บทที่ 2
พระเจ้าสถิตอยู่กับเรา
คำนำ
ผมร้อนใจที่จะให้คำสอนรุดหน้าเพราะเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะให้ความจริงในเรื่องนี้ถูกสอนออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้และความเชื่อที่ผิดๆจะได้สิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะนำเสนอความจริงที่ให้ภาพทั้งหมดออกมาชัดเจนและเข้าใจง่าย
ผมกำลังให้คุณเห็นทัศนียภาพทั้งหมด ทัศนียภาพคือภาพมุมกว้างที่ผู้ดูสามารถกวาดสายตาไปได้ทั่วโดยไม่ต้องมาจดจ้องอยู่ตรงจุดเดียวแล้วก็ไปต่ออีกจุดหนึ่งด้วยความข้องใจว่าจุดเหล่านั้นเชื่อมโยงกันอย่างไร ถ้าผมเริ่มข้อพิจารณาของผมวันนี้ด้วยการวิเคราะห์แบบเป็นข้อๆ แบบข้อนี้ทีข้อโน้นทีก็จะทำให้คุณสับสนเพราะคุณจะไม่รู้ว่าข้อเหล่านั้นเชื่อมโยงกันอย่างไร แต่โดยพระคุณของพระเจ้า ผมจะนำเสนอภาพในวงกว้างให้เราได้พิจารณา ภายหลังเมื่อเรามองส่วนนี้และส่วนโน้นของภาพเราก็จะรู้ว่าส่วนต่างๆเหล่านั้นเข้ากันพอดีได้อย่างไร
ครั้งนี้ผมจะให้รายละเอียดส่วนสำคัญบางอย่างที่ผมเกริ่นไว้คราวก่อน ในมุมมองแบบกว้างนั้น คราวก่อนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับศาสนศาสตร์และเกี่ยวกับพระคัมภีร์บางประการที่ผมไม่ได้ขยายความไว้เพราะผมแค่วาดให้เห็นภาพแบบกว้างๆ แต่คราวนี้ผมจะดูประเด็นเหล่านี้ในบางส่วนและหลักสำคัญในประเด็นเหล่านั้น
พระยาห์เวห์เป็นศูนย์กลาง
จุดสำคัญข้อแรกก็คือพระยาห์เวห์ทรงเป็นศูนย์กลางที่แท้จริงในพระคัมภีร์เดิม บทก่อนผมชี้ให้เห็นแล้วว่าคำ “พระเจ้า” มีปรากฏ 2,500 ครั้งซึ่งน้อยกว่าคำ “ยาห์เวห์” ที่มีปรากฏราว 7,000 ครั้งอยู่มาก พระยาห์เวห์ทรงเป็นศูนย์กลางของพระคัมภีร์เดิมที่ไม่อาจปฏิเสธได้
น่าเสียดายที่ไม่มีคำยาห์เวห์ในภาษาจีน คำที่ใกล้เคียงที่สุดก็คือ “เยเหอหัว”[1] ซึ่งก็คือเยโฮวาห์ “เยโฮวาห์” เป็นคำผสมที่ไม่พบในต้นฉบับเดิมภาษาฮีบรูและที่จริงแล้วไม่มีคำนี้จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 16 เมื่อมีคนประสมคำขึ้นโดยผสมพยัญชนะจาก “ยาห์เวห์” กับสระจาก “อาโดนาย”[2]
ในพระคัมภีร์ภาษาจีนมีคำ “เยโฮวาห์” ถึงแม้จะไม่พบคำนี้ในพระคัมภีร์ภาษาอังกฤษ พระคัมภีร์ภาษาอังกฤษแปลคำ “ยาห์เวห์” ว่า “LORD” (ลอร์ด) เป็นตัวพิมพ์ใหญ่โดยได้รับอิทธิพลจากการที่พระคัมภีร์ภาษากรีกฉบับเซปทัวจินต์แปลคำ “ยาห์เวห์” เป็น “คูริออส”[3] (Lord หรือ องค์ผู้เป็นเจ้า) เซปทัวจินต์[4]คือพระคัมภีร์เดิมฉบับแปลเป็นภาษากรีกฉบับสำคัญสุดที่ทราบกันว่าแปลโดยคนเจ็ดสิบคน คำว่า “เซปทัวจินต์” มีความหมายว่าเจ็ดสิบ ดังนั้นเซปทัวจินต์หรือที่เรียกกันว่า LXX[5] จึงเป็นการแปลของคนเจ็ดสิบคน (แต่บรรดานักวิชาการไม่แน่ใจว่าจำนวนผู้แปลจะมีเจ็ดสิบคนพอดี) ฉบับเซปทัวจินต์แทนที่จะคงชื่อ “ยาห์เวห์” ไว้แต่กลับแปลให้เหมือนว่าชื่อนี้คือ “อาโดนาย” (Lord หรือ องค์ผู้เป็นเจ้า) ดังนั้นเองทั้ง “ยาห์เวห์” และ “อาโดนาย” จึงถูกแปลเป็น “ลอร์ด” (Lord) สิ่งนี้สร้างความสับสนอย่างมากมานานกว่าหลายศตวรรษที่แม้กระทั่งคำเฉพาะเจาะจงว่า “Adonai Yahweh (Lord Yahweh)”[6] ก็ถูกแปลเป็น “องค์ผู้เป็นเจ้า องค์ผู้เป็นเจ้า” (Lord LORD ที่มีคำ “ลอร์ด” ซ้อนกัน)[7]
พระยาห์เวห์เป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริงของพระคัมภีร์เดิม แต่ในภาษาจีนไม่มีคำที่ถูกต้องให้กับชื่อเฉพาะของพระเจ้า หลังจากที่พิจารณาอย่างรอบคอบแล้วดูเหมือนว่าการแปลทับศัพท์ที่ดีที่สุดและถูกต้องที่สุดของยาห์เวห์ควรจะเป็น “ย่าเหว่ย”[8] ซึ่งพอจะใกล้เคียงกับ “ยาห์เวห์” และก็ดีกว่าคำดั้งเดิมว่า “เยเหอหัว”[9] ความเป็นไปได้อย่างอื่นที่จะลดคำ “เยเหอหัว” มาเป็น “เยเหอ” โดยเอา “หัว” ออกไปนั้นก็ไม่เหมาะสมเพราะ “หัว” เป็นคำที่เกี่ยวข้องอย่างมากกับประเทศจีนและมีความหมายกับคนจีน แต่การเลือก “ย่าเหว่ย” (“ย่า” หมายถึง “เอเชีย” และ “เหว่ย” หมายถึง “ยิ่งใหญ่”) มากกว่าจะเลือก “เยเหอหัว (“หัว” หมายถึงเกี่ยวกับประเทศจีน)” นั้นเราจะได้ภาพที่กว้างไกลกว่าคือจากประเทศจีนไปไกลจนทั่วเอเชียจึงนำมาสู่การเปลี่ยนจาก “หัว” (จีน) มาเป็น “ย่า” (เอเชีย) (ข้อมูลปัจจุบัน: การแปลที่ดีกว่าสำหรับยาห์เวห์ตอนนี้คือ “หยาเหว่ย”[10])
พระยาห์เวห์เป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริงของพระคัมภีร์เดิม ในพระคัมภีร์เดิมนั้นไม่มีใครอื่นเป็นพระเจ้านอกจากพระยาห์เวห์ ข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ก็คือว่าคุณจะไม่พบพระเจ้าพระองค์ที่สอง[11] และยิ่งจะไม่พบพระเจ้าพระองค์ที่สาม[12]ในพระคัมภีร์เดิมเลย นักวิชาการพระคัมภีร์เดิมทุกคนรู้ดีว่าคุณจะไม่พบพระเจ้าสามพระองค์ในพระคัมภีร์เดิม พระเจ้าในพระคัมภีร์เดิมมีเพียงองค์เดียวเท่านั้น ผมพูดอย่างนี้โดยไม่กลัวการโต้แย้งจากใครๆแม้แต่จากบรรดานักวิชาการฮีบรูชั้นแนวหน้า (ผมเคยศึกษากับนักวิชาการฮีบรูบางท่านที่มีชื่อเสียงมาก อาจารย์ที่ดูแลผมคือศาสตราจารย์แอ็คครอยด์[13] ท่านเป็นนักวิชาการชั้นแนวหน้าคนหนึ่งในสหราชอาณาจักรอังกฤษ) ไม่ว่าคุณจะมีมุมมองศาสนศาสตร์ในแบบไหนผมก็กล้าพูดด้วยความมั่นใจที่สุดว่าไม่มีพระองค์ที่สองหรือพระองค์ที่สามที่รวมอยู่ในพระเจ้า มีแต่พระยาห์เวห์เดียวและพระองค์เพียงผู้เดียวเท่านั้นในพระคัมภีร์ฮีบรู
ตอนนี้คุณเริ่มจะเห็นถึงปัญหาที่ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพเจอเมื่อเขาค้นในพระคัมภีร์เดิมจากพระคัมภีร์ฉบับของความเชื่อตรีเอกานุภาพที่ไม่มีคำนี้อยู่เลยและจะไม่พบแม้แต่ข้อเดียว ชื่อพระยาห์เวห์ปรากฏเกือบ 7,000 ครั้งในพระคัมภีร์เดิมโดยไม่รวมกับพระอื่นๆ
ความตรงข้ามกันกับการสถิตอยู่ใกล้ของพระเจ้า
จุดสำคัญข้อที่สองที่ผมพูดถึงคราวก่อนแต่ไม่ได้ขยายความก็คือเรื่องเกี่ยวกับการสถิตอยู่ไกลของพระเจ้า ศาสนศาสตร์ของประเทศตะวันตกเชื่อว่าพระเจ้าสถิตอยู่ไกล ความคิดเช่นนี้เป็นแนวคิดแบบกรีกซึ่งเห็นได้ง่ายมากกับผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพยุคแรกๆซึ่งเป็นชาวกรีกเสียส่วนใหญ่แต่มีชาวยิวอยู่น้อยอย่างน่าตกใจ เมื่อมาถึงช่วงสภาสังคายนาไนเซีย[14]ก็แทบไม่มีคนยิวหลงเหลืออยู่ในคริสตจักร ผมไม่เคยรับรู้ว่ามีผู้นำชาวยิวหลงเหลืออยู่บ้างในคริสตจักรในช่วงการประชุมแห่งไนเซียราวศตวรรษที่สามและสี่ เนื่องด้วยพัฒนาการที่อันตรายเช่นนี้ความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวจึงถูกขจัดทิ้งไป และความเชื่อว่ามีพระเจ้าหลายองค์ที่อำพรางตัวอยู่ก็เข้ามาและครอบงำคริสตจักร
ในความคิดแบบกรีกเกี่ยวกับการสถิตอยู่ไกลนั้นเชื่อว่าพระเจ้าทรงอยู่ห่างไกลจากโลกมากและถูกยกให้สูงอยู่ในสวรรค์ ความคิดเช่นนี้แทนที่จะเป็นการถวายเกียรติพระเจ้าแต่กลับให้ภาพว่าพระเจ้าไม่ทรงห่วงใยและไม่ยุ่งเกี่ยวกับโลกใบนี้
จากการเข้าไปดูหลายเรื่องราวในพระคัมภีร์เดิมคราวก่อนผมได้ชี้ให้เห็นว่าความคิดเกี่ยวกับพระเจ้านั้นผิดเพี้ยนไปเลย ความจริงแล้วพระเจ้าทรงดำเนินอยู่บนโลกนี้จริงๆจนอาดัมได้ยินเสียงฝีเท้าของพระองค์ พระยาห์เวห์เดินอยู่ ไม่ใช่ผีหรือกายที่ไม่มีตัวตนซึ่งไม่มีเสียง เราไม่รู้ลักษณะรูปร่างของพระองค์จริงๆว่าเป็นอย่างไรแต่ก็อยู่ในรูปที่มีตัวตนที่คุณสามารถสัมผัสพระองค์ได้ มองเห็นพระองค์ได้และได้ยินพระองค์ เมื่อพระองค์เดินคุณสามารถได้ยินเสียงฝีเท้าของพระองค์
แนวคิดที่พระเจ้าสถิตอยู่ใกล้นั้นความคิดแบบกรีกไม่สามารถจะเข้าใจได้ ตามความคิดแบบกรีกแล้วพระเจ้าทรงอยู่ไกลโพ้นในสวรรค์และไม่ค่อยจะสนใจโลกนี้ เหตุผลก็คือว่าตามความคิดแบบกรีกถือว่าโลกแห่งวัตถุเป็นสภาพที่ต่ำสุดของสิ่งที่ดำรงอยู่และเป็นที่ที่ความบาปและความชั่วอาศัยอยู่
ตั้งแต่ศตวรรษที่สองราว 100 ปีหลังจากช่วงสมัยของพระคริสต์มีคนหนึ่งที่ชื่อมาร์กิโอน[15]ประกาศว่าพระเจ้าผู้ทรงสร้างโลกแห่งวัตถุนี้จะเป็นพระเจ้าที่แสนดีไปไม่ได้เพราะโลกแห่งวัตถุนี้ชั่วร้าย และไม่มีพระเจ้าที่แสนดีองค์ไหนจะทรงสร้างโลกที่เป็นวัตถุขึ้นมา ด้วยเหตุผลที่คล้ายคลึงกันนี้เองร่างกายของมนุษย์จึงถูกถือว่าชั่วช้าเพราะเป็นกายวัตถุและเป็นที่ที่ความบาปและความชั่วอาศัยอยู่ ฉะนั้นจุดประสงค์ของความรอดก็คือการหลุดพ้นออกจากโลกแห่งวัตถุนี้
แนวคิดแบบนี้อาจฟังดูแปลกๆกับคุณ แต่มันเป็นแนวคิดที่ครอบงำความคิดของชาวกรีกในเวลานั้น แนวคิดแบบนี้เฟื่องฟูไปพร้อมๆกับการแพร่หลักคำสอนแบบนอสติก[16] ซึ่งเป็นประเด็นที่แพร่หลายในทุกวันนี้จากอิทธิพลของหนังสือรหัสลับดาวินชี[17] ตอนนี้หลักคำสอนแบบนอสติกกำลังหวนกลับมาแพร่หลายอีกครั้ง ร้านหนังสือในประเทศแคนาดาต่างก็มีหนังสือเกี่ยวกับคำสอนแบบนอสติกอยู่ในสต๊อกของร้าน
หลักคำสอนเกี่ยวกับความเชื่อแบบนอสติกคืออะไร? พูดให้ง่ายก็คือการรอดโดยทางความรู้ จากคำกรีก “” (นอสซิส)[18] ซึ่งหมายถึง “ความรู้” ในความเชื่อแบบนอสติกนั้นคุณจะได้ยินว่า “นอสซิส” คือความรู้ที่เป็นเคล็ดลับของการหลุดพ้นจากโลกแห่งวัตถุ และขึ้นไปสูงขึ้นและสูงขึ้นถึงชั้นของสรวงสวรรค์จนคุณหลุดจากการยึดชีวิตนี้ไว้และเข้าไปในชีวิตฝ่ายวิญญาณและชีวิตที่ไม่มีตัวตน มันสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อแบบกรีกว่าวัตถุทางกายมีสิ่งชั่วร้ายอยู่ข้างใน
แนวคิดนี้มีผลตามมาหลายอย่างมีอิทธิพลมาก หนึ่งในนั้นคือมุมมองที่แพร่หลายในคริสตจักร (และยังคงแพร่หลายในวงกว้างของคริสตจักรทุกวันนี้)ว่าความสัมพันธ์ต่างๆในทางเพศนั้นไม่ดี (พูดอย่างเบาสุด) และยิ่งกว่านั้นแล้วยังบาปอีก (พูดอย่างแรงสุด) เรื่องเพศถูกเข้าใจว่าเป็นรูปแบบของการถูกจองจำอยู่กับโลกของวัตถุ นั่นคือความคิดที่อยู่เบื้องหลังมุมมองที่บรรดาบาทหลวงคาทอลิกไม่ควรจะแต่งงาน
