังสามารถโทรศัพท์แบบประชุมกันสองหรือสามคนซึ่งทำให้เรานึกถึงที่พระเยซูตรัส “เพราะว่ามีสองสามคนประชุมกันที่ไหนในนามของเรา เราจะอยู่ท่ามกลางพวกเขาที่นั่น” (มัทธิว 18:20 ฉบับมาตรฐาน 2011) ถ้าโทรศัพท์ของคุณเป็นโทรศัพท์ลำโพง คุณก็จะพูดกับอีกฝ่ายหนึ่งเหมือนว่าคุณกำลังพูดกับโทรศัพท์ และถ้าโทรศัพท์ของคุณเป็นแบบวีดีทัศน์ ตาของคุณก็จะมองที่โทรศัพท์เพื่อคุณจะได้ยินเสียงของคนอีกฟากหนึ่งและเห็นใบหน้าของเขาด้วย
ผมไม่คิดว่าการเปรียบพระเยซูกับโทรศัพท์แบบวีดีทัศน์นี้จะเป็นการดูหมิ่นถ้าหากมีความมุ่งหมายเพื่อแสดงให้เห็นหลักการทางฝ่ายวิญญาณว่าคุณสามารถจะพูดคุยกับพระเยซูและสุดท้ายลงเอยด้วยการพูดคุยกับพระบิดา และในทำนองเดียวกันที่เมื่อพระบิดาพูดคุยกับคุณก็จะผ่านพระเยซู ผมไม่สามารถอธิบายถึงประสบการณ์ของผมได้ และโธมัสก็คงไม่สามารถอธิบายถึงประสบการณ์ของเขาได้เช่นกันถ้าไม่ใช้การเปรียบแบบนี้ อัครทูตยอห์นซึ่งเป็นคนยิวก็เป็นผู้เชื่อแท้ว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวอย่างไม่มีข้อสงสัย และเขาก็คงจะไม่พอใจอย่างแรงถ้าโธมัสได้นมัสการพระเยซูเป็นพระเจ้า ในฐานะที่เป็นผู้เชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียว ยอห์นจึงได้ใช้เวลาที่จะคงคำสอนของพระเยซูเองในเรื่องความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวไว้ให้เรา (ตัวอย่างเช่น ยอห์น 17:3)[55]
เมื่อผมตรึกตรองฟีลิปปีบท 2 อีกครั้ง คราวนี้จากมุมมองของประสบการณ์มากกว่าการตีความ ผมจึงเริ่มเข้าใจว่าพระเยซูไม่ใช่พระยาห์เวห์ นั่นคือเหตุที่ผมพูดว่าการสอนของพระคัมภีร์มีสาม “การ” การขยายความ การตีความ และการมีประสบการณ์ คุณสามารถศึกษาพระคัมภีร์ด้วยการขยายความ หรือการตีความ หรือสิ่งที่คุณเข้าใจด้วยประสบการณ์ของคุณ
เมื่อผมดูฟีลิปปีบท 2 อีกครั้งโดยเฉพาะข้อ 6 (ผู้ทรงสภาพของพระเจ้า แต่มิได้ทรงถือว่าการเท่าเทียมกับพระเจ้านั้นเป็นสิ่งที่จะต้องยึดถือ” ฉบับ 1971) ผมคิดว่าผมสามารถจะเขียนหนังสือได้หนึ่งเล่มเกี่ยวกับพระเยซูในชื่อ “มนุษย์ผู้ไม่ต้องการเป็นพระเจ้า”[56] ชื่อเรื่องแบบนี้เป็นยังไง? ประเด็นทั้งหมดของข้อนี้ก็คือว่าพระเยซูไม่เคยต้องการที่จะเป็นพระเจ้าหรือเท่าเทียมกับพระเจ้า เราจะเข้าใจฟีลิปปี 2:6 ได้ดีเฉพาะในกรณีที่พระเยซูเป็นมนุษย์ แต่จะไม่สามารถเข้าใจได้ดีนักถ้าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าอยู่แล้ว เพราะมันเป็นเรื่องแปลกที่จะบอกว่าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าที่ไม่ต้องการจะเป็นพระเจ้า แต่นี่ก็คือสิ่งที่ความเชื่อในตรีเอกานุภาพกำลังบอก ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพบางคนเชื่อว่าพระเยซูพยายามจะหยุดความเป็นพระเจ้าชั่วคราวโดยการทิ้งพระเกียรติของพระองค์ แต่ผมไม่รู้ว่าจะเป็นไปได้อย่างไร นั่นไม่ใช่ประเด็นของพระคัมภีร์ตอนนี้ พระคัมภีร์ตอนนี้จะเข้าใจได้ดีก็เมื่อเราเข้าใจว่าพระเยซูผู้เป็นมนุษย์นี้ไม่ได้ต้องการที่จะเป็นพระเจ้า
ผมรู้เรื่องนี้จากประสบการณ์ของผมเองแม้ว่ามันจะเข้าใจได้ยากด้วยสติปัญญา บางครั้งประสบการณ์ก็สามารถมองเห็นสิ่งที่สติปัญญามองไม่เห็น เราอาจมีประสบการณ์บางอย่างที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยปัญญาของเรา เมื่อผมดูฟีลิปปี 2:6 จากมุมมองของประสบการณ์ ผมก็เริ่มเข้าใจว่าไม่ว่าพระเยซูจะทรงเป็นพระเจ้าหรือเป็นมนุษย์ พระองค์ก็ไม่เคยกังวลเกี่ยวกับการเป็นพระเจ้า มันเป็นเรื่องยากที่เราจะเข้าใจเรื่องนี้ด้วยสติปัญญา แต่เราก็สามารถรู้ความจริงในเรื่องนี้จากประสบการณ์ของเรา
ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพใช้ข้อ ดังเช่น ยอห์น 20:28 และสรุปจากข้อนี้ว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าแม้มันจะไม่ได้พิสูจน์ความเป็นพระเจ้าของพระองค์แต่อย่างใดเลย ถ้าจะมีการพิสูจน์ใดๆถึงการเป็นพระเจ้าของพระองค์ มันก็จะพิสูจน์ได้แต่เพียงว่าพระเยซูเป็นพระยาห์เวห์ ไม่มีอะไรในข้อนี้เลยที่ช่วยสนับสนุนความเชื่อในตรีเอกานุภาพเพราะว่าหลักคำสอนของความเชื่อในตรีเอกานุภาพสอนว่า พระเยซูเป็นพระเจ้าพระองค์ที่สองและพระองค์ไม่ใช่พระยาห์เวห์
พระเยซูไม่ได้สนพระทัยการเป็นพระเจ้าแม้แต่น้อยแม้เราร้อนใจที่จะทำให้พระองค์เป็นพระเจ้าก็ตาม ถ้าคุณค้นดูฟีลิปปีบท 2 สิ่งสำคัญที่คุณจะเห็นก็คือพระองค์ต้องการจะลงไปให้ต่ำและต่ำสุดเท่าที่จะเป็นได้ นอกจากพระองค์ไม่ปรารถนาจะเป็นพระเจ้าแล้ว พระองค์ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับชีวิตของพระองค์เองเหมือนที่มนุษย์เป็น พระองค์ทรงเชื่อฟังพระบิดา พระองค์ทรงมุ่งไปที่กางเขน ทรงลงไปต่ำลงๆเหมือนน้ำที่ไหลลงสู่จุดต่ำสุด ซึ่งตรงข้ามกับนิสัยมนุษย์เราอย่างสิ้นเชิงที่พยายามจะปีนป่ายให้สูงขึ้นและสูงขึ้นเพื่อจะได้เกียรติและความนับหน้าถือตา
ถ้าผมจะเป็นผู้ที่มองทะลุผ่านได้เหมือนกับพระเยซูละก็ เมื่อมีใครมองมาที่ผม เขาก็จะไม่เห็นตัวผมแต่จะมองผ่านตัวผมไป คนจีนมีคำพูดว่า “เขาพูดกับผมเหมือนผมไม่มีตัวตน” มันเป็นการหยามหน้าเมื่อมีใครมองคุณแล้วผ่านเลยคุณไปมองคนอื่น ในความเป็นจริงแล้วมันเป็นสิทธิพิเศษอย่างยิ่งเมื่อมีคนมองผ่านตัวคุณแล้วเห็นพระเจ้ากับพระเยซู ผมอยากให้มีคนพูดกับผมว่า “วันก่อนผมมองคุณแล้วผมเห็นพระเยซู ผมมองไม่เห็นคุณ” ถ้าเป็นเช่นนั้นก็คงจะวิเศษทีเดียว! พระเยซูก็ทรงเป็นแบบนั้น ผมคิดว่างานรับใช้ของเราจะมีประสิทธิภาพมากถ้าคุณยืนอยู่บนธรรมาสน์แล้ว “หายตัวไป” โดยที่คนจะเห็นแต่พระเยซู อาทิตย์ต่อมาพวกเขาจะพูดว่า “ลืมไปแล้วว่าใครคือนักเทศน์ แต่ผมจำได้ว่าเป็นพระเยซูที่ตรัสกับผม”
ลักษณะที่ไม่เหมือนใครของพระเยซูก็คือเมื่อคนได้สัมพันธ์กับพระองค์ พวกเขาก็พบว่าตัวเองกำลังสัมพันธ์กับพระเจ้าและกำลังพูดกับพระองค์ ผมได้พูดกับพระยาห์เวห์มาตลอดชีวิตของผมและผมก็ไม่รู้ด้วยซ้ำ ต่อมาเมื่อผมได้อ่านคำของโธมัสผมจึงพูดว่า “นั่นเป็นประสบการณ์ของผมเช่นกัน!” ผมคิดว่าผมกำลังพูดกับพระเยซูในเมื่อความเป็นจริงแล้วผมกำลังพูดกับพระยาห์เวห์ “โธมัสทูลพระองค์ว่า....” (ยอห์น 20:28) โธมัสกำลังส่งถ้อยคำของเขากับพระเยซู แต่ว่าเขากำลังพูดกับพระยาห์เวห์ สรรเสริญพระองค์และรับรู้ว่าพระองค์เป็นพระเจ้า
เกียรติที่ข้าพระองค์มีร่วมกับพระองค์ก่อนที่โลกนี้มีมา
