พิมพ์
หมวด: The Only Perfect Man
ฮิต: 1245

 pdf pic

 

 

 

บทที่ 7

 

ch1 1

คำสรรเสริญพระเจ้า

 

ในพระคัมภีร์ใหม่

 

      คำภาษากรีกว่า doxa (δόξα) มีความหมายว่า “สิริ”   Doxologies เป็นคำสรรเสริญพระเจ้าและสิ่งบ่งชี้ว่าพระสิริเป็นของพระเจ้า  และถ้าพระคัมภีร์ใหม่มีพระคริสต์เป็นศูนย์กลางเหมือนที่ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพกล่าวนั้น แล้วเหตุใดจึงมีคำสรรเสริญมากมายมุ่งไปที่พระเจ้าพระบิดาและแทบจะไม่มีคำสรรเสริญมุ่งไปที่พระเยซูคริสต์เลย?

      แต่แม้จะมีข้อเท็จจริงนี้ พระเยซูได้ทรงนำพระสิริมากมายมาสู่พระเจ้า จนคำสรรเสริญพระเจ้ามีขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อประกาศกิจอันมหัศจรรย์ของพระเยซูด้วยฤทธานุภาพของพระยาห์เวห์ผู้สถิตอยู่ในพระองค์  สิ่งนี้จะชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อเราดูถ้อยคำสรรเสริญที่มีอานุภาพแด่พระเจ้าเนื่องจากพระเยซู  ให้เราเริ่มต้นด้วยการดูถ้อยคำที่เป็นการสรรเสริญในพระคัมภีร์ใหม่

 

ถ้อยคำที่เป็นการสรรเสริญ “ขอพระสิริจงมีแด่พระองค์ตลอดไปเป็นนิตย์

      ถ้อยคำที่เป็นการสรรเสริญ “ขอพระสิริจงมีแด่พระองค์ตลอดไปเป็นนิตย์” หรือถ้อยคำที่คล้ายกัน[1] (เช่น โรม 11:36, auto hē doxa eis tous aiōnas) มีปรากฏ 13 ครั้งในพระคัมภีร์ใหม่ (มี 7 ครั้งในจดหมายของเปาโล) และมักจบลงด้วยคำว่า “อาเมน” (ในกรณีของวิวรณ์ 5:13 คำ “อาเมน” จะกล่าวโดยคนอื่น)  มันตรงกันข้ามกับสิ่งที่เราอาจคาดหวัง ที่คำสรรเสริญทั้ง 13 ครั้งนี้ไม่ได้มุ่งไปที่พระคริสต์ยกเว้นแต่ในวิวรณ์ 5:13 ที่คำสรรเสริญไม่ได้มุ่งไปที่พระองค์เพียงผู้เดียว แต่มุ่งไปที่พระองค์และพระเจ้าพระบิดาด้วยกัน (เราได้พูดถึงกรณีพิเศษนี้ไปแล้วในบทก่อน)  ต่อไปนี้เป็นข้ออ้างอิง 13 ข้อ[2]

 

 

โรม 11:36      ขอพระสิริจงมีแด่พระองค์ตลอดไปเป็นนิตย์ อาเมน

 

โรม 16:27     โดยพระเยซูคริสต์ ขอพระสิริจงมีแด่พระเจ้าผู้ทรงสัพพัญญูแต่องค์เดียวสืบๆไปเป็นนิตย์ อาเมน

 

กาลาเทีย 1:5 พระเจ้าและพระบิดาของเรา ขอให้พระสิริมีแด่พระองค์สืบๆไปเป็นนิตย์ อาเมน

 

เอเฟซัส 3:21   ขอ​​พระเกียรติสิริจงมีแด่พระองค์ในคริสตจักรและในพระเยซูคริสต์ ตลอดทุกชั่วอายุตลอดไปเป็นนิตย์ อาเมน

 

ฟีลิปปี 4:20     ขอพระสิริจงมีแด่พระเจ้าและพระบิดาของเราสืบๆไปเป็นนิตย์ อาเมน

 

1 ทิโมธี 1:17   พระมหากษัตริย์ผู้ทรงดำรงอยู่นิรันดร์ ผู้ทรงอมตะ และไม่อาจมองเห็นได้ ผู้ทรงเป็นพระเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ขอพระเกียรติและพระสิริจงมีแด่พระองค์สืบๆไปเป็นนิตย์ อาเมน

 

2 ทิโมธี 4:18   องค์พระผู้เป็นเจ้าจะทรงช่วยข้าพเจ้าให้พ้นจากการร้ายทุกอย่าง และจะทรงนำข้าพเจ้า​​เข้าสู่อาณาจักรสวรรค์ของพระองค์อย่างปลอดภัย ขอพระสิริจงมีแด่พระองค์สืบๆไปเป็นนิตย์ อาเมน

 

ฮีบรู 13:21     ที่จะเป็นที่ชอบพระทัยในสายพระเนตรของพระองค์ทางพระเยซูคริสต์ ขอพระสิริจงมีแด่พระองค์สืบๆไปเป็นนิตย์ อาเมน

 

1 เปโตร 4:11 เพื่อพระเจ้าจะได้รับพระเกียรติในทุกสิ่งทางพระเยซูคริสต์ ขอพระสิริและอำนาจครองครอง จงมีแด่พระองค์สืบๆไปเป็นนิตย์ อาเมน

 

ยูดา 1:25       ขอพระสิริ ความยิ่งใหญ่... จงมีแด่พระเจ้าเพียงองค์เดียว ผู้เป็นพระผู้ช่วยให้รอดของเรา ทางพระเยซูคริสต์องค์​​ผู้เป็นเจ้าของเรา ตลอดมาในทุกยุค ในปัจจุบัน และเป็นนิตย์ อาเมน

 

วิวรณ์ 1:6        และทรงตั้งเราให้เป็นอาณาจักร​ ​เป็นปุโรหิตของพระเจ้าและพระบิดาของพระองค์ ขอพระสิริและอำนาจครอบครอง จงมีแด่พระองค์สืบๆไปเป็นนิตย์ อาเมน

 

วิวรณ์ 5:13       ขอให้คำสดุดี พระเกียรติ พระสิริ และพลานุภาพ จงมีแด่พระองค์ผู้ประทับบนพระที่นั่งและแด่พระเมษโปดก สืบๆไปเป็นนิตย์!

 

วิวรณ์ 7:12     ... ขอพระเกียรติ ฤทธานุภาพ และพลานุภาพ จงมีแด่พระเจ้าของเราสืบๆไปเป็นนิตย์! อาเมน

 

คำสรรเสริญทั้งหมดนี้มุ่งไปที่พระบิดาและไม่มีคำสรรเสริญใดมุ่งไปที่พระคริสต์ (ด้วยข้อยกเว้นเดียวและข้อยกเว้นที่จำกัดของวิวรณ์ 5:13 ที่พระคริสต์ทรงเป็นเป้าหมายรองของการสรรเสริญต่อจากพระเจ้าพระบิดา)  และเมื่อพระคริสต์ถูกกล่าวถึง พระองค์ทรงถูกพูดถึงว่าเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงได้ รับเกียรติโดยทางพระองค์ (โรม 16:27, 1 เปโตร 4:11, ยูดา 1:25)[3] หรือในพระองค์ (เอเฟซัส 3:21)[4]

      ผู้อธิบายพระคัมภีร์บางคนเห็นว่า 2 ทิโมธี 4:18 หมายถึงพระคริสต์ แต่จากลักษณะทั่วไปของคำสรรเสริญในจดหมายของเปาโลแล้วเห็นได้ยาก  เพราะไม่มีการเอ่ยชื่อของพระเยซูหรือพระคริสต์ในบทที่ 4 ยกเว้นข้อ 1 ซึ่งเป็นคนละส่วนของจดหมาย  พระเยซูไม่ได้ถูกเรียกแบบชัดๆว่า “องค์ผู้เป็นเจ้า” ในส่วนนี้  และ “องค์ผู้เป็นเจ้า” ก็สามารถหมายถึงพระเจ้าพระบิดาอย่างไม่มีข้อสงสัยเหมือนใน 2 ทิโมธี 2:19 (สองครั้ง)  ดังนั้นจึงไม่สามารถสรุปได้แน่นอนว่า 2 ทิโมธี 4:18 หมายถึงพระเยซูหรือไม่ แต่ถ้าจะหมายถึงพระเยซูก็คงจะแตกต่างไปจากคำสรรเสริญอื่นๆ ในจดหมายของเปาโล

 

หมายเหตุเพิ่มเติม:  กรณีพิเศษของ 2 เปโตร 3:18

      คำสรรเสริญใน 2 เปโตร 3:18 ซึ่งไม่รวมอยู่ในรายการข้างต้นนั้น พูดถึงพระคริสต์

 

จงเติบโตขึ้นในพระคุณและในความรู้ถึงพระเยซูคริสต์องค์​​ผู้เป็นเจ้าและพระผู้ช่วยให้รอดของเรา  ขอพระเกียรติจงมีแด่พระองค์ทั้งบัดนี้และจนถึงวันแห่งความนิรันดร์ อาเมน (2 เปโตร 3:18 ฉบับ ESV)

 

      คำสรรเสริญนี้ไม่ได้ยึดตามแบบที่ระบุไว้ในข้อก่อนหน้านี้ด้วยเหตุผลสองประการ  ประการแรก ไม่ได้ใช้คำเหมือนกับคำสรรเสริญอื่นๆ  คำว่า “ตลอดไปเป็นนิตย์” ที่ใช้ในคำสรรเสริญอื่นๆนั้นถูกแทนที่ด้วย “ทั้งบัดนี้และจนถึงวันแห่งความนิรันดร์”  ถ้อยคำที่ผิดจากธรรมดาว่า “วันแห่งความ    นิรันดร์” ซึ่งนักอธิบายพระคัมภีร์ทั้งหลายเห็นว่าเข้าใจยากนี้หาไม่พบที่ไหนในพระคัมภีร์ ไม่ว่าจะในพระคัมภีร์ใหม่หรือพระคัมภีร์เดิม แต่จะพบในหนังสือสิรัค[5]จากพระคัมภีร์นอกสารบบ[6]ในบท 18:10 แม้จะไม่ตรงกันเสียทีเดียว เพราะหนังสือสิรัคมีคำบุพบท en ในขณะที่ 2 เปโตร 3:18 มีคำ eis

มนุษย์เป็นใครเล่า แลเขาใช้การอะไรได้? เขามีสิ่งดีและสิ่งชั่วร้ายอไร?  วันเวลาของมนุษย์นั้นยาวนานถ้าเขาอยู่ถึงร้อยปี  หยดน้ำจากทะเลและเม็ดของทรายเป็นเช่นไร สองสามปีในวันแห่งความ  นิรันดร์ก็เป็นเช่นนั้น (สิรัค 18: 8-10, ฉบับ RSV)

      เชื่อกันว่าหนังสือสิรัค (Sirach) เขียนเป็นภาษาฮีบรูราว 180 ปีก่อน ค.ศ. และได้แปลเป็นภาษากรีกราว 55 ปีต่อมา  มันเป็นคำสอนสืบทอดจากงานเขียนเกี่ยวกับปัญญาของชาวยิว

      ประการที่สอง แม้ 2 เปโตร 3:18 จะลงท้ายด้วยคำว่า “อาเมน” ในพระคัมภีร์ส่วนใหญ่ ต้นฉบับภาษากรีกฉบับ UBS3 กำหนดให้ “อาเมน” มีระดับความเชื่อมั่นของข้อความต้นฉบับที่น้อยที่สุด {D} และใส่คำว่า “อาเมน” ไว้ในวงเล็บสี่เหลี่ยมเพื่อระบุว่ามีการไม่เห็นด้วยในการอ่าน  และคำว่า “อาเมน” ในพระคัมภีร์ภาษากรีกฉบับ UBS4 ได้ถูกยกเป็นระดับ {C} แต่ยังอยู่ในวงเล็บเช่น เดียวกับฉบับ NA27  สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ “อาเมน” ถูกลบออกจากตัวบทหลักของฉบับ UBS5 และ NA28 ไปเลย เช่นเดียวกับในฉบับ Westcott-Hort

      เนื่องจากคำว่า “อาเมน” ปรากฏอยู่ใน 13 คำสรรเสริญที่ระบุข้างต้นโดยยกเว้นวิวรณ์ 5:13 ทั้งสถานะที่ไม่แน่นอนของคำ “อาเมน” ในคำสรรเสริญจาก 2 เปโตร 3:18  ร่วมกับข้อพิจารณาอื่นๆจึงหมายความว่า คำสรรเสริญนี้ไม่ได้ยึดตามแบบคำสรรเสริญอื่น ๆ

 

คำสรรเสริญที่เพิ่มขึ้นในพระคัมภีร์ใหม่

      เราจะทำการสำรวจสั้นๆโดยมีคำอธิบายเล็กน้อย เพื่อดูคำสรรเสริญหลักหรือคำสรรเสริญที่เพิ่มขึ้นในพระคัมภีร์ใหม่ซึ่งไม่ได้อยู่ในวิวรณ์ (จะกล่าวถึงคำสรรเสริญในวิวรณ์ในส่วนถัดไป)  คำสรรเสริญในส่วนนี้รวมราวๆครึ่งหนึ่งของคำสรรเสริญที่ระบุไว้ในส่วนก่อนหน้านี้ตามรูปแบบของคำสรรเสริญว่า “ขอพระสิริจงมีแด่พระองค์สืบๆไปเป็นนิตย์”  แต่ละคำสรรเสริญในส่วนนี้จะอ้างอิงจากพระคัมภีร์แบบเต็มข้อและจะพูดถึงแบบสรุป  ข้อแรกคือ

 

โรม 11:33-36 โอ ความบริบูรณ์ พระปัญญา และความรอบรู้ของพระเจ้านั้นล้ำลึกเพียงใด!  คำตัดสินของพระองค์นั้นเหลือที่จะหยั่งรู้ และวิถีทางของพระองค์ก็เหลือที่จะเข้าใจได้!  “เพราะใครเล่าจะรู้ถึงพระทัยขององค์ผู้เป็นเจ้าหรือใครเล่าจะเป็นที่ปรึกษาของพระองค์ หรือใครเล่าได้ถวายสิ่งใดแก่พระองค์ที่พระองค์จะต้องตอบแทนเขา? เพราะสิ่งสารพัดมาจากพระองค์ โดยทางพระองค์ และเพื่อพระองค์  ขอพระสิริจงมีแด่พระองค์​​เป็นนิตย์ อาเมน (ฉบับ ESV)

 

      คำสรรเสริญนี้กล่าวกับพระเจ้าเท่านั้น ทั้งบทไม่ได้มีการเอ่ยถึงชื่อพระเยซูหรือพระคริสต์เลย แม้ว่าข้อ 26 (“องค์​​ผู้ช่วยกู้จะเสด็จมาจากศิโยน พระองค์จะทรงขจัดความอธรรมให้หมดไปจาก    ยาโคบ” ซึ่งอ้างอิงจากอิสยาห์ 59: 20-21) จะกล่าวถึงความรอดจากพระเจ้าโดยทางพระคริสต์

 

      ในคำสรรเสริญต่อไป จะเรียกพระเจ้าว่า “พระเจ้าผู้ทรงดำรงนิรันดร์” และ “พระเจ้าผู้ทรงรอบรู้แต่องค์เดียว”

 

โรม 16:26-27 แต่เดี๋ยวนี้ได้เปิดเผยแล้ว โดยคำเขียนของพวกผู้เผยพระวจนะที่ให้ชนทุกชาติได้รู้กันทั่ว ตามคำบัญชาของพระเจ้าผู้ทรงดำรงนิรันดร์ ให้เขาได้เชื่อฟัง ขอพระสิริจงมีแด่พระเจ้าผู้ทรงรอบรู้แต่องค์เดียวสืบๆไปเป็นนิตย์ โดยทางพระเยซูคริสต์! อาเมน (ฉบับ ESV)

 

      คำกล่าวว่า “ขอพระสิริจงมีแด่พระเจ้าผู้ทรงรอบรู้แต่องค์เดียวตลอดไปเป็นนิตย์” ตรงนี้เป็นคำลงท้ายโรมบทที่ 16 เหมือนกันกับคำว่า “ขอพระสิริจงมีแด่พระองค์เป็นนิตย์” ในคำสรรเสริญก่อนหน้านี้จากโรม 11:36 ซึ่งเป็นคำลงท้ายโรมบทที่ 11  (มีการใช้ภาษาที่คล้ายกันในคำสรรเสริญแบบสั้นๆแต่งดงามจาก 1 ทิโมธี 1:17

 

1 ทิโมธี 1:17 พระมหากษัตริย์ผู้ทรงอยู่เหนือห้วงกาลเวลา ผู้เป็นองค์อมตะ และไม่อาจมองเห็นได้   ผู้เป็นพระเจ้าแต่​​องค์เดียว ขอพระเกียรติและพระสิริจงมีแด่พระองค์สืบๆ ไปเป็นนิตย์ อาเมน