ความเชื่อเรื่องการอุทิศตัวให้กับศาสนา[19]ก็เป็นผลอีกอย่างของมุมมองแบบกรีกต่อโลกของวัตถุ ที่พระนักบวชมีแรงบันดาลใจหันจากโลกของวัตถุที่มีความเสื่อมทรามเป็นที่ตั้ง และจะเข้าถึงความบริสุทธิ์ของชีวิตฝ่ายวิญญาณในที่กันดารที่ห่างไกลจากความเจริญให้มากที่สุด เพื่อจะชำระตัวเองให้บริสุทธิ์จากร่างกายเนื้อหนังของพวกเขา มีการถือศีลอดและการเฆี่ยนตีตัวเอง พระนักบวชจะอดอาหารและทุบตีตัวเองจนเลือดไหลเหมือนว่านี่เป็นการปลดปล่อยตัวเองจากร่างกายนี้
มาร์กิโอนถึงกับพูดว่า พระยาห์เวห์พระเจ้าของพระคัมภีร์เดิมนั้นเป็นพระเจ้าที่ชั่วร้าย เพราะฉะนั้นจึงเป็นพระเจ้าของพระคัมภีร์ใหม่ไม่ได้ นี่ชี้ให้เห็นว่าการแยกพระเจ้าของพระคัมภีร์เดิมกับพระเจ้าของพระคัมภีร์ใหม่ในคริสตจักรของคนต่างชาตินั้นจะต้องมาถึงขั้นที่คืบหน้าจนทำให้คำสอนแบบนี้เกิดขึ้นและแผ่ขยายไปทั่วคริสตจักร ใครที่คุ้นกับประวัติศาสตร์ของคริสตจักรจะรู้ว่ามาร์กิโอนเป็นคนมีชื่อเสียง เขาเป็นคนที่เสนอแนะหลักคำสอนการรอดโดยความรู้ให้คริสเตียน หลักคำสอนการรอดโดยความรู้นี้มีพูดเป็นนัยแล้วในพระคัมภีร์ใหม่ที่บรรดาคริสเตียนในยุคแรกได้ต่อสู้ในเรื่องนี้ 1 ยอห์น 4:2-3 กล่าวว่า “พวกท่านก็จะรู้จักพระวิญญาณของพระเจ้าโดยข้อนี้ คือวิญญาณทุกดวงที่ยอมรับว่าพระเยซูคริสต์ได้เสด็จมาเป็นมนุษย์ วิญญาณนั้นก็มาจากพระเจ้า และวิญญาณทุกดวงที่ไม่ยอมรับพระเยซู วิญญาณนั้นก็ไม่ได้มาจากพระเจ้า วิญญาณนั้นแหละเป็นศัตรูของพระคริสต์ ซึ่งพวกท่านได้ยินว่าจะมา และขณะนี้ก็อยู่ในโลกแล้ว” (ฉบับมาตรฐาน 2011)
ตามความเชื่อของมาร์กิโอนและความเชื่อที่รอดโดยความรู้ของคริสเตียนแล้ว พระเยซูไม่น่าจะเสด็จมาในเนื้อหนัง เพราะว่าพระเจ้าจะไม่ยอมให้ตัวพระองค์เองเปรอะเปื้อนโดยการเข้ามาอยู่ในเนื้อหนัง พระเยซูไม่ได้เสด็จมาในเนื้อหนัง พระองค์แค่มีรูปลักษณะของมนุษย์ พระเยซูมองดูเหมือนมนุษย์ทุกอย่าง และพูดคุยเหมือนกับมนุษย์คนหนึ่ง แต่พระองค์ไม่ได้มีร่างกายเหมือนพวกเราจริงๆ นี่คือหลักคำสอนแบบโดซีติก[20]ที่รู้จักกันดี (คำกรีกหมายถึง “มองดูเหมือน”) แต่ถ้าหากพระเยซูไม่ได้เป็นมนุษย์อย่างแท้จริง พระองค์ก็คงถูกตรึงบนกางเขนไม่ได้ และถ้าหากพระองค์ไม่ได้ถูกตรึงบนกางเขน พระองค์ก็คงไม่ได้สิ้นพระชนม์จริง
หลักคำสอนเหล่านี้อาจฟังดูแปลกๆกับคุณ แต่เมื่อกลับไปเปิดหนังสือประวัติศาสตร์ของคริสตจักรหรือศาสนศาสตร์อิงประวัติศาสตร์เล่มไหนๆ คุณก็จะเห็นถึงอิทธิพลอย่างมากของคำสอนแบบนี้ ความคิดที่พระเจ้าสถิตอยู่ไกลสืบเนื่องมาจากความเชื่อเบื้องต้นว่าเนื้อหนังนั้นไม่ดี ร่างกายนั้นไม่ดี เรื่องเพศนั้นไม่ดี และทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวัตถุนั้นไม่ดี คำสอนเช่นนั้นแตกต่างจากมุมมองของคนฮีบรูอย่างสิ้นเชิงที่ทุกสิ่งที่พระเจ้าทรงสร้างเป็นสิ่งที่ดี เมื่อพระเจ้าทรงสร้างทุกอย่างเสร็จ พระองค์ทรงเห็นว่าการสร้างของพระองค์ “ดียิ่งนัก” และไม่ใช่แค่ “ดี” ตรงนี้เราเห็นความแตกต่างสำคัญระหว่างความคิดของคนฮีบรูกับความคิดของคนกรีกซึ่งเป็นคนต่างชาติ
ร่างกายเป็นสิ่งดี เพศนั้นพระเจ้าเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้น ทุกสิ่งดีเพราะว่าพระเจ้าทรงสร้างมันดี มนุษย์อาจทำให้สิ่งที่พระเจ้าสร้างเสื่อมทรามลง แต่ไม่ได้หมายความว่ามันไม่ดีมาตั้งแต่ต้น
ความคิดแบบปรัชญากรีกมีฐานจากความเข้าใจว่าพระเจ้าทรงอยู่ไกล และบรรดาบรรพบุรุษของคริสตจักรในยุคแรกๆ (บรรดาผู้นำคริสตจักรที่ไม่ใช่ชาวยิว) ถูกหล่อหลอมด้วยความคิดแบบนี้
พระธรรมปฐมกาลสนับสนุนความคิดเรื่องการสถิตอยู่ไกลไหม? เราเห็นคราวก่อนว่าอาดัมและเอวายังได้ยินเสียงฝีเท้าของพระเจ้า ยิ่งกว่านั้นก่อนหน้านั้นพระเจ้าก็ได้ทรงปั้นมนุษย์อย่างสวยงามจากดินด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง พระองค์ทรงปลูกสวนอีกด้วย แล้วพระองค์ก็ยังทรงทำหน้าที่ของปุโรหิตในการฆ่าสัตว์และเอาหนังของมันมาทำเป็นเสื้อให้กับอาดัมและเอวาสวมใส่หลังจากที่พวกเขาทำบาป
พระคัมภีร์ปฏิเสธความคิดแบบกรีกเรื่องพระเจ้าทรงสถิตอยู่ไกล แต่นี่เป็นข้อสนับสนุนสำคัญของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ เพราะพระเจ้าถูกกล่าวว่าทรงสถิตอยู่ไกลโพ้น เราจึงจำเป็นต้องมีผู้ปรองดองที่ยืนอยู่ตรงกลาง ผู้ที่ส่วนหนึ่งเป็นพระเจ้าและส่วนหนึ่งเป็นมนุษย์ เมื่อถึงตอนที่ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพยึดครองพระคัมภีร์ใหม่นั้นพวกเขาก็ทำให้เนื้อความเสียหายไปหมด ถึงแม้จะมีความจริงที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าพระยาห์เวห์ทรงเป็นศูนย์กลางของพระคัมภีร์เดิมแต่นั่นก็ยังไม่สามารถจะยับยั้งการทำให้พระยาห์เวห์หายไปจากพระคัมภีร์ใหม่ตามการแปลความของผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพได้
ที่มาร์กิโอนสามารถพูดว่าพระเจ้าของพระคัมภีร์เดิมไม่ใช่พระเจ้าของพระคัมภีร์ใหม่นั้นแสดงให้เห็นว่าภายในเวลา 100 ปีหลังสมัยของพระคริสต์ คริสตจักรได้ถูกครอบคลุมด้วยปรัชญากรีกมากแค่ไหน ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพช่วงสมัยการประชุมแห่งไนเซียไม่ได้ไปไกลขนาดนั้นและพวกเขาก็ปฏิเสธถูกต้องแล้วว่ามาร์กิโอนเป็นคนนอกศาสนา พวกเขาแสวงหาทางสายกลางระหว่างความคิดแบบกรีกกับความคิดแบบฮีบรู แต่ที่น่าเศร้าก็คือสุดท้ายพวกเขาก็เลือกทางที่กำหนดโดยคนกลุ่มแรกไม่ใช่โดยคนกลุ่มหลัง
การคิดแบบนี้เป็นเหตุให้ไม่มี “พระยาห์เวห์” อยู่ในพระคัมภีร์ใหม่ ถ้าคุณดูพระคัมภีร์ใหม่คุณจะไม่เห็นข้ออ้างอิงถึงพระยาห์เวห์เพราะว่าฉบับเซปทัวจินต์ได้เอาชื่อของพระยาห์เวห์ออกไปจากพระคัมภีร์เดิมโดยใช้คำกลางๆแทนว่า “องค์ผู้เป็นเจ้า” (Lord) คราวก่อนที่ผมถามคุณว่าคุณอธิษฐานกับใคร เมื่อคุณตอบว่า “องค์ผู้เป็นเจ้า” บางคนตอบว่า “พระบิดา” และบางคนตอบว่า “พระบุตร” นั้นแสดงให้เห็นถึงความสับสนอย่างมาก และเมื่อความเชื่อในตรีเอกานุภาพยึดครองพระคัมภีร์ใหม่จึงเป็นความสับสนโดยสมบูรณ์ เมื่อคุณพูดคำว่า “พระเจ้า” ก็ไม่มีใครรู้ว่าคุณกำลังหมายถึงใคร
สรุปข้อแรกคือพระยาห์เวห์ทรงเป็นศูนย์กลางของพระคัมภีร์เดิม ข้อสองคือความคิดแบบกรีกเรื่องที่พระเจ้าสถิตอยู่ไกลนั้นขัดกับคำสอนของพระคัมภีร์ พระยาห์เวห์สถิตอยู่ไกลจริง (แต่ไม่ใช่ในความหมายแบบกรีก) นอกจากนั้นพระคัมภีร์ก็เน้นการสถิตอยู่ด้วยของพระองค์มากกว่าการอยู่ไกลของพระองค์ พระองค์เสด็จลงมาในโลก และยิ่งกว่านั้นทรงใส่พระทัยแม้กระทั่งเส้นผมที่ร่วงจากศีรษะของคุณ
การกันพระเจ้าออกไป
การที่ “พระยาห์เวห์” หายไปจากพระคัมภีร์ใหม่นั้นจึงทำให้พระเยซูเป็นจุดศูนย์กลางของพระคัมภีร์ใหม่ ความเชื่อในตรีเอกานุภาพถือว่าพระคัมภีร์ใหม่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่พระคริสต์[21]
ผมมองย้อนกลับไปด้วยความกลัวที่ผม (และคนอื่นๆ) ได้ทำให้พระยาห์เวห์พระเจ้าเดียวและเพียงผู้เดียวองค์นี้หมดความสำคัญลง ผมสงสัยว่าพระเจ้าจะทรงอภัยความผิดมหันต์ให้เราไหมที่บิดเบือนความจริงที่สำคัญดังกล่าวเกี่ยวกับพระองค์ พระเจ้าไม่ได้เป็นศูนย์กลางอีกต่อไปแต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เราทุกข์ร้อน ความสำคัญทั้งสิ้นอยู่ที่พระเยซู เราให้ความสนใจกับการตั้งพระเยซูให้เป็นพระเจ้า และถ้าพระเยซูเป็นพระเจ้าเราก็ไม่ต้องการพระบิดา คุณจะต้องการพระบิดาไปทำไมในเมื่อคุณมีพระเจ้าในพระบุตรอยู่แล้ว? คริสเตียนบางคนยังพูดถึงพระบุตรว่าเป็นพระบิดาจึงทำให้พระบุตรก็คือพระบิดาและพระบิดาก็คือพระบุตร
มันสำคัญไหมว่าเราจะต้องเชื่อในตรีเอกานุภาพ? จงไตร่ตรองจากมุมมองของพระยาห์เวห์แล้วลองทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นดู เรากำลังให้เกียรติพระเยซูเป็นจุดศูนย์กลางของการนมัสการแทนที่จะเป็นพระยาห์เวห์ พระเยซูเป็น “ผู้ที่สำคัญที่สุด” แม้ในการมาเป็นคริสเตียนของเรา เราให้ความนับถือพระยาห์เวห์เพียงน้อยนิด แต่ให้พระเยซูเป็นศูนย์กลางที่แท้จริงในการนมัสการของเรา
ผมแปลกใจที่บางคนยังใส่ใจกับการยึดความเป็นพระเจ้าของพระเยซูอย่างมาก พวกเขาจะถามผมว่า “คุณหมายความว่าพระเยซูไม่ได้เป็นพระเจ้าอย่างงั้นหรือ?” เราใส่ใจกับการให้เกียรติพระเยซูมากกว่าและใส่ใจที่จะให้เกียรติพระยาห์เวห์ไม่ถึงครึ่งของพระเยซูอย่างงั้นหรือ? ทำไมจึงไม่มีใครสนใจพระยาห์เวห์อีกต่อไป? เราได้ทำอะไรกับองค์พระผู้เป็นเจ้าพระเจ้าของเราหรือ? เราอยากจะพูดถึงแต่พระเยซูและร้องเพลงถวายพระองค์เท่านั้น
ผมรู้สึกผิดอย่างมากในเรื่องนี้ ในฐานะที่เป็นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพคนหนึ่งในบรรดาผู้เชื่อตรีเอกานุภาพทั้งหลายผมยังได้แต่งเพลงว่า “ข้าพระองค์ถวายทั้งหมดแด่พระเยซู” ทุกสิ่งเกี่ยวกับพระเยซู วันก่อนผมปรึกษากับเฮเลนว่าจะทำยังไงกับเพลงนี้ ขอพระเจ้าทรงอภัยให้ผมด้วย ผมไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี เพลงที่ยกย่องบูชานี้ชี้ไปที่พระเยซู ไม่ได้ชี้ไปที่พระยาห์เวห์พระเจ้าผู้สร้างฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลก ในความคิดของเรานั้นพระเยซูทรงทำทุกสิ่ง พระองค์ทรงสร้างฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลก และพระองค์ได้ทรงทำให้ความรอดของเราสัมฤทธิ์ผล เช่นนั้นแล้วเราจะต้องการพระบิดาไปเพื่ออะไร?