คราวก่อนเราดูยอห์น 17:5 “และบัดนี้ข้าแต่พระบิดา ขอให้ข้าพระองค์ได้รับเกียรติสิริต่อหน้าพระองค์ คือเกียรติสิริที่ข้าพระองค์มีร่วมกับพระองค์ตั้งแต่ก่อนโลกเริ่มขึ้น” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย) หลายคนสรุปจากข้อนี้ว่าพระเยซูกำลังแสวงหาเกียรติของพระองค์เอง แต่นี่ทำให้ผมตกใจเพราะมันตรงกันข้ามกับพระเยซูที่ผมรู้จัก ตรงนี้แหละที่ประสบการณ์จะเข้ามาเกี่ยวข้องและช่วยการตีความของคุณให้เป็นกลาง เมื่อคุณอ่านยอห์น 17:5 คุณรู้สึกไหมว่านั่นไม่ใช่พระเยซูที่เรารู้จัก? พระเยซูที่เรารู้จักจะไม่แสวงหาเกียรติของพระองค์เอง แต่ข้อนี้ดูเหมือนกำลังพูดว่าที่จริงพระองค์ทรงแสวงหาเกียรติของพระองค์เอง
เมื่อผมตรวจสอบการใช้คำ “เกียรติ” ของยอห์น ผมพบว่ายอห์นไม่ได้กำลังพูดถึงสิ่งที่คนส่วนใหญ่คิดว่าเขากำลังพูดเช่นนั้น คุณเคยมีประสบการณ์จากการอ่านข้อความในพระคัมภีร์และรู้สึกว่ามันหมายถึงสิ่งที่ต่างจากการตีความตามแบบของข้อความนั้นไหม? คนส่วนใหญ่สรุปจากยอห์น 17:5 ว่าพระเยซูกำลังแสวงหาเกียรติของพระองค์เอง นี่เป็นข้อสรุปที่แม้แต่กับในหมู่ผู้ที่รู้ว่าพระเยซูไม่ได้ต้องการจะเป็นพระเจ้า เรารู้สึกได้ว่ามีบางอย่างที่ไม่ถูกต้องกับการแปลความหมายของเรา แต่เราก็ไม่สามารถจะหาข้อผิดพลาดได้
คราวก่อนผมได้พูดถึงคำนาม “”[57] (เกียรติ) แต่ไม่ได้พูดถึงคำกริยา “
”[58] (ได้รับเกียรติ) คำกริยานี้ในยอห์นปรากฏบ่อยครั้งกว่าคำนาม ให้เราดูยอห์น 1:14 และดูว่าเรามักจะเข้าใจความคิดของยอห์นผิดๆในเรื่องเกียรติอย่างไร “พระวาทะทรงเกิดเป็นมนุษย์และประทับอยู่ท่ามกลางเรา พระองค์ทรงเปี่ยมด้วยพระคุณและความจริง เราได้เห็นพระเกียรติสิริของพระองค์ คือพระเกียรติสิริของพระบุตรองค์เดียวผู้ทรงมาจากพระบิดา” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)
“เราได้เห็นพระเกียรติสิริของพระองค์” แต่มีที่ไหนในพระกิตติคุณยอห์นหรือที่เราได้เห็นพระเกียรติสิริของพระเยซู? พระกิตติคุณยอห์นมี 21 บท จากบท 12 เป็นต้นไปเป็นส่วนที่ยาวซึ่งใช้เนื้อที่เกือบครึ่งหนึ่งของพระกิตติคุณนี้ ยอห์นพูดถึงความทุกข์ทรมานและความตายของพระคริสต์ ดังนั้นเราจะเห็นพระเกียรติสิริของพระเยซูได้ที่ไหนในพระกิตติคุณยอห์นหรือ? เมื่อยอห์นกล่าวว่า “เราได้เห็นพระเกียรติสิริของพระองค์” เขากำลังกล่าวถึงการจำแลงพระกายไหม? แต่มันไม่ได้มีเรื่องราวของการจำแลงพระกายในพระกิตติคุณของยอห์นแม้ว่าเรื่องนี้จะพบอยู่ในพระกิตติคุณสามเล่มแรก
ยอห์นกำลังหมายถึงการอัศจรรย์ต่างๆของพระองค์ไหม? แต่ว่าการอัศจรรย์เหล่านั้นพระบิดาเป็นผู้ทำผ่านพระเยซู “พระเกียรติ” ในยอห์น 2:11 ถูกนำมาใช้ในการอ้างอิงถึงการเปลี่ยนน้ำให้เป็นน้ำองุ่น[59] แต่ท้ายที่สุดแล้วเกียรติเป็นของพระบิดา ในยอห์น 11:40 พระเยซูตรัสกับมารธาว่า “เราบอกเจ้าแล้วไม่ใช่หรือว่าถ้าเจ้าเชื่อ เจ้าจะเห็นพระเกียรติสิริของพระเจ้า?”[60] เมื่อการทำหมายสำคัญและการอัศจรรย์เกิดขึ้นนั้นเป็นการสำแดงพระเกียรติของพระเยซูหรือว่าพระเกียรติของพระเจ้า? แง่มุมของการมองทะลุผ่านได้ก็มีขึ้นอีกครั้งคือที่พระเกียรติของพระเยซูเผยให้เห็นพระเกียรติของพระเจ้า
ถ้าคุณจะค้นพระกิตติคุณยอห์นอย่างละเอียดคุณจะไม่พบสิ่งที่มาอธิบาย “เราได้เห็นพระเกียรติสิริของพระองค์” คราวก่อนเราได้เห็นว่าพระเกียรติของพระคริสต์ก็คือเกียรติในความตายของพระองค์และการที่พระองค์ถูกยกขึ้นบนกางเขน สิ่งนี้ไม่ใช่เกียรติแบบที่เราคาดหวัง ไม่เพียงแต่พระเยซูจะไม่ต้องการเป็นพระเจ้า พระองค์ก็ไม่ต้องการเกียรติใดๆเพื่อตัวของพระองค์เองนอกจากเกียรติของการถูกยกขึ้นบนกางเขน นี่แหละคือพระเยซูที่ผมรู้จัก!
