pdf pic

 

ภาคผนวก 7

 

ต้นกำเนิดของ “แก่นแท้เดียวกัน”

ตามความเชื่อแบบนอสติก

 

 

      าจมีงานเขียนทางวิชาการหลายร้อยหลายพันชิ้นที่เขียนเกี่ยวกับความเชื่อแบบนอสติก ซึ่งเป็นขบวนการลึกลับที่เป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อคริสตจักรยุคแรก คำอธิบายสั้นๆสองประการต่อไปนี้เกี่ยวกับความเชื่อแบบนอสติกจากที่อ้างอิงสองแห่งก็เพียงพอแล้วสำหรับจุดประสงค์ของเรา

 

พจนานุกรมอังกฤษฉบับอ็อกซ์ฟอร์ด (2010):[1] “ความเชื่อแบบนอสติกเป็นขบวนการนอกรีตที่โดดเด่นของคริสตจักรคริสเตียนในศตวรรษที่ 2 เป็นส่วนของจุดเริ่มต้นช่วงก่อนเริ่มยุคของคริสเตียน หลักคำสอนแบบนอสติกได้สอนว่า โลกถูกสร้างขึ้นและปกครองโดยผู้สร้างที่รองจากพระเจ้า ผู้รับผิด ชอบในการสร้างจักรวาล และพระคริสต์ทรงเป็นทูตของพระเจ้าสูงสุดที่อยู่ไกลโพ้น ความรู้ที่ลึกลับ (gnosis) ซึ่งทำให้สามารถไถ่จิตวิญญาณมนุษย์ได้

 

สารานุกรมเอ็นคาร์ตา 2007:[2] “ความเชื่อแบบนอสติก เป็นขบวนการทางศาสนาที่ลึกลับ ซึ่งเฟื่องฟูในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 2 และ 3 และนำเสนอความท้าทายที่สำคัญต่อความเชื่อของคริสเตียนแบบออร์โธดอกซ์ นิกายนอสติกส่วนใหญ่ประกาศตัวเป็นคริสเตียน แต่ความเชื่อของพวกเขาแตกต่างอย่างมากจากพวกคริสเตียนส่วนใหญ่ในคริสตจักรยุคแรกๆ (ดูลัทธินอกรีต) คำว่า gnosticism มาจากคำกรีกว่า gnosis (‘ความรู้ที่ถูกเปิดเผย’) สำหรับบรรดาผู้ยึดมั่นแล้ว ความเชื่อแบบนอสติกให้คำมั่นกับความรู้ที่เป็นความลับของอาณาจักรพระเจ้า ลูกไฟหรือเมล็ดพันธุ์ของพระเจ้าตกลงมาจากอาณาจักรที่เหนือธรรมชาตินี้เข้ามาสู่จักรวาลวัตถุซึ่งเป็นสิ่งชั่วร้ายทั้งสิ้น และถูกกักขังอยู่ในร่างกายมนุษย์ การกระตุ้นเตือนโดยความรู้ จะทำให้ส่วนของพระเจ้าในมวลมนุษย์ สามารถกลับสู่ที่อาศัยที่เหมาะสมในอาณาจักรฝ่ายวิญญาณที่เหนือธรรมชาติ” (“หลักความเชื่อแบบนอสติก” ย่อหน้าที่ 1, เอ็นคาร์ตา 2007)

 

 

      แหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งจากสมัยโบราณและสมัยใหม่ ได้กล่าวถึงต้นกำเนิดของคำว่า homoousios (ὁμοούσιος, แก่นแท้เดียวกัน) ของความเชื่อแบบนอสติกที่ได้รับการยอมรับอย่างมีข้อโต้แย้งโดยสภาสังคายนาแห่งไนเซียเพื่อยืนยันว่าพระบิดาและพระบุตรมี “แก่นแท้เดียวกัน” หรือ “เนื้อแท้เดียวกัน” ต้นกำเนิดของความเชื่อแบบนอสติกเป็นหนึ่งในหลายเหตุผลที่ทำให้คำนี้เป็นที่ข้องใจและเป็นเป้าหมายของการวิจารณ์ แม้กระทั่งจากบางคนที่ต่อมาได้ยอมรับหลักข้อเชื่อไนเซีย ในการถกเถียงที่นำไปสู่ข้อกำหนดของข้อเชื่อไนเซีย[3]