เป็นไรไหมที่เราจะยังเชื่อในตรีเอกานุภาพต่อไป? จะเป็นไรไหมในวันที่เรายืนอยู่ต่อพระพักตร์พระเจ้าผู้พิพากษาแห่งสวรรค์และโลก และยืนอยู่ต่อพระพักตร์พระเยซูคริสต์ผู้ที่พระเจ้าได้ทรงมอบหมายการพิพากษาไว้? เราคิดว่าเรากำลังทำให้พระเยซูพอพระทัย แต่ผมนึกได้ด้วยความตกใจว่าเรากำลังทำสิ่งที่ตรงข้ามอย่างมากกับที่พระเยซูได้ทรงสอนไว้ คราวก่อนผมอ้างอิงมาระโก 12:29[22] ที่พระเยซูตรัสอ้างอิงจากเฉลยธรรมบัญญัติ 6:4 ว่า “โอ คนอิสราเอล จงฟังเถิด พระยาห์เวห์ พระยาห์เวห์เท่านั้นทรงเป็นพระเจ้าของเรา”[23] (ฉบับมาตรฐาน 2011) มีพระยาห์เวห์เดียวและเพียงผู้เดียว
พระเยซูตรัสในข้อต่อมาว่า “พวกท่านจงรักองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นพระเจ้าด้วยสุดใจของท่าน ด้วยสุดจิตของท่าน ด้วยสุดความคิดของท่านและด้วยสุดกำลังของท่าน” (มาระโก 12:30 ที่พระเยซูตรัสอ้างอิงจากเฉลยธรรมบัญญัติ 6:5 ข้อต่อมาว่า “ท่านจงรักพระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านด้วยสุดจิตสุดใจและสุดกำลังของท่าน”)[24]
พระเยซูทรงสอนเราให้รักพระยาห์เวห์ด้วยสิ้นสุดใจของเรา สิ้นสุดจิตของเรา สิ้นสุดความคิดของเรา สิ้นสุดกำลังของเรา ในวันที่เรายืนอยู่ต่อพระพักตร์พระเยซู เราจะพูดกับพระองค์อย่างนี้ไหมว่า “พระเยซูเจ้า ข้าพระองค์ได้พยายามทำให้พระองค์พอพระทัย” “แล้วทำไมเจ้าจึงไม่ฟังคำสอนของเรา? ทำไมเจ้าจึงเรียกเราว่าองค์ผู้เป็นเจ้า องค์ผู้เป็นเจ้า แต่ไม่ได้ทำตามสิ่งที่เราสอนเล่า?[25] เราได้บอกเจ้าแล้วว่ามีเพียงพระยาห์เวห์ผู้เดียวเท่านั้นที่เจ้าจะต้องรักด้วยสิ้นสุดทั้งหมดของเจ้า”
เมื่อตอนผมกลับมาถึงแคนาดาปีที่แล้วและหย่อนตัวลงบนเก้าอี้ ทันใดนั้นเหตุการณ์ของยอห์นบท 6 ก็ตอกย้ำในใจผม ฝูงชนอยากจะตั้งพระเยซูเป็นกษัตริย์ เราและเหล่าสาวกอาจเห็นว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องอย่างที่ควรแต่พระเยซูคงจะไม่มีความคิดแบบนี้ พระองค์ไม่ได้ต้องการให้พวกเขาตั้งพระองค์เป็นกษัตริย์ ดังนั้นพระองค์จึงทรงหลบไปจากพวกเขา[26]
คุณต้องการตั้งพระเยซูให้เป็นกษัตริย์ในชีวิตของคุณไหม? นั่นเป็นสิ่งที่ดี แต่ว่าพระเยซูทรงต้องการเป็นกษัตริย์ในชีวิตของคุณเพียงเพราะคุณต้องการตั้งพระองค์ให้เป็นกษัตริย์หรือ? พระเยซูกำลังตรัสกับคนทั้งหลายว่า “เราไม่ได้แสวงหาเกียรติจากมนุษย์ ดังนั้นจงอย่าตั้งให้เราเป็นกษัตริย์ มีเพียงผู้เดียวเท่านั้นที่เราต้องการถวายเกียรติ และผู้นั้นก็คือพระยาห์เวห์ พระบิดาของเรา”
พระเยซูทรงตั้งมาตรฐานให้เราทำตาม แต่เราก็คิดว่าเรากำลังทำให้พระองค์พอพระทัยด้วยการยกย่องพระองค์ให้อยู่ในฐานะที่สำคัญและผลักไสพระบิดาของพระองค์ออกไปแม้เราจะยินดีให้เกียรติพระบิดาแบบพอเป็นพิธีอยู่บ้าง ที่จริงความเชื่อในตรีเอกานุภาพไม่จำเป็นต้องมีพระเจ้าพระยาห์เวห์เพราะพระเยซูทรงเป็นทุกสิ่งของเราแล้ว ก็โคโลสี 1:16 ไม่ได้กล่าวไว้หรอกหรือว่าพระเยซูทรงสร้างทุกสิ่ง?[27]
ความคิดของเราถูกครอบงำอย่างมากด้วยความเชื่อในตรีเอกานุภาพจนเราไม่เห็นความร้ายแรงที่เราได้ทำ นี่ไม่ใช่ความบาปเล็กๆ เราจะถูกกล่าวโทษว่าไหว้รูปเคารพเพราะว่าเราได้ตั้งให้พระเยซูเป็นศูนย์กลางของการนมัสการซึ่งตรงกันข้ามกับสิ่งที่ได้สอนไว้ในพระคัมภีร์ใหม่
ผมครุ่นคิดถึงเรื่องเหล่านี้วันแล้ววันเล่าเฝ้าหวังกับองค์ผู้เป็นเจ้า ตอนแรกผมมองไม่เห็นความร้ายแรงกับสิ่งที่ผมได้ทำในการสอนและเผยแพร่ความเชื่อในตรีเอกานุภาพ แต่ต่อมาผมก็เริ่มเห็นความจริงในเรื่องนี้ ในแง่หนึ่งผมมีความยินดีที่เห็นความจริง แต่ในอีกแง่หนึ่งผมเสียใจกับการเชื่อผิดที่ร้ายแรงของเรา เราได้ทำสิ่งที่พระเยซูจะไม่ทรงพอพระทัยในวันที่เราพบพระองค์หน้าต่อหน้า “ทำไมเจ้าจึงเรียกเราว่า องค์ผู้เป็นเจ้า องค์ผู้เป็นเจ้า? เจ้าไม่ได้อ่านที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์หรอกหรือ? เจ้าไม่ได้ยินสิ่งที่เราพูดแล้วพูดอีกในยอห์นหรอกหรือว่าเราไม่ได้มาเพื่อจะทำตามอำเภอใจของเรา แต่กระทำตามพระประสงค์ของพระองค์ผู้ทรงส่งเรามา?”
พระเยซูตรัสอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า “พระบิดาผู้ทรงพระชนม์อยู่ทรงส่งเรามา และเรามีชีวิตอยู่เพราะพระบิดาฉันใด ผู้ที่กินเราก็จะมีชีวิตอยู่เพราะเราฉันนั้น” (ยอห์น 6:57 ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย) พระองค์ตรัสซ้ำๆถึงการที่พระองค์พึ่งพาพระบิดาของพระองค์ ทุกสิ่งที่พระเยซูทรงกระทำและตรัสนั้นเป็นพระบิดาผู้ทรงกระทำสิ่งเหล่านี้อยู่ในพระองค์
พระเจ้าทรงเป็นศูนย์กลางของพระคัมภีร์ใหม่
พระยาห์เวห์ทรงเป็นศูนย์กลางของพระคัมภีร์เดิม และที่ผมจะกล่าวต่อไปก็คือพระองค์ยังทรงเป็นศูนย์กลางของพระคัมภีร์ใหม่ด้วย คำว่า “พระเจ้า” (theos) ปรากฏ 1,317 ครั้งในพระคัมภีร์ใหม่ ในขณะที่พระนาม “พระเยซู” มีปรากฏ 917 ครั้ง หรือมีปรากฏน้อยกว่า 400 ครั้ง
เราสามารถจะพูดถึงพระเจ้าได้ทั้งวันโดยคิดว่าเรากำลังพูดถึงพระเยซูขณะที่ในความเป็นจริงแล้วคำว่า “พระเจ้า” ในพระคัมภีร์เดิมและพระคัมภีร์ใหม่ (ที่นอกเหนือจากพระเทียมเท็จ)[28] หมายถึงพระยาห์เวห์และไม่มีใครอื่นอีก ผมพูดเรื่องนี้อย่างชัดๆโดยไม่กลัวการแย้งจากนักวิชาการท่านใดในโลกนี้ แม้แต่นักวิชาการคนสำคัญอย่าง เอช เอ ดับบลิว เมเยอร์[29]ก็ยอมรับว่าพระเยซูไม่เคยกล่าวอ้างว่าทรงเป็นพระเจ้าและพระคัมภีร์ใหม่ก็ไม่เคยกล่าวถึงพระองค์ว่าเป็นพระเจ้า
ข้อพิสูจน์ทั้งหมดเรื่องความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์ขึ้นอยู่กับพระคัมภีร์ใหม่สองตอนเป็นหลัก ตอนแรกคือยอห์น 1:1-18 (คำขึ้นต้นของยอห์น) และอีกตอนคือฟีลิปปี 2:6-11 มีเพียงพระคัมภีร์สองตอนหลักๆนี้เท่านั้น การให้หลักคำสอนทั้งหมดขึ้นกับพระคัมภีร์สองตอนนี้ (ซึ่งค้านและแย้งกันในตัวเองในแง่ว่าบรรดานักวิชาการไม่ได้เห็นด้วยกับวิธีการแปลพระคัมภีร์สองตอนนี้) แสดงให้เห็นว่าพระคัมภีร์ใหม่ตามพื้นฐานความเชื่อในตรีเอกานุภาพนั้นขาดน้ำหนักแค่ไหน
เราได้เห็นว่าประการแรกพระยาห์เวห์ทรงเป็นศูนย์กลางไม่เพียงกับพระคัมภีร์เดิมเท่านั้นแต่กับพระคัมภีร์ใหม่ด้วย
ประการที่สอง ตามพระคัมภีร์แล้วความคิดแบบกรีกเรื่องการสถิตอยู่ไกลของพระเจ้านั้นเป็นเรื่องที่ผิดถนัด พระเจ้าทรงสถิตอยู่ไกลเหนือจักรวาลก็จริง แต่เหนือสิ่งอื่นใดพระองค์ทรงเลือกที่จะสถิตอยู่ด้วย พระองค์ทรงเดินอยู่บนโลกกับอาดัม กับเอโนค กับอับราฮัม กับโมเสส และกับบรรดาผู้เผยพระวจนะ และพระองค์ทรงหวังที่จะเดินกับเราแต่ก็มีโอกาสอย่างนั้นน้อยเต็มทีเพราะเราได้ตัดสินใจที่จะเดินกับผู้อื่นซึ่งก็คือพระเยซู เราได้ให้พระบุตร (ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกส่งมา) มาแทนที่พระบิดา (ซึ่งเป็นผู้ส่ง) ประการที่สาม เราใช้คำ “พระเจ้า” อย่างกว้างๆจนไม่มีใครรู้ว่าหมายถึงใคร (ความสับสนนี้เป็นลักษณะของความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์ที่มีพระหลายหลากมากมาย) ถ้าคุณพูดว่า “พระเจ้า” โดยไม่ได้เจาะจงว่าคุณหมายถึงใคร ผมจะไม่รู้ว่าคุณกำลังหมายถึงใคร คุณกำลังหมายถึงพระบิดา หรือว่าพระบุตร หรือว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์? หรือว่าทั้งสามพระองค์ หรือแค่สองพระองค์? คำว่า “พระเจ้า” คลุมเครือมากจนเราไม่รู้ว่าหมายถึงใคร
ผมยังเห็นบางอย่างที่ตอกย้ำผมเต็มแรง ความเชื่อในตรีเอกานุภาพจะอยู่รอดต่อไปได้ก็ต่อเมื่อความคลุมเครือนี้ยังคงมีอยู่ต่อไป ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดที่จะรับมือกับความเชื่อในตรีเอกานุภาพก็คือการยืนหยัดกับความหมายที่ถูกต้องของคำโดยทำให้ชัดเจนว่าพระเจ้าหมายถึงอะไร บางครั้งความเชื่อในตรีเอกานุภาพจะให้ความหมายกับพระเจ้าว่าเป็นสสารและบางครั้งหมายถึงสามบุคคล ความเชื่อในตรีเอกานุภาพจะดำรงอยู่ต่อไปได้ก็โดยการให้ความคลุมเครือเช่นนี้มีอยู่ต่อไปอย่างถาวร ความคลุมเครือเป็นสิ่งที่ศาลสถิตยุติธรรมไม่ยอมรับและกฎของภาษาถือว่าฟังไม่ขึ้น ตัวบทกฎหมายและภาษาจะขึ้นกับการให้ความหมายที่ชัดเจน ฉะนั้นหากคุณไม่ได้ระบุว่า “พระเจ้า” เป็นใคร หรือหากคุณจะเปลี่ยนความหมายของ “พระเจ้า” ไปเรื่อยๆ ผมก็จะไม่รู้ว่าคุณหมายถึงอะไร
คำว่า “พระเจ้า” มีความหมายที่ชัดเจนในพระคัมภีร์เพราะมันหมายถึงพระยาห์เวห์ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามกับบรรดาพระเทียมเท็จของอัสซีเรีย บาบิโลน หรือโรม “พระเจ้า” จะหมายถึงพระยาห์เวห์เสมอผู้เป็นพระเจ้าที่แท้จริงเพียงองค์เดียว พระเยซูผู้ยึดมั่นกับการเชื่อในพระเจ้าเพียงองค์เดียว ทรงยอมรับพระเจ้าที่เที่ยงแท้องค์เดียวนี้ “และนี่แหละคือชีวิตนิรันดร์ คือการที่พวกเขารู้จักพระองค์ ผู้ทรงเป็นพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียว และรู้จักพระเยซูคริสต์ที่พระองค์ทรงใช้มา” (ยอห์น 17:3)[30] แต่เราได้ตัดสินใจที่จะไปคนละทางจนถึงกับให้พระเยซูเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งแทนที่พระยาห์เวห์
พระเจ้าทรงสื่อสาร
คราวก่อนเราเห็นที่พระคัมภีร์พูดถึงพระเจ้าว่าทรงเอาใจใส่และทรงเมตตา ฉบับแปลบางฉบับ เช่นฉบับอิงลิชแสตนดาร์ด[31] บอกถึงความปรานีของพระเจ้าด้วยคำที่สวยงามว่า “ความรักมั่นคง” เป็นความรักที่ยังคงจริงแท้และมั่นคง แต่สำหรับความเชื่อในตรีเอกานุภาพแล้วจะเป็นพระเยซูที่ทรงอยู่ใกล้มากและพระเจ้าทรงห่างเหินและอยู่ไกลซึ่งเป็นความเท็จอีกอย่างหนึ่งที่เราทำให้มันคงอยู่อย่างถาวร ความจริงในพระคัมภีร์มีว่าพระเจ้าทรงอยู่ใกล้มาก และเมื่อมาถึงพระคัมภีร์ใหม่พระองค์ก็ทรงอยู่ใกล้ขึ้น
คราวก่อนเราได้เห็นตัวอย่างความรักและความห่วงใยของพระเจ้าและตัวอย่างที่พระองค์ทรงปรารถนาจะสื่อสารกับเรา พระยาห์เวห์ทรงพูดคุยกับมนุษย์อย่างต่อเนื่องในปฐมกาลและในพระคัมภีร์เดิม การสื่อสารขึ้นอยู่กับสิ่งที่สำคัญมากซึ่งก็คือถ้อยคำ ถ้อยคำเป็นเครื่องมือเดียวของการสื่อสาร ถ้าคุณกับผมไม่ได้มีภาษาเดียวกัน เราก็จะไม่สามารถสื่อสารต่อกันได้
