pdf pic

 

ภาคผนวก 4

 

สารานุกรมยิวเกี่ยวกับเมมรา (Memra)

 

 

       ต่อไปนี้เป็นบทความ “เมมรา (Memra)” ทั้งหมดจากสารานุกรมยิว ตามที่พบใน

         http://www.jewishencyclopedia.com/articles/10618-memra

บทความนี้เป็นข้อมูลเชิงวิชาการ ดังนั้นผู้อ่านส่วนใหญ่อาจต้องการอ่านข้าม ผู้ที่ใช้เวลาในการอ่านจะพบว่าสมการ เมมรา = ยาห์เวห์ (Memra = Yahweh) นั้นไม่มีข้อสงสัยเลย

ทุกอย่างในบทความต้นฉบับได้คงสภาพไว้ ยกเว้นการเปลี่ยนแปลงสองอย่างเกี่ยวกับการเรียงพิมพ์คือ (i) รูปแบบการจัดเรียงหมายเลขข้อได้ทำให้ทันสมัยขึ้น (เช่นสดุดี xxxiii.6 ตอนนี้คือสดุดี 33:6); (ii) ตัวอักษรฮีบรู “het” ถูกทับศัพท์ด้วย “ch” แทนที่จะเป็น “h+ จุดข้างใต้ ด้วยเหตุผลของแบบอักษร

หมายเลขของข้อพระคัมภีร์บางข้อในบทความนี้ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากข้อผิดพลาดจากการพิมพ์ในบทความต้นฉบับ แต่น่าจะเป็นเพราะข้อผิดพลาดในการแปลงการรู้จำอักขระด้วยแสง[1]จากฉบับพิมพ์เป็นฉบับเว็บมากกว่า

 

[เริ่มต้นบทความ]

 

เมมรา (MEMRA = “Maamar” หรือ Dibbur,” Logos”)

      “พระวาทะ”[2] ในแง่ของถ้อยคำที่สรรค์สร้าง หรือสั่งการ หรือคำตรัสของพระเจ้า ที่แสดงถึงฤทธิ์อำนาจของพระองค์ในโลกของวัตถุทางกายหรือความนึกคิด เป็นคำที่ใช้โดยเฉพาะใน “ทาร์กัม”[3] แทนคำ “the Lord” เมื่อต้องหลีกเลี่ยงถ้อยคำที่แสดงลักษณะความเหมือนมนุษย์

 

-ข้อมูลในพระคัมภีร์:

      ในพระคัมภีร์นั้น “พระดำรัสขององค์ผู้เป็นเจ้า” (“the word of the Lord)[4] โดยทั่วไปแล้วหมายถึงคำพูดที่กล่าวกับบรรพบุรุษของยิวหรือผู้เผยพระวจนะ (ปฐมกาล 15:1; กันดารวิถี 12:6, 23:5; 1 ซามูเอล 3:21; อาโมส 5:1-8);[5] แต่บ่อยครั้งก็หมายถึงคำที่สรรค์สร้างคือ “โดยพระดำรัสขององค์ผู้เป็นเจ้า ฟ้าสวรรค์ก็ถูกสร้างขึ้นมา” (สดุดี 33:6; เปรียบเทียบ “เพราะพระองค์ตรัส โลกก็เกิดขึ้นมา; “พระองค์ทรงใช้คำตรัสของพระองค์ไปละลายมันเสีย [น้ำแข็ง]; “ไฟกับลูกเห็บ หิมะกับหมอก ลมพายุ ทำตามพระดำรัสของพระองค์; สดุดี 33:9, 147:18, 148:8) ในแง่นี้มีกล่าวว่า “ข้าแต่องค์ผู้เป็นเจ้า พระวจนะของพระองค์มั่นคงอยู่ในสวรรค์เป็นนิตย์” (สุดดี 119:89) “พระวาทะ” ที่ผู้เผยพระวจนะได้ยินและประกาศในความคิดของผู้ทำนาย มักจะกลายเป็นผู้มีอำนาจที่มีประสิทธิภาพนอกเหนือจากพระเจ้า เช่น ทูตสวรรค์หรือผู้สื่อสารของพระเจ้า: “องค์ผู้เป็นเจ้าทรงใช้พระวจนะไปต่อสู้ยาโคบ และจะตกอยู่เหนืออิสราเอล” (อิสยาห์ 9:7 [A.V. 8], 55:11); “พระองค์ทรงใช้พระวจนะของพระองค์ไปรักษาเขาทั้งหลาย” (สดุดี 107:20); และเปรียบเทียบว่า “พระดำรัสของพระองค์วิ่งไปอย่างรวดเร็ว” (สดุดี 147:15)[6]