      การอภิปรายที่มีเอกสารประกอบอย่างเชี่ยวชาญและพิถีพิถันเกี่ยวกับต้นกำเนิด homoousios ของความเชื่อแบบนอสติกนั้น จะพบในย่อหน้าหนึ่งของบทความ Homoousian ในวิกิพีเดียภายใต้หัวข้อ “การใช้คำศัพท์ก่อนการประชุมข้อเชื่อแห่งไนเซีย”[4]

 

บทความ “Homoousian” จากวิกิพีเดีย

การใช้คำศัพท์ก่อนการประชุมแห่งไนเซีย

คำว่า μοούσιος (homoousios) ได้ถูกนำมาใช้ก่อนที่จะรับรองโดยศาสนศาสตร์ไนเซีย พวกผู้เชื่อแบบนอสติกเป็นนักศาสนศาสตร์พวกแรกที่ใช้คำ homoousios ในขณะที่แต่ก่อนนั้นพวกผู้เชื่อแบบนอสติกไม่มีร่องรอยของคำนี้อยู่เลย[5] เป็นไปได้มากว่าพวกนักศาสนศาสตร์คริสตจักรยุคแรกๆคง จะได้รับรู้ถึงแนวคิดนี้ และด้วยเหตุนี้จึงมีหลักคำสอนเกี่ยวกับการมีต้นกำเนิดโดยพวกผู้เชื่อแบบ     นอสติก[6] คำว่า homoousios ในต้นฉบับของพวกผู้เชื่อแบบนอสติกได้ใช้กับความหมายเหล่านี้คือ (1) เอกลักษณ์ของแก่นแท้ระหว่างการให้บังเกิดและถูกทำให้บังเกิดขึ้น (2) เอกลักษณ์ของแก่นแท้ระหว่างสิ่งที่ถูกทำให้บังเกิดขึ้นจากแก่นแท้แบบเดียวกัน (3) เอกลักษณ์ของแก่นแท้ระหว่างคู่ที่อยู่ตรงข้ามกัน ตัวอย่างเช่น บาสิลิดิส นักคิดที่เชื่อแบบนอสติกซึ่งรู้กันว่าเป็นคนแรกที่ใช้ homoousios ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 2 พูดถึงสามสภาวะของการเป็นบุตรที่มีเนื้อแท้เดียวกับพระเจ้าผู้ไม่ได้เป็น[7] ปโตเลมีผู้เชื่อแบบนอสติกผู้เป็นศิษย์ของวาเลนตินัสอ้างในจดหมายของเขาถึงฟลอรา[8]ว่า มันเป็นธรรมชาติของพระเจ้าที่ประเสริฐ ที่จะให้กำเนิดและก่อให้เกิดเฉพาะแต่มนุษย์ที่คล้ายและมีเนื้อแท้เดียวกันกับพระองค์เอง[9] มีการใช้ Homoousios ทั่วๆไปอยู่แล้วโดยพวกผู้เชื่อแบบนอสติกในศตวรรษที่ 2 และมาเป็นที่รู้จักของบรรดาผู้ศึกษาความเชื่อนอกรีตดั้งเดิมจากงานเขียนของพวกเขา แม้ว่าการใช้คำของความเชื่อแบบนอสติกนี้ไม่ได้มีการอ้างอิงถึงความสัมพันธ์เฉพาะระหว่างพระบิดาและพระบุตรดังเช่นในหลักข้อเชื่อไนเซีย


