pdf pic

บทที่ 10

 

opq9f8d60W7AwO14vHJ-o.png

 

การตีความพระคัมภีร์กับความเชื่อในตรีเอกานุภาพ

 

 

ศาสนศาสตร์และมนุษยวิทยา

         ในเจ็ดบทแรกเราได้พิจารณาเรื่องความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวและในสองบทหลังเราได้ดูเรื่องมนุษย์ในบริบทของแผนการของพระเจ้าและพระประสงค์สำหรับมนุษย์     ดังนั้นเจ็ดบทแรกจึงเป็นศาสนศาสตร์[1]ตามพระคัมภีร์และสองบทหลังเป็นมนุษยวิทยาตามพระคัมภีร์  ภายในศาสนศาสตร์ตามพระคัมภีร์นั้นบางครั้งผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพจะแยกความแตกต่างระหว่าง “ศาสนศาสตร์เกี่ยวกับองค์พระเจ้า(พระบิดา)”[2] กับศาสนศาสตร์เกี่ยวกับองค์พระคริสต์[3] แม้พวกเขาจะยังคงถือว่าศาสนศาสตร์เกี่ยวกับองค์พระคริสต์เป็นส่วนหนึ่งของศาสนศาสตร์ตามพระคัมภีร์เพราะพระเยซูถูกกล่าวว่าเป็นพระเจ้าตามความเชื่อในตรีเอกานุภาพ  ถึงแม้จะมีการแยกให้แตกต่างระหว่าง “ศาสนศาสตร์เกี่ยวกับองค์พระคริสต์กับศาสนศาสตร์เกี่ยวกับองค์พระเจ้า (พระบิดา)” แต่ก็ยังหมายความว่าศาสนศาสตร์เกี่ยวกับองค์พระคริสต์คือ “ศาสนศาสตร์เกี่ยวกับพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่รวมอยู่ในบุคคลเดียว”[4] ซึ่งไม่ได้เป็นการพูดกระทบกระเทียบที่เกินจริงในเรื่องนี้

         เรายังได้พิจารณาเกี่ยวกับมานุษยวิทยา (เทียบเคียง ch10 1) ซึ่งเป็นคำสอนเกี่ยวกับมนุษย์ตามพระคัมภีร์  การเข้าใจศาสนศาสตร์ตามพระคัมภีร์และมนุษยวิทยาตามพระคัมภีร์นั้น เราจำเป็นต้องมีความคิดใหม่ทั้งหมดเกี่ยวกับพระเจ้าและความคิดใหม่ทั้งหมดเกี่ยวกับมนุษย์  การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นสิ่งใหม่และเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่กับความคิดของผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพ ถ้าเราอยากจะเข้าใจพระคริสต์อย่างถูกต้องและเข้าใจความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริงและเห็นมนุษย์ได้รับการยกย่องในแผนการของพระเจ้าละก็  เราจะต้องเปลี่ยนความคิดทั้งหมดของเราเกี่ยวกับมนุษย์เสียใหม่

         ที่ผ่านมาเราเมินเฉยคำสอนของพระคัมภีร์ที่ว่ามนุษย์ต่ำกว่าพระเจ้าเพียงหน่อยเดียว (สดุดี 8:5 มีคำ “เอโลฮิม” อยู่ในข้อความภาษาฮีบรู) ที่จริงแล้วพระเจ้าได้ทรงสร้างมนุษย์ให้ต่ำกว่าพระองค์เองหน่อยเดียว  ซึ่งก็หมายถึงว่ามนุษย์ไม่มีทางจะสูงกว่านี้ที่จะเท่าเทียมกับพระเจ้าได้  เราจึงรับได้ยากอย่างยิ่งว่าพระคริสต์ทรงเป็นมนุษย์เพราะเราถือว่ามนุษย์ไร้ค่าและยังเลวทรามอีก มันเป็นไปได้ที่แต่ละคนจะเลวทราม  แต่นั่นก็ไม่เหมือนอย่างที่ศาสตร์เกี่ยวกับพระเจ้าของประเทศตะวันตกได้สอนไว้ว่ามนุษย์ทุกคนเลวทรามจนถึงสันดานของเขาเลยทีเดียว  แต่เมื่อความคิดของเราเปลี่ยนไปอย่างทั้งหมดเราจึงจะสามารถเข้าใจมนุษย์ได้อย่างถูกต้อง  และเมื่อผมดูมนุษย์ตามความจริงในพระคัมภีร์ มันเหมือนว่าได้เอาม่านที่บังตาออกจากหน้าของผมและตอนนี้ผมเห็นพระประสงค์อันเยี่ยมยอดของพระเจ้าที่มีสำหรับมนุษย์ได้อย่างชัดเจนโดยมีพระคริสต์เป็นหัวปีของมนุษยชาติใหม่  ไม่มีการยกย่องพระคริสต์ที่มากกว่านี้ในพระคัมภีร์เว้นแต่ว่าเราจะยกพระองค์ขึ้นและทำให้พระองค์เป็นพระเจ้าในความหมายอย่างนั้นจริงๆ   ผมพูดว่า “ความหมายอย่างนั้นจริงๆ” ก็เพราะคำว่า “พระเจ้า” ไม่ว่าจะเป็นคำ “เอโลฮิม”[5] (ch10 2) ในพระคัมภีร์เดิม  หรือเป็นคำ “เธ-ออส”[6] (ch10 3) ในพระคัมภีร์ใหม่ยังใช้กับมนุษย์ด้วยซึ่งสามารถยืนยันได้โดยการค้นดูในพจนานุกรมภาษาฮีบรูหรือภาษากรีก   แต่นี่ไม่ใช่เรื่องหลักของเราในตอนนี้และเราก็ไม่ต้องการจะข้ามเส้นระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์อย่างแน่นอน อาดัมกับเอวาได้ข้ามเส้นนั้นที่พวกเขาอยากจะเป็นเหมือนพระเจ้า แต่พระเยซูไม่เคยข้ามเส้นนั้น (แม้ความเชื่อในตรีเอกานุภาพจะได้ข้ามเส้นให้พระองค์โดยการทำให้พระองค์เป็นพระเจ้า)

ใครจะเป็นคนที่ใช้ดาบของพระวิญญาณ?

          เรามาถึงเรื่องสำคัญของการตีความพระคัมภีร์ที่มีน้อยคนจะเข้าใจ แม้ผมจะอธิบายการตีความพระคัมภีร์กับคุณมากแค่ไหนมันก็จะไม่แตกต่างอะไรจนกว่าคุณจะรู้วิธีทำการตีความด้วยตัวของคุณเอง  สิ่งที่ผมเป็นห่วงจริงๆขณะที่ผมเฉียดเป็นไม้ใกล้ฝั่งเข้าไปทุกทีก็คือ ใครจะเป็นคนรับช่วงทำการตีความพระคัมภีร์ต่อจากผมและทำต่อไป มันยากที่จะเห็นใครสักคนใต้ขอบฟ้านี้ที่สามารถรับมือในการตีความพระคัมภีร์ได้ มันเป็นทักษะ เป็นศิลป์  เป็นศาสตร์ เป็นทั้งหมดรวมๆกัน   พวกเราบางคนจะชำนาญในด้านหนึ่งมากกว่าอีกคนหนึ่ง และคนอื่นๆจะชำนาญกว่าในด้านอื่น  แต่ไม่มีใครจะเก่งไปเสียทุกด้าน  เรื่องนี้ไม่ได้เป็นกับเฉพาะผู้ร่วมงานของผมเท่านั้น แต่ยังเป็นกับบรรดาผู้นำของคริสตจักรและบรรดานักศาสนศาสตร์ทั่วโลกด้วย  ทุกวันนี้เราจะหางานการตีความที่ดีสักชิ้นจากตอนใดๆของพระคัมภีร์ที่มีความสมดุลและถูกต้องและตรงกับพระคัมภีร์ได้ยาก

         แต่ซาตานกลัวการตีความพระคัมภีร์มากกว่าสิ่งใด  ผมไม่ได้พูดเกินจริงเมื่อผมบอกว่ามารมันตัวสั่นเมื่อผมชักดาบของพระวิญญาณออกมา  อาวุธอันน่าสะพรึงกลัวนี้เป็นดาบที่มีคมสองด้านของพระวิญญาณซึ่งก็คือพระคำของพระเจ้าที่จะทำให้มารตัวสั่น เพราะมันจะเฉือนความเชื่อผิดหรือความเท็จออกเป็นชิ้นๆไม่ว่าจะมีการแก้ต่างอย่างหนักแน่นหรือจะให้เหตุผลอย่างน่าเชื่อถือแค่ไหนก็ตาม

         เมื่อผมหันคมดาบไปที่ข้อพิสูจน์ของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ ข้อพิสูจน์เหล่านั้นก็ล้มไม่เป็นท่าและแหลกไม่มีชิ้นดีตรงปลายคมดาบ สิ่งนี้ทำให้ผมประทับใจเพราะเมื่อก่อนผมได้แกว่งดาบไปที่อีกด้านหนึ่งของข้อพิสูจน์ เวลานั้นผมไม่รู้ว่าดาบนี้ไม่ได้มุ่งหมายเพื่อปกป้องคำสอนเทียมเท็จแต่มีประสิทธิภาพในการทำลายมัน วันนี้ผมจะให้ตัวอย่างความมีประสิทธิภาพของดาบแห่งพระวิญญาณซึ่งก็คือพระคำของพระเจ้า  หลักคำสอนจะยืนหยัดอยู่ได้ก็เมื่อมันตั้งอยู่บนการตีความที่ถูกต้อง  คำสอนใดๆที่ขาดรากฐานการตีความที่หนักแน่น สุดท้ายก็จะพบว่าเป็นความเท็จดังที่ผมค้นพบว่าความเชื่อในตรีเอกานุภาพเป็นอย่างนั้น

         คราวก่อนผมได้พูดถึงศิลปะการต่อสู้และขุนศึกที่ยิ่งใหญ่  จอมยุทธ์คนเดียวที่สามารถประมือกับคู่อริถึงห้าหรือสิบคนหรือทั้งกองทัพได้  นี่คือแรมโบ้ในแบบจีน  ไม่มีใครล้มเขาได้เพราะดาบของเขากวัดแกว่งเอาชนะคู่อริทุกคน  บางครั้งเขาจะบุกลิ่วเข้าไปในค่ายของศัตรูแล้วจัดการกับทั้งกองทัพแล้วมีผู้คนล้มตายเกลื่อนกลาด  มีเรื่องราวมากมายของจอมยุทธ์เหล่านี้กับชัยชนะของพวกเขาทั้งในประวัติศาสตร์หรือในตำนาน  และสิ่งเหล่านี้ก็สอนให้เรารู้ถึงการอุทิศตัว ความช่ำชอง และการฝึกฝนที่หนักหน่วงในวิทยายุทธ์ของพวกเขา  แต่ก็ไม่มีใครจะเปรียบได้กับคนที่รู้วิธีการใช้ดาบของพระวิญญาณ ปัญหาในทุกวันนี้ก็คือมีคนน้อยมากที่รู้วิธีใช้มัน นั่นเป็นสภาพการณ์ของเราในปัจจุบันที่ทำให้ผมเป็นห่วงอย่างมาก  ใครจะเป็นคนที่ต่อสู้ต่อไปเมื่อถึงเวลาที่ผมจะวางดาบและจากพันธกิจของผมในโลกนี้  ผมยังไม่เห็นนักดาบฝีมือดีสักคนที่รู้วิธีใช้พระคำของพระเจ้า

         เรายังคงติดอยู่กับความเชื่อในตรีเอกานุภาพที่คอยชี้ให้ผมดูข้อความตรงนี้ตรงนั้นของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ  ผมคิดว่าคุณน่าจะรู้วิธีใช้ข้อความพระคัมภีร์เหล่านี้หลังจากที่ได้ฝึกฝนอบรมมาหลายปี  พวกคุณคงจะไม่ถามคำถามง่ายๆเช่นนี้กับผมหากพวกคุณรู้วิธีที่จะใช้ข้อความพระคัมภีร์เหล่านี้ คุณลองพยายามหาคำตอบเหล่านั้นด้วยตัวคุณเอง  มันเป็นไปได้อย่างไรที่ไม่มีใครรู้วิธีรับมือกับคำถามเหล่านี้หลังจากรับการอบรมมาหลายปี  มันเป็นไปได้อย่างไรที่ไม่มีใครรู้จักวิธีที่จะใช้ดาบแห่งพระวิญญาณทะลุทะลวงความสับสนและแก้ปัญหาทั้งหมดนี้?

สิ่งที่นักตีความต้องมี

         ผมขอสรุปสิ่งที่นักตีความต้องมีและคุณสมบัติที่คุณจะต้องเป็นนักตีความที่เชี่ยวชาญเพื่อนำความจริงในพระคำของพระเจ้าออกมาให้เห็น  การตีความคือการนำเอาสิ่งที่อยู่ในพระคำของพระเจ้าออกมาอย่างไม่ขาดและไม่เกิน  “การตีความ”[7] เป็นคำผสมของ “ch10 4” (ex ออกมาจาก)  กับ  “-egesis” จากคำ “ch10 5”( agō การนำ)  การผสมของ “ch10 6” หมายถึง “การนำออกมา” หรือ “นำออกมาให้เห็น” นำสิ่งที่อยู่ในพระคำของพระเจ้าออกมาให้เห็น  ถ้าการตีความไม่ได้ทำหน้าที่เช่นนี้ก็จะเป็นการตีความที่ไม่ถูกต้อง    เมื่อเราทำการตีความเหมือนกับผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพเราก็ทำอย่างเดียวกับที่เราได้ประณามคือการตีความเกินจากสิ่งที่มีในตัวบท มีเพียงวิธีเดียวที่จะปกป้องคำสอนของความเชื่อในตรีเอกานุภาพไว้ก็คือการตีความสิ่งที่ไม่มีอยู่ในตัวบทเพื่อให้มีสิ่งนั้นอยู่ในตัวบท[8] แต่ถ้าคุณทำการตีความอย่างถูกต้องคุณก็จะนำเอาแต่เฉพาะสิ่งที่มีอยู่ในข้อความนั้นออกมาและหลีกเลี่ยงการตีความเกินจากที่มีในตัวบทตามความคิดหรือคำสอนของคุณเอง[9]

         สิ่งสำคัญที่สุดอย่างแรกที่นักตีความต้องมีก็คือเป็นคนฝ่ายวิญญาณที่แท้จริงและรวมถึงการรักความจริงอย่างแท้จริง  ถ้าความจริงจะทำลายหลักคำสอนที่ผมยึดมั่นมาก็ให้เป็นไปเถอะ เพราะผมไม่มีหลักคำสอนหรือข้อเชื่ออะไรที่จะปกป้องหรือที่จะยึดเอาไว้  ทั้งหมดที่ผมอยากรู้ก็คือความจริงในพระคำของพระเจ้า  ผมคิดว่านี่อาจเป็นเหตุผลที่องค์ผู้เป็นเจ้าจึงได้มอบหมายงานที่ยิ่งใหญ่ที่ผมไม่ได้ไปเสาะหามาเองให้ผมรับมือกับความเชื่อในตรีเอกานุภาพในยุคสุดท้ายนี้  เมื่อคุณมีใจรักความจริงคุณก็พร้อมจะยอมปล่อยทุกสิ่งที่มีค่ายิ่งของคุณ และคำสอนของความเชื่อในตรีเอกานุภาพก็เป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งของผม  คุณจะยอมฟังสิ่งที่องค์ผู้เป็นเจ้ากำลังตรัสกับคุณในพระคำของพระองค์ เรื่องของความเป็นคนฝ่ายวิญญาณนั้นไม่ใช่สิ่งที่สูงและสูงส่งแต่เป็นความสัมพันธ์กับพระเจ้าที่คุณฟังความจริงของพระองค์  เพราะความจริงจะทำให้คุณเป็นไท (ยอห์น 8:32) ที่ผมกำลังเป็นอยู่ขณะนี้ในระดับที่ผมไม่เคยรู้มาก่อน

         อย่างที่สองที่เราจำเป็นต้องมีในการตีความก็คือความเข้าใจที่กระจ่างและความคิดที่ชัดเจน  มีน้อยคนที่สามารถจะคิดได้ชัดเจนแม้กับเรื่องในชีวิตประจำวัน  ผมมักจะเจอคำพูดที่คลุมเครือและสับสนมากจนผมไม่คิดจะถามว่า “ช่วยบอกทีว่าคุณกำลังหมายถึงอะไร?”  คำพูดสับสนมากและเข้าใจยากจนผมไม่อยากจะขบคิด  ความสามารถในการมองเห็นและการคิดอย่างชัดเจนเป็นทักษะที่หายากจนน่าแปลกใจ  เมื่อผมอ่านหนังสือผมมักจะเจอคำกล่าวที่ไม่ชัดเจนและสับสนแบบไร้สาระจริงๆ  นักเขียนก็คงไม่ได้คิดหรอกว่าพวกเขาไร้สาระ  ผมต้องขอโทษที่ปฏิกิริยาทันทีของผมต่อคำกล่าวที่ไร้สาระก็คือการพูดว่า “เหลวไหล” หรือ “ไร้สาระ” หรือ “ไม่เข้าเรื่อง”  แต่ที่ผมพูดแบบนี้ส่วนมากเป็นเพราะความผิดหวัง

         อย่างที่สามคุณจะต้องมีความเข้าใจพระคำของพระเจ้าอย่างเหนียวแน่นทั้งในพระคัมภีร์เดิมและพระคัมภีร์ใหม่  มีน้อยคนมากที่มีคุณสมบัตินี้  เมื่อคุณฟังคำเทศนาคุณจะมองออกว่านักเทศน์ไม่ได้เข้าใจในพระคำของพระเจ้าดีเท่าไร  คำเทศนาที่ขึ้นกับความรู้ในพระคัมภีร์อย่างผิวเผินนั้นจะไม่เลี้ยงหรือเสริมสร้างคริสตจักร  การจะได้ความเข้าใจพระคัมภีร์อย่างลึกซึ้งที่จะเกิดผลมากนั้นต้องใช้เวลาเป็นปีๆในการใคร่ครวญและทำงานอย่างหนัก  แต่คนส่วนมากไม่ชอบที่ต้องทำงานอย่างหนักแบบนี้  แต่ถ้าคุณลงมือทำงานอย่างหนักด้วยพระคุณของพระเจ้าเมื่อคนที่รักความจริงฟังคำเทศนาของคุณ เขาจะบอกว่า “เข้าใจได้ดี”  หากมีบางสิ่งในพระคำของพระเจ้าพูดกับใจของคุณ เมื่อคุณแบ่งปันออกไปมันก็จะพูดกับใจของคนอื่นด้วย แต่คำเทศนาโดยมากจะเป็นตามหัวข้อ คุณตั้งหัวข้อหนึ่งขึ้นมาแล้วคุณก็พูดถึงหัวข้อนั้น  แต่สิ่งที่คุณแบ่งปันไม่มีความลึกในฝ่ายวิญญาณและไม่สามารถจะเจาะใจของผู้ที่ฟังคุณได้

         อย่างที่สี่ก็คือความเข้าใจภาษาฮีบรูกับภาษากรีกที่ขาดอย่างมากในหมู่ผู้ร่วมงานของเราและในหมู่นักศึกษาศาสนศาสตร์ทั่วไป  ผมไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา  แต่คุณต้องพร้อมจะทำงานหนักในการเข้าใจพื้นฐานของภาษา  ภาษาที่พูดถึงนี้ก็คือภาษาของพระวจนะของพระเจ้า  คุณต้องตั้งใจที่จะค้นดูข้ออ้างอิงต่างๆซึ่งเป็นงานที่ทำได้ง่ายขึ้นในยุคคอมพิวเตอร์นี้  เมื่อก่อนโต๊ะของผมจะมีแต่หนังสือ มีพจนานุกรมและศัพท์สัมพันธ์กองซ้อนเป็นตั้งๆ หนังสือพวกนี้เป็นหนังสือเล่มหนาๆจึงต้องออกกำลังเยอะเวลายก ผมจะดึงเล่มหนึ่งออกมาดูแล้วก็ดึงอีกเล่มที่ถูกทับอยู่ข้างใต้กองออกมาดู  ในยุคสมัยของคอมพิวเตอร์นี้เราไม่ต้องยกอะไรหนักๆแล้ว  เราจึงไม่มีข้อแก้ตัวว่าขี้เกียจ

         โปรแกรมไบเบิ้ลเวิร์ค 7 จะให้คุณถึงสิบสองชุดอ้างอิงหรือโปรแกรมอ้างอิงที่ติดตั้งในหน้าต่างเดียวเพียงแค่กดอันที่คุณต้องการ  ก่อนรุ่นที่ 7 จะออกมาผมต้องใช้สองโปรแกรมคู่กัน (ไบเบิ้ลเวิร์ค 5 และไบเบิ้ลเวิร์ค 6) เพื่อใช้สลับไปมา  แต่ตอนนี้ผมมีทั้งสิบสองชุดอ้างอิงอยู่ตรงหน้าผม  ไม่มีอะไรเป็นข้ออ้างให้ขี้เกียจได้อีกแล้ว  ถ้าคุณไม่มีโปรแกรมไบเบิ้ลเวิร์ค 7[10] ก็ต้องใช้ความพยายามอีกหน่อยกับไบเบิ้ลเวิร์ค 5 และ 6  เหมือนที่ผมทำมาหลายปี