พระคัมภีร์ทั้งเล่มเป็นเรื่องของการที่พระเจ้าทรงสื่อสารกับเรา นี่เป็นเหตุที่เรียกพระคัมภีร์ว่าพระคำของพระเจ้า พระคัมภีร์เดิมบรรจุถ้อยคำของพระเจ้า เป็นการสื่อสารของพระเจ้าในสามรูปแบบ รูปแบบแรกคือบทบัญญัติ รูปแบบที่สองคือคำประพันธ์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “คำประพันธ์แห่งปัญญา” หรือวรรณกรรมที่เกี่ยวกับปัญญา รูปแบบที่สามคือการเผยพระวจนะและการสำแดง บทบัญญัติ คำประพันธ์ การสำแดง สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับคำของพระเจ้าและการสื่อสารกับเรา
พระคัมภีร์ใหม่ก็มีสามส่วนเหมือนกันคือ พระกิตติคุณ จดหมาย และวิวรณ์ ส่วนกิจการนั้นถูกจัดอยู่ในกลุ่มพระกิตติคุณทั้งสี่ เพราะลูกาและกิจการเดิมทีแล้วเป็นเล่มเดียวกันไม่ได้แยกเล่มอย่างที่มีในพระคัมภีร์ของเราทุกวันนี้
พระคัมภีร์ใหม่จึงเริ่มด้วยห้าเล่ม คือพระกิตติคุณสี่เล่มและกิจการ ซึ่งเหมือนกันกับห้าเล่มแรกของพระคัมภีร์เดิมที่เรียกว่าเบญจบรรณ[32]
ลำดับของพระกิตติคุณที่เรามีในทุกวันนี้ไม่ได้เป็นตามลำดับดั้งเดิม บรรดานักวิชาการพระคัมภีร์ใหม่ยอมรับว่ามาระโกเป็นพระกิตติคุณเล่มแรก แต่พระคัมภีร์ของเรามีมัทธิวเป็นพระกิตติคุณเล่มแรก ตามข้อสันนิษฐานทางเอกสารแล้ว (ซึ่งผมจะไม่เข้าไปในรายละเอียด) มาระโกเป็นพระกิตติคุณลำดับแรกที่มัทธิวและลูกาได้ใช้เป็นข้อมูลของพวกเขา
รายชื่อเล่มต่างๆในหนังสือพระคัมภีร์ใหม่[33]ที่ได้รับการเห็นชอบจากคริสตจักรให้บรรจุเป็นพระคัมภีร์ใหม่ถูกจัดเรียงลำดับที่ค่อนข้างตามใจชอบ ผมติดใจว่าในแผนการศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้านั้น พระกิตติคุณยอห์นน่าจะถูกมุ่งหมายให้เป็นเล่มแรกของพระคัมภีร์ใหม่ ถ้าเป็นเช่นนั้นพระคัมภีร์ใหม่ก็จะเริ่มต้นเหมือนกันกับพระคัมภีร์เดิม พระคัมภีร์ใหม่จะขึ้นต้นว่า “ในปฐมกาลพระวาทะดำรงอยู่” ซึ่งตรงกับคำเริ่มต้นของปฐมกาล “ในปฐมกาลพระเจ้าทรงเนรมิตสร้างฟ้าและแผ่นดิน”
มันสมเหตุสมผล(เหมาะสม)อย่างที่สุดที่ให้ยอห์นเป็นหนังสือเล่มแรกของพระคัมภีร์ใหม่ ไม่เพียงแต่เพราะยอห์นเป็นกุญแจสำคัญในการทำความเข้าใจพระคัมภีร์ใหม่ แต่ยังเป็นเพราะในพระคัมภีร์ที่เรามีทุกวันนี้ได้แทรกยอห์นไว้ระหว่างลูกากับกิจการทำให้คั่นความเชื่อมต่อของสองเล่ม การจัดเรียงที่เราเสนอให้กับพระกิตติคุณทั้งสี่เล่มน่าจะเป็น ยอห์น มัทธิว มาระโก และลูกา โดยให้ลูกาอยู่ติดกับกิจการ
คริสตจักรในยุคแรกผิดพลาดอย่างเห็นชัดว่าพวกเขาไม่จำเป็นต้องแยกลูกากับกิจการซึ่งเป็นสองเล่มที่ควรอยู่ด้วยกันออกจากกันแล้วแทรกยอห์นไว้ตรงกลาง ถ้าวางยอห์นไว้เป็นเล่มแรกมันก็ไม่ทำให้โครงสร้างของพระกิตติคุณเสียหาย อันที่จริงนี่จะทำให้พระคัมภีร์เดิมกับพระคัมภีร์ใหม่มีความคล้ายคลึงกันมากขึ้น แต่คริสตจักรไม่ได้สมบูรณ์แบบ นี่จึงไม่ใช่ความผิดพลาดเรื่องเดียวที่คริสตจักรได้ทำไปและก็ไม่ใช่ความผิดพลาดที่ร้ายแรงที่สุด
พระวาทะคำของพระเจ้า
พระคำเป็นเครื่องมือเพียงอย่างเดียวที่พระเจ้าทรงสื่อสารกับเรา นี่ยังเป็นจริงในแวดวงของมนุษย์ด้วยเพราะเราไม่สามารถจะสื่อสารต่อกันได้นอกจากจะผ่านทางถ้อยคำ เราจะดูเรื่องนี้กันคร่าวๆ จากปฐมกาล 15 ที่เราจะพบตัวอย่างแรกของ “ถ้อยคำของพระเจ้า”[34] ในพระคัมภีร์ เป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจเลยที่ความเชื่อในตรีเอกานุภาพไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรกับพระคัมภีร์ตอนนี้เพราะมันไม่ค่อยจะเข้าแบบแผนของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ
ผมไม่เคยเห็นคำอธิบายถึงถ้อยคำหรือ “พระวาทะ”[35]ในยอห์น 1:1 ได้อ้างกลับไปปฐมกาลบท 15 ที่มีคำ “พระวาทะ” ปรากฏเป็นครั้งแรกในพระคัมภีร์ ปฐมกาล 15:1 กล่าวว่า “ภายหลังสิ่งเหล่านี้พระดำรัส(พระวาทะ)[36]ของพระยาห์เวห์มาถึงอับรามทางนิมิตว่า “อับรามเอ๋ย เจ้าอย่ากลัวเลย เราเป็นโล่ของเจ้า บำเหน็จของเจ้าจะมากมายนัก” (ฉบับมาตรฐาน 2011)
ในต้นฉบับฮีบรูของข้อนี้ “พระดำรัส” (the word) คือ “ha debarim”[37] ซึ่งเป็นพหูพจน์ของ “dabar”[38] เป็นคำภาษาฮีบรูทั่วไปของ “ถ้อยคำ” (word) พระคัมภีร์ฉบับเซปทัวจินต์แปล “dabar” เป็นคำกรีกตามใจชอบที่บางครั้งก็แปลเป็น “logos”[39] และบางครั้งก็เป็น “rhēma”[40] ในปฐมกาล 15:1 พระคัมภีร์ฉบับเซปทัวจินต์แปล dabar เป็น rhēma (หรือ rhēmata, the words)
คำตรัสของพระยาห์เวห์มาถึงอับราฮัมใน “นิมิต” และไม่จำเป็นจะต้องเป็นเสียง สิ่งแรกและสิ่งสำคัญที่สุดคือนิมิตที่อับราฮัมได้เห็นบางสิ่ง เราไม่รู้ลักษณะที่ชัดเจนของการเห็นนี้แต่อับราฮัมได้เห็นคำตรัสของพระยาห์เวห์ คำตรัสของพระยาห์เวห์จะเป็นการเปิดเผยพระองค์เองเสมอ ในกรณีนี้พระยาห์เวห์ได้เปิดเผยพระองค์เองกับอับราฮัมเหมือนดั่งโล่ของอับราฮัม ที่จะปกป้องและประทานบำเหน็จให้กับเขา
ข้อ 4 ก็พูดถึงคำตรัสของพระยาห์เวห์ “เวลานั้นพระดำรัสของพระยาห์เวห์มาถึงอับรามว่า..”[41] ตรงนี้ “คำตรัสของพระยาห์เวห์” คือ dabar Adonai [42]() ที่มี dabar (
) คำฮีบรูทั่วไปที่หมายถึง “ถ้อยคำ” คำศัพท์ว่า dabar Adonai ในภาษาฮีบรูเป็นการผูกคำที่เชื่อมด้วยยติภังค์คือขีดด้านบน (-)
แต่ตรงนี้คำแปลภาษากรีกของ dabar นั้นไม่ได้แปลเป็น logos หรือ rhēma ข้อความภาษากรีกกล่าวว่า [43] (“และทันใดนั้นพระสุรเสียงขององค์ผู้เป็นเจ้าก็มาถึงเขากล่าวว่า..”) “คำตรัส” (dabar) ตรงนี้ได้ถูกแปลเป็น “เสียง” (
, โฟเน) และ Adonai ก็ถูกแปลเป็น
(คูริอู “Lord”) ในรูปของสัมพันธการก[44]ของผู้เป็นเจ้าของเสียง
คำ “” (พรอส) ตรงนี้มีความหมายว่าคำตรัสของพระยาห์เวห์มา “ถึงเขา” หรือ “อ้างอิงถึงเขา” แต่ไม่ใช่ “กับเขา” (
ยังใช้ในยอห์น 1:1 ด้วยจาก “พระวาทะเป็นการอ้างอิงถึงพระเจ้า-
” ข้อเท็จจริงที่จะมีความสำคัญในภายหลังเมื่อเราดูยอห์น 1:1 ที่พระคัมภีร์ส่วนใหญ่แปล “
” ว่า “กับ” จึงทำให้มีการแปลข้อนี้ว่า “พระวาทะทรงอยู่กับพระเจ้า” the Word was with God)[45]
ครั้งนี้คำของพระยาห์เวห์มาถึงอับราฮัมโดยไม่ได้อ้างถึงว่าเป็นนิมิต (แม้มันจะยังเกี่ยวโยงกับนิมิตเดิมในข้อ 1) แต่เป็นเสียง “เวลานั้นพระดำรัสของพระยาห์เวห์มาถึงอับรามว่า..” ดังนั้นคำตรัสของพระยาห์เวห์จึงสามารถมาทางนิมิตที่เห็นหรือทางเสียง
พระเจ้าเสด็จกลับมายังโลก
เรากำลังเคลื่อนไปตามเส้นโคจร ในวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับจรวดนั้นเส้นโคจรคือเส้นทางที่จรวดจะวิ่งไป เส้นโคจรนี้สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์และวาดเป็นเส้นกราฟได้ มันจะให้ข้อมูลเช่นว่าทิศทางของการวิ่งและตำแหน่งที่ลง คุณสามารถจะคำนวณความเร็วตรงจุดไหนก็ได้ของการโคจร
คราวก่อนที่ให้ทัศนียภาพกว้างๆนั้นผมได้ร่างภาพให้เห็นช่วงแรกของการโคจร ถ้าคุณไม่เห็นทัศนียภาพทั้งหมดคุณก็จะไม่รู้ว่าการโคจรมุ่งหน้าไปทางไหนและจะตรวจสอบส่วนนี้หรือส่วนนั้นของการโคจรไม่ได้ ผมได้ร่างส่วนเริ่มแรกของการโคจรให้คุณเห็นว่ามันกำลังมุ่งหน้าไปทางไหน เราได้เห็นในพระคัมภีร์เดิมว่าพระเจ้ากำลังอยู่ห่างออกไปไกลทุกที ในหนังสือปฐมกาลจรวดยังคงอยู่บนพื้นดิน แต่หลังจากนั้นพระเจ้ายิ่งห่างไปไกลขึ้นไกลขึ้นเรื่อยๆ จนเมื่อมาถึงหนังสืออิสยาห์ พระเจ้าก็ได้ทรงถูกยกไว้สูงในฟ้าสวรรค์เสียแล้ว
เอเสเคียลมีนิมิตเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ที่ดูเหมือนรถรบ ในคำสอนของศาสนายิวจะเรียกนิมิตนี้ว่า “เมอร์กาบาห์”[46] เมอร์กาบาห์มาจากคำฮีบรูว่า “รถรบ” ด้วยเหตุนี้จึงเป็นนิมิตของรถรบ ผู้ถืออาคมชาวยิวจะเห็นสิ่งลี้ลับมากมายในนิมิตนั้นแต่เราจะไม่เข้าไปในรายละเอียดเรื่องนี้ สิ่งที่เราเห็นก็คือว่าการโคจรกำลังไปสูงขึ้นและสูงขึ้นและดูเหมือนพระยาห์เวห์จะทรงห่างจากเราไปไกลขึ้นและไกลขึ้น
คุณอาจกำลังคิดว่าถ้าพระเจ้ากำลังทรงห่างไปไกลขึ้นและไกลขึ้นแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับอนาคตหรือ? จรวดก็น่าจะเลี้ยวโค้งกลับลงมา พระเจ้าจะเสด็จกลับมายังโลก! อิสยาห์เป็นผู้เผยพระวจนะเกี่ยวกับการเสด็จกลับมาสู่โลกครั้งสำคัญของพระยาห์เวห์ ในอิสยาห์ 40 เราได้ยินเสียงร้องในถิ่นทุรกันดารว่า จงเตรียมทางของพระเจ้า![47] การโคจรกำลังจะลงมา ทำไมคุณจะต้องเตรียมทางด้วยถ้าไม่ใช่เพราะว่าพระองค์กำลังจะเสด็จกลับมา? และมนุษย์ทุกคนจะมองเห็นพระสิริของพระเจ้า
นอกจากนี้เรายังมีคำกล่าวที่น่าประหลาดใจเช่นในอิสยาห์ 7:14 “เพราะฉะนั้น องค์เจ้านายจะประทานหมายสำคัญด้วยพระองค์เอง นี่แน่ะ หญิงสาวคนหนึ่งจะตั้งครรภ์ และคลอดบุตรชายคนหนึ่ง และคนจะเรียกนามของเขาว่า อิมมานูเอล” (ฉบับมาตรฐาน 2011) ข้อนี้ถูกอ้างอิงในมัทธิว 1:23 ที่เกี่ยวโยงกับการประสูติของพระเยซู
ครั้งก่อนเรายังพูดถึงอิสยาห์ 9:6 “ด้วยมีเด็กคนหนึ่งเกิดมาเพื่อเรา มีบุตรชายคนหนึ่งประทานมาให้เรา และการปกครองจะอยู่บนบ่าของท่าน และเขาจะขนานนามของท่านว่า ที่ปรึกษามหัศจรรย์ พระเจ้าผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ พระบิดานิรันดร์ และองค์สันติราช” (ฉบับมาตรฐาน 2011)
“อิมมานูเอล” หมายถึง “พระเจ้าทรงอยู่กับเรา” คำฮีบรู “อิมมานูเอล” นี้มาจากคำสองคำ () ในขณะที่ภาษาอังกฤษและภาษากรีกมีคำเดียว (คือ Immanuel และ
) คำฮีบรูคำแรก “อิมมานู” (
)[48] หมายถึง “อยู่กับเรา” และคำที่สอง “เอล” (
)[49] หมายถึง “พระเจ้า” รวมกันแล้วหมายถึง “พระเจ้าทรงอยู่กับเรา”
พระเจ้าในพระคัมภีร์เดิมคือพระยาห์เวห์และพระยาห์เวห์ก็คือพระเจ้า พระเจ้าจะเสด็จลงมายังโลกเพื่ออยู่กับเราผ่านผู้ที่จะเกิดมาจากหญิงพรหมจารี การโคจรกลับมายังโลกมาในการเกิดแบบพรหมจารี
เราเข้าใจ “พระบิดานิรันดร์” ในอิสยาห์ 9:6 อย่างไร? ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพนำมาใช้กับพระเยซูอย่างตามใจชอบ แต่ถ้าพระเยซูทรงเป็นพระบุตรอยู่แล้วเราจะให้เป็นพระบิดาอีกได้อย่างไร? เมื่อเป็นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพนั้นปัญหาเช่นนี้ไม่ได้กวนใจเราเลยเพราะถ้าพระเยซูคือพระเจ้าฉะนั้นข้อไหนๆที่ใช้กับพระเจ้าก็ใช้กับพระเยซูด้วยเช่นกัน แต่จะมีปัญหาในเรื่องนี้แม้ในข้อสรุปของความเชื่อในตรีเอกานุภาพเองก็ไม่ได้เรียกพระเยซูว่าพระบิดาและพระเยซูก็ไม่ใช่พระบิดา แต่นั่นก็ไม่ได้กวนใจเราที่เป็นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพแม้ว่านี่ไม่ได้เป็นความจริงตามพระคำของพระเจ้า