 

      คำสรรเสริญนี้ซึ่งอยู่ในช่วงต้นๆของ 1 ทิโมธีถูกเสริมด้วยอีกคำสรรเสริญหนึ่งที่อยู่ในช่วงท้ายๆของ 1 ทิโมธี

 

1 ทิโมธี 6:15-16  ...15พระองค์ผู้ทรงเป็นที่ยกย่องสรรเสริญและทรงอำนาจสูงสุดแต่เพียง​​ผู้เดียว เป็นพระมหากษัตริย์เหนือกษัตริย์ทั้งหลาย และเป็นองค์เจ้านายเหนือบรรดาเจ้านาย 16พระองค์เพียงผู้เดียวทรงมีความเป็นอมตะ ผู้ประทับในความสว่างที่ไม่มีใครเข้าใกล้ได้ ​​เป็นผู้ที่ไม่มีใครเคยเห็นหรือสามารถจะเห็นได้  ขอพระเกียรติและการปกครองนิรันดร์จงมีแด่พระองค์ อาเมน (ฉบับ ESV)

      เราจะด่วนยอมรับไม่ได้ว่า คำสรรเสริญอันหลังหมายถึงพระคริสต์ก็เพราะว่าพระองค์ทรงถูกกล่าวถึงในข้อ 14[7]  เมื่อดูเนื้อหาภายในของคำสรรเสริญนี้ก็เผยให้เห็นว่า คำสรรเสริญนี้ไม่สามารถจะอ้างถึงพระคริสต์ได้  ประการแรก คำว่า “ทรงอำนาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว” แทบจะไม่สามารถอ้างถึงพระคริสต์ได้เนื่องจากคำสรรเสริญก่อนหน้านี้ใน 1 ทิโมธี 1:17 กล่าวถึงพระเจ้าว่า “ผู้เป็นพระเจ้าแต่เพียงองค์เดียว”  ประการที่สอง คำสรรเสริญก่อนหน้านี้ใน 1 ทิโมธี 1:17 กล่าวถึงพระเจ้าว่า “ผู้เป็นองค์อมตะ” ซึ่งเป็นคำกล่าวที่สะท้อนให้เห็นในคำกล่าวว่า “พระองค์เพียงผู้เดียวทรงเป็น​​อมตะ” ในคำสรรเสริญข้อต่อมา  ความจริงที่ว่าพระคริสต์ทรงสิ้นพระชนม์ก็หมายความว่าพระองค์ไม่ได้ทรงเป็นอมตะ  แต่แม้ว่าจะมีข้อเท็จจริงข้อนี้อยู่ เราก็ยังจะยืนกรานว่าพระคริสต์ทรงเป็นอมตะ เราจะให้คำกล่าวของเปาโลบอกว่าพระคริสต์ “แต่ผู้เดียว” ทรงมีความเป็นอมตะ โดยไม่ยอมรับพระเจ้าพระบิดาว่าทรงเป็นอมตะ!  ประการที่สาม อนุประโยคที่ว่า “ทรงเป็นผู้ที่ไม่มีใครเคยเห็นหรือสามารถจะเห็นได้” นี้แทบจะไม่สามารถนำไปใช้กับพระเยซูได้เลย

      คำสรรเสริญนี้ไม่ได้ลงท้ายด้วยรูปแบบที่คุ้นเคยว่า “ขอพระสิริจงมีแด่พระองค์เป็นนิตย์” แต่มีความแตกต่างกันเล็กน้อยว่า “ขอพระเกียรติและการปกครองนิรันดร์จงมีแด่พระองค์” (ข้อ 16)

      คำสรรเสริญต่อไปในฮีบรู 13:20-21 ไม่ได้เป็นตามรูปแบบของเปาโล แต่เป็นคำอธิษฐานเพื่อการอวยพร  แต่ตราบใดที่พูดถึงพระเจ้าว่าเป็น “พระเจ้าแห่งสันติสุข” และเป็นพระองค์ “ผู้ทรงทำให้พระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้า​​ของ​​เราเป็นขึ้นมาจากความตาย” มันก็มีสาระสำคัญของการสรรเสริญ

 

ฮีบรู 13:20-21 บัดนี้ ขอพระเจ้าแห่งสันติสุข ผู้ทรงทำให้พระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้า พระผู้เลี้ยงแกะที่ยิ่งใหญ่​​ของ​​เราเป็นขึ้นมาจากความตาย โดยโลหิตแห่งพันธสัญญานิรันดร์ ทรงให้พวกท่านเพียบพร้อมด้วยสิ่งดีทุกอย่าง เพื่อที่จะทำตามพระทัยของพระองค์โดยที่ทรงทำงานในเราให้เกิดผลเป็นที่พอพระทัยในสายพระเนตรของพระองค์โดยทางพระเยซูคริสต์ ขอพระสิริจงมีแด่พระองค์สืบๆ ไปเป็นนิตย์ อาเมน (ฉบับ ESV)

 

      ข้อต่อไปของเราในยูดา 1:24-25 ไม่ได้เป็นคำสรรเสริญตามแบบของเปาโล แต่มีเนื้อหาของการสรรเสริญในนั้นเหมือนกับฮีบรู 13:20-21 ที่กล่าวถึง “พระสิริของพระองค์” และ “พระเจ้าองค์เดียว พระผู้ช่วยให้รอดของเรา”  การลงท้ายที่อ้างถึงพระสิริแด่พระเจ้าว่า “ทั้งในอดีตกาล ปัจจุบันกาล และในกาลต่อๆ ไปเป็นนิตย์” นั้นสอดคล้องกับความจริงที่ว่าพระเจ้าทรงเป็น “ผู้ทรงเป็นอยู่ ผู้ทรงเคยเป็นอยู่ และผู้ที่จะเสด็จมา” (วิวรณ์ 1:8)

 

ยูดา 1:24-25 แด่พระองค์ผู้ทรงสามารถปกป้อง​​ท่านไม่ให้ก้าวพลาด และเพื่อจะถวายพวกท่านให้ปราศจากตำหนิ​​​ต่อหน้าพระสิริของพระองค์ ด้วยความ​​ยินดีอย่างมากล้น  ขอพระสิริ ความยิ่งใหญ่ อำนาจครอบครอง และสิทธิ​​อำนาจ จงมีแด่พระเจ้าเพียงองค์เดียว ผู้เป็นพระผู้ช่วยให้รอดของเรา ทางพระเยซูคริสต์องค์​​ผู้เป็นเจ้าของเรา ตลอดมาในทุกยุค ในปัจจุบัน และเป็นนิตย์ อาเมน (ฉบับ ESV)

 

      เพื่อความครบถ้วนสมบูรณ์ เราจะให้สามตัวอย่างของถ้อยคำสรรเสริญว่า “สาธุการแด่พระเจ้าและ[8]พระบิดาของพระเยซูคริสต์องค์ผู้เป็นเจ้าของเรา”  ในสามข้อต่อไปนี้ (อ้างอิงจากฉบับ ESV) ทุกข้อจะเริ่มต้นด้วยคำว่า “สาธุการ” เพื่อแสดงการสรรเสริญและการเทิดทูน

 

2 โครินธ์ 1:3 สาธุการแด่พระเจ้าและพระบิดาของพระเยซูคริสต์องค์​​ผู้เป็นเจ้าของเรา พระบิดาแห่งความเมตตากรุณา และพระเจ้าแห่งการชูใจทุกอย่าง

อเฟซัส 1:3 สาธุการแด่พระเจ้าและพระบิดาของพระเยซูคริสต์องค์​​ผู้เป็นเจ้าของเรา ผู้ประทานพระพร​​ฝ่ายจิตวิญญาณนานาประการในพระคริสต์แก่เราในสวรรคสถาน

1 เปโตร 1:3 สาธุการแด่พระเจ้าและพระบิดาของพระเยซูคริสต์องค์​​ผู้เป็นเจ้าของเรา! โดยพระเมตตาที่มากล้น​​ของพระองค์นั้น พระองค์ได้ทรง​​ให้เราบังเกิดใหม่เพื่อให้มีความหวัง​​ที่ยั่งยืน โดยการเป็นขึ้นจากความตายของพระเยซูคริสต์

 

      คำสรรเสริญสามข้อนี้มาจากจดหมายสามฉบับที่ต่างกันในพระคัมภีร์ใหม่ และคำสรรเสริญในแต่ละข้อต่างก็ปรากฏในตอนเริ่มต้นของจดหมาย  แต่ทั้งสามฉบับก็ใช้คำสรรเสริญที่เหมือนกันว่า “สาธุการแด่พระเจ้าและพระบิดาของพระเยซูคริสต์องค์​​ผู้เป็นเจ้าของเรา” ซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่าคำสรรเสริญนี้อาจกลายรูปเป็นรูปแบบคำสรรเสริญที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในคริสตจักรยุคแรก อาจจะเป็นตอนเริ่มต้นของการประชุมคริสตจักรตามบ้าน

      เราสังเกตเห็นบางสิ่งต่อไปนี้  (i) จดหมายสามฉบับของพระคัมภีร์ใหม่นี้เริ่มต้นด้วยการกล่าวว่าพระเจ้าทรงได้รับ “การสาธุการ”[9] เช่น ได้รับการยกย่องสรรเสริญ การถวายเกียรติ การเทิดทูน ก่อนที่จะกล่าวถึงสิ่งอื่นๆ  ด้วยเหตุนี้พระยาห์เวห์จึงทรงเป็นศูนย์กลางและจุดสำคัญของจดหมายเหล่านี้  (ii) พระคริสต์ไม่ได้ถูกรวมอยู่ในเป้าหมายของการสรรเสริญ แต่กลับเป็นว่าในพระคริสต์นั้นพระยาห์เวห์ทรงอวยพระพรผู้เชื่อด้วยพระพรฝ่ายวิญญาณนานาประการมากกว่า  (iii) อันดับแรกและสำคัญที่สุดก็คือ พระยาห์เวห์ทรงเป็น “พระเจ้าและพระบิดา” ของพระเยซูคริสต์องค์ผู้เป็นเจ้าของเรา และในพระคริสต์นี้เองที่พระเจ้าก็ทรงมาเป็นพระเจ้าและพระบิดาของเราด้วย  สิ่งที่โดดเด่นจากคำสรรเสริญเหล่านี้ก็คือ มีพระเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น คือพระเจ้าและพระบิดาของพระเยซูคริสต์

 

คำสรรเสริญที่เพิ่มขึ้นในวิวรณ์

      พระเจ้าผู้ทรงถูกเรียกว่า “พระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพสูงสุด” ในวิวรณ์ 4:8 ทรงเป็นจุดศูนย์กลางของการนมัสการและการเทิดทูนในวิวรณ์ตลอดเวลา

 

8และสิ่งมีชีวิตทั้งสี่ที่แต่ละตนมีปีกหกปีกนั้น มีตาอยู่รอบๆและข้างในทั่วไปหมด และพูดไม่หยุด​​ตลอดวันตลอดคืนว่า “บริสุทธิ์ บริสุทธิ์ บริสุทธิ์ พระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพสูงสุด ผู้​​เคยเป็นอยู่ ผู้ที่เป็นอยู่ และผู้ที่จะเสด็จมา!9และเมื่อใด​​ที่สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นถวายพระสิริ พระเกียรติ และคำขอบพระคุณแด่พระองค์ผู้ประทับบนพระที่นั่ง และผู้ทรงพระชนม์อยู่ตลอดไปเป็นนิตย์10ผู้อาวุโสทั้งยี่สิบสี่คนก็ทรุดตัวลงต่อพระพักตร์พระองค์ผู้ประทับบนพระที่นั่งนั้น และนมัสการพระองค์ผู้ทรงพระชนม์อยู่ตลอดไปเป็นนิตย์  พวกเขาถอดมงกุฎออกวางตรงหน้าพระที่นั่งกล่าวว่า 11“องค์​​ผู้เป็นเจ้าและพระเจ้าของข้าพระองค์ทั้งหลาย พระองค์ทรงสมควรที่จะได้รับพระสิริ พระเกียรติ และฤทธานุภาพ เพราะว่าพระองค์ทรงสร้างทุกสิ่ง และทุกสิ่งก็ดำรงอยู่และถูกสร้างขึ้นตามพระประสงค์ของพระองค์” (วิวรณ์ 4:8-11 ฉบับ ESV)

 

      วิวรณ์แสดงให้เห็นภาพของพระเจ้าว่า เป็นผู้ที่ประทับอยู่บนพระที่นั่ง (ข้อ 9 และ 4:2, 5:1, 6:16, 7:15; 12:5)  ผู้อาวุโส 24 คนมีที่นั่งของตนเองและที่นั่งเหล่านี้ก็อยู่ “ตรงหน้าพระเจ้า” (11:16; 4:4)[10]

      พระเยซูก็ทรงมีพระที่นั่งของพระองค์เองด้วยที่ว่า “คนทั้งหลายที่ชนะ เราจะให้เขานั่งกับเราบน​​ที่นั่งของเรา เหมือนที่เราก็มีชัยชนะและได้นั่งกับพระบิดาของเราบนพระที่นั่งของพระองค์” (วิวรณ์ 3:21)  ภายในประโยคเดียวกันนี้พระเยซูคริสต์ตรัสถึง “ที่นั่งของเรา” และ “พระที่นั่งของพระองค์” ซึ่งทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างสองพระที่นั่งว่า พระที่นั่งหนึ่งเป็นของพระเจ้า และอีกพระที่นั่งเป็นของพระเยซู  ที่พระที่นั่งของพระบิดาของพระองค์นั้น พระเยซูทรงถูกจัดให้นั่งอยู่ทางเบื้อง    พระหัตถ์ขวาของพระองค์ เหมือนกับบรรดาธรรมิกชนที่ได้รับชัยชนะก็จะได้ “นั่งกับเราบนที่นั่งของเรา”  แม้พระเยซูจะได้นั่งกับพระบิดาบนพระที่นั่งของพระบิดา พระเยซูก็ไม่ได้ถูกกล่าวถึงในคำสรรเสริญจากวิวรณ์ 4:8-11 ที่เราเพิ่งอ้างอิงไป เป็นการไม่พูดถึงที่น่าสังเกตขณะที่คำสรรเสริญให้ความสำคัญอย่างมากกับพระที่นั่ง และเต็มไปด้วยคำอ้างอิงอย่างเด่นชัดกับพระที่นั่งของพระเจ้าและกับการนมัสการพระเจ้าต่อหน้าพระที่นั่งของพระองค์

 

      วิวรณ์ 11:17 เป็นเพลงสรรเสริญอีกอย่างแด่พระเจ้า แต่ก็ไม่มีการเอ่ยถึงพระเยซูอีกเช่นกัน

 

“พวกข้าพระองค์ขอบพระคุณพระองค์ พระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพสูงสุด ผู้รงเป็นอยู่และผู้ทรง​​เคยเป็นอยู่ เพราะว่าพระองค์ได้ทรงใช้ฤทธานุภาพ​​อันยิ่งใหญ่ของพระองค์ และได้ทรงเริ่มครอบครอง (วิวรณ์ 11:17)

 

      ในคำสรรเสริญต่อไปนี้ของวิวรณ์ 14:7 ทูตสวรรค์สั่งให้คนเหล่านั้นที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินโลก “เกรงกลัวพระเจ้าและถวาย​​เกียรติแด่พระองค์” และให้ “นมัสการพระองค์”

 

และท่านประกาศด้วยเสียงอันดังว่า “จงเกรงกลัวพระเจ้าและถวาย​​เกียรติแด่พระองค์ เพราะ​​เวลาที่พระองค์จะทรงพิพากษาได้มาถึงแล้ว และจงนมัสการพระองค์ผู้ทรงสร้างฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลก ทะเลและบ่อน้ำพุทั้งหลาย” (วิวรณ์ 14:7 ฉบับ ESV)

 

      ในคำสรรเสริญต่อไปนี้จากวิวรณ์ 15:3-4 บรรดาผู้ที่เอาชนะสัตว์ร้ายก็เข้าร่วมนมัสการพระเจ้าในสวรรค์ด้วยการร้องเพลงของโมเสสและ “เพลงของพระเมษโปดก”  โมเสสได้นำชาวอิสราเอลร้องเพลงสรรเสริญและนมัสการพระเจ้า (อพยพ 15:1-21) หลังจากข้ามทะเลแดงอย่างไร พระเยซูก็ทรงนำมวลชนในสวรรค์ในการนมัสการพระเจ้าอย่างนั้นเช่นกัน!