         โปรแกรมไบเบิ้ลเวิร์คมีแหล่งข้อมูลและแหล่งอ้างอิงมากมายที่เข้าถึงได้จากหน้าต่างเดียวกัน  พจนานุกรมภาษากรีกทั้งหมดก็มีเรียงรายเป็นแถวพร้อมจะให้ความหมายเพียงแค่คลิกที่เมาส์ เมื่อก่อนคุณต้องดึงพจนานุกรมเล่มหนักๆออกมาและพลิกหน้าเยอะแยะแล้วก็ต้องดึงพจนานุกรมอีกเล่มหนึ่งและพลิกหน้าเหล่านั้น  แต่ถึงแม้จะใช้คอมพิวเตอร์กันในสมัยนี้มันยังคงเป็นงานหนัก แต่ประเด็นของผมก็คือคุณสามารถจะทำอะไรได้มากขึ้นในเวลาที่ใช้เท่าๆกันหรือด้วยการลงแรงที่เท่าๆกัน

     อย่างที่ห้าในการเป็นนักตีความก็คือความตั้งใจที่จะทำงานอย่างหนัก  ผมสงสัยว่าที่หลายคนไม่ได้เป็นนักตีความก็เพราะความเกียจคร้าน  การตีความเป็นงานหนักจริงๆแม้กระทั่งต้องปาดเหงื่อกันทีเดียว

         ผมอธิษฐานให้มีบางคนปรารถนาจะเชี่ยวชาญในพระคำของพระเจ้าก่อนที่มันจะสายเกินไป

“ยาห์เวห์” ในภาษาจีน

         ที่ผ่านมาผมพูดว่าคริสตจักรจะต้องเรียนรู้พระนามของพระเจ้า   นี่เป็นการพลิกกลับปัญหาที่คริสตจักรรับทอดกันมาหลายศตวรรษที่ผ่านมาเพราะผลจากที่ชาวยิวไม่สู้เต็มใจจะออกเสียงพระนามของพระเจ้าด้วยเหตุผลที่ผมอยากจะพูดว่าเป็นความกลัวอย่างไม่มีเหตุผล    พระนามของพระเจ้าไม่ควรเก็บเงียบไว้  ความกลัวที่จะออกเสียงผิดหรือใช้พระนามอย่างผิดๆนั้นไม่ได้เป็นเหตุผลอันสมควรในการหยุดยั้งใช้พระนามของพระเจ้าด้วยประการทั้งปวง  คนจีนได้เปรียบที่พระคัมภีร์ภาษาจีนใช้ “เยเหอหัว”[11] (หรือ เยโฮวาห์) แม้ว่า “เยโฮวาห์”[12] จะไม่ได้ใช้ในพระคัมภีร์ภาษาอังกฤษอีกต่อไปยกเว้นในหนึ่งหรือสองฉบับ

         เนื่องจาก “耶和華” (เยโฮวาห์) ไม่ได้แปลอย่างถูกต้องว่า “ยาห์เวห์”   ผมจึงเสนอคำที่อาจใช้ได้ “亞偉”[13] (หยาเหว่ย)  ที่อักษรตัวแรก “亞” ในภาษาจีนหมายถึง “เอเชีย” และตัวที่สอง “偉” หมายถึง “ยิ่งใหญ่”  มีผู้ร่วมงานคนหนึ่งให้ข้อคิดเห็นว่าคำที่ผสมกันนี้ฟังดูเหมือนภาษาพูดบางคำที่ไม่ค่อยดีในภาษากวางตุ้ง  และผู้ร่วมงานคนนี้ยังบอกว่าในหนังสือศาสนศาสตร์ภาษาจีนเล่มเก่าๆ บางเล่มจะทับศัพท์ว่า “雅巍”[14] (หย่าเวย)  ตัวอักษรแรก “雅”[15] (หย่า) มาจาก “文雅”[16] (เหวินหย่า)  ตัวที่สอง “巍”[17] (เวย) เขียนยากเพราะมีขีดเยอะ  ปัญหาอีกอย่างหนึ่งของตัวอักษรนี้ก็คือมีตัว “鬼”[18] (กุ่ย) ห้อยอยู่ตรงมุมล่างขวาที่หมายถึง “ผี”    ตัว “巍” (เวย) เองหมายถึงสูงส่งและผ่าเผย   ดังนั้นในการผสมคำ “雅巍” (หย่าเวย) คือความผ่าเผยและงดงามนั้น อักษรตัวที่สอง “巍” (เวย) ก็มีปัญหาหลายอย่างคือมีขีดมากไปที่คนจีนส่วนใหญ่ไม่คุ้นและก็มีตัว “ผี” รวมอยู่ด้วย

            ผมปรึกษาเรื่องนี้กับผู้ร่วมงานด้านสถานีวิทยุซึ่งเป็นผู้ที่จะออกอากาศพระนามของพระเจ้าทางวิทยุ  มีข้อเสนอหนึ่งคือให้คงตัว “雅” (หย่า) ไว้   อีกข้อคิดเห็นหนึ่งก็คือไม่มีอะไรผิดปกติกับตัว “偉” (เหว่ย)    เพราะฉะนั้นเราสามารถจะรวมสองตัวอักษรนี้เป็นคำ “雅偉” (หยาเหว่ย)[19] ตัวอักษรทั้งสองที่คนคุ้นเคย มีความหมาย และออกเสียงง่าย   คุณมีข้อเสนอแนะอย่างอื่นไหม?

         นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะให้คงพระนามอันเดิม “耶和華” (“เยโฮวาห์”) เอาไว้ก่อน  เพราะเป็นพระนามของพระเจ้าที่คุ้นกันมากที่สุดในหมู่คนจีน  เมื่อคุณกำลังคุยกับพี่น้องคุณก็ไม่ควรจะเปลี่ยนไปใช้ชื่อใหม่ “หยาเหว่ย”(雅偉) ทันที   ให้ใช้ชื่อเดิม “耶和華” (เยโฮวาห์) ไปก่อน  แต่ในขณะเดียวกันก็สอน “耶和華雅偉” (เยเหอหัว หยาเหว่ย)[20] ให้พวกเขาด้วย  พวกเขาจะได้เรียนรู้ทั้งสองชื่อนี้

         คนจีนมีความได้เปรียบที่รู้จักชื่อ “เยโฮวาห์” (耶和華) ซึ่งมีเสียงที่น่าฟังแม้การออกเสียงจะไม่ถูกต้องเสียทีเดียว  ถ้าเราเริ่มด้วย “เยเหอหัว หยาเหว่ย“ (耶和華雅偉) คนก็จะเริ่มคุ้นเคยกับชื่อใหม่โดยไม่ต้องปรับกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่  พวกเขายังคงสามารถใช้ “เยโฮวาห์” (耶和華) ต่อไปเป็นขั้นแรกแล้วค่อยๆเปลี่ยนมาเป็นชื่อใหม่  ในฉบับภาษาอังกฤษไม่มีข้อได้เปรียบนี้เพราะไม่ได้ใช้ “เยโฮวาห์” แม้ว่าสามารถใช้ได้ถ้าคุณอยากจะใช้  คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะไม่คุ้นกับชื่อ “เยโฮวาห์” แต่คนรุ่นก่อนอาจยังจำเพลงชีวิตคริสเตียนที่พูดถึงพระเยโฮวาห์ได้ (ปัจจุบันพระคัมภีร์ภาษาไทยมีฉบับแก้ไขล่าสุดคือ “ฉบับมาตรฐาน 2011”[21]  โดยสมาคมพระคริสตธรรมแห่งประเทศไทยที่ใช้ “พระยาห์เวห์” กับพระนามของพระเจ้าอย่างชัดเจนในทุกที่ๆมีคำนี้ปรากฏ–ผู้แปล)

ใครเป็นคนพูด พระเยซูหรือพระยาห์เวห์?

         มีพระคัมภีร์หลายตอนที่ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพชอบใช้อ้างอิง  แต่คงต้องใช้เวลาหลายอาทิตย์ถ้าจะพูดให้ครอบคลุมทั้งหมด  การพิจารณาวิธีที่ควรจะตีความพระคัมภีร์ตอนเหล่านี้คงจะเป็นประโยชน์มากกว่า  เราจะไปอย่างช้าๆในบทนี้  และผมหวังว่าโดยพระคุณของพระเจ้าแล้วคุณคงได้ความเข้าใจในเบื้องต้นถึงวิธีการตีความ

         ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่า มีความแตกต่างที่สำคัญกับวิธีที่เราดูถ้อยความพระกิตติคุณกับวิธีที่เราดูถ้อยความที่ไม่ใช่พระกิตติคุณ (คือจดหมายต่างๆและวิวรณ์)  เพราะพระยาห์เวห์เสด็จเข้ามาในโลกนี้ในองค์พระคริสต์ที่พระยาห์เวห์มาสถิตอยู่ในพระคริสต์ จึงมีสิ่งที่จะต้องพิจารณาเพิ่มเติมเมื่อเราตีความพระกิตติคุณ   เนื่องจากพระยาห์เวห์สถิตอยู่ในพระเยซูจึงมีคำถามขึ้นมาว่า เมื่อพระเยซูตรัสนั้นใครเป็นผู้ที่กำลังพูด?  ผู้ที่กำลังพูดคือพระเยซูคริสต์ผู้เป็นมนุษย์หรือว่าผู้ที่กำลังพูดคือพระยาห์เวห์  ในกรณีหลังทำให้นึกถึงผู้เผยพระวจนะของพระคัมภีร์เดิม ไม่ว่าจะเป็นอิสยาห์หรือมาลาคีหรือผู้เผยพระวจนะคนอื่นๆที่ประกาศว่า “พระยาห์เวห์ตรัสดังนี้ว่า”[22] แล้วก็มีคำตรัสของพระยาห์เวห์ตามมาแทนที่จะเป็นถ้อยคำของผู้เผยพระวจนะ  คือว่าคำสรรพนาม “เรา” (“I”) ในคำประกาศนั้นไม่ได้หมายถึงผู้เผยพระวจนะแต่หมายถึงพระยาห์เวห์ผู้ที่กำลังพูดผ่านผู้เผยพระวจนะคนนั้น แต่ในบางสถานการณ์ก็เป็นตัวผู้เผยพระวจนะเองที่กำลังพูดคำของเขาเองเพื่อบอกถึงพระประสงค์ หรือความตั้งพระทัย หรือพระดำริของพระยาห์เวห์  คุณจะเห็นเรื่องนี้ได้จากผู้เผยพระวจนะก่อนหน้านี้ เช่น ซามูเอล

          เมื่อซามูเอลยืนต่อหน้าบรรดาบุตรของเจสซีเพื่อชี้ตัวว่าใครเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกให้เป็นกษัตริย์ของอิสราเอล (1 ซามูเอล 16:1-13) เขาไม่ได้เริ่มด้วยคำพูดว่า “พระยาห์เวห์ตรัสดังนี้ว่า เราได้เลือกคนนี้!” ซามูเอลยืนอยู่ตรงนั้นมองดูเอลีอับบุตรชายคนโตและคิดว่าเขาอาจเป็นคนที่พระเจ้าทรงเลือก แต่พระยาห์เวห์ตรัสกับซามูเอลว่าอย่ามองดูรูปร่างภายนอกหรือความสูง  เพราะพระเจ้าไม่ได้ดูอย่างที่มนุษย์ดู  เพราะมนุษย์ดูที่รูปร่างภายนอกแต่พระเจ้าทอดพระเนตรที่จิตใจ (ข้อ 7)[23]  หลังจากได้ดูบรรดาบุตรชายของเจสซีทีละคนแล้วซามูเอลก็ประกาศว่ายังไม่มีใครสักคนที่พระเจ้าทรงเลือก  เขาจึงถามเจสซีว่ายังมีบุตรชายอีกไหมและปรากฏว่ายังมีบุตรคนเล็กอีกคนคือดาวิดที่ออกไปเลี้ยงแกะ  ซามูเอลจึงให้เจสซีใช้คนไปตามดาวิดมา  และเมื่อดาวิดมาอยู่ต่อหน้าซามูเอล พระยาห์เวห์ได้ทรงสั่งซามูเอลให้เจิมตั้งเขาเป็นกษัตริย์ (ข้อ 12)[24]

         ซามูเอลเผชิญหน้ากับซาอูลมาก่อนหน้านี้เรื่องการไม่เชื่อฟังของเขา (1 ซามูเอล 15:10-31) ซามูเอลไม่ได้พูดกับซาอูลว่า “พระยาห์เวห์ตรัสดังนี้ว่า” แต่ใช้คำพูดของเขาเองประกาศกับซาอูลว่าพระยาห์เวห์ทรงถอดเขาจากการเป็นกษัตริย์ของอิสราเอลและราชอาณาจักรอิสราเอลจะถูกมอบให้คนอื่น (ข้อ 26-28)[25]  แต่ซามูเอลยังคงพูดในฐานะของผู้เผยพระวจนะของพระยาห์เวห์

            ดังนั้นมีสองหนทางที่ผู้เผยพระวจนะจะพูด ทางหนึ่งก็คือผู้เผยพระวจนะพูดถ้อยคำของเขาเองเพื่อถ่ายทอดความคิดและพระประสงค์ของพระยาห์เวห์    อีกทางก็คือสิ่งที่ออกมาจากปากของผู้เผยพระวจนะก็คือคำของพระยาห์เวห์  และเมื่อมาถึงเรื่องถ้อยคำของพระเยซูจึงมีคำถามทิ้งท้ายให้เราว่าเป็นคำพูดของพระเยซูหรือว่าเป็นคำพูดของพระยาห์เวห์ที่กำลังพูดอยู่

         คำเทศนาบนภูเขาเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้  เมื่อพระเยซูตรัสว่า “คนที่ยากจนด้านจิตวิญญาณก็เป็นสุข” นั้นใครเป็นคนพูด?  ผมไม่ได้ถามว่าพูดออกจากปากของใครเพราะเห็นชัดว่าพูดออกจากพระโอษฐ์ของพระเยซู  แต่ผมกำลังถามว่าถ้อยคำเหล่านี้เป็นถ้อยคำของพระเยซูหรือเป็นถ้อยคำของพระยาห์เวห์?  ในพระกิตติคุณเล่มต่างๆนั้นเราสามารถบอกโดยรวมๆได้ว่าเป็นถ้อยคำของใครด้วยการตรวจสอบเนื้อหาของถ้อยคำนั้นๆ  ในกรณีนี้เข้าใจได้ไม่ยากว่าเป็นพระยาห์เวห์ที่กำลังพูดซึ่งหมายถึงว่าพระเยซูกำลังพูดในลักษณะเดียวกับที่ผู้เผยพระวจนะคนสำคัญๆของพระคัมภีร์เดิมที่กล่าวถ้อยคำของพระยาห์เวห์

         เมื่อพระเยซูตรัสในคำเทศนาบนภูเขาว่า “ท่าน​ทั้ง​หลาย​ได้​ยิน​คำ​ซึ่งคนแต่เก่าก่อนกล่าว​ไว้​ว่า...ส่วนเรา​บอก​พวก​ท่าน​ว่า...”  คำสรุปของผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพก็คือ “เราบอก” นั้นอ้างถึงพระเยซูซึ่งหมายถึงว่าพระเยซูกำลังทำให้พระองค์เองมีอำนาจเหนือคนทั้งหลายในพระคัมภีร์เดิมที่แม้แต่กับโมเสส ด้วยการล้มเลิกหรือการเปลี่ยนสิ่งที่เหล่าคนแต่เก่าก่อนสั่งสอนไว้  เราไม่เห็นว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาเพราะเราได้ยกพระคริสต์ให้เป็นพระเจ้าแล้วและถือว่าพระองค์มีอำนาจที่จะยกเลิกธรรมบัญญัติแม้แต่ธรรมบัญญัติของโมเสส แต่เราควรระวังที่จะไม่ด่วนสรุปเช่นนั้นเพราะพระเยซูตรัสในคำสอนของพระองค์ว่า คน​ที่​ไม่​รัก​เรา​ก็​ไม่​ประ​พฤติ​ตาม​คำ​ของ​เรา และ​คำ​ที่​พวก​ท่าน​ได้​ยิน​นี้​ไม่​ใช่​คำ​ของ​เรา แต่​เป็น​ของ​พระ​บิดา​ผู้​ทรง​ใช้​เรา​มา” (ยอห์น 14:24) ดังนั้นข้อสรุปของความเชื่อในตรีเอกานุภาพที่ว่าพระเยซูกำลังตรัสด้วยอำนาจของพระองค์เองที่อยู่เหนืออำนาจของธรรมบัญญัตินั้นจึงไม่สามารถจะสนับสนุนได้  พระยาห์เวห์เป็นผู้ที่กำลังบอกเราผ่านทางพระเยซูว่า “เราบอกท่านว่า เมื่อเทียบกับธรรมบัญญัติที่ให้ไว้มาก่อนหน้านี้ ตอนนี้มีมาตรฐานสูงขึ้นในแผ่นดินสวรรค์” เรื่องนี้ไม่เป็นปัญหาเพราะว่าไม่มีอำนาจที่สูงกว่าพระยาห์เวห์ ข้อเรียกร้องที่สูงขึ้นในอาณาจักรของพระเจ้านั้นเหมาะสมเพราะเราได้เปลี่ยนเข้าสู่ยุคแห่งพระคุณที่มีมาตรฐานสูงขึ้น  เมื่อก่อนถ้าคุณไม่ได้ละเมิดพระบัญญัติที่เป็นข้อปฏิบัติแต่ภายนอกก็ไม่เป็นไร  แต่ตอนนี้ในอาณาจักรสวรรค์พระเจ้าทรงมองเข้าไปในใจของเราเพื่อดูว่าความคิดและแรงจูงใจของเราบริสุทธิ์หรือไม่ มีมาตรฐานที่สูงขึ้นในอาณาจักรของพระเจ้าที่ไม่ได้วัดกันในแง่ของการปฏิบัติตามธรรมบัญญัติแต่ภายนอก

          ถ้าพูดถึงการตีความพระกิตติคุณเล่มต่างๆ  เรื่องการสถิตของพระยาห์เวห์ในพระเยซูจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญของการพิจารณา  ในพระคัมภีร์บางตอนได้เห็นชัดว่าเรากำลังฟังถ้อยคำของพระเยซูเองที่ไม่ใช่ถ้อยคำของพระยาห์เวห์ซึ่งในกรณีนี้พระเยซูไม่ได้ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงของพระยาห์เวห์เช่นในกรณีของผู้เผยพระวจนะคนสำคัญๆของพระคัมภีร์เดิม ยกตัวอย่างเช่น “คำ​ที่​พวก​ท่าน​ได้​ยิน​นี้​ไม่​ใช่​คำ​ของ​เรา”[26] เห็นได้ชัดว่าเป็นคำของพระเยซูไม่ใช่คำของพระยาห์เวห์  เพราะไม่เช่นนั้นจะเป็นว่าพระยาห์เวห์ก็กำลังปฏิเสธคำของพระองค์เอง   อีกตัวอย่างหนึ่งคือ  พระบุตรไม่อาจทำสิ่งใดโดยลำพังพระองค์เอง พระองค์สามารถทำได้แต่เพียงสิ่งที่เห็นพระบิดาของพระองค์ทรงกระทำ เพราะพระบิดาทรงกระทำสิ่งใด พระบุตรก็กระทำสิ่งนั้นด้วย” (ยอห์น 5:19  ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย) ถ้อยคำเหล่านี้เห็นได้ชัดว่าเป็นคำพูดของพระเยซู

          กรณีที่น่าสนใจคือยอห์น 2:19-22

19พระเยซูจึงตรัสตอบเขาทั้งหลายว่า  “ถ้าทำลายวิหารนี้เสีย  เราจะยกขึ้น[27]ในสามวัน” 20พวกยิวจึงทูลว่า  “พระวิหารนี้เขาสร้างถึงสี่สิบหกปีจึงสำเร็จ  และท่านจะยกขึ้นใหม่ในสามวันหรือ” 21แต่พระวิหารที่พระองค์ตรัสถึงนั้นคือพระกายของพระองค์   22เหตุฉะนั้นเมื่อพระองค์ทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมาแล้ว  พวกสาวกของพระองค์ก็ระลึกได้ว่าพระองค์ตรัสดังนี้  และเขาก็เชื่อพระคัมภีร์และพระดำรัสที่พระเยซูตรัสนั้น  (ยอห์น 2:19-22  ฉบับ 1971)

