พิมพ์
หมวด: The Only Perfect Man
ฮิต: 690

pdf pic

 

ภาคผนวก 3

 

ความหมายของ “เราเป็นผู้ที่เราเป็น”

 

 

ส่วนที่คัดลอกต่อไปนี้มาจากหัวข้อ “การเรียกชื่อของพระเจ้า: วิธีการที่พยายามจะตีความข้อความพระคัมภีร์ก่อนหน้าเสียใหม่และประยุกต์ใช้ใหม่กับอักษรทั้งสี่ของภาษาฮีบรู วิลเลี่ยม เอ็ม ชไนด์วินด์, ในหนังสือการตีความตามพระคัมภีร์: รูปแบบของจินตนาการทางศาสนาและวัฒนธรรม: บท ความเพื่อเป็นเกียรติแก่ไมเคิ้ล ฟิชเบน, อ็อกฟอร์ด, 2009[1] เมื่อผู้เขียนกล่าวถึงวลีฮีบรูว่า Ehyeh-Asher-Ehyeh นั้นเขากำลังหมายถึงคำประกาศว่า “เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น” (อพยพ 3:14) ซึ่งเป็นคำ อธิบายตัวเองที่รู้จักกันดีของพระยาห์เวห์ที่เปิดเผยกับโมเสส

 

[เริ่มต้นส่วนที่คัดลอก]

 

      ระการที่สอง มีคนหลายคนชี้ให้เห็นว่า Ehyeh-Asher-Ehyeh [อพยพ 3.14,15] ดูจะเชื่อมโยงกับข้อ 12 ที่พระเจ้าทรงสัญญาว่า ‘เราจะอยู่กับเจ้าแน่’ (אהיה עמד) ความเชื่อมโยงกับข้อ 12 นี้เป็นที่ยอมรับอยู่แล้วจากบรรดาผู้แปลชาวยิวโบราณ ผู้อ่านสมัยใหม่หลายคนก็ได้เห็นความเชื่อมโยงเดียวกันนี้ด้วยตนเอง ผู้แปลในเวลาต่อมาอาจกำลังใช้คำสัญญาว่า ‘เราจะอยู่กับเจ้าแน่เราควรจำไว้เสมอว่าความเชื่อมโยงนี้ไม่ได้มาจากบริบทโดยตรงเท่านั้น แม้ว่ามันอาจจะเป็นตัวชักนำ คำสัญญาว่า ‘เราจะอยู่กับเจ้าแน่’ (עמד אהיה) พบได้บ่อยในพระคัมภีร์ภาษาฮีบรู ที่พระเจ้าทรงสัญญาว่าพระองค์จะทรงอยู่กับอับราฮัม กับอิสอัค กับยาโคบ กับโมเสส กับโยชูวา กับกิเดโอน กับดาวิด กับประชากรอิสราเอล เป็นต้น ดังนั้นการตรึกตรองเชิงตีความจะมีผลไม่เพียงเฉพาะจากบริบทโดยตรง แต่ยังจากขีดความรู้ทางวัฒนธรรมและศาสนาที่กว้างขึ้นของอิสราเอลโบราณอีกด้วย เรามาถึงการตีความพระนามของพระเจ้าตามการสถิตอยู่ด้วยของพระเจ้า ซึ่งบางคนเสนอให้แปล Ehyeh-Asher-Ehyeh ในแบบนี้ว่า ‘เราเป็นผู้นั้นที่จะอยู่กับเจ้าอย่างแน่นอน’[2] ในขณะที่อาจมีการเชื่อมโยงโดยสัญชาตญาณตรงนี้ ปัญหาในการตีความนี้ก็คือว่ามันไม่ใช่สิ่งที่ตัวบทพูดอย่างแท้จริง Ehyeh เป็นกาลไวยากรณ์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์หรือเป็นอนาคตกาล มันควรจะมีความหมายในแบบนี้ว่า ‘เราจะเป็นผู้ที่เราจะเป็น’[3] แต่นั่นไม่เหมาะกับความรู้สึกในทางศาสนาของเรา การที่บอกว่า ‘เราจะเป็นผู้ที่เราจะเป็น’ ทำให้พระเจ้า[4]ดูเหมือนจะเป็นผู้ที่เปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน ในขณะที่ (อย่างขัดแย้งกัน) ‘เราเป็นผู้ที่เราเป็น’ สามารถยืนยันพระลักษณะที่ไม่เปลี่ยนแปลงของพระเจ้า บางทีดูเหมือนทั้งคู่จะเป็นคำตอบที่ดีในระหว่างการถูกเนรเทศไปบาบิโลน หรือในชุมชนหลังการถูกเนรเทศ ตลอดจนในช่วงวิกฤตอื่นๆ

      แม้ว่าความใกล้เคียงของ Ehyeh-‘Immakh กับ Ehyeh-Asher-Ehyeh แทบจะเรียกร้องให้เกี่ยวโยงกันบางอย่างระหว่างสองคำกล่าว ความหมายของทั้งสองคำกล่าวก็ไม่ได้เชื่อมโยงกันอย่างที่คาดไว้ เราต้องยอมรับว่า Ehyeh-Asher-Ehyeh (אהיה אשר אהיה) เป็นการตีความของ אהיה עמד, ที่ว่า ‘เราจะอยู่กับเจ้าแน่’ เพื่อจะสร้างความเชื่อมโยง และเราอาจถามว่าทำไมจึงเน้นว่าชื่อของพระเจ้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระองค์นั้น บอกให้รู้ถึงการอยู่ด้วยของพระเจ้า? นั่นอาจเป็นเพราะการอยู่ด้วยของพระเจ้าถูกคัดค้านและถูกตั้งคำถาม เนื่องจากการถูกเนรเทศและในช่วงหลังการถูกเนรเทศ แน่นอนว่ามีความจำเป็นต้องยืนยันการอยู่ด้วยของพระเจ้าอีกครั้งในพระวิหารในเยรูซาเล็ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังจากการถูกเนรเทศ เมื่อสัญลักษณ์เดิมของการอยู่ด้วยของพระเจ้าซึ่งก็คือหีบพันธสัญญาที่ไม่อยู่แล้ว ชื่อของพระเจ้าจึงสามารถใช้เป็นสัญลักษณ์ใหม่ของการอยู่ด้วยของพระเจ้าในกรุงเยรูซาเล็มและในพระวิหาร

      โดยสรุปแล้ว ประวัติศาสตร์ในยุคแรกๆของพระนามที่ไม่อาจเอ่ยได้ของพระเจ้านั้น ดูเหมือนจะเกี่ยวข้องอย่างแน่นแฟ้นกับพระวิหารในกรุงเยรูซาเล็ม การอ้างอิงถึงการสร้างพระวิหาร ‘เพื่อพระนามนั้น’ สามารถนำมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่คล้ายกันทางโลกตะวันออกใกล้ ซึ่งคำกล่าวดังกล่าวเพียงบ่งบอกถึงความเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว อย่างไรก็ตามในช่วงการถูกเนรเทศ ข้อเท็จจริงที่ว่าพระวิหารถูกสร้างขึ้น ‘เพื่อพระนามของพระเจ้า’ นั้นสามารถเข้าใจได้ว่าหมายถึงเฉพาะพระนามของพระเจ้าเท่านั้น และไม่ใช่ตัวพระเจ้าเองที่สถิตอยู่ในพระวิหาร เมื่อพระวิหารถูกสร้างขึ้นใหม่ในช่วงหลังจากการถูกเนรเทศนั้น ข้อเท็จจริงที่พระนามของพระเจ้าสถิตอยู่ในพระวิหารมีมากขึ้น เป็นที่เข้าใจตามนั้นว่าบอกถึงการสถิตอยู่ด้วยจริงของพระเจ้ากับประชากรของพระองค์และสถิตในพระวิหาร ตัวอย่างเช่น Ehyeh เป็นการตีความอักษรทั้งสี่ของภาษาฮีบรู ที่ใช้คำสัญญาของการสถิตอยู่ด้วย   ของพระเจ้าและให้ความมั่นใจขึ้นกับประชากรในการสถิตอยู่ในทุกหนทุกแห่งของพระองค์ เมื่อสัญลักษณ์เดิมของการอยู่ด้วยของพระเจ้าในโลกนี้จริง คือหีบพันธสัญญาที่สูญหายไปนั้น ชื่อนั้นก็ได้กลายมาเป็นตัวแทนที่ใกล้เคียงที่เป็นสัญลักษณ์ของการอยู่ด้วยของพระเจ้ากับประชากรของพระองค์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพระวิหารในเยรูซาเล็ม


[1] “Calling God names: an inner-biblical approach to the Tetragrammaton”, William M. Schniede­wind, in Scriptural Exegesis: The Shapes of Culture and the Religious Imaginat­ion: Essays in Honour of Michael Fishbane, Oxford, 2009

[2] I am the one who shall surely be with you’

[3] I shall be whom I shall be’

[4] the LORD