 

และพวกเขาร้องเพลงของโมเสสผู้รับใช้ของพระเจ้า และเพลงของพระเมษโปดกว่า “ข้าแต่​​พระ​​เจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพสูงสุด พระราชกิจของพระองค์ยิ่งใหญ่และอัศจรรย์ยิ่งนัก!  ข้าแต่พระมหากษัตริย์ของบรรดาประชาชาติ พระมรรคาของพระองค์ยุติธรรมและ​​เที่ยงตรง!  ข้าแต่​​พระเจ้า มีใครบ้างที่ไม่เกรงกลัวพระองค์ และไม่ถวาย​​เกียรติพระนามของพระองค์  เพราะพระองค์ผู้เดียวทรงบริสุทธิ์ ประชาชาติทั้งหมดจะมาและนมัสการพระองค์ เพราะ​​พระราชกิจอันชอบธรรมของพระองค์ปรากฏให้เห็นแล้ว” (วิวรณ์ 15:3-4 ฉบับ ESV)

 

      คำสรรเสริญต่อไปนี้ในวิวรณ์ 16:5-7 เป็นคำสรรเสริญแด่พระเจ้าโดยทูตสวรรค์

 

และข้าพเจ้าได้ยินทูตสวรรค์แห่งห้วงน้ำทั้งหลายกล่าวว่า “ข้าแต่องค์ผู้บริสุทธิ์ ผู้ทรงเป็นอยู่และทรงเคยเป็นอยู่เพราะพระองค์ได้ทรงพิพากษาสิ่งเหล่านี้แล้ว  เพราะพวกเขาทำให้บรรดาธรรมิกชนและผู้เผยพระวจนะต้องหลั่งเลือดและพระองค์ได้ทรงให้พวกเขาดื่มเลือด  มันก็สมควรแล้ว!และข้าพเจ้าได้ยินแท่นบูชาขานรับว่า “จริงเช่นนั้น พระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพสูงสุด การพิพากษาของพระองค์เที่ยงตรงและยุติธรรม” (วิวรณ์ 16:5-7 ฉบับ ESV)

 

      ในคำสรรเสริญต่อไปนี้จากวิวรณ์ 19:1-8 การสรรเสริญและการนมัสการนี้ถวายแด่พระเจ้าโดยมหาชนในสวรรค์  ไม่มีการกล่าวถึงพระคริสต์ที่นอกเหนือจากงานอภิเษกสมรสของพระเมษโปดก  ไม่มีการนมัสการมุ่งไปที่พระเมษโปดก แต่งานอภิเษกสมรสของพระเมษโปดกเป็นเหตุให้ถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าผู้ประทับบนพระที่นั่งตรงกลาง

 

จากนั้นข้าพเจ้าได้ยินเสียงกึกก้องของผู้คนเป็นอันมาก​​ดัง​​อยู่ในสวรรค์ ร้องว่า “ฮาเลลูยา!  ความรอด และพระสิริ และฤทธานุภาพเป็นของพระเจ้าของเรา​ ​​​​เพราะการพิพากษาของพระองค์เที่ยงตรงและยุติธรรม เพราะพระองค์ได้ทรงพิพากษาโทษหญิงแพศยาตัวร้าย ผู้ทำให้​​โลกเสื่อมทรามด้วยการล่วงประเวณีของนาง และให้นางได้ชดใช้โลหิตของบรรดาผู้รับใช้ของพระองค์”  พวกเขาก็ร้องขึ้นอีก​​ครั้งว่า “ฮาเลลูยา!  และควันไฟจากโลก​​ก็พลุ่งขึ้นตลอดไปเป็นนิตย์”  และพวกผู้อาวุโสทั้งยี่สิบสี่คนกับสิ่งมีชีวิตทั้งสี่ ก็ทรุดตัวลงนมัสการพระเจ้าผู้ประทับบนพระที่นั่งและร้องว่า “อาเมน  ฮาเลลูยา!และมีเสียงดังจากพระที่นั่งว่า “ผู้รับใช้ทุกคนของพระเจ้า ผู้ที่เกรงกลัวพระองค์ ทั้งผู้เล็กน้อยและผู้ที่ใหญ่โต จงสรรเสริญพระเจ้าของเรา” แล้วข้าพเจ้าก็ได้ยิน​​เหมือน​​เสียงของผู้คนเป็นอันมาก ดังเหมือนอย่างเสียงน้ำเชี่ยวกราก และเหมือนเสียงฟ้าร้องกึกก้องว่า “ฮาเลลูยา!  เพราะพระ​​เจ้าของเราผู้ทรงฤทธานุภาพสูงสุดทรงครอบครองอยู่  ให้เรายินดีและเปรมปรีดิ์ และถวายพระสิริแด่พระองค์ เพราะงานอภิเษกสมรสของพระเมษโปดกมาถึงแล้ว และเจ้าสาวของพระองค์ก็เตรียมตัวพร้อมแล้ว ทรงให้เจ้าสาวสวมใส่ผ้าลินินเนื้อดี ผุดผ่องและหมดจด เพราะว่าผ้าป่านเนื้อดีนั้นก็คือการประพฤติอันชอบธรรมของธรรมิกชน” (วิวรณ์ 19:1-8 ฉบับ ESV)

 

      สุดท้ายนี้ นครในสวรรค์ในวิวรณ์ 21:23[11] นั้น “พระสิริของพระเจ้าทรงเป็นแสงสว่างของนครนั้น” (แทนที่ดวงอาทิตย์) และพระเมษโปดกทรงเป็นประทีปของนครนั้น (แทนที่ดวงจันทร์)

 

บทสรุปจนถึงตอนนี้

      การสำรวจของเราเกี่ยวกับคำสรรเสริญในพระคัมภีร์ใหม่ได้แสดงให้เห็นว่า พระยาห์เวห์พระเจ้าทรงเป็นเป้าหมายเดียวของการนมัสการ  เมื่อไม่มีคำสรรเสริญแด่พระเยซู (นอกจากหนึ่งหรือสองข้อที่ไม่แน่ชัด) ดังนั้นจึงไม่มีคำอธิษฐานกับพระเยซูในพระคัมภีร์ใหม่ดังที่เราจะได้เห็นต่อไป  นี่คือข้อเท็จจริงที่สำคัญและแสดงให้เห็นว่าไม่มีหลักฐานในเรื่องการยกพระเยซูเป็นพระเจ้าของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ  มีสองสามข้อซึ่งยังถกเถียงกันอยู่ ที่ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพใช้ในการสนับสนุนของพวกเขานั้น ไม่สามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยสามข้อนี้เมื่อพิจารณาจากบริบทโดยรวมของพระคัมภีร์ใหม่

      บรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพไม่ยอมรับความจริงที่เห็นชัดๆว่า พระเยซูทรงไม่ได้รับนมัสการในคริสตจักรของพระคัมภีร์ใหม่ หรือเป็นผู้ที่ผู้เชื่อทั้งหลายได้อธิษฐานกับพระองค์ในชีวิตประจำวัน  แต่ตรงกันข้ามกันแล้ว พระเยซูทรงให้พระองค์เองอยู่ในหมู่ของผู้ที่นมัสการพระเจ้า “พวกท่านนมัสการสิ่งที่พวกท่านไม่รู้จัก ส่วน​​เรานมัสการสิ่งที่เรารู้จัก เพราะความรอดมาจากพวกยิว” (ยอห์น 4:22)  ในเรื่องการอธิษฐานนั้น พระเยซูได้ทรงอธิษฐานต่อพระบิดาตลอดทั้งคืน (ลูกา 6:12)[12]  แม้กระทั่งภายหลังการฟื้นคืนพระชนม์และการได้รับพระเกียรติของพระองค์ พระเยซูก็ยังทรงอธิษฐานทูลขอเพื่อเราต่อไป (โรม 8:34; ฮีบรู 7:25; 1 ยอห์น 2:1)[13]

      ระเยซูคริสต์ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นสุดยอดของการทรงสร้าง แท้จริงให้อยู่ในตำแหน่งที่สองรองจากพระเจ้าเองนั้น ทรงเป็นมนุษย์ที่แท้จริงเช่นเดียวกับพวกเราทุกคน  นี่เป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจและเชื่อไม่ถึง  ตอนนี้เราได้เห็นแล้วว่าถ้อยคำในพระคัมภีร์เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์นั้นน่าอัศจรรย์มากกว่าถ้อยคำของความเชื่อในตรีเอกานุภาพเพียงใด  เช่นเดียวกันกับคำสอนของพระคัมภีร์ใหม่ทุกตอนซึ่งพระเยซูทรงได้รับการยกย่องด้วยถ้อยคำที่สูงส่ง แม้ว่าจะไม่เคยได้รับการยกย่องว่าเป็นพระเจ้าก็ตาม

      อันที่จริง คำยกย่องบางอย่างเกี่ยวกับพระเยซูในพระคัมภีร์ ได้สร้างปัญหาให้กับผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพ เพราะมันทำให้พระเยซูเป็นน้อยกว่าพระเจ้า ตัวอย่างเช่น พระคริสต์ทรงได้รับการถวายเกียรติให้เป็น “บุตรหัวปีของทุกสิ่งที่ทรงสร้าง” (โคโลสี 1:15) ซึ่งเป็นคำเรียกที่ได้รับการยกย่อง ที่ไม่ว่าเราจะตีความอย่างไร มันก็หมายถึงบุตรคนโต  ไม่มีบุตรคนใดที่จะเท่าเทียมกับบิดาของเขาทุกประการ เพราะโดยคำนิยามแล้ว บุตรก็มาจากบิดาของเขาในทางใดทางหนึ่ง ไม่เช่นนั้นเขาก็ไม่ถูกเรียกว่าบุตร ยกเว้นว่าถูกรับเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งเป็นความคิดที่บรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพจะถูกทักท้วงถ้านำมาใช้กับพระเยซู  แต่ถ้าพระเยซูทรงเป็นมนุษย์แท้ที่พระองค์เป็นตามพระคัมภีร์แล้วละก็ การกล่าวอ้างอย่างมีเกียรติว่า “บุตรหัวปีของทุกสิ่ง” ก็จะเป็นคำประกาศที่พิเศษของการยกย่องสูงสุด

      เนื่องจากพระเยซูทรงเป็นมนุษย์ (“พระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นมนุษย์” 1 ทิโมธี 2:5)[14] การยกย่องและการสรรเสริญที่ได้อ้างถึงพระองค์ในพระคัมภีร์ใหม่ (เช่น การยกย่องพระองค์ให้อยู่เบื้องพระหัตถ์ขวาของพระเจ้า) จึงเพิ่มความสำคัญมากขึ้น  เมื่อเราได้พ้นจากความบอดมืดของความเชื่อในตรีเอกานุภาพแล้ว คำสรรเสริญและการถวายพระเกียรติอันงดงามเหล่านี้จะกระตุ้นเราอย่างมีพลัง เพราะสิ่งเหล่านี้เผยให้เห็นถึงจุดที่สูงสุดของความรักและพระคุณของพระยาห์เวห์ที่แสดงกับพระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นมนุษย์ และโดยทางพระองค์นั้นก็ได้แสดงกับผู้ที่อยู่ในพระคริสต์  ในขณะที่คำสรรเสริญตามความเชื่อตรีเอกานุภาพเป็นเพียงสิทธิที่สมควรได้รับในความเป็นพระเจ้าของพระเยซู ในความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวตามพระคัมภีร์นั้น คำสรรเสริญเหล่านี้เป็นการเปิดเผยอย่างมหัศจรรย์ถึงพระคุณอันมากมายของพระยาห์เวห์ที่ทรงสำแดงแก่มนุษย์  ด้วยเหตุนี้คำสรรเสริญทั้งสิ้นที่หลั่งไหลมาที่พระเยซูในพระคัมภีร์ใหม่จึงเป็น “การถวายพระสิริแด่พระเจ้าพระบิดา” (ฟีลิปปี 2:11; เปรียบเทียบ 1 เปโตร 4:11)[15]  สิ่งนี้ที่ตรงกันข้ามกับความคิดของความเชื่อในตรีเอกานุภาพเพราะมันเบี่ยงเบนความสำเร็จจากพระบุตรมาที่พระบิดา

      พระเยซูไม่เคยเป็นเป้าหมายของการนมัสการในพระคัมภีร์ใหม่ ในลักษณะที่มีการถวายการนมัสการแด่พระเจ้า  เราได้อ่านเกี่ยวกับคนที่กราบบังคมพระเยซู ซึ่งโดยปกติแล้วจะคุกเข่าลงต่อหน้าพระองค์  ในสมัยโบราณแถบตะวันออกใกล้นั้น ผู้คนจะคุ้นเคยกับลักษณะท่าทางของการคุกเข่าและการหมอบลงซึ่งเป็นการแสดงความเคารพและความนอบน้อม แต่ไม่ได้เข้าใจกันว่าเป็นการนมัสการพระเจ้า  อับราฮัมกราบลงต่อหน้าคนฮิตไทต์ (ปฐมกาล 23:12)[16] และดาวิดกราบลงต่อหน้าซาอูล (1 ซามูเอล 24:8)[17] ทั้งที่รู้ว่าพระเจ้าไม่ได้ทรงยอมรับซาอูลเป็นกษัตริย์  คริสเตียนบางคนไม่เคยคุกเข่าต่อหน้าใครหรือให้กับสิ่งใด นอกจากจะคุกเข่าต่อหน้ารูปปั้นพระเยซูที่ถูกตรึงกางเขนหรือรูปปั้นศักดิ์สิทธิ์เพราะมีความคิดที่ผิดๆว่า การคุกเข่าต่อหน้าใครสักคนนั้นจำเป็นต้องเป็นการนมัสการพระเจ้า (ในบทต่อไปจะพูดถึงความหมายของ proskyneō เมื่อคำนี้ใช้กับพระเยซู)

 

ไม่มีการนมัสการพระวิญญาณบริสุทธิ์ในพระคัมภีร์

      พระคัมภีร์ไม่ได้กล่าวอะไรเลยถึงการนมัสการพระวิญญาณ  ผู้ที่เชื่อว่าพระวิญญาณเป็นพระองค์ที่สามในตรีเอกานุภาพและต้องนมัสการพระองค์ว่าเป็นพระเจ้านั้น จะต้องนิ่งอึ้งไปเลยด้วยความแปลกใจ  ที่ว่าพระคัมภีร์ไม่เคยกล่าวถึงการนมัสการพระวิญญาณนั้น ถูกตั้งข้อสังเกตโดยสารานุกรมพระคัมภีร์ฉบับ ISBE[18] ซึ่งเป็นหนังสืออ้างอิงของความเชื่อในตรีเอกานุภาพดังนี้

 

หลักฐานที่แสดงถึงความเป็นพระเจ้าของพระวิญญาณยิ่งน้อยลง และเลือนลางกว่าคำกล่าวที่รับกันของความเชื่อในตรีเอกานุภาพในศตวรรษที่ห้าที่เสนอแนะ (เปรียบเทียบหลักข้อเชื่ออธาเนเซีย)  พระวิญญาณถูกเรียกว่า “พระเจ้า” อย่างมากที่สุดครั้งหนึ่ง (กิจการ 5:3)[19]  ข้อความพระคัมภีร์เดิมที่เกี่ยวกับพระยาห์เวห์ไม่ได้นำมาใช้กับพระวิญญาณ  ไม่มีคำกล่าวของการดำรงอยู่ที่เกี่ยวกับความเป็นพระเจ้าปรากฏอยู่ เช่นเดียวกับที่ปรากฏเกี่ยวกับพระคริสต์  และพระวิญญาณบริสุทธิ์ในพระคัมภีร์ใหม่ก็ไม่เคยเป็นเป้าหมายของการนมัสการหรือการอธิษฐาน (ISBE ฉบับแก้ไขใหม่, เล่มที่ 4, “ตรีเอกานุภาพ”, “ความเป็นพระเจ้าของพระวิญญาณ”)[20]

 

      มีเพียงข้อเดียวในพระคัมภีร์ที่อาจพูดเป็นนัยถึงการนมัสการพระวิญญาณ คือยอห์น 4:24 ที่ว่า “พระเจ้าเป็นพระวิญญาณ และคนที่นมัสการพระองค์จะต้องนมัสการด้วยจิตวิญญาณและความจริง”  แต่ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพส่วนใหญ่ (เช่น จอห์น คาลวิน) ไม่คิดว่า “วิญญาณ” ในข้อนี้หมายถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์  มันเป็นคำกล่าวถึงพระลักษณะที่เป็นวิญญาณของพระเจ้ามากกว่า ดังนั้นพระคัมภีร์ส่วนใหญ่จึงขึ้นต้นเป็นตัวพิมพ์เล็กว่า “spirit” (ฉบับ NASB, ESV, NIV, NJB, HCSB, NET, RSV) แม้ว่าฉบับ NKJV จะขึ้นต้นเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ว่า “Spirit

      เมื่อพิจารณาถึงความเงียบสนิทของพระคัมภีร์เกี่ยวกับการนมัสการพระวิญญาณบริสุทธิ์ หลักข้อเชื่อไนเซียจึงผิดอย่างเห็นได้ชัดเมื่อกล่าวว่าพระวิญญาณเป็นผู้ที่ “ได้รับการนมัสการด้วยกันกับพระบิดาและพระบุตร” หลักข้อเชื่อไนเซียยังอธิบายอีกว่าทำไมความเชื่อในตรีเอกานุภาพจึงไม่ได้รับการยืนยันจนถึงปลายศตวรรษที่ 4 ในสภาสังคายนาแห่งคอนสแตนติโนเปิลครั้งแรกในปี ค.ศ. 381

      คริสเตียนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า ที่สภาสังคายนาแห่งไนเซีย ค.ศ. 325  ที่มีมาก่อนและสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์นั้น (ซึ่งมีความสำคัญเท่ากับสภาสังคายนาแห่งแคลซีดอน ค.ศ. 451 เท่านั้น) จะมีแต่พระบุตรเท่านั้นที่ถูกยกขึ้นเป็นพระเจ้าให้เท่าเทียมกับพระบิดา แต่ไม่ได้มีการยกพระวิญญาณขึ้นเป็นพระเจ้า  สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความไม่แน่นอนของคริสตจักรเกี่ยวกับผู้ที่เป็นพระเจ้า หรือแม้กระทั่งการแยกพระวิญญาณบริสุทธิ์ให้เป็นอีกบุคคลหนึ่ง  เพราะความลังเลนี้เอง หลักความเชื่อในทวิเอกานุภาพ[21] ค.ศ. 325 ที่มีมาก่อนจึงเป็นหลักความเชื่อที่ “ดีกว่า” (ในความหมายที่เสียดสี) หลักความเชื่อในตรีเอกานุภาพ ค.ศ. 381 เพราะมีข้อผิดพลาดน้อยกว่าอยู่หนึ่งข้อ

 

“คริสเตียนเริ่มแรกนมัสการพระเยซูหรือไม่?” โดย เจ ดี จี ดันน์

      คำถามที่ได้ตั้งเป็นชื่อหนังสือของเจมส์ ดี จี ดันน์ ว่า “คริสเตียนเริ่มแรกนมัสการพระเยซูหรือ ไม่? หลักฐานของพระคัมภีร์ใหม่[22] ที่ดันน์ตอบคำถามเองในบทสุดท้ายของหนังสือภายใต้หัวข้อว่า “คำตอบ”  คำตอบที่ตอบคำถามของดันน์เองก็คือ “ไม่” ที่มีความเหมาะสมและมีความหลากหลาย  ต่อไปนี้เป็นคำตอบในสองย่อหน้าสุดท้ายที่เขาตอบคำถามของเขาเอง

 

เมื่อพิจารณาถึงแง่คิดและข้อสรุปของคำถามซึ่งไม่ธรรมดาที่ว่า “คริสเตียนเริ่มแรกนมัสการพระเยซูหรือไม่?” นั้นอาจเห็นได้ว่ามีความเกี่ยวข้องน้อยมาก สำคัญน้อยมาก และอาจจะทำให้เข้าใจผิดได้  คำถามนี้สามารถตอบแบบตรงๆ หรือแบบไม่สนใจ หรือแม้แต่เชิงปฏิเสธ โดยมีคำตอบเชิงลบเป็นส่วนใหญ่  ไม่เลย โดยทั่วไปแล้วคริสเตียนเริ่มแรกไม่ได้นมัสการพระเยซูเช่นนั้น  ภาษาของการนมัสการและการนมัสการบางครั้งจะปรากฏในพระคัมภีร์ใหม่โดยอ้างอิงถึงพระคริสต์  แต่โดยรวมแล้วมีการแบ่งรับแบ่งสู้เกี่ยวกับบุคคลหลักมากกว่า  พระคริสต์ทรงเป็นบุคคลหลักของการสรรเสริญและการร้องเพลงสรรเสริญ ซึ่งเป็นเนื้อหาของการนมัสการของคริสเตียนในยุคแรกๆ มากกว่าผู้ที่จะได้รับการถวายการนมัสการและรับการสรรเสริญ  ที่เป็นแบบฉบับมากกว่าก็คือแง่ที่ว่า การนมัสการที่มีผลมากที่สุด (เท่านั้นหรือ?) การอธิษฐานที่มีผลมากที่สุดนั้นแสดงออกมาในพระคริสต์และผ่านทางพระคริสต์  กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เราพบความหมายที่ชัดเและคำพูดชัดเจนหลายอย่างว่า พระเยซูทรงทำให้การนมัสการเป็นไปได้ ที่พระเยซูทรงเป็นประเด็นและหนทางของการนมัสการในวิถีทางที่ล้ำลึก  เป็นที่ชัดเจนว่า สำหรับคริสเตียนเริ่มแรกนั้นเห็นได้ว่า พระเยซูไม่เพียงแต่เป็นผู้ที่ผู้เชื่อทั้งหลายเข้ามาหาพระเจ้าทางพระองค์เท่านั้น แต่ยังเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงเข้ามาหาผู้เชื่อทั้งหลายทางพระองค์อีกด้วย  ความหมายทำนองเดียวกันเกี่ยวกับการสถิตอยู่ใกล้ของพระเจ้าในพระวิญญาณ พระปัญญา และพระวจนะนั้น ก็ยังมีประสบการณ์ได้ด้วยและบริบูรณ์ยิ่งขึ้นในและผ่านทางพระคริสต์  พระองค์ทรงนำการสถิตอยู่ของพระเจ้าเข้ามาในประสบการณ์ของมนุษย์อย่างบริบูรณ์กว่าที่เคยเป็นมาก่อน

ดังนั้นคำถามที่สำคัญของเราจึงสามารถตอบได้ในเชิงลบจริงๆ และบางทีก็ควรจะเป็นเช่นนั้น  แต่จะไม่ใช่เช่นนั้น ถ้าผลที่ได้คือการนมัสการพระเจ้าที่เหมาะสมน้อยกว่ามาก เพราะการนมัสการที่ประกอบเป็นคริสต์ศาสนาจริงๆ และมีส่วนสนับสนุนเป็นพิเศษกับบทสนทนาเกี่ยวกับศาสนา[23]นั้น คือการนมัสการพระเจ้าที่ทำให้เป็นไปได้โดยพระเยซู เป็นการนมัสการพระเจ้าตามที่สำแดงให้เห็นในและทางพระเยซู  คริสต์ศาสนายังคงเป็นความเชื่อที่เชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียว  ผู้เดียวที่จะได้รับการนมัสการก็คือพระเจ้าองค์เดียวนี้  แต่เป็นไปได้อย่างไรที่คริสเตียนไม่ใด้ถวายพระเกียรติผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นพระเจ้าเพียงองค์เดียวที่ได้ทรงสำแดงพระองค์เองมากที่สุดผ่านทางพระองค์ผู้นี้ ผู้ซึ่งพระเจ้าเพียงองค์เดียวได้เข้ามาใกล้ชิดกับสภาวการณ์ของมนุษย์มากที่สุด?  พระเยซูไม่อาจล้มเหลวที่จะเป็นส่วนสำคัญในการนมัสการของพวกเขา ในเพลงสรรเสริญของพวกเขา และในการวิงวอนของพวกเขาต่อพระเจ้า  แต่การนมัสการเช่นนี้จะเป็นและควรจะเป็นการนมัสการที่ถวายพระสิริแด่พระเจ้าพระบิดาเสมอ  การนมัสการเช่นนี้จะเป็นและควรจะเป็นการนมัสการด้วยการรับรู้ว่าพระเจ้าทรงอยู่เหนือทุกสิ่งเสมอ และความสูงส่งของพระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าในสุดท้ายแล้วแสดงถึงและยืนยันถึงความสูงส่งของพระเจ้าองค์เดียวอย่างชัดเจนยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดในโลก (คริสเตียนเริ่มแรกนมัสการพระเยซูหรือไม่?, หน้า 150-151)

 

พระเมษโปดกผู้ทรงอยู่กลางพระที่นั่ง  [ส่วนนี้อาจข้ามไปในการอ่านครั้งแรก]

 

“เพราะพระเมษโปดกผู้ทรงอยู่กลางพระที่นั่งนั้นจะทรงเป็นพระผู้เลี้ยงของพวกเขา พระองค์จะทรงนำทางพวกเขาไปยังน้ำพุแห่งชีวิต และพระเจ้าจะทรงเช็ดน้ำตาทุกหยดจากตาของพวกเขา (วิวรณ์ 7:17

ฉบับ ESV)

 

      เราเข้าใจคำกล่าวว่า พระเมษโปดกผู้ทรงอยู่กลางพระที่นั่งนั้น ในวิวรณ์ 7:17 อย่างไร?  ถ้อย คำว่า “อยู่กลาง” มีรูปคำกรีกที่แน่นอนว่า ana meson  การค้นหารูปที่เป็นรากของคำคือ ana mesos แสดงให้เห็นว่า มีการใช้สามครั้งในพระคัมภีร์ใหม่ที่นอกจากวิวรณ์ 7:17 แต่ละครั้งอยู่ในรูปเดียวกันคือ ana meson (ตรงกับคำที่เน้นต่อไปนี้)

 

มัทธิว 13:25 ศัตรูของเขามาและหว่านข้าวละมานท่ามกลางข้าวดีนั้น

มาระโก 7:31 ในระหว่างเขตแดนแคว้นเดคาโปลิส

1 โครินธ์ 6:5  เป็นไปได้ไหมว่า ไม่มีใครในพวกท่าน​​ที่มีสติปัญญาที่จะวินิจฉัยเรื่องระหว่างพี่น้องได้?

 

      ข้อเหล่านี้ไม่ได้ให้รายละเอียดที่ชัดเจนถึงความหมายของ “พระเมษโปดกผู้ทรงอยู่กลางพระที่นั่งนั้น”  ยิ่งกว่านั้นในขณะที่มีข้ออ้างอิงมากมายในหนังสือวิวรณ์ว่าพระเจ้าประทับบนพระที่นั่งของพระองค์ ก็ไม่มีการอ้างอิงอย่างชัดเจนถึงพระเมษโปดกว่าประทับอยู่ตรงกลาง หรือใจกลางของพระที่นั่งนั้น

      พูดให้เจาะจงก็คือ มีการระบุถึงพระเจ้า 11 ครั้งในวิวรณ์ว่าเป็นพระองค์ผู้ “ประทับบนพระที่นั่ง” (วิวรณ์ 4:9,10; 5:1,7,13; 6:16; 7:10,15; 19:4; 20:11; 21:5)  ในข้อเหล่านี้ไม่มีข้อไหนที่บอกว่าพระคริสต์ประทับร่วมพระที่นั่งของพระบิดา  มีแต่ในวิวรณ์ 3:21 ที่กล่าวถึงพระคริสต์ว่าประทับบนพระที่นั่งของพระบิดา (“เหมือนที่เราก็มีชัยชนะและได้นั่งกับพระบิดาของเราบนพระที่นั่งของพระองค์”) แต่ในข้อเดียวกันยังบอกด้วยว่าพระเยซูทรงมีพระที่นั่งของพระองค์เอง (“เราจะให้เขานั่งกับเราบน​​ที่นั่งของเรา”) เช่นเดียวกับผู้อาวุโสทั้ง 24 คนที่มีที่นั่งของตนเองดังที่เราเห็นในห้าข้อต่อมา (4:4 และ 11:16)[24]  24 ที่นั่งนี้จัดไว้ “รอบ” พระที่นั่งของพระเจ้าโดยมีพระคริสต์ประทับที่เบื้องขวาพระหัตถ์ของพระเจ้า  นี่จะทำให้เห็นว่าพระที่นั่งของพระคริสต์อยู่ทางด้านขวาพระที่นั่งของพระเจ้า

      ในพระคัมภีร์ใหม่ การผูกประโยคด้วย en mesos มีปรากฏบ่อยครั้ง (26 ครั้ง) กว่า ana meson คำบุพบททั้งสองเป็น “คำพ้องความหมายที่ไม่ตายตัว” (พระคัมภีร์ภาษากรีกของผู้อธิบาย, เล่มที่ 5, หน้า 400)[25]  สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาของเรามากกว่าคือข้อเท็จจริงว่า en mesos มีปรากฏเจ็ดครั้งในวิวรณ์ ซึ่งแต่ละครั้งก็อยู่ในรูปเดียวกันคือ en mesōi ต่อไปนี้คือเจ็ดข้อดังกล่าว (ทั้งหมดอ้างอิง มาจากฉบับ  ESV ยกเว้นระบุไว้อย่างอื่น)

 

 

วิวรณ์ 1:13   ท่ามกลางคันประทีปเหล่านั้นมีผู้หนึ่งเหมือนบุตรมนุษย์

วิวรณ์ 2:1    ผู้ทรงดำเนินอยู่ท่ามกลางคันประทีปทองคำทั้งเจ็ด

วิวรณ์ 4:6    “ท่ามกลางพระที่นั่งนั้น” (ฉบับ NKJV) หรือ “ตรงกลาง, รอบพระที่นั่งนั้น

 (ฉบับ NIV)

วิวรณ์ 5:6    “ท่ามกลางพระที่นั่งและสิ่งมีชีวิตทั้งสี่นั้น” (ฉบับ NKJV) หรือ “ตรงกลางพระที่นั่ง

 ซึ่งรายล้อมด้วยสิ่งมีชีวิตทั้งสี่นั้น (ฉบับ NIV)

วิวรณ์ 5:6    ท่ามกลางพวกผู้อาวุโส (ฉบับ NKJV)

วิวรณ์ 6:6     เสียงพูดดัง​​จากท่ามกลางสิ่งมีชีวิตทั้งสี่นั้น

วิวรณ์ 22:2   ผ่านกลางถนนของนครนั้น

 

      วิวรณ์ 5:6 ถูกระบุไว้สองครั้งเนื่องจากมีการปรากฏสองครั้งของ en mesos ซึ่งพจนานุกรมภาษากรีก-อังกฤษฉบับ BDAG (mesos) ได้อธิบายทั้งสองกรณีไว้ว่า กรณีแรกในวิวรณ์ 5:6 พจนานุกรมภาษากรีก-อังกฤษฉบับ BDAG เสนอแนะว่า “ตรงกลางของพระที่นั่งและท่ามกลางสิ่งมีชีวิตทั้งสี่นั้น”   พจนานุกรมภาษากรีก-อังกฤษฉบับ BDAG ให้กรณีที่สองอยู่ภายใต้คำนิยาม 2b (“ว่าเป็นคำแทน ไม่มีเพศ ἀνὰμέσον”) ซึ่งนำมาสู่ ​​“ในท่ามกลาง, ท่ามกลาง” นั่นก็คือท่ามกลางพวกผู้อาวุโส

      ดังนั้นการแปลภาษากรีกที่ถูกต้องที่สุดของวิวรณ์ 5:6 น่าจะเป็นว่า “ท่ามกลางพระที่นั่งและสิ่งมี ชีวิตทั้งสี่และท่ามกลางพวกผู้อาวุโส” (ซึ่งตรงกันกับฉบับ NKJV)[26]  ทำไมยอห์นจึงใช้ “ท่ามกลาง” ถึงสองครั้งในข้อนี้?  เป็นไปได้ไหมว่าสิ่งมีชีวิตทั้งสี่ เช่น พระเมษโปดก ที่อยู่ภายในพระที่นั่ง ในขณะที่พวกผู้อาวุโสไม่ได้อยู่ภายใน แต่อยู่รอบพระที่นั่ง?  ดูเหมือนวิวรณ์ 6:6 จะสนับสนุนเรื่องนี้ว่า “ได้ยินเสียง​​ดังออกมาจากท่ามกลางสิ่งมีชีวิตทั้งสี่นั้น”  เมื่อพิจารณาถึงสิ่งที่กล่าวมาก่อนแล้ว เสียงนี้ต้องเป็นของพระเมษโปดก

      แต่ถ้าพระที่นั่งที่พระเจ้าประทับอยู่ ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นโครงสร้างเสมือนวัตถุ แต่เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจของพระองค์ (เช่นเดียวกับ “คทา” ซึ่งมักจะมีความหมายนี้ เช่น ปฐมกาล 49:10; สดุดี 45:6; 110:2) นอกจากนั้นพระเมษโปดกที่อยู่ตรงกลางจะชี้ให้เห็นว่าพระเยซูทรงมีบทบาทสำคัญในการปกครองจักรวาลของพระเจ้า  ในการปกครองนี้พระเมษโปดกทรงได้รับความช่วยเหลือบางอย่างจากสิ่งมีชีวิตทั้งสี่  เนื่องจากพระเจ้าได้ทรงให้บทบาทสำคัญกับพระเมษโปดกในการปกครองเหนือจักรวาลของพระองค์  พระที่นั่งของพระองค์จึงถูกเรียกอย่างเหมาะสมว่า “พระที่นั่งของพระเจ้าและของพระเมษโปดก” (วิวรณ์  22:1)[27]

      ไม่ว่า “ท่ามกลางพระที่นั่ง” อาจหมายถึงอะไร สิ่งหนึ่งที่แน่นอนก็คือ การอยู่ “ท่ามกลางพระที่นั่ง” เป็นการอยู่ภายใต้อำนาจของ “พระผู้ทรงประทับอยู่บนพระที่นั่ง”