         ตรงนี้มีปัญหาในการตีความ  ข้อ 19 กล่าวว่า  “เรา​จะ​ยกขึ้นใน​สาม​วัน”  ขณะที่ข้อ 22 กล่าวว่า “เมื่อ​พระ​องค์​ทรง​ถูก​ชุบ (หรือถูกยก)[28]​ ให้​เป็น​ขึ้น​มา​แล้ว”  มีการเปลี่ยนจากบุคคลที่หนึ่งมาเป็นบุคคลที่สาม  นี่คือความขัดแย้งกันเพราะในกรณีแรกพระเยซูเป็นผู้ยกขึ้นในขณะที่กรณีหลังพระเยซูเป็นผู้ถูกยกขึ้น  พระองค์ตรัสว่าพระองค์จะยกพระวิหารที่ตรัสถึงพระกายของพระองค์เองขึ้น  ซึ่งน่าจะหมายถึงว่าพระเยซูจะทรงยก(หรือชุบ)พระกายของพระองค์เองขึ้น  สิ่งนี้ขัดแย้งกับข้อความพระคัมภีร์ที่กล่าวเสมอว่าพระเจ้าหรือพระยาห์เวห์ทรงเป็นผู้ชุบพระเยซูขึ้นจากความตาย

          ปัญหาจะหมดไปเมื่อเราเข้าใจว่าพระยาห์เวห์ทรงเป็นผู้ที่กำลังตรัสผ่านพระเยซู “ถ้า​ทำลาย​วิหาร​นี้​เสีย เรา​จะ​ยกขึ้น​ใน​สาม​วัน” (ข้อ 19)   คำว่า “เรา” ก็คือพระยาห์เวห์  ไม่ใช่พระเยซู  และนี่ก็ได้รับการสนับสนุนจากคำสอนที่คงเส้นคงวาของพระคัมภีร์ว่าพระเจ้าทรงเป็นผู้ชุบพระเยซูขึ้นจากความตาย  ไม่เคยมีในพระคัมภีร์ที่พระเยซูเคยทรงชุบพระองค์เองขึ้นจากความตาย  ถ้าคุณพร้อมที่จะทำงานหนักในการตีความเพื่อจะยืนยันเรื่องนี้ก็จงลงมือตรวจสอบข้ออ้างอิงต่างๆได้เลย  มีตัวอย่างหนึ่งที่จะพบในคำเทศนาแรกของเปโตร (คำเทศนาช่วงต้นในหนังสือกิจการมีความสำคัญกับการทำความเข้าใจการประกาศพระกิตติคุณ)

แต่พระเจ้าทรงทำให้พระองค์คืนพระชนม์  ทรงให้พ้นจากความตายอันปวดร้าว  เพราะว่าความตายจะครอบงำพระองค์ไว้ไม่ได้  (กิจการ  2:24 ฉบับมาตรฐาน 2011)

พระเยซูองค์นี้พระเจ้าได้ทรงให้คืนพระชนม์แล้วซึ่งเราทุกคนคือสักขีพยานของเรื่องนี้  (กิจการ 2:32  ฉบับมาตรฐาน 2011)

         เพราะว่าพระเจ้าเป็นผู้ทำให้พระเยซูคืนพระชนม์ซึ่งเห็นได้ในข้ออ้างอิงอื่นๆอีกมากมายในกิจการและในจดหมายของเปาโลด้วย (เช่น โรม 4:24 โรม 6:4  กาลาเทีย 1:1  เอเฟซัส 1:20  โคโลสี 2:12) และในข้ออื่นอีกเช่น 1 เปโตร 1:21  การตรวจสอบข้ออ้างอิงนั้นต้องทำงานอย่างมาก  เหตุนี้เองผมจึงพูดว่าการเป็นนักตีความนั้นคุณจะต้องทำงานอย่างหนักและจะต้องเช็คข้ออ้างอิงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งธรรมดาจะหลายสิบข้อและบางทีก็เป็นร้อยข้อ  เมื่อเราทำงานอย่างหนักเราจะเห็นว่าพระคัมภีร์ยืนยันมาโดยตลอดว่า  พระยาห์เวห์เป็นผู้ชุบพระเยซูขึ้นจากความตาย  และพระเยซูไม่เคยชุบพระองค์เอง  คำกล่าวว่า “ถ้า​ทำลาย​วิหาร​นี้​เสีย เรา​จะ​ยกขึ้น​ใน​สาม​วัน” จะเป็นถ้อยคำของพระเยซูไปไม่ได้แต่เป็นตัวอย่างให้เห็นจากสิ่งที่พระเยซูตรัสในยอห์น 14:24  ว่า “คำ​ที่​พวก​ท่าน​ได้​ยิน​นี้​ไม่​ใช่​คำ​ของ​เรา”

ใจเอนเอียงในการแปล

          ให้เราดูยอห์น 10:17-18 และจงสังเกตคำกล่าวที่ขีดเส้นใต้สามแห่ง

17 เพราะเหตุนี้พระบิดาจึงทรงรักเรา  เพราะเราสละชีวิตของเราเพื่อ​จะรับชีวิตนั้นคืนมาอีก  18ไม่มีใครชิงชีวิตไปจากเราได้  แต่เราสละชีวิตตามที่เราตั้งใจเอง  เรามีสิทธิอำนาจที่จะสละชีวิตนั้นและมีสิทธิอำนาจที่จะรับคืนมาอีก  คำกำชับนี้เราได้รับมาจากพระบิดาของเรา (ฉบับมาตรฐาน 2011)

         “เราสละชีวิตของเราเพื่อจะรับชีวิตนั้นคืนมาอีก”  ฟังดูเหมือนว่าพระเยซูทรงสามารถชุบพระองค์เองขึ้นจากความตายได้ซึ่งจะขัดแย้งกับสิ่งที่เราเห็นตลอดทั่วพระคัมภีร์  เราคิดว่าหมดปัญหาแล้วที่ดูเหมือนพระเยซูจะทรงบอกเป็นนัยว่าพระองค์ทรงมีฤทธิ์อำนาจที่จะให้​ชีวิตของพระองค์​คืน​มา​อีก ฟังเหมือนว่าพระองค์ทรงสามารถชุบชีวิตของพระองค์เองได้ แต่พระคัมภีร์ทั้งหมดล้วนแต่กล่าวว่าพระบิดาได้ทรงชุบพระองค์ขึ้น  คุณจะแก้ปัญหานี้อย่างไร? 

         การเป็นนักตีความพระคัมภีร์นั้น คุณจะต้องค้นดูจากภาษาต้นฉบับเพราะพระคัมภีร์ภาษาอังกฤษฉบับต่างๆแปลขึ้นโดยผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพที่เลือกใช้คำเข้าข้างความเชื่อในตรีเอกานุภาพ  ให้เราดูภาษากรีกที่ขีดเส้นใต้ข้อความเหมือนกันสามแห่งch10 7

[29]           

        ข้อความที่ขีดเส้นใต้อันแรกตรงกับ “​เพื่อ​จะรับ​ชีวิต​นั้น​คืน​มา​อีก”[30]   ข้อความที่สองตรงกับ “เรา​มี​สิทธิ​อำนาจ​ที่​จะรับ​คืน​มา​อีก”[31]   ข้อความที่สามตรงกับ “คำ​กำ​ชับ​นี้​เรา​ได้​รับ​มา​จาก​พระ​บิดา​ของ​เรา”

[32]

         ในข้อความแรกที่ขีดเส้นใต้เราจะเห็นคำ “ch10 8[33] (“ลาโบ”, to take up หรือ “รับคืนมา”)  ในข้อความที่สอง เราจะเห็นคำ “ch10 9[34] (“ลาบิน”, to take up, หรือ “รับคืนมา” ในรูปกริยาอินฟินิทีฟ[35])  ในข้อความที่สามเราจะเห็นคำ “ch10 10[36]  (“เอลาบอน”, to take up หรือ “รับคืนมา” ในกาลกริยาแอริสต์[37])

         สามคำนี้ (ch10 11) เป็นคำกรีกคำเดียวกันแต่มีความแตกต่างที่รูปไวยากรณ์  แต่จงสังเกตความไม่คงเส้นคงวาในการแปลของฉบับภาษาอังกฤษ  สองตัวอย่างแรกแปลว่า “รับคืนมา” (take)  ในขณะที่ตัวอย่างที่สามแปลว่า “ได้รับ” (receive) ตัวอย่างที่สามแปลอย่างถูกต้องว่า “ได้รับ” เพื่อให้สอดคล้องกัน แต่สองตัวอย่างแรกสามารถเป็นได้ทั้ง “รับคืนมา” หรือ “ได้รับ” (คำกรีกสามารถหมายถึงได้ทั้งสองอย่าง)  ดังนั้นในประโยคเดียวกัน คำกรีกคำเดียวกันถูกแปลเป็นสองแบบที่ต่างกันคือ “รับคืนมา” (take) กับ “ได้รับ” (received)   ถ้าคุณมองออกคุณจะรู้สึกว่ามีบางอย่างที่น่าเคลือบแคลงเกิดขึ้น  ทำไมคำๆเดียวกันแต่ที่หนึ่งแปลว่า “รับคืนมา” และอีกที่หนึ่งแปลว่า “ได้รับ”  อันที่จริงไม่มีเหตุผลที่สมเหตุสมผลในเรื่องนี้  ถ้าคุณพร้อมที่จะทำงานอย่างหนักในการตีความคุณก็สามารถตรวจสอบคำ ch10 12 หรือ ch10 13[38] ที่ปรากฏทั้งหมดในพระคัมภีร์ใหม่แล้วคุณจะพบว่าจากการปรากฏทั้งหมด 46 ครั้งในหนังสือยอห์นจะมีประมาณ 30 ครั้งที่แปลว่า “ได้รับ”(receive) และที่เหลือ (น้อยกว่า 20 ครั้ง) แปลว่า “รับมา” (take)

         คนแปลจะรู้ดีว่าคำนี้สามารถแปลได้สองแบบ และที่ปรากฏค่อนข้างมากในยอห์นนั้นแปลว่า “ได้รับ (receive)” มากกว่า “รับมา  (take)”   จะเกิดอะไรขึ้นในพระคัมภีร์ตอนนี้จากยอห์น 10:17-18 ถ้าคุณเปลี่ยนคำนี้แบบคงเส้นคงวาจาก “รับคืนมา” มาเป็น “ได้รับ”?   ในข้อ 17 พระเยซูก็จะตรัสว่า “เพราะ​เหตุ​นี้​พระ​บิดา​จึง​ทรง​รัก​เรา  เพราะ​เรา​สละ​ชีวิต​ของ​เรา​เพื่อ​จะได้รับชีวิต​​​​อีกครั้ง[39]” การแปลแบบนี้สมเหตุสมผลทีเดียวเพราะพระเยซูน่าจะบอกว่าพระองค์เชื่อว่าพระบิดาของพระองค์จะประทานชีวิตของพระองค์กลับคืนมา

         ในข้อความ “เรา​มี​สิทธิ​อำ​นาจ​ที่​จะ​สละ​ชีวิต​นั้น​และ​มี​สิทธิ​อำนาจ​ที่​จะ​รับ​คืน​มา​อีก[40] (ข้อ 18) คำว่า “สิทธิอำนาจ” (ch10 14)[41] สามารถหมายถึง “สิทธิ”[42] หรือ “มีอำนาจ” และที่จริงคำกล่าวจะมีความหมายมากขึ้นเมื่อคำนี้แปลว่า “สิทธิ” มากกว่าจะเป็น “อำนาจ”  โดยปกติจะไม่มีใครพูดถึงการมีอำนาจที่จะสละชีวิตของคนๆหนึ่งแต่จะพูดว่าพระเยซูมีสิทธิที่จะสละชีวิตของพระองค์  คำกรีกนี้สามารถแปลได้ทั้งสองอย่าง  แต่ผู้แปลที่เชื่อในตรีเอกานุภาพจงใจเลือกแปลคำนี้ว่า “อำนาจ”[43]  แต่ถ้าแปลว่า “สิทธิ” แทนที่จะเป็น “มีอำนาจ”[44]ก็จะทำให้คำกล่าวของพระเยซูดูเป็นไปได้กว่า เพราะมันจะหมายถึงว่าพระองค์มีสิทธิที่จะสละชีวิตของพระองค์โดยที่ไม่มีใครบังคับให้พระองค์ทำและพระองค์ทรงมีสิทธิที่จะ “ได้รับอีกครั้ง”  (มากกว่าที่จะ “รับคืนมาอีก”)[45] และตอนท้ายพระเยซูก็ตรัสว่าพระองค์ได้รับพระบัญชานี้จากพระบิดาของพระองค์

         พระคัมภีร์ภาษาอังกฤษฉบับต่างๆที่เรามีในปัจจุบันนี้ได้แปลโดยผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพ  ถ้าคุณจะยึดจากพระคัมภีร์เหล่านี้คุณอาจได้ความหมายผิดๆ  ผู้แปลของความเชื่อในตรีเอกานุภาพจะเลือกคำที่เขาต้องการจะใช้และถ้าคุณไม่รู้ต้นฉบับเดิมคุณก็ต้องแล้วแต่คนแปลเพียงอย่างเดียว

     ถ้าจะอ่านยอห์น 10:17-18 อย่างถูกต้องก็จะหมายความว่าพระเยซูทรงสละชีวิตของพระองค์เพื่อจะได้รับชีวิตอีกครั้ง นี่จะทำให้ได้ความหมายอย่างสมบูรณ์และเข้ากันกับสิ่งอื่นๆ  นอกจากนี้ยังเลี่ยงจากข้อที่ว่าพระเยซูทรงเป็นผู้ชุบชีวิตพระองค์เองขึ้น

         ถ้าคุณตรวจดูข้อความกรีกในยอห์น 10:17-18  คุณจะเห็นดังที่เอ่ยข้างต้นว่ามีคำเดียวกันปรากฏสามครั้งแต่คุณจะไม่รู้เมื่อดูจากฉบับภาษาอังกฤษหรือภาษาจีน  คุณจะต้องขึ้นกับคนแปลเพียงอย่างเดียว  ผมขอบอกคุณว่าความเอนเอียงนี้ไม่ใช่แต่จะพบในพระคัมภีร์ตอนนี้แต่มีให้เห็นอีกเรื่อยๆในพระคัมภีร์ใหม่   ผู้แปลของความเชื่อในตรีเอกานุภาพจะสลับใช้คำเหล่านี้ให้เข้ากับหลักความเชื่อของเขา

         คำกรีกบางคำสามารถเข้าใจได้สองทาง  สิ่งที่น่าแปลกสุดก็คือคำ “ch10 12” สามารถแปลว่า “รับมา” (take) หรือ “ได้รับ” (receive)  65% จากตัวอย่างของคำนี้ในพระกิตติคุณยอห์นจะหมายความว่า “ได้รับ”  มีเพียง 35% ของคำนี้ที่ปรากฏจะหมายถึง “รับมา”  ความหมายที่ชัดๆในยอห์น 10:18 ส่วนท้ายก็คือ “ได้รับ” (“คำบัญชานี้เราได้รับ”) เพราะโดยปกติเราจะคิดถึง “การได้รับคำบัญชา” มากกว่าจะเป็นการ “รับคำบัญชามา”[46]

     ถึงตอนนี้เราได้เห็นสองสิ่ง  สิ่งแรกในยอห์น 2:19  “เรา​จะ​ยก(ชุบ)​ขึ้น​ใน​สาม​วัน[47] เป็นตัวอย่างที่พระยาห์เวห์กำลังตรัสผ่านพระเยซูเพราะไม่เช่นนั้นพระเยซูก็กำลังพูดขัดแย้งกับข้อ   22   (“​พระ​องค์​ทรง​ถูก​ชุบ​ให้​เป็น​ขึ้น​มา”[48]   แต่ข้อขัดแย้งจะหมดไปถ้าพระยาห์เวห์เป็นผู้ที่กำลังตรัสผ่านพระเยซูในข้อ 19   อันที่จริงพวกสาวกไม่เคยเห็นความขัดแย้งกัน  และสิ่งที่สอง “หลังจากที่พระ​องค์​ทรง​ถูก​ชุบ​ให้​เป็น​ขึ้น​มา​แล้ว พวก​สาวก​ของ​พระ​องค์​ก็​ระลึก​ได้​ว่า​พระ​องค์​ตรัส​ดังนี้ และ​เขา​ก็​เชื่อ​พระ​คัมภีร์​และ​พระ​ดำรัส​ที่​พระ​เยซู​ได้​ตรัส​แล้ว​นั้น” (ข้อ 22)   พวกเขาไม่เคยคัดค้านเรื่องที่พระเยซูตรัสไว้ว่าพระองค์จะชุบพระองค์เองให้เป็นขึ้นแต่แล้วพระองค์ก็ไม่เคยทำเช่นนั้น พวกเขารู้ว่าถ้อยคำที่มาจากพระโอษฐ์ของพระเยซูนั้นเป็นถ้อยคำของพระยาห์เวห์

         นั่นคือสิ่งที่สวยงามและสิ่งที่ท้าทายของการศึกษาพระคัมภีร์  คุณอาจสงสัยว่าทำไมข้อความหนึ่งจึงขัดแย้งกับอีกข้อความหนึ่งก่อนที่คุณจะเข้าใจว่าที่จริงมันไม่ขัดแย้งกันเลย  ในกรณีหนึ่งคือถ้อยคำของพระยาห์เวห์ ในอีกกรณีหนึ่งคือถ้อยคำของพระเยซู  การจะบอกได้ว่าอันไหนเป็นถ้อยคำของใคร คุณก็แค่ดูที่บริบทตรงนั้น (“พระ​องค์​[49]ทรง​ถูก​ชุบ​ให้​เป็น​ขึ้น​มา​แล้ว”) และดูที่บริบทส่วนใหญ่ของพระคัมภีร์ใหม่ (พระคัมภีร์ใหม่จะพูดอย่างคงเส้นคงวาว่าพระเจ้าเป็นผู้ชุบพระเยซูขึ้นจากความตาย)

     ในพระคัมภีร์ภาษาอังกฤษบางฉบับ เช่น ฉบับนิวอเมริกันแสตนดาร์ด[50] ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ใส่ความเชื่อในตรีเอกานุภาพเข้าไปโดยใช้อักษรตัวใหญ่กับคำสรรพนามที่เกี่ยวข้องกับพระเยซูเพื่อบอกถึงความเป็นพระเจ้าของพระองค์  ดังนั้นจึงทำให้คำที่ควรจะเขียนเป็น “he” ก็กลายเป็น “He”[51]  และ “you” ก็กลายเป็น “You”[52] เป็นต้น  ผมรู้สึกผิดที่ในหนังสือ “การเป็นคนใหม่[53] ก็ใช้อักษรตัวใหญ่ขึ้นต้นทุกคำสรรพนามที่กล่าวถึงพระเยซู

ก่อน​อับ​รา​ฮัม​เกิดเรา​เป็น​อยู่​แล้ว

  ให้เราดูยอห์น 8:58

  พระ​เยซู​ตรัส​กับ​พวก​เขา​ว่า “เรา​บอก​ความ​จริง​กับ​ท่าน​ว่า ก่อน​อับ​รา​ฮัม​เกิด เรา​เป็น​อยู่​แล้ว”[54]

ch10 16

         ตรงนี้พระเยซูตรัสว่า “ก่อน​อับ​รา​ฮัม​เกิด เรา​เป็น​อยู่​แล้ว”  ดังนั้นเราจึงสรุปเอาว่าพระเยซูเป็นพระเจ้า!   มีเหตุผลสองอย่างที่เรามาถึงข้อสรุปนี้ที่ว่าพระเยซูเป็นอยู่ “ก่อนอับราฮัม”   และพระเยซูคือผู้ที่ “เราเป็น” ซึ่งเป็นพระนามของพระเจ้าในอพยพ 3:14[55]  ก่อนหน้านี้เราเห็นว่ามันเป็นปัญหาที่จะตีความ “เราเป็น”  ว่าอ้างถึงอพยพ 3:14   เพราะ “เราเป็น” ในอพยพ 3:14   อ้างถึงพระยาห์เวห์   ซึ่งในกรณีนี้ก็จะไม่ใช่พระเยซูแต่เป็นพระยาห์เวห์ที่กำลังตรัสในยอห์น 8:58   การตีความเช่นนี้ยังเป็นปัญหาด้วยเพราะ “เราเป็น” ในยอห์น 8:58  โดยความเป็นจริงไม่ได้มีการอ้างอิงถึงอพยพ 3:14   ตามที่อธิบายไว้ก่อนหน้านี้   นี่คือข้อความภาษากรีกจากอพยพ 3:14

 

ch10 17

พระเจ้าตรัสกับโมเสสว่า “เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น” พระองค์ตรัสต่อไปอีกว่า “ไป​บอก​ชน​ชาติ​อิส​รา​ เอล​ดัง​นี้​ว่า ‘พระ​องค์​ผู้​ทรง​พระ​นาม​ว่า เรา​เป็น​ทรง​ใช้​ข้าพ​เจ้า​มา​หา​ท่าน​ทั้ง​หลาย’” (อพยพ 3:14)