นักวิชาการบางคนเลี่ยงปัญหานี้ด้วยการบอกว่าชื่อเรียกต่างๆในอิสยาห์ 9:6 นั้นไม่ได้อ้างถึงพระเจ้าแต่อ้างถึงผู้ที่จะมาบังเกิด เพราะว่า “พระบิดานิรันดร์” มีความหมายว่ากษัตริย์ผู้เป็นมนุษย์นี้จะเป็นบิดาของราชอาณาจักรของพระองค์เอง และเพราะราชอาณาจักรของพระองค์นั้นนิรันดร์ พระองค์จึงเป็นพระบิดานิรันดร์ ส่วนชื่อเรียกพระเจ้าอย่างเช่น “พระเจ้าผู้ทรงฤทธิ์” พวกเขาชี้ว่าแม้แต่พระเยซูก็ตรัสว่า
“ในพระคัมภีร์ของท่านมีคำเขียนไว้ไม่ใช่หรือว่า ‘เรากล่าวว่าพวกท่านเป็นพระ[50]’ ถ้าคนที่รับพระวจนะของพระเจ้าได้ชื่อว่าเป็นพระ...” (ยอห์น 10:34-35)[51]
การตีความเช่นนี้ที่ชื่อเรียกดังกล่าวไม่ได้หมายถึงพระเจ้าแต่จะหมายถึงกษัตริย์ที่เป็นมนุษย์ซึ่งกำลังจะเสด็จมา จึงเป็นที่ชื่นชอบของนักวิชาการพระคัมภีร์เดิมหลายคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิชาการที่มีความคิดแบบเสรี
แต่ถ้าเราให้ “อิมมานูเอล” หมายถึงว่าพระเจ้าจะเสด็จลงมาอยู่กับเราทางการประสูติของพระเยซูและในองค์พระเยซูแล้วจะเป็นปัญหาอะไรหรือ? ในพระคัมภีร์เดิมนั้นพระยาห์เวห์ก็คือพระบิดาโดยไม่ต้องสงสัย เฉลยธรรมบัญญัติ 32:6 กล่าวว่า “พระองค์(พระยาห์เวห์)ไม่ใช่พระบิดาผู้ทรงสร้างท่าน ผู้ทรงสรรค์ท่านและสถาปนาท่านไว้หรือ?” หรือสดุดี 68:4-5 กล่าวว่า “จงยกย่องพระองค์ผู้ทรงเมฆเป็นพาหนะ พระนามของพระองค์คือพระยาห์เวห์ จงลิงโลดเฉพาะพระพักตร์พระองค์ ทรงเป็นพระบิดาของเด็กกำพร้า..”[52] ความคิดที่พระยาห์เวห์เป็นพระบิดานั้นฝังแน่นอยู่ในพระคัมภีร์เดิมแล้วก็ไม่ใช่สิ่งใหม่ในพระคัมภีร์ใหม่
ในเยเรมีย์ 3:4 พระยาห์เวห์ถูกเรียกว่า “พระบิดาของข้าพระองค์” มันน่าสนใจที่แม้แต่ “คนโง่เขลาและคนเบาปัญญา” ก็เรียกพระองค์ว่าพระบิดา คนเหล่านี้ไม่ได้เคร่งครัดในศาสนาและยังคล้ายกันกับผู้ชื่อว่าเป็นคริสเตียนสมัยนี้คือไม่ลังเลจะอธิษฐานว่า “พระบิดาผู้ทรงสถิตในสวรรค์” คนอิสราเอลทั้งที่เคร่งศาสนาและที่ไม่เคร่งศาสนาในสมัยของเยเรมีย์จะเรียกพระเจ้าว่า “พระบิดา” กันเป็นปกติ
คุณเห็นไหมว่าการโคจรกำลังมุ่งหน้าไปทางไหน? นอกจากนี้ยังมีมีคาห์ 5:2[53] ที่พูดถึงผู้ปกครองของอิสราเอลผู้ที่จะออกมาจากเบธเลเฮม เอฟราธาห์ (คำที่มักจะเห็นตามบัตรอวยพรคริสต์มาส)
“โลกอส” (พระวาทะ) จากยอห์น 1:1
คำนี้มีหมายความอย่างไรกับเรา? ให้เราดูยอห์น 1:1 “ในปฐมกาลพระวาทะ (logos)[54]ทรงดำรงอยู่ และพระวาทะทรงอยู่กับพระเจ้า () และพระวาทะทรงเป็นพระเจ้า” ผมจะยังไม่เข้าไปในเรื่องหลักของภาษากรีกแต่จะดูอย่างกว้างๆอีกครั้ง ผมใช้เวลาเป็นวันๆและเป็นอาทิตย์ๆในการตรวจสอบพระคัมภีร์ตอนนี้และศึกษาคู่มืออธิบายพระคัมภีร์ต่างๆในเรื่องนี้
เจมส์ ดัน[55] ให้รายละเอียดเกี่ยวกับความคิดเรื่อง “logos” (โลกอส) ไว้บ้าง ถ้าคุณค้นดูพจนานุกรมพระคัมภีร์หรือสารานุกรมพระคัมภีร์และเมื่อพิจารณาทุกอย่างแล้วคุณจะเห็นความสับสนอย่างมาก นี่เป็นเหตุที่ทำไมผมจึงใช้เวลามากในการตรวจสอบเรื่องนี้
ลองดูข้ออ้างอิงจากที่อื่นๆในพระคัมภีร์ของคุณ เผื่อว่าจะมีข้ออ้างอิงถึงคำ “logos” สักหนึ่งข้อในพระคัมภีร์เดิม ถ้าคุณมีระบบข้ออ้างอิงอย่างละเอียดในพระคัมภีร์หรือเครื่องมือศึกษาพระคัมภีร์ของคุณ คุณอาจพบข้ออ้างอิงหนึ่งในสดุดี 33:6 “โดยพระดำรัสขององค์พระผู้เป็นเจ้า(พระยาห์เวห์) ฟ้าสวรรค์ก็อุบัติขึ้น ดวงดาวทั้งปวงมีขึ้นโดยลมพระโอษฐ์ของพระองค์” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)[56]
แต่สดุดี 33:6 ไม่ได้ช่วยอะไรมากในการตีความตามความเชื่อแบบตรีเอกานุภาพจากยอห์น 1:1-3[57] ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าตรงนี้พูดถึงการสร้างฟ้าสวรรค์ไม่ใช่การสร้างโลก ข้อต่อมา (ข้อ 7) พูดถึงการรวบรวมน้ำทะเล แต่ก็ไม่มีการอ้างอิงถึงการสร้างโลกในนั้น
ไม่มีตัวอย่างในพระคัมภีร์เดิมมาก่อนที่ “logos” (พระวาทะ) สนับสนุนความเชื่อในตรีเอกานุภาพ และยิ่งกว่านั้นความเข้าใจว่า “logos” (ที่คำกรีกหมายถึงพระวจนะ พระดำรัส หรือพระวาทะ)[58] เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่แยกจากพระยาห์เวห์ก็ไม่มีอยู่ในพระคัมภีร์เดิมเลย ถ้าเช่นนั้นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพจะหันไปพึ่งอะไรในเมื่อพระคัมภีร์เดิมไม่มีตัวอย่างที่สนับสนุน “logos” (พระวาทะ) มาก่อนว่าเป็นบุคคล? ปรัชญากรีกจึงเป็นทางหนึ่งที่เป็นไปได้และอันที่จริงบรรดานักวิชาการที่เชื่อในตรีเอกานุภาพก็ทราบว่าในปรัชญากรีก (เช่น ปรัชญากรีกแบบสโตอิก)[59] มีแนวคิดเกี่ยวกับ “logos” (พระวาทะ) ว่าเป็นหลักการเหตุผลที่ควบคุมทุกสิ่งในการสร้าง แต่ทว่าความพยายามที่จะใช้ “logos” (พระวาทะ) กับพระเยซูนั้นไม่สามารถทำได้เพราะในปรัชญากรีก “logos” (พระวาทะ) ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตแต่เป็นเพียงหลักการ ยิ่งกว่านั้นมันก็เป็นไปไม่ได้ที่ยอห์นผู้เป็นยิวที่เคร่งครัดกับการเชื่ออย่างฝังรากลึกในพระเจ้าเพียงองค์เดียวตามพระคัมภีร์เดิม จะรับเอาความคิดเกี่ยวกับ “logos (พระวาทะ)” มาจากปรัชญากรีก
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะทำอย่างไรต่อไป? เห็นทีว่าไฟโล[60]นักปรัชญาชาวยิวอาจช่วยได้ เขาสนับสนุนความเชื่อว่า “logos” (พระวาทะ) เป็นพระเจ้าชั้นรองลงมา หรือเป็นพระที่ไม่เท่าเทียมกับพระเจ้าแม้ว่าอาจจะสูงกว่าทูตสวรรค์เพียงเล็กน้อย “logos” (พระวาทะ) นี้ยังมีส่วนร่วมในการสร้างอีกด้วย ไฟโลจะค่อนไปทางผสมแนวคิดแบบกรีกกับแนวคิดของพระคัมภีร์เดิมภาษาฮีบรู คงด้วยจุดประสงค์ที่จะเปลี่ยนชาวกรีกให้มาเชื่อตามความเชื่อของยิว วิธีการของเขาก็คือนำเสนอศาสนายิว[61] ในลักษณะที่ชาวกรีกยอมรับได้และเน้นว่าศาสนายิวมีสิ่งที่เหมือนกับปรัชญากรีก “Logos” (พระวาทะ) ที่เป็นพระเจ้าหรือกึ่งพระเจ้านั้นควรที่พวกกรีกซึ่งเชื่อถือในพระเจ้าหลายองค์พอจะรับได้ เพราะจะมีพระเจ้าอีกสักองค์หนึ่งก็ไม่เป็นปัญหาอะไร ดังที่เปาโลบอกถึงสภาพการณ์ของการเชื่อในพระเจ้าหลายองค์ในช่วงสมัยของเขาว่า
และแม้จะมีหลายสิ่งที่เขาเรียกกันว่าเจ้าในสวรรค์และบนแผ่นดินโลก ราวกับว่ามีพระเจ้าและองค์พระผู้เป็นเจ้ามากมาย แต่ว่าสำหรับเรานั้นมีพระเจ้าองค์เดียวคือพระบิดา ทุกสิ่งเกิดมาจากพระองค์และเราอยู่เพื่อพระองค์ และมีพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว ทุกสิ่งเกิดมาโดยพระองค์และเราก็เป็นมาโดยพระองค์ (1 โครินธ์ 8:5-6 ฉบับมาตรฐาน 2011)
เปาโลชี้ให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างพระเจ้าพระบิดากับพระเยซูคริสต์องค์ผู้เป็นเจ้า จะเห็นว่าไม่มีความสับสนเลยระหว่างสองพระองค์ มีพระเจ้าคือพระยาห์เวห์ (พระบิดา) และมีพระเยซูคริสต์องค์ผู้เป็นเจ้า เปาโลแยกให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนและไม่มีความสับสนอย่างที่ครอบงำในความเชื่อตรีเอกานุภาพ
ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพจะหาได้แต่เพียงข้อสนับสนุนที่อ่อนและกำกวมจากไฟโลและปรัชญากรีกในการตีความยอห์น 1:1 ของพวกเขา ไฟโลดัดแปลงปรัชญากรีกให้ใกล้เคียงกับพระคัมภีร์เดิม ที่จริงไฟโลไม่ได้มีพื้นฐานทางพระคัมภีร์เดิมที่จะทำเช่นนั้น เขาแค่พยายามที่จะเข้าถึงพวกกรีกด้วยการทำให้พวกเขาชอบพระคัมภีร์เดิมมากขึ้นหน่อย แต่ในความพยายามที่จะชนะใจคนต่างชาติทำให้เขายอมทำสิ่งร้ายแรงในลักษณะที่อะลุ้มอล่วยกับความเชื่อว่ามีพระเจ้าเพียงองค์เดียว แต่ถึงอย่างนั้นนักวิชาการคริสเตียนทุกคนก็รู้ว่าไฟโลเป็นผู้เชื่อที่แน่วแน่ในพระเจ้าองค์เดียวด้วยใจจริงที่เขาจะไม่ยอมทิ้งความเชื่อของเขาที่มีต่อพระเจ้าเพียงองค์เดียวเป็นอันขาด
เนื่องจากแนวคิดเกี่ยวกับ “logos” (พระวาทะ) ไม่ได้ทำให้พระเยซูเป็นอย่างที่ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพต้องการให้พระองค์เป็น กล่าวคือเป็นพระเจ้าผู้ที่มีความเท่าเทียมกันและมีความนิรันดร์กาลเหมือนกันกับพระบิดา พวกเขาจึงมีความคิดขึ้นว่ายอห์นก็รับเอาแนวคิดเกี่ยวกับ “logos” (พระวาทะ) จากไฟโลแล้วทำให้เป็นแนวคิดแบบความเชื่อในตรีเอกานุภาพ แต่ทฤษฎีนี้ไม่มีหลักเกณฑ์นอกจากจะเชื่อมโยงกับไฟโลและปรัชญากรีกอยู่บ้างซึ่งจะไม่ทำให้ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพถึงจุดหมายที่ตั้งใจ ถึงกระนั้นพวกเขาก็ยืนกรานว่ายอห์นดัดแปลงความคิดเกี่ยวกับ “logos” (พระวาทะ) และทำให้เป็นบุคคลที่เท่าเทียมกับพระบิดาโดยใช้ยอห์น 1:1 “ในปฐมกาลพระวาทะทรงดำรงอยู่ และพระวาทะทรงอยู่กับพระเจ้า และพระวาทะทรงเป็นพระเจ้า” เป็นพื้นฐานพระคัมภีร์ของพวกเขา ฉบับภาษากรีกกล่าวว่า
(ในปฐมกาลพระวาทะดำรงอยู่),
(และพระวาทะอยู่กับพระเจ้า), (และพระวาทะเป็นพระเจ้า)
ตามที่เราตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนหน้านี้ว่าคำ “pros” ()[62]ที่ยอห์นใช้ตรงนี้หมายถึง “มาถึง” ในปฐมกาล 15 (พระดำรัสของพระยาห์เวห์มาถึงอับราม)[63] ถึงอย่างนั้นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพก็ยืนยันว่า “pros” ต้องแปลว่า “กับ” (“พระวาทะทรงอยู่กับพระเจ้า”) เมื่อดูคำ “pros” ในพจนานุกรมกรีก[64]คุณจะพบว่าแม้บางครั้ง “pros” จะหมายถึง “กับ” แต่ก็ยังหมายถึงอย่างอื่นอีกหลายอย่างเช่น “มาถึง” ในความหมายของ “อ้างถึง” คำแปลที่ถูกต้องสมบูรณ์ควรเป็น “และพระวาทะมาถึงพระเจ้า” นั่นก็คือพระวาทะอ้างถึงพระเจ้า[65]
ตรงนี้มีคำนำหน้านามที่ชี้เฉพาะ[66] อยู่ข้างหน้า
(พระเจ้า) ดังนั้นสองคำจึงรวมเป็น
(พระเจ้าที่เจาะจงนี้) คำที่ใช้ตามจริงในต้นฉบับกรีกก็คือ “และพระวาทะ
(มาถึง) พระเจ้า” (“
”) ถ้อยคำต่อมามักจะแปลกันว่า “และพระวาทะทรงเป็นพระเจ้า” (“
”) แต่คราวนี้คำว่า “พระเจ้า (
)” ไม่ได้มีคำนำหน้านามที่ชี้เฉพาะอยู่ข้างหน้า ดังนั้นข้อความกรีกจึงกล่าวว่า “และพระเจ้าทรงเป็นพระวาทะ” แต่พระคัมภีร์ฉบับภาษาอังกฤษได้แปลกลับลำดับกัน (“และพระวาทะทรงเป็นพระเจ้า”) แต่นี่ไม่ใช่ปัญหาที่ร้ายแรง
คำ “พระเจ้า” มีคำนำหน้านามที่ชี้เฉพาะใน “พระวาทะ “pros” พระเจ้า” แต่ไม่มีคำนำหน้าใน “พระวาทะทรงเป็นพระเจ้า” ทำไมคำนำหน้านามที่ชี้เฉพาะจึงอยู่ในถ้อยคำหนึ่ง แล้วไม่มีอยู่ในอีกถ้อยคำหนึ่ง ถ้อยคำ “พระวาทะทรงเป็นพระเจ้า” (ที่พระคัมภีร์ฉบับต่างๆแปลไว้) และ “และพระเจ้าทรงเป็นพระวาทะ” (ที่แปลตรงตามคำกรีก) ในข้อความหลังนั้นคำ “พระเจ้า” ถูกกล่าวซ้ำหรือถูกขยายว่าพระองค์เป็นใคร[67] นั่นก็คือ “พระเจ้า” ถูกกล่าวซ้ำด้วยคำ “logos (พระวาทะ)” ที่มาขยายเพื่อกล่าวถึงพระเจ้าว่าเป็นใคร หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า “logos (พระวาทะ)” ถูกอธิบายให้เห็นว่าพระเจ้าเป็นพระวาทะ (“”)[68]