พระเยซูผู้แสวงหาเกียรติของพระองค์เองดังที่คนจำนวนมากตีความพระองค์ในยอห์น 17:5 นั้นไม่ใช่พระเยซูที่ผมรู้จัก เมื่อผมได้ตรวจสอบความหมายของ “เกียรติ” ในยอห์น ผมจึงเข้าใจว่าเกียรติที่พระเยซูทรงแสวงหาก็คือเกียรติในแผนการนิรันดร์ของพระเจ้าเกี่ยวกับความรอดของมวลมนุษย์ นั่นคือเกียรติจากความตายของพระองค์และการที่พระองค์ถูกยกขึ้นบนกางเขน
ความสำคัญของการมีประสบการณ์เห็นได้จากการเตือนให้ผมเห็นสิ่งผิดปกติในวิธีที่เราแปลความยอห์น 17:5 ผมจึงทำการตีความเพื่อให้ประสบการณ์อยู่บนรากฐานที่แน่นของพระคัมภีร์ เราเริ่มจากประสบการณ์ไปหาการตีความ ไปหาการขยายความ สาม “การ” ที่ทำกลับลำดับกัน
ผมตรวจดูคำ “” (ได้รับเกียรติ) และพบว่ามีปรากฏ 23 ครั้งในพระกิตติคุณยอห์นซึ่งบ่อยครั้งกว่าเล่มใดในพระคัมภีร์ใหม่ เล่มต่อมาที่มีปรากฏบ่อยสุดคือลูกาซึ่งมีปรากฏ 9 ครั้ง เล่มต่อมาคือโรมซึ่งมีปรากฏ 5 ครั้ง ดังนั้นคำกริยา “
” (ได้รับเกียรติ) จึงเป็นคำศัพท์พิเศษของยอห์นและมีความหมายพิเศษในยอห์น ทั้ง “
“(เกียรติ) และ “
”(ได้รับเกียรติ) จะพบในยอห์น 17:5
ความเชื่อมโยงกันระหว่างเกียรติและความตายจะเห็นในช่วงก่อนหน้านี้ในยอห์น 11:4 เกี่ยวกับความตายของลาซารัส “โรคนี้จะไม่ถึงตาย (ยังไม่ถึงที่สุด) แต่เกิดขึ้นเพื่อเชิดชูพระเกียรติของพระเจ้า เพื่อให้พระบุตรของพระองค์ได้รับเกียรติเพราะโรคนี้” (ฉบับมาตรฐาน 2011) ความคิดของยอห์นเรื่องเกียรติไม่ได้ใช้กับพระเยซูเท่านั้นแต่ใช้กับลาซารัสในกรณีนี้ด้วย จงสังเกตความเชื่อมโยงที่แยกกันไม่ได้ระหว่างพระเกียรติของพระเจ้ากับพระเกียรติของพระบุตรของพระเจ้า เพราะการถวายพระเกียรติพระเจ้าก็คือการถวายพระเกียรติพระบุตร การถวายพระเกียรติพระบุตรก็คือการถวายพระเกียรติพระเจ้า
การปรากฏ 20 จาก 23 ครั้งของคำ “ได้รับเกียรติ” ในยอห์นจะอยู่ในครึ่งหลังของพระกิตติคุณ เริ่มต้นจากบท 12 ส่วนทั้งหมดนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความตายของพระเยซูซึ่งเป็นพระเกียรติสิริของพระองค์ ตัวอย่างเช่น ยอห์น 12:16 กล่าวว่า “ตอนแรกเหล่าสาวกไม่เข้าใจเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ แต่เมื่อพระเยซูทรงได้รับพระเกียรติสิริแล้ว พวกเขาจึงตระหนักว่าสิ่งเหล่านี้มีเขียนไว้เกี่ยวกับพระองค์ และพวกเขาได้กระทำเช่นนั้นถวายพระองค์” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย) ข้อนี้พูดถึงพระเกียรติของพระเยซูในแง่ของการทุกข์ทรมานและความตายในเงื้อมมือศัตรูของพระองค์ เกียรติแบบนี้แตกต่างกันมากจากความหมายของ “เกียรติ” ตามที่มักจะเข้าใจกัน มันไม่ใช่เกียรติที่มนุษย์ยกย่อง เพราะมันมาจากการที่พระเยซูทรงถูกยกขึ้นบนกางเขน (ยอห์น 3:14)
พระเยซูตรัสว่า “ถึงเวลาแล้วที่บุตรมนุษย์จะได้รับพระเกียรติสิริ เราบอกความจริงแก่ท่านว่า ถ้าเมล็ดข้าวสาลีไม่ได้ตกลงไปในดินและตายไป ก็จะคงอยู่เพียงเมล็ดเดียว แต่ถ้าตายแล้วก็จะเกิดผลให้มีเมล็ดอื่นๆมากมาย” (ยอห์น 12:23-24 ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย) ตรงนี้เราเห็นเกียรติของบุตรมนุษย์เกี่ยวข้องกับความตายของพระองค์ เกียรตินี้ยังมาจากการเกิดผลมากฝ่ายวิญญาณของพระองค์ด้วย และผลที่ตามมานั้นเป็นการถวายเกียรติพระบิดา “เมื่อท่านทั้งหลายเกิดผลมาก ก็เป็นการถวายเกียรติแด่พระบิดาของเรา และเป็นการสำแดงว่าตัวท่านเองคือสาวกของเรา” (ยอห์น 15:8 ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)