          เราจะสังเกตเห็นคำที่ขีดเส้นใต้ “ch10 18” (“เราเป็น”) ในอพยพ 3:14    มีบางอย่างในอพยพ 3:14 ที่ขาดหายไปอย่างเด่นชัดในยอห์น 8:58  ซึ่งก็คือสองคำนี้ “ch10 19”  ที่เห็นขีดเส้นซ้อน  คำกล่าวว่า “เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น” ตรงกับ “ch10 20” (“เราเป็นผู้ที่เป็นอยู่”)  คำกล่าวนี้ไม่ใช่แค่ “เราเป็น” แต่ว่า “เราเป็นอย่างที่เราเป็น” หรือ “เราเป็นผู้ที่เป็นอยู่”   ส่วน “เราเป็น” ในยอห์น 8:58  นั้นไม่ใช่พระนามของพระยาห์เวห์แต่เป็นแค่ส่วนแรกของ “เราเป็นผู้ที่เราเป็น” และไม่ใช่ส่วนที่สองที่สำคัญมาก   ที่จริงแล้ว “เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น” นั้นแปลไม่ถูกต้องด้วยซ้ำ   หากคุณรู้ภาษาฮีบรูไม่มากคุณสามารถจะหาคำแปลอย่างอื่นที่มีอยู่ด้านล่างของพระคัมภีร์ภาษาอังกฤษของคุณ  คำแปลของภาษาฮีบรูที่ดีกว่าน่าจะเป็น “เราจะเป็นอย่างที่เราจะเป็น” ซึ่งหมายถึงว่า “ไม่มีใครจะมากำหนดเรา  เรากำหนดทุกสิ่ง”  นี่คือความหมายที่อยู่เบื้องหลังคำแปลภาษากรีกของ “ch10 19” (ผู้ที่เป็นอยู่)

          พระยาห์เวห์เป็นผู้ที่กำลังพูดผ่านพระเยซูในยอห์น 8:58 ใช่ไหม?  มันเป็นไปได้แต่ก็ไม่แน่  เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นคำกล่าวของพระยาห์เวห์ที่พระองค์มาก่อนอับราฮัมก็ไม่น่าประทับใจ เพราะอับราฮัมไม่ได้อยู่ย้อนไปถึงช่วงประวัติศาสตร์ของการทรงสร้าง  อะไรคือความเป็นไปได้อย่างอื่น?  ให้เราดูบริบทยอห์น 8:53-58

53ท่านยิ่งใหญ่กว่าอับราฮัมบิดาของเราที่ตายไปแล้วหรือ?  พวกผู้เผยพระวจนะก็ตายไปแล้วเหมือนกัน  ท่านจะอวดอ้างว่าท่านเป็นใคร?”  54พระเยซูตรัสตอบว่า “ถ้าเราให้เกียรติแก่ตัวเราเอง  เกียรติของเราก็ไม่มีความหมาย  ผู้ที่ทรงให้เกียรติเรานั้นคือพระบิดาของเรา  ผู้ที่พวกท่านกล่าวว่าเป็นพระเจ้าของท่าน  55พวกท่านไม่รู้จักพระองค์ แต่เรารู้จักพระองค์  ถ้าเรากล่าวว่าเราไม่รู้จักพระองค์  เราก็จะเป็นคนมุสาเหมือนกับท่าน   แต่เรารู้จักพระองค์และประพฤติตามพระดำรัสของพระองค์  56อับราฮัมบิดาของพวกท่านชื่นชมยินดีที่จะได้เห็นวันของเรา  และท่านก็เห็นแล้วและมีความยินดี”  57พวกยิวจึงทูลพระองค์ว่า  “ท่านอายุยังไม่ถึงห้าสิบปี  ท่านเคยเห็นอับราฮัมแล้วหรือ?”  58พระเยซูตรัสกับพวกเขาว่า “เราบอกความจริงกับท่านว่า  ก่อนอับราฮัมเกิด  เราเป็นอยู่แล้ว”  (ยอห์น 8:53-58 ฉบับมาตรฐาน 2011)

          มีคำถามว่าใครเป็นใหญ่กว่ากันระหว่างพระเยซูกับอับราฮัม  คนที่เป็นใหญ่กว่าน่าจะเป็นอับราฮัมผู้เป็นบิดาของชนชาติยิวที่ตายไปเช่นเดียวกับบรรดาผู้เผยพระวจนะหรือไม่? (ชาวยิวหยิบยกเรื่องการตายของอับราฮัมเพื่อตอบสิ่งที่พระเยซูตรัสในข้อ 51 “ถ้า​ใคร​ประ​พฤติ​ตาม​คำ​สอน​ของ​เรา คน​นั้น​จะ​ไม่​ประ​สบ​ความ​ตาย​เลย”

          จงสังเกตการกล่าวซ้ำๆของคำ “ให้เกียรติ” หรือ “เกียรติ” หรือ “ทรงให้เกียรติ” (ที่ขีดเส้นใต้ข้างบน)  เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับประเด็นว่าใครเป็นใหญ่กว่ากัน  พระเยซูตรัสว่าถ้าพระองค์ให้เกียรติพระองค์เอง  เกียรติของพระองค์ก็ไม่มีความหมาย  แต่พระเยซูทรงเป็นใหญ่กว่าอับราฮัมก็เพราะว่าพระบิดาทรงให้เกียรติพระเยซู

     ยังมีประเด็นของอายุอีกด้วย  ถ้าพระเยซู “ยังอายุไม่ถึงห้าสิบปี”  พระองค์ก็คงไม่ได้อยู่ก่อนอับราฮัม  นี่จะเป็นประเด็นของการมาก่อนในเรื่องของช่วงเวลาไหมหรือว่าจะเป็นประเด็นของสถานภาพ?  หรือพูดง่ายๆก็คือเป็นประเด็นว่าใครมาก่อนหรือว่าเป็นประเด็นว่าใครเป็นใหญ่กว่าใคร? และการมาก่อนจะทำให้คนนั้นเป็นใหญ่กว่าไหม?

     ถ้าพระเยซูมาก่อนอับราฮัมในแง่ของกาลเวลา มันก็จะหมายถึงว่าพระองค์ทรงดำรงอยู่ก่อน  แต่นี่เป็นการถกเถียงเกี่ยวกับการดำรงอยู่ก่อนไหม? ไม่มีหลักฐานในเรื่องนั้นจากพระคัมภีร์ตอนนี้แม้แต่จากคำกล่าว “ก่อน​อับ​รา​ฮัม​เกิด เรา​เป็น​อยู่​แล้ว”  หากมีการใช้พิสูจน์ความเป็นพระเจ้าของพระเยซูก็จะไม่ได้พิสูจน์ว่าพระเยซูเป็นพระองค์ที่สองในตรีเอกานุภาพแต่จะพิสูจน์ว่าเป็นพระองค์แรกในตรีเอกานุภาพ[56]  ถ้าคุณจะแย้งว่า “เราเป็น” อ้างถึงอพยพ 3:14 สิ่งที่คุณจะพิสูจน์ได้ก็มีเพียงว่าพระเยซูเป็นพระยาห์เวห์ซึ่งไม่ใช่ข้อสรุปที่ความเชื่อในตรีเอกานุภาพหวังจะได้รับ  เมื่อผมหันคมดาบแห่งพระวิญญาณเข้าหาคำโต้แย้งของผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพเขาก็ต้องจำนนกับมุมมองของเขา เพราะมีเพียงสิ่งเดียวที่เขาจะสามารถพิสูจน์ได้จากข้อความนี้ก็คือพระเยซูคือพระยาห์เวห์  คุณไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าพระองค์ที่สองที่ดำรงอยู่ก่อนเพราะไม่มีอะไรในข้อความนี้ที่พิสูจน์เช่นนั้น มันไม่ได้พิสูจน์เช่นกันว่าพระเยซูเป็นพระยาห์เวห์และก็ไม่ได้พิสูจน์อะไรเลยในเรื่องความเป็นพระเจ้าของพระเยซู

         แล้วมีทางเลือกอะไรอีก?  ทางเลือกง่ายๆมีอย่างนี้ว่า พระเยซูทรงเป็นใหญ่กว่าอับราฮัม  นี่จะช่วยผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพให้พ้นจากภาวะลำบากที่จะสรุปว่าพระเยซูคือพระยาห์เวห์  แต่ไม่ว่าจะตีความพระคัมภีร์ตอนนี้อย่างใดก็ไม่ช่วยข้อพิสูจน์ของผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพเลย  ไม่ว่าคุณจะยอมรับอย่างใดก็ยังคงต้องจำนนอยู่ดีเพราะจนมุม มันเปล่าประโยชน์ที่จะยกอ้างข้อนี้เพราะมันไม่ได้พิสูจน์ความเชื่อในตรีเอกานุภาพไม่ว่าจะทางใด

          เรื่องการมาก่อนของพระเยซูนั้นยอห์นผู้ให้บัพติศมาพูดถึงพระเยซูว่า “ยอห์น​เป็น​พยาน​เกี่ยวกับ​พระ​องค์ เขาร้อง​ประ​กาศ​ว่า ‘นี่คือผู้ที่เราได้บอกไว้ว่า  พระ​องค์​ผู้​เสด็จ​มา​ภาย​หลังเราทรงยิ่งใหญ่กว่าเรา  เพราะพระองค์ทรงดำรงอยู่ก่อนเรา’” (ยอห์น 1:15 ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)  พระเยซูดูจะทรงดำรงอยู่ก่อนยอห์นผู้ให้บัพติศมาจากการยอมรับของยอห์นเอง  แต่มันจะเป็นไปได้อย่างไรถ้าพระเยซูทรงบังเกิดทีหลังยอห์น?  นั่นเป็นไปไม่ได้ในทางร่างกาย  นี่ไม่ใช่เรื่องของการดำรงอยู่ก่อนแต่เป็นเรื่องการจัดอันดับดังที่ระบุไว้จากการแปลข้อนี้ของฉบับต่างๆว่า  “เหนือกว่า”(NIV) หรือ “ยิ่งใหญ่กว่า” (ฉบับมาตรฐาน 2011)[57] หรือ “เป็นใหญ่กว่า” (ฉบับ 1971)[58] หรือ “ลำดับก่อนข้าพเจ้า” (CJB, NRSV) หรือ “ลำดับใหญ่กว่าข้าพเจ้า” (ESV) หรือ “ลำดับสูงกว่าข้าพเจ้า(NASB)

          ในข้อ 30 ยอห์นผู้ให้บัพติศมากล่าวทำนองเดียวกันว่า “ภายหลัง​ข้าพเจ้า จะ​มี​ผู้​หนึ่ง​เสด็จ​มา​เป็น​ใหญ่​กว่า​ข้าพเจ้า   เพราะ​ว่า​พระ​องค์​ทรง​ดำรง​อยู่​ก่อน​ข้าพเจ้า” (ยอห์น 1:30 ฉบับ 1971)   นี่เป็นเรื่องของความเป็นใหญ่กว่า ไม่ได้เป็นเรื่องของกาลเวลาและลำดับเวลา  แต่ถ้าหากจะให้เข้าใจว่าเป็นเรื่องลำดับเวลามันก็ยังเข้าใจได้ถ้าเรานึกออกว่าพระเยซูคือผู้ที่พระยาห์เวห์มาสถิตอยู่ใน

         พระเยซูทรงเป็นใหญ่กว่าโยนาห์ (มัทธิว 12:41 ลูกา 11:32 ) และทรงเป็นใหญ่กว่าโซโลมอน (มัทธิว 12:42  ลูกา 11:31)   มันไม่ได้เป็นเรื่องของการดำรงอยู่ก่อน  แต่เป็นเรื่องของความเป็นใหญ่  พระเยซูยังทรงเป็นใหญ่กว่าโมเสสด้วย   “เพราะธรรมบัญญัติประทานมาทางโมเสส ส่วน​พระ​คุณ​และ​ความ​จริง​มา​ทาง​พระ​เยซู​คริสต์” (ยอห์น 1:17 ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)

พระองค์ทรงอยู่ในรูปกายของพระเจ้า

         ตอนนี้เราจะดูฟีลิปปี 2  โดยจดจ่อที่ข้อ 6 ถึง 11 ซึ่งเป็นป้อมปราการสำคัญของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ

6ผู้ทรงสภาพของพระเจ้า[59]แต่มิได้ทรงถือว่าการเท่าเทียมกับพระเจ้านั้นเป็นสิ่งที่จะต้องยึดถือ  7แต่ได้กลับทรงสละ และทรงรับสภาพทาส  ทรงถือกำเนิดเป็นมนุษย์  8และเมื่อทรงปรากฏพระองค์ในสภาพมนุษย์แล้ว  พระองค์ก็ทรงถ่อมพระองค์ลงยอมเชื่อฟังจนถึงความมรณา กระทั่งความมรณาที่กางเขน  9เหตุฉะนั้นพระเจ้าจึงได้ทรงยกพระองค์ขึ้นอย่างสูง  และได้ประทานพระนามเหนือนามทั้งปวงให้แก่พระองค์  10เพื่อเพราะพระนามนั้นทุกเข่าในสวรรค์  ที่แผ่นดินโลก  ใต้พื้นแผ่นดินโลก  จะคุกลงกราบพระเยซู   11และเพื่อทุกลิ้นจะยอมรับว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า  อันเป็นการถวายพระเกียรติแด่พระบิดาเจ้า  (ฉบับ 1971)

    ch10 21

         การตีความพระคัมภีร์ตอนนี้ของผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพว่าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าก็เพราะพระองค์ทรงอยู่ใน “รูปกาย[60]ของพระเจ้า”   ข้อปัญหาเกี่ยวกับความเข้าใจของผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพเรื่อง “รูปกายของพระเจ้า” นั้นเป็นเรื่องใหญ่มากจนหนังสือบางเล่มเขียนถึงเรื่องนี้โดยเฉพาะ  อะไรคือปัญหา?  ปัญหาก็คือคุณจะไม่พบ “รูปกายของพระเจ้า” ที่ไหนอีกในพระคัมภีร์หรือที่พระเจ้าทรงมีรูปกาย (ch10 22[61] มอร์เฟ่)   พระเจ้าทรงไม่มีรูปกายฉะนั้นเราจึงจนปัญญาตั้งแต่แรก  ถ้าพระเจ้าไม่มีรูปกายและพระเยซูมีรูปกายของพระเจ้าแล้วเราจะเริ่มจากตรงนี้อย่างไร?  เมื่อเป็นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพเรามักจะมองข้ามปัญหานี้ไป   ถ้าฟีลิปปี 2:6 กล่าวถึงพระเยซูว่าเป็นพระเจ้า  เราจะเจอปัญหาใหญ่หรือไม่เช่นนั้นปัญหาก็จะหมดไป

          “รูปกาย” เป็นคำสำคัญในพระคัมภีร์ตอนนี้ดังที่เห็นในคำพูดเช่น “รูปกาย[62]ของพระเจ้า”  และ “รูปกาย[63]ของทาสรับใช้”  ในทั้งสองกรณีนี้ใช้ “ch10 22,” (morphē) คำเดียวกัน (ดูคำที่ขีดเส้นใต้สองคำแรกข้างบน)  การจะดูความหมายของคำนี้ก็ให้ค้นดูคำ “ch10 22,” (morphē)  ในพจนานุกรมซึ่งสามารถทำได้ง่ายในโปรแกรมไบเบิ้ลเวิร์คส์

     คำ “ch10 22,” (morphē รูปกาย) มีอยู่ในภาษาอังกฤษ เช่นในคำ “metamorphosis”[64]  คำนำหน้า “meta”[65] มีความหมายหลักๆว่า “เปลี่ยน” ในขณะที่ “morphosis”[66] มาจาก “ch10 22,” (morphē “รูปกาย”)   ฉะนั้นจึงเป็นการเปลี่ยนรูป ตัวอย่างเช่น เราจะบอกว่าดักแด้ได้เปลี่ยนรูปหรือเปลี่ยนไปเป็นผีเสื้อ  รูปกายที่ปรากฏภายนอกได้เปลี่ยนไปแม้ว่าภายในมันยังคงเป็นแมลงตัวเดียวกัน

         ตอนเด็กๆผมชอบเลี้ยงตัวไหม  หลังจากผ่านระยะของการกินใบหม่อนแล้วตัวหนอนจะชักใยห่อหุ้มเป็นรังไหมและอาศัยอยู่ข้างในนั้น  ต่อมาตัวมอดไหมจะออกมาจากรังไหมแล้วก็วางไข่หนอนรุ่นต่อไปและเราจะได้เส้นไหมจากรังไหม  มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างจากหนอนสีขาวมาเป็นแมลง  เป็นการเปลี่ยนรูปแม้ว่าข้างในจะเป็นแมลงตัวเดียวกัน

     เราจะเห็นจากพจนานุกรมกรีกเล่มใดก็ได้ว่า  “รูป” จะเกี่ยวกับรูปลักษณ์ที่ปรากฏให้เห็นภายนอก  ไม่ใช่แก่นแท้ภายใน  พระเยซูทรงมีรูปลักษณ์ของพระเจ้า  แต่พระเจ้าทรงไม่มีรูปลักษณ์ที่ปรากฏให้เห็นภายนอกแต่มีข้อยกเว้นที่สำคัญอย่างหนึ่งคือจะปรากฏให้เห็นโดยรูปเหมือนหรือพระฉายาของพระเจ้าในมนุษย์  เราเห็นมาก่อนว่ารูปและรูปเหมือนนั้นเป็นความคิดที่เกี่ยวข้องกัน  คือที่ไหนที่มีรูปเหมือนก็ต้องมีต้นแบบ ที่ไหนที่มีต้นแบบก็ต้องมีรูปเหมือน  ทั้งสองมีแนวคิดที่เหมือนกัน  เพราะฉะนั้นพระคัมภีร์ตอนนี้ในฟีลิปปี 2 ซึ่งพูดเกี่ยวกับรูปของพระเจ้าก็กำลังพูดเกี่ยวกับรูปเหมือนของพระเจ้าด้วย

         มีพระเจ้าเพียงองค์เดียวในพระคัมภีร์และพระองค์คือพระยาห์เวห์ซึ่งหมายความว่า “รูปของพระเจ้า” ก็คือ “รูปของพระยาห์เวห์”  จงสังเกตดูสิ่งที่เกิดขึ้นกับมุมมองที่น่าสลดใจของผู้ที่เชื่อในตรีเอกานุภาพ  น่าสลดใจเพราะไม่ว่าพวกเขาจะหันไปทางซ้ายหรือทางขวาพวกเขาก็ถูกคมของดาบสองคม  พวกเขาหันไปทางนี้ก็จะถูกคมของด้านนี้ พวกเขาหันไปอีกทางก็ถูกคมของด้านหนึ่ง  หากพวกเขาสามารถจะพิสูจน์อะไรเกี่ยวกับความเป็นพระเจ้าของพระเยซูสิ่งที่พิสูจน์ได้ก็จะเป็นว่าพระเยซูก็คือพระยาห์เวห์เอง  เพราะพระคัมภีร์ตอนนี้ไม่ได้พูดถึงพระองค์ที่สองที่เป็นพระเจ้าแต่อย่างใด ถ้าพวกเขาจะโต้แย้งว่ารูปไม่ได้หมายถึงรูปเหมือนแต่หมายถึงแก่นแท้ข้างใน พวกเขาก็จะเจอปัญหาว่าพระเยซูจะต้องเป็นพระยาห์เวห์

         คุณจะหันไปทางนี้คุณก็เจอพระยาห์เวห์ จะหันไปอีกทางคุณก็เจอพระยาห์เวห์ ไม่มีทางจะหนีจากพระยาห์เวห์ไปได้ ยิ่งกว่านั้นในพระคัมภีร์ใหม่ก็มีพระเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น ความเป็นไปได้ที่มีหลายพระองค์เป็นพระเจ้าเป็นแนวคิดทางปรัชญาที่รับมาจากความคิดของคนต่างชาติและความคิดที่เชื่อในพระเจ้าหลายองค์ที่ไม่ได้มีอยู่ในพระคัมภีร์ใหม่ มันเป็นความคิดที่นำเข้ามาในตัวบทเพราะไม่ได้มีอยู่ในตัวบท

     ปัญหาต่อมาที่มีกับข้อโต้แย้งของความเชื่อในตรีเอกานุภาพก็คือ ถ้าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าหรือเท่าเทียมกับพระเจ้า พระเยซูก็ไม่จำเป็นจะต้องถือว่าการเท่าเทียมกับพระเจ้าเป็นสิ่งที่จะต้องยึดถือ (ch10 23[67]  กำลังยึดไว้อยู่ หรือการยึดครอง)

