พิมพ์
หมวด: The Only Perfect Man
ฮิต: 811

 pdf pic

 

ภาคผนวก 6

คาร์ล-โจเซฟ คูเชล เขียนเกี่ยวกับ

พระคริสต์กับอาดัม

 

 

ส่วนที่คัดลอกต่อไปนี้มาจากหน้า 251-252 ในหนังสือของคาร์ล-โจเซฟ คูเชล ที่ชื่อ เกิดก่อนกาลเวลาหรือ? ข้อโต้แย้งเรื่องต้นกำเนิดของพระคริสต์[1] (Crossroad, NY, 1992 แปลมาจากภาษาเยอรมัน) หนังสือเล่มนี้รวมหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกันคือ พระคริสต์กับอาดัม; พระคริสต์ทรงเป็น “ภาพลักษณ์ของพระเจ้า”; และการดำรงอยู่ก่อนของพระคริสต์ คุณค่าหนังสือของคูเชล เห็นได้ชัดจากความเป็นผู้เชี่ยวชาญสูงและข้อเท็จจริงที่ว่า คำนำของหนังสือนั้นเขียนโดยฮานส์ คูง[2]

 

[เริ่มส่วนที่คัดลอก]

 

       ตั้งแต่ในยุค 1960 และ 1970 มาแล้วที่บรรดานักตีความซึ่งใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ ได้ให้ความสนใจกับทางเลือกพื้นฐานมากกว่าตัวอย่างของการตีความที่ใช้ภาษาเยอรมัน ที่ในตัวบทนี้พระคริสต์ไม่ได้รับการเชิดชูว่าเป็นผู้ดำรงอยู่ก่อนในสวรรค์ แต่เชิดชูในแบบที่ถูกต้องของชาวยิวว่าเป็นมนุษย์ที่คล้ายกันมากกับอาดัม[3] มุมมองเช่นนั้นไม่สามารถเป็นเท็จได้เลย เพราะในพระคัมภีร์ตอนอื่นๆในจดหมายของเปาโล ก็ยังเปรียบเทียบพระคริสต์กับอาดัม (โรม 5:12-21; 1 โครินธ์ 15:21, 45-47) อันที่จริงเราสามารถถามได้ว่า ไม่ใช่อาดัมมนุษย์ต้นแบบคนแรกหรอกหรือ ที่ตรงนี้ถูกพระเยซูแทนที่และเหนือกว่าที่เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด? ถ้าอย่างนั้นเราควรพิจารณาปฐมกาล 1-3 ในการทรงสร้างและการไม่เชื่อฟังของมนุษย์คนแรกว่าเป็นปูมหลังของประวัติศาสตร์ดั้งเดิม

       ในทางภาษาแล้ว สิ่งนี้ดูเหมือนจะได้รับการสนับสนุนด้วยข้อเท็จจริงเพียงว่า เราสามารถระบุ ‘ภาพลักษณ์ของพระเจ้า’ (morphē theou)[4] ได้อย่างแท้จริงด้วย doxa (พระสิริ) หรือ eikon (รูปเหมือน) ของพระเจ้า[5] ดังนั้นจึงตรงตามคำและดีกว่า ‘เขาเป็นเหมือนพระเจ้า’ เช่นเดียวกับคำภาษากรีกว่า homoioma (‘และในความเหมือนมนุษย์’) ของข้อ 7[6] ซึ่งยิ่งกว่านั้นมีการแปลเป็นบางครั้งว่า ‘ในสภาพเหมือนมนุษย์’[7] ดังนั้นบรรทัดแรกของเพลงสรรเสริญจะพูดถึงพระคริสต์ผู้ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้น ‘ตามรูปเหมือน’ ของพระเจ้าเหมือนอาดัม และได้มีส่วนร่วมใน ‘พระสิริ’ ของพระเจ้าเหมือนอาดัมก่อนการไม่เชื่อฟังของเขา คำตรงข้ามกับ ‘ภาพลักษณ์ของพระเจ้า’ จะยืนยันเพิ่มเติมถึงที่มานี้ เห็นได้ชัดว่า ‘ภาพลักษณ์ของทาส’ เป็นการพูดถึงชะตากรรมของอาดัมหลังจากการไม่เชื่อฟัง คู่ที่สองที่ตรงกันข้ามกันในตอนต้นของตัวบทจะชี้ไปในทิศทางเดียวกันที่ ‘ความเหมือนพระเจ้า’ อาจพูดถึงการถูกล่อลวงของอาดัม (เขาต้องการจะเป็นเหมือนพระเจ้า, ปฐมกาล 3:5) และ ‘ความเหมือนมนุษย์ทั้งหลาย’ ที่กลายเป็นสภาวะของอาดัมหลังจากเชื่อฟังบาป