พระเยซูยังตรัสว่า “บัดนี้บุตรมนุษย์ได้รับเกียรติสิริแล้ว และพระเจ้าทรงได้รับพระเกียรติสิริเพราะบุตรมนุษย์ด้วย ถ้าพระเจ้าทรงได้รับพระเกียรติสิริเพราะบุตรมนุษย์ พระเจ้าเองก็จะทรงให้บุตรมนุษย์ได้รับเกียรติสิริ และพระองค์จะทรงให้บุตรมนุษย์ได้รับเกียรติสิริในทันที” (ยอห์น 13:31-32 ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)” บุตรมนุษย์ได้รับเกียรติและพระเจ้าทรงได้รับพระเกียรติในบุตรมนุษย์ เกียรติของคนหนึ่งก็เป็นเกียรติของอีกคนหนึ่งเพราะพระยาห์เวห์สถิตอยู่ในพระกายของพระเยซู ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นกับบุตรมนุษย์ก็เกิดขึ้นกับพระยาห์เวห์ด้วย
ความคิดของยอห์นเรื่องเกียรติจะแตกต่างจากของเรา ถ้าเราใช้ข้อดังเช่นยอห์น 17:5[61] นี้นอกบริบท เราก็จะแปลความให้หมายความว่าพระเยซูกำลังแสวงหาเกียรติของพระองค์เอง แต่ขณะเดียวกัน เราก็รู้สึกว่าภาพของพระเยซูนี้ไม่สอดคล้องกับความถ่อมพระทัยของพระองค์ พระองค์กำลังจะสิ้นพระชนม์ ดังนั้นพระองค์จึงตรัสกับพระบิดาเป็นคำอธิษฐานของมหาปุโรหิตว่า “ถึงเวลาแล้ว เวลานี้ที่ข้าพระองค์เฝ้ารอ ขอโปรดให้ข้าพระองค์ได้รับเกียรติตามแผนการที่พระองค์ทรงมีก่อนที่โลกนี้มีมา เพราะบุตรมนุษย์ได้ถูกประหารตั้งแต่แรกสร้างโลก” พระเยซูไม่สามารถจะตรึงพระองค์เองได้ พระองค์จึงมอบพระองค์เองไว้กับพระบิดาเพื่อเป็นเครื่องบูชา ที่ทำให้เรานึกถึงเรื่องของอับราฮัมและการถวายอิสอัคเป็นเครื่องบูชา
มีข้อที่คล้ายกันนี้อีกมาก คำ “” (doxazō, ถวายเกียรติ[62]) ที่ปรากฏ 20 ครั้งในยอห์นบท 12 เป็นต้นไปนั้น คุณสามารถอ่านข้อเหล่านี้ด้วยตัวคุณเอง คำนี้ปรากฏครั้งสุดท้ายเมื่อใช้กับเปโตรในยอห์น 21:19 “พระเยซูตรัสเช่นนี้เพื่อบ่งบอกว่าเปโตรจะถวายพระเกียรติสิริแด่พระเจ้าด้วยการตายอย่างไร แล้วพระองค์ตรัสกับเขาว่า ‘จงตามเรามาเถิด!’”[63] การตายของเปโตรจะถวายเกียรติพระเจ้า ถ้าไม่มีการตายก็ไม่มีการถวายเกียรติพระเจ้า วิธีที่จะถวายเกียรติพระเจ้าก็คือการตายเพื่อพระองค์ พระเยซูจึงบอกเปโตรให้ตามพระองค์ไปในทางที่พระองค์ไปมาก่อนแล้ว
คุณเห็นความดีงามของพระเยซูไหม? คุณเข้าใจพระองค์ไหม? เราแทบจะไม่เข้าใจพระองค์เพราะว่าเราเต็มไปด้วยเนื้อหนัง แต่ถ้าเราเรียนรู้ที่จะเป็นเหมือนพระเยซูมากขึ้น เราก็จะเข้าใจพระองค์ได้ไม่ยาก พระองค์ไม่ต้องการจะเป็นพระเจ้า เกียรติเพียงอย่างเดียวที่พระองค์เสาะหาสำหรับพระองค์เองก็คือเกียรติในการตายบนกางเขน จากนั้นพระองค์ได้สอนสาวกของพระองค์ให้เดินตามรอยพระองค์
เราเข้าใจความสัมพันธ์ของพระเยซูกับพระบิดาไหม? ในแง่ของหลักคำสอนผมไม่สามารถจะอธิบายได้ แต่ในแง่ของประสบการณ์ผมเข้าใจได้อย่างดี คุณเองก็ต้องยืนยันว่าคำกล่าวของโธมัสเป็นความจริงในประสบการณ์ของคุณเองหรือไม่
เกียรติของพระเยซูไม่ได้มีความหมายอย่างอื่นนอกจากว่าเป็นเกียรติของพระเจ้า (พระยาห์เวห์) ในพระองค์ พระเยซูได้รับเกียรติด้วยเกียรติของพระบิดาโดยการสถิตอยู่ของพระบิดา นั่นก็คือโดยการสถิตอยู่ของพระยาห์เวห์ในพระกายของพระเยซู การสถิตอยู่ภายในนี้ทำให้เราแยกได้ยากว่าคนไหนเป็นคนไหน เพราะพระบิดาและพระบุตรแยกจากกันไม่ได้และแยกไม่ออกในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่เห็นจากคำพูดว่า “เรากับพระบิดาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” (ยอห์น 10:30) เพราะความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้เองจึงทำให้เมื่อคุณสัมพันธ์กับคนนี้คุณก็จะสัมพันธ์กับอีกคนหนึ่งด้วย
นี่เป็นเรื่องของประสบการณ์ ผมคิดว่าหลักคำสอนจะไม่สามารถระบุสิ่งนี้ได้อย่างชัดเจน การที่พระเยซูไม่ใช่พระยาห์เวห์ (และเพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่พระเจ้า) ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อความสัมพันธ์ของเรากับพระเยซู มันไม่ได้ลดคุณค่าของพระองค์ที่มีกับเรา เพราะถ้าไม่มีพระเยซูเราก็ไม่สามารถจะมาหาพระยาห์เวห์พระบิดาของเราได้ พระยาห์เวห์ตรัสกับเราในและทางพระเยซู พระเยซูทรงเป็นตัวเชื่อมต่อที่ขาดไม่ได้ระหว่างเรากับพระยาห์เวห์ จะมีอะไรสำคัญมากกว่านั้นไหม?