     ตรงนี้มีความเป็นไปได้ที่สมเหตุสมผลอยู่เพียงสองอย่างเท่านั้น  คือพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าหรือพระองค์ไม่ได้เป็น  ถ้าพระองค์เป็นพระเจ้า พระองค์ก็ไม่จำเป็นจะต้องยึดความเท่าเทียมกับพระเจ้า  เพราะว่าคุณจะยึดไว้ก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นไม่ใช่ของคุณเอง    ถ้ามันเป็นของคุณอยู่แล้วคุณก็ไม่จำเป็นที่จะต้องยึดไว้  มีเพียงสิ่งเดียวที่คุณอาจจะทำก็คือรักษาสิ่งที่คุณมีไว้ต่อไป  ถ้าพระเยซูเป็นพระเจ้า พระองค์ก็เพียงแค่รักษาความเป็นพระเจ้าของพระองค์ไว้และปัญหาของการยึดถือไว้ก็ไม่สัมพันธ์กัน

       พระคัมภีร์ยิวฉบับสมบูรณ์[68]กล่าวว่าพระคริสต์ “ไม่ได้ถือว่าความเท่าเทียมกับพระเจ้าเป็นสิ่งที่จะยึดครองไว้”  ถ้าพระเยซูทรงเท่าเทียมกับพระเจ้าพระองค์ก็ไม่จำเป็นต้อง “ยึดไว้[69]

       แต่ถ้าเราดูข้อนี้จากทัศนะของความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียว (ที่พระเยซูไม่ใช่พระเจ้า) ทุกอย่างก็เข้าใจได้   แม้พระองค์จะอยู่ในรูปกายของพระเจ้า พระองค์ก็ไม่เคยที่จะยึดความเท่าเทียมกับพระเจ้า  การยึดเอาสิ่งที่ไม่ใช่ของๆคุณเองคือความผิดพลาดอย่างชัดเจนของอาดัม

         เปาโลพูดต่ออีกว่าพระคริสต์ “ทรงทำให้พระองค์เองไม่มีอะไร (ฟีลิปปี 2:7 พระคัมภีร์ภาษาไทยส่วนใหญ่แปลว่าสละพระองค์เอง)”[70]  ไม่มีใครสามารถจะทำให้ตัวเองไม่มีอะไรข้างในทางกายภาพจริงๆ  ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องเข้าใจลักษณะบทกวี  (เพราะคนส่วนมากไม่เข้าใจลักษณะบทกวี)   บทกวีเป็นวิธีพูดถึงบางสิ่งบางอย่างที่เห็นได้ชัดเจนและจับใจ  “พระองค์ทรงทำให้พระองค์เองไม่มีอะไร” หมายความว่าเลือกไม่สนใจพระองค์เองและทำให้ตัวพระองค์เองให้ไม่มีอะไรในแง่ประโยชน์ของพระองค์เอง  มันหมายถึงการละตัวเองเสีย ประหารตัวเองให้ตาย  พระเยซูทรงลดพระองค์เองลงจนไม่เหลืออะไร จนเป็นศูนย์  ให้จำไว้ว่าพระคัมภีร์ทั้งตอนนี้เป็นบทกวี  ถ้าคุณจะรับเอาการไม่มีอะไรนี้แบบตรงตามคำ คุณจะได้ความคิดเขลาๆว่าคนๆหนึ่งกำลังดึงทึ้งสิ่งต่างๆออกมาจากร่างกายของเขา

     พระคัมภีร์ทั้งตอนเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูป  ถ้าคุณไม่เห็นสิ่งนี้ คุณก็จะพลาดประเด็นของพระคัมภีร์ตอนนี้   จงสังเกตคำที่ขีดเส้นใต้ต่อไปนี้

6พระองค์ผู้ทรงอยู่ในสภาพ[71]ของพระเจ้า  มิได้ทรงเห็นว่าการเท่าเทียมกับพระเจ้านั้น​เป็นการแย่งชิงเอาไปเสีย[72]  7แต่ได้ทรงกระทำพระองค์เองให้ไม่มีชื่อเสียงใดๆ[73]  และทรงรับสภาพ[74]อย่างผู้รับใช้  ทรงถือกำเนิดในลักษณะของมนุษย์  8และเมื่อทรงปรากฏพระองค์ในสภาพมนุษย์แล้ว  พระองค์​ก็ทรงถ่อมพระองค์ลงยอมเชื่อฟัง  จนถึงความมรณา  กระทั่งความมรณาที่กางเขน  (ฟีลิปปี 2: 6-8  ฉบับไทยคิงเจมส์)[75]

          

ch10 24

        

          เปาโลใช้คำซ้ำๆที่มีกรอบความคิดของรูปกายว่า  “ในสภาพ”[76] “ในลักษณะ”[77] และ “ปรากฏ”[78] มีการใช้คำกรีกสามคำที่ต่างกัน (ch10 25) จากสี่ตัวอย่างตรงนี้ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับสิ่งที่มองเห็นภายนอก   เปาโลกำลังเน้นสิ่งที่มองเห็นได้หรือสิ่งที่เห็นภายนอกมากกว่าแก่นแท้ภายใน

         รูปเหมือนทำให้สิ่งนั้นมองเห็นได้  การอยู่ “ในรูปกาย(ในสภาพ)ของพระเจ้า” ไม่ได้หมายความว่าพระเยซูจะเป็นพระเจ้ามากไปกว่า “ทรงปรากฏพระองค์ในสภาพมนุษย์” ที่หมายความว่าพระองค์ทรงเป็นมนุษย์ ความสำคัญโดยรวมของพระคัมภีร์ตอนนี้ก็คือ มีบางสิ่งบางอย่างที่ทำให้มนุษย์และจักรวาลมองเห็นได้ซึ่งก็คือความเป็นมนุษย์ของพระเยซูและความเหมือนกับพระเจ้าของพระองค์ที่เป็นรูปเหมือนของพระเจ้า[79]  ความจริงแล้วคำกรีกสามคำที่กล่าวมาข้างต้นนี้ (จากสี่ตัวอย่าง) ทั้งหมดมีความหมายพื้นฐานเหมือนกันว่า รูปร่าง รูปกาย หรือรูปลักษณ์ภายนอก

         เปาโลกล่าวก่อนหน้านี้ในฟีลิปปี 2 ข้อ 5 ว่า “ท่านควรมีท่าทีแบบเดียวกับพระเยซูคริสต์”[80]​   เปาโลกำลังขอให้พี่น้องชาวฟีลิปปีมีท่าทีของพระคริสต์  และให้ท่าทีนี้มองเห็นได้จากการประพฤติของพวกเขา  ดังที่มองเห็นได้ในพระคริสต์จากสิ่งที่พระองค์ได้กระทำแม้กระทั่งความตายของพระองค์ที่กางเขน  พระคริสต์ผู้เป็นรูปเหมือนที่แท้จริงของพระเจ้า  ทรงเป็นตัวอย่างให้เราเห็นและทำตาม  เพราะฉะนั้นพระคัมภีร์ตอนนี้จึงไม่ได้มีไว้ให้ถกเถียงกันทางศาสนศาสตร์เกี่ยวกับความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์อย่างที่ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพทำให้เป็น  แต่เป็นการแนะนำในทางปฏิบัติเกี่ยวกับชีวิตในฝ่ายวิญญาณ  แรงจูงใจภายใน  และการประพฤติตัวที่เห็นได้ภายนอกในฐานะที่เป็นผู้ติดตามพระคริสต์    แต่ความเชื่อในตรีเอกานุภาพได้เปลี่ยนให้พระคัมภีร์ตอนนี้ให้เป็นเรื่องศาสนศาสตร์เกี่ยวกับความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์ซึ่งเป็นการพลาดประเด็นทั้งหมดของพระคัมภีร์ตอนนี้ไปเลย

พระนามเหนือนามทั้งหมด

          ในข้อ 9 เปาโลกล่าวว่า

“เพราะฉะนั้นพระเจ้าจึงทรงยกพระองค์ขึ้นสูงสุด  และประทานพระนามเหนือนามทั้งหมดแก่พระองค์” (ฉบับมาตรฐาน 2011)

ch10 26

          ผู้เป็นนักตีความจะไม่ตรวจสอบแต่เฉพาะข้อความภาษากรีกจากฉบับเดียว  แต่จะตรวจสอบจากหลายฉบับ    ในข้อนี้บางฉบับจะพูดถึง “พระนาม” (the name) โดยมีคำนำหน้านามที่ชี้เฉพาะ   ในขณะที่ฉบับอื่นพูดถึงแค่ “พระนาม” (name) เฉยๆโดยไม่มีคำนำหน้านามที่ชี้เฉพาะ    ข้อความกรีกที่เห็นตรงนี้จากฉบับของสหสมาคมพระคริสตธรรม[81]จะมีคำนำหน้านาม “พระนาม (the name)” ที่ขีดเส้นใต้ไว้ (ch10 27)  แต่ควรจำไว้ว่าฉบับของสหสมาคมพระคริสตธรรมนั้นเลือกใช้ข้อความ นั่นก็คือบรรดาผู้เรียบเรียงได้คัดเลือกข้อความให้คุณ  คุณยังต้องดูความแตกต่างที่เกี่ยวกับตัวบทไม่เช่นนั้นคุณจะพลาดสิ่งสำคัญบางอย่างไป    ถ้าคุณสังเกตดูตัวบทฉบับกรีกของสหสมาคมพระคริสตธรรม   คุณจะเห็นว่าฉบับกรีกหลายฉบับไม่มีคำนำหน้านามที่ชี้เฉพาะ (the)  ซึ่งหมายความว่าคำนั้นสามารถจะแปลว่า “นามใดนามหนึ่ง” (a name) หรือแปลว่า “นามเฉพาะนั้น” (the name)  ข้อ 9 นี้บรรดาผู้เรียบเรียงได้เลือกแปลเป็น “พระนามเฉพาะนั้น” (the name) แต่ไม่ได้ชี้ชัดว่าพระนามนั้นคืออะไร

          พระคัมภีร์เดิมตอนที่เหมือนกับข้อนี้อยู่ในสดุดี 89:27 “เราจะตั้งเขาเป็นบุตรหัวปีของเรา และ  ให้เขาได้รับการยกย่องเทิดทูนสูงสุด  ในหมู่กษัตริย์ของแผ่นดินโลก (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย) หรือ “และ​เรา​จะ​ให้​เขา​เป็น​บุตร​หัวปี สูง​ที่สุด​ใน​บรรดา​พระ​ราชา​แห่ง​แผ่นดิน​โลก”(ฉบับ 1971)

         ข้อพระคัมภีร์เดิมตอนที่เหมือนกันมีความสำคัญเพราะข้อเหล่านั้นอาจบ่งชี้ว่าพระคัมภีร์ใหม่ตอนที่พิจารณาอยู่กำลังเป็นจริงตามพระคัมภีร์เดิม  ในสดุดี 89:27 นี้พระเจ้ากำลังยกผู้หนึ่งขึ้นสูงสุดในบรรดากษัตริย์ทั้งหลาย ซึ่งหมายความว่าพระนามของพระองค์จะอยู่เหนือนามทั้งหมดในบรรดา​พระ​ราชาแห่ง​แผ่นดิน​โลกเหมือนกันกับ “​ประ​ทาน​พระ​นาม​เหนือ​นาม​ทั้ง​หมด​แก่​พระ​องค์” (ฟีลิปปี 2:9)  คำว่า “บุตรหัวปี” ในสดุดี 89:27 เป็นคำที่คุ้นเคยในพระคัมภีร์และใช้กับพระคริสต์ในคำพูด เช่น “ทรง​เป็น​บุตร​หัวปี​เหนือ​สรรพ​สิ่ง​ทั้ง​ปวง​”  และ “เป็นบุตรหัวปีที่ทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย” (โคโลสี 1:15, 18  ฉบับไทยคิงเจมส์)

               ในอิสยาห์ 45:23  พระยาห์เวห์ตรัสว่า “เรา​ปฏิ​ญาณ​ไว้แล้วด้วย​ตัวของ​เรา​เอง เราเองลั่นวาจาไว้ด้วยความ​ชอบธรรม​  ไม่มีวันคืน​คำ​   คือทุกคนจะคุก​เข่า​​กราบ​ลง​ต่อ​เรา  และ​ทุก​ลิ้น​จะ​ปฏิ​ญาณโดยอ้างถึง​เรา” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)  เราเห็นรูปแบบที่น่าสังเกตในคำที่ใช้กับพระยาห์เวห์ตรงนี้ก็ใช้กับพระเยซูในฟีลิปปี 2:9    สิ่งนี้พิสูจน์ว่าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าไหม?  ถ้าจะพิสูจน์มันจะพิสูจน์แต่เพียงว่าพระเยซูคือพระยาห์เวห์และไม่ได้เป็นพระองค์ที่สองในตรีเอกานุภาพ[82]  ตรงนี้เราเห็นสถานการณ์สิ้นหวังกับข้อพิสูจน์ของผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพ    เพราะคุณจะพิสูจน์ว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าได้ก็โดยที่พิสูจน์ว่าพระองค์คือพระยาห์เวห์[83] เพราะทุกข้อความจะกลับไปหาพระยาห์เวห์   พระคัมภีร์ทั้งหมดเป็นถ้อยคำของพระยาห์เวห์  คุณจะไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นพระองค์อื่น  กลวิธีที่เด่นสุดของความเชื่อในตรีเอกานุภาพก็คือพิสูจน์ให้ได้ว่ามีสามพระองค์[84]จากหนังสือที่พูดถึงพระเจ้าองค์เดียว

         คุณเคยเล่นไพ่มายากลกับเด็กๆไหม?  ผมเคยเล่นไพ่มายากลให้คนมากมายประทับใจ  ผมจะบอกพวกเขาว่า “ดึงไพ่ออกมาใบหนึ่ง” แล้วผมก็บอกให้พวกเขาใส่มันกลับเข้าไปในกอง  ผมจะสับไพ่กองนั้นแล้วก็ดึงไพ่ใบที่พวกเขาใส่เอาไว้ออกมาได้อย่างถูกต้อง  พวกเขาอ้าปากค้าง (บางคนอาจรู้จักกลนี้) หรือบางทีผมก็ให้ทุกคนดูเหรียญ ผมปิดมือแล้วเปิดมือ เหรียญก็หายไปแล้ว! พวกเขาพากันมองหาเหรียญที่หายไป เมื่อผมเปิดมืออีกครั้งเหรียญก็ยังอยู่  คำเฉลยก็คือการใช้ความสามารถพิเศษตบตาคนอื่น 

     ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพได้เล่นกลเพื่อพิสูจน์ให้เห็นพระเจ้าสามพระองค์จากพระคัมภีร์ที่พูดถึงพระเจ้าเพียงองค์เดียว  เราเล่นกลนี้มานานและทำให้คนจำนวนมากสับสน

         ตอนนี้ผมอยากบอกกับผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพว่า “คุณอยากจะทำยังไงกับข้อความพระคัมภีร์ของคุณก็เชิญ?  คุณอยากจะพิสูจน์จริงๆว่าพระเยซูคือพระยาห์เวห์หรือ?” นั่นไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาต้องการจะพิสูจน์  แต่ในที่สุดแล้วพวกเขาจะพิสูจน์ได้แบบนั้น  เมื่อคุณเห็นอย่างทะลุปรุโปร่งคุณก็จะรู้กลนี้แล้วจะไม่มีใครเล่นกลนี้กับคุณได้อีก  ถ้าคุณรู้วิธีทำให้เหรียญหายไปได้ก็จะไม่มีใครหลอกคุณได้  เพราะเหตุที่ผมรู้วิธีการที่ความเชื่อในตรีเอกานุภาพใช้ ผมจึงสามารถมองเห็นได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

          ท้ายที่สุดเปาโลกล่าวในฟีลิปปี 2:11 ว่า  “และ​ทุก​ลิ้น​จะ​ยอม​รับ​ว่า​พระ​เยซู​คริสต์​คือองค์​พระ​ผู้​เป็น​เจ้า  เพื่อเป็น​การ​ถวาย​พระ​เกียรติสิริ​แด่​พระเจ้า​พระ​บิดา” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)  ทุกสิ่งนั้นก็เพื่อ “เป็น​การ​ถวาย​พระ​เกียรติสิริ​แด่​พระเจ้า​พระ​บิดา”  แต่นั่นจะเป็นได้อย่างไรถ้าทุกเข่าไม่ได้คุกลงกราบพระบิดาแต่คุกลงกราบพระเยซู[85] และถ้าทุกลิ้นจะยอมรับว่าพระเยซูทรงเป็นองค์ผู้เป็นเจ้า?   คุณจะยอมรับว่าพระเยซูทรงเป็นองค์ผู้เป็นเจ้าเพื่อเป็น​การ​ถวาย​พระ​เกียรติสิริ​แด่​พระยาห์เวห์ได้อย่างไร?  เมื่อเป็นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพเราไม่ได้เดือดร้อนกับข้อนี้  เราไม่ได้สนใจเพราะเราทำอะไรไม่ได้  แน่ทีเดียวที่พระ​เกียรติสิริทั้งสิ้นจะต้องถวาย​แด่​พระเยซูใช่ไหม?   การที่ทุกเข่าจะคุกลงกราบพระเยซูและทุกลิ้นจะยอมรับว่าพระองค์ทรงเป็นองค์ผู้เป็นเจ้านั้น  การทำเช่นนี้จะเป็นการ​ถวาย​พระ​เกียรติสิริ​แด่​พระเจ้า​พระ​บิดาอย่างไร?  มีหนทางเดียวเท่านั้นก็คือว่าในการคุกลงกราบพระเยซูนั้นคุณก็กำลังคุกลงกราบพระยาห์เวห์   ไม่มีทางอื่นอีก   พระเยซูจะต้องเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง  คือเป็นพระยาห์เวห์ (ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ความเชื่อในตรีเอกานุภาพต้องการจะพิสูจน์) หรือไม่พระเยซูก็เป็นรูปเหมือนของพระยาห์เวห์ซึ่งเป็นสิ่งที่พระคัมภีร์ตอนทั้งหมดนี้พูดถึงคือรูปกายและรูปลักษณ์  เมื่อคุณเห็นความสำคัญที่พระเยซูทรงอยู่ในรูปกาย ในรูปร่าง และในรูปลักษณ์ของพระเจ้า  คุณก็จะเข้าใจว่าเมื่อคุณคุกลงกราบรูปเหมือนนี้ คุณก็กำลังคุกลงกราบพระยาห์เวห์ที่พระเยซูทรงเป็นรูปเหมือนของพระองค์

         มีบางอย่างที่คล้ายกันในวิวรณ์ 13  คือถ้าคุณกราบบูชารูปของสัตว์ร้ายคุณก็กำลังกราบบูชาตัวของสัตว์ร้าย (ตัวอย่างเช่น วิวรณ์ 13:14, 15  วิวรณ์  20:4)  สัตว์ร้ายมีรูปที่ทำจากตัวของมัน (เลียนแบบพระยาห์เวห์ผู้ที่ปั้นมนุษย์ตามพระฉายาพระองค์) ดังนั้นเมื่อคุณกราบบูชารูปของสัตว์ร้าย ก็เหมือนคุณกราบบูชาตัวสัตว์ร้ายนั้น  เมื่อเราเห็นว่าพระเยซูทรงเป็นรูปเหมือนของพระยาห์เวห์เราก็จะเข้าใจความหมายของการกราบลงต่อหน้ารูปนั้นภายใต้คำสั่งของพระยาห์เวห์  ลักษณะของคำสั่งนี้ยังพบในกรณีของสัตว์ร้ายที่สั่งให้คนทั้งหลายที่อยู่ในโลกให้กราบบูชารูปจำลองของสัตว์ร้าย (วิวรณ์ 13:15)[86] และในกรณีของเนบูคัดเนสซาร์ผู้สั่งให้ทุกคนในจักรวรรดิของพระองค์กราบนมัสการรูปปฏิมากรที่พระองค์ได้สร้างขึ้น (ดานิเอล 3:6)[87]

          ด้วยเหตุเพราะพระเยซูทรงเป็นรูปเหมือนของพระยาห์เวห์ดังนั้นเมื่อกราบลงต่อรูปเหมือนนั้นก็เหมือนคุณกราบลงต่อพระยาห์เวห์  ถ้าคุณทำอย่างนี้คุณจะต้องเข้าใจว่าพระเยซูไม่ใช่พระเจ้าแต่ทรงเป็นรูปเหมือนของพระเจ้า  เราสามารถนมัสการพระเยซูได้ถ้าเราเข้าใจว่าเราไม่ได้กำลังนมัสการพระองค์เป็นพระเจ้าแต่เข้าใจว่าทรงเป็นรูปเหมือนของพระยาห์เวห์  เรื่องนี้ไม่เป็นปัญหา  แต่เมื่อใดที่คุณบอกว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าคุณก็จะกลายเป็นผู้ไหว้รูปเคารพ