       สำนวน ‘เป็นเหมือนพระเจ้า’ (คำกรีกคือ isa theou) ก็เช่นกันที่ไม่อาจแปลง่ายๆด้วยคำเช่น ‘เท่าเทียมกับพระเจ้า’ หรือ ‘เป็นเหมือนพระเจ้า’ ที่มักจะเกิดขึ้น ซึ่งนั่นจะต้องใช้รูปของ isos theos สิ่งที่เรามีในข้อความก็คือกริยาวิเศษณ์ isa ที่แค่หมายถึง ‘ดั่งพระเจ้า’, ‘เหมือนพระเจ้า’ ดังนั้นจึงไม่มีคำกล่าวใดๆเกี่ยวกับพระคริสต์ที่เท่าเทียมกับพระเจ้า และสิ่งนี้พูดค้านการตีความในแง่ของการดำรงอยู่ก่อน ดังนั้นทั้งมูลเหตุในด้านประวัติศาสตร์ดั้งเดิมและด้านภาษาตามนักตีความคาทอลิก และเจอโรม เมอร์ฟี–โอคอนเนอร์นักบวชโดมินิกันในเยรูซาเล็มแล้ว “ไม่มีเหตุผลพอในการตีความสำนวนเพลงสรรเสริญในแง่ของการเป็นของพระคริสต์”[8]

       ดังนั้นตัวบทนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของศาสนศาสตร์เกี่ยวกับองค์พระคริสต์ที่เกี่ยวข้องกับอาดัม ซึ่งลักษณะเดียวกันนี้มีปรากฏในบริบทอื่นในพระคัมภีร์ใหม่ มันจะเป็นตัวอย่างเพิ่มเติมของศาสนศาสตร์เกี่ยวกับองค์พระคริสต์สองขั้นตอนที่แพร่หลายของชุมชนคริสเตียนชาวยิวยุคแรกสุด (ชีวิต-ความตาย/การเป็นขึ้นจากตาย-การเชิดชูพระเยซูคริสต์) ซึ่งเราได้วิเคราะห์แล้ว และดังนั้นจะไม่อยู่ในบริบทของประเพณีโบราณ แต่ในบริบทของประเพณีในพระคัมภีร์เดิม ดังนั้นตรงนี้จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับบุคคลที่ดำรงอยู่ก่อนในสวรรค์ แต่ตรงกันข้าม พระคริสต์ทรงเป็นบุคคลที่แตกต่างอย่างมากกับอาดัม พูดให้เจาะจงก็คือ ไม่ใช่อาดัมหรอกหรือที่ต้องการจะเป็นเหมือนพระเจ้ามากขึ้น และดังนั้นจึงเชื่อฟังความหยิ่งยะโสและความบาปครั้งแรก? ไม่ใช่อาดัมหรอกหรือที่เมื่อถูกลงโทษจึงต้องมีชีวิตอย่างทาส? และไม่ใช่พระคริสต์ของเพลงสรรเสริญนี้หรอกหรือที่ตรงกันข้ามกัน? พระ องค์ไม่ได้ทิ้งการเป็นรูปเหมือนของพระเจ้าโดยสมัครพระทัยหรือ? พระองค์ไม่ได้รับเอาภาพลักษณ์ของทาส ที่ไม่ใช่เป็นการลงโทษ แต่โดยสมัครพระทัยและเชื่อฟัง ดังนั้นพระองค์จึงทรงได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้าสู่ศักดิ์ศรีในสวรรค์หรือ? นั่นจึงเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามไหม ความตรงกันข้ามกันอย่างมากในเพลงสรรเสริญนี้ โดยอาดัมเป็นผู้ที่บังอาจ–พระคริสต์เองเป็นผู้ที่ถ่อมพระทัย อาดัมเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงทำให้ถ่อมใจ–พระคริสต์เป็นผู้ที่ถ่อมพระทัยต่อพระเจ้าโดยสมัครพระทัย อาดัมเป็นผู้ที่ไม่เชื่อฟัง-พระคริสต์เป็นผู้ที่เชื่อฟังอย่างสมบูรณ์ อาดัมเป็นผู้ที่ถูกสาปแช่งในที่สุด-พระคริสต์เป็นผู้ที่ได้รับการเชิดชูในที่สุด อาดัมผู้ต้องการเป็นเหมือนพระเจ้าและสุดท้ายก็กลายเป็นผงคลีดิน พระคริสต์ผู้ที่อยู่ในผงคลีดินและเสด็จไปที่กางเขนจริงๆ และสุดท้ายพระองค์ก็ทรงเป็นองค์ผู้เป็นเจ้าเหนือจักรวาล?