 

การทำให้ “คำพูด” กลายเป็นบุคคล

- ในงานเขียนนอกสารบบและงานเขียนเกี่ยวกับคำสอนของยิว:

      ขณะที่ในหนังสือโบราณของยิว,[7] 12:22, พระดำรัสของพระเจ้าได้ถูกส่งผ่านทูตสวรรค์มาถึงอับราฮัม ในกรณีอื่นๆพระดำรัสกลายเป็นตัวแทนที่เป็นบุคคลมากยิ่งขึ้น “โดยพระดำรัสของพระเจ้า ผลงานของพระองค์ก็มีขึ้น” (Ecclus. [Sirach] 42:15); “สรรเสริญองค์บริสุทธิ์ ผู้ได้ทรงสร้างโลกโดย ‘Ma'amar’” (Mek., Beshallach, 10, อ้างอิงถึงสดุดี 33:6) บ่อยครั้งทีเดียวที่ใช้ถ้อยคำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนมัสการว่า “พระองค์ผู้ทรงสร้างจักรวาลด้วยพระดำรัสของพระองค์ และทรงตั้งมนุษย์ด้วยพระปัญญาของพระองค์ให้ปกครองสรรพสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างขึ้น” (Wis­dom 9:1; เปรียบเทียบ “ผู้ที่โดยพระดำรัสของพระองค์ เป็นเหตุให้เกิดยามค่ำที่จะให้มีความมืด ผู้ที่เปิดประตูท้องฟ้าด้วยพระปัญญาของพระองค์”; …“ผู้ที่ทรงสร้างฟ้าสวรรค์โดยคำตรัสของพระองค์ และบริวารทั้งสิ้นของฟ้าสวรรค์โดยลมปราณจากพระโอษฐ์ของพระองค์”; โดยทาง “คำตรัส ทุกสิ่งก็ถูกสร้างขึ้น”; ดู “หนังสืออธิษฐานประจำวัน” ของซิงเกอร์,[8] หน้า 96, 290, 292) เช่นเดียวกับใน IV Esdras[9] 6:38 (“ข้าแต่องค์ผู้เป็นเจ้า พระองค์ตรัสในวันแรกของการทรงสร้างว่า ‘จงเกิดฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลก’ และคำตรัสของพระองค์ก็สำเร็จตามนั้น”) “ข้าแต่องค์ผู้เป็นเจ้า พระดำรัสของพระองค์เยียวยาทุกสิ่ง” (Wisdom 16:12) “พระดำรัสของพระองค์ปกปักรักษาผู้ที่วางใจในพระองค์” (l.c. 16:26) โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้พระดำรัสเป็นบุคคลอย่างชัดเจนใน Wisdom 18:15: “พระดำรัสที่มีฤทธานุภาพยิ่งของพระองค์ พุ่งลงมาจากสวรรค์ จากราชบัลลังก์ของพระองค์เหมือนนักรบที่ดุดัน” Mishnah[10]มีการอ้างอิงถึงสิบตอนในปฐมกาล (บทที่ 1) ที่เริ่มต้นด้วย “และพระเจ้าตรัสว่า” กล่าวถึงสิบ “ma'amarot” (= “คำพูด”) ที่โลกได้ถูกสร้างขึ้น (Abot 5:1; เปรียบเทียบ Gen. R. 4:2: “สวรรค์ชั้นบน ถูกจัดเตรียมอย่างใจจดใจจ่อโดย Ma'amar ที่สร้างสรรค์”) จากพระดำรัสทุกคำ [“dibbur”] ซึ่งออกมาจากพระเจ้า ทูตสวรรค์ก็ได้ถูกสร้างขึ้น (Hag. 14a) “พระดำรัส [“dibbur”] ไม่ได้เรียกใครนอกจากโมเสส” (Lev. R. 1:4,5) “พระดำรัส [“dibbur”] ออกจากพระหัตถ์ขวาของพระเจ้า และวนรอบค่ายของอิสราเอล” (Cant. R. 1:13)