         มีบางอย่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับการไหว้รูปเคารพก็คือไม่มีคนไหว้รูปเคารพคนไหนหรอกที่เคยคิดว่าเขาเป็นคนไหว้รูปเคารพ  ถ้าเขาคิดว่ารูปเคารพไม่ใช่เทพเจ้าหรือไม่สามารถทำอะไรได้ เขาก็คงไม่กราบไหว้มัน  คุณลองไปเที่ยววัดเจ้าแม่กวนอิมดูแล้วคุณจะเห็นว่าผู้นมัสการเหล่านั้นคิดว่าเจ้าแม่กวนอิมเป็นแค่รูปปั้นหรือเปล่า คุณคงจะน่วมแน่ถ้าคุณไปบอกว่าเป็นแค่รูปปั้น เช่นเดียวกันที่ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพจะไม่คิดว่าพวกเขาเป็นผู้ที่ไหว้รูปเคารพ

     ก่อนที่เราจะไปต่อมีบางสิ่งที่ผมอยากจะพูดถึงคือเมื่อพระคัมภีร์ใหม่ใช้คำเรียก “องค์ผู้เป็นเจ้า” กับพระเยซูนั้นมันไม่ได้หมายถึงพระยาห์เวห์ หรือ “อาโดนาย” (วิธีพูดของชาวยิวเมื่อเอ่ยถึงพระยาห์เวห์)  เรื่องนี้จะเห็นได้ในสองข้อต่อไปนี้ (จากหลายข้อ)

แต่สำหรับพวกเรา​มีพระเจ้าองค์เดียว  คือพระบิดา  ผู้ทรงเป็นที่มาของสิ่งสารพัด  เรามีชีวิตอยู่เพื่อพระองค์  และมีองค์พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวคือพระเยซูคริสต์  สิ่งสารพัดเป็นมาโดยทางพระองค์   และเรามีชีวิตอยู่โดยทางพระองค์  (1 โครินธ์ 8:6  ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)

โดยฤทธิ์อำนาจของพระองค์  พระเจ้าทรงให้องค์พระผู้​เป็นเจ้าเป็นขึ้นจากตาย  และพระองค์จะทรงให้เราทั้งหลายเป็นขึ้นใหม่ด้วย  (1 โครินธ์  6:14 ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)

         พระคัมภีร์สองตอนนี้เผยให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่าง “พระเจ้า” และ “องค์ผู้เป็นเจ้า” ที่ “องค์ผู้เป็นเจ้า” หมายถึงพระเยซู    มีพระเจ้าองค์เดียวและองค์ผู้เป็นเจ้าองค์เดียว  และไม่มีอะไรที่น่าสับสนกับทั้งสองพระองค์  พระคัมภีร์ตอนที่สองบอกเราว่าพระเยซูไม่ได้ชุบพระองค์เองขึ้นจากความตาย   แม้คำเรียก “องค์ผู้เป็นเจ้า” พระยาห์เวห์ก็เป็นผู้ประทานให้กับพระเยซูและไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์โดยชอบของพระองค์

ยอห์น 1

         ให้เราดู ยอห์น 1:1 ข้อที่รู้จักกันดี   การตีความของข้อนี้แบบเชื่อว่ามีพระเจ้าเพียงองค์เดียวนั้นมีเหตุผลเพราะมันอยู่บนรากฐานที่หนักแน่นของความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวตามพระคัมภีร์

ใน​ปฐม​กาล​พระ​วาทะ​ทรง​ดำรง​อยู่ และ​พระ​วาทะ​ทรง​อยู่​กับ​พระ​เจ้า และ​พระ​วาทะ​ทรง​เป็น​พระ​เจ้า

                                              ch10 28

          ไม่ว่าคำขึ้นต้นของยอห์นจะเป็นบทกวีหรือไม่  มันก็ไม่ทำให้คำอธิบายของข้อนี้แตกต่างกัน  และนั่นก็ตรงกับ “ch10 29”( logos ถ้อยคำ) ไม่ว่าเราจะรับแบบตามคำเขียนหรือรับแบบเป็นบทกวี

          ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพคงต้องอธิบายว่าทำไมเขาจึงสันนิษฐานว่า “ch10 29” เป็นบุคคล  มีหลักฐานของเรื่องนี้ที่ไหนในพระคัมภีร์ไหม?  มายากลที่ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพใช้ก็คือใส่สิ่งที่ตนเองอยากให้มีเข้าไปในตัวบท พูดให้ง่ายก็คือผมสามารถทำให้มีบุคคลอยู่ในตัวบทได้ถ้าผมอ่านเกินจากตัวบท แต่ทว่าไม่มีที่ไหนเลยในพระคัมภีร์ที่ “ch10 29” จะเคยอ้างอิงถึงบุคคล มันง่ายถึงขนาดนั้น การอ่านให้มีพระองค์ที่สองในตรีเอกานุภาพจากพระคัมภีร์ตอนนี้เราก็ต้องอ่านให้มีพระองค์อยู่ในนั้น

     งานของนักตีความก็คือคุณจะต้องตรวจสอบคำ “ch10 29” ทุกคำที่ปรากฏซึ่งอาจดูได้ในโปรแกรมไบเบิ้ลเวิร์คที่คุณจะเจอข้ออ้างอิงเป็นร้อย  คำ “ch10 29” ไม่ได้มีความหมายอย่างอื่นนอกจากว่า “ถ้อยคำ” สิ่งนั้นไม่ทำให้ความเชื่อในตรีเอกานุภาพประสบผลสำเร็จเพราะไม่เคยมีตัวอย่างของคำนี้ที่อ้างถึงบุคคลเลย   ถ้าคุณค้นหา “ถ้อยคำของพระเจ้า”[88](word of God) คุณจะพบ 34 ข้ออ้างอิงซึ่งรวมยอห์น 1:1  ส่วนอีก 33 ข้ออ้างอิงนั้นไม่มีสักข้อที่อ้างอิงถึงบุคคล ถ้าคุณอยากจะให้มีบุคคลจากยอห์น 1:1  คุณก็คงต้องอ่านให้มีบุคคลอยู่ในนั้น

         ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพต้องการให้คุณเชื่อว่า “ch10 29” เป็นบุคคล  ถ้าคุณไม่ยอมรับอย่างนั้นและคุณก็ไม่ควรจะยอมรับเพราะไม่มีรากฐานจากพระคัมภีร์ในเรื่องนี้ ข้อพิสูจน์ก็จะหยุดอยู่แค่นี้และไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้  ถ้าคุณตรวจสอบข้ออ้างอิง “พระวจนะของพระเจ้า” อีก 33 ข้อในพระคัมภีร์ใหม่  คุณจะเห็นว่ามันไม่ได้มีความหมายอย่างอื่นนอกจากจะหมายถึงพระคำของพระเจ้า  ถ้อยคำของพระเจ้า การเปิดเผยของพระเจ้า หรือสิ่งที่พระเจ้าได้ตรัสหรือเผย  การทำให้ยอห์น 1:1 เป็นข้อความตามความเชื่อในตรีเอกานุภาพนั้นคุณจะต้องพลิกแพลงโดยพูดว่า “ch10 29” เป็นบุคคล

     แม้แต่ในวิวรณ์ 19:13 ที่ “พระวาทะของพระเจ้า” ทรงม้าขาวนั้นก็ไม่สามารถจะแสดงให้เห็นว่า “พระวาทะของพระเจ้า” เป็นบุคคล  บริบทชี้ไปที่ความรุดหน้าของพระกิตติคุณหรือการพิพากษาในโลกนี้ของพระเจ้าแทน  ไม่มีใครสามารถแสดงให้เห็นว่ามันอ้างอิงถึงพระคริสต์

พระวาทะอยู่ “กับ” พระเจ้า

          หนึ่งในกลต่างๆของความเชื่อในตรีเอกานุภาพก็คือแปลคำ “ch10 30” ผิดๆ (ดูคำที่ขีดเส้นใต้)

          ใน​ปฐม​กาล​พระ​วาทะ​ทรง​ดำรง​อยู่ และ​พระ​วาทะ​ทรง​อยู่​กับ​พระ​เจ้า และ​พระ​วาทะ​ทรง​เป็น​พระ​เจ้า

   

ch10 31

         คำ “ch10 30[89] (พรอส) หมายถึงอะไรในคำกล่าว “พระ​วาทะ​ทรง​อยู่​กับ​พระ​เจ้า”?   เราไม่ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษากรีกก็รู้ได้ว่า “ch10 30” (พรอส) โดยทั่วไปแล้วไม่ได้หมายความว่า “กับ”  แม้ว่าพระคัมภีร์ภาษาอังกฤษทุกฉบับจะแปลว่า “พระวาทะทรงอยู่กับพระเจ้า”  แบบเรียนภาษากรีกเบื้องต้นเล่มไหนก็ตามจะบอกคุณว่าความหมายพื้นฐานที่สุดของ “ch10 30”  ก็คือ “ต่อ” หรือ “ในเรื่องเกี่ยวกับ” ไม่ใช่ “กับ” ในความหมายของการอยู่ในที่นั้น  ถ้าคุณอยากจะใช้คำ “กับ” คำนี้ไม่ได้เป็นคำมาตรฐานที่จะใช้

          กลนี้ก็คือการแปลถ้อยคำ “พระวาทะทรงอยู่กับพระเจ้า” ให้มีความหมายว่าอยู่ต่อพระพักตร์ของพระเจ้า  ดังนั้นจึงทำให้มีหมายความได้สองอย่างคือ “ch10 29” อยู่กับพระเจ้า และ “ch10 29” อาจเป็นบุคคล  ผมพูดว่า “อาจเป็น” ก็เพราะไม่ใช่บุคคลก็สามารถอยู่ต่อพระพักตร์กับพระเจ้าได้เช่นกัน   ตัวอย่างเช่น พระปัญญาของพระเจ้าอยู่ต่อพระพักตร์พระเจ้าในการทรงสร้าง

         ​​ข้าพเจ้า​ก็​อยู่​ข้าง​พระ​องค์​แล้ว​เหมือน​อย่าง​นาย​ช่าง ข้าพเจ้า​เป็น​ความ​ปีติ​ยินดี​ประ​จำ​วัน​ของ​พระ​

         องค์ เปรม​ปรีดิ์​อยู่​เฉพาะ​พระ​พักตร์​พระ​องค์​ทุก​เวลา (สุภาษิต 8:30  ฉบับมาตรฐาน  2011 )

ch10 33

         คำที่ขีดเส้นใต้ “ch10 34[90] (พารา) โดยทั่วไปหมายถึง “ข้างๆกับ” หรือ “อยู่ที่นั่นกับ”  พระปัญญาอยู่ที่นั่นกับพระเจ้าในการทรงสร้าง อยู่ข้างๆพระองค์เลย  คำนี้เกี่ยวข้องกับ “ch10 35[91] ที่แปลว่า “ผู้ปลอบประโลมใจ”[92] ในยอห์น 14:26   นั่นก็คือ ใครคนหนึ่งที่อยู่กับคุณและอยู่ข้างๆคุณ

          ให้เรากลับไปดู “ch10 30” ว่าคำนี้ใช้อย่างไรในโรม 5:1

เหตุ​ฉะนั้น เมื่อ​เรา​เป็นคน​ชอบ​ธรรม​เพราะ​ความ​เชื่อ​แล้ว เรา​จึง​มีสันติ​สุข​กับ​พระ​เจ้า​ทาง​พระ​เยซู​คริสต์​องค์​พระ​ผู้​เป็น​เจ้า​ของ​เรา (ฉบับไทยคิงเจมส์)

ch10 37

          จงสังเกตคำ “ch10 30” ที่ขีดเส้นใต้และคำ “กับ” ที่คล้ายกัน   ถ้อยคำว่า “สันติสุขกับพระเจ้า” ไม่ได้หมายความว่าอยู่ต่อพระพักตร์พระเจ้า  แต่พูดถึงบางสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของเราต่อพระเจ้า  ความคิดหลักของ “ch10 30” คือ “ต่อ” (to) เสมอ   ในกรณีนี้ความสัมพันธ์ของเรา “ต่อ” พระเจ้าเป็นอย่างหนึ่งของสันติสุขและการคืนดี  เรามี “สันติสุขกับพระเจ้า” หรือ “สันติสุขในความสัมพันธ์ต่อพระเจ้า”[93] การแปลทั้งสองแบบถูกต้อง

          ให้เราดูมัทธิว 13:56 ซึ่งจะเป็นแห่งเดียวที่ “ch10 30” เมื่อมองแวบแรกดูเหมือนจะบ่งบอกถึงการอยู่ด้วย  แต่เมื่อตรวจสอบละเอียดขึ้นก็ไม่ใช่

และ​น้องสาวของเขาทุกคน​ก็​อยู่​กับ​เรา​ไม่ใช่​หรือ? แล้วเขา​ได้​สิ่ง​เหล่า​นี้​มา​จาก​ไหนกัน? (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)

ch10 38

          จงสังเกตคำที่ขีดเส้นใต้ “ch10 30” และ “กับ”   เมื่อมองแวบแรกคำว่า “กับเรา” ดูเหมือนจะมีความหมายที่ความเชื่อในตรีเอกานุภาพกำลังมองหา (มันน่าสลดใจที่จะสร้างหลักคำสอนโดยอาศัยข้อนี้  เพราะการปรากฏของ “ch10 30” ในข้ออื่นๆก็ไม่มีข้อไหนที่มีความหมายนี้เลย)  “ch10 30” ตรงนี้ทำหน้าของกรรมการก[94]   คำว่า “กับเรา” อาจดูเหมือนจะบอกถึงการที่ตัวอยู่ด้วยต่อหน้า   แต่ปัญหาก็คือที่จริงแล้วน้องสาวทุกคนของพระเยซูไม่ได้อยู่ที่นั่นด้วย   คนเหล่านั้นก็พูดไม่ได้ว่า “ดูสิ บรรดาน้องสาวของพระเยซูก็อยู่ที่นี่”  แต่ได้แต่พูดว่า “น้องสาวทุกคนของพระองค์ก็อยู่กับเราไม่ใช่หรือ?”   ข้อนี้ไม่ได้ช่วยในการตีความของผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพจากยอห์น 1:1   เพราะในที่นี้ “ch10 30”  หมายถึง “ต่อ” หรือ “ในเรื่องเกี่ยวกับ” นั่นก็คือ “เราไม่ได้รู้ในเรื่องเกี่ยวกับน้องสาวของพระเยซูหรอกหรือ?” โดยไม่ได้หมายความว่าพวกเธออยู่ที่นั่นในขณะนั้น   เราคงนึกภาพออกที่พวกเขากำลังพูดว่า “ตอนนี้น้องสาวทุกคนของพระองค์คงอยู่ที่ไหนสักแห่งในอิสราเอล  เรารู้จักพวกเธอ  เราพูดคุยกับพวกเธอที่ถนน  และเราก็ซื้อผลไม้จากพวกเธอ”  พวกเขารู้ว่าน้องสาวเหล่านั้นเป็นใครแต่นี่ไม่ได้หมายความว่าตัวพวกเธอจะอยู่ที่นั่นด้วย  สิ่งนี้สำคัญกับการตีความยอห์น 1:1 ของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ

          ให้เราดูการใช้ “ch10 30” ในอีกตัวอย่างหนึ่ง  นักตีความจะต้องไม่หาดูความหมายในพจนานุกรมเท่านั้น  เขายังตรวจสอบดูว่าคำเหล่านั้นใช้ในพระคัมภีร์ใหม่อย่างไร  ผมพูดแล้วว่าในการตีความนั้นต้องทำงานหนัก  หากคุณกำลังดูคำบุพบท เช่นคำ “ch10 30” คุณจำเป็นต้องเช็คดูหน้าที่ทางไวยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกัน  ความหมายของคำบุพบทกรีกรวมทั้ง “ch10 30” มักจะมีผลจากการก[95]ของคำที่ตามมาว่ามันเป็นกรรมตรง หรือกรรมรอง หรือบอกความเป็นเจ้าของไหม?  ให้เราดูยอห์น 12:32

“เมื่อ​เรา​ถูก​ยก​ขึ้น​จาก​แผ่น​ดิน​โลก​แล้ว เรา​จะ​ชัก​นำ​ทุก​คน​ให้​มา​หา​เรา[96]

 

ch10 39

          ตรงนี้เรามี “ch10 30” ที่มากับกรรมตรง (ดูที่ขีดเส้นใต้) เหมือนที่มีในยอห์น 1:1 ด้วย  ตรงนี้ไม่ได้แปลว่า “กับเรา” แต่แปลว่า “มาหาเรา”

          เราจะดูตัวอย่างสุดท้ายจากเรื่องของเซาโลบนถนนไปดามัสกัสในกิจการ 26:14 

พวกข้าพระบาททั้งหมดล้ม​ลงบนพื้น และข้าพระบาทได้ยิน​เสียงหนึ่งพูดกับข้าพระบาทเป็นภาษาอารเมคว่า ‘เซาโล เซาโลเอ๋ย เจ้าข่มเหงเราทำไม? เป็นการยากที่เจ้าจะขัดขืนความประสงค์ของเรา’

  ch10 40

          ในข้อนี้เราจะพบ “ch10 30” ในคำ “พูดกับ​ข้า​พระ​บาท” (ดูที่ขีดเส้นใต้)  เมื่อคุณตรวจสอบว่าในพระคัมภีร์ใหม่ใช้  “ch10 30” อย่างไร คุณก็จะรู้ว่ามันเป็นปัญหาในการแปล “ch10 30” ในยอห์น 1:1 ว่า “กับ” ในแง่ของการปรากฏตัวอยู่ต่อหน้า

         ถ้าคุณไม่สามารถจะยืนยันถึงอีกบุคคลหนึ่งในยอห์น 1:1 บนพื้นฐานของ “ch10 30” แล้วคำกล่าวนั้นจะหมายความว่าอย่างไรจริงๆ?  นักไวยากรณ์ท่านหนึ่งที่ให้ “ch10 30” หมายถึง “ต่อ” ได้พยายามพูดว่าพระวาทะกำลัง “อยู่ตรงหน้า” พระเจ้า  แต่คำ “ch10 30” ไม่ได้หมายถึง “อยู่ตรงหน้า”  แต่หมายถึงการเคลื่อนไปทาง หรือ การพูดกับ หรือการออกไปหา ในกรณีนี้ไปหาพระเจ้า

          อิสยาห์ 55:11 กล่าวเกี่ยวกับถ้อยคำของพระเจ้าว่า  “ทำ​นอง​เดียว​กัน  คำ​ของ​เรา​ที่​ออก​จาก​ปาก​ของ​เรา  จะ​ไม่​กลับ​มา​สู่​เรา​เปล่าๆ แต่​จะ​ทำ​ให้​สิ่ง​ที่​เรา​พอใจ​นั้น​สำเร็จ และ​ให้​สิ่ง​ที่​เรา​ใช้​ไป​ทำ​นั้น​เสร็จสิ้น” (ฉบับมาตรฐาน 2011)

          พระคำของพระเจ้าออกจากพระโอษฐ์ของพระองค์และสำเร็จผลตามพระประสงค์ก่อนที่จะกลับมา  ความสัมพันธ์ของพระคำของพระเจ้ากับพระเจ้าในแง่ที่เป็นวงจรคือมันออกไปแล้วกลับมา  ประเด็นก็คือว่าพระคำเกี่ยวข้องกับพระเจ้าในลักษณะที่มีพลังขับเคลื่อนและปฏิบัติการ  พูดง่ายๆก็คือคำ“ch10 30” จริงๆแล้วเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์กับพระเจ้า   อาจเป็นได้ว่าวิธีที่ถูกต้องที่สุดในการตีความคำกล่าวของยอห์นก็คือ  “แรกเริ่มเดิมทีพระคำดำรงอยู่  และพระคำเกี่ยวข้องอย่างมีพลังกับพระเจ้า”  หรือพูดง่ายๆก็คือ “พระคำเกี่ยวข้องกับพระเจ้า”  พระคำของพระยาห์เวห์ถูกส่งออกจากพระองค์และกลับมาหาพระองค์หลังจากที่สำเร็จตามพระประสงค์ซึ่งต่างจากคำของมนุษย์  นั่นคือลักษณะพิเศษของพระคำของพระยาห์เวห์  คำของมนุษย์นั้นต่างกัน  เมื่อมีการจัดพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งขึ้น  มันจะออกไปแต่อาจไม่กลับมา  คุณอาจพิมพ์เป็นหมื่นๆเล่มเพื่อแจกจ่ายไปทั่วโลกแต่หนังสือส่วนมากจะไม่กลับมา  แต่พระคำของพระยาห์เวห์ออกไปและกลับมา

การช่วยสงเคราะห์แบบ “คู เดอ กราส”

        สุดท้ายนี้ผมจะให้ “คู เดอ กราส” (coup de grâce)[97] กับการตีความยอห์น 1:1 ของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ   คำพูด “คู เดอ กราส” ในภาษาฝรั่งเศสหมายถึงช่วยให้ตายทันที  คุณคงเห็นได้จากคำว่า “grâce” มันเป็นความกรุณาที่ช่วยให้ตายทันทีโดยไม่ต้องทุกข์ทรมาน  มีคนกำลังชักดิ้นชักงออย่างเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน คุณก็เลยช่วยสงเคราะห์ด้วย “คู เดอ กราส”  ทำให้เขาพ้นจากความเจ็บปวดทรมาน

          ในการต่อสู้กับการตีความยอห์น 1:1 ของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ  ผมจะใช้สิ่งที่เรียกว่า “ข้อพิสูจน์ที่กลายเป็นเรื่องเหลวไหล” จากคำลาตินว่า reductio ad absurdum    วิธีการนี้บางครั้งจะใช้ในข้อโต้แย้งทางกฎหมาย  คำ “reductio”  เกี่ยวโยงกับคำภาษาอังกฤษว่า “การลดทอนลง”[98]  คำว่า “ad” หมายถึง “ไปสู่”  และ “absurdum” หมายถึง “เหลวไหล น่าหัวเราะ”  วิธีการนี้ทำอย่างไร?  คุณก็จะพูดกับฝ่ายตรงข้ามของคุณว่า  “ให้เราเอาข้อโต้แย้งอย่างที่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น และทำตามหลักเหตุผลของคุณไปจนถึงข้อสรุปสุดท้ายตามหลักเหตุผลนั้น”  แล้วคุณจึงแสดงให้พวกเขาเห็นว่าข้อสรุปตามหลักเหตุผลของเขานั้นเป็นเรื่องเหลวไหล  หรือไม่ใช่ข้อสรุปอย่างที่เขาอยากให้เป็น  นั่นเป็นการลดทอนหลักเหตุผลของเขาให้เห็นว่าเป็นเรื่องที่เหลวไหล

     การตามเหตุผลของความเชื่อในตรีเอกานุภาพและหลักฐานที่ว่า พระวาทะ[99]คืออีกพระองค์หนึ่งที่เป็นพระเจ้านั้น ผมก็สามารถแสดงให้เห็นข้อพิสูจน์ที่เป็นเรื่องเหลวไหลได้ว่าไม่ได้มีแค่อีกบุคคลหนึ่งที่รวมอยู่ในพระเจ้าแต่มีได้ถึงสี่หรือห้า

     ความเชื่อในตรีเอกานุภาพมีกลวิธีสองอย่าง  อย่างแรกก็คือ  จะต้องถ่ายทอดความคิดว่า “ch10 41” ในยอห์น 1:1 เป็นบุคคล   อย่างที่สองคือบุคคลผู้นี้เป็นคนละคนกับพระเจ้าซึ่งก็คือพระยาห์เวห์  แต่เดี๋ยวก่อน!   พระเจ้าเป็นใคร?  คุณเพิ่งจะสับเปลี่ยนความหมายของพระเจ้านี่!

         มีพระเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้นคือพระยาห์เวห์  ถ้าคำกล่าวของยอห์นอ่านเป็นว่า “ในปฐมกาลพระวาทะดำรงอยู่ และพระวาทะเกี่ยวข้องกับพระยาห์เวห์  และพระวาทะคือพระยาห์เวห์”  เราก็คงเข้าใจตรงกับสิ่งที่ยอห์นหมายถึงและไม่ได้ให้ความหมายที่คลุมเครือกับพระยาห์เวห์ ท่อนสุดท้าย “พระวาทะคือพระยาห์เวห์” ที่ยังคงความถูกต้องเมื่ออ่านด้วยความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียว  แต่การอ่านแบบนี้เป็นเรื่องถึงเป็นถึงตายกับความเชื่อในตรีเอกานุภาพ  ดังนั้นคุณจะทำให้พระวาทะ (หรือพระคำ) กลายมาเป็นพระองค์ที่สองในตรีเอกานุภาพได้อย่างไรในเมื่อไม่มีการกล่าวถึงบุคคลใดๆเลย?  ยิ่งกว่านั้นก็ไม่มีที่ไหนเลยที่พระเยซูถูกเปรียบเทียบกับพระคำ  และพระคัมภีร์ตอนนี้ก็ไม่ได้พูดว่า “พระวาทะของพระเจ้า” แต่พูดแค่ว่า “พระวาทะ” แต่เพื่อประโยชน์ของข้อโต้แย้งก็ให้เราบอกว่าพระวาทะของพระเจ้าก็คือพระเจ้า แล้วดูว่าเกิดอะไรขึ้น

          สดุดี 85:10 กล่าวว่า  “ความ​รัก​มั่น​คง​และ​ความ​ซื่อ​สัตย์​จะ​พบ​กัน  ความ​ชอบ​ธรรม​และ​สันติ​ภาพ​จะ​จูบ​กัน”[100] (ฉบับมาตรฐาน 2011)  นี่จะเป็นบทกวีหรือไม่ก็ไม่ใช่ประเด็นในการโต้แย้งกันตอนนี้  ความชอบธรรมกับสันติสุขจะมาจูบกันได้อย่างไร?  มีมนุษย์เท่านั้นที่จะจูบกัน  แต่ตรงนี้เราสามารถใส่ความคิดให้เป็นบุคคลได้ถูกต้องตามหลักการอ่านตรงตามคำเขียน    การโต้แย้งตรงนี้ไม่ได้เกี่ยวกับพระเจ้า (ไม่เหมือนในยอห์น 1:1)  ดังนั้นเราจึงไม่ถูกจำกัดด้วยข้อเสนอแนะของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ   ตรงนี้เรากำลังพูดถึงสองบุคคลที่น่าอัศจรรย์คือความชอบธรรมกับสันติสุขที่จูบกันและกัน  คุณรับสิ่งนี้ว่าเป็นการเขียนแบบบทกวีหรือแบบตามคำเขียน?   ตอนนี้ผมกำลังอ่านแบบตามคำเขียนแม้ว่าการจูบเป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ในบทกวีด้วย

          ถ้าคุณบอกว่าพระวาทะเป็นบุคคล   ผมจะโต้แย้งด้วยข้อพิสูจน์ที่กลายเป็นเรื่องเหลวไหล[101]ตามหลักฐานและหลักเหตุผลของคุณ   ถ้าเราใช้ “กับ” ให้หมายความว่าพระวาทะเป็นบุคคลที่หมายถึงพระองค์ที่สองในตรีเอกานุภาพ  ฉะนั้นความชอบธรรมและสันติสุขก็จะต้องเป็นบุคคลด้วยเช่นกัน  เพราะทั้งสองจูบกันและกัน  ฮาเลลูยา!   ดังนั้นจึงหมายความว่าในการรวมเป็นพระเจ้านั้นเราก็จะมี  พระวาทะ  พระความชอบธรรม  และพระสันติสุข  ซึ่งเปรียบได้กับพระคำของพระเจ้า  ความชอบธรรมของพระเจ้า  และสันติสุขของพระเจ้า  เราได้มาอีกสามพระองค์ซึ่งถึงอย่างไรความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์น่าจะยอมรับได้  ตอนนี้เราจึงมีพระเจ้าพระบิดา  พระเจ้าพระบุตร  ตลอดจนพระเจ้าความชอบธรรม พระเจ้าสันติสุข และก็คงมีพระเจ้าความสัตย์ซื่อ และพระเจ้าความรักมั่นคงได้อีก    ถ้ามีเวลามากกว่านี้ เราจะสามารถทำให้สิ่งเหล่านี้มาเป็นหลายพระองค์ที่รวมอยู่ในพระเจ้าได้  ผมทำให้เป็นอย่างนั้นได้ง่ายๆโดยทำตามหลักเหตุผลของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ  และพิสูจน์ให้คุณเห็นว่ามีอีกอย่างน้อยสี่พระองค์    พระองค์หนึ่งคือ “พระเจ้าความรักมั่นคง”[102] และอีกพระองค์หนึ่งคือ “พระเจ้าความสัตย์ซื่อ”  “พระเจ้าความรักมั่นคง” เปรียบได้กับ “ch10 42” (eleos เมตตา) ในขณะที่ “พระเจ้าความสัตย์ซื่อ” เปรียบได้กับ “ch10 43” (alētheia ความจริง)

     ผมสามารถจะพิสูจน์ตามหลักเหตุผลนี้ให้เห็นอีกสี่พระองค์ที่รวมอยู่ในพระเจ้าที่นอกเหนือจากพระวาทะ  เราจะทำให้ดูจาก “ความชอบธรรม”  ไม่มีตัวอย่างของ “ch10 41” ที่อ้างอิงถึงบุคคลแต่มีหลายตัวอย่างของ “ความชอบธรรม” ที่ดูเหมือนจะอ้างถึงบุคคล  สดุดี 85:10-13 กล่าวว่า

10ความรักมั่นคงและความซื่อสัตย์จะพบกัน   ความชอบธรรมและสันติภาพจะจูบกัน  11ความซื่อสัตย์จะงอกขึ้นมาจากแผ่นดิน  และความชอบธรรมจะมองลงมาจากฟ้าสวรรค์  12เออ พระยาห์เวห์จะประทานสิ่งที่ดีๆ  และแผ่นดินของข้าพระองค์ทั้งหลายจะเกิดผล  13 ความชอบธรรมจะนำหน้าพระองค์  และทำทางเดินให้ย่างพระบาทของพระองค์ (ฉบับมาตรฐาน 2011)

          คำว่า “พบกัน” บอกถึงพฤติกรรมของมนุษย์  ให้น้ำหนักกับข้อโต้แย้งว่าถ้อยคำเหล่านี้เอ่ยถึงหลายบุคคล  เพราะฉะนั้นความเมตตาและความจริงจึงพบกันเช่นเดียวกับบุคคล   เมื่อเราดู “ความชอบธรรม” ในข้อ 11 และ 13  จะเห็นว่าความชอบธรรมน่าจะเป็นบุคคลมากยิ่งกว่า “ch10 41” ในพระคัมภีร์ใหม่เสียอีก

  “ความซื่อสัตย์จะงอกขึ้นมาจากแผ่นดิน และความชอบธรรมจะมองลงมาจากฟ้าสวรรค์” 

ความชอบธรรมตรงนี้น่าจะต้องเป็นบุคคล  เพราะถ้าไม่ใช่บุคคลก็จะไม่สามารถมองลงมาจากฟ้าสวรรค์ได้  “ความ​ชอบ​ธรรม​จะ​นำ​หน้า​พระ​องค์  และ​ทำ​ทาง​เดิน​ให้​ย่าง​พระ​บาท​ของ​พระ​องค์”  ความ​ชอบ​ธรรมในพระคัมภีร์ตอนนี้ทำสิ่งยอดเยี่ยมมากมาย   แต่ไม่เคยมีอะไรที่พูดอย่างนี้กับ “ch10 41”   ถ้อยคำเหล่านี้อ้างถึงบุคคลเพราะสิ่งเหล่านี้สามารถทำสิ่งที่บุคคลเท่านั้นสามารถทำได้    แต่ตรงกันข้าม ผมหา “ch10 41” ไม่พบเลยสักตัวอย่างในพระคัมภีร์เดิมหรือพระคัมภีร์ใหม่ที่หมายความเช่นนี้  ดังนั้นการใช้เหตุผลของความเชื่อในตรีเอกานุภาพนี้  ผมจึงขอวางหลักฐานพยานของผมไว้ตรงหน้าคุณและท้าทายให้ใครก็ได้มาหักล้างคำกล่าวของผมด้วยหลักเหตุผลของความเชื่อในตรีเอกานุภาพว่าความชอบธรรมเป็นบุคคล หรือความชอบธรรมของพระเจ้าเป็นพระองค์หนึ่งที่รวมอยู่ในพระเจ้า  นี่คือสิ่งที่เรียกว่า “ข้อพิสูจน์ที่กลายเป็นเรื่องเหลวไหล”   กรณีที่ความชอบธรรมของพระเจ้าเป็นพระองค์หนึ่งที่รวมอยู่ในพระเจ้านั้นหนักแน่นยิ่งกว่ากรณีพระวาทะของพระเจ้าที่เป็นพระองค์หนึ่งที่รวมอยู่ในพระเจ้า  กรณีแรกสามารถพิสูจน์ได้แต่กรณีหลังไม่สามารถพิสูจน์ได้   ถ้าหลักฐานพยานของผมถูกนำเสนอในศาล มันก็จะชนะโดยไม่ต้องออกแรง

          มีข้ออ้างอิงอื่นมากมายเกี่ยวกับความชอบธรรมแต่เราจะดูข้ออ้างอิงเดียวเท่านั้น  ข้ออ้างอิงคราวนี้มาจากพระคัมภีร์ใหม่ว่า  “เพราะ​ว่า​ใน​ข่าว​ประ​เสริฐ​นั้น ความ​ชอบ​ธรรม​ซึ่ง​เกิด​มา​จาก​พระ​เจ้า​ก็​ได้​สำ​แดง​ออก​โดย​ความ​เชื่อ และ​เพื่อ​ความ​เชื่อ ตาม​ที่​พระ​คัม​ภีร์​มี​เขียน​ไว้​ว่า  ‘คน​ชอบ​ธรรม​จะ​มี​ชีวิต​ดำ​รง​อยู่​โดย​ความ​เชื่อ’” (โรม 1:17)

     ความชอบธรรมของพระเจ้าได้ “สำแดง” หรือ “เปิดเผย” คำนี้ถูกใช้บ่อยๆกับพระเจ้าเพราะพระเจ้าทรงสำแดงพระองค์เอง  คำนี้จะใช้กับคนโดยทั่วไปแต่จะใช้กับพระเจ้าโดยเฉพาะ  สิ่งที่ถูกสำแดงก็คือความชอบธรรมของพระเจ้าดังในฟีลิปปี 2 ซึ่งเป็นพระคัมภีร์ตอนที่พระเยซูผู้ทรงเป็นรูปเหมือนของพระเจ้าทรงสำแดงให้เห็นพระเจ้า เราสามารถโต้แย้งว่ารูปเหมือนของพระเจ้าเป็นบุคคลๆหนึ่งซึ่งเป็นจริงในกรณีนี้ แม้ว่าพระองค์จะไม่ได้เป็นพระองค์หนึ่งที่รวมอยู่ในพระเจ้าของตรีเอกานุภาพ  เพราะไม่เช่นนั้นเราก็จะมีพระเจ้าเพิ่มมากขึ้นในพระเจ้ารวมของตรีเอกานุภาพ  และที่มีอยู่ก็มากเกินไปอยู่แล้ว

         มีข้ออ้างอิงอื่นๆที่สะดุดตายิ่งกว่า  แต่ให้เราจดจ่อกับคำ “สำแดง”   ใน 2 เธสะโลนิกา 2:3-8  เราจะเห็นการสำแดงที่ไม่ใช่สิ่งใดสิ่งหนึ่งแต่เป็นบุคคลหนึ่งซึ่งก็คือปฏิปักษ์พระคริสต์   จงสังเกตถ้อยคำที่ขีดเส้นใต้สามแห่ง

3อย่าให้ใครล่อลวงท่านโดยทางหนึ่งทางใดเลย  เพราะว่าวันนั้นจะไม่มาถึงจนกว่าจะมีการกบฏเสียก่อน  และคนนอกกฎหมายนั้นจะปรากฏตัว คือลูกแห่งความพินาศ  4ผู้กีดกั้นขัดขวางและยกตัวขึ้นต่อสู้ทุกสิ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นพระ หรือสิ่งที่เขาไหว้นมัสการนั้น  แล้วมันก็จะนั่งในพระวิหารของพระเจ้า  ประกาศตัวว่าเป็นพระเจ้า  5พวกท่านจำไม่ได้หรือว่าเมื่อยังอยู่กับ​ท่าน  ข้าพเจ้าได้บอกเรื่องนี้แล้ว? 6และท่านก็รู้จักสิ่งนั้นที่กำลังยับยั้งมันไว้ในขณะนี้ เพื่อมันจะปรากฏออกมาได้ต่อเมื่อถึงเวลาของมัน  7เพราะว่าอำ​นาจลึกลับนอกกฎหมายนั้นก็เริ่มทำงานอยู่แล้ว  แต่ผู้ที่คอยยับยั้งมันเดี๋ยวนี้นั้นจะยังอยู่จนถูกปลดออกไปให้พ้น  8ขณะนั้นคนนอกกฎหมายก็จะปรากฏตัวขึ้น  และพระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าจะทรงประหารมันด้วยลมพระโอษฐ์ของพระองค์ และจะทรงผลาญให้สูญไปด้วยการเสด็จมาอันรุ่งโรจน์ของพระองค์ (2 เธสะโลนิกา 2:3-8  ฉบับมาตรฐาน 2011)[103]

         ในถ้อยคำที่ขีดเส้นใต้  เราจะเห็นว่าคนนอกกฎหมายจะปรากฏตัว (ข้อ 3) เมื่อถึงเวลา (ข้อ 6)   และมันจะถูกพระ​เยซู​องค์​​ผู้​เป็น​เจ้า​​​ประ​หาร​ (ข้อ 8)   คำ “ปรากฏตัว” ตรงนี้เป็นคำเดียวกับ “สำแดงออก” ในโรม 1:17   ผมสามารถพิสูจน์ให้ดูจากหลักในการตีความที่หนักแน่นกว่าว่าสามารถจะกล่าวอ้างความชอบธรรมของพระเจ้าให้เป็นบุคคลๆหนึ่งได้มากกว่าจะกล่าวอ้างพระวาทะในยอห์น 1:1 ว่าเป็นบุคคลๆหนึ่งเสียอีก  นี่คือวิธีการหักล้างข้อพิสูจน์ที่กลายเป็นเรื่องเหลวไหล

          คุณสามารถทำเช่นเดียวกันกับ “สันติสุข” และพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นบุคคลๆหนึ่งโดยเฉพาะเมื่อคำกริยาหลายคำอธิบายสิ่งที่สันติสุขทำ  ตัวอย่างเช่น สันติสุขสามารถคุ้มครองจิตใจของคุณได้  “แล้ว​สันติ​สุข​ของ​พระ​เจ้า​ที่​เกิน​ความ​เข้า​ใจ จะ​คุ้ม​ครอง​จิต​ใจ​และ​ความ​คิด​ของ​ท่าน​ทั้ง​หลาย​ไว้​ใน​พระ​เยซู​คริสต์” (ฟีลิปปี 4:7)  การคุ้มครองป้องกันเป็นสิ่งที่ทหารทำ  คำกรีกว่า “คุ้มครอง” ตรงนี้ยังใช้ใน 2 โครินธ์ 11:32 ที่ทหารกำลังทำหน้าที่ “เฝ้าไว้”[104]

          โคโลสี 3:15  กล่าวว่าสันติสุขครองใจของเรา “​จง​ให้​สันติ​สุข​ของ​พระ​คริสต์​ครองใจ​ท่าน  เพราะพระ​เจ้า​ทรง​เรียก​ท่าน​​มาเป็นอวัยวะของ​กาย​เดียว​กัน  ​เพื่อท่านจะได้รับ​สันติ​สุข​นี้ และ​จง​มี​ใจ​ขอบ​พระ​คุณ” (ฉบับอมตร่วมสมัย)  คำว่า “ครอง” มักจะใช้กับกษัตริย์หรือผู้ครองเมือง  ดังนั้นสันติสุขของพระเจ้าจึงกำลังทำสิ่งที่มีอานุภาพเมื่อมันคุ้มครองหรือครองใจของคุณ

         ผมสามารถทำให้เห็นว่าแนวคิดอื่นๆที่นอกเหนือจากสันติสุขหรือความชอบธรรมนั้นเกี่ยวข้องกับกริยาที่แสดงถึงแนวคิดเหล่านั้นในแง่ของบุคคลต่างๆหรือกิจกรรมของมนุษย์ วิธีนี้คุณยังสามารถยกฤทธานุภาพของพระเจ้าให้เป็นพระเจ้าได้เพราะว่ามันใช้กับคำกริยาที่เกี่ยวข้องกับบุคคลต่างๆหรือกิจกรรมของมนุษย์

         ผมสามารถโค่นมุมมองของความเชื่อในตรีเอกานุภาพในยอห์น 1:1 ลงและทำให้ทั้งหมดเป็นเรื่องเหลวไหลได้ด้วยความพยายามเพียงเล็กน้อย ดังนั้นผลสุดท้ายแล้วการใช้หลักเหตุผลของความเชื่อในตรีเอกานุภาพจะทำให้เรามีหก เจ็ด หรือ แปดพระองค์รวมอยู่ในพระเจ้า  ทั้งหมดนี้ใช้หลักของการตีความที่หนักแน่นที่แนะนำโดยหลักเหตุผลของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ แต่การตีความนั้นจะล้มเหลวหากเราไม่ทำตามหลักเหตุผลของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ  สิ่งที่ตรงข้ามกันก็คือจะไม่มีเรื่องเหลวไหลหรือปัญหาเช่นนั้นกับความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวอย่างแท้จริง