จงลองพยายามคิดตรงนี้อย่างผู้เชื่อว่ามีพระเจ้าองค์เดียว มันเป็นเรื่องยากที่เราจะเปลี่ยนจากการคิดว่าพระเจ้ามีหลายองค์มาคิดว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวเท่านั้น การถูกฝึกให้คิดว่าพระเจ้ามีหลายองค์จึงทำให้เราไม่แคลงใจในการคิดที่มีหลายพระองค์หรือสามพระองค์เป็นพระเจ้า แต่ว่าในพระคัมภีร์ “พระเจ้า” (theos)[69] จะหมายถึงพระยาห์เวห์ผู้เป็นพระบิดาเสมอ จงลองพยายามคิดอย่างผู้เชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวเหมือนยอห์นที่เชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียว “ในปฐมกาลพระวาทะดำรงอยู่และพระวาทะ “pros” (อ้างถึง) พระยาห์เวห์ และพระยาห์เวห์ทรงเป็นพระวาทะ” คุณจะรับเรื่องนี้ได้ไหม? มันยากเพราะเราไม่รู้วิธีที่จะคิดอย่างผู้เชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียว
ความเชื่อในตรีเอกานุภาพให้ความหมายซ้ำซ้อนกับ “theos” เดี๋ยว “theos” ก็หมายถึงพระยาห์เวห์เดี๋ยวก็หมายถึงพระองค์อื่น บรรดานักวิชาการส่วนมากต่างยอมรับว่าในคำกล่าวที่มี “pros” นั้นพระวาทะมีการอ้างอิงถึงพระยาห์เวห์ นั่นคือ “theos” หมายถึงพระยาห์เวห์ แต่ในคำกล่าวถัดมาที่ว่า “พระวาทะทรงเป็นพระเจ้า” นั้นความเชื่อในตรีเอกานุภาพเปลี่ยนความหมายของ “theos” เพื่อให้ตอนนี้หมายถึงพระองค์ที่สองที่รวมอยู่ “ในพระเจ้า”! เพราะการที่จะให้ความเชื่อในตรีเอกานุภาพอยู่รอดต่อไปได้ คุณจะต้องให้ “theos” มีความหมายได้หลายอย่าง
ผมใช้เวลานานกว่าจะหลุดจากความคิดแบบที่เชื่อในตรีเอกานุภาพของผมได้ คำ “theos” ที่อ้างถึงพระเจ้านั้นมีสองความหมายในพระคัมภีร์ใหม่ตั้งแต่เมื่อไรหรือ? มันมีแค่ความหมายเดียวเท่านั้นแต่กับผู้อ่านชาวกรีกแล้วมันง่ายที่จะรับแบบหลายความหมาย ด้วยพื้นหลังของการเชื่อในพระเจ้าหลายองค์แบบกรีกของเขานั้นทำให้ไม่ใช่เรื่องยากที่เขาจะยอมรับว่า “logos” (พระวาทะ) เป็นพระองค์ที่สองที่รวมอยู่ในพระเจ้าและผลสุดท้ายของทั้งหมดนี้จึงมาเป็นความเชื่อในตรีเอกานุภาพ
ในที่สุดเมื่อผมเริ่มเข้าใจเรื่องนี้ ผมเห็นจริงว่า “theos” (พระเจ้า) ในพระคัมภีร์ไม่ได้มีสองความหมาย แต่ที่จะให้บรรลุจุดประสงค์ของความเชื่อในตรีเอกานุภาพนั้นจึงต้องกำหนดให้ “theos” มีหลายความหมาย เมื่อดูประเด็นนี้จากอีกมุมหนึ่งก็คือถ้า “theos” ในความหมายที่สองไม่ใช่พระยาห์เวห์ถ้าเป็นเช่นนั้น “theos” ก็จะหมายความเพียงแค่ “ความเป็นพระเจ้า” ซึ่งก็คือ “logos” ไม่ใช่พระยาห์เวห์หรือเทียบเทียมกับพระยาห์เวห์ แต่แค่มีลักษณะของความเป็นพระเจ้า เมื่อ “theos” ถูกลดให้เป็นพระลักษณะของพระเจ้า “logos” จึงถูกลดให้เป็นพระลักษณะของพระเจ้าด้วย สิ่งนี้ไม่ได้ส่งเสริมความเชื่อในตรีเอกานุภาพเท่าไรเพราะการมีลักษณะของพระเจ้าก็ไม่ได้เท่ากันกับการเป็นพระเจ้า ใน 2 เปโตร 1:4[70] กล่าวว่า เราเองก็มีส่วนในพระลักษณะของพระเจ้า แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เราเป็นพระเจ้า
พระวาทะได้มาอยู่ในเนื้อหนังและอยู่ท่ามกลางเรา
ยอห์น 1:14 กล่าวเพิ่มเติมว่า “พระวาทะ (logos) ทรงเกิดเป็นมนุษย์และทรงอยู่ท่ามกลางเรา[71] เราเห็นพระสิริของพระองค์ คือ พระสิริที่สมกับพระบุตรองค์เดียวของพระบิดา บริบูรณ์ด้วยพระคุณและความจริง (ฉบับมาตรฐาน 2011)
ผมอยากจะชี้ให้เห็นบางสิ่งที่หายไปในการแปลฉบับภาษาอังกฤษโดยไม่เข้าไปในรายละเอียดเฉพาะ “พระวาทะทรงบังเกิดเป็นมนุษย์ และทรงอยู่ท่ามกลางเรา” ข้อความกรีกคือ “ ตรงนี้มีคำสำคัญแต่ได้หายไปในการแปลฉบับภาษาอังกฤษ คำสำคัญนี้คือ
(เอสคีโนเซน eskēnōsen) จากคำกริยา
(สคีโนโอ skēnoō) ที่เกี่ยวโยงกับคำนาม
(สคีนี skēnē)
คำนี้หมายความว่าอย่างไร? เพื่อให้เข้าใจความสำคัญของคำนี้เราจะต้องกลับไปที่พระคัมภีร์เดิมและไปที่วิวรณ์ คำกริยา “สคีโนโอ” (skēnoō) หมายถึง “การอาศัยอยู่ในเต็นท์ ในพลับพลา” เพราะฉะนั้น “ทรงอยู่ท่ามกลางเรา” ไม่ได้หมายถึงการอยู่ในแบบธรรมดาแต่ในความหมายแบบเจาะจงว่า “ทรงพลับพลาอยู่ท่ามกลางเรา” พลับพลาคือสิ่งที่รู้จักกันดีในพระคัมภีร์เดิมจากหลายตัวอย่างที่พระเจ้าทรงตั้งพลับพลาอยู่กับประชากรของพระองค์ ความคิดเช่นนี้ไม่ได้เริ่มจากพระคัมภีร์ใหม่แต่มีที่มาจากพระคัมภีร์เดิม ยอห์นนำเสนอความคิดที่สำคัญนี้ในยอห์น 1:14 แต่ในฉบับแปลภาษาอังกฤษความคิดนี้จะหายไป
พระยาห์เวห์ทรงสถิตอยู่ พระองค์ทรงตั้งพลับพลาอยู่กับประชากรของพระองค์ในถิ่นทุรกันดาร พลับพลาเป็นเต็นท์ใหญ่ที่ไปกับชนอิสราเอลในทุกที่ที่พวกเขาเดินทางในถิ่นทุรกันดาร ในเต็นท์นั้นเองที่โมเสสและเหล่าผู้นำของอิสราเอลได้พบกับพระยาห์เวห์ พระยาห์เวห์ได้ปรากฏกับพวกเขาในเต็นท์หรือที่ประตูเต็นท์ ภายในเต็นท์นั้นก็มีหีบพันธสัญญา
หลังจากนั้นเต็นท์ก็ถูกพระวิหารเข้ามาแทนที่ด้วยโครงสร้างที่ใหญ่โตและแข็งแกร่งที่สร้างโดยโซโลมอน แต่โซโลมอนก็ยังพูดเกี่ยวกับการตั้งเต็นท์และการมาสถิตอยู่ของพระเจ้ากับเรา เขาอธิษฐานกับพระเจ้าว่า “ดูสิ ฟ้าสวรรค์และฟ้าสวรรค์อันสูงสุดยังรับพระองค์อยู่ไม่ได้ แล้วพระนิเวศนี้ซึ่งข้าพระองค์ได้สร้างขึ้นจะรับพระองค์ได้อย่างไร?” (1 พงศ์กษัตริย์ 8:27) และอธิบายซ้ำๆว่าพระวิหารเป็น “ที่ประทับของพระองค์” (ข้อ 30, 39, 43, 49)
พระยาห์เวห์เป็นพระเจ้าผู้ที่ตลอดประวัติศาสตร์ของอิสราเอลในพระคัมภีร์เดิมนั้นได้ทรงพลับพลาอยู่ () และสถิตอยู่กับประชากรของพระองค์ จากนั้นก็มีบางอย่างเกิดขึ้น ในการโคจรนั้นเราได้ร่างภาพคร่าวๆว่าพระเจ้าทรงไปไกลจากมนุษย์ยิ่งขึ้นๆ ตอนแรกพระองค์ทรงอยู่ในพระวิหาร แต่ต่อมาภายหลังเมื่อชนอิสราเอลยังคงอยู่ในความบาป พระสิริของพระเจ้าก็ออกไปจากพระวิหาร (เอเสเคียล 10) สุดท้ายตัวพระวิหารก็ถูกไฟเผา (2 พงศาวดาร 36:19)
แต่กระนั้นพระเจ้าจะเสด็จกลับมาตั้งพลับพลาอยู่กับเรา! หลายปีมาแล้วมีช่วงเวลาหนึ่งที่พระองค์สถิตอยู่กับชนอิสราเอลและทรงดำเนินกับพวกเขาในถิ่นทุรกันดารเป็นเวลาสี่สิบปี พระองค์ทรงจัดเตรียมอาหารและน้ำให้พวกเขาและพำนักอยู่ท่ามกลางพวกเขา เรื่องราวต่างๆในพระคัมภีร์เดิมช่วยให้เราเห็นว่าพระเจ้าทรงปรารถนาที่จะสถิตอยู่กับประชากรของพระองค์ แต่ในที่สุดพระเจ้าก็ทรงจากพวกเขาไปและไม่ปรากฏพระพักตร์ของพระองค์อีกต่อไป
แต่คำกรีกคำเดียวก็สามารถเปลี่ยนภาพทั้งหมดได้ถ้าคุณเข้าใจความสำคัญของมันในพระคัมภีร์เดิม ตอนท้ายของหนังสือวิวรณ์คำนั้นก็ปรากฏให้เห็นอีกครั้ง “ดูเถิด พลับพลา (สคีนี ) ของพระเจ้าอยู่กับมนุษย์แล้ว พระองค์จะทรงสถิตกับเขา เขาจะเป็นชนชาติของพระองค์ และพระเจ้าเองจะประทับอยู่กับเขา” (วิวรณ์ 21:3 ฉบับ 1971)[72] นครเยรูซาเล็มใหม่ในสวรรค์ (ข้อ 2) พระยาห์เวห์และพระเมษโปดกจะตั้งพลับพลาอีกครั้งท่ามกลางเหล่าประชากร คำว่า “อยู่”(สคีโนโอ,
, พลับพลาอยู่) ตรงนี้เป็นคำเดียวกันกับที่ใช้ในยอห์น 1:14 “พระวาทะมาเกิดเป็นมนุษย์ และทรง(พลับพลา)อยู่ท่ามกลางเรา” คำนี้ไม่ได้มีอยู่น้อยและไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในยอห์น 1:14 ที่จริงแล้วคำนี้มีปรากฏ 82 ครั้งในพระคัมภีร์ใหม่
เปาโลอธิบายถึงร่างกายของเขาว่าเป็นเต็นท์[73] (2 โครินธ์ 5:1-4) ซึ่งในวันหนึ่งจะถูกทำลายไป (ทุกวันนี้ผมกำลังคุ้นเคยกับความจริงข้อนี้มากขึ้น และอีกไม่นานก็ถึงเวลาที่ผมจะต้องไป) ในขณะนี้เรากำลังพลับพลาอยู่ หรือ “กางเต็นท์” อยู่ในร่างกายของเรา ในขณะเดียวกันเราก็เป็นพระวิหารของพระเจ้าด้วยที่พระยาห์เวห์ทรงสถิตอยู่หรือทรงพลับพลาอยู่ในเรา ความคิดเช่นนี้มีอานุภาพและลึกซึ้งและผมไม่รู้ว่าทำไมจึงไม่สอนกันอีกต่อไป
คุณเห็นไหมว่าการโคจรกำลังมุ่งหน้าไปทางไหน? การที่จะทำให้พระสัญญาในอิสยาห์สำเร็จนั้นพระยาห์เวห์จึงเสด็จกลับมายังโลกนี้มาสถิตอยู่ในองค์พระเยซู ไม่ใช่ว่าพระเยซูทรงเป็นพระยาห์เวห์แต่ว่าพระยาห์เวห์ทรงสถิตอยู่ในพระกายของพระเยซู “เพราะว่าความเป็นพระเจ้าที่ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้นดำรงอยู่ในพระกายของพระองค์ (พระเยซู)”[74] (โคโลสี 2:9 ฉบับมาตรฐาน 2011)
แนวคิดที่พระเจ้าทรงตั้งพลับพลาอยู่ท่ามกลางประชากรของพระองค์นั้นกล่าวถึงพระยาห์เวห์และไม่ใช่ใครอื่นอีก ถ้าไม่ใช่พระยาห์เวห์ผู้ทรงพลับพลาอยู่ท่ามกลางประชากรของพระองค์แล้วจะเป็นใครได้? แต่เราก็ยืนกรานว่าไม่ใช่พระยาห์เวห์ผู้เสด็จเข้ามาในโลกนี้แต่เป็นพระเจ้าพระองค์ที่สองผู้ที่ไม่ได้มีอยู่ในพระคัมภีร์เดิมเลย ทำไมเราจึงต้องยืนกรานอยู่กับพระเจ้าพระองค์ที่สองแทนที่จะเป็นพระเจ้าเดียวและเพียงผู้เดียวซึ่งเป็นผู้ที่เสด็จกลับมาในองค์พระเยซู? ทำไมเราจึงมองไม่เห็นว่าพระยาห์เวห์ พระเจ้าผู้ทรงเดินกับอาดัมและเอวาและกับคนอื่นๆอีกมากมาย และผู้ทำการอัศจรรย์ต่างๆที่มีผลต่อโลกนั้น ทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงอาศัยอยู่ในเนื้อหนังขององค์พระเยซู
คำ “เนื้อหนัง” ในภาษากรีกหมายถึงร่างกาย เป็นคำทั่วไปใช้กับชีวิตและการดำรงอยู่ของมนุษย์ พระยาห์เวห์เลือกที่จะตั้งพลับพลาอยู่ในกายของเนื้อหนังซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ไม่เคยทำมาก่อน พระองค์ได้สถิตอยู่ในพลับพลาและภายหลังในพระวิหารอันงดงามที่โซโลมอนสร้างขึ้น นานมาแล้วพระเจ้าสถิตอยู่ในพระวิหารที่ทำด้วยมือมนุษย์ แต่บัดนี้พระองค์อาศัยอยู่ในวิหารคือพระเยซูที่พระองค์เองเป็นผู้ทรงสร้าง
ตอนนี้เราเริ่มจะเห็นความจริงที่น่าตกใจซึ่งถูกปิดบังมาอย่างยาวนาน เราหลงคิดมานานว่าพระองค์ที่สองที่รวมอยู่ในพระเจ้าได้เสด็จเข้ามาในโลก ทำไมเราจึงเต็มใจอย่างมากที่จะกันและผลักพระยาห์เวห์ออกไปโดยยืนกรานว่าผู้เสด็จเข้ามาในโลกไม่ใช่พระบิดาคือพระยาห์เวห์เอง แต่เป็นพระเจ้าพระองค์ที่สอง? จงลองค้นหาให้ทั่วพระคัมภีร์เดิมและดูซิว่าคุณจะหาพระองค์ที่สองหรือที่สามที่เป็นพระเจ้าพบหรือไม่ ทั้งสองพระองค์นั้นไม่ได้มีอยู่จริง