[1] โคหนุ่ม
[2] Ba’al
[3] อพยพ 32:4 เมื่ออาโรนได้ทองคำจากพวกเขาแล้ว จึงใช้เครื่องมือหล่อทองคำเป็นรูปโคหนุ่ม แล้วเขาทั้งหลายประกาศว่า “โอ อิสราเอล สิ่งเหล่านี้แหละเป็นพระของเจ้า ซึ่งนำเจ้าออกจากแผ่นดินอียิปต์” (ฉบับมาตรฐาน 2011) -ผู้แปล
[4] อพยพ 32:19-20 “พอโมเสสเข้ามาใกล้ค่าย ได้เห็นรูปโคและคนเต้นรำ โทสะของโมเสสก็เดือดพลุ่งขึ้น ท่านโยนแผ่นศิลาในมือทิ้งตกแตกเสียที่เชิงภูเขานั่นเอง แล้วท่านเอารูปโคที่พวกเขาทำไว้ไปเผาเสีย และบดเป็นผงโรยลงในน้ำ และบังคับให้คนอิสราเอลดื่ม” (ฉบับมาตรฐาน 2011) -ผู้แปล
[5] 天子 (Son of Heaven) หรือ “ตามบัญชาจากสวรรค์”
[6] Queen of Heaven
[7] 2 พงศาวดาร 36:21 “เพื่อให้สำเร็จตามพระวจนะของพระยาห์เวห์ผ่านปากของเยเรมีย์ จนกว่าแผ่นดินได้พักตามสะบาโตที่ควรมี คือตลอดวันเวลาที่ถูกทิ้งร้างนั้น มันได้พักตามสะบาโต จนครบกำหนดเจ็ดสิบปี” (ฉบับมาตรฐาน 2011)
เยเรมีย์ 29:10 “เพราะพระยาห์เวห์ตรัสดังนี้ว่า ‘เมื่อครบ 70 ปีแห่งบาบิโลนแล้ว เราจะเยี่ยมเยียนพวกเจ้าและจะให้คำสัญญาของเราสำเร็จเพื่อเจ้าและจะนำเจ้ากลับมาสู่สถานที่นี้’” (ฉบับมาตรฐาน 2011) –ผู้แปล
[8] “Shema”
[9] แปลตามต้นฉบับภาษาฮีบรู แต่คำแรกในพระคัมภีร์ภาษาไทยจะเป็น “โอ คนอิสราเอล” เช่น “โอ คนอิสราเอล จงฟังเถิด พระยาห์เวห์ พระยาห์เวห์เท่านั้นทรงเป็นพระเจ้าของเรา” (ฉบับมาตรฐาน 2011) -ผู้แปล
[10] “ห้ามสาบานออกนามของเราเป็นความเท็จ ทำให้พระนามพระเจ้าของเจ้าเป็นที่เหยียดหยาม เราคือยาห์เวห์” (ฉบับมาตรฐาน 2011)
[11] “Adonai” หรือ “องค์เจ้านาย” (“Lord”) (ผู้แปล)
[12] Septuagint พระคัมภีร์เดิมภาษากรีกที่แปลมาจากต้นฉบับพระคัมภีร์เดิมภาษาฮีบรู (ผู้แปล)
[13] 1 โครินธ์ 1:3 “ขอพระคุณและสันติสุขจากพระเจ้าพระบิดาของเรา และจากพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าดำรงอยู่กับท่านทั้งหลาย” (ฉบับมาตรฐาน 2011) -ผู้แปล
[14] ยอห์น 8:11 นางทูลว่า “ท่านเจ้าข้า ไม่มีใครเลย” ฉบับมาตรฐาน 2011 ( She said, "No one, Lord." John 8:11 NAU)-ผู้แปล
[15] “After I have become old, shall I have pleasure, my lord being old also?" Genesis 18:12 NAU)
ปฐมกาล 18:12 ว่า “ฉะนั้นนางซาราห์จึงหัวเราะในใจพูดว่า ข้าพเจ้าแก่แล้ว นายของข้าพเจ้าก็แก่ด้วย”(ฉบับไทยคิงเจมส์) -ผู้แปล
[16] 1 เปโตร 3:6 “เช่นนางซาราห์เชื่อฟังอับราฮัมและเรียกท่านว่านาย ถ้าท่านทั้งหลายประพฤติดีและไม่มีความหวาดกลัวสิ่งใด พวกท่านก็เป็นบุตรหลานของนาง” (ฉบับมาตรฐาน 2011) -ผู้แปล
[17] ปฐมกาล 18:12 “ฉะนั้นนางซาราห์จึงหัวเราะในใจพูดว่า ข้าพเจ้าแก่แล้ว นายของข้าพเจ้าก็แก่ด้วย ข้าพเจ้าจะมีความยินดีอีกหรือ” (ฉบับไทยคิงเจมส์)
ฉบับมาตรฐาน 2011 แปลว่า “ในเมื่อฉันแก่แล้ว สามีของฉันก็แก่แล้ว ฉันจะยังมีความยินดีอย่างนี้อีกหรือ” (ผู้แปล)
[18] John 4:15 The woman said to Him, "Sir, give me this water, so I will not be thirsty nor come all the way here to draw."