      ดังนั้นในเพลงสรรเสริญนี้ ดูเหมือนพระคริสต์จะเป็นอาดัมคนใหม่ที่เอาชนะอาดัมคนเก่าได้ในที่สุด ไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดำรงอยู่ก่อนของพระคริสต์กับแบบแผนของศาสนศาสตร์เกี่ยวกับองค์พระคริสต์สามขั้นตอน คือการดำรงอยู่ก่อน ความอัปยศอดสู การดำรงอยู่หลัง แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ผู้เขียนก็เชิดชูชีวิตมนุษย์บนโลกของพระคริสต์ว่า เป็นชีวิตที่สมัครพระทัยยอมถ่อมพระองค์ลงต่ำ เป็นการเชื่อฟังซึ่งครอบคลุมไปถึงการมีชีวิตของทาสและความตายที่น่าอับอาย ในการทำเช่นนั้น เขาทำให้สองสิ่งชัดเจน นั่นเป็นเพราะ โดยการถ่อมพระองค์ลงต่ำเท่านั้น พระเยซูจึงสามารถมาเป็นผู้ทรงฤทธิ์ได้ และในทางกลับกัน ผู้ทรงฤทธิ์ก็แสดงลักษณะของคนที่ถ่อมใจเสมอ แท้จริงแล้วเป็นทาสที่ถูกตรึงตายบนกางเขน

 

       เจอโรม เมอร์ฟี-โอคอนเนอร์[9] สามารถให้ข้อสรุปพื้นฐานดังนี้:

 

ข้อ 1: ในฐานะผู้ชอบธรรมเป็นเลิศ พระคริสต์จึงทรงเป็นรูปเหมือนที่สมบูรณ์แบบ (eikon) ของพระเจ้า พระองค์ทรงเป็นอย่างที่พระเจ้าได้ทรงตั้งพระทัยอย่างเต็มเปี่ยมให้มนุษย์เป็น สภาวะที่ปราศจากบาปของพระองค์ ทำให้พระองค์มีสิทธิ์ที่จะถูกปฏิบัติราวกับว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้า นั่นก็คือเพลินไปกับความไม่เสื่อมสลายซึ่งอาดัมได้ถูกสร้างขึ้น อย่างไรก็ตาม สิทธินี้พระองค์ไม่ได้ใช้เพื่อประโยชน์ของพระองค์เอง แต่พระองค์ยอมให้กับผลที่ตามมาของรูปแบบในการมีชีวิตอยู่ ที่ไม่ใช่ของพระองค์ โดยการยอมรับสภาพของทาสที่เกี่ยวข้องกับความทุกข์ทรมานและความตาย

ข้อ 2: แม้ในธรรมชาติมนุษย์ของพระองค์ พระคริสต์ก็เหมือนกันกับมนุษย์คนอื่นๆ ที่จริงพระองค์ทรงแตกต่างจากพวกเขา เพราะพระองค์ไม่จำเป็นต้องคืนดีกับพระเจ้า ถึงกระนั้นพระองค์ก็ทรงถ่อมพระองค์ในการเชื่อฟังและยอมรับความตาย

ข้อ 3: ดังนั้น พระเจ้าจึงทรงเชิดชูพระองค์เหนือผู้เที่ยงธรรมทั้งหมดที่จะได้รับราชอาณาจักรตามพระสัญญา และถ่ายโอนสิทธิครอบครองและสิทธิอำนาจที่เป็นของพระเจ้าเพียงผู้เดียวมาจนบัดนี้มาให้พระองค์ พระองค์ทรงเป็น Kyrios (องค์ผู้เป็นเจ้า) ที่ทุกเสียงที่เปล่งจะต้องยอมรับและทุกเข่าจะต้องคุกลงกราบ

ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่เข้าใจว่า เพลงสรรเสริญดั้งเดิมนั้น แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะอธิบายความพิเศษที่ไม่เหมือนใครของพระคริสต์ที่ถือว่าเป็นมนุษย์อย่างแน่แท้ นี่คือสิ่งที่เราคาดหวังในตอนเริ่มต้นของศาสนศาสตร์คริสเตียน[10]

[ข้อความอ้างอิงท้ายเล่มในหนังสือของคูเชล ได้แปลไว้ตามลำดับในเชิงอรรถ 3, 5, 7, 8, 10]