ตรงนี้เราเห็นการเชื่อมโยงกันอย่างมหัศจรรย์ระหว่างพระคัมภีร์เดิมกับพระคัมภีร์ใหม่จากการเปิดเผยที่น่าประหลาดใจว่าพระยาห์เวห์พระองค์เองได้เสด็จกลับมา[75] ผมขอยืนยันกับคุณว่านี่เป็นการเปิดเผยที่น่าอัศจรรย์ของพระคัมภีร์ใหม่และสำเร็จตามพระสัญญาต่างๆของพระคัมภีร์เดิม
ถ้าเราเชื่อได้ง่ายๆว่าพระองค์ที่สองที่รวมอยู่ในพระเจ้าได้เสด็จเข้ามาในโลกในพระกายและในองค์พระเยซู แล้วทำไมมันจึงยากเหลือเกินที่เราจะเชื่อว่าพระยาห์เวห์ผู้ทรงฤทธิ์ พระองค์เองได้เสด็จกลับเข้ามาในโลกที่พระองค์ได้ทรงย่างพระบาทมาก่อนแล้ว จะทรงมาเดินกับมนุษย์อีกครั้งไม่ได้หรือ? พระเจ้าองค์นี้คือพระยาห์เวห์ผู้ทำหน้าที่เหมือนปุโรหิต ทรงฆ่าสัตว์และทำเสื้อคลุมกายอาดัมกับเอวา ทรงลบมลทินให้พวกเขา (“ปกปิด” และ “ลบมลทิน” มีรากศัพท์เดียวกันในภาษาฮีบรู) พระยาห์เวห์องค์เดียวกันนี้ได้เสด็จมาช่วยเราให้รอด
“คือพระเจ้าผู้ทรงสถิตในองค์พระคริสต์ ทรงให้โลกนี้คืนดีกับพระองค์เอง มิได้ทรงถือโทษในการละเมิดของเขา และทรงมอบพระวจนะแห่งการคืนดีกันนั้นไว้กับเรา”[76] (2 โครินธ์ 5:19 ฉบับไทยคิงเจมส์) ความเชื่อในตรีเอกานุภาพบอกว่า พระคริสต์เสด็จลงมาและทำให้โลกคืนดีกันกับพระเจ้า พระคริสต์ทรงทำให้โลกคืนดีกับพระเจ้าก็จริงแต่ว่าเป็นพระยาห์เวห์ในพระคริสต์ที่เสด็จเข้ามาในโลกเพื่อทำให้โลกกลับมาคืนดีกับพระองค์เอง พระองค์ไม่ได้ทรงนับการละเมิดของเราเช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงมีพระเมตตากับอาดัม เอวา และคาอิน “และทรงมอบพระวจนะแห่งการคืนดีกันนั้นไว้กับเรา” (ตรงนี้ “พระวจนะ”[77] คือ “โลกอน, lo,gon” เป็นกรรมการก[78] คือกรรมตรงของกริยาแท้ของ “โลกอส, ”)
“พระวาทะ” ไม่เคยเป็นชื่อเรียกพระเยซู
นี่นำเราไปสู่อีกประเด็นของการตีความในยอห์น 1:1 ที่คำ “Logos” (พระวาทะ) ไม่เคยถูกใช้เป็นชื่อเรียกพระเยซูในพระกิตติคุณยอห์นเลย นอกจากนั้นพระเยซูก็ไม่เคยถูกเรียกว่า “logos (พระวาทะ)” ในข้อต่างๆหลังยอห์น 1:1 แท้จริงแล้วคำ “logos” ในพระคัมภีร์ใหม่ทั้งเล่มไม่เคยถูกนำมาใช้กับพระเยซู มีเพียงข้อเดียวที่อาจใช้กับพระเยซูคือวิวรณ์ 19:13 แต่ก็ยังเป็นข้อสงสัยของนักวิชาการพระคัมภีร์ใหม่หลายคน ในข้อนี้ผู้ที่เรียกว่า “พระวาทะของพระเจ้า” ทรงม้าขาว “พระองค์ทรงฉลองพระองค์ที่ได้จุ่มในเลือด และพระนามที่เรียกพระองค์นั้นคือ พระวาทะของพระเจ้า” (ฉบับมาตรฐาน 2011)
ยอห์น 1:1 พูดถึง “พระวาทะ” ว่าเป็น “พระวจนะ[79]ของพระเจ้า” มากกว่า ในพระคัมภีร์ “พระวจนะของพระเจ้า” จะหมายถึงการเปิดเผยของพระเจ้าเสมอ และไม่เคยหมายถึงองค์พระคริสต์ ข้อยกเว้นข้อเดียวที่เป็นไปได้ก็คือวิวรณ์ 19:13 ที่เพิ่งกล่าวถึง แต่เมื่อตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วแม้ข้อนี้ก็ไม่น่าจะหมายถึงพระเยซู คุณอาจคิดว่า “จุ่มลงในเลือด” นั้นหมายถึงพระเยซู แต่ไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะที่จริงเหตุการณ์ทั้งหมดนั้นที่จริงสำเร็จตามคำเผยพระวจนะในอิสยาห์ 63
2ทำไมฉลองพระองค์ของพระองค์จึงมีสีแดง และเครื่องทรงของพระองค์เหมือนของคนย่ำในบ่อย่ำองุ่น 3“เราย่ำบ่อองุ่นตามลำพัง และไม่มีใครจากชนชาติทั้งหลายอยู่กับเราเลย เราย่ำมันด้วยความโกรธของเรา เราเหยียบมันด้วยความพิโรธของเรา โลหิตของเขาเปื้อนอยู่บนเสื้อผ้าของเรา และเราทำให้เครื่องแต่งกายของเราเลอะไปหมด 4เพราะวันแห่งการแก้แค้นอยู่ในใจเรา และปีแห่งการไถ่ของเรามาถึง 5เรามองดู แต่ไม่มีใครช่วยเหลือ เราประหลาดใจ แต่ไม่มีผู้เกื้อหนุน แขนของเราเองจึงนำการช่วยกู้มาให้เรา และความโกรธของเรานั้นเกื้อหนุนเรา 6เราเหยียบชนชาติทั้งหลายลงด้วยความโกรธของเรา เราทำให้เขาเมาด้วยความพิโรธของเรา และเราเทโลหิตของพวกเขาบนแผ่นดินโลก” (ฉบับมาตรฐาน 2011)
พระยาห์เวห์เหยียบมันด้วยความพิโรธ ฉลองพระองค์ของพระองค์ที่จุ่มในเลือดของศัตรูของพระองค์ไม่ใช่พระโลหิตของพระองค์เอง เมื่อคุณดูต่อไปในวิวรณ์คุณจะเจอนิมิตของกองทัพทั้งหลายในสวรรค์ที่นำโดยพระยาห์เวห์พระองค์เอง “กองทัพทั้งหลายในสวรรค์นุ่งห่มผ้าป่านเนื้อละเอียด สีขาวสะอาด ขี่ม้าขาวตามเสด็จพระองค์ไป” (วิวรณ์ 19:14 ฉบับมาตรฐาน 2011) ชื่อหนึ่งของพระยาห์เวห์คือพระเจ้าจอมโยธา หรือพระเจ้าแห่งกองทัพ
วิวรณ์ 19:14 อาจกล่าวถึงพระเยซูแต่ก็ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเช่นนั้น ข้อ 16 พูดถึงกษัตริย์เหนือกษัตริย์ทั้งหลายและเจ้านายเหนือเจ้านายทั้งหลาย บางคนมองว่านี่เป็นชื่อที่เรียกพระเยซู มันอาจจะใช่หรืออาจจะไม่ใช่ ใน 1 ทิโมธี 6:15 ผู้เป็นพระมหากษัตริย์เหนือกษัตริย์ทั้งหลายและเป็นองค์เจ้านายเหนือบรรดาเจ้านายนั้นคือพระยาห์เวห์พระเจ้า
มีอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับยอห์น 1:1 คือผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพกล่าวว่า พระวาทะ (Logos) กับพระเยซูเป็นบุคคลเดียวกันและเหมือนกัน แต่นั่นคือสิ่งที่ถูกคิดขึ้นตามความเชื่อในตรีเอกานุภาพ ในยอห์น 1:1 พระวาทะ (Logos) ดำรงอยู่ก่อนและหมายถึงคำตรัสของพระเจ้าที่พระเจ้าทรงเปิดเผยพระองค์เองซึ่งมีอยู่ทั่วทั้งพระคัมภีร์เดิม การเสด็จเข้ามาในโลกของพระยาห์เวห์ในองค์พระเยซูนั้นเป็นการเปิดเผยพระองค์เองมากสุดเท่าที่เคยมีในพระวาทะสุดท้ายนี้ พระวาทะนี้คือพระยาห์เวห์เองเพราะ “พระวาทะเป็นพระเจ้า” (“the Word was God”)
ยอห์น 1:1 มีรูปแบบคล้ายกันกับ 1 ยอห์น 1:1 ในเล่มหลัง “พระวาทะ” ไม่ได้หมายถึงบุคคลแต่หมายถึงถ้อยคำของพระเจ้าและเป็นการเปิดเผยพระองค์เองซึ่งตอนนี้เห็นประจักษ์ในพระเยซู “สิ่งที่มีมาตั้งแต่ปฐมกาล ซึ่งเราได้ยิน ได้เห็นกับตา ได้พินิจดู และจับต้องด้วยมือของเรานั้น คือพระวาทะแห่งชีวิต” (1 ยอห์น 1:1 ฉบับมาตรฐาน 2011) รูปแบบเดียวกันที่ปรากฏให้เห็นคือ “ตั้งแต่ปฐมกาล” ใน 1 ยอห์น 1:1 เทียบได้กับ “ในปฐมกาล” ในยอห์น 1:1 และ “พระวาทะแห่งชีวิต” ก็เทียบได้กับ “พระวาทะ” พระวาทะที่ “จับต้องด้วยมือของเรา” นั้นบอกถึงการเสด็จมาอย่างมีตัวตนของพระยาห์เวห์ในองค์พระเยซูในกายเนื้อหนัง
ทูตของพระเจ้า
สิ่งนี้เตือนเราถึงความจริงที่น่าประหลาดใจว่า ในพระคัมภีร์เดิมทูตของพระเจ้ามักจะปรากฏตัวเป็นมนุษย์และมักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นคนของพระเจ้า ในผู้วินิจฉัย 13 ทูตของพระเจ้าปรากฏกับมาโนอาห์และภรรยาของเขา ผู้เป็นพ่อแม่ของแซมสันในเวลาต่อมา พวกเขาคิดว่ากำลังพูดอยู่กับคนของพระเจ้าแต่ถึงอย่างนั้นก็เป็นมนุษย์ แต่แล้วพวกเขาก็เริ่มเห็นว่าชายผู้นี้ไม่ใช่คนธรรมดาแต่ทว่าเป็นทูตของพระเจ้า
ในพระคัมภีร์เดิมเมื่อทูตของพระเจ้า(หรือทูตสวรรค์องค์หนึ่งองค์ใด)ปรากฏกับผู้คนก็มักจะมองดูเหมือนกับมนุษย์ ความเข้าใจของเราเกี่ยวกับพวกทูตสวรรค์ว่ามีปีกใหญ่ๆที่สามารถถอดออกได้เพราะพวกทูตสวรรค์จะไม่ปรากฏตัวกับเหล่ามนุษย์พร้อมกับปีก เราจะเห็นว่าพวกทูตสวรรค์บางองค์มีปีก เครูบเป็นพวกทูตสวรรค์ที่กางปีกคลุมหีบพันธสัญญาซึ่งอย่างน้อยก็ทำให้เราเห็นภาพ เสราฟิมมีปีกแต่ไม่ค่อยได้ถูกกล่าวถึงนอกจากในอิสยาห์บท 6 ที่เป็นภาพในสวรรค์ เมื่อเหล่าทูตสวรรค์อยู่ในสวรรคสถานก็จะเห็นภาพว่ามีปีก แต่เมื่อพวกทูตสวรรค์ปฏิสัมพันธ์กับเหล่ามนุษย์ก็จะปรากฏตัวโดยไม่มีปีกและมองไม่แตกต่างจากพวกมนุษย์
“อย่าละเลยที่จะต้อนรับแขกแปลกหน้า เพราะว่าโดยการทำเช่นนั้น บางคนก็ได้ต้อนรับทูตสวรรค์โดยไม่รู้ตัว” (ฮีบรู 13:2 ฉบับมาตรฐาน 2011) บางคนได้ต้อนรับเหล่าทูตสวรรค์ที่ปรากฏตัวในรูปของมนุษย์ จงอย่าแปลกใจถ้าวันหนึ่งวันใดคุณอาจได้จับมือทักทายกับใครสักคนแล้วพบว่าเขาเป็นทูตสวรรค์
มาโนอาห์วิงวอนผู้ที่เขาคิดว่าเป็นมนุษย์แต่ที่จริงเป็นทูตของพระเจ้าให้อยู่ต่อ เขาจะได้เตรียมลูกแพะมาให้เป็นการขอบคุณที่บอกข่าวว่าเขากับภรรยาจะมีบุตรชาย ทูตของพระเจ้าไม่ยอมกินอาหารของเขาแต่บอกให้มาโนอาห์ถวายลูกแพะเป็นเครื่องเผาบูชาแด่พระยาห์เวห์ มาโนอาห์ก็ทำตามที่ทูตของพระเจ้าบอก และเขาเตรียมลูกแพะเป็นเครื่องเผาบูชาพร้อมกับธัญบูชาและถวายกับพระเจ้า เมื่อเปลวไฟจากแท่นบูชาพลุ่งขึ้นถึงสวรรค์ ทูตของพระเจ้าก็ขึ้นไปตามเปลวไฟและหายไป มาโนอาห์กับภรรยาจึงรู้ว่าพวกเขาได้พูดอยู่กับทูตของพระเจ้า มาโนอาห์พูดกับภรรยาว่า “เราคงจะตายแน่ๆ เพราะเราได้เห็นพระเจ้า” (ผู้วินิจฉัย 13:22 ฉบับมาตรฐาน 2011) และอัศจรรย์ใจว่าที่พวกเขาไม่ตายที่ได้เห็นพระเจ้า แต่ภรรยาของมาโนอาห์ให้เหตุผล(ได้ถูกต้อง)ว่าถ้าพระเจ้าต้องการจะฆ่าพวกเขา พระองค์ก็คงไม่รับเครื่องเผาบูชาและธัญบูชาของพวกเขาหรือสำแดงสิ่งพิเศษเหล่านี้กับพวกเขา (ข้อ 23)
ลูกา 24 บอกเราว่าในวันฟื้นคืนพระชนม์มีทูตสวรรค์สององค์สวมเครื่องแต่งกายส่องแสงแวววาวมาปรากฏกับพวกผู้หญิงกลุ่มเล็กๆที่อุโมงค์ของพระเยซู พวกผู้หญิงมองไม่ออกว่าพวกทูตแตกต่างจากมนุษย์ด้วยกันเว้นก็แต่ความวาววับจากเสื้อผ้าของพวกเขา ในเวลาต่อมาพวกเขาจึงรู้ว่าพวกเขาได้พูดคุยอยู่กับพวกทูตสวรรค์
ที่ผ่านมาผมคิดว่า ผมสามารถใช้แนวคิดเรื่องทูตของพระเจ้าว่าเป็นพระเจ้าพระองค์ที่สองหรือว่าเป็นพระวาทะ (Logos) แม้ว่าผมจะไม่พบความเกี่ยวโยงชัดๆระหว่างพระวาทะ (Logos) กับทูตของพระเจ้า เมื่อผมศึกษาเรื่องนี้ผมพบว่าตามบันทึกของพระคัมภีร์เดิมนั้นมีทูตของพระเจ้าปรากฏถึงหกสิบครั้งซึ่งที่จริงก็คือพระยาห์เวห์ที่ปรากฏในรูปมนุษย์ การที่พระยาห์เวห์ทรงดำเนินอยู่บนโลกนี้และพูดคุยกับผู้คนจึงเป็นเรื่องไม่น่าสงสัยเลย (เปรียบดูได้กับการปรากฏกับอับราฮัมที่ต้นโอ๊กแห่งมัมเรในปฐมกาล 18)
พระเจ้าทรงอยู่กับเรา
เมื่อเราเห็นความรัก พระสิริ และความงดงามของพระยาห์เวห์ แล้วทำไมเรายังจะผลักพระองค์ออกไปหรือ? ขอให้คิดดูสักครู่ก่อนที่เราจะด่วนปกป้องความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์ (เหมือนที่ผมได้ทำ) ทำไมเราจึงเฉยเมยกับพระสิริของพระยาห์เวห์จนเรากำลังจะผลักพระองค์ออกไปเพื่อให้พระเยซูเป็นพระเจ้าที่เราต้องการให้เป็น? นั่นเป็นสิ่งที่พระเยซูไม่ต้องการให้เราทำ พระองค์ไม่ได้แสวงหาทางที่จะเท่าเทียมกับพระบิดาแต่กระนั้นเราก็ทำให้ทั้งสองพระองค์เท่าเทียมกัน ทำไมเราจึงทำในสิ่งที่พระเยซูทรงบอกไม่ให้เราทำ? และทำไมเราจึงไม่ทำในสิ่งที่พระเยซูบอกให้เราทำ เช่นการถวายเกียรติพระยาห์เวห์พระบิดาของพระองค์?
