พิมพ์
หมวด: The Only Perfect Man
ฮิต: 788

pdf pic

 

ภาคผนวก 2

 

 

สารานุกรมยิวเกี่ยวกับ Yahweh

 

 

ส่วนที่คัดลอกต่อไปนี้มาจากหัวข้อ “ชื่อของพระเจ้า” ในสารานุกรมยิว, อิสิดอร์ ซิงเกอร์ (ผู้รวบรวม) เล่ม 9, หน้า 160-161[1]

[เริ่มต้นส่วนที่คัดลอก]

      ชื่อของพระเจ้าในพระคัมภีร์เดิมที่ปรากฏบ่อยที่สุด (6,823 ครั้ง) ก็คือสิ่งที่เรียกกันว่า “อักษรทั้งสี่ของภาษาฮีบรู” หรือ YHWH (hwhy) ซึ่งเป็นชื่อเฉพาะที่เด่นชัดของพระเจ้าแห่งอิสราเอล ชื่อนี้มักถูกแทนด้วยรูปแบบของ “Jehovah” (“เยโฮวาห์”) ในงานแปลสมัยใหม่ ซึ่งอย่างไรก็เป็นไปไม่ได้ในทางภาษาศาสตร์ (ดู Jehovah) รูปแบบนี้เกิดขึ้นจากความพยายามที่จะออกเสียงพยัญชนะของชื่อด้วยสระของ Adonai (אדני = Lord”) ซึ่งกลุ่มมาโซไรต์[2] ได้ใส่ไว้ในข้อความ ดังนั้นจึงเป็นการระบุว่าจะต้องอ่านเป็น Adonai (เป็น “การอ่านมาจากความทรงจำ”)[3] แทนที่จะเป็น YHWH เมื่อชื่อ Adonai อยู่ข้างหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวชื่อนี้ซ้ำ กลุ่มมาโซไรต์จึงเขียน YHWH ด้วยเสียงสระของ Elohim ซึ่งในกรณีนี้จะอ่านเป็น Elohim แทนที่จะเป็น YHWH ผลที่ตามมาจากการอ่านตามแบบมาโซไรต์นั้น พระคัมภีร์ภาษาอังกฤษฉบับต่างๆที่ได้รับการรับรองและแก้ไขใหม่ (แม้จะไม่ใช่ฉบับอเมริกันที่แก้ไขใหม่) จะแปล YHWH เป็นคำว่า “Lord” ในกรณีส่วนใหญ่

      ตามเรื่องราวในอพยพ iii. (E) โมเสสได้รู้จักชื่อนี้ในนิมิตที่ภูเขาโฮเรบ ในอีกเรื่องราวหนึ่งที่คล้ายกัน (เช่น บทที่ vi. 2, 3, P) ได้กล่าวไว้ว่าเหล่าบรรพบุรุษไม่รู้จักชื่อนี้ มันถูกใช้โดยหนึ่งในแหล่งพยานเอกสารเกี่ยวกับปฐมกาล (J) แต่แหล่งอื่นๆแทบจะไม่ใช้เลย นักเขียนบางคนในเวลาต่อมาก็หลีกเลี่ยงการใช้เช่นเดียวกัน ในปัญญาจารย์ก็ไม่ได้มีปรากฏ และในดาเนียลก็พบเฉพาะในบทที่ ix. เท่านั้น ผู้เขียนพงศาวดารแสดงให้เห็นถึงความเอนเอียงไปในทางรูปแบบ Elohim และในสดุดี xlii.-lxxxiii. Elohim มีปรากฏบ่อยกว่า YHWH มาก ซึ่งอาจถูกแทนที่ในบางแห่งสำหรับชื่อหลัง เหมือนในสุดดี liii. (เปรียบเทียบสดุดี xiv)[4]

      ในลักษณะที่ปรากฏนั้น YHWH (יהוה) เป็นบุคคลที่สามที่เป็นเอกพจน์ในกาลกริยาที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ “ḳal” ของคำกริยา הוה (“เป็น”) ดังนั้นจึงหมายถึง “พระองค์เป็น” หรือ “พระองค์จะเป็น” หรืออาจเป็นได้ว่า “พระองค์ทรงมีชีวิตอยู่” ซึ่งเป็นความคิดต้นเค้าของการเป็น ที่เป็นไปได้ว่าเป็นการ “พ่นลมหายใจ”, การ “หายใจ”, และด้วยเหตุนี้จึง “มีชีวิตอยู่” คำอธิบายนี้สอดคล้องกับความหมายของชื่อที่ให้ไว้ในอพยพ iii.14[5] ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระเจ้าที่กำลังตรัส และด้วยเหตุนี้จึงใช้เป็นบุคคลที่หนึ่งว่า “เราเป็น” (אהיה, จาก היה, คำหลังเทียบเท่ากับตัวคำโบราณของ הוה) ดังนั้นความหมายจึงน่าจะเป็น “พระองค์ผู้ทรงมีชีวิตอยู่ด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพาใคร” หรือจะให้ชัดยิ่งขึ้นว่า “พระองค์ผู้ทรงมีชีวิตอยู่” ความคิดที่เป็นนามธรรมของการดำรงอยู่อย่างสมบูรณ์นี้เป็นความคิดที่ชาวฮีบรูไม่คุ้นเคย ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ความคิดเกี่ยวกับชีวิตมีความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับชื่อ YHWH ตั้งแต่ต้น พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงมีชีวิต ซึ่งตรงกันข้ามกับพระทั้งหลายของคนนอกศาสนาที่ไม่มีชีวิต และพระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดและผู้สร้างชีวิต (เปรียบเทียบ I พงศ์กษัตริย์ xviii.; อิสยาห์ xli. 26-29, xliv. 6-20; เยเรมีย์ x.10,14; ปฐมกาล ii.7; ฯลฯ)[6] แนวความคิดเกี่ยวกับพระเจ้าที่คุ้นกันดีกับความคิดของคนฮีบรูที่ปรากฏในรูปแบบทั่วไปของคำสาบาน “hai YHWH” (=“YHWH ทรงมีชีวิตอยู่แน่ฉันใด”; รูธ iii.13; I ซามูเอล xiv.45[7]; ฯลฯ)