[1] Oxford Dictionary of English

[2] Encarta 2007 Encyclopedia

[3] การค้นหาหลักคำสอนเกี่ยวกับพระเจ้าของคริสเตียน: ข้อโต้แย้งของผู้เชื่อตามแบบเอเรียส 318-381, R.C. แฮนสัน, บทที่ 7, หน้า 190-202

[4] เราอ้างอิงย่อหน้าที่สองของบทความวิกิพีเดียเรื่อง “Homoousian” ตามที่ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2013 ที่ http://en.wikipedia.org/ wiki/Homoousian เชิงอรรถทั้งสี่ในข้อความที่ตัดตอนมานี้รวมอยู่ที่นี่อย่างครบถ้วนและไม่มีการดัดแปลงใดๆ ยกเว้นการเปลี่ยน แปลงหมายเลขเชิงอรรถจากเดิม 1 ถึง 4 แต่เปลี่ยนเป็นเชิงอรรถหมายเลขที่สูงขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับลำดับหมายเลขเชิงอรรถของหนังสือเล่มปัจจุบัน

[5] Adolf von Harnack, Dogmengeschichte, 1:284-85, n.3; 2:232-34, n.4. Ignacio Ortiz de Urbina, Lhomoousios preniceno,Orientalia Christiana Periodica 8 (1942): 194-209; Ignacio Ortiz de Urbina, El Simbolo Niceno (Madrid: Consejo Superior de Investigaciones Cientificas, 1947), 183-202. Luis M. Mendi­zabal, El Homoousios Preniceno Extraeclesiastico,Esthdios Ecle­siasticos 30 (1956):147-96. George Leonard Prestige, God in Patristic Thought (พระเจ้าในความคิดของผู้นำทางศาสนาคริสต์ในสมัยแรกเริ่ม (London: SPCK, 1936; 2d ed., 1952), 197-218. Peter Gerlitz, Aufierchristliche Einflilsse auf die Entwicklung des christlichen. Trinitatsdogmas, zugleich ein religions-und dogmengeschicht­licher Versuch zur Erklarung der Herkunft der Homousie (Leiden: Brill, 1963), 193-221. Ephrem Boularand, Lheresie dArius et la foide Nicke, vol. 2, La foide Nicee” (Paris: Letouzey & Ane, 1972), 331-53. J.N.D. Kelly, Early Christian Creeds (หลักความเชื่อต่างๆ ของคริสเตียนในยุคแรก), 3d ed. (London: Long­man, 1972), 245. Frauke Dinsen, Homoousios. Die Geschichte des Begriffs bis zum Konzil von Konstant­inopel (381), Diss. Kiel 1976, 4-11. Christo­pher Stead, Divine Substance (แก่นแท้ของพระเจ้า), 190-202.

[6] อัลลอยส์ กริลล์มายเยอร์, พระคริสต์ในคำสอนสืบทอดของคริสเตียน, เล่ม 1, จากยุคของอัครทูตจนถึงการสังคายนาแห่งแคลซีดอน (451) (ลอนดอน: เมาเบรส์, 1975), หน้า 109

[7] ตามคำกล่าวของฮิปโปลิทัส: Υἱότης τριμερής, κατὰ πάντα τῷ οὐκ ὄντι θεῷ ὁμοούσιος”. (Refutatio omnium haeresium 7:22) ดูเพิ่มเติมการใช้คำของความเชื่อแบบนอสติก, Miroslav Marcovich in Patristische Texte und Studien, 25 (Berlin: W. de Gruyter, 1986), 290f. V,8,10 (156); V,17,6.10 (186 f)

[8] Valentinian Gnostic Ptolemy; Flora หญิงร่ำรวยที่เชื่อแบบนอสติก

[9] ตามคำกล่าวของเอปิฟานิอัสที่ว่า: “Τοῦ ἀγαθοῦ φύσιν ἔχοντος τὰ ὅμοια ἑαυτῷ καὶ ὁμοούσια γεννᾶν τε καὶ προφέρειν”.  

(Panarion 33:7,8)