“และเราก็มีสามัคคีธรรมกับพระบิดา และกับพระเยซูคริสต์พระบุตรของพระองค์” (1 ยอห์น 1:3) ผมไม่ได้กำลังบอกว่าเราไม่ต้องการพระเยซูหรือว่าเราควรจะลืมพระองค์เสีย เราจะกำจัดพระเยซูออกไปไม่ได้เพราะว่า “คือพระเจ้าผู้ทรงสถิตในองค์พระคริสต์ ทรงให้โลกนี้คืนดีกันกับพระองค์เอง” (2 โครินธ์ 5:19 ฉบับไทยคิงเจมส์)[80] ไม่มีใครมาถึงพระบิดาได้นอกจากทางพระเยซูผู้เป็นทางนั้น พระยาห์เวห์ทรงอยากให้แน่ใจว่าเราจะต้องไม่กันพระเยซูออกไปเช่นเดียวกับที่เราจะต้องไม่กันพระยาห์เวห์ ผู้ที่เสด็จมาช่วยเราออกไป
“เยซู” (เยชูวา)[81] เป็นคำเรียกสั้นๆของ “โยชูวา” (เยโฮชูวา)[82]มีความหมายว่า “พระยาห์เวห์ทรงช่วยให้รอด” เพราะว่าเป็นพระยาห์เวห์ที่ช่วยเราให้รอด ดังนั้นชื่อ “ยาห์เวห์” จึงปรากฏอยู่ในชื่อ “เยซู” คุณจะเอ่ยถึงพระเยซูโดยไม่ได้เอ่ยถึง “พระยาห์เวห์” ด้วยไม่ได้ และคุณก็จะกันพระยาห์เวห์ออกโดยที่คุณไม่ได้กันพระเยซูด้วยไม่ได้เช่นกัน เมื่อเราพูดว่า “ในพระนามของพระเยซู” นั้นเรากำลังพูดว่า “ในพระนามของพระยาห์เวห์ผู้ทรงช่วยเราให้รอด” ทั้งหมดนี้มาจากพระปัญญาของพระเจ้าเพื่อเราจะรู้ถึงความกว้าง ความยาว ความสูง และความลึกในความรักของพระคริสต์
พวกคุณอาจอยู่ในหมู่คนที่มีสิทธิพิเศษที่สุดตั้งแต่เริ่มต้นคริสตจักร ผมเข้าใจว่าคำสอนนี้ไม่เคยมีสอนที่ไหนเลยนับตั้งแต่ศตวรรษแรกเป็นต้นมา เป็นคำสอนที่รวมพระคัมภีร์เดิมกับพระคัมภีร์ใหม่ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างสมบูรณ์ และการโคจรในการเปิดเผยพระองค์เองของพระเจ้าก็มาบรรจบกันอย่างสมบูรณ์ พระเจ้าเสด็จกลับมายังโลก ทรงแฝงพระกายอยู่ในพระเยซูเพื่อให้มวลมนุษย์กลับคืนดีกับพระองค์ ผมคุ้นเคยอย่างดีกับหลักคำสอนเกี่ยวกับพระคริสต์และความเชื่อผิดๆที่เกี่ยวข้องกับองค์พระคริสต์ในประวัติศาสตร์ของคริสตจักร ผมแปลกใจที่คำสอนที่ผมได้สอนพวกคุณนี้ไม่เคยถูกสอนมาก่อนตั้งแต่ครั้งที่ความเชื่อในตรีเอกานุภาพมีชัยชนะและครอบงำคริสตจักร และได้ขับไล่ความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวออกไปจากคริสตจักร แต่การมีสิทธิพิเศษที่ได้ยินพระคำของพระเจ้าจึงต้องมีความรับผิดชอบตามมาในการประกาศพระคำแห่งการคืนดี
นั่นเป็นถ้อยคำที่อัศจรรย์ พระยาห์เวห์ได้เสด็จจากพระบัลลังก์อันรุ่งโรจน์ของพระองค์เข้ามาในโลก พระคัมภีร์เดิมจะกล่าวบ่อยครั้งถึงการเสด็จมาในโลกมนุษย์ของพระยาห์เวห์ พระเจ้าเสด็จลงมาดูว่าเกิดอะไรขึ้นที่หอบาเบล พระเจ้าเสด็จลงมาที่ภูเขาซีนาย และพระเยซูก็ตรัสด้วยวิญญาณจิตอย่างเดียวกันว่าพระองค์เสด็จมาเป็นอาหารแห่งชีวิต
ในสองบทนี้ผมกำลังวางรากฐานให้เข้าใจการเปิดเผยพระองค์เองของพระยาห์เวห์ในองค์พระเยซูคริสต์ซึ่งเป็นการเปิดเผยที่สำคัญ
[1] มาจากภาษาจีนว่า “耶和华”
[2] “Adonai”
[3] มาจากภาษากรีกว่า “kurios” แปลว่า “เจ้านาย” (ผู้แปล)
[4] “Septuagint”
[5] คือตัวเลข 70 ของโรมัน ( L มีค่าเท่ากับ 50, X มีค่าเท่ากับ 10, LXX จึงมีค่าเท่ากับ 70) -ผู้แปล
[6] หรือ “อาโดนาย ยาห์เวห์” ที่ควรแปลว่า “พระยาห์เวห์องค์ผู้เป็นเจ้า” (ผู้แปล)
[7] ที่อาจเป็น “Lord God (พระเจ้าองค์ผู้เป็นเจ้า)” ในฉบับภาษาอังกฤษเนื่องจากความไม่สอดคล้องที่จะใช้ “Lord LORD” ซ้ำซ้อนกัน (ผู้แปล)
[8] มาจากคำภาษาจีนว่า “亚伟” (Yawei)
[9] มาจากคำภาษาจีนว่า “耶和华” (Yehehua)
[10] มาจากคำภาษาจีนว่า “雅伟” (yǎwěi)
[11] หรือ พระองค์ที่สองที่เป็นพระเจ้าในตรีเอกานุภาพ
[12] หรือ พระองค์ที่สามที่เป็นพระเจ้าในตรีเอกานุภาพ
[13] Professor Ackroyd
[14] Council of Nicaea
[15] Marcion บิช็อปของคริสเตียนในยุคแรกๆ
[16] Gnosticism คือความเชื่อว่าความรู้เป็นทางไปสู่ความรอดในการหลุดพ้นจากโลกแห่งวัตถุซึ่งมีสิ่งชั่วร้ายและเข้าไปในชีวิตฝ่ายวิญญาณที่ช่วยให้รอดได้ (ผู้แปล)
[17] The Da Vinci Code ชื่อภาพพยนต์ที่โด่งดังจากนวนิยายแนวลึกลับแบบสืบสวนของแดน บราวน์ซึ่งอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยมีข้อเท็จจริงประกอบอยู่เพียงส่วนหนึ่งเพื่อเสริมให้เกิดความน่าเชื่อถือว่ามีหลักฐานสนับสนุนความเชื่อเกี่ยวกับศาสนา (ผู้แปล)
[18] มาจากคำกรีกว่า “gnosis”
[19] Monasticism คือความเชื่อเรื่องการอุทิศตัวให้กับศาสนาโดยการสละชีวิตทางโลกเพื่ออุทิศตนอย่างเต็มตัวในทางธรรม (ผู้แปล)
[20] Docetism คือหลักคำสอนของคริสเตียนในยุคแรกที่เชื่อว่าพระคริสต์ไม่ได้มีร่างกายของมนุษย์แต่เป็นกายวิญญาณที่ทุกข์ทรมานและตายบนกางเขน เป็นความเชื่อที่ถูกต่อต้านและถือว่าเชื่อผิดในสมัยของคริสเตียนยุคแรกๆ (ผู้แปล)
[21] Christocentric
[22] มาระโก 12:29 พระเยซูจึงตรัสตอบคนนั้นว่า “พระบัญญัติอันดับแรกคือ โอ ชนอิสราเอล จงฟังเถิด องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราเป็นพระเจ้าองค์เดียว” (ฉบับมาตรฐาน 2011)-ผู้แปล
[23] “Hear O Israel, the LORD our God, the LORD is one.” (Deuteronomy 6:4)
[24] จากฉบับมาตรฐาน 2011 ส่วนฉบับ 1971 แปลไว้ว่า “และพวกท่านจงรักพระเจ้าด้วยสุดจิตสุดใจของท่าน ด้วยสุดความคิดและด้วยสิ้นสุดกำลังของท่าน” (ผู้แปลเพิ่มเติม)
[25] ลูกา 6:46 “ทำไมพวกท่านเรียกเราว่า ‘องค์พระผู้เป็นเจ้า’ แต่ไม่ทำตามสิ่งที่เราบอกนั้น?” (ฉบับมาตรฐาน 2011)
ฉบับ 1971 แปลว่า “เหตุไฉนท่านทั้งหลายจึงเรียกเราว่า ‘พระองค์เจ้าข้า พระองค์เจ้าข้า’ แต่ไม่กระทำตามที่เราบอกนั้น”(ผู้แปล)
[26] ยอห์น 6:15 “พระเยซูทรงทราบว่าพวกเขาตั้งใจจะมาใช้กำลังบังคับให้พระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ จึงเสด็จเลี่ยงขึ้นไปบนภูเขาแต่ลำพังอีก” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย) -ผู้แปล
[27] “โดยพระองค์ทุกสิ่งได้รับการทรงสร้างขึ้น” (โคโลสี 1:16 ฉบับมาตรฐาน 2011)
[28] คำว่า “พระเจ้า” หรือ “theos” ใช้เรียกพระเจ้าของอิสราเอล หรือเรียกพระอื่นๆ (ผู้แปล)
[29] H.A.W. Meyer ผู้เขียนคู่มืออรรถาธิบายพระคัมภีร์ใหม่ของศตวรรษที่ 19 (ผู้แปล)
[30] ฉบับมาตรฐาน 2011
[31] English Standard Version
[32] Pentateuch (เพนทาทูค) penta “เพนทา” หมายถึง “ห้า”
[33] The New Testament canon
[34] “word of the Lord”
[35] “the Word” หรือแปลได้อีกว่า “ถ้อยคำ พระคำ หรือพระดำรัส” (ผู้แปล)
[36] คือ “the word” คำเดียวกันซึ่งแปลได้ว่า “ถ้อยคำ พระคำ พระดำรัส หรือพระวาทะ” (ผู้แปล)
[37] มาจากคำฮีบรู “” (ฮา เดบาร์อิม) คำอังกฤษคือ “the words”
[38] มาจากคำฮีบรู “” (ดาบาร์) คำอังกฤษคือ “word”
[39] มาจากคำกรีก “” (โลกอส)
[40] มาจากคำกรีก “” (เรม่า)
[41] ปฐมกาล 15:4 เวลานั้นพระดำรัสของพระยาห์เวห์มาถึงอับรามว่า “คนนี้จะไม่ได้เป็นผู้รับมรดกของเจ้า แต่บุตรชายที่เกิดจากเจ้าจะเป็นผู้รับมรดกของเจ้า” (ฉบับมาตรฐาน 2011) -ผู้แปล
[42] มาจากคำฮีบรู (ดาบาร์-ยาห์เวห์) แต่อ่านเป็นว่า “ดาบาร์-อาโดนาย” ภาษาฮีบรูจะอ่านจากขวามาซ้าย (ผู้แปล)
[43] ปฐมกาล 15:4 “เวลานั้นพระดำรัสของพระยาห์เวห์มาถึงอับรามว่า...” (ฉบับมาตรฐาน 2011)-ผู้แปล
[44] genitive หมายถึงคำที่แสดงความเป็นเจ้าของ
[45] ผู้แปลเพิ่มเติมในส่วนท้ายเพื่อช่วยให้เข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนหมายถึงจากยอห์น 1:1 กับความหมายของ “”
[46] Merkabah
[47] อิสยาห์ 40:3 เสียงหนึ่งร้องว่า “จงเตรียมมรรคาของพระยาห์เวห์ในถิ่นทุรกันดาร จงทำทางหลวงในที่ราบแห้งแล้งให้ตรงสำหรับพระเจ้าของเรา” (ฉบับมาตรฐาน 2011)
[48] คือคำ “Im’anu”
[49] คือคำ “El”
[50] หรือแปลว่า “เจ้า” มาจากคำว่า “gods” (ภาษากรีกเป็นคำเดียวกันกับ “God”) ข้ออ้างอิงจากต้นฉบับ ยอห์น 10:34-35 ฉบับอีเอสวี
“Is it not written in your Law, ‘I said you are gods’? If he called them gods to whom the word of God came..” (ผู้แปล)
[51] อ้างอิงจากสดุดี 82:6 “เราได้กล่าวว่า ‘เจ้าทั้งหลายเป็นพระ เป็นบุตรองค์ผู้สูงสุด เจ้าทุกคนนั่นแหละ’” (ฉบับมาตรฐาน 2011) -ผู้แปล
[52] ฉบับมาตรฐาน 2011
[53] มีคาห์ 5:2 “แต่เจ้า เบธเลเฮม เอฟราธาห์ ผู้เป็นหน่วยเล็กในบรรดาตระกูลของยูดาห์ จากเจ้า จะมีผู้หนึ่งออกมาเพื่อเรา เป็นผู้ที่จะปกครองในอิสราเอล” (ผู้แปล)
[54] จากคำกรีก “” (โลกอส) หรือ “word” แปลว่า ถ้อยคำ คำพูด วจนะ หรือ วาทะ (ผู้แปล)
[55] James Dunn นักวิชาการพระคัมภีร์ใหม่ของยุคปัจจุบัน (ผู้แปล)
[56] ฉบับ 1971 และฉบับมาตรฐาน 2011 แปลสดุดี 33:6 ว่า “โดยพระวจนะของพระเจ้า(พระยาห์เวห์) ฟ้าสวรรค์ก็ถูกสร้างขึ้นมา กับบริวารทั้งปวง ก็ด้วยลมพระโอษฐ์ของพระองค์” (ผู้แปล)
[57] ยอห์น 1:1-3 1ในปฐมกาลพระวาทะทรงดำรงอยู่ และพระวาทะทรงอยู่กับพระเจ้า และพระวาทะทรงเป็นพระเจ้า 2 ในปฐมกาลพระองค์ทรงอยู่กับพระเจ้า 3 พระเจ้าทรงสร้างสรรพสิ่งขึ้นมาโดยพระวาทะ ในบรรดาสิ่งที่เป็นอยู่นั้น ไม่มีสักสิ่งเดียวที่เป็นอยู่นอกเหนือพระวาทะ (ฉบับมาตรฐาน 2011) -ผู้แปล
[58] ผู้แปลเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจชัดเจนขึ้น
[59] Greek Stoic philosophy (ปรัชญาของการมีชีวิตที่หาความสงบภายใน วิธีที่ดีที่สุดคือใช้ชีวิตทุกอย่างอย่างพอดีๆ)-ผู้แปล
[60] Philo of Alexandria (นักปรัชญายิว ช่วงก่อน ค.ศ.20-ค.ศ.50) เขาได้พยายามผสมผสานปรัชญากรีกกับปรัชญายิวเข้าด้วยกัน (ผู้แปล)
[61] Judaism
[62] อ่านว่า “พรอส”
[63] ปฐมกาล 15:4 เวลานั้นพระดำรัสของพระยาห์เวห์มาถึงอับรามว่า “คนนี้จะไม่ได้เป็นผู้รับมรดกของเจ้า แต่บุตรชายที่เกิดจากเจ้าจะเป็นผู้รับมรดกของเจ้า” (ฉบับมาตรฐาน 2011)
[64] Greek lexicon
[65] “And the logos was to God”
[66] definite article
[67] Predicative คือภาคแสดงของประโยคซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับประธานที่ใช้เพื่อกล่าวซ้ำถึงประธานว่าเป็นใคร (ในกรณีนี้ พระเจ้าเป็นวาทะ หรือ คำตรัส)
[68] หรือ “and God was the Word” (ผู้แปล)
[69] อ่านว่า “เธ-ออส” แปลว่า “พระเจ้า” หรือ “พระ” หรือ “เจ้า” (ภาษาอังกฤษคือคำ “God” หรือ “god”) -ผู้แปล
[70] 2 เปโตร 1:4 “โดยสิ่งเหล่านี้พระองค์จึงได้ประทานพระสัญญาอันล้ำค่าและยิ่งใหญ่แก่เรา เพื่อว่าโดยพระสัญญาเหล่านี้ พวกท่านจะพ้นจากความเสื่อมทรามที่มีอยู่ในโลกอันเกิดจากความปรารถนาชั่ว และจะมีส่วนในพระลักษณะของพระเจ้า” (ฉบับมาตรฐาน 2011)
[71] ฉบับไทยคิงเจมส์แปลยอห์น 1:14 ว่า “พระวาทะได้ทรงสภาพของเนื้อหนังและทรงอยู่ท่ามกลางเรา”
[72] ฉบับมาตรฐาน 2011 แปลวิวรณ์ 21:3 ว่า “ที่ประทับของพระเจ้าอยู่กับมนุษย์แล้ว และพระองค์จะประทับกับเขาทั้งหลาย” (ผู้แปล)
[73] 2 โครินธ์ 5:1, 4 “1บัดนี้เรารู้อยู่ว่าหากเต็นท์ฝ่ายโลกนี้ที่เราอาศัยอยู่ถูกทำลายลง เราก็มีบ้านจากพระเจ้า คือบ้านนิรันดร์ในสวรรค์ ซึ่งไม่ได้สร้างด้วยมือมนุษย์...4เพราะขณะเรายังอยู่ในเต็นท์นี้” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)
2 โครินธ์ 5:1, 4 “1เพราะเรารู้ว่าถ้าเรือนดินแห่งพลับพลาของเรานี่จะพังทำลายเสีย เราก็ยังมีที่อาศัยที่พระเจ้าโปรดประทานให้ไม่ได้สร้างด้วยมือมนุษย์...4เพราะว่าเราอาศัยในพลับพลานี้ (ฉบับไทยคิงเจมส์)
2 โครินธ์ 5:1,4 “1เพราะเรารู้ว่าถ้าเรือนกาย1 บนโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ถูกทำลายไป เราก็ยังมีที่อาศัยซึ่งมาจากพระเจ้า ที่ไม่ได้สร้างด้วยมือมนุษย์... 4เพราะว่าเราที่อยู่ในเรือนกายนี้คร่ำครวญและเป็นทุกข์” (ฉบับมาตรฐาน 1คำว่า เรือนกายในข้อนี้ และข้อ 4 ภาษากรีกแปลตรงตัวว่า เต็นท์หรือกระโจม) - ผู้แปล
[74] จากฉบับมาตรฐาน 2011
โคโลสี 2:9 ฉบับ 1971 “เพราะว่าในพระองค์(หมายถึงพระเยซู)นั้น สภาพของพระเจ้าดำรงอยู่อย่างบริบูรณ์”
โคโลสี 2:9 ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย “เพราะในพระคริสต์ พระลักษณะทั้งสิ้นของพระเจ้าดำรงอยู่อย่างบริบูรณ์ในพระกายของพระองค์
[75] เราไม่จำเป็นต้องถามคำถามเช่น “ถ้าพระยาห์เวห์ทรงอยู่บนโลกนี้ แฝงพระองค์ในพระเยซู แล้วใครจะดูแลสวรรค์และโลกในช่วงนั้น คำถามนี้ตอบไม่ยาก เมื่อพระยาห์เวห์กำลังทรงพลับพลาอยู่กับชนอิสราเอลเป็นเวลาสี่สิบปีนั้นได้เกิดกลียุคอะไรไหมกับสวรรค์และโลก? แล้วสวรรค์แตกเป็นเสี่ยงๆในช่วงสี่สิบปีที่พระยาห์เวห์ทรงใช้เวลากับชนอิสราเอลไหม? พระยาห์เวห์ทรงใช้เวลาน้อยกว่านั้นคือราว 33 ปีที่สถิตอยู่ในพระกายของพระเยซูด้วยความบริบูรณ์ทั้งสิ้นของพระองค์ ไม่จำเป็นที่พระเจ้าต้องให้ส่วนหนึ่งของพระองค์อยู่ในสวรรค์เพื่อมั่นใจว่าจักรวาลของพระองค์จะดำเนินไปได้อย่างราบรื่น พระองค์ทรงสามารถดูแลจักรวาลของพระองค์เองจากที่ไหนก็ได้ และในสภาวะใดก็ได้
[76] ฉบับ 1971 และฉบับมาตรฐาน 2012 แปล 2 โครินธ์ 5:19 เหมือนกันว่า “คือพระเจ้าทรงให้โลกนี้คืนดีกับพระองค์โดยพระคริสต์ไม่ทรงถือโทษในความผิดของพวกเขา และทรงมอบเรื่องราวการคืนดีนี้ให้เราประกาศ” (ผู้แปล)
[77] หรือ “พระวาทะ” มาจากคำกรีก “”คำเดียวกัน (ผู้แปล)
[78] accusative หมายถึง คำที่ทำหน้าเป็นที่กรรมของประโยค (ผู้แปล)
[79] หรือบางทีใช้คำว่า “พระดำรัส” หรือ “คำตรัส” (ผู้แปล)
[80] ฉบับมาตรฐาน 2011 และฉบับ 1971 แปล 2 โครินธ์ 5:19 ว่า “คือพระเจ้าทรงให้โลกนี้คืนดีกับพระองค์โดยพระคริสต์”
[81] Yeshua
[82] Yehoshua