      ถ้าคำอธิบายของรูปแบบที่ให้ไว้ข้างต้นเป็นความจริง การออกเสียงดั้งเดิมจะต้องเป็นYahweh (יַהְוֶה) หรือ Yahaweh (יַהְַוֶה) จากรูปแบบย่อของ Jah หรือ Yah (יָּה) นี้อธิบายได้ง่ายที่สุด และมีรูปแบบของ Jeho หรือ Yeho ด้วย (יְהוה = יְהַו = יְהְוְ) และ Jo หรือ Yo (יוֹ, ที่ย่อจาก יְהוֹ) ซึ่งคำนี้จะรวมอยู่ในส่วนแรกของชื่อเฉพาะ และ Yahu หรือ Yah (יָהוּ = וַהְוְ) ในส่วนที่สองของชื่อดังกล่าว ข้อเท็จจริงอาจกล่าวถึงด้วยว่า ในบทกวีของชาวสะมาเรียนั้น คำ יהוה สัมผัสคล้องจองกับคำลงท้ายที่คล้ายกับ Yahweh, และธีโอโดเรท (“Quæst. 15 ใน Exodum”) กล่าวถึงว่า ชาวสะมาเรียออกเสียงชื่อนั้นว่า Iαβέ. เอปิฟานิอัสอ้างการออกเสียงอย่างเดียวกันกับพวกคริสเตียนในยุคแรกๆ คลีเมนท์แห่งอเล็กซานเดรียยังคงออกเสียงอย่างถูกต้องมากกว่าว่า Iαουέ หรือIαουαί, และออริเกนออกเสียงว่าIαη อาควิลา[8]เขียนชื่อนี้ด้วยตัวอักษรฮีบรูโบราณ ในเอกสารกระดาษกกของชาวอียิปต์-ยิวปรากฏเป็น Ιαωουηε อย่างน้อยก็ช่วงต้นศตวรรษที่สามก่อน ค.ศ. ที่ดูเหมือนชาวยิวจะมองว่าชื่อนี้เป็น “ชื่อที่ไม่อาจเอ่ยได้”[9] บนพื้นฐานของการตีความที่เกินไปจากอพยพ xx. 7 และเลวีนิติ xxiv.11[10] (ดู Philo, “De Vita Mosis,” iii. 519, 529) พวกเขาลืมการออกเสียงที่แท้จริง มีการเขียนไว้เป็นพยัญชนะเท่านั้น

 


[1] The Jewish Encyclopedia, Isidore Singer (ed.), volume IX, pages 160-161

[2] Masorites คือผู้เชี่ยวชาญโทราห์ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6 และ 10 ที่รวบรวมระบบการออกเสียงและการชี้นำทางไวยากรณ์ในการออกเสียงข้อความพระคัมภีร์ โดยพยายามที่จะสร้างมาตรฐานการออกเสียงและวรรคตอน (ผู้แปล)

[3] ḳeri perpetuum” การปรับเสียงสระที่เขียนบนพยัญชนะโดยไม่มีบันทึก เป็นเรื่องธรรมดามากพอสำหรับผู้อ่านที่จะจำได้ (ผู้แปล)

[4] สดุดี ix คือสดุดี 9, สดุดี xlii.-lxxxiii คือสดุดี 42-83, สดุดี liii. คือสดุดี 53, สดุดี xiv คือสดุดี 14 (ผู้แปล)

[5] อพยพ 3:14 พระเจ้าจึงตรัสกับโมเสสว่า “เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น”

[6] 1 พงศ์กษัตริย์ 18, อิสยาห์ 41:26-29, อิสยาห์ 44: 6-20, อิสยาห์ 44: 6-20, เยเรมีย์ 10:10, 14, ปฐมกาล 2:7

[7] นางรูธ 3:13, 1 ซามูเอล 14:45

[8] Theodoret, Epiphanius, Clement of Alexandria, Origen, Aquila

[9] nomen ineffabile”

[10] อพยพ 20:7, เลวีนิติ 24:11