 

- ในทาร์กัม:[11]

      ในทาร์กัมนั้น เมมรา (Memra) แสดงให้เห็นมาตลอดว่าเป็นการสำแดงถึงฤทธานุภาพของพระเจ้า หรือเป็นผู้สื่อสารของพระเจ้าแทนตัวของพระเจ้าเอง ในที่ที่ภาคแสดง[12]ไม่สอดคล้องกับศักดิ์ศรี หรือจิตวิญญาณของพระเจ้า

      แทนที่จะเป็นตามพระคัมภีร์ว่า “ถึงกระนั้นท่านก็ยังไม่ไว้วางใจองค์ผู้เป็นเจ้า” ทาร์กัมเฉลยธรรมบัญญัติ 1:32 มีว่า “ถึงกระนั้นท่านก็ยังไม่ไว้วางใจในพระดำรัสขององค์ผู้เป็นเจ้า”; แทนที่จะเป็น “เราจะกำหนดโทษ [การแก้แค้น] ผู้นั้น” ทาร์กัมเฉลยธรรมบัญญัติ 18:19 กล่าวว่า “ถ้อยคำของเราจะกำหนดโทษเขา” เป็น “เมมรา” แทนที่จะเป็น “องค์ผู้เป็นเจ้า” ผู้เป็น “เพลิงเผาผลาญ” (ทาร์กัมเฉลยธรรมบัญญัติ 9:3; เปรียบเทียบทาร์กัมอิสยาห์ 30:27) เมมรา “ทำให้ภัยพิบัติเกิดขึ้นกับประชากร” (ทาร์กัมเยรูซาเล็มกับอพยพ 32:35) “เมมราโจมตีเขาอย่างแรง” (2 ซามูเอล 6:7; เปรียบเทียบทาร์กัม 1 พงศ์กษัตริย์ 18:24; โฮเชยา 13:14; และอื่นๆ) ไม่ใช่ “พระเจ้า” แต่เป็น “เมมรา” ที่ประชาชนไปเข้าเฝ้าในทาร์กัมอพยพ 19:17 (ทาร์กัมเยรูซาเล็ม “เชกินาห์”;[13] เปรียบเทียบทาร์กัมอพยพ 25:22:[14] “เราจะสั่งเมมราของเราให้อยู่ที่นั่น”) “เราจะบังเจ้าไว้ด้วยเมมราของเรา” แทนที่จะเป็น “ด้วยมือของเรา” (ทาร์กัมอพยพ 33:22[15]) แทนที่จะเป็น “ใจของเรา” ก็เป็น “เมมราของเราจะปฏิเสธเจ้า” (ทาร์กัมเลวีนิติ 26:30; เปรียบเทียบอิสยาห์ 1:14, 42:1; เยเรมีย์ 6:8; เอเสเคียล 23:18) ได้ยิน “เสียงของเมมรา” แทนที่จะได้ยิน “เสียงของพระเจ้า” (ปฐมกาล 3:8; เฉลยธรรมบัญญัติ 4:33, 36; 5:21; อิสยาห์ 6:8; และอื่นๆ) ที่ซึ่งโมเสสกล่าวว่า “ข้าพเจ้ายืนอยู่ระหว่างองค์ผู้เป็นเจ้ากับพวกท่าน” (เฉลยธรรมบัญญัติ 5:5)[16] ทาร์กัมมี “ระหว่างเมมราขององค์ผู้เป็นเจ้ากับพวกท่าน” และ “หมายสำคัญระหว่างเรากับพวกท่าน” ก็กลายเป็น “หมายสำคัญระหว่างเมมราของเรากับพวกท่าน” (อพยพ 31:13, 17; เปรียบเทียบเลวีนิติ 26:46; ปฐมกาล 9:12; 17:2, 7, 10; เอเสเคียล 20:12) แทนที่จะเป็นพระเจ้าก็เป็นเมมราที่มาหาอาบีเมเลค (ปฐมกาล 20:3) และมาหาบาลาอัม (กันดารวิถี 23:4) เมมราของพระองค์ช่วยและติดตามไปกับอิสราเอล ทำการอัศจรรย์เพื่อพวกเขา (ทาร์กัมกันดารวิถี 23:21; เฉลยธรรมบัญญัติ 1:30, 33:3; ทาร์กัมอิสยาห์ 63:14; เยเรมีย์ 31:1; โฮเชยา 9:10 ในทาร์กัม [เปรียบเทียบ 11:3 “ทูตสวรรค์-ผู้สื่อสาร”]) เมมรานำหน้าไซรัส (อิสยาห์ 45:12) องค์ผู้เป็นเจ้าทรงปฏิญานโดยเมมราของพระองค์ (ปฐมกาล 21:23, 22:16, 24:3; อพยพ 32:13; กันดารวิถี 14:30; อิสยาห์ 45:23; เอเสเคียล 20:5; และอื่นๆ) เป็นเมมราของพระองค์ที่เสียใจ (ทาร์กัมปฐมกาล 6:6, 8:21; 1 ซามูเอล 15:11, 35) ไม่ใช่ “พระหัตถ์” ของพระองค์ แต่เป็น “เมมราของพระองค์ที่วางรากฐานแผ่นดินโลก” (ทาร์กัมอิสยาห์ 48:13); พระองค์จึงทรงกระทำเพื่อเห็นแก่เมมราหรือพระนามของพระองค์ (l.c. 48:11; 2 พงศ์กษัตริย์ 19:34) โดยทางเมมรา พระเจ้าทรงหันมาหาประชากรของพระองค์ (ทาร์กัมเลวีนิติ 26:9; 2 พงศ์กษัตริย์ 13:23) ทรงมาเป็นโล่ของอับราฮัม (ปฐมกาล 15:1) และทรงอยู่กับโมเสส (อพยพ 3:12; 4:12, 15) และอยู่กับคนอิสราเอล (ทาร์กัมเยรูซาเล็มกับกันดารวิถี 10:35, 36; อิสยาห์ 63:14) เป็นเมมรา ไม่ใช่พระเจ้าเอง ที่มนุษย์ล่วงละเมิด (อพยพ 16:8; กันดารวิถี 14:5; 1 พงศ์กษัตริย์ 8:50; 2 พงศ์กษัตริย์ 19:28; อิสยาห์ 1:2,16; 45:3, 20; โฮเชยา 5:7, 6:7; ทาร์กัมเยรูซาเล็มกับเลวีนิติ 5:21; 6:2; เฉลยธรรมบัญญัติ 5:11); โดยทางเมมรานั้น ชนอิสราเอลจะได้รับความชอบธรรม (ทาร์กัมอิสยาห์ 45:25); ชนอิสราเอลมีส่วนร่วมกับเมมรา (ทาร์กัมโยชูวา 22:24, 27); มนุษย์วางใจของเขาในเมมรา (ทาร์กัมปฐมกาล 15:6; ทาร์กัมเยรูซาเล็มกับอพยพ 14:31; เยเรมีย์ 39:18, 49:11)