     หากคุณคิดในแง่หลักเหตุผลของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ  คุณก็จะพบจุดจบ  ความเชื่อในตรีเอกานุภาพจะเจอกับความตายอย่างเฉียบพลันด้วยการช่วยสงเคราะห์ให้ตายทันที[105]   พระคำของพระเจ้าเป็นดาบที่น่ากลัวที่จะเฉือนความเชื่อผิดๆออกเป็นชิ้นๆ  นี่ผมยังไม่ได้ชักดาบแห่งพระวิญญาณคือดาบแห่งพระคำของพระเจ้าออกมาต่อต้านความเชื่อในตรีเอกานุภาพเลย  ผมไม่มีความตั้งใจใดๆที่จะดูหมิ่นพวกเขา  ผมแค่ต้องการแสดงให้คุณเห็นสิ่งที่ดาบนี้สามารถทำได้  มันทำลายล้างอย่างแท้จริง  ไม่มีใครจะสามารถยืนต้านมันได้เพราะมันจะเฉือนข้อพิสูจน์ทุกข้อให้เป็นชิ้นๆและถูกฝังกลบอยู่ตรงนั้นเลย  ผมหวังว่าคุณจะเห็นอานุภาพของการตีความในเรื่องนี้มากกว่าแค่การสาธิตแบบง่ายๆ  และหวังว่าคุณจะเข้าใจความเป็นห่วงของผมที่จะมีบางคนสืบทอดงานนี้ต่อและฝึกใช้ดาบนี้  ที่จะใช้มันตามจุดประสงค์ที่มีไว้ให้ จนเมื่อไม่มีศัตรูของความจริงจะสามารถยืนต้านมันได้


[1] หรือ “ศาสตร์เกี่ยวกับพระเจ้า” หรือ “การศึกษาเกี่ยวกับพระเจ้า” (Theology) -ผู้แปล

[2] Theology proper  หรือ “ศาสตร์เกี่ยวกับพระบิดา” (Paterology) -ผู้แปล

[3] Christo­logy หรือ “การศึกษาเกี่ยวกับองค์พระคริสต์” (ผู้แปล)

[4] Theology improper

[5] Elohim หมายถึง “พระเจ้า” เป็นคำฮีบรูคำเดียวกับ “พระ หรือ เจ้า หรือผู้ครอง หรือเทพ หรือทูตสวรรค์ เป็นต้น” เช่นใน ผู้วินิจฉัย 8:33 “คนอิสราเอลก็หันกลับไปเล่นชู้กับพระบาอัลทั้งหลาย ถือว่าบาอัลเบรีทเป็นพระของเขาทั้งหลาย” (ผู้แปล)

[6] Theos แปลว่า “พระเจ้า” เป็นคำกรีกคำเดียวกันกับ “พระ หรือ เจ้า”  เช่น 2 โครินธ์ 4:4 “พระของยุคนี้ได้ทำให้ความคิดของคนที่ไม่เชื่อมืดมนไป” หรือใน 1 โครินธ์ 8:5 “ถึงแม้จะมีสิ่งต่างๆในสวรรค์และในแผ่นดินโลก ที่เขาเรียกว่าพระ ก็เป็นเหมือนมีพระมากและเจ้ามาก” (ผู้แปล)

[7] Exegesis

[8] หรือ ตีความเกินจากที่มีในตัวบท

[9] หรือตีความเกินจากที่มีโดยเอาความคิดหรือคำสอนของคุณเองใส่เข้าไปในตัวบทนั้น

[10] ปัจจุบันมีโปรแกรมไบเบิ้ลเวิร์คถึงชุดที่ 9  (ผู้แปล)

[11] อ่านว่า yēhéhuá (耶和華)

[12] Jehovah (พระคัมภีร์ภาษาไทยฉบับ 1971 ใช้ “เยโฮวาห์” ฉบับมาตรฐาน 2011 ใช้ “ยาห์เวห์”) - ผู้แปล

[13] อ่านว่า Yàwěi (จาก 亞洲的亞, 偉大的偉)

[14] อ่านว่า Yǎwēi

[15] อ่านว่า yǎ

[16] อ่านว่า wényǎ หมายถึง “สง่า” (ผู้แปล)

[17] อ่านว่า wēi

[18] อ่านว่า guǐ

[19] ไม่อ่านว่า “หย่าเหว่ย” เพราะถ้าคำสองคำที่มีเสียงเดียวกันมาอยู่คู่กัน คำแรกต้องเป็นเสียงจัตวาคือ “หยา” จึงเป็น “หยาเหว่ย” (ผู้แปล)

[20] Yēhéhuá Yǎwěi (เยโฮวาห์ ยาห์เวห์)

[21] ฉบับมาตรฐาน 2011 แปลทุกคำที่ปรากฏพระนาม “พระยาห์เวห์” ตรงตามต้นฉบับเดิมภาษาฮีบรูซึ่งไม่ปรากฏในฉบับภาษากรีก หรือ ฉบับภาษาอังกฤษ (ยกเว้นหนึ่งหรือสองฉบับ) ที่แปลจากภาษากรีก (ผู้แปล)

[22] แปลตามพระคัมภีร์เดิมภาษาฮีบรู  พระคัมภีร์ภาษาอังกฤษจะแปลตามพระคัมภีร์เดิมฉบับเซปทัวจินต์ว่า “Thus says the Lord” พระคัมภีร์ภาษาไทยฉบับอมตธรรมร่วมสมัยแปลว่า “องค์ผู้เป็นเจ้าตรัสว่า”   หรือฉบับมาตรฐาน 2011 แปลว่า “พระยาห์เวห์ตรัสตรัสดังนี้ว่า” หรือฉบับ 1971 แปลว่า “พระเจ้าตรัสดังนี้ว่า”   หรือฉบับไทยคิงเจมส์แปลว่า “พระเยโฮวาห์ตรัสดังนี้ว่า” (ผู้แปล)

[23] 1 ซามูเอล 16:7 แต่​พระ​ยาห์​เวห์​ตรัส​กับ​ซา​มู​เอล​ว่า “อย่า​มอง​ดู​ที่​รูป​ร่าง​ภาย​นอก​หรือ​ที่​ความ​สูง​แห่ง​ร่าง​กาย​ของ​เขา เพราะ​เรา​ไม่​ยอม​รับ​เขา เพราะ​พระ​ยาห์​เวห์​ไม่​ได้​ทอด​พระ​เนตร​เหมือน​ที่​มนุษย์​ดู เพราะ​มนุษย์​ดู​ที่​รูป​ร่าง​ภาย​นอก แต่​พระ​ยาห์​เวห์​ทอด​พระ​เนตร​จิต​ใจ” (ฉบับมาตรฐาน 2011)-ผู้แปล

[24] 1 ซามูเอล 16:12 เจสซี​ก็​ใช้​คน​ไป​นำ​เขา​มา เขา​เป็น​คน​ผิว​แดงๆ มี​หน้า​ตา​ดี​และ​รูป​ร่าง​งาม และ​พระ​ยาห์​เวห์​ตรัส​ว่า “จง​ลุก​ขึ้น​เจิม​เขา​ไว้เพราะ​เป็น​คน​นี้” (ฉบับมาตรฐาน 2011)-ผู้แปล

[25] 1 ซามูเอล 15:26-28  26 และ​ซา​มู​เอล​ทูล​ซาอูล​ว่า “ข้าพ​เจ้า​จะ​ไม่​กลับ​ไป​กับ​ท่าน เพราะ​ท่าน​ทอด​ทิ้ง​พระ​วจนะ​ของ​พระ​ยาห์​เวห์ และ​พระ​ยาห์​เวห์​ทรง​ถอด​ท่าน​จาก​เป็น​กษัตริย์​เหนือ​อิส​รา​เอล” 27 พอ​ซา​มู​เอล​หัน​จะ​ไป ซาอูล​ก็​ยึด​ชาย​เสื้อ​ของ​ท่าน​ไว้​และ​เสื้อ​นั้น​ก็​ขาด 28 และ​ซา​มู​เอล​ทูล​ท่าน​ว่า “ใน​วัน​นี้​พระ​ยาห์​เวห์​ได้​ทรง​ฉีก​ราช​อา​ณา​จักร​อิส​รา​เอล​เสีย​จาก​ท่าน​แล้ว และ​ทรง​มอบ​ให้​แก่​ผู้​อื่น​ที่​ดี​กว่า​ท่าน 29 ยิ่ง​กว่า​นั้น​องค์​พระ​สิริ​แห่ง​อิส​รา​เอล​จะ​ไม่​ทรง​มุสา​หรือ​เปลี่ยน​พระทัย เพราะ​ว่า​พระ​องค์​ไม่​ได้​ทรง​เป็น​มนุษย์​ที่​เปลี่ยน​ใจ” (ฉบับมาตรฐาน 2011) -ผู้แปล

[26] ยอห์น 14:24 “คน​ที่​ไม่​รัก​เรา​ก็​ไม่​ประ​พฤติ​ตาม​คำ​ของ​เรา และ​คำ​ที่​พวก​ท่าน​ได้​ยิน​นี้​ไม่​ใช่​คำ​ของ​เรา แต่​เป็น​ของ​พระ​บิดา​ผู้​ทรง​ใช้​เรา​มา” (ฉบับมาตรฐาน 2011) ผู้แปล

[27] ฉบับมาตรฐาน 2011 แปลว่า “เราจะสร้างขึ้นภายในสามวัน”  (ผู้แปล)

[28] เป็นคำเดียวกันกับ “ยกขึ้น” ในข้อ 19  (ภาษาอังกฤษและภาษากรีกใช้คำเดียวกันคือ “raise” หรือ “28”) –ผู้แปล

[29] 17 For this reason the Father loves me, because I lay down my life in order to take it up again. 18 No one takes it from me, but I lay it down of my own accord. I have power to lay it down, and I have power to take it up again. I have received this command from my Father. (NRSV)

[30] หรือ “in order to take it up again”

[31] หรือ “I have power to take it up again”

[32] หรือ “I have received this command from my Father”

[33] labō

[34] labein

[35] Infinitive (กริยารูปปกติ)

[36] elabon  (ฉบับภาษาอังกฤษแปลว่า “to take up” เป็นกาลกริยา aorist) -ผู้แปล

[37] Aorist (กาลกริยาในไวยากรณ์) -ผู้แปล

[38] อ่านว่า “ลัมบาโน”

[39] “receive it again”

[40] ฉบับอมตธรรมร่วมสมัยแปลว่า “เรา​มี​สิทธิ​ที่​จะ​สละ​ชีวิต​และ​มี​สิทธิ​ที่​จะ​รับ​ชีวิตคืนมา​อีก  เราได้รับคำบัญชานี้จากพระบิดาของเรา” (ผู้แปล)

[41] Exousian (คำกรีกแปลว่า “เสรีภาพที่จะเลือก สิทธิที่จะทำ หรือ ตัดสินใจ”) พระคัมภีร์ฉบับภาษาอังกฤษจะใช้คำ “power” (ผู้แปล)

[42] “right”

[43] ฉบับภาษาอังกฤษส่วนใหญ่แปลว่า “สิทธิอำนาจ” หรือ “อำนาจ” (ผู้แปล)

[44] “auth­ority”

[45] “take it up again”

[46] “receiving a command” มากกว่าจะเป็น  “taking a command” (ผู้แปล)

[47] ฉบับ 1971 “ถ้าทำลายวิหารนี้เสีย เราจะยกขึ้นในสามวัน” ต้นฉบับภาษาอังกฤษคือ “I will raise it again in three days” (ผู้แปล)

[48] ฉบับ 1971 ต้นฉบับภาษาอังกฤษคือ “he was raised from the dead” (ผู้แปล)

[49] ​ฉบับมาตรฐาน 2011 แปลว่า “พระเจ้า” (“เมื่อ​พระ​เจ้า​ทรง​ให้​พระ​องค์​เป็น​ขึ้น​มา​แล้ว”) -ผู้แปล

[50] New American Standard Bible

[51] ในพระคัมภีร์ภาษาไทยจะไม่เห็นความแตกต่างเพราะใช้คำเหมือนกันว่า “พระองค์” (ผู้แปล)

[52] ในพระคัมภีร์ภาษาไทยจะไม่เห็นความแตกต่างเพราะใช้คำเหมือนกันว่า “พระองค์” (ผู้แปล)

[53] Becoming a New Person

[54] ฉบับมาตรฐาน 2011 แต่ฉบับ 1971 แปลว่า “พระ​เยซู​ตรัส​กับ​เขา​ว่า ‘เรา​บอก​ความ​จริง​แก่​ท่าน​ว่า เรา​ดำรง​อยู่​ก่อน​อับราฮัม​เกิด’” (ผู้แปล)

[55] อพยพ 3:14 พระ​เจ้า​จึง​ตรัส​กับ​โมเสส​ว่า “เรา​เป็น​ผู้​ซึ่ง​เรา​เป็น” แล้ว​พระ​องค์​ตรัส​ว่า “ไป​บอก​ชน​ชาติ​อิส​รา​เอล​ดัง​นี้​ว่า ‘พระ​องค์​ผู้​ทรง​พระ​นาม​ว่า เรา​เป็น​ทรง​ใช้​ข้าพ​เจ้า​มา​หา​ท่าน​ทั้ง​หลาย’” (ฉบับมาตรฐาน 2011) -ผู้แปล

[56] “the second person, the first person”  ในความหมายของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ (ผู้แปล)

[57] ผู้แปลเพิ่มเติม

[58] ผู้แปลเพิ่มเติม

[59] ฉบับมาตรฐาน 2011 แปลว่า “ผู้​ทรง​สภาพ​เป็น​พระ​เจ้า”  ฉบับไทยคิงเจมส์ แปลว่า “พระองค์ผู้ทรงอยู่ในสภาพของพระเจ้า”

ฉบับอมตธรรมร่วมสมัยแปลว่า “ผู้ทรงสภาพ*พระเจ้า” (หรือ *เป็นเหมือน*พระเจ้า) -ผู้แปล

[60] พระคัมภีร์ฉบับภาษาไทยแปลว่า “ทรงสภาพ” (ฉบับ 1971 และฉบับอมตธรรมร่วมสมัย) หรือ “ทรงอยู่ในสภาพของพระเจ้า” (ฉบับไทยคิงเจมส์) หรือ “ทรงสภาพเป็นพระเจ้า” (ฉบับมาตรฐาน 2011) -ผู้แปล

[61]  morphē

[62] หรือ “ในสภาพ”

[63] หรือ “รับสภาพ”

[64] “เมททะมอร์โฟซิส”

[65] “เมททะ”

[66] “มอร์โฟซิส”

[67] harpagmos

[68] Complete Jewish Bible

[69] ฉบับมาตรฐาน 2011 แปลว่า “ไม่​ทรง​ถือ​ว่า​ความ​ทัด​เทียม​กับ​พระ​เจ้า​เป็น​สิ่ง​ที่​จะ​ต้อง​ยึด​ไว้”

[70] “emptied himself” พระคัมภีร์ไทยฉบับ 1971 ฉบับมาตรฐาน 2011 และฉบับอมตธรรมร่วมสมัย แปลคล้ายกันว่า “แต่ทรงสละพระองค์เองและมารับสภาพทาส” ส่วนฉบับไทยคิงเจมส์แปลฟีลิปปี 2:7 ว่า  “แต่ได้ทรงกระทำพระองค์เองให้ไม่มีชื่อเสียงใดๆ และทรงรับสภาพอย่างผู้รับใช้” (ผู้แปล)

[71] ฉบับอมตธรรมร่วมสมัยแปลได้อีกว่า “เป็นเหมือนพระเจ้า” ในคำอธิบายเชิงอรรถ (ผู้แปล)

[72] ฉบับมาตรฐาน 2011 แปลว่า “เป็นสิ่งที่จะต้องยึดไว้” และฉบับ 1971 แปลว่า “เป็นสิ่งที่จะต้องยึดถือ” (ผู้แปล)

[73] ฉบับ ESV และ NIV แปลเหมือนกันว่า “made himself nothing” ซึ่งแปลว่า “ทำให้พระองค์เป็นผู้ไม่สำคัญ” (ผู้แปล)

[74] ฉบับอมตธรรมร่วมสมัยแปลได้อีกว่า “เป็นเหมือนทาส”  ในคำอธิบายเชิงอรรถ (ผู้แปล)

[75] 6 who, although He existed in the form of God, did not regard equality with God a thing to be grasped, 7 but emptied Himself, taking the form of a bond-servant, and being made in the likeness of men. 8 And being found in appearance as a man, He humbled Himself by becoming obedient to the point of death, even death on a cross. (Philippians 2:6-8, NASB)

[76] “form”

[77] “likeness”

[78] “appearance”

[79] พระฉายาของพระเจ้า

[80] ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย, ฉบับมาตรฐาน 2011 แปลฟีลิปปี 2:5 ว่า “จง​มี​จิต​ใจเช่น​นี้​ใน​พวก​ท่าน​เหมือน​อย่าง​ที่​มี​ใน​พระ​เยซู​คริสต์”(ผู้แปล)

[81] The United Bible Societies (USB)

[82] “a second person” ในความหมายของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ (ผู้แปล)

[83] หรือ  “เพราะคุณจะสามารถพิสูจน์ว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าได้ก็ต้องพิสูจน์ว่าพระองค์คือพระยาห์เวห์”

[84] “three persons”

[85] ฟิีลิปปี 2:10 “เพื่อเพราะพระนามนั้น ทุกเข่าในสวรรค์ที่แผ่นดินโลก ใต้พื้นแผ่นดินโลก จะคุกลงกราบพระเยซู” (ฉบับ 1971) -ผู้แปล

[86] วิวรณ์ 13:15 “ทรง​ยอม​ให้​มัน​มี​อำนาจ​ที่​จะ​ให้​ลม​หายใจ​แก่​รูป​สัตว์​นั้น เพื่อให้​รูป​สัตว์​ร้าย​นั้น​พูด​ได้ และ​ให้​มี​อำนาจ​ที่​จะ​กระทำ​ให้​บรรดา​คน​ที่​ไม่​ยอม​บูชา​รูป​สัตว์​ร้าย​นั้น ถึง​แก่​ความ​ตาย​ได้​” (ฉบับ 1971) -ผู้แปล

[87] ดาเนียล 3:6 “ผู้​ใด​ไม่​กราบ​นมัส​การ​ก็​ให้​โยน​ผู้​นั้น​เข้า​ไป​ใน​เตา​ที่​ไฟ​ลุก​อยู่​ทัน​ที” (ฉบับมาตรฐาน 2011) -ผู้แปล

[88] หรือแปลว่า “พระวจนะของพระเจ้า”, “พระวาทะของพระเจ้า”, “พระดำรัสของพระเจ้า” หรือ “คำตรัสของพระเจ้า” (ผู้แปล)

[89] pros

[90] para

[91] Paraklētos (พาราเคลทอส)

[92] ฉบับไทยคิงเจมส์  (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัยแปลว่า “องค์ที่ปรีกษา” ฉบับ 1971 และฉบับมาตรฐาน 2011 แปลว่า “องค์ผู้ช่วย”) -ผู้แปล

[93] “peace in relation to God”

[94] ทำหน้าที่เป็นกรรม (accusative) – ผู้แปล

[95] หน้าที่ของคำ (case of the word)

[96] ฉบับมาตรฐาน 2011 ต้นฉบับภาษาอังกฤษจาก NIV คือ "But I, when I am lifted up from the earth, will draw all men to myself” (ผู้แปล)

[97] หรือ “การุณฆาต” (ผู้แปล)

[98] Reduction (หรือแปลว่า “การทำให้เจือจางลง”)

[99] หรือ “พระคำ” (the Word) -ผู้แปล

[100] ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย แปลว่า “ความ​รัก​​และ​ความ​ซื่อ​สัตย์​มา​พบ​กัน ความ​ชอบ​ธรรม​และ​สันติ​ภาพ​มา จุมพิต​กัน” (ผู้แปล)

[101] reductio ad absurdum

[102] “steadfast love” (ในภาษาฮีบรูเป็นคำๆเดียว)

[103] 2 Thessalonians 2:3-8 3 Don’t let anyone deceive you in any way, for that day will not come until the rebellion occurs and the man of lawlessness is revealed, the man doomed to destruct­ion. 4 He will oppose and will exalt himself over every­thing that is called God or is worshiped, so that he sets himself up in God’s temple, proclaiming himself to be God. 5 Don’t you remember that when I was with you I used to tell you these things? 6 And now you know what is holding him back, so that he may be revealed at the proper time. 7 For the secret power of lawless­ ness is already at work; but the one who now holds it back will continue to do so till he is taken out of the way. 8 And then the lawless one will be revealed, whom the Lord Jesus will overthrow with the breath of his mouth and destroy by the splendor of his coming. (NIV)

[104] 2 โครินธ์ 11:32  “ผู้​ว่าราช​การ​เมือง​ของ​กษัตริย์​อา​เร​ทัส​ใน​นครดา​มัส​กัส ให้​ทหาร​เฝ้า​นคร​ดา​มัส​กัส​ไว้  ​เพื่อ​จะ​จับตัว​ข้าพ​เจ้า” (ฉบับ 1971)

[105] ด้วย coup de grâce