(ยอห์น 4:15 นางทูลพระองค์ว่า “ท่านเจ้าคะ ขอน้ำนั้นให้ดิฉันเถิด เพื่อดิฉันจะได้ไม่กระหายอีก และจะได้ไม่ต้องมาตักที่นี่”)
John 4:49 The royal official said to Him, "Sir, come down before my child dies." (ยอห์น 4:49 ข้าราชการผู้นั้นทูลว่า “ท่านเจ้าข้า โปรดมาก่อนที่บุตรของข้าพเจ้าจะตาย” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย) -ผู้แปล
[19] อิสยาห์ 44:6 “พระยาห์เวห์ ผู้ทรงเป็นองค์กษัตริย์และผู้ไถ่ของอิสราเอล พระยาห์เวห์ผู้ทรงฤทธิ์ตรัสดังนี้ว่า “เราเป็นปฐมและเราอวสาน นอกเหนือจากเราแล้วไม่มีพระเจ้าอื่นใด” (อมตธรรมร่วมสมัย) -ผู้แปล
อิสยาห์ 44:8 “มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากเราหรือ? ไม่มีเลย ไม่มีพระศิลาอื่นใดอีก เราไม่รู้จักสักองค์เดียว” (อมตธรรมร่วมสมัย) -ผู้แปล
[20] ฉบับไทยคิงเจมส์แปลตรงภาษากรีกและอังกฤษว่า “การพูดภาษาต่างๆ” (ผู้แปล)
[21] จากคำภาษาจีน “人” อ่านว่า “เหริน”
[22] 观音 (Guanyim)
[23] 关公 (Guangong) เทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ (ผู้แปล)
[24] ฉบับมาตรฐาน 2011 แปลมัทธิว 6:24 ว่า “ไม่มีใครเป็นข้าสองเจ้า บ่าวสองนายได้ เพราะว่าเขาจะชังนายข้างหนึ่ง และรักนายอีกข้างหนึ่ง หรือเขาจะนับถือนายฝ่ายหนึ่ง และดูหมิ่นนายอีกฝ่ายหนึ่ง ท่านทั้งหลายจะรับใช้พระเจ้าและเงินทองพร้อมกันไม่ได้”
[25] แปลว่า “ผู้เป็นเจ้าหรือนาย” “”
[26] Henotheism
[27] หรือ “ข้าสองเจ้าบ่าวสองนาย”
[28] 1 โครินธ์ 11:3 “ขอให้ท่านตระหนักว่าพระคริสต์ทรงเป็นศีรษะของชายทุกคน และชายเป็นศีรษะของหญิง และพระเจ้าทรงเป็นศีรษะของพระคริสต์” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)
[29] Clover leaf
[30] St. Patrick
[31] Monotheism
[32] Exegesis
[33] Eisegesis (หรือ การตีความเกินจากตัวบท) -ผู้แปล
[34] ฉบับมาตรฐาน 2011
[35] ต้นฉบับภาษาอังกฤษใช้ “สาม E’s” เพราะทั้งสามคำขึ้นต้นด้วยคำที่เหมือนกันว่า “ex” (exposition, exegesis and experience) -ผู้แปล
[36] 1 เปโตร 2:7 “เพราะฉะนั้น พระองค์ทรงมีค่ามหาศาลสำหรับพวกท่านที่เชื่อ แต่สำหรับคนทั้งหลายที่ไม่เชื่อนั้น ศิลาที่ช่างก่อสร้างปฏิเสธไม่เอาแล้ว ศิลานี้กลับกลายเป็นศิลามุมเอก” (ฉบับมาตรฐาน 2011) -ผู้แปล
[37] “ทู โมนู เธอู”
[38] “โมโนเธอิสซึ่ม” (ความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียว) -ผู้แปล
[39] “the praise that comes from only God ” (NIV) หรือ “the one and only God” (NAU) -ผู้แปล
[40] “Shema” (“จงฟัง” จากเฉลยธรรมบัญญัติ 6:4) -ผู้แปล
[41] 1 ทิโมธี 2:5 “เพราะมีพระเจ้าเพียงองค์เดียวและมีคนกลางผู้เดียวระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ คือพระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นมนุษย์” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย) -ผู้แปล
1 Timothy 2:5 For there is one God, and one mediator also between God and men, the man Christ Jesus; (NAU) -ผู้แปล
[42] 1 โครินธ์ 15:45 ดังที่เขียนไว้ว่า “มนุษย์คนแรกคืออาดัม จึงเป็นผู้มีชีวิต” แต่อาดัมสุดท้ายนั้นเป็นวิญญาณผู้ประทานชีวิต (ฉบับมาตรฐาน 2011) -ผู้แปล
[43] “My Lord and my God” หมายถึง “พระเจ้าและองค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์” เช่น สดุดี 35:23 “ขอทรงตื่นและลุกขึ้นปกป้องข้าพระองค์ พระเจ้าและองค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ ขอทรงต่อสู้เพื่อข้าพระองค์ด้วยเถิด” ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย (Stir up Yourself, and awake to my right And to my cause, my God and my Lord, Ps. 35:23 NAU) -ผู้แปล