 

การทำหน้าที่เป็นผู้กลาง

      เช่นเดียวกับเชกินาห์ (เปรียบเทียบทาร์กัมกันดารวิถี 23:21) เมมราจึงเป็นการสำแดงของพระเจ้า “เมมรานำคนอิสราเอลเข้ามาใกล้พระเจ้า และนั่งบนพระที่นั่งของพระองค์เพื่อรับคำอธิษฐานของคนอิสราเอล” (ทาร์กัมเยรูซาเล็มกับเฉลยธรรมบัญญัติ 4:7[17]) มันปกป้องโนอาห์จากน้ำท่วม (ทาร์กัมเยรูซาเล็มกับปฐมกาล 7:16) และทำให้เกิดการกระจายตัวของเจ็ดสิบประเทศ (l.c. 11:8); มันเป็นผู้คุ้มครองยาโคบ (ปฐมกาล 28:20-21; 35:3) และชนอิสราเอล (ทาร์กัมเยรูซาเล็มกับอพยพ 12:23,29); มันทำการอัศจรรย์ทั้งหมดในอียิปต์ (l.c. ปฐมกาล 13:8, 14:25); ทำให้ใจของฟาโรห์แข็งกระด้าง (l.c. 13:15); นำหน้าชนอิสราเอลในถิ่นทุรกันดาร (ทาร์กัมเยรูซาเล็มกับอพยพ 20:1); อวยพรอิสราเอล (ทาร์กัมเยรูซาเล็มกับกันดารวิถี 23:8); สู้รบเพื่อประชาชน (ทาร์กัมโยชูวา 3:7, 10:14, 23:3) ในการตัดสินชะตากรรมของมนุษย์นั้น เมมราเป็นตัวแทนของพระเจ้า (ทาร์กัมเยรูซาเล็มกับกันดารวิถี 27:16) แล้วก็เป็นตัวแทนในการสร้างโลกด้วย (อิสยาห์ 45:12) และในการประหารเนื่องจากความยุติธรรม (ทาร์กัมเยรูซาเล็มกับกันดารวิถี 33:4) ดังนั้นในอนาคต เมมราจะเป็นผู้ปลอบประโลม (ทาร์กัมอิสยาห์ 66:13): “เราจะให้เชกินาห์ของเราไว้ในหมู่พวกเจ้า เมมราของเราจะเป็นพระเจ้าแห่งการไถ่แก่พวกเจ้า และพวกเจ้าจะเป็นประชาชาติที่บริสุทธิ์เพื่อนามของเรา” (ทาร์กัมเยรูซาเล็มกับเลวีนิติ 22:12) “เมมราของเรา จะเป็นเหมือนผู้ไถนาแก่เจ้า ผู้ที่เอาแอกออกจากบ่าของวัว”; “เมมราจะเปล่งเสียงเพื่อรวบรวมบรรดาผู้ที่ถูกเนรเทศ” (ทาร์กัมโฮเชยา 11: 5, 10) เมมราคือ “พยาน” (ทาร์กัมเยรูซาเล็ม 29:23); จะเป็นเหมือนบิดากับชนอิสราเอล (l.c. 31:9) และ “จะเปรมปรีดิ์ในพวกเขาที่จะทำการดีกับพวกเขา” (l.c. 32:41) “ในเมมรา จะพบการไถ่” (ทาร์กัมเศคา ริยาห์ 12:5) “คำตรัสอันศักดิ์สิทธิ์” เป็นหัวข้อเพลงสรรเสริญของโยบ (การทดสอบโยบ, 12:3, ฉบับโคห์เลอร์[18])

 

โลกอส (The Logos)

      เป็นเรื่องยากที่จะบอกว่า แนวคิดในคำสอนของยิวเกี่ยวกับเมมรา ซึ่งตอนนี้ใช้เปรียบกับพระปัญญาของพระเจ้าและนอกจากนี้ก็เปรียบกับเชกินาห์นั้นได้รับอิทธิพลจากคำกรีก “โลกอส” ซึ่งแสดงทั้งคำพูดและเหตุผล และอาจเนื่องมาจากแนวคิดเกี่ยวกับตำนานของอียิปต์ ที่คิดว่าเป็นจริงในระบบปรัชญาของเฮราคลิโตส, เพลโต และสโตอา[19] ในความหมายเชิงเลื่อนลอยของความคิดที่สร้างโลกและปัญญาที่แพร่กระจายไปทั่วโลก (ดู Reizenstein, “Zwei Religionsgeschichtliche Fragen,” 1901, หน้า 83-111; เปรียบเทียบ Aall, Der Logos” และงานเขียนเกี่ยวกับโลกอสที่นำเสนอโดย Schürer, “Gesch. i. 3, 542-544) เมมราที่เป็นพลังแห่งจักรวาลนี้เปิดช่องให้ไฟโลใช้เป็นหลักสำคัญในการสร้างปรัชญากึ่งยิวที่แปลกประหลาดของเขาขึ้นมา “ความคิดเกี่ยวกับพระเจ้า” ของไฟโล, “รูปเหมือน” และ “บุตรหัวปี” ของพระเจ้า, “หัวหน้าบาทหลวง”, “ผู้ทูลวิงวอน”, และ “ผู้ทูลขอ” ของมวลมนุษย์, “รูปแบบสำคัญของมนุษย์” (ดูไฟโล), ได้ปูพื้นแนวคิดของคริสเตียนในการจุติมาเกิด (“พระวาทะมาบังเกิดเป็นมนุษย์”) และตรีเอกานุภาพ พระวาทะที่ “พระบิดาผู้ไม่ได้ถูกสร้างได้ทรงสร้างตามอย่างพระองค์ เป็นการแสดงให้เห็นถึงฤทธานุภาพของพระองค์” นั้นเห็นได้ชัดในระบบความเชื่อแบบนอสติกของมาร์คัส (Irenæus, Adversus Hæreses,” i. 14) ในการนมัสการของคริสตจักรโบราณซึ่งรับมาจากธรรมศาลานั้น เป็นเรื่องน่าสนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จะสังเกตว่าบ่อยครั้งคำว่า “โลกอส” ในความหมายของ “คำตรัสซึ่งพระเจ้าทรงใช้สร้างโลก หรือให้บทบัญญัติของพระองค์ หรือให้มนุษย์รู้จักพระองค์เอง” นั้นได้ถูกเปลี่ยนเป็น “พระคริสต์” (ดู “ธรรมนูญของอัครทูต,” vii. 25-26, 34-38, et al.) อาจเป็นเพราะข้อเชื่อของคริสเตียน, ศาสนศาสตร์เกี่ยวกับคำสอนของยิว, นอกเหนือไปจากวรรณกรรมของทาร์กัม ใช้คำว่า “เมมรา” เพียงเล็กน้อย

 

บรรณานุกรม:

Bousset, Die Religion des Judenthums im Neutestamentlichen Zeitalter, 1903, p. 341; Weber, Jüdische Theologie, 1897, pp. 180-184


[1] OCR คือการแปลภาพของข้อความจากการเขียนหรือการพิมพ์ ไปเป็นข้อความที่สามารถแก้ไขได้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ (ผู้แปล)

[2] The Word” หรือ “วจนะ” หรือ “คำพูด” หรือ “ดำรัส”

[3] Targum คือพระคัมภีร์เดิมภาษาอาราเมคของยิว

[4] the word of the LORD” หรือ “พระวจนะของพระยาห์เวห์” (ผู้แปล)

[5] ปฐมกาล 15:1 ภายหลังสิ่งเหล่านี้พระดำรัสของพระยาห์เวห์มาถึงอับรามทางนิมิตว่า “อับรามเอ๋ย เจ้าอย่ากลัวเลย”

[6] สดุดี 147:15 “พระองค์ทรงใช้พระดำรัสของพระองค์ไปยังแผ่นดินโลก พระวจนะของพระองค์วิ่งไปอย่างรวดเร็ว

[7] Book of Jubilees

[8] Singer’s Daily Prayer-Book

[9] หนังสือนอกสารบบ ที่เปิดเผยเกี่ยวกับทูตสวรรค์

[10] มิชนา คือ โทราห์ปากเปล่าของยิว

[11] Targum คือพระคัมภีร์เดิมที่แปลเป็นภาษาอาราเมค

[12] ส่วนที่เป็นการกระทำของประธานในประโยค ที่เป็นส่วนของกริยาและกรรม

[13] Targ. Yer. (Targum Yerushalmi หรือ Jerusalem Targum); “the Shekinah หมายถึง การอยู่ด้วย

[14] อพยพ 25:22 เราจะพบกับเจ้า ณที่นั้น

[15] อพยพ 33:22 “แล้วขณะเมื่อพระสิริของเรากำลังผ่านไป เราจะซ่อนเจ้าไว้ในซอกหิน และจะบังเจ้าไว้ด้วยมือเราจนกว่าเราจะผ่านไป”

[16] เฉลยธรรมบัญญัติ 5:5 ข้าพเจ้ายืนอยู่ระหว่างพระยาห์เวห์กับท่านทั้งหลาย เพื่อจะประกาศพระวจนะของพระยาห์เวห์แก่ท่าน

[17] เฉลยธรรมบัญญัติ 4:7 “เพราะมีชนชาติใหญ่ชาติใดเล่าที่มีพระเจ้าอยู่ใกล้ตน ดังพระยาห์เวห์พระเจ้าของเราสถิตใกล้เรา ในทุกสิ่งที่เราร้องทูลต่อพระองค์?

[18] Test. of Job, 12:3, ed. Kohler

[19] Heraclitos, Plato, and Stoa