      ในคู่มืออธิบายพระคัมภีร์ที่ยอมรับกันเกี่ยวกับวิวรณ์ของอาร์ เอช ชาร์ลส์นั้น เขาได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับบรรพบุรุษของชาวยิวเกี่ยวกับ “พระที่นั่งของพระเจ้าและของพระเมษโปดก” (วิวรณ์ 22:1)  คู่มืออธิบายพระคัมภีร์ให้ข้อสังเกตที่สำคัญว่า ในแนวคิดของชาวยิวเกี่ยวกับพระเมสสิยาห์ที่ประทับบนพระที่นั่งของพระเจ้านั้น การนมัสการจะมุ่งไปที่พระเจ้า ไม่ใช่ที่พระเมสสิยาห์ (ดูประโยคสุดท้ายในคำอ้างอิงต่อไปนี้)

 

ความคิดนี้ [ของการนั่งบนพระที่นั่งของพระเจ้า] เกี่ยวกับพระเมสสิยาห์อยู่ในช่วงก่อนเริ่มยุคของคริสเตียน โดยเปรียบเทียบกับ 1 เอโนค 51:3 “และเวลานั้นพระองค์ผู้ที่ทรงเลือกไว้จะประทับบนพระที่นั่งของเรา”  ในทำนองเดียวกันพระองค์ผู้ที่ทรงเลือกไว้ได้ถูกระบุว่าประทับบน “พระที่นั่งแห่งพระสิริ” 45:3, 55:4 และระบุว่าประทับบน “พระที่นั่งแห่งพระสิริของพระองค์ (นั่นคือ พระสิริของพระเจ้า),62:3,5 (เปรียบเทียบ 51:3)  ในทำนองเดียวกัน องค์ผู้เป็นเจ้าแห่งพระวิญญาณทั้งหลายทรงให้พระองค์ผู้ที่ทรงเลือกไว้ได้ประทับ “บนพระที่นั่งแห่งพระสิริ” (61:8), “บนพระที่นั่งแห่งพระสิริของพระองค์,62:2  พระที่นั่งนี้เรียกว่าพระที่นั่งของบุตรมนุษย์, 69:27, 29  ท้ายที่สุดนี้เป็นที่สังเกตว่า แม้องค์ผู้เป็นเจ้าแห่งพระวิญญาณทั้งหลายทรงให้พระองค์ผู้ที่ทรงเลือกไว้ได้ประทับ “บนพระที่นั่งแห่งพระสิริ” ใน 61:8 และพระองค์ทรงพิพากษามนุษย์ทุกคน, แต่ใน 61:9, คำสรรเสริญของทุกคนจะมุ่งไปที่องค์ผู้เป็นเจ้าแห่งพระวิญญาณทั้งหลาย (คู่มืออธิบายการวิเคราะห์และการตีความเกี่ยวกับวิวรณ์ของเซนต์ยอห์น[28], เล่ม 2, หน้า 175-176)

 

โรม 9:5b เทียบพระคริสต์ให้เท่ากับพระเจ้าไหม?

      รม 9:5 กล่าวว่า “ทั้งบรรพบุรุษก็เป็นของพวกเขา และพระคริสต์ก็มาจากเชื้อสายของพวกเขาทางเนื้อหนัง ผู้ทรง​​เป็นพระเจ้าเหนือทุกสิ่ง ทรงได้รับการสรรเสริญเป็นนิตย์ อาเมน” (ฉบับ ESV)[29] มีความไม่เห็นด้วยกันในบรรดาพระคัมภีร์เกี่ยวกับวิธีที่ส่วนหลังของข้อนี้ก่อนคำว่า “อาเมน” ควรจะแปล ดังจะได้เห็นต่อไปนี้

 

... พระคริสต์ผู้ทรง​​เป็นพระเจ้าเหนือทุกสิ่ง ทรงได้รับการสรรเสริญ​​เป็นนิตย์ (ฉบับ ESV)

         ... พระคริสต์ได้เสด็จมา ผู้ทรงอยู่เหนือทุกสิ่ง ทรงได้รับการสรรเสริญเป็นนิตย์ (ฉบับ KJV)

... พระคริสต์ผู้ทรงอยู่เหนือทุกสิ่ง  พระเจ้า ทรงได้รับการสรรเสริญเป็นนิตย์ (ฉบับ NJB)

         ... พระเมสสิยาห์ พระเจ้าผู้ทรงอยู่เหนือทุกสิ่งทรงได้รับการสรรเสริญเป็นนิตย์ (ฉบับ NAB)

... แด่พระคริสต์ ขอพระเจ้าผู้ทรงอยู่เหนือทุกสิ่ง ทรงได้รับการสรรเสริญในยุคต่อๆไป! (ฉบับ ITNT)

    ... พระเมสสิยาห์ ผู้ทรงอยู่เหนือทุกสิ่ง ขออาโดนายได้รับการสรรเสริญเป็นนิตย์ (ฉบับ CJB)

... พระเมสสิยาห์ อพระเจ้าผู้มีอำนาจสูงสุดเหนือ​​ทุกสิ่ง ได้รับการสรรเสริญเป็นนิตย์! (ฉบับ REB)

... พระคริสต์ ผู้ทรงเป็นพระเจ้าเหนือทุกสิ่ง ทรงได้รับการสรรเสริญเป็นนิตย์! (ฉบับ NIV)[30]

... พระคริสต์ พระเจ้าผู้ทรงอยู่เหนือทุกสิ่ง ทรงได้รับการสรรเสริญเป็นนิตย์ (ฉบับ RSV)[31]

... พระเมสสิยาห์ ผู้ทรงอยู่เหนือทุกสิ่ง ขอพระเจ้าทรงได้รับการสรรเสริญเป็นนิตย์ (ฉบับ NRSV)[32]

... พระคริสต์ตามเชื้อสายงเนื้อหนัง ผู้ทรงอยู่เหนือ​​ทุกสิ่ง ขอพระเจ้าทรงได้รับการสรรเสริญเป็นนิตย์ (ฉบับ NASB)

 

      การแปลคำสรรเสริญที่แตกต่างกันในโรม 9:5b แบ่งออกเป็นสองกลุ่มหลัก คือกลุ่มที่ระบุว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระเจ้า (ฉบับ ESV, NIV, NJB) และกลุ่มที่ไม่ได้ระบุเช่นนั้น (ฉบับ NAB, RSV, ITNT, CJB, REB); รวมทั้งในกลุ่มก่อนหน้านี้ (ฉบับ KJV, NASB, NRSV) ซึ่งบอกเป็นนัยว่าพระคริสต์ทรงเป็นพระเจ้า แต่ใช้ภาษาที่สร้างความคลุมเครือสักหน่อยกับผู้ที่คุ้นกับภาษาอังกฤษ  การแปลบางฉบับ (ฉบับ NIV, RSV, NRSV) ยอมรับความหมายทั้งสองอย่างว่าเป็นไปได้ โดยให้การแปลทางเลือกไว้ในเชิงอรรถ      

      ความหลากหลายของการแปลเกิดจากปัญหาเดียวและอย่างเดียวเท่านั้น นั่นก็คือการตีความโรม 9:5 ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ผู้แปลคิดว่าเป็นวิธีการที่ถูกต้องในการใส่เครื่องหมายวรรคตอนคำกล่าวในข้อความภาษากรีก  มันไม่ใช่เรื่องของการรับรองต้นฉบับ (ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับหลักฐานต้นฉบับ) แต่อยู่ที่เครื่องหมายวรรคตอน (ข้อความต้นฉบับภาษากรีกไม่มีเครื่องหมายวรรคตอน)  โครงสร้างของประโยคที่คลุมเครือของโรม 9:5 ชี้ให้เห็นว่าข้อนี้เพียงลำพังไม่สามารถใช้เป็นตัวบทพิสูจน์หรือต่อต้านความเชื่อในตรีเอกานุภาพได้

      ในความเป็นจริงแล้ว พระคัมภีร์ของความเชื่อในตรีเอกานุภาพหลายฉบับได้เลือกที่จะแปลโรม 9:5 ที่ไม่ใช่แบบของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ  เหตุผลหนึ่งก็คือถ้อยคำว่า “ผู้ทรงอยู่เหนือทุกสิ่ง” นั้นแทบจะนำมาใช้กับพระคริสต์ไม่ได้ เพราะเปาโลกล่าวในที่อื่นว่า พระคริสต์จะอยู่ใต้อำนาจของพระเจ้าในเหตุการณ์ของวาระสุดท้าย (1 โครินธ์ 15:27-28)[33]

      การแปลของฉบับ NRSV (“พระเมสสิยาห์ ผู้ทรงอยู่เหนือทุกสิ่ง ขอพระเจ้าทรงได้รับการสรร    เสริญเป็นนิตย์”) เป็นการแปลที่ใกล้เคียงที่สุดกับโครงสร้างความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์ของต้นฉบับพระคัมภีร์ภาษากรีกฉบับ NA28 แต่เราควรจำไว้เสมอว่า การใส่เครื่องหมายวรรคตอนในภาษากรีกนั้นเป็นการตัดสินใจโดยคณะกรรมการบรรณาธิการของพระคัมภีร์ภาษากรีกฉบับ NA28 และจำไว้เสมอว่าต้นฉบับภาษากรีกไม่มีเครื่องหมายวรรคตอนเหมือนที่เราจะเห็นต่อไปนี้จากฉบับ NA28

 

ν ο πατρες κα ξ ν Χριστς τ κατ σρκα, ὁ ν π πντων θες ελογητς ες τος αἰῶνας, μν. (Romans 9:5, NA28)

        

                                                                              

      อย่างไรก็ตาม การที่ฉบับ NRSV ใช้ “พระเมสสิยาห์” แทนที่จะเป็น “พระคริสต์” ในโรม 9:5 นั้นได้ช่วยเตือนเราว่า “พระคริสต์” ไม่ใช่ชื่อที่ถูกต้องอย่างแท้จริงหรือที่มีแต่เดิมซึ่งหมายถึงพระเมสสิยาห์ (ผู้ได้รับการทรงเจิม)  แนวคิดที่พระเมสสิยาห์สามารถถูกเข้าใจว่าเป็นบุคคลเดียวกับพระเจ้า หรือพระเจ้าเป็นบุคคลเดียวกับพระเมสสิยาห์นั้น เป็นเรื่องที่แปลกสำหรับพระคัมภีร์เดิมและพระคัมภีร์ใหม่  พระเจ้าเองเป็นผู้ทรงเจิมพระเมสสิยาห์ (กิจการ 4:27; 10:38)[34] เป็นผู้แต่งตั้งพระองค์ให้เป็นผู้ช่วยกู้ของอิสราเอล ซึ่งเป็นผู้ที่ดาวิดกล่าวว่า “องค์ผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า” ในสดุดี 110:1

      เอช เอ ดับบลิว มายเออร์[35]ไม่ยอมรับการให้พระคริสต์เทียบเท่ากับพระเจ้าในโรม 9:5 และชี้ให้

เห็นว่าใน 2 โครินธ์ 6:18[36] กล่าวถึงพระเจ้าว่าเป็น pantokratōr หรือผู้ปกครองผู้ทรงฤทธิ์ (คำนี้ถูกกำหนดโดยพจนานุกรมภาษากรีก-อังกฤษฉบับ BDAG ไว้ว่า “ผู้ทรงฤทธิ์ ผู้ทรงฤทธานุภาพทั้งสิ้น    ผู้ทรงฤทธิ์อำนาจทุกอย่าง”)  อย่างแรก มายเออร์กล่าวว่า

 

เปาโล ไม่เคย [การเน้นย้ำของมายเออร์] ใช้คำ theos (พระเจ้า) กับพระคริสต์ เช่นเดียวกับยอห์น  เพราะเขาไม่ได้เลือกใช้รูปแบบความคิดของอเล็กซานเดรียและการกำหนดแก่นแท้ในความเป็น    พระเจ้าของพระคริสต์ แต่ได้ยึดมั่นกับสิ่งที่เห็นประจักษ์ที่ยอมรับกัน คือการใช้ถ้อยคำตามความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวอย่างเคร่งครัด [คำตัวเอนเป็นของข้าพเจ้า] ไม่ได้ดัดแปลงตามความคิดทางปรัชญาแม้เพื่อการกำหนดพระคริสต์ และเขาก็แยกให้เห็นความแตกต่างระหว่างพระเจ้ากับพระคริสต์อย่างถูกต้องเสมอ

 

      มายเออร์ให้รายละเอียดที่เปาโลแยกให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างพระเจ้ากับพระคริสต์ และความไม่น่าเป็นไปได้ที่จะระบุว่าพระคริสต์เป็นบุคคลเดียวกับพระเจ้าในโรม 9:5

      

 

 

ตัวยอห์นเองเรียกพระลักษณะพระเจ้าของพระคริสต์ว่า theos เฉพาะในบทนำพระกิตติคุณของเขาเท่านั้น และเฉพาะในเรื่องการเชื่อมโยงที่ใกล้เคียงที่สุดกับความคิดเกี่ยวกับโลกอส  และด้วยเหตุนี้จึงมีเส้นแบ่งที่ละเอียดอ่อนระหว่างพระบิดาและพระบุตรกระจายอยู่ทั่วพระคัมภีร์ใหม่ เพื่อว่าแม้แก่นแท้ของความเป็นพระเจ้าและพระสิริของบุคคลหลังจะได้รับการถวายเกียรติด้วยคำกล่าวที่สูงส่งที่สุดในหลายรูปแบบ  แต่ถึงอย่างนั้น ก็จะมีเพียงพระบิดา ผู้ที่พระบุตรอยู่ภายใต้บัญชามาตลอดเท่านั้น และไม่ใช่พระคริสต์ ที่ถูกเรียกจริงๆว่าพระเจ้า (คำเน้นเป็นของมายเออร์) โดยบรรดาอัครทูต (โดยยกเว้นยอห์น 1:1 และคำอุทานของโธมัสในยอห์น 20:28) แม้แต่ใน 1 ยอห์น 5:20 โดยเฉพาะเปาโล แม้เมื่อเขารวบรวมและกลั่นกรองถ้อยคำอย่างมากในเรื่องพระลักษณะที่เหมือนพระเจ้าของพระคริสต์ที่ได้รับยกย่องนั้น (ดังในฟีลิปปี 2:6 เป็นต้นไป; โคโลสี 1:15 เป็นต้นไป, 2:9) ก็ไม่ได้เรียกพระองค์ว่า theos (พระเจ้า) แต่แยกความแตกต่างไว้ชัดเจนและแจ่มแจ้งว่าพระองค์เป็น kyrios [Lord, องค์ผู้เป็นเจ้า] ที่ต่างจาก theos (พระเจ้า) แม้ใน [โรม] 10:9, 1โครินธ์ 12:3 ...

นอกเหนือจากความยุ่งยากที่แยกไม่ออก (ในการเทียบพระคริสต์ให้เท่ากับพระเจ้าในโรม 9:5) จะเกริ่นให้รู้ ว่าพระเยซูคริสต์ในที่นี้ไม่เพียงและแค่ถูกเรียกว่า theos เท่านั้น แต่ยังถูกเรียกว่า “พระเจ้าเหนือทุกสิ่ง” และด้วยเหตุนี้จึงจะถูกระบุว่าเป็น theos pantokratōr [พระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพสูงสุด] ซึ่งขัดแย้งกับมุมมองของพระคัมภีร์ใหม่อย่างสิ้นเชิง ในเรื่องที่พระบุตรทรงพึ่งพาต่อพระบิดา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพระคัมภีร์ตอนต่างๆ เช่น โรม 8:34 (entugchanei), 1 โครินธ์ 3:23, 8:6, 11:3; เอเฟซัส 4:5,6 และโดยเฉพาะ 1 โครินธ์ 15:28[37]  ดังนั้นคำสรรเสริญของพระคัมภีร์จากตอนของเราจึงไม่สามารถอ้างถึงพระคริสต์ได้ แต่จะต้องอ้างถึงพระเจ้า (คู่มือวิเคราะห์และตีความโรม, หน้า 362)

 

      เจมส์ ดี จี ดันน์ ยังสรุปอีกด้วยว่า พระคริสต์ไม่ได้ถูกเข้าใจว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับ “พระเจ้าเหนือทุกสิ่ง” ในโรม 9:5 เพราะการ “ทิ้งความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวของอิสราเอลไปในทันที ทันใด” นั้นไม่สามารถจะเอามาคิดได้

 

จะเห็นอีกว่า ในขณะที่เปาโลคุ้นเคยเป็นอย่างดีอยู่แล้วในการเชื่อมโยงพระคริสต์กับพระเจ้าและถือว่างานของพระเจ้ามาทางพระคริสต์นั้น (1:7; 1 โครินธ์ 8:6)[38] จึงเป็นไปได้น้อยว่าเขาจะตั้งใจเรียกพระคริสต์ว่า “พระเจ้าเหนือทุกสิ่ง” (ตรงข้ามกับ 1 โครินธ์ 15:24-28)  เช่นเดียวกับ ที่ไม่น่าเป็นไปได้ที่การเทียบเคียงข้ออ้างอิงถึงพระเมสสิยาห์ของอิสราเอลกับ “พระเจ้าเหนือทุกสิ่ง” จะอ่านให้เป็นสิ่งเดียวกัน  ยิ่งผู้อ่านของเขาตระหนักถึงความต่อเนื่องระหว่างความเชื่อของคนอิสราเอลกับพระกิตติคุณของเปาโลมากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นไปได้น้อยที่พวกเขาจะอ่านถ้อยคำที่คลุมเครือเหมือนว่าเป็นการทิ้งความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวของอิสราเอลไปในทันทีทันใด ซึ่งโครงสร้างของประโยคที่ตรงไปตรงมาจะยิ่งแสดงให้เห็น  อันที่จริง มันอาจเป็นความต้องการของเปาโลที่จะเน้นความเป็นสากลของการรวบรวมให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพระเจ้าทั้งชาวต่างชาติและชาวยิว ซึ่งส่งผลให้ใช้ถ้อยคำที่ผิดจากธรรมดา  เช่นเดียวกับในโรม 3:29-30[39] ที่เขาได้ใช้ความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวของชาวยิวให้เป็นจุดพื้นฐานเดียวกัน ดังนั้นคำตรงนี้จึงเป็นรูปแบบปกติของคำสรรเสริญแด่พระเจ้าองค์เดียวมากกว่า (“สาธุการแด่พระเจ้า ...”) เขาเลือกที่จะเน้นว่าพระเจ้าที่เขายกย่องเทิดทูนคือ พระเจ้าผู้ทรงอยู่เหนือทุกสิ่ง  “พระองค์ผู้ทรงเป็นพระเจ้าเหนือทุกสิ่ง ขอพระองค์ทรงรับการสรรเสริญ​​​เป็นนิตย์ อาเมน” (คู่มืออธิบายคำในพระคัมภีร์, โรมบทที่ 9-16, เล่ม 38B, หน้า 536, เกี่ยวกับโรม 9:5)[40]

 

      คำกล่าวของดันน์และของมายเออร์เป็นลักษณะทั่วไปที่ใช้กับคำสอนของเปาโลโดยรวม และไม่จำกัดแต่เฉพาะโรม 9:5  ถ้อยคำที่ชัดเจนก็คือ เปาโลไม่เคยละทิ้ง “ความเชื่อของอิสราเอลว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียว”

 

พระเจ้าทรงได้รับการสรรเสริญเป็นนิตย์

    เพื่อให้เข้าใจคำสรรเสริญของโรม 9:5 ดีขึ้น เราจะเปรียบเทียบกับอีกสองคำกล่าวของเปาโลซึ่งใช้คำคล้ายกันในสามข้อต่อไปนี้ (ทั้งหมดมาจากฉบับ ESV) ต้นฉบับภาษากรีกจะอยู่ในวงเล็บที่เหมือน กับคำที่เป็นตัวเอน

 

โรม 9:5 ทั้งบรรพบุรุษก็เป็นของพวกเขา และพระคริสต์ก็มาจากเชื้อสายของพวกเขาทางเนื้อหนัง ผู้ทรงเป็นพระเจ้าเหนือทุกสิ่ง ทรงได้รับการสรรเสริญเป็นนิตย์ อาเมน (theos eulogētos eis tous aiōnas, amēn)

โรม 1:25 เพราะพวกเขาได้เอาความจริงเกี่ยวกับพระเจ้ามาแลกกับความเท็จ และนมัสการและปรนนิบัติสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นแทนพระ​​ผู้สร้าง ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญเป็นนิตย์! อาเมน  (hos [theos] estin eulogētos eis tous aiōnas, amēn)

2 โครินธ์ 11:31 พระเจ้าและพระบิดาของพระเยซูองค์​​ผู้เป็นเจ้า พระองค์ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญเป็นนิตย์ ทรงทราบว่าข้าพเจ้าไม่ได้โกหก (ho ōn eulogētos eis tous aiōnas)

 

      คำสรรเสริญในข้อที่สองจากข้อเหล่านี้ในโรม 1:25 ได้กล่าวถึงพระเจ้าอย่างชัดเจน  ไม่มีอะไรในเนื้อหาของข้อนี้หรือคำสอนของเปาโลโดยรวมที่แสดงให้เห็นว่าจู่ๆ เปาโลจะกล่าวคำสรรเสริญแด่พระคริสต์  เราเพิ่งจะเห็นว่าดันน์พูดถึง “ความต่อเนื่องระหว่างความเชื่อของคนอิสราเอลและพระกิตติคุณของเปาโล” ซึ่งทำให้ไม่น่าจะ “ทิ้งความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวของอิสราเอลไปในทันทีทันใด

      คำสรรเสริญในข้อที่สามใน 2 โครินธ์ 11:31 นั้นไม่มีข้อสงสัยเลยว่ากล่าวถึงพระเจ้าและไม่ใช่ถึงพระเยซู ดังที่ได้เห็นในกรรตุการกของ ho ōn ซึ่งสอดคล้องกับกรรตุการกของ “พระเจ้า” และไม่ได้สอดคล้องกับสัมพันธการก[41]ของ “พระเยซูองค์​​ผู้เป็นเจ้า”

      การที่คำสรรเสริญในสองข้อนี้ คือโรม 1:25 และ 2 โครินธ์ 11:31 กล่าวถึงพระเจ้าแทนที่จะเป็นพระคริสต์นั้น ให้น้ำหนักกับมุมมองว่าคำสรรเสริญในโรม 9:5 ซึ่งมีถ้อยคำที่คล้ายกันในภาษากรีกนั้นได้กล่าวถึงพระเจ้ามากกว่ากล่าวถึงพระคริสต์เช่นเดียวกัน

      คำว่า eulogētos (“ได้รับการสาธุการ ได้รับการสรรเสริญ”) ที่ใช้ในโรม 9:5 มีปรากฏแปดครั้งในพระคัมภีร์ใหม่  ในการปรากฏทั้งแปดครั้งนี้เป้าหมายของคำสรรเสริญคือพระเจ้าพระบิดามากกว่าพระเยซูคริสต์โดยไม่มีข้อยกเว้น (คำตัวเอนเหมือนกับ eulogētos):

 

มาระโก 14:61 ท่านคือพระคริสต์ พระบุตรขององค์ผู้รับการสาธุการหรือ?

ลูกา 1:68 สาธุการแด่องค์ผู้เป็นเจ้า พระเจ้าแห่งอิสราเอล

โรม 1:25 พระ​​ผู้สร้าง ผู้ทรงได้รับการสาธุการเป็นนิตย์

โรม 9:5 พระเจ้าผู้ทรง​​อยู่เหนือทุกสิ่ง ทรงได้รับการสรรเสริญเป็นนิตย์

2 โครินธ์ 11:31 พระเจ้าและพระบิดาของพระเยซูองค์​​ผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญเป็นนิตย์

2 โครินธ์ 1:3, เอเฟซัส 1:3, 1 เปโตร 1:3 สาธุการแด่​​พระเจ้าและพระบิดาแห่งพระเยซูคริสต์องค์​​ผู้เป็นเจ้าของเรา

 

ข้อสรุปโดยรวม

      ผมได้ตรวจสอบทุกคำสรรเสริญในพระคัมภีร์ใหม่ และขอยืนยันว่าคำสรรเสริญทั้งหมดมุ่งไปที่พระยาห์เวห์แต่เพียงผู้เดียวที่เป็นเป้าหมายของการนมัสการ  มีหนึ่งหรือสองข้อยกเว้นเป็นที่ถกเถียงกันหรือมีข้อจำกัดในเรื่องนี้ แต่ไม่มีเลยสักคำสรรเสริญเดียวแด่พระเยซูที่ยืนยันแน่นอน  นี่แสดงให้เห็นว่าพระองค์ไม่ได้เป็นเป้าหมายของการนมัสการในคริสตจักรของพระคัมภีร์ใหม่  ด้วยเหตุนี้และเหตุอื่นๆ ผมจึงได้กล่าวว่าสิ่งที่คริสตจักรของชาวต่างชาติได้ทำและยังคงกำลังทำอยู่นั้นตรงกันข้ามกับสิ่งที่เราพบในพระคัมภีร์ใหม่ และด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นการไหว้รูปเคารพอย่างไม่ต้องสงสัย

      การสำรวจของเราเกี่ยวกับคำสรรเสริญในพระคัมภีร์ใหม่แสดงให้เห็นว่า ไม่มีสักคำสรรเสริญเดียวที่สามารถอ้างถึงพระคริสต์ได้อย่างแน่นอน  โรม 9:5 มีความใกล้เคียงในเรื่องนี้มากที่สุด เพราะตามโครงสร้างของประโยคภาษากรีกที่คลุมเครือแล้ว อาจหมายถึงพระบิดาหรืออาจหมายถึงพระคริสต์  แต่เมื่อพิจารณาถึงกรณีอื่นๆ โดยเฉพาะข้อเท็จจริงที่ว่า ไม่มีที่อื่นในงานเขียนของเปาโลที่เคยพูดถึงพระคริสต์ว่าเป็น “พระเจ้า” นั้น นักวิชาการที่มีชื่อเสียงอย่าง เอช เอ ดับบลิว มายเออร์, เจมส์ เดนนีย์, และเจมส์ ดี จี ดันน์[42] ทุกคนต่างปฏิเสธการอ้างว่าเป็นคำสรรเสริญแด่พระคริสต์

      แม้จะมีปัญหาเหล่านี้ในการอ่านโรม 9:5 ของผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพ  ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพบางคนก็เต็มใจที่จะทำให้ข้อนี้เป็นข้อยกเว้นจากคำสอนทั้งหมดของเปาโล และอ้างว่าเป็นคำสรรเสริญแด่พระคริสต์ แม้จะตระหนักดีว่าความหมายของโรม 9:5 ขึ้นกับการเว้นวรรคตอนในข้อนี้ที่นักแปลหรือนักตีความพระคัมภีร์เป็นผู้ตัดสินใจแต่ผู้เดียว

 

จะต้องไม่ล้ำเส้น

      สำหรับพวกเราที่มาจากภูมิหลังของความเชื่อในตรีเอกานุภาพนั้น สิ่งที่ทำให้ต้องตกตะลึงก็คือ แม้ว่าพระเยซูจะได้รับการยกย่องสูงสุดเท่าที่จะนึกภาพได้ในจักรวาล พระองค์ประทับอยู่ข้างพระยาห์เวห์ แต่ไม่มีแม้แต่คำสรรเสริญเดียวที่กล่าวอย่างชัดเจนถึงพระเยซูจากหลายๆที่ในพระคัมภีร์ใหม่  นอกจากนี้ก็ยังไม่มีคำอธิษฐานกับพระองค์อีกด้วยดังที่เราจะได้เห็น  เมื่อเปาโลพูดถึงการอธิษฐานเขากล่าวว่า “ข้าพเจ้าจึงคุกเข่าต่อพระบิดา” (เอเฟซัส 3:14)

      ประเด็นนี้ชัดเจน คือพระเยซูไม่เคยถูกนับถือว่าเป็นพระเจ้า  เส้นแบ่งระหว่างความมีขีดจำกัดกับความไม่มีขีดจำกัดไม่เคยล้ำเส้นกัน  ความนับถืออย่างสูงที่มีต่อพระเมษโปดกในวิวรณ์ 5:9-14 นั้นไม่ได้เปลี่ยนความจริงนี้ แต่เป็นการเน้นความจริงในเรื่องนี้  เนื่องจากการอ่านวิวรณ์ 5 อย่างละเอียดแสดงให้เห็นว่าพระเมษโปดกเป็นที่นับถือในท่ามกลางการนมัสการ “พระองค์ผู้ประทับบนพระที่นั่ง”  นี่คล้ายกับวิธีที่อิสราเอลได้แสดงความนับถือพระยาห์เวห์กับดาวิดพร้อมกัน (1 พงศาวดาร 29:20)[43]

      การล้ำเส้นก็คือการข้ามเส้นและก้าวเลยขอบเขตที่กำหนดไว้ เช่นเดียวกับพวกทูตสวรรค์ที่ “ไม่รักษาอำนาจปกครองของตน” (ยูดา 1:6)[44]  พระยาห์เวห์ทรงยกพระเยซูขึ้นสูงสุดในบรรดาสิ่งที่ทรงสร้างทั้งหมด ให้ถัดจากพระองค์และเป็นที่สองรองจากพระองค์เท่านั้น แต่นั่นก็ยังไม่ดีพอสำหรับบรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพ ดังนั้นเราจึงยกพระเยซูให้เท่าเทียมกับพระยาห์เวห์ในทุกสิ่งและทิ้งพระบัญญัติข้อแรก!

      ความตายคือโทษของการละเมิดพระบัญญัติสิบประการข้อใดข้อหนึ่ง  เราได้แต่หวังเหมือนกับเปาโลที่ข่มเหงคริสตจักรว่า เราจะได้รับพระเมตตาและการอภัยโทษเพราะเราไม่เชื่อฟังพระเจ้าด้วยความไม่รู้ (1 ทิโมธี 1:13)[45] ไม่ว่าบรรพบุรุษของคริสตจักรคนต่างชาติในช่วงกลางศตวรรษที่สองเป็น ต้นไป จะสามารถร้องขอพระเมตตาเพราะความไม่รู้ได้หรือไม่ เราจะไม่รู้จนกว่าจะถึงวันพิพากษา แต่พวกเราที่อยู่ในยุคปัจจุบันน่าจะฉลาดที่จะฉวยโอกาสรับการอภัยโทษ

      ข้อเท็จจริงที่ว่าพระยาห์เวห์ทรงเป็น “พระเจ้าของพระเยซูคริสต์องค์ผู้เป็นเจ้าของเรา” (เอเฟซัส 1:17)[46] ก็ขีดเส้นชัดเจนแล้วระหว่าง “พระเจ้า” กับ “องค์ผู้เป็นเจ้า” นั่นก็คือ ระหว่างพระบิดากับพระเยซูคริสต์ แต่พระยาห์เวห์ทรงพอพระทัยที่จะยกย่องพระคริสต์  สองข้อต่อมา เปาโลกล่าวว่า

 

เอเฟซัส 1:19 b -23 (ฉบับ ESV)

19 ...การทำกิจอันทรงอานุภาพยิ่งใหญ่ของพระองค์

20 ที่พระองค์ได้ทรงกระทำในพระคริสต์ เมื่อพระองค์ทรง​​ให้พระคริสต์เป็นขึ้นจากตาย และ​​ให้ประทับเบื้องขวาพระหัตถ์ของพระองค์ ​ในสวรรคสถาน

21 สูงส่งเหนือเทพผู้ครอง เทพผู้มีอำนาจ เทพผู้มีฤทธิ์เดช และเทพผู้ปกครอง และเหนือทุกนาม​​ที่ถูกกล่าวถึง ไม่เพียงในยุคนี้เท่านั้นแต่ในยุคที่จะมาถึงด้วย

22 และพระองค์ทรงให้​​ทุกสิ่งอยู่ใต้พระบาทของพระคริสต์ และประทานพระคริสต์ให้เป็นผู้นำเหนือทุกสิ่งแก่คริสตจักร

23 อันเป็นพระกายของพระคริสต์ ซึ่งเต็มด้วยความบริบูรณ์ของพระองค์ ผู้ทรงเติมทุกสิ่งให้บริบูรณ์

      พระคัมภีร์ตอนนี้มีเนื้อหามากมายที่เราอาจต้อง “ขยายออก” และให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นโดยดูความต่อเนื่องของเนื้อหา

พระยาห์เวห์ได้ทรงทำให้พระเยซูเป็นขึ้นจากตาย

และ​​ให้พระเยซูประทับเบื้องขวาพระหัตถ์ของพระองค์ ​ในสวรรคสถาน

สูงส่งเหนือเทพผู้ครอง เทพผู้มีฤทธิ์เดช และเทพผู้ปกครอง

และเหนือทุกนาม​​ที่ถูกกล่าวถึง

ไม่เพียงในยุคนี้เท่านั้นแต่ในยุคที่จะมาถึงด้วย

พระองค์ทรงให้​​ทุกสิ่งอยู่ใต้พระบาทของพระคริสต์

และประทานพระคริสต์แก่คริสตจักรให้เป็นผู้นำเหนือทุกสิ่ง

 

การขอบพระคุณมุ่งหมายไปที่พระคริสต์หรือไม่?

      มันอาจเป็นเรื่องน่าประหลาดใจหรือจะต้องตกตะลึงสำหรับผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพบางคน ที่ในจดหมายทั้งหมดของเปาโลนั้น มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่เปาโลขอบพระคุณพระเยซูคริสต์โดยตรงว่า “ข้าพเจ้าขอบพระคุณพระเยซูคริสต์องค์​​ผู้เป็นเจ้าของเรา ผู้ได้ทรงเสริมกำลังข้าพเจ้า เพราะพระองค์ทรงเห็นว่าข้าพเจ้าไว้ใจได้ จึงทรงแต่งตั้งข้าพเจ้าให้ทำพันธกิจของพระองค์” (1 ทิโมธี 1:12)  มันไม่ได้หมายความว่าเปาโลเป็นคนที่ไม่รู้สึกซาบซึ้งต่อพระคริสต์ หรือให้เราเป็นคนที่ไม่รู้สึกซาบซึ้งต่อพระคริสต์ เพราะจริงๆแล้วเปาโลประกาศว่าพระคริสต์ทรงรักเราอย่างที่สุด แม้กระทั่งถึงความตาย เป็นลูกแกะเมษโปดกที่ถวายบูชาของพระเจ้า

      แต่ข้อเท็จจริงที่น่าแปลกใจยังคงมีอยู่ว่า มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นในจดหมายหลายฉบับที่เปาโลขอบพระคุณพระเยซูคริสต์โดยตรง  ในทางกลับกันเปาโลขอบพระคุณพระเจ้าหลายครั้ง  มีสองสามครั้งที่เขาขอบพระคุณพระเจ้าโดยทางพระเยซูคริสต์ด้วยถ้อยคำเช่น “ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณพระเจ้า ของข้าพเจ้าโดยทางพระเยซูคริสต์” (โรม 1:8) หรือ “ขอบพระคุณพระเจ้าโดยทางพระเยซูคริสต์” (โรม 7:25)

      ประการแรก เรื่องนี้บอกเราว่าการขอบพระคุณมุ่งไปที่พระเจ้ามากที่สุด ซึ่งก็คือพระผู้สร้างทุกสิ่ง  แท้จริงแล้ว “ของประทานอันดีทุกอย่างและของประทานอันเลิศทุกอย่างมาจากเบื้องบน มาจากพระบิดาแห่งบรรดาดวงสว่าง” (ยากอบ 1:17)  และด้วยความรักของพระเจ้า พระองค์จึงได้ประทานของขวัญที่ดีเลิศที่สุด คือพระเยซูคริสต์พระบุตรองค์เดียวของพระองค์ (ยอห์น 3:16)

      ประการที่สอง ดังที่พระเยซูทรงขอบพระคุณพระบิดาเสมอในขณะที่พระองค์ทรงมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ ดังนั้นพระองค์จึงทรงต้องการให้การขอบพระคุณของเราตรงไปที่พระเจ้า  เนื่องจากพระเยซูทรงกระทำทุกสิ่งเพื่อถวายเกียรติแด่พระบิดาของพระองค์และให้เป็นแบบอย่างกับเรา จึงเป็นการสมควรที่เราจะถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าโดยการขอบพระคุณเช่นกัน (“เพื่อที่การขอบพระคุณจะมีมากยิ่งขึ้น เป็นการถวายพระเกียรติแด่พระเจ้า” 2 โครินธ์ 4:15)

      อนนี้เราจะสำรวจคำกรีกที่ใช้กับ “การขอบพระคุณ” หรือ “ขอบพระคุณ” ในพระคัมภีร์ใหม่ คือคำ charis, eucharisteō, eucharistia, eucharistos  นี่จะทำให้เราเห็นว่าในพระคัมภีร์ใหม่นั้น การขอบพระคุณจะมุ่งไปที่พระเจ้าพระบิดาและไม่ได้มุ่งไปที่พระเยซูคริสต์อย่างเห็นได้ชัด  นอกจากนี้ยังบอกเราด้วยว่า จะให้การขอบพระคุณของเราไปที่ไหน ซึ่งก็คือ ไปที่พระบิดาผู้ที่พระเยซูทรงต้องการจะถวายพระเกียรติ

 

 

 

คาริส (Charis)

      คำว่า charis (χάρις,  พระคุณ, ความโปรดปราน, ความรู้สึกขอบคุณ) มีปรากฏบ่อยครั้งในพระคัมภีร์ใหม่และมีความหมายที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง  คำนี้มีปรากฏหกครั้งในสำนวนเฉพาะว่า “ขอบ พระคุณ” ทั้งหมดปรากฏอยู่ในโรมและโครินธ์ และทั้งหมดก็ใช้กับพระเจ้าเท่านั้นโดยเฉพาะในสำนวนว่า charis theōi หรือ theōi charis  ทั้งสองสำนวนซึ่งเหมือนกันแต่ต่างกันที่การเรียงลำดับคำนี้มีความหมายว่า “ขอบพระคุณพระเจ้า”

 

โรม 6:17      “แต่ขอบพระคุณพระเจ้า”

โรม 7:25      “ขอบพระคุณพระเจ้าโดยทางพระเยซูคริสต์”

1 โครินธ์ 15:57 “แต่ขอบพระคุณพระเจ้า”

2 โครินธ์ 2:14 “แต่ขอบพระคุณพระเจ้า”

2 โครินธ์ 8:16 “แต่ขอบพระคุณพระเจ้า”

2 โครินธ์ 9:15 “ขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับของประทานอันสุดจะพรรณาได้ของพระองค์”

 

      ในทั้งหกข้อ การขอบพระคุณจะกล่าวกับพระเจ้าโดยตรง คำกล่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ charis คือ

 

โคโลสี 3:16    “ด้วยการขอบพระคุณพระเจ้าในใจของพวกท่าน”

2 ทิโมธี 1:3    “ข้าพเจ้าขอบพระคุณ (charis) พระเจ้าผู้ที่ข้าพเจ้ารับใช้”

ฮีบรู 12:28     “ให้เรามีใจขอบพระคุณ (ฉบับ NIV) พระเจ้า”

           

 

 

      เราจะเห็นอีกแล้วว่า พระเจ้าเป็นผู้ที่ได้รับการขอบพระคุณ ผู้ที่ใจขอบพระคุณมุ่งไปที่พระองค์

 

 

ยูคาริสเทโอ (Eucharisteō)

      คำกริยา eucharisteō (εὐχαριστέω, มีใจขอบคุณ, ขอบคุณ) นี้เปาโลใช้เป็นส่วนใหญ่  คำนี้มีปรากฏ 24 ครั้ง (ใน 23 ข้อ) ในจดหมายของเขา แต่มีเพียง 14 ครั้งในส่วนที่เหลือของพระคัมภีร์ใหม่  จาก 14 ครั้งที่ไม่ได้อยู่ในจดหมายจากเปาโลนั้น มีหนึ่งครั้งที่พระเยซูเป็นเป้าหมายของการขอบพระคุณ (คนโรคเรื้อนคนหนึ่งขอบคุณพระเยซูที่รักษาเขาให้หาย ลูกา 17:16) ข้ออื่นๆทั้งหมดมีพระเจ้าพระบิดาเป็นเป้าหมายของการขอบพระคุณ  ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงคนหลายพันคน  หรือการตั้งพิธีมหาสนิทในอาหารค่ำมื้อสุดท้ายขององค์ผู้เป็นเจ้า

      ทั้งหมด 24 ตัวอย่างของ eucharisteō ในจดหมายของเปาโลนี้มีพระเจ้าเป็นเป้าหมายของการขอบพระคุณ ยกเว้นในโรม 16:4 ที่เป็นการขอบคุณปริสสิลลาและอาควิลลา  ต่อไปนี้เป็น 24 ตัวอย่างของ eucharisteō ในจดหมายของเปาโล (คำนี้มีปรากฏสองครั้งในโรม 14:6)

 

โรม 1:8         “ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณพระเจ้าของข้าพเจ้าโดยทางพระเยซูคริสต์”

โรม 1:21          “พวกเขาไม่ได้ขอบพระคุณพระองค์”

โรม 14:6       “ขอบพระคุณพระเจ้า” (ใช้คำนี้เหมือนกันสองครั้ง)

โรม 16:4       “ข้าพเจ้าขอขอบคุณ” (ปริสสิลลาและอาควิลลา)

1 โครินธ์ 1:4 “ข้าพเจ้าขอบพระคุณพระเจ้าของข้าพเจ้าเสมอ”

1 โครินธ์ 1:14   “ข้าพเจ้าขอบพระคุณพระเจ้า”

1 โครินธ์ 10:30  “ข้าพเจ้ารับประทานโดยขอบพระคุณ”

1 โครินธ์ 11:24 “เมื่อพระเยซูขอบพระคุณแล้ว (ขอบคุณพระเจ้าสำหรับขนมปัง)”

1 โครินธ์ 14:17 (ไม่ได้กล่าวถึงพระเจ้า แต่บอกเป็นนัย)

1 โครินธ์ 14:18 “ข้าพเจ้าขอบพระคุณพระเจ้า”

2 โครินธ์ 1:11   (ไม่ได้กล่าวถึงพระเจ้า แต่บอกเป็นนัย)

เอเฟซัส 1:16     (ไม่ได้กล่าวถึงพระเจ้า แต่บอกเป็นนัย)

เอเฟซัส 5:20    “จงขอบพระคุณ​​​​พระเจ้าเสมอและสำหรับทุกสิ่ง

ฟีลิปปี 1:3     “ข้าพเจ้าขอบพระคุณพระเจ้าของข้าพเจ้า”

โคโลสี 1:3      เราขอบพระคุณพระเจ้า พระบิดาของพระเยซูคริสต์องค์ผู้เป็นเจ้าของเราเสมอ

โคโลสี 1:12    ขอบพระคุณพระบิดา

โคโลสี 3:17    ขอบพระคุณพระเจ้าพระบิดา

1 เธสะโลนิกา 1:2      เราขอบพระคุณพระเจ้าเสมอ

1 เธสะโลนิกา 2:13     เราจึงขอบพระคุณพระเจ้าอยู่เสมอ

1 เธสะโลนิกา 5:18    จงขอบพระคุณในทุกกรณี เพราะนี่เป็นพระประสงค์ของพระเจ้า

2 เธสะโลนิกา 1:3      เราควรจะขอบพระคุณพระเจ้าเสมอ

2 เธสะโลนิกา 2:13    เราควรจะขอบพระคุณพระเจ้าเสมอ

ฟีเลโมน 1:4                   ข้าพเจ้าขอบพระคุณพระเจ้าของข้าพเจ้าเสมอ

 

      ในข้อต่างๆนี้ มีเฉพาะในโรม 16:4 ที่ eucharisteō ใช้กับคน (ปริสสิลลาและอาควิลลา) กรณีอื่นๆทั้งหมดอ้างถึงพระเจ้าพระบิดาและไม่มีกรณีไหนที่อ้างถึงพระเยซูคริสต์  นี่ไม่ได้หมายความว่าเราจะขอบคุณใครไม่ได้นอกจากพระเจ้า  อันที่จริงเปาโลแสดงความรู้สึกขอบคุณต่อปริสสิลลาและอาควิลลาที่เสี่ยงภัยเพื่อเขา  เปาโลยังขอบพระคุณพระเยซูคริสต์ในโอกาสหนึ่ง (1 ทิโมธี 1:12) ที่ทรงเห็นว่าเขาสัตย์ซื่อในการทำพันธกิจของพระองค์  สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือ นี่เป็นตัวอย่างเดียวของการขอบพระคุณพระเยซูในจดหมายของเปาโลและอยู่ในรูปของบุรุษที่สาม  การขอบพระคุณจะมุ่งไปที่พระเจ้าผู้ทรงเป็นพระบิดาของพระเยซูคริสต์เสมอ และทรงเป็นเป้าหมายในการขอบพระคุณของเราด้วยข้อยกเว้นบางประการ  อันที่จริงจะมีการพิพากษาและการลงโทษผู้ที่ไม่ถวายเกียรติพระเจ้าด้วยการขอบพระคุณพระองค์ (โรม 1:21-24)

      คำว่า eucharisteō คำเดียวกันนี้มีปรากฏสิบเอ็ดครั้งในพระกิตติคุณ มีปรากฏสี่ครั้งเมื่อพระเยซูทรงขอบพระคุณสำหรับอาหารในการเลี้ยงคนหลายพันคน (มัทธิว 15:36; มาระโก 8:6; ยอห์น 6:11; 6:23) และมีปรากฏสี่ครั้งเมื่อพระเยซูทรงขอบพระคุณสำหรับอาหารค่ำมื้อสุดท้าย (มัทธิว 26:27; มาระโก 14:23; ลูกา 22:17,19)  ส่วนที่เหลืออีกสามครั้งอยู่ในลูกา 17:16 (ชายชาวสะมาเรียคนหนึ่งขอบพระคุณพระเยซูที่ทรงรักษาเขาให้หาย) ในลูกา 18:11 (ฟาริสีคนหนึ่งขอบคุณพระเจ้าที่เขาไม่เหมือนคนเก็บภาษี) และในยอห์น 11:41 (พระเยซูทรงขอบพระคุณพระบิดาที่ฟังคำอธิษฐานของพระองค์ที่ขอให้ลาซารัสฟื้นขึ้น)

      นอกจากพระกิตติคุณและจดหมายของเปาโลแล้ว eucharisteō  ก็มีปรากฏสามครั้งในกิจการ 27:35 (เปาโลขอบคุณพระเจ้าสำหรับขนมปัง) ในกิจการ 28:15 (เปาโลขอบคุณพระเจ้าสำหรับกำลัง ใจที่ได้พบพี่น้องในกรุงโรม) และในวิวรณ์ 11:17 (“เราขอบพระคุณพระองค์ พระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพสูงสุด”)

      การสรรเสริญและการขอบพระคุณเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของการนมัสการ  และหลักฐานที่มากมายเกี่ยวกับสององค์ประกอบนี้ของการนมัสการก็คือ ทั้งการสรรเสริญและการขอบพระคุณกล่าวถึงเฉพาะพระบิดาเท่านั้นมาโดยตลอด

 

 

ยูคาริสเทีย (Eucharistia)

      คำว่า eucharistia (εὐχαριστία, ความขอบคุณ, ความรู้สึกขอบคุณ, การแสดงความขอบคุณ) มีปรากฏ 15 ครั้งในพระคัมภีร์ใหม่, มีปรากฏครั้งเดียวในกิจการ, มีปรากฏ 12 ครั้งในจดหมายของเปาโล, มีปรากฏสองครั้งในวิวรณ์  ทั้ง 15 ตัวอย่างนี้กล่าวถึงการขอบพระคุณพระเจ้า โดยยกเว้นกิจการ 24:3 (เทอร์ทูลลัสขอบคุณเฟลิกส์)  เจ็ดครั้งจากทั้งหมดนี้กล่าวถึงพระเจ้าอย่างชัดเจน

 

 

2 โครินธ์ 4:15    การขอบพระคุณ​​จะมีมากยิ่งขึ้น อันเป็นการถวายพระสิริแด่พระเจ้า

2 โครินธ์ 9:11     ทำให้เกิดการขอบพระคุณพระเจ้า

2 โครินธ์ 9:12    มีการขอบพระคุณพระเจ้าอย่างมากมาย

ฟีลิปปี 4:6            จงทูลพระเจ้าให้ทรงทราบสิ่งที่พวกท่านขอ พร้อมกับการขอบพระคุณ

1 เธสะโลนิกา 3:9 เราจะขอบพระคุณพระเจ้าอย่างไรดี

วิวรณ์ 4:9            สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นถวาย....คำขอบพระคุณแด่พระองค์ผู้ประทับบนพระที่นั่งนั้น

วิวรณ์ 7:12      ขอให้คำขอบพระคุณ พระเกียรติ ฤทธานุภาพ และพระกำลัง จงมีแด่พระเจ้าของเราตลอดไปเป็นนิตย์

 

      เจ็ดตัวอย่างที่ปรากฏนี้กล่าวถึงพระเจ้าอย่างอ้อมๆ

 

1 โครินธ์ 14:16   อาเมน กับคำขอบพระคุณของท่าน

เอเฟซัส 5:4   แต่จงขอบพระคุณดีกว่า

โคโลสี 2:7     จงเต็มล้นด้วยการขอบพระคุณ

โคโลสี 4:2     ในการอธิษฐาน... ด้วยการขอบพระคุณ

1 ทิโมธี 2:1       ขอบพระคุณเพื่อทุกคน

1 ทิโมธี 4:3    รับด้วยการขอบพระคุณ

1 ทิโมธี 4:4    ถ้ารับด้วยการขอบพระคุณ

 

      ข้อสรุปคือ จากการปรากฏ 15 ครั้งของ eucharistia นั้น มี 7 ครั้งที่กล่าวถึงพระเจ้าอย่างชัดเจน อีก 7 ครั้งที่กล่าวถึงพระเจ้าอย่างอ้อมๆ และอีกหนึ่งครั้งกล่าวถึงเทอร์ทูลลัสที่รู้สึกขอบคุณเฟลิกส์

 

 

ยูคาริสทอส (Eucharistos)

      คำสุดท้ายคือ eucharistos (εχάριστος, มีใจขอบคุณ) มีปรากฏเพียงครั้งเดียวในพระคัมภีร์ใหม่ในโคโลสี 3:15 ที่ว่า “และจงให้สันติสุขของพระคริสต์ครองใจของท่านทั้งหลาย ซึ่งท่านถูกเรียกให้มาเป็นกายเดียวกัน และจงมีใจขอบพระคุณ”  เปาโลไม่ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่าใครคือเป้าหมายของการขอบพระคุณนี้ แต่เป็นการอ้างอิงอ้อมๆถึงพระเจ้าที่เป็นไปได้มาก เพราะเปาโลใช้คำทั้งหมดที่มีรากเดียวกันมาตลอด เช่น charis (ในความหมายของการขอบคุณ), eucharisteō, eucharistia ในการขอบคุณพระเจ้าพระบิดา และไม่เคยขอบคุณพระเยซูคริสต์โดยยกเว้นหนึ่งครั้ง

      ในอีกด้านหนึ่งนั้น ถึงแม้ว่าพระเจ้าจะเป็นเป้าหมายเดียวของการขอบพระคุณ เราก็ขอบพระคุณพระเจ้าโดยทางพระคริสต์ (โรม 1:8; 7:25; โคโลสี 3:17)[47] เพราะโดยทางพระเยซูคริสต์นั้นพระสัญญาของพระเจ้าล้วนแต่เป็น “จริง” (2 โครินธ์ 1:20)[48] และโดยทางพระคริสต์นั้นเราจึงถวายคำสรรเสริญเป็นเครื่องบูชาแด่พระเจ้า (ฮีบรู 13:15)[49] และโดยทางพระคริสต์ ที่พระเจ้าทรงให้ทุกสิ่งคืนดีกับพระ องค์เอง (โคโลสี 1:20)[50]


[1] หรือฉบับมาตรฐาน 2011 แปลว่า “พระเกียรติ” และฉบับไทยคิงเจมส์แปลว่า “สง่าราศี” (ผู้แปล)

[2] ข้อพระคัมภีร์อ้างอิงส่วนใหญ่มาจากฉบับ 1971 และฉบับอมตธรรมร่วมสมัยที่แปล δόξα ว่า “พระสิริ” (ผู้แปล)

[3] ยูดา 1:25 “ขอพระเกียรติ ความยิ่งใหญ่ อานุภาพ และสิทธิอำนาจ จงมีแด่พระเจ้าองค์เดียว ผู้เป็นพระผู้ช่วยให้รอดของเรา โดยทางพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา ทั้งในอดีตกาล ปัจจุบันกาล และในกาลต่อๆ ไปเป็นนิตย์ อาเมน

[4] เอเฟซัส 3:21 “ขอให้พระเกียรติจงมีแด่พระองค์ในคริสตจักรและในพระเยซูคริสต์ตลอดทุกชั่วอายุคนเป็นนิตย์ อาเมน”

[5] Sirach หรือ Wisdom of Sirach คือหนังสือพระคัมภีร์ที่ไม่มีหลักฐาน หรือที่รู้จักกันว่า Ecclesiasticus เป็นหนึ่งในหนังสือแห่งปัญญา ที่ปรากฏในพันธสัญญาเดิมของคัมภีร์คาทอลิก (ผู้แปล)

[6] apocry­phal book หนังสือที่เขียนเกี่ยวกับพระเยซูที่ไม่ได้บรรจุในสารบบและไม่ได้รับการยอมรับจากคริสเตียนหมู่มาก (ผู้แปล)

[7] 1 ทิโมธี 6:14 “ขอให้ท่านรักษาคำบัญชานี้โดยไม่ด่างพร้อย และไม่มีที่ติ จนกว่าพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราจะเสด็จมา ซึ่งพระเจ้าจะทรงให้ปรากฏขึ้นในเวลาที่เหมาะสม”

[8] พระคัมภีร์ภาษาไทยทุกฉบับไม่มีคำว่า “และ” โดยแปลว่า “สาธุการแด่พระเจ้าพระบิดา” ยกเว้นฉบับอมตธรรมร่วมสมัยมี “และ” (“สรรเสริญพระเจ้าและพระบิดา”) ที่มีในต้นฉบับภาษากรีกและฉบับภาษาอังกฤษทุกฉบับ  (ผู้แปล)

[9] หรือ การถวายพระพร (ผู้แปล)

[10] วิวรณ์ 11:16 และผู้อาวุโสยี่สิบสี่คนซึ่งนั่งอยู่บนบัลลังก์ของตนเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า ก็ทรุดตัวซบหน้าลงนมัสการพระเจ้า

[11] วิวรณ์ 21:23 “นครนั้นไม่จำเป็นต้องมีแสงจากดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ เพราะว่าพระสิริของพระเจ้าเป็นแสงสว่างของนครนั้น และพระเมษโปดกทรงเป็นประทีปของนครนั้น”

[12] ลูกา 6:12 “ในเวลาต่อมาพระเยซูเสด็จไปที่ภูเขาเพื่อจะอธิษฐาน พระองค์ทรงอธิษฐานต่อพระเจ้าตลอดทั้งคืน”

[13] โรม 8:34 ใครจะเป็นผู้ลงโทษอีก? พระเยซูคริสต์หรือ? ผู้สิ้นพระชนม์แล้ว และยิ่งกว่านั้นอีกพระเจ้าทรงให้พระองค์เป็นขึ้นมาจากความตาย พระองค์สถิตเบื้องขวาพระหัตถ์ของพระเจ้า และทรงอธิษฐานขอเพื่อเราด้วย

[14] 1 ทิโมธี 2:5 “เพราะมีพระเจ้าเพียงองค์เดียวและมีคนกลางผู้เดียวระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ คือพระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นมนุษย์” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)

[15] ฟีลิปปี 2:11 เพื่อที่​​ทุกลิ้นจะยอมรับว่าพระเยซูคริสต์​​เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า เป็นการถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าพระบิดา”

[16] ปฐมกาล 23:12 “อับราฮัมก็กราบลง​​ต่อหน้าชาวแผ่นดินนั้น” (ฉบับไทยคิงเจมส์)

[17] 1 ซามูเอล 24:8 “และเมื่อซาอูลทรงเหลียวดู ดาวิดก็ย่อตัวลงซบหน้าถึงดินและกราบลง” (ฉบับ ESV)

[18] International Standard Bible Encyclopedia

[19] กิจการ 5:3-4 เปโตรจึงถามว่า “อานาเนีย ทำไมซาตานจึงควบคุมใจของเจ้าให้โกหกต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ และทำให้เจ้าเก็บค่าที่ดินส่วนหนึ่งไว้? เมื่อที่ดินยังอยู่ก็เป็นของเจ้าไม่ใช่หรือ? เมื่อขายแล้วเงินก็ยังอยู่ในสิทธิอำนาจของเจ้าไม่ใช่หรือ? มีอะไรทำให้ใจของเจ้าคิดทำอย่างนี้? เจ้าไม่ได้โกหกมนุษย์แต่โกหกพระเจ้า”

[20] คำว่า “ที่รับกัน” นั้นสารานุกรมพระคัมภีร์ฉบับ ISBE กำลังหมายถึงวิธีที่หลักความเชื่ออธาเนเซียใช้คำกล่าวที่รับกัน เพื่อยืนยันความเท่าเทียมกันของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณ ดังในข้อความที่ตัดตอนมาต่อไปนี้ว่า “เหมือนที่พระบิดาทรงเป็น พระบุตรก็เป็นเช่นนั้น และพระวิญญาณบริสุทธิ์ก็เป็นเช่นนั้น  พระบิดาไม่ได้ทรงถูกสร้างขึ้น พระบุตรไม่ได้ถูกสร้าง และพระวิญญาณบริสุทธิ์ก็ไม่ได้ถูกสร้างขึ้น  พระบิดาไม่ได้ทรงถูกจำกัด พระบุตรไม่ได้ถูกจำกัด และพระวิญญาณบริสุทธิ์ก็ไม่ได้ถูกจำกัด  พระบิดาทรงดำรงนิรันดร์ พระบุตรดำรงนิรันดร์ และพระวิญญาณบริสุทธิ์ก็ดำรงนิรันดร์  และถึงกระนั้นก็ไม่ได้เป็นสามองค์ดำรงนิรันดร์ แต่เป็นองค์เดียวดำรงนิรันดร์”  สารานุกรมพระคัมภีร์ฉบับ ISBE กำลังบอกว่าสูตรนี้ไปไกลเกินหลักฐานในพระคัมภีร์ เพราะพระคัมภีร์ไม่เคยสอนให้นมัสการพระวิญญาณ

[21] ความเชื่อในความเป็นสองพระภาคของพระเจ้า (ผู้แปล)

[22] James D.G. Dunn: Did the First Christians Worship Jesus? The New Testa­ment Evidence

[23] dialogue of the relig­ions คือ งานเขียนในรูปของการสนทนาเกี่ยวกับความหมายของความเชื่อ พิธีกรรม และจริยธรรม (ผู้แปล)

[24] วิวรณ์ 11:16 “และผู้อาวุโสยี่สิบสี่คนซึ่งนั่งอยู่บนบัลลังก์ของตนเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า ก็ทรุดตัวซบหน้าลงนมัสการพระเจ้า”

[25] Exposi­tors Greek Testament, vol.5, p.400

[26] วิวรณ์ 5:6 และในท่ามกลางพระที่นั่งกับสัตว์ทั้งสี่นั้น และท่ามกลางพวกผู้อาวุโส ดูเถิด ข้าพเจ้าแลเห็นพระเมษโปดกประทับยืนอยู่ประหนึ่งทรงถูกปลงพระชนม์ (ฉบับไทยคิงเจมส์)

[27] วิวรณ์ 22:1 และท่านสำแดงให้ข้าพเจ้าเห็นแม่น้ำที่มีน้ำแห่งชีวิต ใสเหมือนอย่างแก้วผลึก ไหลมาจากพระที่นั่งของพระเจ้าและของพระเมษโปดก

[28] Critical and Exegetical Comment­ary on the Revelation of St. John

[29] ฉบับ 1971 แปลโรม 9:5 ว่า “ทั้งอัครปิตาก็เป็นของเขาด้วย และพระคริสต์ก็ได้ทรงถือกำเนิดเป็นมนุษย์ในเชื้อชาติของเขา สาธุการแด่พระเจ้าผู้ทรงเป็นใหญ่เหนือสารพัดเป็นนิตย์ อาเมน” (ผู้แปล)

[30] ทางเลือกอีกทางของฉบับ NIV: หรือพระคริสต์ ผู้ทรงอยู่เหนือทุกสิ่ง ขอพระเจ้าทรงได้รับการสรรเสริญเป็นนิตย์!

[31] อีกทางเลือกของฉบับ RSV: พระคริสต์ ผู้ทรงเป็นพระเจ้าเหนือทุกสิ่ง ขอทรงได้รับการสรรเสริญเป็นนิตย์

[32] อีกทางเลือกของฉบับ NRSV: หรือพระเมสสิยาห์ผู้ทรงเป็นพระเจ้าเหนือทุกสิ่ง ขอทรงได้รับการสรรเสริญเป็นนิตย์; หรือพระเมสสิยาห์ ขอพระองค์ผู้ทรงเป็นพระเจ้าเหนือทุกสิ่ง ทรงได้รับการสรรเสริญเป็นนิตย์

[33] 1 โครินธ์ 15:27-28 “พระเจ้าทรงให้ทุกสิ่งอยู่ใต้อำนาจภายใต้พระบาทของพระบุตร” แต่เมื่อพระคัมภีร์กล่าวว่าทรงให้ทุกสิ่งอยู่ใต้อำนาจนั้น ก็รู้ชัดกันอยู่แล้วว่า ยกเว้นพระเจ้าผู้ทรงให้ทุกสิ่งอยู่ใต้อำนาจพระองค์  เมื่อทุกสิ่งอยู่ใต้อำนาจพระองค์แล้ว เมื่อนั้นพระบุตรพระองค์เองก็จะทรงอยู่ใต้อำนาจพระเจ้า ผู้ทรงให้ทุกสิ่งอยู่ใต้อำนาจพระองค์ เพื่อพระเจ้าจะทรงเป็นเอกในทุกสิ่ง

[34] กิจการ 4:27 “ความจริงในเมืองนี้ ทั้งเฮโรด และปอนทิอัสปีลาตกับพวกต่างชาติและชนชาติอิสราเอล ร่วมชุมนุมกันต่อสู้พระเยซูผู้รับใช้บริสุทธิ์ของพระองค์ซึ่งทรงเจิมไว้แล้ว”

[35] H.A.W. Meyer, คู่มือวิเคราะห์และตีความโรม, หน้า 361-362  คำพูดของเขาได้ถูกอ้างอิงด้วยความเห็นชอบของเจมส์ เดนนี่ (James Denney), พระคัมภีร์ภาษากรีกของผู้อธิบาย, เล่ม 2, หน้า 658

[36] 2 โครินธ์ 6:18 เราจะเป็นดังบิดาของพวกเจ้า พวกเจ้าจะเป็นบุตรชายบุตรหญิงของเรา” พระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพทั้งสิ้นตรัสดังนั้น

[37] 1 โครินธ์ 15:28 เมื่อทุกสิ่งอยู่ใต้อำนาจพระองค์แล้ว เมื่อนั้นพระบุตรพระองค์เองก็จะทรงอยู่ใต้อำนาจพระเจ้า ผู้ทรงให้ทุกสิ่งอยู่ใต้อำนาจพระองค์

[38] 1 โครินธ์ 8:6 “แต่ว่าสำหรับเรานั้นมีพระเจ้าองค์เดียวคือพระบิดา ทุกสิ่งเกิดมาจากพระองค์และเราอยู่เพื่อพระองค์ และมีพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว ทุกสิ่งเกิดมาโดยทางพระองค์และเราก็เป็นมาโดยทางพระองค์” (ฉบับ ESV)

[39] รม 3:29-30  29หรือว่าพระเจ้านั้นทรงเป็นพระเจ้าของยิวพวกเดียวเท่านั้นหรือ? พระองค์ไม่ทรงเป็นพระเจ้าของพวกต่างชาติด้วยหรือ? ถูกแล้วพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าของพวกต่างชาติด้วย 30 เพราะว่าพระเจ้าทรงเป็นพระเจ้าองค์เดียว และพระองค์ทรงทำให้คนที่เข้าสุหนัต​​เป็นคนชอบ​​ธรรมโดยความเชื่อ และจะทรงทำให้คนที่ไม่เข้าสุหนัตเป็นคนชอบธรรมก็ทางความเชื่อเหมือนกัน 

[40] Word Biblical Commentary, Romans 9–16, vol.38B, p.536, on Romans 9:5

[41] nominative case การกที่เป็นผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ และ geni­tive case คือ การกที่แสดงความเป็นเจ้าของ (ผู้แปล)

[42] H.A.W. Meyer, James Denney, and James D.G. Dunn

[43] 1 พงศาวดาร 29:20 แล้วดาวิดตรัสกับชุมนุมชนทั้งปวงว่า “จงถวายสาธุการแด่พระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านทั้งหลาย” และชุมนุมชนทั้งปวงก็สรรเสริญพระยาห์เวห์พระเจ้าแห่งบรรพบุรุษของเขาทั้งหลาย และเขาทั้งหลายก้มลง​​​ถวายบังคมพระยาห์เวห์และพระราชา

[44] ยูดา 1:6 “และพวกทูตสวรรค์ที่ไม่รักษาอำนาจครอบครองของตนเอง แต่ละทิ้งถิ่นฐานของตน”

[45] 1 ทิโมธี 1:13 “ถึงแม้ว่าครั้งหนึ่งข้าพเจ้าเคยหมิ่นประมาทพระองค์ ข่มเหงผู้เชื่อและก่อความรุนแรง แต่พระองค์ทรงกรุณาข้าพเจ้าเพราะข้าพเจ้าได้ทำไปด้วยความไม่รู้และไม่เชื่อ” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)

[46] อเฟซัส 1:17 ข้าพเจ้าอธิษฐานว่าขอพระเจ้าของพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราคือพระบิดาผู้ทรงพระสิริ ทรงให้ท่านทั้งหลายมีจิตใจที่ประกอบด้วยปัญญาและการสำแดง เพื่อท่านจะรู้จักพระองค์

[47] รม 1:8 “ขอขอบพระคุณพระเจ้าของข้าพเจ้าสำหรับพวกท่านทุกคน โดยทางพระเยซูคริสต์”

[48] 2 โครินธ์ 1:20 เพราะว่าพระสัญญาต่างๆของพระเจ้าล้วนแต่เป็นจริงโดยพระเยซู เพราะเหตุนี้เราจึงพูดว่าอาเมนโดยพระองค์ ซึ่งเป็นการถวายพระเกียรติแด่พระเจ้า

[49] ฮีบรู 13:15 “เพราะฉะนั้น ให้เราถวายคำสรรเสริญเป็นเครื่องบูชาแด่พระเจ้าตลอดไปโดยทางพระองค์นั้น

[50] โคโลสี 1:20 “และโดยพระคริสต์ พระเจ้าทรงให้ทุกสิ่งคืนดีกับพระองค์เอง ไม่ว่าสิ่งนั้นจะอยู่บนแผ่นดินโลกหรืออยู่บนสวรรค์