[1] Karl-Josef Kuschel’s Born Before All Time? The Dispute Over Christ’s Origin

[2] Hans Küng

[3] มุมมองนี้แสดงให้เห็นโดย เจ ฮาร์วี่, การมองเพลงสรรเสริญพระคริสต์แบบใหม่ในฟีลิปปี 2.6-11, วารสารอธิบายพระคัมภีร์ 76, 1964/65, 337-9; ซี เอช ทัลเบิร์ต, ปัญหาเกี่ยวกับการดำรงอยู่ก่อนในฟีลิปปี 2.6-11, วารสารวรรณกรรรมพระคัมภีร์ 86, 1967, 141-53; เจ เอ็ม เฟอร์เนส, เบื้องหลังเพลงสรรเสริญในฟีลิปปี, วารสารอธิบายพระคัมภีร์ 79, 1967/68, 178-82; ดันน์, ศาสนศาสตร์เกี่ยวกับพระคริสต์ในกระบวนการพัฒนา 114-21; อาร์ บราวน์, ชุมชนของสาวกอันเป็นที่รัก ชีวิต, ความรักและความเกลียดชังของแต่ละคริสตจักรในยุคพระคัมภีร์ใหม่, นิวยอร์ก 1979, 45f ในหมู่นักตีความชาวเยอรมันก็คือ เอช ดับบลิว บาร์ช, ความจริงที่เป็นรูปธรรมและการหลอกลวงของความคิด การตรวจสอบเพลงสรรเสริญพระคริสต์ก่อนเปาโล และการอธิบายว่าเป็นตำนานแบบนอสติกของเขา, แฟรงเฟิร์ต อัม ไมน์ 1974 (Die konkrete Wahrheit und die Lüge der Spekula­tion. Untersuchung über den vor-paulinischen Christus­hym­nus und seine gnostische Mythisierung, Frank­furt am Main 1974) เมื่อเร็วๆนี้ ในศาสนศาสตร์ของอเมริกันคาทอลิก, ที เอ็น ฮาร์ท, การรู้จักและติดตามพระเยซู, นิวยอร์ก 1984, 93-100; แอล สวิดเลอร์, เยชูวา แบบอย่างสำหรับคนสมัยใหม่, แคนซัสซิตี้ 1988, 23-6

[4] form of God”,ฉบับESV แปลว่า “อยู่ในภาพลักษณ์ของพระเจ้า”, ฉบับอมตธรรมร่วมสมัยแปลว่า “ผู้ทรงสภาพ (เป็นเหมือน)พระเจ้า” (ผู้แปล)

[5] เปรียบเทียบ เอฟ ดับบลิว เอลเทสเตอร์, ไอคอนในพระคัมภีร์ใหม่, เบอร์ลิน 1958, ผู้ยกตัวอย่างเปรียบเทียบ 2 โครินธ์ 4:4 (133) เปรียบเทียบในทำนองเดียวกัน เจ เบห์ม, morphe, TDNT IV, แกรนด์ แรปปิดส์ 1967, 742-52, โดยเฉพาะ 751:morphe theou ซึ่งพระคริสต์ผู้ดำรงอยู่ก่อนนั้น เป็นเพียงพระสิริของพระเจ้า: การดำรงอยู่ในภาพลักษณ์ของพระเจ้าจากเปาโลนั้นสอดคล้องกับยอห์น 17:5

[6] ฉบับ ESV แปลว่า “ทรงถือกำเนิดเหมือนมนุษย์ทั้งหลาย” ฉบับ NJB แปลว่า “ทรงเป็นเหมือนมนุษย์ทุกอย่าง” (ผู้แปล)

[7] ดังนั้น เช่น, พระคัมภีร์ใหม่, แปลโดย ยู วิลเคนส์ ฮัมบูร์ก, โคโลญ และซูริค 1970, 1971

[8] เมอร์ฟี–โอคอนเนอร์ โอพี, ‘มนุษยวิทยาเกี่ยวกับพระคริสต์ ในฟีลิปปี 2.6-11, วิเคราะห์พระคัมภีร์ 93, 1976, 25-50: 39

[9] Jerome Murphy-O'Connor

[10] ในที่เดียวกัน, 49f. เทียบกับข้อสรุปของเมอร์ฟี-โอคอนเนอร์: จี โฮเวิร์ด, ‘ฟีลิปปีและพระคริสต์ผู้เป็นมนุษย์’, CBQ 40, 1978, 356-76; ไอ เอช มาร์แชล, ‘ศาสนศาสตร์เกี่ยวกับพระคริสต์ในการจุติลงมาเกิด ในพระคัมภีร์ใหม่’, ในพระคริสต์องค์ผู้เป็นเจ้า การศึกษาศาสนศาสตร์เกี่ยวกับพระคริสต์ที่เสนอโดย ดี กัทธรี, ผู้รวบรวม เอช เอช เราเด็น, เลสเตอร์ 1982, 1-16; แอล ดี เฮอร์ส, ‘ย้อนสู่การดำรงอยู่ก่อนของพระคริสต์ในฟีลิปปี 2.5-11, NTS 32, 1986, 449-57; ซี เอ วานาเมกเกอร์, ฟีลิปปี 2.6-11: พระบุตรของพระเจ้าหรือว่าศาสนศาสตร์เกี่ยวกับองค์พระคริสต์ที่เกี่ยวข้องกับอาดัม?’, NTS 33, 1987, 179-93