[44] “Lord God” หมายถึง “พระยาห์เวห์องค์เจ้านาย” เช่น ปฐมกาล 15:8 อับรามทูลว่า “ข้าแต่พระยาห์เวห์องค์เจ้านาย ข้าพระองค์จะทราบได้อย่างไรว่า จะได้ดินแดนนี้เป็นกรรมสิทธิ์?” ฉบับมาตรฐาน 2011 (He said, "O Lord GOD, how may I know that I will possess it?", Gen. 15:8 NAU) -ผู้แปล
[45] “The Lord your God” หมายถึง “พระยาห์เวห์พระเจ้าของเจ้า” เช่น เฉลยธรรมบัญญัติ 5:6 ‘เราคือยาห์เวห์พระเจ้าของเจ้า ผู้ได้นำเจ้าออกจากแผ่นดินอียิปต์คือออกจากแดนทาส’ ฉบับมาตรฐาน 2011 ('I am the LORD your God who brought you out of the land of Egypt, out of the house of slavery, Deut. 5:6 NAU) -ผู้แปล
[46] “The Lord our God” หมายถึง “พระยาห์เวห์พระเจ้าของเรา” เช่น สดุดี 99:5 จงยกย่องพระยาห์เวห์พระเจ้าของเรา จงนมัสการที่แท่นรองพระบาทของพระองค์ พระองค์บริสุทธิ์” ฉบับมาตรฐาน 2011 (Exalt the LORD our God And worship at His footstool; Holy is He, Ps. 99:5 NAU) -ผู้แปล
[47] ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย (จาก Revelation 19:6 "Hallelujah! For the Lord our God, the Almighty, reigns. NAU) -ผู้แปล
[48] จากคำกรีก “kurios” กับ “theos” (ผู้แปล)
[49] ยอห์น 20:28 โธมัสทูลพระองค์ว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ และพระเจ้าของข้าพระองค์” (ฉบับ 1971) -ผู้แปล
[50] a second person ในความหมายของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ (ผู้แปล)
[51] ปฐมกาล 3:8-9 เวลาเย็นวันนั้น เขาทั้งสองได้ยินเสียงพระยาห์เวห์พระเจ้าเสด็จดำเนินอยู่ในสวน ชายนั้นกับภรรยาของเขาก็ซ่อนตัวอยู่ในหมู่ต้นไม้กลางสวน ให้พ้นจากพระพักตร์พระยาห์เวห์พระเจ้า พระยาห์เวห์พระเจ้าทรงเรียกชายนั้นและตรัสถามเขาว่า “เจ้าอยู่ที่ไหน?”
[52] ที่พระเยซูทรงล้างเท้าสาวก (ผู้แปล)
[53] เฉลยธรรมบัญญัติ 34:5-6 ดังนั้นโมเสสผู้รับใช้ของพระยาห์เวห์ จึงสิ้นชีวิตที่นั่นในแผ่นดินโมอับ ตามพระดำรัสของพระยาห์เวห์ และพระองค์ทรงฝังท่านไว้ในหุบเขาในแผ่นดินโมอับตรงข้ามเบธเปโอร์จนถึงทุกวันนี้ไม่มีใครรู้จักที่ฝังศพของท่าน (ฉบับมาตรฐาน 2011)-ผู้แปล
[54] ยอห์น 14:9 พระเยซูตรัสกับเขาว่า “ฟีลิป เราอยู่กับท่านนานถึงขนาดนี้แล้วท่านยังไม่รู้จักเราอีกหรือ? คนที่ได้เห็นเราก็ได้เห็นพระบิดา ท่านจะพูดได้อย่างไรอีกว่า ‘ขอสำแดงพระบิดาให้พวกข้าพระองค์เห็น?” (ฉบับมาตรฐาน 2011)-ผู้แปล
[55] ยอห์น 17:3 “และนี่แหละคือชีวิตนิรันดร์ คือการที่พวกเขารู้จักพระองค์ ผู้ทรงเป็นพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียว และรู้จักพระเยซูคริสต์ที่พระองค์ทรงใช้มา” (ฉบับมาตรฐาน 2011)
[56] “The man who didn’t want to be God”
[57] doxa
[58] doxazō
[59] ยอห์น 2:11 “พระเยซูทรงกระทำสิ่งนี้ซึ่งเป็นหมายสำคัญครั้งแรกของพระองค์ที่หมู่บ้านคานาในแคว้นกาลิลี ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงได้ทรงสำแดงพระเกียรติสิริของพระองค์ และเหล่าสาวกของพระองค์ก็มีความเชื่อในพระองค์” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)-ผู้แปล
[60] ยอห์น 11:40 “เราบอกเธอแล้วไม่ใช่หรือว่า ถ้าเธอเชื่อ ก็จะได้เห็นความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย) -ผู้แปล
[61] ยอห์น 17:5 “บัดนี้ข้าแต่พระบิดา ขอโปรดให้ข้าพระองค์ได้รับเกียรติต่อพระพักตร์ของพระองค์ คือเกียรติที่ข้าพระองค์มีร่วมกับพระองค์ก่อนที่โลกนี้มีมา” (ฉบับมาตรฐาน 2011) -ผู้แปล
[62] หรือ “ได้รับเกียรติ” เมื่ออยู่ในรูปของกาลกริยาที่ต่างกัน
[63] ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย