พิมพ์
หมวด: The Only Perfect Man
ฮิต: 1896

pdf pic

 

 

บทที่ 11

 

ch1 1 

 

การไตร่ตรองมากขึ้น

 

เกี่ยวกับความเชื่อในตรีเอกานุภาพ

 

 

 

      นหนังสือเล่มก่อนของผมที่ชื่อพระเจ้าที่เที่ยงแท้เพียงองค์เดียว พูดถึงเรื่องความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวตามพระคัมภีร์ และเนื้อหาส่วนใหญ่มีความแตกต่างกับความเชื่อในตรีเอกานุภาพ สิ่งที่ผมต้องพูดส่วนใหญ่เกี่ยวกับความเชื่อในตรีเอกานุภาพก็ได้พูดครอบคลุมอยู่ในหนังสือเล่มนั้นแล้วและในบทก่อนๆของหนังสือเล่มนี้ โดยเฉพาะในบทที่เกี่ยวกับสี่เสาหลักของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ ในบทนี้ผมจะไตร่ตรองอีกสองสามสิ่งเกี่ยวกับคำสอนของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ

 

คริสตจักรใช้เวลานานแค่ไหน ในการเปลี่ยนจากความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวที่แท้จริง ไปเป็นความเชื่อว่าพระเจ้ามีหลายองค์ของคนนอกศาสนา?

      บรรดานักวิชาการพูดถึง “การแยกทางกัน” ระหว่างคริสตจักรกับศาสนายิวว่าประมาณปี ค.ศ.135 นั่นก็คือ ในช่วงเวลาที่บาร์คัคบา[1]ล้มเหลวในการต่อต้านการปกครองของโรมัน เป็นการจราจลที่น่าเศร้าที่ได้รับพระพรจากรับบีอคีบา[2]ผู้มีชื่อเสียง แต่ “การแยกทางกัน” นี้โดยหลักแล้วเป็นวิธีที่เหมาะในทางประวัติศาสตร์ในการอ้างถึงการแยกคริสตจักรออกจากศาสนายิว ผลที่น่าเศร้าก็คือ ไม่นานหลังจากนั้น คริสตจักรก็ขาดการติดต่อกับรากเหง้าของชาวยิว โดยเฉพาะกับการยึดมั่นในความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวของชาวยิว

      แต่ก่อนที่จะแยกทางกันนั้น ความเชื่อว่าพระเจ้ามีหลายองค์ของคนนอกศาสนาได้เริ่มมีอิทธิพลแล้วกับคำสอนของพระกิตติคุณในเกือบจะทันทีที่พระกิตติคุณตกลงบนดินของคนนอกศาสนา สัญญาณเริ่มต้นของกระบวนการนี้เห็นได้ในหนังสือกิจการ ในช่วงเริ่มต้นพันธกิจของเปาโลกับบารนาบัสในการประกาศข่าวประเสริฐนั้น พวกเขายึดมั่นในหลักการ “ประกาศกับพวกยิวก่อน” แต่เมื่อพวกยิวปฏิเสธคำสอนของพวกเขา พวกเขาจึงแจ้งกับพวกยิวว่าตั้งแต่นี้ไป พวกเขาจะหันไปประกาศข่าวประเสริฐกับคนต่างชาติ (13:46) แต่ในกิจการ 14:1 เราพบว่าพวกเขาก็ประกาศกับพวกยิวอีก คราวนี้ประกาศในธรรมศาลาในอิโคนียูม คำสั่งสอนของพวกเขาได้ทำให้เกิดการมุ่งปองร้ายจากทั้งพวกยิวและพวกต่างชาติจนเปาโลกับบารนาบัสต้องหนีไปเมืองลิสตรา (14:5-6) ในเมืองลิสตรานี่เองเปาโลได้รักษาชายคนหนึ่งที่เป็นง่อยมาตั้งแต่กำเนิด (ข้อ 10) การรักษาได้ดึงความสนใจของผู้คน แต่ไม่ใช่แบบที่เปาโลยินดี เพราะพวกเขาไม่ได้รีรอที่จะกราบไหว้บารนาบัสเป็นพระซุส และเปาโลเป็นพระเฮอร์เมส (ข้อ 12)

      พระซุสไม่ใช่พระย่อยๆ ชาวกรีกบูชาให้เป็นบิดาแห่งเทพเจ้าทั้งหลาย ในขณะที่เชื่อกันว่าพระเฮอร์เมสมีฤทธิ์อำนาจในการรักษา[3] จะเห็นได้ชัดว่าในสองคนนี้บารนาบัสดูแก่กว่า และอาจมีหนวดเคราเต็มคางจนทำให้เขาดูคล้ายกับพระซุสที่เห็นบนเหรียญหรือรูปปั้น ตรงกันข้ามกับพระเฮอร์เมสที่มักเป็นภาพที่ไม่มีหนวดเครา และนี่เข้ากับภาพลักษณ์ของเปาโลอย่างชัดเจน แม้แต่ปุโรหิตในวิหารของพระซุสก็เชื่อว่าบารนาบัสเป็นพระซุส จึงออกมาถวายเครื่องบูชาแก่เขา (ข้อ 13)!

      ประเด็นก็คือว่า พวกต่างชาติในเมืองลิสตราซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของตุรกีในปัจจุบัน พวกเขาต่างเต็มใจอย่างยิ่งที่จะยกย่องบารนาบัสกับเปาโลและกราบไหว้พวกเขาเป็นเทพเจ้า ตอนนี้เราก็เข้าใจได้ว่าทำไมพวกต่างชาติจึงยกพระเยซูขึ้นเป็นพระเจ้าได้ง่ายๆในประวัติศาสตร์ต่อมาและเชื่อในพระองค์ว่าเป็นพระเจ้า เหตุการณ์ในลิสตรานี้เกิดขึ้นก่อนมีการประชุมของพวกอัครทูต (กิจการ 15) ในกรุงเยรูซาเล็มราวปี ค.ศ. 60 ประมาณ 30 ปีหลังจากพันธกิจของพระเยซูในโลกนี้ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่เมื่อถึงปลายศตวรรษที่สอง พวกผู้นำของคริสตจักรตะวันตกก็ได้ประกาศว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าแล้ว[4]

      การยกพระเยซูขึ้นเป็นพระเจ้าอย่างเป็นทางการ ไม่ได้เกิดขึ้นจนกระทั่งศตวรรษที่สี่นั้นอาจเป็นเพราะพวกยิวยังคงมีอิทธิพลค่อนข้างมากอยู่เป็นเวลานานในคริสตจักรตามเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงโรม และยังคงเป็นปากเสียงที่หนักแน่นให้กับความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียว พวกเขาเป็นเสียงส่วนใหญ่ที่ค่อยๆลดลงและในเวลาต่อมากลายเป็นเสียงส่วนน้อยอยู่ในคริสตจักรต่างๆ แต่กระนั้นก็ไม่อาจมองข้ามพวกเขาได้ เมื่อมาถึงปลายศตวรรษที่สามหรือต้นศตวรรษที่สี่ ชาวยิวก็ไม่ได้เป็นปากเสียงให้กับความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวในคริสตจักรตะวันตกอีกต่อไป ด้วยเหตุนี้ข้อเสนออย่างอาจหาญของคริสเตียนที่เชื่อในพระเจ้าหลายองค์ของคนนอกศาสนาจึงปรากฏให้เห็นในหลักข้อเชื่อไนเซีย[5] ค.ศ. 325 และหลักข้อเชื่อไนซีโน-คอนสแตนติโนโปลิแทน[6] ค.ศ. 381 ในขณะที่ยืนหยัดกับความเชื่อในพระเจ้าเพียงองค์เดียวพอเป็นพิธีและเป็นเพียงในนามนั้น ในความเป็นจริงแล้วหลักข้อเชื่อเหล่านี้กำลังประกาศคำบิดเบือนเกี่ยวกับความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวในพระคัมภีร์

 

การใช้ “พระเจ้าพระบุตร” ผิดสมัย

      พระเยซูไม่ได้ถูกประกาศอย่างเป็นทางการว่าเท่าเทียมกับพระเจ้าพระบิดาจนกระทั่งการประชุมสภาสังคายนาแห่งไนเซียในปี ค.ศ. 325 ดังนั้นหลังจากการประชุมสภาสังคายนาแห่งไนเซียนี่เองที่พระเยซูจึงถูกพูดถึงอย่างเป็นทางการว่า “พระเจ้าพระบุตร” ซึ่งกลับกันกับ “พระบุตรของพระเจ้า” ในพระคัมภีร์ ฉะนั้นการใช้คำว่า “พระเจ้าพระบุตร” ในช่วงเวลาใดก่อนการประชุมสภาสังคายนาแห่งไนเซียก็จะผิดสมัย นอกจากนี้ พระวิญญาณบริสุทธิ์ก็ไม่ได้ถูกประกาศให้เท่าเทียมกันกับพระบิดาและพระบุตรจนอีกครึ่งศตวรรษต่อมาในปี ค.ศ. 381 โดยพวกบาทหลวงที่สภาสังคายนาแห่งคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่หนึ่ง โดยมีจักรพรรดิโรมันอีกองค์ที่ชื่อธีโอโดเซียสที่ 1[7] เป็นผู้เรียกประชุม ยิ่งกว่านั้นก็ยังออกข้อบังคับให้ศาสนาคริสต์ตามความเชื่อในตรีเอกานุภาพเป็นเพียงศาสนาเดียวเท่านั้นของจักรวรรดิโรมัน เนื่องจากความเชื่อในตรีเอกานุภาพไม่ได้ถูกตั้งขึ้นตามหลักการและอย่างเป็นทางการจนกระทั่งปี ค.ศ. 381 การใช้คำ “ตรีเอกานุภาพ” กับพระคัมภีร์ใหม่จึงผิดสมัยเช่น เดียวกัน

      การที่เราจะศึกษาเกี่ยวกับพระเยซูของพระคัมภีร์ใหม่นั้นหมายความว่าอะไร? ความพยายามใดๆที่จะทำการศึกษาเปรียบเทียบพระคริสต์ของพระคัมภีร์ใหม่กับพระคริสต์ของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ ผู้ที่ไม่มีใครในช่วงสมัยพระคัมภีร์ใหม่เคยได้ยินมาก่อน ซึ่งได้มีขึ้นอย่างเป็นทางการในอีก 300 ปีต่อมานั้น จะเป็นการดำเนินการผิดสมัยที่ไม่สมเหตุสมผล อะไรคือรากฐานในการเปรียบ เทียบพระคริสต์ของพระคัมภีร์ใหม่กับพระคริสต์ที่ถูกยกขึ้นเป็นพระเจ้าของคริสตจักรตะวันตกที่พูดภาษากรีกในราว 300 ปีต่อมา? เป็นไปได้อย่างไรหรือที่พระคริสต์ผู้ทรงถูกปั้นแต่งขึ้นหลายศตวรรษหลังจากพระคัมภีร์ใหม่นั้น จะถูกเปรียบเทียบอย่างเชื่อถือได้กับพระคริสต์ที่มหัศจรรย์และมีหนึ่งเดียวที่เปิดเผยให้เห็นในพระคัมภีร์ใหม่?

สิ่งที่เราซึ่งรวมทั้งตัวผมได้ทำเมื่อยังเป็นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพอยู่นานหลายสิบปีก็คือ การค้นหาความเชื่อถือได้หรือการยืนยันบางอย่างในพระคัมภีร์ใหม่ให้กับพระคริสต์ของศตวรรษต่อมาของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ แต่ หลักฐาน ของพระคัมภีร์ใหม่ที่เราใช้เพื่อสนับสนุนพระคริสต์ตามแบบความเชื่อในตรีเอกานุภาพที่มาภายหลังนานมากนั้น ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นหลักฐานที่ไม่เพียงพอและฟังไม่ขึ้นอย่างมากในทางการตีความที่ตอนนี้ผมรู้สึกว่าต้องประกาศต่อสาธารณชนตามจิตสำนึกผิดชอบว่า พระคริสต์ตามความเชื่อในตรีเอกานุภาพเป็นพระคริสต์ที่ผิดไปจากพระคัมภีร์ บรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพมักพูดซ้ำๆมาตลอด กับข้อพระคัมภีร์ไม่กี่ตอนมาสนับสนุน เช่น ยอห์น 1:1-18, ฟีลิปปี 2:6-11 และมีข้ออื่นอีกเล็กน้อยในพระคัมภีร์ใหม่ที่สามารถช่วยพวกเขาได้ยามคับขัน

      แม้ว่านี่อาจเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเราที่สนับสนุนความเชื่อในตรีเอกานุภาพอย่างกระตือรือร้นมาตลอดชีวิตส่วนใหญ่ของเรา แต่ถึงเวลาแล้วที่เราจะตระหนักว่าหลักคำสอนของความเชื่อในตรีเอกานุภาพนั้นผิด และซ้ำร้ายกว่านั้นที่หลักคำสอนนี้ยังได้ปกปิดพระเกียรติสิริของพระคริสต์ตามพระคัมภีร์ ในลักษณะที่อาจทำให้ความรอดของเราตกอยู่ในความเสี่ยง

      ผลร้ายอีกประการหนึ่งของข้อเชื่อในตรีเอกานุภาพก็คือ มันได้กีดกัน ไม่ให้ความสำคัญ และกำจัดพระเจ้าที่เที่ยงแท้เพียงองค์เดียวของพระคัมภีร์ออกไปอย่างแท้จริง จนคริสเตียนส่วนใหญ่แทบไม่มีใครรู้ว่าพระยาห์เวห์เป็นใคร แต่ตรงกันข้ามกับคนยิวเมื่อพูดถึงพระเจ้าว่า อาโดนาย (Adonai)[8] นั้น เขารู้ว่าเขากำลังหมายถึงพระยาห์เวห์ (YHWH) เขาอาจไม่แน่ใจกับการออกเสียงที่ถูกต้องของ YHWH แต่เขารู้ว่าพยัญชนะสี่ตัวนี้แทนชื่อของพระเจ้าที่เที่ยงแท้เพียงองค์เดียว แต่คริสเตียนคิดไม่ออกเลยว่าพระบิดาเป็นใคร เพราะตามความเชื่อในตรีเอกานุภาพแล้ว พระเจ้าพระบิดาไม่ได้เป็นพระเจ้าเดียวและเพียงผู้เดียวเท่านั้น แต่เป็นหนึ่งในสามพระองค์ของพระเจ้าตรีเอกานุภาพ และเพราะฉะนั้นจึงมีอัตลักษณ์ที่คลุมเครือและไม่มีใครรู้จักโดยทั่วไป

 

ทำไมจึงเป็นพระเจ้าที่มีสามพระภาค?

      การมีพระเจ้าที่มีสามพระภาคหมายความว่าอะไรหรือ? พระเจ้าที่เปิดเผยไว้ในพระคัมภีร์นั้น ทรงรอบรู้ทุกสิ่ง สถิตอยู่ทั่วไปในทุกที่ ทรงมีอำนาจทุกอย่าง และทรงดำรงนิรันดร์ แล้วบรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพก็เข้ามาและประกาศว่ามีสามพระองค์ดังกล่าว ไม่สิ ที่จริงพวกเขาประกาศว่ามีสองพระองค์ แล้วต่อมาจึงมีสามพระองค์ สิ่งนี้เกิดขึ้นในช่วงต้นของประวัติศาสตร์คริสตจักรสืบเนื่อง จากอิทธิพลของความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์ของชาวกรีกและชาวโรมันที่กราบไหว้เทพเจ้ามากมาย ตามหลักเกณฑ์ในการเชื่อพระเจ้าหลายๆองค์ของพวกเขาแล้ว พระเยซูทรงมีคุณสมบัติอย่างเด่นชัดที่จะเป็นพระเจ้า ดังนั้นในการสังคายนาแห่งไนเซียในปี ค.ศ. 325 พวกเขาจึงได้ยกพระองค์ขึ้นเป็นพระเจ้าอย่างเป็นทางการ ก่อนจะถึงจุดนั้นคริสตจักรโดยรวมได้ดำเนินมาโดยมีพระเจ้าพระองค์เดียว แต่ตอนนี้พวกเขามีสองพระองค์ อีกสองสามทศวรรษต่อมา พวกเขาก็ตระหนักว่าพวกเขาไม่ได้รวม “พระเจ้าพระวิญญาณ” เข้าไปด้วย ดังนั้นในการสังคายนาแห่งคอนสแตนติโนเปิล พวกเขาจึงได้รวมพระวิญญาณให้เป็นพระเจ้าพระองค์ที่สาม จงสังเกตว่านี่เป็นการตัดสินใจของสภาสังคายนา! ดังนั้นเราจึงกำลังพูดถึงพระเจ้าที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ซึ่งไม่ใช่พระเจ้าในพระคัมภีร์

อะไรคือจุดประสงค์ของการยกผู้ที่ถูกเรียกว่า พระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นมนุษย์” (1 ทิโมธี 2:5) ขึ้นเป็นพระเจ้า? ถ้าพระเจ้าก็ทรงมีอำนาจทุกอย่างอยู่แล้ว ทรงรอบรู้ทุกสิ่ง สถิตอยู่ทั่วไปในทุกที่ และทรงดำรงนิรันดร์แล้ว การมีสองพระองค์แบบนี้จะต่างกันอย่างไรหรือ นี่ยิ่งไม่ต้องพูดถึงการมีสามพระองค์เลย? ถ้าองค์หนึ่งมีอำนาจทุกอย่าง พระเจ้าก็ทรงมีอำนาจทุกอย่างอยู่แล้ว ถ้าองค์หนึ่งมีความรอบรู้ทุกสิ่ง อีกสององค์ก็จะไม่รู้อะไรเกินจากที่พระองค์แรกรู้อยู่แล้ว ถ้าองค์หนึ่งสถิตอยู่ทั่วไปในทุกที่ อีกสององค์ก็ไม่สามารถจะอยู่ในที่ที่องค์แรกไม่ได้อยู่ ในส่วนของอำนาจทุกอย่างนั้น การที่จะมีหนึ่งหรือสองหรือสามพระองค์จะมีความแตกต่างอะไรหรือ? การเพิ่มทวีความมีอำนาจทุกอย่างด้วยความมีอำนาจทุกอย่างที่เท่าๆกันสามพระองค์ ก็เหมือนกับการเพิ่มทวีความไม่มีที่สิ้นสุดด้วยความไม่มีที่สิ้นสุดที่เท่าๆกันสามพระองค์

      การที่คริสตจักรได้ดำเนินมาโดยไม่มีพระองค์ที่สองหรือพระองค์ที่สามอย่างเป็นทางการจนกระ ทั่งศตวรรษที่ 4 ทำให้เกิดสองสามคำถามขึ้นมาว่า ถ้าคริสตจักรได้ดำเนินมาโดยไม่มีสองพระองค์เพิ่มเข้ามา แล้วทำไมพวกเขาถึงได้เริ่มที่จะเพิ่มสองพระองค์เข้ามาด้วย? และถ้าคริสตจักรสามารถเพิ่มหนึ่งพระองค์ให้รวมอยู่ในพระเจ้าได้ตามต้องการโดยออกข้อกำหนด แล้วจะมีหลักการอะไรมาป้องกันไม่ให้เพิ่มพระองค์อื่นอีกในอนาคตหรือ? ผู้ที่เข้ามาในความคิดตอนนี้ก็คือพระแม่มารีย์ที่คนจำนวนมากในความเชื่อของนิกายโรมันคาทอลิกกราบไหว้บูชาและเป็นที่รู้จักในฐานะของผู้กลางที่เป็นหญิงเช่นเดียวกับที่พระคริสต์ทรงเป็นผู้กลาง[9] จากการที่ผู้หญิงได้รับการยกสถานะมากขึ้นในสังคมสมัยใหม่นั้น การจะผลักดันให้ผู้หญิงรวมอยู่ในพระเจ้า จึงอาจไม่ไกลจากความจริง

      หลักพื้นฐานทางศาสนศาสตร์ในการเพิ่มพระเจ้าที่เป็นหญิงนั้น อาจพบได้ในข้อสังเกตของเจมส์ ดี จี ดันน์ (NIGTC,[10] โคโลสี 1:16) ที่ “โซเฟีย” (Sophia, ปัญญา) เป็นหลักการที่เทียบเท่ากันกับ “โลกอส” (Logos, ถ้อยคำ) ตราบเท่าที่สิ่งเหล่านี้เป็นวิธีการที่ทำให้จักรวาลเกิดขึ้น (เปรียบเทียบสุภาษิต 8 และเดอ เครูบิมของไฟโล[11]) ถ้า “โลกอส” สามารถถูกยกขึ้นเป็นพระเจ้าได้ และก็ได้ถูกยกขึ้นเป็นพระเจ้าจริงๆ แล้วทำไมจะยก “โซเฟีย” ขึ้นเป็นพระเจ้าไม่ได้ล่ะ? “โซเฟีย” จะเป็นแก่นแท้ของพระเจ้าด้วยไม่ได้หรือ? ถ้าบรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพไม่เห็นปัญหาในการมีพระเจ้าสององค์ และต่อมาก็มีพระเจ้าสามองค์ที่เรียกเป็นพระองค์ต่างๆ แล้วทำไมจะเป็นปัญหากับการมีสี่พระองค์ด้วย? อย่างไรก็ดี ชาวคาทอลิกจำนวนมากก็กราบไหว้พระแม่มารีย์ไปเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้วที่ได้มีการสร้างคริสตจักรมากมายสำหรับเธอ ถ้าเธอเป็นจุดหมายของการกราบไหว้ที่แท้จริง ขั้นตอนต่อไปที่ “สมเหตุสมผล” ก็คือการยกเธอขึ้นเป็นพระเจ้า ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ชาวคาทอลิกจำนวนมากได้ทำเช่นนั้นแม้ว่าหลักคำสอนอย่างเป็นทางการของคาทอลิกจะไม่ได้ไปไกลขนาดนั้น ดังนั้นความเชื่อในตรีเอกานุภาพจึงก้าวจากข้อผิดพลาดอย่างหนึ่งไปสู่ข้อผิดพลาดอย่างอื่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นเป็นการขจัดพระยาห์เวห์พระเจ้าที่เที่ยงแท้เพียงองค์เดียวออกไป และแทนที่พระองค์ทีละนิดด้วยพระเจ้าองค์อื่นๆที่เรียกเป็น “พระองค์ต่างๆ”

      ความเชื่อในตรีเอกานุภาพเป็นแบบที่ “เชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียว” ที่มีพระเจ้าเพียงองค์เดียวในสามส่วนที่เหมือนกัน แต่ถ้าส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สามเท่ากันแล้ว ก็จะไม่มีความแตกต่างจริงๆระหว่างทั้งสอง ยกเว้นชื่อและการทำหน้าที่ การมีส่วนหนึ่งก็คือการมีทั้งหมด การให้ชื่อแต่ละพระองค์แตกต่างกันก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรในความเป็นจริง บรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพจะมีข้อได้เปรียบอะไรกับการมีพระเจ้าสามองค์ของพวกเขา หรือมีสามองค์ที่แต่ละพระองค์ก็เป็นพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ มากกว่าการมีพระเจ้าที่เที่ยงแท้เพียงองค์เดียวตามพระคัมภีร์? จะไม่มีข้อได้เปรียบแต่อย่างใด! ที่แย่ไปกว่านั้น พวกเขาได้บิดเบือนความจริงเกี่ยวกับพระเจ้าผู้ทรงพระสิริดังที่ได้เปิดเผยในพระคัมภีร์ สิ่งที่พวกเขาสอนเป็นเรื่องโกหกเกี่ยวกับพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่ พระผู้สร้างทุกสิ่ง และพวกเขาจะต้องรับผิดชอบกับการบิดเบือนนี้ในวันพิพากษา

      แต่สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายขึ้นในแง่ของความรอดของมวลมนุษย์ ความเชื่อในตรีเอกานุภาพมีสามองค์อยู่ในพระเจ้าเดียว ที่เท่าเทียมกัน ดำรงอยู่นิรันดร์ด้วยกัน และเป็นอมตะ ถ้ายังงั้น “พระเจ้าพระบุตร” จะสิ้นพระชนม์เพื่อความผิดบาปของเราได้อย่างไรถ้าหากพระองค์ทรงเป็นอมตะ? ตามหลักคำสอนของตรีเอกานุภาพนั้น พระเจ้าพระบุตรได้เสด็จมาในร่างมนุษย์ของพระเยซูโดยการจุติลงมาเกิด แต่ตามคำสอนที่มีชัยในสภาสังคายนาแรกๆของผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพนั้น วิญญาณมนุษย์ของพระเยซูคริสต์ได้ถูกแทนที่ด้วยวิญญาณของ “พระเจ้าพระบุตร” (แม้จะกล่าวกันว่าเป็น “มนุษย์”) ซึ่งส่งผลให้เชื่อกันว่าเป็นพระเจ้าแท้และมนุษย์แท้อยู่ในบุคคลเดียวกัน แต่มนุษย์แท้จะมีเพียงแค่ร่างกายมนุษย์โดยไม่มีวิญญาณมนุษย์แท้และไม่ขึ้นกับใครไม่ได้ เหตุผลของความเชื่อในตรีเอกานุภาพที่ปฏิเสธวิญญาณมนุษย์ที่ไม่ขึ้นกับใครในพระเยซูก็คือ ถ้ามีวิญญาณมนุษย์ด้วย ก็จะมีสองบุคคลอยู่ในพระเยซู ซึ่งเป็นความคิดที่แม้แต่บรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพก็เห็นด้วยว่าฟังไม่ขึ้น (ยังเป็นที่ยอมรับด้วยว่าพระกายของพระเยซูเพียงอย่างเดียว หรือธรรมชาติมนุษย์ของพระองค์เพียงอย่างเดียว ไม่ได้ทำให้เป็นมนุษย์ ไม่เช่นนั้น การมีสองธรรมชาติของพระคริสต์ก็จะหมายถึงการมีสองบุคคลอยู่ในพระคริสต์) ด้วยเหตุนี้ความเชื่อในตรีเอกานุภาพจึงไม่ยอมให้ส่วนที่เป็นมนุษย์ของพระเยซูมีวิญญาณของมนุษย์ที่แท้จริง แต่ร่างกายมนุษย์ที่ไม่มีวิญญาณของมนุษย์ที่แท้จริงนั้น จะไม่สามารถลบล้างความผิดบาปของเราได้ ความผิดบาปของอาดัมและเอวาไม่ได้กระทำโดยทางร่างกายเป็นหลัก แต่กระทำโดยทางใจและความคิด

      ในเมื่อพระเยซูของความเชื่อในตรีเอกานุภาพไม่ใช่มนุษย์แท้แต่เป็น “พระเจ้าพระบุตร” ผู้เป็นพระเจ้าที่เป็นอมตะ แล้วพระองค์จะทรงสิ้นพระชนม์เพื่อความผิดบาปของมนุษย์ได้อย่างไร? ดังนั้นความเชื่อในตรีเอกานุภาพจึงปล่อยให้มนุษย์ปราศจากความรอด ปราศจากการยกโทษบาป ปราศ จากความหวังในชีวิตนิรันดร์ นี่คือความจริงที่น่าเศร้าเกี่ยวกับความเชื่อในตรีเอกานุภาพ ปัญหาที่เราเผชิญไม่ใช่แค่การถกเถียงในเรื่องหลักคำสอน แต่เป็นเรื่องของชีวิตนิรันดร์และความตายนิรันดร์

      หากมีตรีเอกานุภาพใดๆในพระคัมภีร์ใหม่ มันก็จะเป็นตรีเอกานุภาพที่ชั่วร้ายของพญานาค (ซาตาน) สัตว์ร้าย และผู้เผยพระวจนะเท็จ (วิวรณ์ 16:13; 20:10)[12] สิ่งที่ออกมาจากปากของตรีเอกานุภาพที่ชั่วร้ายก็คือวิญญาณโสโครกสามดวง (วิวรณ์ 16:13) ผู้สร้างตรีเอกานุภาพที่ชั่วร้ายของตนเอง ที่วิญญาณเหล่านี้ถูกอธิบายว่าเป็น “วิญญาณชั่ว” ที่มีฤทธิ์อำนาจในการทำหมายสำคัญต่างๆได้น่าประทับใจ ฤทธิ์อำนาจของพวกมันมีมากจนสามารถโน้มน้าวผู้นำของโลกให้ต่อสู้กับพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพสูงสุดที่อารมาเกดโดน (วิวรณ์ 16:14,16)[13] พวกมันได้รวมพลังและได้ร่วมใจกันทำสงครามกับพระยาห์เวห์พระเจ้าที่เที่ยงแท้เพียงองค์เดียว ความจริงที่ว่า มีเพียงตรีเอกานุภาพเดียวเท่านั้นในพระคัมภีร์คือตรีเอกานุภาพที่ชั่วร้ายนี้ เผยให้เห็นถึงความรุนแรงและระดับการหลอกลวงของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ

      บรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพมักจะค้นหาเศษเสี้ยวของหลักฐานใดก็ได้ให้กับความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์ แต่สิ่งที่พวกเขาต้องการจริงๆก็คือหนึ่งหรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งสองคำกล่าวที่ไม่มีทางโต้แย้งได้และไม่คลุมเครือจากพระคัมภีร์ เช่น “พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระเจ้าจากนิรันดร์กาลถึงนิรันดร์กาล” หรือ “พระเยซูทรงเป็นพระเจ้าที่เที่ยงแท้เพียงองค์เดียว” หรือ “พระเยซูทรงเป็น   พระเจ้านิรันดร์ของอิสราเอล” หรือ “พระเยซูทรงเป็นพระเจ้าของอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ” หรือ “พระเยซูคริสต์คือพระยาห์เวห์พระเจ้า” หรือ “เราบอกความจริงแก่ท่านว่า เราเป็นพระเจ้าพระองค์ที่สองในพระเจ้าตรีเอกภาพ” และนั่นก็คงจะทำให้หมดปัญหา แต่ข้อเท็จจริงที่แน่ชัดก็คือ ไม่มีคำกล่าวเช่นนั้นเกี่ยวกับพระเยซู แต่มีคำกล่าวเช่นนั้นเป็นร้อยๆ เกี่ยวกับพระยาห์เวห์พระเจ้า (แน่นอนว่ายกเว้นคำกล่าวสุดท้ายที่เกี่ยวกับพระเจ้าตรีเอกภาพ) ทำไมเราจึงไม่เห็นข้อเท็จจริงนี้? หากข้อเท็จจริงต่างๆไม่สำคัญ ถ้าอย่างนั้นก็ต้องมีสิ่งอื่นที่มีอิทธิพลต่อหลักคำสอนของตรีเอกานุภาพ อะไรหรือที่ทำให้เราปฏิเสธคำสอนที่ชัดเจนของพระคัมภีร์? บางทีมันอาจจะเป็นความบอดในฝ่ายวิญญาณ หรือความจงรักภักดีแบบหลับหูหลับตากับคำสอนสืบทอดที่เราได้รับมาและที่เรายืนหยัด แม้ว่าจะทำให้พระคำของพระเจ้าเป็นโมฆะ (เปรียบเทียบมัทธิว 15:3,6, มาระโก 7:9,13)[14]

 

ข้อผิดพลาดของความเชื่อในตรีเอกานุภาพในเรื่องพระวิญญาณบริสุทธิ์

      จากสิ่งที่บาทหลวงจอห์น แอล แมคเคนซี่[15]ผู้ที่เชื่อในตรีเอกานุภาพยอมรับเกี่ยวกับความเชื่อในตรีเอกานุภาพก็คือว่า คำศัพท์ที่ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพใช้กับพระเจ้าเป็นคำศัพท์ทางปรัชญากรีกมากกว่าคำศัพท์ในพระคัมภีร์ และคำศัพท์อย่างเช่น “แก่นแท้” และ “เนื้อแท้” ถูกนำมาใช้ “อย่างผิดๆ” กับพระเจ้าโดยนักศาสนศาสตร์ยุคแรกๆ จึงเป็นที่ชัดเจนว่า พระเจ้าของความเชื่อในตรีเอกานุภาพนั้นไม่ใช่พระเจ้าของพระคัมภีร์ เมื่อบรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพพูดถึงพระเจ้า พวกเขาไม่ได้พูดถึงพระเจ้าที่เที่ยงแท้องค์เดียวของพระคัมภีร์ แต่พูดถึงตรีเอกานุภาพของสามพระองค์ที่เท่าเทียมกัน ซึ่งไม่พบในพระคัมภีร์เดิมหรือพระคัมภีร์ใหม่ เว้นแต่จะบิดเบือนพระคัมภีร์บางข้อ

      ตามความเชื่อในตรีเอกานุภาพนั้น พระเจ้าพระบิดาทรงเป็นพระองค์แรกของตรีเอกานุภาพ แต่ในพระคัมภีร์แล้ว พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าเดียวและเพียงองค์เดียวเท่านั้น ที่มีพระนามว่าพระยาห์เวห์ (ถูกแปลว่า Lord ในพระคัมภีร์ส่วนใหญ่) มีพระองค์เดียวเท่านั้นในตรีเอกานุภาพที่มีชื่อ คือพระองค์ที่สองซึ่งก็คือพระเยซูคริสต์ และยังถูกเรียกว่า “พระเจ้าพระบุตร” อีกด้วย (คำกลับกันกับ “พระบุตรของพระเจ้า” ของพระคัมภีร์) ชื่อ “เยซู” ในภาษาฮีบรูหมายถึง “พระยาห์เวห์ทรงช่วยให้รอด” หรือ “พระยาห์เวห์ทรงเป็นความรอด” แต่พระยาห์เวห์ของพระคัมภีร์ไม่ได้มีความสำคัญในความเชื่อในตรีเอกานุภาพ! พระยาห์เวห์ทรงเป็นใครหรือ? มีบางคนไปไกลถึงขนาดพูดว่าพระเยซูคือพระยาห์เวห์ แต่นี่จะหมายความว่าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าเพื่อจะกันพระบิดาออกไป เพราะไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากพระยาห์เวห์ ดังที่มีกล่าวไว้ว่า “เราคือพระยาห์เวห์ ไม่มีใครอื่น นอกจากเราแล้ว ไม่มีพระเจ้าอื่นใด” (อิสยาห์ 45:5)

      การบิดเบือนคำพูดของความเชื่อในตรีเอกานุภาพครอบคลุมถึงคำว่า “พระวิญญาณ” ตามความเชื่อในตรีเอกานุภาพแล้ว พระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นพระองค์ที่สาม แต่ในเมื่อ “พระเจ้าทรงเป็นพระวิญญาณ” (ยอห์น 4:24)[16] แล้วมีความจำเป็นตรงไหนที่จะต้องตั้งพระองค์ที่สามที่เรียกว่า “พระเจ้าพระวิญญาณ” (ซึ่งเป็นอีกคำเรียกหนึ่งที่ไม่พบในพระคัมภีร์)? เปาโลไม่ได้คิดว่าพระวิญญาณของพระเจ้าเป็นอีกองค์บุคคลที่เป็นพระเจ้า แต่เป็นพระวิญญาณของพระเจ้าเอง

 

ใครเล่าจะหยั่งรู้ถึงความคิดของมนุษย์ นอกจากจิตวิญญาณของคนนั้นเอง? พระดำริของพระเจ้าก็เช่นเดียวกัน ไม่มีใครหยั่งรู้ได้นอกจากพระวิญญาณของพระเจ้า (1 ครินธ์ 2:11 ฉบับ ESV)

 

      เปาโลกำลังพูดว่า “พระวิญญาณของพระเจ้า” เกี่ยวข้องกับตัวของพระเจ้าในลักษณะเดียวกับที่วิญญาณของมนุษย์เกี่ยวข้องกับตัวของมนุษย์ ข้อนี้ในพระคัมภีร์ฉบับภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ (ฉบับ ESV, NASB, NIV, NJB, HCSB) จะขึ้นต้นคำว่า “พระวิญญาณ” ด้วยอักษรตัวใหญ่ (“Spirit”) ในคำ “พระวิญญาณของพระเจ้า” (“Spirit of God”) เป็นการบ่งชี้ว่าพวกเขาใช้คำนี้เพื่อจะอ้างถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นพระองค์ที่สามของตรีเอกานุภาพ ถ้าเป็นเช่นนั้น พระดำริของพระเจ้าก็จะถูกซ่อนไว้จากอีกสองพระองค์ในตรีเอกานุภาพ คือพระเจ้าพระบิดาและพระเจ้าพระบุตร เพราะเปาโล กล่าวไว้อย่างเจาะจงว่า ไม่มีใครหยั่งรู้ถึงพระดำริของพระเจ้าได้นอกจากพระวิญญาณของพระเจ้า! แต่ปัญหานี้จะหมดไป เมื่อเราเข้าใจว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ก็คือพระวิญญาณของพระเจ้าเอง เหมือนที่วิญญาณมนุษย์ก็คือวิญญาณของมนุษย์เอง

      เราต้องตระหนักว่า พระคัมภีร์ใช้คำว่า “วิญญาณ” (“spirit”) ในความหมายที่เกี่ยวข้องกันหลายอย่าง แต่เมื่ออธิบายเป็นคำเฉพาะแล้ว พระวิญญาณบริสุทธิ์ไม่ใช่พระองค์ที่สามที่เป็นคนละคนกับพระเจ้าพระบิดา แต่เป็นพระวิญญาณของพระบิดาเอง ดังที่เราจะเห็นในข้อพระคัมภีร์ตอนที่เหมือนกันต่อไปนี้ที่เน้นเป็นตัวหนา

 

...อย่ากังวลไปก่อนว่าจะพูดอะไรดี แต่จงพูดไปตามที่​​ประทานแก่ท่าน​​ในเวลานั้น เพราะว่าไม่ใช่ตัวท่านเองที่​​พูด แต่เป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์ (มาระโก 13:11 ฉบับ ESV)

...อย่ากังวลว่าท่านจะพูดอะไรหรือท่านจะพูดอย่างไร เพราะเมื่อถึงเวลานั้นสิ่งที่​​ท่านต้องพูดก็จะประทานให้แก่​​ท่านในเวลานั้น เพราะว่าไม่ใช่ตัวท่านเองที่​​พูดแต่เป็นพระวิญญาณของพระบิดาของท่านที่ตรัสผ่านท่าน (มัทธิว 10:19-20 ฉบับ ESV)

 

      ความเกี่ยวข้องที่สำคัญระหว่างพระบิดาและพระวิญญาณยังปรากฏให้เห็นในข้อที่สำคัญจากยอห์น 15:26 ที่พระเยซูตรัสถึง “พระวิญญาณแห่งความจริงซึ่งมาจากพระบิดา” (หรือ “ออกมาจากพระบิดา” ฉบับ NIV)[17] ในต้นฉบับภาษากรีกคำว่า “มาจาก” อยู่ในรูปไวยากรณ์กาลปัจจุบันที่ต่อเนื่อง เป็นความหมายที่ใกล้เคียงกันที่สื่อได้อย่างถูกต้องในพระคัมภีร์ยิวฉบับสมบูรณ์[18] (“พระวิญญาณแห่งความจริงซึ่งยังคงออกมาจากพระบิดา”) ด้วยเหตุนี้พระบิดาจึงทรงเป็นแหล่งของพระวิญญาณที่ไม่ขาดสาย เหมือนที่น้ำพุเป็นแหล่งของน้ำที่ไม่ขาดสาย (เปรียบเทียบยอห์น 7:38-39 ซึ่งพูดถึงพระวิญญาณว่าเป็น “แม่น้ำที่มีน้ำที่ให้ชีวิต”)[19] นั่นหมายความว่า พระวิญญาณไม่ได้ดำรงอยู่ด้วยตัวเองโดยแยกจากพระบิดาผู้ทรงส่งพระวิญญาณออกมาอย่างไม่ขาดสาย พระเยซูไม่ได้ตรัสว่าพระวิญญาณออกมาจาก “พระเจ้า” แต่ออกมาจาก “พระบิดา” ดังนั้นการยืนยันของความเชื่อในตรีเอกานุภาพที่ว่า “พระเจ้าพระวิญญาณ” เป็นบุคคลผู้ดำรงอยู่ซึ่งแยกจากพระเจ้าพระบิดา จึงไม่ได้มีพื้นฐานมาจากพระคัมภีร์

      พระคัมภีร์เดิมมักให้ภาพพระวิญญาณว่า เป็นฤทธิ์เดชของพระเจ้าที่กระทำการอยู่ เช่น เศคา   ริยาห์ 4:6 (“ไม่ใช่ด้วยกำลัง ไม่ใช่ด้วยฤทธานุภาพ แต่ด้วยวิญญาณของเรา พระยาห์เวห์จอมทัพตรัสดังนี้แหละ”) และมีคาห์ 3:8 (“ข้าพเจ้าเต็มด้วยฤทธิ์เดช คือด้วยพระวิญญาณของพระยาห์เวห์”) ข้อเท็จจริงนี้นักวิชาการของความเชื่อในตรีเอกานุภาพหลายคนต่างรู้กันดี[20] พระคัมภีร์ใหม่มักให้ภาพพระวิญญาณบริสุทธิ์ในแง่ที่เป็นฤทธิ์เดชของพระเจ้า[21] พระเยซูเองก็ทรงกระทำการ “ด้วยฤทธิ์เดชของพระวิญญาณ” (ลูกา 4:14)[22]

 

พระเยซูของความเชื่อในตรีเอกานุภาพเป็น “พระเยซูอีกองค์หนึ่ง”

      ความเชื่อในตรีเอกานุภาพบิดเบือนคำในพระคัมภีร์ (เช่น โดยการกลับคำ “พระบุตรของพระเจ้า” ที่ตรงตามพระคัมภีร์ มาเป็น “พระเจ้าพระบุตร” ที่ไม่ตรงตามพระคัมภีร์) และรับเอาคำจากปรัชญาและปรัชญาตามหลักเทววิทยา (เช่น “แก่นแท้เดียวกัน” จากหลักความเชื่อแบบนอสติก[23]) นี่ไม่น่าแปลกใจที่คำสอนของความเชื่อในตรีเอกานุภาพจึงมีวิญญาณที่ต่างจากคำสอนในพระคัมภีร์ และที่พระเยซูของความเชื่อในตรีเอกานุภาพก็มีวิญญาณที่ต่างจากพระเยซูของพระคัมภีร์ใหม่

      การมี “วิญญาณที่ต่างกัน” เป็นสิ่งที่พระคัมภีร์ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง และมันอาจเป็นสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่เลวร้ายได้ เป็นสิ่งที่ดี ถ้าวิญญาณที่ต่างกันนั้นแตกต่างจากวิถีของโลก และเป็นสิ่งที่เลวร้าย ถ้ามันแตกต่างจากวิถีของพระเจ้า ในแง่บวกของคำนั้น พระยาห์เวห์ตรัสว่า “แต่​​คาเลบผู้รับใช้ของเรา...มีวิญญาณที่แตกต่างและได้ติดตามเราอย่างสุดใจ” (กันดารวิถี 14:24) ส่วนในแง่ลบเปาโลพูดถึง “วิญญาณที่ต่างกัน” ที่เกี่ยวข้องกับ “ข่าวประเสริฐที่ต่างกัน” และ “พระเยซูอีกองค์หนึ่ง”

 

เพราะ​​ถ้าใครมาประกาศถึงพระเยซูอีกองค์หนึ่ง ซึ่งไม่ใช่องค์ที่เราเคยประกาศนั้น หรือถ้าพวกท่านรับ​​วิญญาณอื่นซึ่งแตกต่างจากที่ท่านเคยได้รับนั้น หรือถ้ารับข่าวประเสริฐซึ่งแตกต่างจากที่​​ท่านเคยยอมรับ ท่าน​​ก็​​ช่างทนรับง่ายดายเสียจริงๆ (2 ครินธ์ 11:4 ฉบับ ESV)

 

      เหตุใดชาวโครินธ์จึงหัวอ่อนมากที่จะยอมรับ “พระเยซูอีกองค์หนึ่ง” ที่พวกเขาจะทนรับการหลอกลวงได้ “อย่างง่ายดาย” เช่นนั้น? ตรงนี้คำกรีกสำหรับคำว่า “อีกองค์หนึ่ง” หมายถึง “ต่างจำพวกกัน” (BDAG, allos)

      เราเห็นสถานการณ์ที่เลวร้ายกว่านั้นในคริสตจักรกาลาเทีย มันเลวร้ายเพราะสิ่งอันตรายที่ใกล้เข้ามาในหมู่ชาวโครินธ์นั้นได้กลายเป็นความจริงในหมู่ชาวกาลาเทีย (กาลาเทีย 1:6-9) พวกเขากำลังละทิ้งพระเจ้าและหันกลับไปหาข่าวประเสริฐอื่นที่ต่างกัน “ข้าพเจ้ารู้สึกประหลาดใจที่พวกท่านด่วนละทิ้งพระองค์ผู้ซึ่งทรงเรียกท่านมาโดยพระคุณของพระคริสต์ และหันไปหาข่าวประเสริฐอื่นเสีย” (ข้อ 6) เห็นได้ชัดว่าสิ่งนี้ยังไม่ได้เกิดขึ้นในโครินธ์ แต่เกิดขึ้นเฉพาะในกาลาเทีย ด้วยเหตุนี้จึงมีคำว่า ถ้า สามครั้งใน 2 โครินธ์ 11:4 แต่เปาโลเล็งเห็นว่า ถ้าและเมื่อมีการประกาศพระคริสต์ที่ต่างกันในหมู่ชาวโครินธ์ พวกเขาก็จะยอมรับพระองค์อย่างง่ายดายเช่นเดียวกับที่ชาวกาลาเทียได้ยอมรับ นี่เป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นกับคริสตจักรใดก็ได้เมื่อเวลาผ่านไป ความห่วงใยของเปาโลในเรื่องนี้เห็นได้จากคำว่า “กลัว” ในข้อ 3

 

2 ครินธ์ 11:2-3 2เพราะข้าพเจ้ารู้สึกหวงแหนท่านอย่างที่พระเจ้าทรงหวงแหน เพราะ​​ข้าพเจ้าได้หมั้นท่านไว้กับสามีคนเดียว เพื่อถวาย​​ท่านให้เป็นหญิงพรหมจารีบริสุทธิ์แด่พระคริสต์ 3แต่ข้าพเจ้ากลัวว่า งูนั้นได้ล่อลวง​​เอวาด้วยอุบายของมันอย่างไร ความคิดของท่าน​​ก็จะถูกนำให้หลงไปจากการอุทิศตัวที่จริงใจและ​​บริสุทธิ์ต่อพระคริสต์อย่างนั้น (ฉบับ ESV)

 

      เปาโลมองชาวโครินธ์ว่าเป็นคริสตจักรที่ได้หมั้นไว้กับพระคริสต์ ซึ่งใกล้จะหันเหไปจากพระองค์ นี่เป็นคำเตือนที่ไม่เพียงใช้กับคริสตจักรในโครินธ์เท่านั้น แต่ใช้กับคริสตจักรของพระเจ้าทุกแห่งด้วย เพราะได้หมั้นกับพระคริสต์ด้วยเช่นกัน คริสตจักรในโครินธ์ก็เหมือนกับเจ็ดคริสตจักรในวิวรณ์ เป็นคริสตจักรที่เป็นตัวแทนในพระคัมภีร์ ในการเปรียบเทียบของเปาโลนั้น เอวาถูกเปรียบกับคริสตจักร ซึ่งเป็นเจ้าสาวของพระคริสต์ และอาดัมถูกเปรียบกับพระเยซู ซึ่งเปาโลเรียกว่าอาดัมคนสุดท้ายในสองสามบทต่อมา (1 โครินธ์ 15:45)

      คำกล่าวที่น่ากลัวของเปาโลเกี่ยวกับคริสตจักรในโครินธ์นั้น ในที่สุดก็เป็นจริงในคริสตจักรโดย รวม ดังที่อาจเห็นได้ล่วงหน้าในคำกล่าวว่า “ท่าน​​ก็​​ช่างทนรับง่ายดายเสียจริงๆ” นั้น ในที่สุดการหลอกลวงของงูก็เป็นจริงในหมู่ผู้เชื่อคนต่างชาติในคริสตจักร ความกลัวของเปาโลว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับเอวาอาจเกิดขึ้นกับคริสตจักรโดยรวมด้วยนั้นเป็นตามการพยากรณ์ ผลสุดท้ายก็หนีไม่พ้นเพราะชาวโครินธ์ได้เอนเอียงที่จะทนรับพระคริสต์ที่ต่างกัน พระวิญญาณที่ต่างกัน และข่าวประเสริฐที่ต่างกัน หากนั่นเป็นจริงในสมัยของเปาโล แล้วจะยิ่งไม่เป็นอย่างนั้นในศตวรรษต่อมาหรือ เมื่อบรรดาผู้เชื่อต่างชาติเริ่มมีจำนวนมากกว่าผู้เชื่อชาวยิว (ผู้เชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวที่แท้จริง) ซึ่งลดจำนวนพวกเขาลงให้เหลือเป็นเพียงชนกลุ่มน้อย?

      ทำไมชาวโครินธ์และชาวกาลาเทียจึงยอมรับพระคริสต์ที่ต่างกัน ข่าวประเสริฐที่ต่างกัน และวิญ ญาณที่ต่างกัน (คือแตกต่างจากพระวิญญาณของพระยาห์เวห์) ได้ง่ายๆจากคนเหล่านั้นที่เปาโลได้เทศนาสั่งสอนพวกเขา มันไม่ใช่เพราะว่าพวกเขาได้ยอมให้ตัวเองถูก “งู” (ซาตาน) หลอกลวงด้วยอุบายและถูกนำให้ “หลงไป” (ข้อ 3) เหมือนกับเอวาหรอกหรือ?

      มันต้องมีบางสิ่งที่ทำให้พวกเขาเชื่อว่าพระเยซูที่ต่างองค์กันนี้ ดีกว่าพระเยซูที่เปาโลได้สั่งสอนพวกเขา เมื่อพิจารณาถึงภูมิหลังของผู้เชื่อชาวต่างชาติส่วนใหญ่แล้ว (ซึ่งในสมัยของเปาโลนั้น เป็นชนกลุ่มน้อยที่มีขนาดใหญ่พอควรในคริสตจักรต่างๆที่อยู่นอกปาเลสไตน์ เช่น คริสตจักรโครินธ์ในกรีซ และคริสตจักรกาลาเทียในเอเชีย) สิ่งนี้สามารถพิสูจน์ได้ง่ายกว่าที่คาดไว้ ส่วนชาวกาลาเทียนั้น เปาโล “รู้สึกประหลาดใจ” ที่พวกเขากำลังละทิ้งพระเจ้าผู้ได้ทรงเรียกพวกเขาและหันไปหาข่าวประเสริฐอื่น ข่าวประเสริฐที่ต่างกันในสาระสำคัญ เช่นเดียวกับพระเยซูที่ต่างกัน เปาโลเห็นว่าชาว กาลาเทียได้หลงไปจากความเชื่อ และชาวโครินธ์ก็กำลังจะหลงไปจากความเชื่อในแบบเดียวกัน การหลงไปจากความเชื่อเป็นหมายสำคัญหลักของยุคสุดท้าย แต่มันเป็นความจริงที่เกิดขึ้นใน 30 ปีหลังจากพระเยซูทรงมีชีวิตอยู่ในโลก (เปรียบเทียบฮีบรู 6:4-6; 10:26-31)

      มีหลายคนเทียบการละทิ้งพระเจ้าและการละทิ้งความเชื่อของคริสเตียนกับการมาเป็นผู้เชื่อว่าในพระเจ้าหรือไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า แต่ตรงนี้เราไม่ได้เห็นแบบนั้น ในกาลาเทีย 1:6 คำพูดว่า “ละทิ้งพระองค์ผู้ซึ่งทรงเรียกท่าน” หมายถึง “หันไปหาข่าวประเสริฐที่ต่างกัน” และยอมรับ “พระเยซูอีกองค์หนึ่ง” (2 โครินธ์ 11:4) มันแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ละทิ้งพระเจ้ามักจะยังคงถือศาสนาและไม่ได้กลายเป็นผู้ไม่เชื่อในพระเจ้า

      เราไม่รู้ข้อมูลเฉพาะถึงพระเยซูองค์ที่ต่างกันนี้ นอกเหนือจากที่พระองค์ทรงเป็นบุคคลสำคัญของพระกิตติคุณที่ต่างกัน เนื่องจากชาวกาลาเทียได้หันไปหาพระเยซูองค์อื่นนี้ พวกเขาก็คงพอจะรู้ว่าพระองค์เป็นอย่างไร เราอาจกล่าวแบบเดียวกันนี้กับกรณีของชาวโครินธ์ซึ่งเห็นว่าพระเยซูที่ต่างกันนี้น่าดึงดูดใจมากกว่าพระเยซูที่เปาโลได้สั่งสอนพวกเขา จากที่เข้าใจถึงปัญหาหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ของคริสตจักรแล้ว ในกรณีของชาวโครินธ์นี้เราสามารถคาดการณ์ได้ว่า พระเยซูองค์ที่ต่างกันที่ตรงกันข้ามกับพระเยซูในพระคัมภีร์ น่าจะเป็นพระเจ้า เพราะความเป็นพระเจ้าของหลายๆองค์บุคคล เป็นสิ่งที่ดึงดูดความคิดที่ฝังหัวของคนต่างชาติอย่างมาก ถ้าพวกเขายังสามารถกราบไหว้บูชาบรรดาจักรพรรดิโรมันเป็นพระเจ้าได้ แล้วทำไมจะกราบไหว้บูชาพระเยซูเป็นพระเจ้าไม่ได้ล่ะ? อันที่จริง ภายในหนึ่งร้อยปีหลังจากสมัยของเปาโล ก็ได้มีการประกาศอย่างใจกล้าในโลกของคนต่างชาติแล้วว่าพระเยซูเป็นพระเจ้า

      การที่คนๆหนึ่งมีความเชื่อในพระเยซูที่ต่างกันก็หมายถึงการเปลี่ยนความจงรักภักดี การอุทิศตัว และความซื่อสัตย์ เปาโลประหลาดใจที่ชาวกาลาเทียกำลังจะ “ละทิ้ง” พระเจ้าผู้ได้​​ทรงเรียกพวกเขามาด้วยพระคุณของพระคริสต์ (กาลาเทีย 1:6)[24] คำกรีกของ “ละทิ้ง” (metatithēmi) พจนานุกรมภาษากรีกฉบับ BDAG ระบุว่า “การเปลี่ยนใจในความจงรักภักดี, การเปลี่ยนใจของคนๆหนึ่ง, หันเหไป, ละทิ้ง”

      เปาโลกลัวว่าคริสตจักรจะถูกซาตานหลอกลวงเหมือนที่ทำกับเอวา ให้หันเหไปจากการอุทิศตนอย่างเต็มที่และจริงใจต่อพระคริสต์ เพื่อให้เข้าใจการหลอกลวงนี้ เราต้องดูเนื้อหาของมัน ลักษณะที่ซาตานหรือ “งู” หลอกลวงเอวาคืออะไร? ในการตอบคำถามนี้ เราจะดูเรื่องราวของการทดลองในปฐมกาล นี่เป็นคำสั่งของพระยาห์เวห์ที่ตรัสสั่งอาดัม

 

แล้วพระยาห์เวห์พระเจ้าจึงตรัสสั่งมนุษย์นั้นว่า “เจ้าจะกินผลจาก​​ต้นใดๆในสวนนี้ก็ได้ตามใจชอบ แต่ผลของต้นไม้แห่งการรู้ถึงความดีและความชั่วนั้น ห้ามเจ้ากิน เพราะถ้าเจ้ากินผลของมันวันใด เจ้าจะต้องตายแน่” (ปฐมกาล 2:16-17)

 

      ในบทต่อมาได้ระบุถึงสิ่งที่พระเจ้าได้ตรัสกับเอวาเกี่ยวกับผลของต้นไม้และคำตอบที่งูตอบเธอ

 

แล้วหญิงนั้นจึงพูดกับงูว่า “เราน่าจะกินผลของต้นไม้ในสวนนี้ได้ แต่พระเจ้าตรัสว่า ‘ห้าม​​เจ้ากินผลของต้นไม้ที่อยู่กลางสวนนั้นและห้ามแตะต้องไม่เช่นนั้นเจ้าจะตายแน่นอน’” แต่งูได้พูดกับหญิงนั้นว่า “เจ้าจะไม่ตายแน่นอน” (ปฐมกาล 3:2-4 ฉบับ ESV)

 

      ซาตานกล่าวแย้งคำประกาศของพระเจ้าว่า “เจ้าจะต้องตายแน่นอน” ด้วยคำประกาศโต้กลับว่า “เจ้าจะไม่ตายแน่นอน” เป็นการบังคับให้เอวาเลือกระหว่างสองคำกล่าวที่ขัดกัน และเลือกระหว่างการเชื่อพระเจ้ากับการเชื่อซาตาน สุดท้ายเธอก็เลือกที่จะเชื่อซาตาน!

      ยิ่งไปกว่านั้น การเลือกที่จะเชื่อซาตาน ก็เป็นการบอกเป็นนัยๆจากเอวาว่า พระเจ้ากำลังหวงสิ่งดีๆที่ซาตานอยากจะให้เธอได้รับ “เพราะพระเจ้าทรงทราบว่า พวกเจ้ากินผลจากต้นไม้นั้นวันใด ตาของพวกเจ้าจะสว่างขึ้น แล้วพวกเจ้าจะเป็นเหมือนอย่างพระเจ้า คือรู้ถึงความดีและความชั่ว” (ปฐมกาล 3:5) งูได้สับเปลี่ยนระหว่างร่างกายกับจิตวิญญาณ โดยรู้ว่าอาดัมและเอวาจะไม่ตายทางร่างกาย อย่างน้อยก็ไม่ได้ตายทันที

      อะไรคือเหยื่อที่ซาตานใช้ล่อ? สิ่งนั้นคือ “เจ้าจะเป็นเหมือนพระเจ้า” แต่อาดัมและเอวาได้ถูกสร้างไว้แล้วตามพระฉายาของพระเจ้าไม่ใช่หรือ? ก็ใช่ แต่เอวาต้องการจะ “ยึดฉวย” สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า นั่นก็คือ ความเท่าเทียมกับพระเจ้า ในทางตรงกันข้าม มีการกล่าวถึงพระเยซูในฟีลิปปี 2:6 ที่พระองค์ไม่ได้ทรง “ยึดฉวย” ที่จะเท่าเทียมกับพระเจ้า เป็นคำที่ให้เห็นการกระทำที่ชัดเจนที่อาจใช้อธิบายการเด็ดผลไม้จากต้น ความเท่าเทียมกับพระเจ้านั้นเป็นมากกว่าการมี “รูปลักษณ์ของพระเจ้า” (พระเยซู) หรือการถูกสร้างตาม “รูปเหมือนของพระเจ้า”[25](อาดัม) อาดัมและเอวาอยากได้ปัญญา (“ต้นไม้แห่งการรู้ถึงความดีและความชั่ว”) ที่จะทำให้พวกเขา “เป็นเหมือนพระเจ้า” ในระดับที่ลึกขึ้น ดังนั้นสิ่งล่อใจสำคัญของการทดลองก็คือการทำให้มนุษย์กลายเป็นพระเจ้า และนี่ทำให้เราเห็นคร่าวๆถึงลักษณะของ “พระเยซูอีกองค์หนึ่ง”

      อาดัมไม่ได้ถูกหลอกลวงเหมือนกับเอวา (1 ทิโมธี 2:14)[26] นี่จะหมายความว่าอะไร ถ้าไม่ใช่ว่าอาดัมจงใจจะยึดฉวยความเท่าเทียมกับพระเจ้าหรือ? สิ่งที่ตรงกันข้ามกับการกระทำที่กบฏนี้ก็คือ ท่าทีของพระคริสต์ที่อธิบายไว้ในฟีลิปปี 2:6 (“ไม่ได้ทรงยึดฉวยที่จะเท่าเทียมกับพระเจ้า”) ซึ่งหมาย ความว่า เราจะไม่สามารถจะเข้าใจฟีลิปปี 2 ได้ถ้าเราแยกฟีลิปปี 2 ออกจากเหตุการณ์ในปฐมกาล 2 และ 3 แต่ไม่ว่าจะถูกหลอกลวงหรือไม่ก็ตาม อาดัมกับเอวาก็ได้ก้าวครั้งสำคัญสู่การยกตัวของพวกเขาเองเป็นพระเจ้าโดยการไม่เชื่อฟัง พระเจ้าเองตรัสว่า แท้จริงแล้วพวกเขาได้รู้ถึงความดีและความชั่ว (ปฐมกาล 3:22)[27]

 

บารับบัสอยู่ในการไต่สวนพระเยซู

      เมื่อเปาโลบอกกับชาวกาลาเทียว่าพวกเขากำลังละทิ้งพระเจ้านั้น เปาโลไม่ได้หมายความว่าพวกเขาได้เลิกเชื่อในพระเจ้า แล้วกลายมาเป็นผู้เชื่อว่าไม่มีพระเจ้าหรือไม่เชื่อในพระเจ้า แต่ว่าพวกเขากำลังติดตามพระเยซูที่ต่างกันและเชื่อข่าวประเสริฐที่ต่างกัน ในกรณีของชาวโครินธ์นั้น ข่าวประเสริฐนี้สั่งสอนโดย “อัครทูตปลอม” ที่พระเจ้าไม่ได้ทรงแต่งตั้ง (2 โครินธ์ 11:13) การละทิ้งความเชื่อไม่ได้เป็นการปฏิเสธความเชื่อและศาสนาเลยทีเดียว แต่มักจะเป็นการปฏิเสธพระเยซูในพระคัมภีร์

      มีลักษณะบางอย่างที่คล้ายกันเกิดขึ้นในการไต่สวนพระเยซู ซึ่งปอนทิอัสปีลาตเจ้าเมืองโรมันไม่พบว่าพระเยซูมีความผิดอุกฉกรรจ์ที่จะถูกลงโทษแต่อย่างใด และยิ่งไม่สมควรกับการลงโทษด้วยการถูกตรึงบนกางเขน บารับบัสนักโทษอุกฉกรรจ์ก็อยู่ในการไต่สวนนี้ด้วย (มัทธิว 27:16) ฝูงชนถูกพวกผู้นำศาสนายุยงให้ตรึงพระเยซู แม้ว่ามันจะหมายถึงการปล่อยบารับบัสไป

      เป็นที่น่าสังเกตว่าบารับบัสถูกเรียกว่า “เยซูบารับบัส” ในมัทธิว 27:16, 17 ตามต้นฉบับโบราณที่ระบุไว้ในสารานุกรมพระคัมภีร์ ISBE[28] การระบุว่ามีการคัดลอกหรือคัดสำเนาคำ “เยซูบารับบัส” ผิดพลาดนั้นไม่น่าเชื่อถือ มันเป็นไปได้มากกว่าที่คำว่า “เยซู” ได้ถูกขีดฆ่าออก

      หลักฐานต้นฉบับเกี่ยวกับ “เยซูบารับบัส” ในมัทธิว 27:16 นั้นมีน้ำหนักพอที่ชื่อนี้จะรวมอยู่ในพระคัมภีร์สมัยใหม่บางฉบับ เช่น NRSV (“เยซูบารับบัส”), NET (“เยซูบารับบัส”), CJB (“เยชูวา บาร์-อับบา”) และ NIV 2011[29] (“เยซูบารับบัส” แต่ไม่ใช่ในฉบับ NIV 1984)

      เมื่อพระเยซูทรงถูกไต่สวนต่อหน้าปอนทิอัสปีลาตนั้น ชาวยิวได้เลือก “เยซูอื่น” แม้จะด้วยเหตุผลที่แตกต่างจากทางเลือกของคนต่างชาติที่เลือกพระเยซูอื่น ดูเหมือนว่าทุกคนไม่ว่าจะยิวหรือต่างชาติต่างก็ต้องการพระเยซูองค์อื่น มากกว่าองค์ที่พระยาห์เวห์พระเจ้าได้ทรงจัดเตรียมไว้ให้ การปฏิเสธพระเยซูเพื่อเห็นแก่บารับบัสได้ถูกบันทึกไว้ในพระกิตติคุณทั้งสี่เล่ม ซึ่งแสดงถึงความสำคัญในฝ่ายวิญญาณของการปฏิเสธนี้ และถูกเปโตรติเตียน (กิจการ 3:14)

      แต่การเปรียบเทียบไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น คำว่า “บารับบัส” มาจากภาษาอาราเมคว่า “บาร์-อับบา” ซึ่งหมายถึง “บุตรของบิดา” ในกรณีของ “บารับบัส” ไม่ได้จำกัดว่า “บิดา” จะเป็นใคร (หัวข้อในสารานุกรมพระคัมภีร์ ISBE ที่กล่าวมาข้างต้นเสนอว่าเป็น “นาย หรือ ครู”) เป็นความคล้ายคลึงกันระหว่าง “บุตรของบิดา” กับพระเยซู “พระบุตรของพระเจ้า” ที่ไม่ผิดพลาด นี่เป็นเรื่องบังเอิญแท้ๆหรือไม่? ไม่มีเรื่องบังเอิญในพระคำของพระเจ้า ในการไต่สวนพระเยซูซึ่งพวกยิวได้เลือก “บุตรของบิดา” อีกคนหนึ่งมากกว่าบุตรที่พระเจ้าทรงตั้งไว้นั้น พระยาห์เวห์พระเจ้าได้ทรงบอกไว้ล่วงหน้าว่า วันหนึ่งคริสตจักรจะเลือกพระเยซูองค์ที่ต่างจากที่พระองค์ได้ทรงเลือกให้เป็นพระคริสต์ของพระองค์ คือกษัตริย์ผู้เป็นพระผู้ช่วยให้รอดของโลกนี้

 

ปฏิปักษ์ของพระคริสต์ในจดหมายของยอห์น ปัจจัยเกี่ยวกับความเชื่อแบบนอสติก

      ไม่ใช่แต่เฉพาะแต่ในจดหมายของเปาโลที่เราเห็นการอ้างอิงถึงศัตรูของคริสตจักร ที่ทำงานอยู่ภายในคริสตจักร เช่น ผู้ที่สอนพระเยซูอีกองค์หนึ่ง หรือข่าวประเสริฐอื่น ยอห์นเองก็ต้องเผชิญหน้ากับพระคริสต์อีกองค์หนึ่งที่ทำหน้าที่เป็น “ปฏิปักษ์ของพระคริสต์” ซึ่งเป็นคำที่ยังรวมถึงผู้ที่ประกาศปฏิปักษ์ของพระคริสต์และข่าวประเสริฐที่แตกต่างกัน (ทุกข้อมาจากฉบับ ESV)

 

1 ยอห์น 2:18 ลูกทั้งหลายนี่เป็นวาระสุดท้ายและตามที่​​ท่านได้ยินมาว่า ปฏิปักษ์ของพระคริสต์กำลังจะมานั้น บัดนี้ปฏิปักษ์ของพระคริสต์จำนวนมากก็มาแล้ว เพราะฉะนั้นเราจึงรู้ว่านี่เป็นวาระสุดท้าย

1 ยอห์น 2:22 ใครเป็นคนโกหกหรือ ถ้าไม่ใช่คนที่ปฏิเสธว่าพระเยซูไม่ใช่พระคริสต์? นี่คือปฏิปักษ์ของพระคริสต์คือผู้ที่ปฏิเสธพระบิดาและพระบุตร

1 ยอห์น 4:2-3 ท่านจะรู้จักพระวิญญาณของพระเจ้าโดยข้อนี้ คือทุกวิญญาณ​​ที่ยอมรับว่าพระเยซูคริสต์ได้ทรงกำเนิดเป็นมนุษย์ ก็มาจากพระเจ้า และทุกวิญญาณที่ไม่ยอมรับพระเยซู ก็ไม่ได้มาจากพระเจ้า นี่เป็นวิญญาณของปฏิปักษ์ของพระคริสต์ ซึ่ง​​ท่านได้ยินว่าจะมา และขณะนี้ก็อยู่ในโลกแล้ว

2 ยอห์น 1:7 เพราะมีผู้ล่อลวงจำนวนมากได้เข้าไปในโลก คนเหล่านี้ไม่ยอมรับว่าพระเยซูคริสต์ทรงกำเนิดเป็นมนุษย์ คนเช่นนี้แหละเป็นผู้ล่อลวงและเป็นปฏิปักษ์​​ของพระคริสต์

 

      ยุคที่ผ่านมา นักวิชาการบางคนเชื่อว่า “ผู้หลอกลวง” เหล่านี้มาจากกลุ่มความเชื่อแบบนอสติกที่เป็นชาวยิวและไม่ใช่ชาวยิวที่เคยกระตือรือร้นมาก่อน ในระหว่างและหลังช่วงสมัยคริสตจักรของ   อัครทูต ความเชื่อแบบนอสติก ซึ่งเป็นการคาดคะเนของความคิดทางปรัชญาตามหลักเทววิทยาที่ถูกขับเคลื่อนโดยปรัชญากรีก และสอนข่าวประเสริฐโดยอาศัย “ความรู้” (gnōsis) ที่เร้นลับนั้น ได้จูงใจให้มีผู้ติดตามอย่างกว้างขวางและกลายเป็นภัยคุกคามต่อคริสตจักร

      “อัครทูตพิเศษ” ที่โครินธ์ (2 โครินธ์ 11:5; 12:11)[30] กำลังท้าทายสิทธิอำนาจของอัครทูตเปาโล และได้รับการสนับสนุนจากคนจำนวนมาก นักวิชาการเยอรมันชื่อวอลเตอร์ ชมิทธัลส์ เขียนเอาไว้ว่า “แทบไม่มีข้อสงสัยเลยว่าฝ่ายตรงข้ามที่เชื่อแบบนอสติกและ พวกอัครทูตพิเศษ นั้นเหมือนกัน” (หน้าที่ของอัครทูตในคริสตจักรยุคแรกๆ, หน้า 178)[31] แต่บรรดานักวิชาการในปัจจุบันนี้ ไม่ค่อยมั่นใจเกี่ยวกับลักษณะที่แท้จริงของความเชื่อแบบนอสติกในช่วงสมัยคริสตจักรของอัครทูต

      ผู้อธิบายพระคัมภีร์หลายคนกล่าวว่า ผู้ที่ปฏิเสธว่าพระเยซูคริสต์ได้ทรงกำเนิดเป็นมนุษย์ (1 ยอห์น 4:2-3) ก็คือ “พวกโดซีติสต์” นั่นคือบรรดาผู้ที่สอนว่าพระเยซูมีแต่รูปลักษณ์ของมนุษย์เท่านั้น แต่ไม่ได้เป็นมนุษย์ แต่คำว่า “โดซีติสต์” เป็นเพียงคำบอกลักษณะที่ไม่ได้ระบุชื่อหรือระบุกลุ่มเฉพาะใดๆ “พวกโดซีติสต์” ที่ถูกกล่าวถึงในสมัยของยอห์นนี้คือใครกันหรือ? เป็นพวกนอสติกหรือ? ยอห์นกำลังอธิบายถึงใครด้วยคำที่รุนแรงว่า “ผู้ล่อลวง” และ “ปฏิปักษ์​​ของพระคริสต์”?

      แต่พระเยซูของหลักคำสอนในตรีเอกานุภาพได้ “กำเนิดเป็นมนุษย์” จริงๆหรือ? หรือจะพูดอีกอย่างว่าพระองค์ทรงเป็นมนุษย์ที่แท้จริงหรือไม่? พระองค์จะเป็นมนุษย์ที่แท้จริงได้อย่างไร ถ้าพระองค์เป็น “พระเจ้าพระบุตร” ผู้ที่เท่าเทียมกับพระเจ้าพระบิดา? จะเป็นได้อย่างไรที่พระคริสต์ผู้ทรงดำรงอยู่ก่อน จะเป็นมนุษย์ที่แท้จริงได้? มันจะเป็นไปได้ก็ด้วยการมาจุติใหม่เท่านั้น ความแตกต่างที่แท้จริงเพียงอย่างเดียวระหว่างการดำรงอยู่ก่อนในการมาจุติใหม่ กับการดำรงอยู่ก่อนในความเชื่อในตรีเอกานุภาพก็คือ ความหวังและความประสงค์ ในกรณีของการมาจุติใหม่นั้น เราหวังจะเริ่มจากที่ต่ำกว่าไปสู่ที่สูงกว่าในการไต่เต้าของการดำรงอยู่ ในกรณีของความเชื่อในตรีเอกานุภาพนั้นความประสงค์ก็คือการเริ่มจากที่สูงกว่าไปสู่ที่ต่ำกว่าเพื่อจะเป็นคนรับใช้

      ความเกี่ยวโยงต่อมาของความเชื่อแบบนอสติกกับความเชื่อในตรีเอกานุภาพ ไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับความจริงที่ว่า คำดั้งเดิมของความเชื่อแบบนอสติกว่า homoousios (แก่นแท้เดียวกัน) ได้กลาย เป็นคำสำคัญยิ่งของการสังคายนาแห่งไนเซีย เหนือคำคัดค้านของบาทหลวงบางส่วนเท่านั้น แต่ความเชื่อแบบนอสติกยังปฏิเสธว่าพระคริสต์ทรงเป็นมนุษย์ที่แท้จริงผู้ที่ได้มา “กำเนิดเป็นมนุษย์” ความเชื่อแบบนอสติกก็เหมือนกับความเชื่อที่เรียกว่าโดซีติซึ่ม[32]ที่สอนว่า พระกายของพระเยซูมีภาพลวงตาของการเป็นมนุษย์ แต่ไม่ใช่มนุษย์ ด้วยเหตุนี้ ความเชื่อแบบนอสติกจึงไม่ค่อยใช้กับการสอนเรื่องไม้กางเขน

      แต่เปาโลกล่าวว่า “เราประกาศเรื่องพระคริสต์ทรงถูกตรึงที่กางเขนนั้น เป็นสิ่งที่พวกยิวสะดุด และพวกต่างชาติถือว่าเป็นเรื่องโง่” (1 โครินธ์ 1:23) แสดงให้เห็นว่าผู้ที่สั่งสอน “ข่าวประเสริฐที่ต่าง กัน” ไม่ได้สั่งสอนเรื่องกางเขน ซึ่งตรงกันข้ามกับคำสอนของเปาโลที่เน้นเกี่ยวกับกางเขนว่า “แต่ พระเจ้าไม่ทรงโปรดให้ข้าพเจ้าอวดอะไร นอกจากเรื่องกางเขนของพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้า ของเรา” (กาลาเทีย 6:14)

      ความน่าดึงดูดของความเชื่อแบบนอสติกในคริสตจักรยุคแรกนั้นอยู่ที่ข้อเท็จจริงที่ว่า แม้ว่าโดยพื้นฐานแล้วคำสอนนั้นจะขัดแย้งกับคำสอนในพระคัมภีร์ใหม่ แต่ก็ใช้คำซึ่งมาจากคำศัพท์ของพระคัมภีร์ใหม่โดยตรง เช่น ความรู้ (gnōsis, 1 โครินธ์ 8:1,7), ปัญญา (sophia, 1 โครินธ์ 2:7), ความเต็มบริบูรณ์ (plērōma, เอเฟซัส 1:23), ปรัชญา (phil­o­sophia, โคโลสี 2:8, ข้อที่ตามหัวข้อ ปรัชญา ในสารานุกรม ISBE แล้วระบุว่า “เป็นจุดเริ่มแรกของความเชื่อแบบนอสติกในคริสตจักรของคริสเตียน”; เปรียบเทียบ 1 ทิโมธี 1:4)

      ชื่อที่ชื่อเสียงไม่ดีของซีโมนคนเล่นคาถาอาคมมีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์กับความเชื่อแบบนอสติก หนังสือสารานุกรมพระคัมภีร์เล่มหนึ่งกล่าวว่า “ชื่อของซีโมนคนเล่นคาถาอาคมมีปรากฏบ่อยครั้งในประวัติศาสตร์ยุคต้นๆของความเชื่อแบบนอสติกของ คริสเตียนและได้มีการถกเถียงกันมากว่าผู้ติดตามคำสอนของซีโมนคนเล่นคาถาอาคม ซึ่งเป็นนิกายที่คงอยู่จนถึงศตวรรษที่ 3 นี้มีต้นกำเนิดมาจากคนเล่นคาถาอาคมในกิจการ 8 หรือไม่”[33] ซีโมนคนเล่นคาถาอาคมผู้เข้าร่วมกับคริสตจักรของอัครทูตและยังได้รับบัพติศมาในคริสตจักรนั้น เป็นผู้ทำการอัศจรรย์ หรือ “คนเล่นคาถาอาคม” ที่ถูกกล่าวถึงในข้อมูลนอกพระคัมภีร์สมัยต้นๆ ความโด่งดังของเขาในสมัยของเขานั้นเห็นได้ในหนังสือกิจการ

 

9มีคนหนึ่งชื่อซีโมนเคยเล่นคาถาอาคมในเมืองนั้นมาก่อน เขาทำให้ชาวสะมาเรียแปลกประหลาดใจ เขาอ้างตัวว่าเป็นผู้วิเศษ 10พวกเขาทุกคนตั้งแต่คนเล็กน้อยที่สุดไปจนถึงคนใหญ่โตที่สุดต่างสนใจฟังคนนั้น แล้วกล่าวว่า “คนนี้คือฤทธานุภาพที่ยิ่งใหญ่ของพระเจ้า” 11และพวกเขาทั้งหลายสนใจฟังเขา เพราะเขาทำวิทยาคมให้ผู้คนแปลกประหลาดใจมานานแล้ว 12แต่เมื่อฟีลิปประกาศข่าวประเสริฐเรื่องแผ่นดินของพระเจ้าและพระนามของพระเยซูคริสต์แล้ว พวกเขาก็เชื่อและรับบัพติศมาทั้งชายและหญิง 13แม้ซีโมนเองก็เชื่อ และหลังรับบัพติศมาแล้วเขาก็อยู่กับฟีลิปต่อไป และเมื่อเขาเห็นการทำหมายสำคัญกับการอัศจรรย์อันยิ่งใหญ่เกิดขึ้น เขาก็ประหลาดใจไม่หยุด (กิจการ 8:9-13 ฉบับ NASB)

 

      ในที่นี้ซีโมนถูกเรียกว่า “ฤทธานุภาพของพระเจ้า” (ข้อ 10) ซึ่งในลูกา 22:69[34] เป็นนามนัยของพระเจ้า นี่อาจเป็นเพราะหมายสำคัญและการอัศจรรย์ที่ซีโมนทำโดยการ “เล่นคาถาอาคม” (ข้อ 9) และ “วิทยาคม” (ข้อ 11) โดยที่เขาถูกมองว่าเป็นการสำแดงของพระเจ้า นี่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์สามารถถูกยกขึ้นเป็นพระเจ้าหรือถูกมองว่าเป็นการปรากฏของพระเจ้าได้อย่างง่ายดายเพียงใด

 

พระเยซูของความเชื่อในตรีเอกานุภาพแตกต่างจากพระเยซูในพระคัมภีร์

      การประชุมสังคายนาแห่งไนเซีย ซึ่งเป็นชัยชนะสูงสุดของความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์ของชาวต่างชาตินั้น เป็นวิธีคิดที่แตกต่างจากหัวใจและลักษณะของพระคัมภีร์ใหม่อย่างสิ้นเชิง และมาถึงจุดสูงสุดในการยกพระคริสต์ขึ้นเป็นพระเจ้า สิ่งที่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงก็คือ พระเยซูของพระคัมภีร์ใหม่ไม่แสวงหาความเท่าเทียมกับพระเจ้า แต่คนต่างชาติได้ประกาศอย่างมีชัยให้พระองค์เท่าเทียมกับพระเจ้าโดยค้านกับพระทัยของพระคริสต์ มันเป็นการค้านโดยตรงกับวิญญาณของพระเยซูของพระคัมภีร์ ผู้ไม่เคยอ้างความเท่าเทียมกับพระบิดาของพระองค์เลย แต่ได้ตรัสตรงกันข้ามว่า “พระบิดาทรงยิ่งใหญ่กว่าเรา” (ยอห์น 14:28)[35] นี่เป็นคำกล่าวที่ผมกระตือรือร้นจะอธิบายให้ดูสมเหตุสมผลเมื่อครั้งยังเป็นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพ ถึงแม้จะมีข้อความพระคัมภีร์ใหม่ตอนอื่นๆหลายตอนที่กล่าวถึงความจริงแบบเดียวกัน แต่เนื่องจากคริสเตียนชาวต่างชาติกระตือรือร้นที่จะทำให้พระเยซูเป็นศูนย์กลางของการนมัสการ พวกเขาจึงถูกขับเคลื่อนด้วยความร้อนร้นของการไหว้รูปเคารพของพวกเขาที่จะยกย่อง “พระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นมนุษย์” (1 ทิโมธี 2:5) ให้อยู่ในระดับของพระเจ้า

      พระเยซูยังได้ปฏิเสธว่าตัวของพระองค์เองไม่ได้ประเสริฐแต่อย่างใดเมื่อตรัสว่าท่านเรียกเราว่าประเสริฐทำไม? ไม่มีใครประเสริฐ เว้นแต่พระเจ้าองค์เดียว” (มาระโก 10:18; ลูกา 18:19; เปรียบ เทียบมัทธิว 19:17) พระเยซูตรัสตรงกับเศรษฐีหนุ่มว่าคำว่า “ประเสริฐ” เป็นคุณสมบัติของพระเจ้าเท่านั้น และจะสามารถนำมาใช้กับคนอื่นได้ก็เฉพาะในความหมายที่แตกออกมาและมีข้อจำกัด จากสิ่งนี้เราจะเห็นว่าพระเยซูจะไม่ยอมรับคุณสมบัติที่เป็นของพระเจ้าอย่างชอบธรรมแต่เพียงผู้เดียว (“ไม่มีใครประเสริฐ เว้นแต่พระเจ้าองค์เดียว”)

      บรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพไม่สามารถจะปฏิเสธและไม่ปฏิเสธว่าพระเยซูทรงเป็นมนุษย์ แล้วปัญหาของพวกเขาคืออะไรหรือ? ปัญหาของพวกเขาก็คือพวกเขาต้องการจะบอกว่าพระเยซู “ไม่ได้เป็นแค่” มนุษย์ แต่เป็น “พระเจ้าพระบุตร” ซึ่งเป็นพระองค์ที่สองของพระเจ้าในตรีเอกานุภาพที่จุติลงมาในพระเยซู นั่นเป็นเพราะตามความเชื่อในตรีเอกานุภาพแล้ว ผู้ทำงานตัวจริงที่อยู่ในพระเยซูก็คือ “พระเจ้าพระบุตร” (ซึ่งกลับกันกับ “พระบุตรของพระเจ้า”) ในขณะที่พระเยซูผู้ทรงเป็นมนุษย์เป็นเพียงธรรมชาติมนุษย์ที่พ่วงอยู่กับพระเจ้าพระบุตรทางการจุติลงมาเกิด นี่เป็นหนึ่งในหลายสาเหตุที่ทำให้เราเมื่อเป็นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพอยู่นั้น จึงไม่ค่อยได้สนใจมากกับเรื่องที่พระเยซูทรงเป็นมนุษย์ ตามความคิดของเราแล้ว พระเจ้าพระบุตรที่ตัวจริงอยู่ในพระเยซูนั้น ทรงเป็นทุกสิ่งที่เราจำเป็นหรือต้องการให้พระเยซูเป็น

      แต่เรามองข้ามสิ่งที่สำคัญยิ่งก็คือ พระเจ้าผู้ทรงสามารถตายได้นั้น ไม่ใช่พระเจ้าของพระคัมภีร์ เพราะพระยาห์เวห์พระเจ้าทรงเป็นอมตะและไม่สามารถตายได้ นี่หมายความว่าพระเจ้าของความเชื่อในตรีเอกานุภาพไม่สามารถจะเป็นพระยาห์เวห์ พระเจ้าของพระคัมภีร์ได้ พระเจ้าที่ตายและเป็นขึ้นมาอีก จะมีความคล้ายคลึงกับบรรดาเทพเจ้าที่ตายไปและเป็นขึ้นอีกตามความเชื่อของคนนอกศาสนาที่แพร่หลายในโลกของคริสตจักรยุคแรกๆ

      สูตรต่างๆของข้อเชื่อไนเซีย อย่างเช่น พระเจ้าจากพระเจ้า ความสว่างจากความสว่าง และการอธิบายอื่นๆที่เลิศลอยนั้นเป็นแค่การสะท้อนตรง ให้เห็นถึงปรัชญาและศาสนากรีก แนวคิดที่สำคัญยิ่งในความเชื่อแบบนอสติกก็คือ การมีต้นกำเนิดของพระเป็นเจ้าต่างๆ ซึ่งตามปกติแล้วสิ่งที่เล็กน้อยกว่าจะมาจากสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า นอกจากนั้นที่การประชุมแห่งไนเซียก็มีข้อกำหนดว่าถ้าไม่เชื่อจะถูกแช่งสาป ที่พระเจ้าพระองค์ที่สองเกิดมาจากพระเจ้าพระองค์แรก เหมือนที่ความสว่างเกิดมาจากแหล่งของความสว่าง คำสอนนี้มาจากปรัชญากรีกโดยตรง

      ถ้าหาก “พระเจ้าพระบุตร” ของความเชื่อในตรีเอกานุภาพมีความเกี่ยวข้องที่น่าเชื่อถือกับ “พระเจ้าพระบิดา” ภายในกรอบของความนิรันดร์กาล เราก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงข้อสรุปที่ว่าพระบุตรมีชีวิตมาจากพระบิดาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่เช่นนั้นก็ไม่มีเหตุผลใดที่พระองค์จะถูกเรียกว่าพระบุตร ความยุ่งยากแท้จริงซึ่งผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพบางคนยอมรับ ได้นำไปสู่แนวคิดเกี่ยวกับการบังเกิดมาจากพระบิดาและดำรงอยู่ด้วยตั้งแต่นิรันดร์กาล[36] โดยที่พระบุตรเกิดมาจากพระบิดาตั้งแต่นิรันดร์กาล เหมือนที่ความสว่างส่องออกมาจากดวงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง แต่แนวคิดทางปรัชญานี้ไม่ได้แก้ปัญหาเพราะยังคงไม่ได้อธิบายการใช้คำว่า “บุตร” ข้อเท็จจริงยังคงมีอยู่ว่า การดำรงอยู่ของพระบุตรมาจากพระบิดาในทางใดทางหนึ่งที่มีนัยสำคัญ และสิ่งนี้เป็นความจริงถึงแม้ว่าเราจะเสนอความคิดเรื่องการบังเกิดมาจากพระบิดาและดำรงอยู่ด้วยตั้งแต่นิรันดร์กาล ดังนั้นในความเข้าใจที่สำคัญนี้พระบุตรจึงไม่ได้เท่าเทียมกับพระบิดา

      ตามจักรวาลวิทยาทางวิทยาศาสตร์แล้ว ในอนาคตอันยาวไกลนั้นดวงอาทิตย์จะสิ้นสลายและ จะไม่ส่องแสงเหมือนที่ส่องในขณะนี้ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่ดวงอาทิตย์จะดำรงอยู่ในภาวะเอกเทศ[37]โดยไม่ส่องแสง เมื่อพิจารณาถึงอายุขัยที่มีขีดจำกัดของดวงอาทิตย์แล้ว การเปรียบเทียบเกี่ยวกับดวงอาทิตย์นั้นไม่เพียงพอที่จะตั้งหลักคำสอนเกี่ยวกับ “การบังเกิดมาจากพระบิดาและดำรงอยู่ด้วยตั้งแต่นิรันดร์กาล” หรือแนวคิดที่พระเยซูเป็น “ความสว่างจากความสว่าง” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคแห่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์นี้ อีกทั้งในยุคของคริสตจักรยุคแรกๆ (ในมุมมองของ 2 เปโตร 3:10 “ฟ้าสวรรค์จะถูกเผาจนมอดไหม้และสลายไป”)[38] พระเจ้าทรงเป็นความสว่างอย่างไม่มีข้อสงสัย แต่นั่นเป็นหลักในแง่ของความบริสุทธิ์ในคุณธรรมและการเห็นแจ้งทางวิญญาณ คุณลักษณะที่มีคุณธรรมของพระเจ้าไม่ใช่สิ่งที่สามารถจะนำมาเปรียบเทียบได้อย่างเหมาะสมกับแสงที่ส่องออกมาจากวัตถุที่กำลังเผาไหม้ เช่น ดวงอาทิตย์ แต่ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่สำคัญจริงๆก็คือ หลักคำสอนเรื่องการบังเกิดมาจากพระบิดาและดำรงอยู่ด้วยตั้งแต่นิรันดร์กาลนั้น เป็นแนวคิดที่ไม่พบในพระคัมภีร์

 

พระคริสต์ทรงอยู่ใต้อำนาจพระเจ้า

      พระเยซูตรัสว่า “พระบิดาของเราผู้ประทานแกะนั้นให้แก่เราทรงเป็นใหญ่กว่าทุกสิ่ง” (ยอห์น 10:29) ตรงนี้พระองค์ตรัสเฉพาะเจาะจงว่า พระเจ้าพระบิดาทรง “เป็นใหญ่กว่าทุกสิ่ง” (เปรียบ เทียบ “ใหญ่ยิ่งกว่าพระทั้งหลาย” สดุดี 95:3)[39] นี่จะหมายความว่าพระบิดาทรงยิ่งใหญ่กว่าพระเยซูเพราะคำว่า “ทุกสิ่ง” จะรวมถึงพระเยซูซึ่งเป็นคนละคนกันกับพระบิดาแม้ในความเชื่อในตรีเอกานุภาพ (เปรียบเทียบหลักข้อเชื่ออธาเนเซีย) นี่ไม่ใช่คำกล่าวเดี่ยวๆ แต่มีการยืนยันจากคำกล่าวอื่นๆ เช่น “พระบิดาทรงยิ่งใหญ่กว่าเรา” (ยอห์น 14:28) พระเจ้าทรงยิ่งใหญ่กว่าพระเยซูด้วยเหตุผลพื้นฐานที่ว่า พระเจ้าทรงยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์

      “บ่าวจะเป็นใหญ่กว่านายไม่ได้ ทั้งผู้ส่งข่าวจะเป็นใหญ่กว่าผู้ที่ส่งเขาไปก็ไม่ได้” (ยอห์น 13:16) เมื่อพูดถึงตัวพระองค์เองว่าเป็นบ่าวและผู้ส่งข่าวนั้น พระเยซูกำลังอธิบายว่าทรงทำงานเกี่ยวข้องกับพระบิดาอย่างไร เพราะพระองค์ตรัสถึงตัวพระองค์เองซ้ำๆว่าทรงเป็นบ่าว (doulos) ของพระบิดาของพระองค์ อีกทั้งยังเป็นผู้ที่พระบิดาทรงใช้มา[40] พระเยซูทรงใช้คำ “เป็นใหญ่กว่า” เพื่ออธิบายความเกี่ยวข้องทั้งสองกับพระบิดา

      พระเยซูทรงหมายความว่าอย่างไรเมื่อตรัสว่า “พระบิดาทรงเป็นใหญ่กว่าเรา”? คำกล่าวนั้นไม่อาจเป็นจริงได้ในความเชื่อตรีเอกานุภาพที่ “พระเจ้าพระบุตร” จะทรงมีความเท่าเทียมกันทุกประ การกับพระเจ้าพระบิดา คำกล่าวของพระเยซูและคำกล่าวที่คล้ายๆกัน เช่น “พระเจ้าทรงเป็นศีรษะของพระคริสต์” (1 โครินธ์ 11:3)[41] ทำให้ผมลำบากใจขณะเมื่อยังเป็นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพ เพราะมันขัดแย้งโดยตรงกับหลักการสำคัญของความเชื่อในตรีเอกานุภาพนั่นก็คือ ความเท่าเทียมกันของพระบุตรกับพระบิดา แต่หลักคำสอนเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันเป็นความเท็จอย่างชัดเจนตามคำกล่าวที่ว่า “พระบิดาทรงยิ่งใหญ่กว่าเรา” พระเยซูทรงปฏิเสธที่จะยึดถือหรือยึดฉวยความเท่าเทียมกับพระเจ้า (ฟีลิปปี 2:6) แต่เราที่เป็นผู้เชื่อตรีเอกานุภาพได้หูหนวกฝ่ายวิญญาณในความมุ่งมั่นของเราที่จะแต่งตั้งพระเยซูให้เป็นพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพสูงสุด[42]

      คำที่เอลีฮูเตือนโยบว่า “พระเจ้ายิ่งใหญ่กว่ามนุษย์” (โยบ 33:12)[43] เห็นได้ชัดว่าเป็นเพียงคำซ้ำซาก แต่คำซ้ำซากนี้ดูจะเป็นวิธีเดียวที่สมเหตุสมผลที่จะให้เข้าใจคำกล่าวของพระเยซูว่า “พระบิดาทรงยิ่งใหญ่กว่าเรา” มันกลายเป็นการยืนยันว่าพระเยซูทรงเป็นมนุษย์ ไม่ใช่พระเจ้า คำโต้แย้งของผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพที่ว่าด้านความเป็นพระเจ้าของพระเยซูยิ่งใหญ่กว่าด้านความเป็นมนุษย์ของพระเยซูนั้นเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเลย เพราะว่าการเปรียบเทียบนั้นไม่ใช่ระหว่าง “สองสภาวะ” ที่ถูกกล่าวถึงของพระเยซู แต่ระหว่างพระเยซูกับ “พระบิดา”!

      คำกล่าวที่ว่า “พระบิดาทรงยิ่งใหญ่กว่าเรา” เป็นการปฏิเสธความเท่าเทียมกันของพระบุตรกับพระบิดาอย่างชัดเจน พระคัมภีร์ใหม่ยืนยันว่าพระเจ้าทรงเป็นศีรษะของพระคริสต์หลังจากการเป็นขึ้นมาจากความตายที่ “พระคริสต์ทรงเป็นศีรษะของชายทุกคน สามีเป็นศีรษะของภรรยา และพระเจ้าทรงเป็นศีรษะของพระคริสต์” (1 โครินธ์ 11:3 ฉบับ ESV) ซึ่งค้านกับการอ้างของความเชื่อในตรีเอกานุภาพว่าพระคริสต์เป็นพระเจ้าและเท่าเทียมกับพระบิดา ไม่มีการเอ่ยถึงความเท่าเทียมกันของสามพระองค์ในตรีเอกานุภาพแต่อย่างใด เปาโลกล่าวว่าพระคริสต์ทรงอยู่ใต้อำนาจของพระเจ้า (พระยาห์เวห์) เช่นเดียวกับที่บรรดาผู้เชื่ออยู่ใต้อำนาจของพระคริสต์ เปาโลไม่ได้กล่าวว่า ศีรษะของพระคริสต์ก็คือ “พระเจ้าพระบิดา” แต่กล่าวว่าศีรษะของพระคริสต์คือ “พระเจ้า”

      การกล่าวว่าพระคริสต์ทรงอยู่ใต้อำนาจของพระเจ้านั้น เราไม่ได้ปฏิเสธอำนาจสูงสุดและอำนาจทั้งหมดของพระคริสต์ จริงๆแล้วพระองค์เองตรัสว่า “สิทธิอำนาจทั้งหมดในสวรรค์ก็ดี ในแผ่นดินโลกก็ดีได้ทรงมอบไว้แก่เราแล้ว” (มัทธิว 28:18) แต่โปรดสังเกตคำเล็กๆแต่ทรงพลังว่า “มอบไว้” มีผู้ที่ให้อำนาจสูงสุดแก่พระองค์ตั้งแต่แรก ดังนั้นจึงมีข้อยกเว้นอย่างหนึ่งกับอำนาจสูงสุดของพระองค์และอยู่ในความจริงที่ว่า พระคริสต์ไม่มีอำนาจเหนือพระเจ้า

 

เพราะ “พระเจ้าทรงให้ทุกสิ่งอยู่​​ใต้พระบาทของพระบุตร” แต่เมื่อพระคัมภีร์กล่าวว่าทรงให้ “ทุกสิ่ง” อยู่ใต้อำนาจนั้น ก็ชัดเจนอยู่​​แล้วว่า นี่ไม่ได้รวมพระเจ้าผู้ทรงให้ทุกสิ่งอยู่ใต้อำนาจพระองค์ (1 โครินธ์ 15:27 ฉบับ NET)

 

      บรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพและบรรดาผู้ที่ไม่เชื่อในตรีเอกานุภาพต่างเห็นพ้องกับสิ่งที่เปาโลกำลังพูดตรงนี้ว่า อำนาจที่เหนือทุกสิ่งของพระคริสต์นั้นยกเว้นพระเจ้า เรื่องนี้ไม่ได้มีการโต้แย้งและยังทำให้ชัดเจนโดยการแปลข้อนี้ของฉบับ NIV ว่า “เป็นที่ชัดเจนว่า นี่ไม่รวมถึงพระเจ้าเอง ผู้ทรงให้ทุกสิ่งอยู่ภายใต้พระคริสต์”

      จากบริบทโดยตรงของข้อนี้ เรารู้ว่าเปาโลกำลังพูดถึงสองบุคคล นั่นคือ “พระเจ้าพระบิดา” (ข้อ 24) กับ “พระบุตร” (ข้อ 28) ดังนั้นจึงเป็นการเจาะจงถึงพระเจ้าพระบิดา ผู้ทรงให้ทุกสิ่ง (ยกเว้นพระเจ้าเอง) อยู่ภายใต้พระบาทของพระบุตร

      เราสังเกตเห็นสามสิ่งจากข้อนี้ (15:27) ประการแรกคือ อำนาจของพระคริสต์ไม่ใช่อํานาจที่มีโดยกำเนิด แต่เป็นสิ่งที่ได้มอบให้กับพระองค์นั่นก็คือ พระเจ้าทรง “มอบไว้” แก่พระองค์ (มัทธิว 28:18) ประการที่สองก็คือ เปาโลใช้ภาษาที่แยกความแตกต่างของสองบุคคลอย่างชัดเจนว่า ผู้หนึ่งคือพระเจ้าและอีกผู้หนึ่งคือพระคริสต์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าพระเจ้ากับพระคริสต์เป็นสองบุคคลที่ต่างกัน ประการที่สามก็คือ คำว่า “ทุกสิ่ง” ซึ่งปรากฏสองครั้งในข้อ 1 โครินธ์ 15:27 นี้ ช่วยในการอธิบายความหมายของคำว่า “ทั้งหมด” ในคำกล่าวว่า “สิทธิอำนาจทั้งหมดในสวรรค์ก็ดี ในแผ่นดินโลกก็ดีทรงมอบไว้แก่เราแล้ว” (มัทธิว 28:18) โดยมีข้อจำกัดว่า “อำนาจทั้งหมด” ที่ได้มอบไว้กับพระเยซูนั้นไม่ได้รวมถึงอำนาจเหนือพระเจ้า หรือจะพูดอีกอย่างว่า สิ่งที่บอกเป็นนัยในมัทธิว 28:18 ว่าพระคริสต์ทรงอยู่ใต้อำนาจของพระบิดาเนื่องจากคำว่า “มอบไว้” นั้นได้อธิบายไว้ชัดเจนใน 1 โครินธ์ 15:27 นอกจากนี้ก็ยังได้อธิบายไว้ชัดเจนในวิวรณ์ 2:28 โดยพระเยซูที่เป็นขึ้นจากความตายว่า “เหมือนอย่างที่เราได้รับอำนาจจากพระบิดาของเราแล้ว

ในข้อถัดมา เปาโลก็พูดอีกว่าพระคริสต์จะอยู่ใต้อำนาจพระเจ้า

 

เมื่อทุกสิ่งอยู่ใต้อำนาจพระองค์แล้ว พระบุตร​​เองก็จะทรงอยู่ใต้อำนาจพระองค์ (พระเจ้า) ผู้ทรงให้ทุกสิ่งอยู่ใต้อำนาจพระองค์ เพื่อพระเจ้าจะทรงอยู่เหนือทุกสิ่ง (1 โครินธ์ 15:28 ฉบับ ESV)

 

      เปาโลไม่เพียงกล่าวว่า พระคริสต์ไม่มีอำนาจเหนือพระเจ้า (คำกล่าวที่อาจยอมให้มีความเท่าเทียมกันในทางทฤษฎี) แต่กล่าวอย่างหนักแน่นยิ่งขึ้นว่า พระคริสต์จะต้องอยู่ใต้อำนาจพระเจ้า ซึ่งเป็นการปฏิเสธอย่างชัดเจนถึงความเท่าเทียมกันของพระเยซูกับพระบิดาของพระองค์ตามที่เชื่อกันโดยทั่วไป

      ในที่สุดข้อสรุปที่โดดเด่นอาจมาจากข้อ 24

 

แล้วเวลาอวสานก็มาถึง เมื่อพระองค์ทรงถวายอาณาจักรแด่พระเจ้าพระบิดา หลังจากที่ทรงทำลายเทพผู้ปกครองอาณาจักรเทพผู้ทรงอำนาจและเทพผู้ทรงเดชานุภาพทั้งปวง (1 โครินธ์ 15:24)

 

      “เวลาอวสาน” ตรงนี้เป็นการอ้างอิงเกี่ยวกับยุคสุดท้ายถึงช่วงเวลาในอนาคต ในอนาคตเมื่อไรหรือ? บริบท (ข้อ 21-23) กล่าวไว้ชัดเจนว่า เวลาอวสาน” (ข้อ 24) จะมาถึงก็เมื่อหลังจาก “การเป็นขึ้นจากความตาย” (ข้อ 21) เป็นเหตุการณ์ที่ปลื้มปิติซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในสมัยของเรา แต่เมื่อเวลาอวสานมาถึง พระคริสต์จะทรงถวายอาณาจักรให้กับพระเจ้าและพระบิดาของพระองค์ (ข้อ 24) และตามด้วยการที่พระบุตรจะทรงอยู่ใต้อำนาจพระบิดา (ข้อ 27) ลำดับเหตุการณ์ก่อนหลังมีความสำคัญมากเพราะมันบอกเราว่า เวลาอวสานจะเริ่มเปิดฉากอย่างถาวร ที่การอยู่ใต้อำนาจของพระบุตรต่อพระบิดา (ข้อ 27) จะดำเนินต่อไปเป็นนิตย์! แม้แต่พระคัมภีร์ฉบับศึกษาของ ESV[44] ที่มีความเชื่อในตรีเอกานุภาพอย่างมากก็ยอมรับว่า “ข้อนี้ (1 โครินธ์ 15:28) แสดงให้เห็นว่า การอยู่ใต้อำนาจของพระองค์ต่อพระบิดาจะยังคงดำเนินต่อไปเป็นนิตย์”

      เฟรเดริค หลุยส์ โกเดท[45] นักศาสนศาสตร์ชาวสวิสและผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพ ประณามบรรดาผู้ที่ใช้ “วิธีแยบยล” เพื่อหลบเลี่ยงคำสอนที่ชัดเจนของเปาโลเกี่ยวกับพระบุตรทรงอยู่ใต้อำนาจของพระบิดา ผู้อ่านบางคนอาจต้องการอ่านข้ามข้อความต่อไปนี้

 

“ถ้าเช่นนั้นพระบุตร​​เองก็จะทรงอยู่ใต้อำนาจด้วย” เป็นต้น คำกล่าวนี้สามารถใช้ได้ตามที่กล่าวไว้เท่านั้น ความพยายามที่จะอธิบายคำกล่าวนี้มักจะไม่มีอะไร นอกจากจะมีวิธีแยบยลในการอธิบายให้ดูสมเหตุสมผล ในวิธีทั้งหลายนี้ วิธีที่เหล่าบรรพบุรุษมักนำมาใช้นั้นจะจำกัดคำกล่าวถึงธรรมชาติมนุษย์ของพระคริสต์ (ยอห์น 5:26, 27, 30)[46] และการที่พระเจ้าทรงปกครองมนุษย์บนโลกโดยมีตัวแทนที่พระเจ้าทรงแต่งตั้ง (1 โครินธ์ 11:3พระเจ้าทรงเป็นศีรษะของพระคริสต์”) ในการจัดการกับเรื่องนี้ เราสามารถ “ให้คำแนะนำที่คลุมเครือด้วยถ้อยคำที่ปราศจากความรู้” ได้ง่ายๆ และซ่อนความไม่รู้อะไรเลยไว้ภายใต้ความรู้ที่คล้ายคลึงกัน แต่ทั้งหมดที่เราสามารถพูดใน “คำอธิบาย” ของการที่พระบุตรยอมให้ตัวเองอยู่ใต้อำนาจพระบิดานี้เกี่ยวข้องกับคำพูดที่ตามมาว่า “เพื่อพระเจ้าจะทรงอยู่เหนือทุกสิ่ง” ทุกสิ่ง...จะอยู่ใต้บังคับบัญชาของพระบุตร และพระบุตรจะอยู่ใต้บังคับบัญชาของพระบิดา (โครินธ์, เล่ม 1, เกี่ยวกับ 1 โครินธ์ 15:28 จากภาษาฝรั่งเศส)

 

การเริ่มขึ้นของความเชื่อในตรีเอกานุภาพและความสับสนในคำว่า “Lord

      ในสมัยของพระคัมภีร์ใหม่นั้น ชาวยิวที่อาศัยอยู่ในปาเลสไตน์จะพูดภาษาอาราเมคเป็นส่วนใหญ่รวมทั้งภาษาฮีบรู นอกจากนี้ยังมีชาวยิวที่พูดภาษากรีกเป็นส่วนใหญ่หรือพูดแต่เฉพาะภาษากรีก ชาวยิวเหล่านี้ที่พูดภาษากรีกถูกเรียกว่า “พวกกรีก” ในกิจการ 6:1; 9:29; 11:20[47] มีหลายคนในพวกเขาใช้พระคัมภีร์ฉบับเซปทัวจินต์ (ฉบับ LXX) ซึ่งเป็นการแปลพระคัมภีร์ภาษาฮีบรูมาเป็นภาษากรีก การอ้างอิงส่วนใหญ่จากพระคัมภีร์เดิมในพระคัมภีร์ใหม่เอามาจากฉบับ LXX ซึ่งเป็นพระคัมภีร์หลักของบรรดาผู้เชื่อที่พูดภาษากรีกในคริสตจักรยุคแรกๆ ผลของความก้าวหน้าในเรื่องนี้ควบคู่กับการระงับการใช้พระนามยาห์เวห์ของฉบับ LXX ทำให้พระนามของพระยาห์เวห์หายไปจากคริสตจักรในที่สุด

      ดีที่ชาวยิวที่พูดภาษาอาราเมคและภาษาฮีบรู ซึ่งมีความคุ้นเคยกับพระคัมภีร์ฮีบรูรู้จักพระนามยาห์เวห์ (YHWH) แต่ไม่เป็นเช่นนั้นกับบรรดาผู้เชื่อที่พูดภาษากรีก ถึงกระนั้นก็ยังไม่เป็นปัญหาร้ายแรง เพราะคริสตจักรยังคงยึดแน่นอยู่ในความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวตามพระคัมภีร์ แม้จะมีคำ “Lord” (“องค์ผู้เป็นเจ้า”) มาแทนที่คำ “Yahweh” (“ยาห์เวห์”) ในฉบับ LXX ผู้เชื่อชาวยิวส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะพูดภาษาอาราเมคหรือพูดภาษากรีกต่างก็รู้ว่า “องค์ผู้เป็นเจ้า” (Lord) ในพระคัมภีร์ใหม่นั้นบางครั้งจะหมายถึงพระยาห์เวห์ โดยเฉพาะในข้ออ้างอิงที่มาจากพระคัมภีร์เดิม อีกทั้งในบริบทอื่นๆอีกมากมาย พวกเขายังรู้ด้วยว่าพระเยซูทรงเป็น “องค์ผู้เป็นเจ้า” (Lord) ในความหมายที่ต่างกัน หลังจากที่พระองค์ได้ทรงถูกทำให้เป็นขึ้นมาจากความตายโดยฤทธานุภาพของพระเจ้า เปโตรประกาศในวันเพ็นเทคอสต์ว่า “ให้พงศ์พันธุ์อิสราเอลทั้งหมดทราบแน่นอนว่า พระเจ้าทรงแต่งตั้งพระเยซูที่ท่านทั้งหลายตรึงไว้บนกางเขนนั้น ให้เป็นทั้งองค์​​ผู้เป็นเจ้าและพระคริสต์” (กิจการ 2:36) เนื่องจากพระเจ้าทรงเป็นผู้ทำให้พระเยซูเป็นองค์ผู้เป็นเจ้า พระเยซูจึงทรงเป็นองค์ผู้เป็นเจ้าอย่างแท้จริง

      ปัญหาที่ร้ายแรงเกิดขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่สอง เมื่อการยกพระเยซูขึ้นเป็นพระเจ้าเริ่มจะ   ฝังรากในคริสตจักรต่างชาติ ดังที่สะท้อนให้เห็นในคำกล่าวของเมลิโตแห่งซาร์ดิส และไม่นานหลังจากนั้นก็ในคำกล่าวของเทอร์ทุลเลี่ยน[48]บุคคลที่รู้จักกันดีตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 3 เมื่อพระเยซูได้ทรงถูกยกขึ้นเป็นพระเจ้าแล้ว ผู้เชื่อที่เป็นคนต่างชาติบางคนก็เริ่มเชื่อในพระเจ้าสององค์ที่มีอำนาจเท่าๆกันหรือพระเจ้าเดียวในสองบุคคล (ทวิเอกานุภาพ)[49] ความเชื่อทั้งสองนี้เหมือนกันอย่างแท้จริง สิ่งนี้สร้างความสับสนอย่างมากในการใช้คำ “องค์ผู้เป็นเจ้า” (Lord) ซึ่งถูกนำมาใช้อย่างไม่เจาะจงกับพระยาห์เวห์และกับพระเยซูคริสต์ ผลกลับเป็นว่า ต่อมาบรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพจะใช้คำเรียก “องค์ผู้เป็นเจ้า” (Lord) มาใช้กับพระเยซูเพื่อพิสูจน์ว่าพระองค์เป็นพระเจ้า! การชี้นำข้อสรุปนี้ บรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพกำลังใช้ข้อผิดพลาดของความเชื่อในตรีเอกานุภาพที่พวกเขาสร้างขึ้นแต่แรก ที่จะพิสูจน์ข้อผิดพลาดเดียวกันของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ

      คริสตจักรต่างชาติตัดชื่อ “พระยาห์เวห์” (Yahweh) ออก เพราะชื่อนี้ไม่เข้ากับสถานการณ์ของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ ตามความเชื่อในตรีเอกานุภาพแล้ว พระเจ้าพระบิดาเป็นพระเจ้าหนึ่งในสามพระองค์ ในขณะที่พระคัมภีร์บอกว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระยาห์เวห์ (อิสยาห์ 45:5)[50] การยกระดับพระเยซูของความเชื่อในตรีเอกานุภาพขึ้นเป็นพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพสูงสุด ก็ได้ตัดความจำเป็นใดๆในทางปฏิบัติที่จะต้องมีพระเจ้าอื่นที่ไม่ใช่พระเยซู ยิ่งกว่านั้น พระเยซูทรงมีชื่อ แต่พระเจ้าพระบิดาและพระเจ้าพระวิญญาณไม่มีชื่อ พระเจ้าพระบิดาเป็นเพียงพระบิดาของพระเยซูคริสต์ และบทบาทของพระองค์ถูกกำหนดโดยความสัมพันธ์ของพระองค์กับพระเจ้าพระบุตร และเนื่องจากมีการกล่าวถึงพระบุตรว่าทรงเท่าเทียมกับพระบิดาทุกประการ ฉะนั้นถ้าเรามีพระบุตรอยู่แล้ว เราจะต้องการพระบิดาไปทำไม? เมื่อยังเป็นบรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพอยู่นั้น เราให้ความเคารพพระบิดา แต่ไม่ได้ต้องการพระองค์จริงๆ เพราะพระเยซูทรงเป็นทุกสิ่งเพียงพอแล้ว ในพระคัมภีร์ภาษาอังกฤษฉบับต่างๆนั้น จะเห็นว่าชื่อของพระยาห์เวห์ได้หายไปอย่างสิ้นเชิง ยกเว้นบางฉบับ เช่น NJB และ HCSB[51]

      เพราะความสับสนในการใช้ “องค์ผู้เป็นเจ้า” (Lord) ที่ปนกันในคริสตจักร จึงเป็นการดีที่สุดที่จะกลับมาพูดถึงพระเจ้าว่าพระยาห์เวห์ แทนที่จะพูดแค่ว่าองค์ผู้เป็นเจ้า ไม่มีข้อห้ามในพระคัมภีร์ที่จะพูดถึงพระเจ้าที่เที่ยงแท้องค์เดียวว่าพระยาห์เวห์

 

การที่พระเยซูทรงมีพระบิดาก็เป็นการตัดโอกาสพระองค์ที่จะเป็นพระเจ้าแล้ว

      พระคัมภีร์ใหม่พูดถึงพระยาห์เวห์ว่าเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า เป็นพระเจ้าและพระบิดาของผู้เชื่อทั้งหลาย ที่สำคัญคือพระยาห์เวห์ทรงเป็นทุกสิ่งนี้กับพระเยซู เช่น “เรากำลังจะขึ้นไปหาพระบิดาของเราและพระบิดาของพวกท่าน ไปหาพระเจ้าของเราและพระเจ้าของพวกท่าน” (ยอห์น 20:17) ในพระคัมภีร์ไม่ได้มีปัญหาในการกล่าวถึงพระยาห์เวห์โดยสามคำเรียกนี้ (องค์ผู้เป็นเจ้า, พระเจ้า, พระเจ้าพระบิดา) แม้แต่ในความเกี่ยวข้องกับพระเยซู

      เปาโลก็พูดอย่างเดียวกันถึง “พระเจ้าและพระบิดาของพระเยซูคริสต์องค์​​ผู้เป็นเจ้าของเรา” (โรม 15:6; 2 โครินธ์ 1:3; 11:31; เอเฟซัส 1:3; เปรียบเทียบกับ 1 เปโตร 1:3)[52] ถ้าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าจริงๆ ฉะนั้นพระเจ้าก็จะเป็นพระเจ้าของพระเจ้า

      ข้อเท็จจริงที่ว่าพระเยซูทรงมีพระบิดา นี่ก็เป็นการตัดโอกาสพระองค์ที่จะเป็นพระเจ้าเสียแล้ว นั่นเป็นเพราะเปาโลกล่าวถึง “พระเจ้าองค์เดียวและเป็นพระบิดาของทุกคน” (เอเฟซัส 4:6)[53] พูดอีกอย่างก็คือ มีพระเจ้าเพียงองค์เดียวและพระเจ้าองค์นั้นก็คือพระบิดาของทุกคน เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่ไม่ใช่พระบิดาของทุกคนก็ไม่ใช่พระเจ้า แต่พระเยซูไม่ใช่พระบิดาอย่างแน่นอน (ไม่ใช่พระบิดาแม้ในความเชื่อตรีเอกานุภาพ) จึงยิ่งไม่ต้องพูดถึงว่าจะเป็นพระบิดาของทุกคน เราไม่ได้เรียกประชากรของพระเจ้าว่า “บรรดาบุตรของพระเยซู” หรือ “ลูกของพระคริสต์” และพวกเขาก็ไม่ได้ร้องว่า “อับบา พระคริสต์!” ตรงกันข้ามกับ 1 ยอห์น 5:18[54] ที่กล่าวว่าเรา “เกิดจากพระเจ้า” และกล่าวว่าพระเยซูก็ทรง “บังเกิดจากพระเจ้า” ในประโยคเดียวกัน!

 

เมลิโตแห่งซาร์ดิส ผู้บุกเบิกในยุคแรกๆของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ

      เพียงแค่ร้อยปีหลังจากที่บารนาบัสกับเปาโลถูกกราบไหว้เป็นพระเจ้าในแผ่นดินของคนต่างชาติ (กิจการ 14:12)[55] เมลิโตแห่งซาร์ดิสก็อยู่ครึ่งทางของความเชื่อในตรีเอกานุภาพแล้ว เนื่องจากวัฒนธรรมของการเชื่อพระเจ้าหลายองค์ของคนนอกศาสนาที่เขาเติบโตขึ้น เมลิโตจึงสามารถพูดถึง “พระเจ้าที่ถูกฆ่าตาย” ได้โดยไม่ได้ตระหนักแม้แต่น้อยว่า การพูดถึงความตายของพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียวนั้นคือการหมิ่นประมาท

      เมลิโตแห่งซาร์ดิส ไม่ได้เป็นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพ แต่เป็นผู้เชื่อในทวิเอกานุภาพ (ผู้ที่เชื่อว่าพระเจ้าเป็นสองบุคคลในพระเจ้าเดียว) เพราะเขาไม่ได้มองว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นพระองค์ที่สาม เมลิโตยังสอนอีกด้วยว่าในพระเยซูมีสอง “ธรรมชาติ” คือมนุษย์และพระเจ้า สิ่งนี้ทำให้เมลิโตเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกยุคต้นๆของหลักข้อเชื่อในตรีเอกานุภาพที่มีขึ้นในศตวรรษที่ 4 และ 5

      เมลิโตมีชีวิตอยู่ประมาณกลางศตวรรษที่สองและเขาเสียชีวิตราวๆ ปี ค.ศ. 190 เขาเป็นหัวหน้าบาทหลวงแห่งซาร์ดิสในภูมิภาคเอเชียที่พูดภาษากรีกซึ่งปัจจุบันอยู่ในตุรกี งานเขียนมากมายของเขาที่ส่วนใหญ่ได้สูญหายไปนั้น เป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่าการยกพระเยซูขึ้นเป็นพระเจ้าได้เริ่มขึ้นแล้วในศตวรรษที่ 2 แท้จริงแล้วก็เพียงร้อยกว่าปีหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระคริสต์ และก่อนการสังคายนาแห่งไนเซียในปี ค.ศ. 325 อย่างแน่นอน

      สองข้อความที่ตัดตอนมาต่อไปนี้จากงานเขียนของเมลิโตซึ่งรวบรวมไว้ที่ Error! Hyperlink reference not valid.melito.htm นำมาจากหนังสือชุดเกี่ยวกับบรรพชนก่อนการประชุมแห่งไนเซีย[56] (เล่ม 8) ในข้อความที่ตัดตอนมาต่อไปนี้ เมลิโตสอนเรื่องความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์ และว่าพระคริสต์ทรงเป็นพระเจ้าที่ถูกฆ่าตาย:

 

พระเจ้าผู้มาจากพระเจ้า พระบุตรผู้มาจากพระบิดา พระเยซูคริสต์ผู้เป็นกษัตริย์ที่ดำรงนิรันดร์... พระองค์ผู้ทรงทนทุกข์บนโลกได้ทนทุกข์อยู่บนต้นไม้ องค์ผู้เป็นเจ้าทรงรับความน่าอดสูด้วยร่างกาย ที่เปลือยเปล่า พระเจ้าที่ถูกฆ่าตาย กษัตริย์ของอิสราเอลที่ถูกสังหาร! (การอภิปรายเรื่องกางเขน,[57] ข้อ IV, VI)

 

      ในข้อความที่ตัดตอนถัดมา เมลิโตกล่าวว่าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าที่แท้จริง พระเยซูทรงเป็นพระเจ้าและเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ในเวลาเดียวกัน และความเป็นพระเจ้าของพระองค์นั้นซ่อนอยู่ในกายมนุษย์ของพระองค์

 

เพราะสิ่งที่กระทำโดยพระคริสต์หลังจากที่พระองค์ทรงรับบัพติศมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำอัศจรรย์ต่างๆของพระองค์ ได้ชี้ให้เห็นและให้ความมั่นใจกับโลกถึงความเป็นพระเจ้าที่ซ่อนอยู่ในเนื้อหนังของพระองค์ เพราะในทำนองเดียวกัน การเป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์อย่างสมบูรณ์ในเวลาเดียวกันนั้น พระองค์ได้ทรงบ่งชี้แน่นอนถึงสองสภาวะของพระองค์ นั่นคือความเป็นพระเจ้าของพระองค์ โดยการทำอัศจรรย์ต่างๆ ของพระองค์ในช่วงสามปีที่ผ่านไปหลังจากบัพติศมาของพระองค์ และความเป็นมนุษย์ของพระองค์ ในช่วงสามสิบปีไล่เลี่ยก่อนการรับบัพติศมาของพระองค์ เพราะด้วยฐานะที่ต่ำต้อยของพระองค์เกี่ยวกับกายเนื้อหนังนั้น พระองค์ทรงซ่อนร่องรอยการเป็นพระเจ้าของพระองค์ แม้ว่าพระองค์จะทรงเป็นพระเจ้าอย่างแท้จริงที่ดำรงอยู่ก่อนทุกยุคสมัย (สภาวะของพระคริสต์, 760)

 

      บ็อบ ธีล[58]ผู้รวบรวมข้อมูลข้างต้นกล่าวดังนี้ว่า:

เมลิโตไม่ได้เป็นผู้ที่เชื่อว่ามีพระเจ้าเพียงองค์เดียว เขาเห็นว่าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้า (แม้ว่าจะเป็นพระเจ้าผู้ทรงซ่อนร่องรอยบางส่วนในความเป็นพระเจ้าของพระองค์) และเห็นว่าพระบิดาทรงเป็นพระเจ้า ซึ่งนี่เป็นมุมมองของผู้ที่เชื่อว่ามีพระเจ้าสององค์ เราควรสังเกตว่า เมลิโตไม่เคยกล่าวถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์ว่าเป็นพระเจ้า ... เนื่องจากนักวิชาการที่เชื่อถือได้ทุกคนต่างยอมรับว่าผู้นำคริสเตียนยุคแรกๆไม่ได้สนับสนุนความเชื่อในตรีเอกานุภาพสมัยใหม่ คือบรรดาผู้ที่สนใจในความเชื่อซึ่งได้มอบให้กับธรรมิกชนทั้งหลายในที่สุดนั้น จะไม่ยอมรับความคิดที่ว่า ความเชื่อที่แท้จริงได้ค่อยๆถูกเปิดเผยออกมา (คำตัวเอนเป็นของธีล)

      ในคำบรรยายที่แปดจากหลักสูตรสำคัญของบาร์ต แอร์แมน[59]กล่าวถึงเมลิโตแห่งซาร์ดิสและคำเทศนาวันอีสเตอร์ของเขา การยกพระคริสต์ขึ้นเป็นพระเจ้าได้รับการยอมรับอย่างเต็มๆในคำสอนของเมลิโต ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในช่วงกลางศตวรรษที่สอง พระเยซูที่ถูกยกขึ้นเป็นพระเจ้าได้กลายเป็นที่ยึดมั่นในคริสตจักรของคนต่างชาติ ดังนั้น “การแยกคนละทางกัน” ต้องเริ่มเร็วกว่าที่คาดคิดไว้

 

 

การยกพระเยซูขึ้นเป็นพระเจ้าและการต่อต้านชาวยิว

      ผลตามมาที่น่ากลัวของการยกพระเยซูขึ้นเป็นพระเจ้าก็คือ ข้อหาการต่อต้านชาวยิวอย่างรุนแรงที่เมลิโตแห่งซาร์ดิสได้กล่าวหาชาวยิวว่าฆ่าพระเจ้า นั่นไม่ใช่เรื่องยากเลยที่เราจะนึกภาพผลที่ตามมาของข้อกล่าวหานี้จากเมลิโตและบรรพบุรุษคนอื่นๆของคริสตจักรยุคแรกๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเกลียดชังและความรุนแรงกับชาวยิวที่ต่อมามีการปลุกปั่นขึ้นในยุโรป การยกพระคริสต์ขึ้นเป็น   พระเจ้าพร้อมๆกับการเบี่ยงเบนอย่างสุดขีดไปจากความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวของชาวยิว ได้กลายเป็นสถานการณ์ที่ส่งเสริมให้มีการต่อต้านชาวยิวอย่างกว้างขวาง แน่นอนว่าต้นตอของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อยู่ที่นี่เอง

      บางคนตั้งข้อสังเกตว่า การต่อต้านชาวยิวในหมู่บรรพบุรุษของคริสตจักรยุคแรกๆได้ขยายตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ศตวรรษที่ 4[60] นี่เป็นศตวรรษที่มีสภาสังคายนาแห่งไนเซียปี ค.ศ. 325 (ซึ่ง กำหนดความเชื่อในทวิเอกานุภาพ) และสภาสังคายนาแห่งคอนสแตนติโนเปิลปี ค.ศ. 381 (ซึ่ง กำหนดความเชื่อในตรีเอกานุภาพ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่สิ่งเช่นนั้นได้เกิดขึ้น) ไม่ว่าจะมีเหตุผลอื่นใดที่ทำให้การต่อต้านชาวยิวเพิ่มขึ้นหรือไม่นั้น ก็ได้แต่เพียงคาดการณ์เท่านั้น แต่ไม่มีสิ่งอื่นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์หรือทางศาสนาในศตวรรษที่ 4 ที่สามารถอธิบายได้อย่างมีเหตุผลในการลุกขึ้นมาต่อต้านชาวยิวอย่างเด่นชัด

      ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพและบรรพบุรุษของคริสตจักรยุคแรกๆบางคน ทั้งที่อยู่ก่อนการสังคายนาแห่งไนเซียและอยู่หลังการสังคายนาแห่งไนเซีย ได้กล่าวต่อต้านชาวยิวอย่างรุนแรงในงานเขียนและคำประกาศอย่างเปิดเผยของพวกเขา งานเขียนที่สำคัญเล่มหนึ่งเกี่ยวกับการต่อต้านชาวยิวจาก บรรพบุรุษของคริสตจักรยุคแรก ก็คือหนังสือของโรเบิร์ต มิเชล เรื่องความเกลียดชังที่น่ากลัว: คริสต์ศาสนา, การต่อต้านชาวยิว, การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[61] ข้อความบางส่วนต่อไปนี้ตัดตอนมาจากหนังสือที่เกี่ยวกับบรรพบุรุษของคริสตจักรบางคนผู้มีชื่อเสียงในยุคนั้น

 

... [กับบรรพบุรุษของคริสตจักรยุคแรกๆส่วนใหญ่แล้ว] ชาวยิวทุกคนต้องเป็นผู้รับผิดชอบตลอดไปกับการฆ่าพระเจ้า ดังนั้นชาวยิวจึงน่ารังเกียจและต้องรับการกระทำทุกอย่างที่อยุติธรรมกับพวกเขา ตามความเห็นของออกัสตินแล้ว การไม่ถึงกับฆ่าก็เป็นเหตุผลอันควร และแม้แต่การฆ่าบางทีก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว (หน้า 2)

เจอโรม[62]อ้างว่าชาวยิวทุกคนเป็นยูดาส และเป็นสัตว์ร้ายโดยธรรมชาติที่ทรยศองค์ผู้เป็นเจ้าเพื่อเงิน จอห์น คริสซอสตอม[63]เรียกชาวยิวว่าคนที่ฆ่าพระเจ้า [ฆาตกรฆ่าพระเจ้า] โดยไม่มีโอกาส “ลบมลทินบาป ยกโทษให้ หรือแก้ตัว” (หน้า 5)

เอฟราอิมแห่งซีเรีย[64]นักศาสนศาสตร์ในศตวรรษที่สี่ เรียกชาวยิวว่าพวกสุนัขที่เข้าสุหนัต; จอห์น คริสซอสตอมเรียกพวกเขาว่าพวกสัตว์ร้ายที่เข้าสุหนัต... เทอร์ทูลเลียนแนะว่าพระเจ้าทรงตั้งพระทัยให้การเข้าสุหนัตเป็นการระบุว่าเป็นพวกยิว เพื่อที่พวกเขาจะกลับเข้าไปในกรุงเยรูซาเล็มไม่ได้อีก (หน้า 22)

ข้อสรุปในการต่อต้านชาวยิวของเทอร์ทูลเลียนก็เหมือนกับของพวกบรรพบุรุษส่วนใหญ่ ที่มักจะทั้งสะเทือนอารมณ์และโหดเหี้ยม ในเกมการแสดงในอัฒจันทร์นั้น[65] เขาเพ่งดูด้วยความพอใจและดีอก ดีใจ โดยคิดในใจถึงวิธีที่พระเยซูจะทรงลงโทษชาวยิว (หน้า 26)

[เจอโรม] แย้งว่า พระเจ้าได้ประทานบัญญัติแก่พวกยิวเพื่อจงใจหลอกลวงพวกเขา และนำพวกเขาไปสู่ความพินาศ (หน้า 26)

วันอาทิตย์วันหนึ่ง แอมโบรส [หัวหน้าบาทหลวงแห่งมิลานของศตวรรษที่ 4 ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ผู้ทรง คุณวุฒิแรกเริ่มของคริสตจักรคาทอลิก] ได้เทศนาเกี่ยวกับคริสตจักรและธรรมศาลาที่มีจักรพรรดิธีโอโดเซียส[66]เข้าร่วม พระองค์เพิ่งถูกเขาขับออกจากศาสนาไม่นานก่อนหน้านี้และตอนนี้กลับใจและเปิดใจรับอิทธิพลของเขาอย่างมาก แอมโบรสได้ติเตียนต่อหน้าจักรพรรดิถึงการกระทำของพระองค์ที่สนับสนุนข้อเรียกร้องของชาวยิว โดยแย้งว่าการเผาธรรมศาลาเป็นการกระทำที่ชอบธรรม และถ้ากฎหมายห้ามไม่ให้ทำ ก็แสดงว่ากฎหมายนั้นผิด เขาปฏิเสธการเข้าร่วมกับเขา โดยขู่จักรพรรดิและพระโอรสของพระองค์ว่าจะถูกขับออกจากศาสนาอีกครั้ง เว้นแต่พระองค์จะทรงยกเลิกบทลงโทษบาทหลวงที่ก่อความไม่สงบ ในที่สุด ธีโอโดเซียสก็สัญญาที่จะทำตามสิ่งที่แอมโบรสเรียกร้อง (p.33)

จอห์น คริสซอสตอม เป็นนักเทศน์ผู้มีอิทธิพลอย่างมาก ฮิตเลอร์แสดงความชื่นชมต่อความคิดที่ต่อต้านชาวยิวในเรื่องที่ “คริสเตียนแท้ทุกคนมีขีดความสามารถที่โดดเด่น” เขานับจอห์น คริสซอสตอมอยู่ในพวกนี้ (หน้า 35)

คริสซอสตอมต้องการให้ชาวยิวที่ไร้ประโยชน์เหล่านี้ถูกฆ่า สัตว์ที่ไม่ยอมลากคันไถต้องถูกฆ่าฉันใด ชาวยิวผู้ไร้ประโยชน์ก็ “เกิดมาเพื่อถูกฆ่า” ฉันนั้น นี่เป็นเหตุที่พระคริสต์ตรัสว่า “ส่วนพวกศัตรูของเราที่ไม่ต้องการให้เราปกครองพวกเขานั้น จงพาเขามาที่นี่ แล้วฆ่าเสียต่อหน้าเรา” ด้วยเกรงว่าเราจะพลาดประเด็นเกี่ยวกับการฆ่าชาวยิวที่ “ไร้ประโยชน์” คริสซอสตอมจึงกล่าวซ้ำโดยเพิ่มข้ออ้างอิงลูกา 19:27 ที่เขากล่าวอ้างอย่างเจาะจงถึงคำสั่งของพระเยซูที่จะต้องฆ่าชาวยิวเสีย ต่อมาคริสซอสตอมให้ความโหดร้ายเช่นนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง โดยโต้แย้งว่า “สิ่งที่ทำไปตามพระประสงค์ของพระเจ้าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของสิ่งทั้งปวง แม้ว่าจะดูเลวร้ายก็ตาม.. สมมติว่ามีใครฆ่าใครสักคนตามพระประสงค์ของ   พระเจ้า การฆ่านี้ก็เป็นเรื่องที่ดีกว่าความรักความเมตตาใดๆ” (หน้า 35)

 

      ควรสังเกตว่า โรเบิร์ต มิเชลผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ ไม่ได้เป็นปรปักษ์กับพระเยซูคริสต์ และที่จริงแล้วพูดถึงพระองค์ในแง่บวก โดยแสดงความชื่นชมอย่างมากกับคำสอนของพระองค์เรื่องกางเขน การปฏิเสธตนเอง และความรักต่อเพื่อนมนุษย์

 

... ศาสนศาสตร์เกี่ยวกับกางเขน[67]มีพื้นฐานมาจากคำตรัสของพระเยซูในพระกิตติคุณมัทธิว (16:24-25) ว่า “ถ้าใครต้องการจะติดตามเรา ให้คนนั้นปฏิเสธตนเอง รับกางเขนของตนแบกและตามเรามา เพราะว่าใครต้องการจะเอาชีวิตรอด คนนั้นจะเสียชีวิต แต่ใครยอมเสียชีวิตเพราะเห็นแก่เรา คนนั้นจะได้ชีวิตรอด ในความเชื่อนี้เรียกร้องให้คริสเตียนซื่อสัตย์ที่จะปฏิบัติตามคำสอนในทางธรรมของพระเยซูเกี่ยวกับมนุษย์ทุกคน แม้จะเสี่ยงต่อชีวิตของพวกเขาเอง... ศาสนศาสตร์เกี่ยวกับกางเขนเน้นความทุกข์ยากร่วมกันในหมู่มนุษย์ทุกคน ทั้งคนต่างชาติและชาวยิว ตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์ของพวกคริสเตียนที่ช่วยชาวยิวในช่วงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เผยให้เห็นแรงจูงใจมากมายที่แตกต่างกับพฤติกรรมของพวกเขา แต่แรงจูงใจส่วนใหญ่เหล่านี้มาจากแบบอย่างพฤติกรรมของมนุษย์ที่พบในหลักคุณธรรมของยูเดโอ-คริสเตียน[68]ของพระเยซูชาวนาซาเร็ธ

 

      คำกล่าวต่อต้านชาวยิวของเหล่าบรรพบุรุษของคริสตจักรยุคแรกๆ สามารถพบกระจัดกระจายอยู่หลายที่ในหนังสือชุดบรรพชนก่อนการประชุมข้อเชื่อแห่งไนเซีย[69] (10 เล่ม) และบรรพชนช่วงการประชุมและหลังการประชุมข้อเชื่อแห่งไนเซีย[70] (28 เล่ม) มีสองสามคำกล่าวต่อต้านชาวยิวซึ่งส่วนใหญ่แสดงความเป็นปรปักษ์ทางศาสนศาสตร์ ได้ถูกรวมอยู่ในพจนานุกรมเกี่ยวกับความเชื่อของคริสเตียนยุคแรก หน้า 375-378 ของเดวิด เบอร์คอท;[71] นีคือคำกล่าวบางส่วนโดยบรรดาบรรพบุรุษของคริสตจักรยุคแรก (พร้อมด้วยเล่มและหมายเลขหน้าจากหนังสือชุดบรรพชนก่อนการประชุมข้อเชื่อแห่งไนเซีย)

 

ชาวยิวเคยอยู่ในพันธสัญญากับพระเจ้ามาก่อน แต่ภายหลังถูกทอดทิ้งเพราะความบาปของพวกเขา พวกเขาจึงเริ่มอยู่โดยปราศจากพระเจ้า เทอร์ทูลเลียน (c.197), 3.247

หมายสำคัญที่เธอ [อิสราเอล] ได้รับหนังสือหย่าร้าง [จากพระเจ้า] ก็คือ กรุงเยรูซาเล็มได้ถูกทำลายพร้อมกับเธอ สิ่งที่พวกเขาเรียกว่าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ออริเกน[72] (c.245), 9.507

ตั้งแต่การเสด็จมาของพระคริสต์ ก็ไม่ได้มีผู้เผยพระวจนะในท่ามกลางชาวยิว เพราะพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ละทิ้งพวกเขา ออริเกน (c.248) 4.614

บัดนี้ธรรมศาลาที่ชั่วร้ายก็ถูกพระเจ้าทอดทิ้ง พระองค์ได้ทรงปฏิเสธพระนิเวศของพระองค์เอง ดังที่พระองค์ตรัสว่า “เราได้ละทิ้งนิเวศของเราเสียแล้ว เราได้เหวี่ยงมรดกของเราทิ้ง” ข้อปฏิบัติของอัครทูต[73] (c.390), 7.451

 

การทดลองของพระเยซู

      เมื่อพิจารณาถึงหัวข้อสำคัญของการทดลองแล้ว ความเชื่อในตรีเอกานุภาพจะลดให้หมดความ หมายในกรณีของพระเยซู เพราะพระเยซูที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่าเป็นพระเจ้านั้น จะไม่สามารถถูกทด ลองให้ทำบาปได้เลย เพราะยากอบ 1:13 กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า “ความชั่วไม่สามารถจะล่อลวง   พระเจ้าได้” ความเข้าใจของความเชื่อในตรีเอกานุภาพเกี่ยวกับการทดลองของพระเยซู จะขัดแย้งกับข้อเท็จจริงจากพระคัมภีร์ที่ว่า พระองค์ได้ทรงถูก “ทดลองใจเหมือนเราทุกอย่าง” (ฮีบรู 4:15)[74] การทำให้การถูกทดลองของพระเยซูหมดความหมาย แล้วยังเป็นเรื่องตลกนั้น ความเชื่อในตรีเอกานุภาพได้ทำให้เราตาบอดจนไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน

      แต่พระคัมภีร์ใหม่ประกาศว่าพระเยซูทรงเป็นมนุษย์ มนุษย์ที่แท้จริงที่ถูกทดลองเหมือนเราทุกประการ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว พระเยซูจะทรงเผชิญกับการทดลองทุกอย่างในชีวิตโดยไม่เคยล้มเหลวสักครั้งได้อย่างไร? คำตอบที่ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพตอบคำถามนี้มีผลในการลดความหมายของการทดลอง และการต่อสู้ที่สำคัญกับชีวิตของมนุษย์ให้หมดความหมาย เพราะถ้าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้า พระองค์ก็ไม่สามารถถูกทดลองได้ จึงยิ่งไม่ต้องพูดถึงการยอมจำนนต่อบาป มันคงไม่น่าเชื่อที่จะบอกว่าพระเยซูทรงเห็นใจในการต่อสู้ทางคุณธรรมและทางจิตวิญญาณของเรา หรือทรงเห็นใจกับความพ่ายแพ้อันเจ็บปวดของเราในการต่อสู้เหล่านี้ ในเมื่อตัวพระองค์เองไม่มีวันจะล้มเหลวได้และไม่จำเป็นต้องต่อสู้ด้วยซ้ำ เพราะไม่มีการทดลองใดจะสามารถทำให้พระเจ้าพ่ายแพ้ได้ สิ่งนี้ทำให้ความเป็นมนุษย์ของพระเยซูไม่เกี่ยวข้องกับเรา

      แม้จะมีคำคัดค้านของบรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพ พระเยซูของพวกเขาก็เป็นแค่ร่างมนุษย์   ที่พระองค์ที่สองของตรีเอกานุภาพเข้ามาแทนที่ พระเยซูของความเชื่อในตรีเอกานุภาพไม่มีใจ ปรารถนาของมนุษย์ แต่แม้หากว่าพระองค์มี ก็จะเป็นการถูกครอบงำด้วยพระประสงค์ของ “พระเจ้าพระบุตร” ที่ใจปรารถนาของมนุษย์จะสามารถทำงานได้ภายในพระประสงค์ของพระเจ้าเท่านั้น ดังนั้น ถึงแม้ว่าพระเยซูจะทรงมีใจปรารถนาที่อิสระของมนุษย์ (ซึ่งอย่างไรก็ดีโดยทั่วไปแล้วจะถูกปฏิเสธในความเชื่อตรีเอกานุภาพ) มันก็ไม่ได้ต่างกันเลย เพราะมันเป็นไปไม่ได้ที่ในคนๆเดียวกันจะมีใจปรารถนาของมนุษย์ที่ทำงานอย่างอิสระจากพระประสงค์ของพระเจ้าพระองค์ที่สองในตรีเอกานุภาพ ในประวัติศาสตร์คริสตจักรนั้น ปัญหาทางศาสนศาสตร์เช่นนี้เกิดขึ้นจากการตั้งพระเยซูเป็นพระเจ้าที่มาเป็นมนุษย์ตามที่เชื่อกันทั่วไป และได้นำไปสู่ความขัดแย้งอย่างรุนแรงภายในความเชื่อใน

ตรีเอกานุภาพ โดยเฉพาะกับคำสอนของเนสโตเรียส[75]เกี่ยวกับสองบุคคล คือมนุษย์และพระเจ้าในพระคริสต์

      แต่การทดลอง ซึ่งเป็นการต่อสู้กับบาปที่หมายถึงชีวิตและความตายนี้ เป็นส่วนหนึ่งในชีวิต   ประจำวันที่ผู้เชื่อจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเราเอาชนะความบาปด้วยฤทธิ์อำนาจของพระวิญญาณของพระเจ้าที่สถิตภายใน เราก็ก้าวไปสู่ความสมบูรณ์แบบที่เราได้ถูกเรียกให้เป็น และพระเยซูทรงเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบก็เพราะทรงมีชัยชนะอย่างสมบูรณ์ต่อบาป

      แต่ความจริงที่มีอานุภาพนี้เปลี่ยนเป็นความยุ่งเหยิงในความเชื่อในตรีเอกานุภาพ ถ้าหากจะถามคริสเตียนว่า ทำไมพระเยซูจึงทรงสมบูรณ์แบบและปราศจากบาป คำตอบที่ได้รับเช่นเคยก็คือ “เพราะพระองค์ทรงเป็นพระเจ้า และพระเจ้าทรงสมบูรณ์แบบ[76]” ไม่ว่าบรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพจะพยายามจะเสริมแต่งความเป็นมนุษย์ของพระเยซูให้ดูเหมือนกับเรามากแค่ไหน ความจริงก็ยังคงมีอยู่ว่า ในหลักความเชื่อตรีเอกานุภาพนั้น พระเยซูที่เป็นมนุษย์นั้นจริงๆแล้วเป็นเพียงแค่ร่างกายมนุษย์ที่พระเจ้าพระบุตรมาสถิตอยู่ภายใน ถ้าถามว่าตามหลักการแล้ว พระเยซูผู้ปราศจากบาปนี้ จะสามารถทำบาปได้หรือไม่ในฐานะที่เป็นมนุษย์ บรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพส่วนใหญ่จะตอบว่า “ไม่ได้” เพราะมันเป็นไปไม่ได้ที่พระเจ้าจะถูกทดลอง นี่จึงยิ่งไม่ต้องพูดถึงเรื่องที่จะทำบาป อย่างไรก็ตามพระเยซูก็ทรงสมบูรณ์แบบอยู่แล้วในทั้งสองสภาวะของพระองค์เนื่องจากการรวมเป็นหนึ่งของความเป็นพระเจ้าและความเป็นมนุษย์ของพระองค์ ดังนั้นความพยายามใดๆที่จะทำลายความสมบูรณ์แบบของพระองค์โดยการทดลองพระองค์ให้ทำบาปก็จะเปล่าประโยชน์และไม่มีผล ซาตานจะต้องโง่แน่ๆ ถ้าจะพยายามมาทดลอง! นั่นคือเหตุผลที่เราพูดว่าความเชื่อในตรีเอกานุภาพเปลี่ยนเรื่องการทดลองให้เป็นเรื่องตลก

      แต่พระเยซูที่แท้จริง คือพระเยซูตามพระคัมภีร์นั้นจะแตกต่างกันมาก เพราะพระองค์ได้ทรงต่อสู้กับความบาปจนถึงกับพระเสโทและน้ำพระเนตรไหล ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นเช่นนี้เลยถ้าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าที่มาเป็นมนุษย์ตามความเชื่อในตรีเอกานุภาพ

      ในคำวิงวอนของพระเยซูตามพระคัมภีร์ต่อพระยาห์เวห์พระบิดาของพระองค์ว่า “พระเจ้าได้ทรงสดับในสิ่งที่พระองค์กลัว” (ฮีบรู 5:7, ฉบับ KJV) พระองค์กลัวอะไรหรือ? กลัวตัวตายหรือ? ไม่ใช่แน่นอน เพราะพระเยซูเป็นผู้ที่ตรัสว่า “อย่ากลัวผู้ที่ฆ่าได้แต่กาย แต่ไม่สามารถฆ่าจิตวิญญาณ แต่จงกลัวพระองค์ผู้ทรงสามารถทำลายทั้งจิตวิญญาณและกายในนรกได้” (มัทธิว 10:28) สิ่งที่พระเยซูทรงกลัวไม่ใช่ความตาย แต่เป็นอันตรายถึงตายจากการยอมจำนนต่อบาปและทำให้งานในการไถ่มวลมนุษย์จากความบาปต้องล้มเหลว ผมเชื่อมั่นว่าไม่ว่าจะมีอะไรที่พระเยซูทรงกลัว มันก็ไม่ใช่เพื่อตัวพระองค์เอง เช่นเดียวกับเปาโล (ผู้มีพระทัยของพระคริสต์ 1 โครินธ์ 2:16)[77] ก็เต็มใจที่จะถูกสาปแช่งเพื่อเห็นแก่พวกพี่น้องชาวยิวของเขา โดยแลกจิตวิญญาณของเขากับจิตวิญญาณของพวกเขาเหล่านั้น (โรม 9:3)[78]

      แต่ด้วยความหนักอึ้งในการไถ่บาปของมวลมนุษย์ที่เป็นความรับผิดชอบของพระองค์แต่เพียงผู้เดียวนั้น พระเยซูก็ยังสามารถจะล้มเหลวได้ในส่วนของพระองค์ ถึงแม้ว่าพระยาห์เวห์จะสถิตอยู่ในพระองค์ก็ตาม เราอาจไม่สามารถเข้าใจถึงความรับผิดชอบอันหนักหน่วงที่ขึ้นอยู่กับจิตวิญญาณของพระองค์ แต่เราก็ตระหนักดีถึงความเป็นไปได้อันน่าสะพรึงกลัวของความล้มเหลวทางคุณธรรม แม้แต่ในกรณีของผู้ที่มีพระวิญญาณของพระยาห์เวห์สถิตอยู่ภายใน ดังนั้นจึงสามารถใช้ฤทธิ์อำนาจของพระเจ้าเพื่อชัยชนะเหนือความบาป  เราจึงเห็นแวบหนึ่งของความน่าอัศจรรย์และความงดงามในชัยชนะของพระเยซูเหนือความบาป ด้วยการผ่านความทุกข์ยากจากการทดสอบและการทดลองหลายครั้งในช่วงหลายปี พระองค์จึงได้ทรงบรรลุถึงความสมบูรณ์แบบเพื่อเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ

      พระเยซูคืออาดัมคนสุดท้ายที่มีชัยชนะ ซึ่งตรงกันข้ามกับอาดัมคนแรก ชัยชนะของพระองค์เหนือความบาปทำให้มวลมนุษย์ได้รับการไถ่ ด้วยเหตุนี้พระเยซูผู้เป็นขึ้นจากความตายจึงได้มาเป็น “วิญญาณผู้ประทานชีวิต” (1 โครินธ์ 15:45)[79]

      สุดท้ายนี้เพื่อให้เห็นถึงความสับสนตามแบบฉบับของความเข้าใจตามความเชื่อในตรีเอกานุภาพเกี่ยวกับการทดลองของพระเยซู ต่อไปนี้เป็นข้อความที่ตัดตอนมาเพื่อช่วยเปิดหูเปิดตา จากหนังสือ ศาสนศาสตร์ระบบ: ความรู้เบื้องต้นในหลักคำสอนของพระคัมภีร์โดยเวย์น กรูเด็ม[80] (ซึ่งมีชื่อเสียงว่าเป็นหนังสือศาสนศาสตร์ระบบที่ขายดีที่สุดในโลกทุกวันนี้)

 

 

      ข้อความที่ตัดตอนนี้มาจากหนังสือศาสนศาสตร์ระบบของเวย์น กรูเด็ม, บทที่ 26, ท่อน A4:

      

เรายังต้องยืนยันด้วยพระคัมภีร์ว่า “เพราะว่าพระเจ้าจะถูกความชั่วล่อลวงไม่ได้” (ยากอบ 1:13) แต่คำถามนี้จะกลายเป็นเรื่องยาก คือถ้าหากพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าอย่างสมบูรณ์และเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์...แล้วเราจะไม่ต้องยืนยันด้วยหรือว่า (ในบางแง่มุม) พระเยซูก็ “ถูกความชั่วล่อลวงไม่ได้” เช่นกัน?

... ณ จุดนี้ เรากำลังเจอกับภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกที่คล้ายกับหลายๆภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกอื่นๆเกี่ยวกับหลักคำสอนที่ดูเหมือนพระคัมภีร์จะสอนสิ่งที่หากไม่ขัดแย้งกันโดยตรง อย่างน้อยก็ยากมากที่จะรวมเข้าด้วยกันในความเข้าใจของเรา ตัวอย่างเช่น ในส่วนที่เกี่ยวกับหลักคำสอนของตรีเอกานุภาพ เรายืนยันว่าพระเจ้าดำรงอยู่ในสามองค์บุคคล และแต่ละองค์บุคคลก็เป็นพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ และมีพระเจ้าองค์เดียว ... พระคัมภีร์บอกเราว่า “พระเยซูทรงถูกทดลอง” และ “พระเยซูทรงเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์” และ “พระเยซูทรงเป็นพระเจ้าอย่างสมบูรณ์” และ “พระเจ้าไม่สามารถจะถูกทดลองได้”

...คำอธิบายต่อไปนี้เป็นลักษณะวิธีการเสนอแนะของการรวมคำสอนต่างๆในพระคัมภีร์มากกว่า และไม่ได้มีคำกล่าวที่ชัดเจนในพระคัมภีร์มาสนับสนุนโดยตรง ด้วยเหตุนี้จึงเหมาะสมที่เราจะกล่าวว่า (1) ถ้าสภาวะมนุษย์ของพระเยซูดำรงอยู่ด้วยตัวเองโดยไม่ขึ้นกับสภาวะพระเจ้าของพระองค์ มันก็จะเป็นสภาวะมนุษย์เหมือนที่พระเจ้าประทานแก่อาดัมและเอวา มันคงจะเป็นอิสระจากบาป แต่กระนั้นก็สามารถทำบาปได้ ดังนั้นหากสภาวะมนุษย์ของพระเยซูดำรงอยู่ด้วยตัวเอง ก็มีความเป็นไปได้ในทางนามธรรมหรือในทางทฤษฎีที่พระเยซูจะสามารถทำบาปได้เช่นเดียวกับสภาวะมนุษย์ของอาดัมและเอวาที่สามารถทำบาปได้ (2) แต่สภาวะมนุษย์ของพระเยซูไม่เคยดำรงอยู่โดยแยกจากการรวมเป็นหนึ่งกับสภาวะพระเจ้าของพระองค์ พระองค์ทรงดำรงอยู่ทั้งในฐานะพระเจ้าอย่างแท้จริงและมนุษย์อย่างแท้จริงตั้งแต่ช่วงการปฏิสนธิของพระองค์ ทั้งสภาวะมนุษย์และสภาวะพระเจ้าของพระองค์รวมกันเป็นบุคคลเดียว (3) แม้ว่าจะมีบางสิ่ง (เช่น หิว กระหาย หรืออ่อนแอ) ที่พระเยซูทรงประสบในสภาวะมนุษย์ของพระองค์เท่านั้น และไม่ได้ทรงประสบในสภาวะพระเจ้าของพระองค์ (ดูด้านล่าง) ถึงกระนั้น การกระทำบาปก็เป็นการกระทำด้านคุณธรรมที่เห็นได้ชัดว่าเกี่ยวข้องกับตัวบุคคลทั้งหมดของพระคริสต์ ดังนั้นถ้าพระองค์ได้ทรงทำบาป มันก็จะเกี่ยวข้องกับทั้งสภาวะมนุษย์และสภาวะพระเจ้าของพระองค์ (4) แต่ถ้าพระเยซูในฐานะบุคคลๆหนึ่งได้ทำบาป ซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งสภาวะมนุษย์และพระเจ้าของพระองค์ในบาป ดังนั้นพระเจ้าเองก็คงได้ทำบาป แล้วพระองค์ก็จะหยุดเป็นพระเจ้า แต่นั่นเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะความบริสุทธิ์ที่ไม่สิ้นสุดของสภาวะของพระเจ้า (5) ดังนั้นหากเราจะถามว่า เป็นไปได้จริงไหมที่พระเยซูจะทรงทำบาป ดูเหมือนเราจะต้องสรุปว่ามันเป็นไปไม่ได้ การรวมกันเป็นหนึ่งของสภาวะมนุษย์และพระเจ้าของพระองค์ในคนๆเดียวนี้ได้กันไม่ให้เป็นไปได้

แต่คำถามยังคงมีอยู่ว่า “แล้วการทดลองของพระเยซูจะเป็นจริงได้อย่างไร?” ตัวอย่างของการทดลองให้เปลี่ยนก้อนหินเป็นขนมปังมีประโยชน์ในเรื่องนี้ พระเยซูทรงมีความสามารถในการทำอัศจรรย์นี้โดยอาศัยสภาวะพระเจ้าของพระองค์ แต่ถ้าพระองค์ทรงทำเช่นนั้น พระองค์ก็จะไม่เชื่อฟังกำลังของสภาวะมนุษย์ของพระองค์เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป พระองค์จะทรงล้มเหลวในการทดสอบที่อาดัมก็ล้มเหลวเช่นกัน และพระองค์ก็คงจะไม่ได้ทำให้เราได้รับความรอด ดังนั้นพระเยซูจึงทรงปฏิเสธการพึ่งพาสภาวะพระเจ้าของพระองค์เพื่อให้การเชื่อฟังง่ายขึ้นสำหรับพระองค์ ในลักษณะเดียวกันก็ดูเหมือนเหมาะสมที่จะสรุปว่า พระเยซูทรงเผชิญทุกการทดลองให้ทำบาป ไม่ใช่ด้วยฤทธิ์อำนาจพระเจ้า แต่ด้วยกำลังของสภาวะมนุษย์ของพระองค์เพียงอย่างเดียว (แม้จะไม่ใช่ว่า “เพียงอย่างเดียว” เพราะในการใช้ความเชื่อที่มนุษย์ควรใช้นั้น พระเยซูทรงพึ่งพาพระเจ้าพระบิดาและพระวิญญาณบริสุทธิ์อย่างสมบูรณ์ทุกช่วงเวลา) กำลังทางคุณธรรมของสภาวะพระเจ้าของพระองค์มีอยู่ที่นั่น เพื่อเป็น “ปราการด่านหลัง” ที่จะป้องกันพระองค์จากการทำบาปในทุกกรณี (และด้วยเหตุนี้ เราจึงสามารถพูดได้ว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะทรงทำบาป) แต่พระองค์ไม่ได้ทรงพึ่งพากำลังของสภาวะพระเจ้าของพระองค์ เพื่อให้พระองค์เผชิญกับการทดลองต่างๆได้ง่ายขึ้น และการที่พระองค์ทรงปฏิเสธที่จะเปลี่ยนก้อนหินให้เป็นขนมปังในช่วงเริ่มต้นพันธกิจของพระองค์ ก็เป็นการบ่งบอกอย่างชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ...

แล้วเราจะพูดอย่างไรกับข้อเท็จจริงที่ว่า “พระเจ้าจะถูกความชั่วล่อลวงไม่ได้” (ยากอบ 1:13)? ดูเหมือนว่านี่เป็นหนึ่งในหลายสิ่งที่เราต้องยืนยันว่าเป็นจริงกับสภาวะพระเจ้าของพระเยซู แต่ไม่ใช่กับสภาวะมนุษย์ของพระองค์ สภาวะพระเจ้าของพระองค์ไม่สามารถถูกความชั่วล่อลวงได้ แต่สภาวะมนุษย์ของพระองค์สามารถถูกล่อลวงได้และได้ถูกล่อลวงอย่างชัดเจน ทั้งสองสภาวะนี้จะรวมกันในบุคคลเดียวในการเผชิญกับการทดลองได้อย่างไร พระคัมภีร์ไม่ได้อธิบายกับเราอย่างชัดเจน

 

       [จบข้อความตัดตอนจากศาสนศาสตร์ระบบของกรูเด็ม]

      เราจะพูดอะไรได้อีก? ในการวิเคราะห์สุดท้ายนั้น ความพยายามของกรูเด็มในการแก้ปัญหาที่ตัวเขาเองสร้างขึ้น ไม่ได้เป็นทางแก้ปัญหาเลยจริงๆ แต่เป็นเพียงการขยายคำอธิบายถึงธรรมชาติของปัญหาในตัวมันเอง หรือจะพูดว่า ยิ่งกรูเด็มพยายามแก้ปัญหามากเท่าใด เขาก็ยิ่งเปิดเผยธรรมชาติของปัญหาที่ไม่สามารถแก้ได้ ภาพตัวอย่างที่เขาใช้ เช่น พระเยซูที่เป็นมนุษย์ซึ่งต่อสู้ด้วยตัวพระองค์เอง ด้วยความช่วยเหลือบางส่วนจากพระเยซูที่เป็นพระเจ้าซึ่งทำหน้าที่เป็นปราการด่านหลังนั้น ยังคงแสดงให้เห็นว่าพระเยซูเป็นสองบุคคล คือมนุษย์และพระเจ้า แม้ว่ากรูเด็มจะใช้ภาษาของ “สองสภาวะ” มากกว่า “สองบุคคล”

 

พระบุตรไม่รู้เวลาการเสด็จกลับมาของพระองค์

      แล้วเรื่องความรอบรู้ทุกสิ่งของพระเยซูที่เชื่อกันโดยทั่วไปล่ะ? ในฐานะที่เป็นพระเจ้าพระบุตรนั้นพระองค์ทรงทราบทุกสิ่งไหม? ได้มีการหยิบยกคำถามขึ้นจริงในกลุ่มศึกษาพระคัมภีร์ว่า พระเยซูจะทรงนั่งทำข้อสอบมหาวิทยาลัยอย่างไรในวิชาฟิสิกส์หรือเคมีโดยไม่ต้องศึกษา (ใช้สถานการณ์ปัจจุบัน) หรือพระเยซูผู้ทรงรอบรู้ทุกอย่างจะจำเป็นต้องเรียนรู้อะไรเลยหรือไม่ แล้วพระกุมารเยซูทรงรู้ภาษาสันสกฤต ภาษายูการิติก[81] และภาษาจีนโบราณไหม? หรือทรงรู้ภาษาในอนาคต เช่น ภาษาอังกฤษไหม? เราต้องจำไว้ว่า ตามหลักความเชื่อในตรีเอกานุภาพแล้ว พระกุมารเยซูทรงเป็นพระเจ้าอย่างสมบูรณ์และเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ เวย์น กรูเด็มกล่าวว่า “พระองค์ทรงดำรงอยู่ทั้งในฐานะพระเจ้าอย่างแท้จริงและมนุษย์อย่างแท้จริงตั้งแต่ช่วงการปฏิสนธิของพระองค์ (ศาสนศาสตร์ระบบ, 26A4) แต่ผู้ที่รู้ทุกสิ่งจะเป็นมนุษย์อย่างแท้จริงได้อย่างไร ในเมื่อมันเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์คนใดจะรู้ทุกสิ่ง? พระเยซูเองทรงให้คำตอบที่ชัดเจนกับคำถามของเรา

 

“แต่เรื่องวันหรือเวลานั้นไม่มีใครรู้​​ ​แม้แต่บรรดาทูต​​สวรรค์หรือพระบุตร มีแต่พระบิดาเท่านั้นที่ทรงทราบ” (มัทธิว 24:36, ฉบับ NIV, และมาระโก 13:32)

 

      พระบุตรไม่รู้เวลาการเสด็จมาของพระองค์เองด้วยซ้ำ! ถ้าพระเยซูเป็น “พระเจ้าพระบุตร” จริง ผู้ทรงเท่าเทียมกับพระบิดาทุกประการและดังนั้นจึงทรงรอบรู้ทุกสิ่ง ข้อนี้ก็จะไม่สามารถอธิบายได้

      มีเพียงพระบิดาเท่านั้นที่รู้วันและเวลานั้น เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้กำหนดการเสด็จมาของพระเยซู ข้อเท็จจริงนี้ไม่ได้เป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่เข้าใจว่าพระเยซูทรงเป็นมนุษย์ที่แท้จริง แต่จะเป็นปัญหากับผู้ที่ยืนกรานว่าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้า หากมีเพียงรายละเอียดเดียวที่พระเยซูไม่รู้ ก็แสดงว่าพระองค์ก็ไม่ได้เป็นผู้รอบรู้และไม่ใช่พระเจ้า ข้อโต้แย้งของความเชื่อในตรีเอกานุภาพว่านี่เป็นการจัดการภายในพระเจ้าตรีเอกภาพในการส่งผ่านความรู้นั้นไม่สมเหตุสมผล และมันก็ไม่สมเหตุสมผลอีกด้วยที่จะกล่าวว่าภายในบุคคลเดียวกันนี้ สภาวะมนุษย์ของพระเยซูไม่ได้รอบรู้ทุกสิ่งที่สภาวะพระเจ้าของพระองค์ทรงรอบรู้! คำอธิบายนี้เป็นเรื่องปกติในความเชื่อตรีเอกานุภาพ ยกตัวอย่างเช่น เวย์น กรูเด็มกล่าวในหนังสือศาสนศาสตร์ระบบ[82] (ส่วน 26C3a) ว่า

 

ในด้านหนึ่ง ในส่วนสภาวะมนุษย์ของพระองค์ พระองค์ทรงมีความรู้ที่จำกัด (มาระโก 13:32; ลูกา 2:52)[83] ในอีกด้านหนึ่ง พระเยซูทรงรู้ทุกสิ่งอย่างชัดเจน (ยอห์น 2:25; 16:30; 21:17)[84] เรื่องนี้จะเข้าใจได้ก็ต่อเมื่อพระเยซูทรงเรียนรู้สิ่งต่างๆและมีความรู้ที่จำกัดในส่วนสภาวะมนุษย์ของพระองค์ แต่ทรงรอบรู้เสมอในส่วนสภาวะพระเจ้าของพระองค์ และด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงสามารถที่จะ “นึกถึง” ข้อมูลใดก็ตามได้ทุกเวลาที่ต้องการสำหรับพันธกิจของพระองค์ ด้วยวิธีนี้เราจะสามารถเข้าใจคำตรัสของพระเยซูเกี่ยวกับเวลาที่พระองค์จะเสด็จกลับมาได้ว่า “แต่ไม่มีใครรู้เรื่องวันหรือเวลานั้นแม้แต่พวกทูตในฟ้าสวรรค์หรือพระบุตร มีแต่พระบิดาเท่านั้น” (มาระโก 13:32) การไม่รู้เวลาที่พระองค์จะเสด็จกลับมานี้เป็นความจริงกับสภาวะมนุษย์และจิตสำนึกของมนุษย์ของพระเยซูเท่านั้น เพราะในสภาวะพระเจ้าของพระองค์ พระองค์ทรงรอบรู้ทุกสิ่งอย่างแน่นอนและทรงรู้เวลาที่พระองค์จะเสด็จกลับสู่โลกอย่างแน่นอน

 

      ปัญหาร้ายแรงจากข้อพิสูจน์ของกรูเด็มก็คือ พระเยซูได้ตรัสอย่างเจาะจงว่า “มีเพียงพระบิดาเท่านั้น” ที่รู้ พระเยซูไม่ได้กำลังพูดถึงสภาวะพระเจ้าของพระองค์เองกับสภาวะมนุษย์ของพระองค์ คำประกาศของพระองค์ว่า พระองค์ไม่รู้วันหรือเวลานั้น ตามความเชื่อในตรีเอกานุภาพแล้วจะเป็นจริงจากทั้งสองสภาวะของพระองค์ คือพระเจ้าและมนุษย์ เพราะ “มีเพียง” พระบิดาเท่านั้นที่ทรงรู้ คำว่า “มีเพียง” เป็นปัญหาสำหรับบรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพด้วยเหตุผลอื่นคือ มันตัดโอกาสพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระองค์ที่สามของพระเจ้าตรีเอกานุภาพว่าเป็นผู้ที่รู้วันและเวลานั้น

      เราจึงเหลือความเป็นไปได้สองอย่าง คือพระเยซูไม่ได้เป็นพระเจ้า หรือพระเจ้าไม่ได้เป็นผู้ทรงรอบรู้ทุกสิ่ง! อย่างแรกนั้นถูกต้องตามพระคัมภีร์ แต่บรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพไม่สามารถจะยอมรับได้ ในขณะที่อย่างหลังเป็นการหมิ่นประมาท

      ยิ่งกว่านั้น ในวิธีที่กรูเด็มแสดงให้เห็นภาพสองสภาวะของพระเยซู คือมนุษย์และพระเจ้านั้น ทั้งสองทำหน้าที่เป็นสองบุคคลที่แยกกันแม้แต่สองวิญญาณที่แยกกัน ภายในพระคริสต์องค์เดียว แม้ว่ากรูเด็มจะพูดถึงสองสภาวะ แต่คำที่ถูกต้องมากกว่าในการอธิบายของเขาถึงพระคริสต์ก็คือ “สององค์บุคคล” วิธีการที่บรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพสลับไปมาได้อย่างคล่องแคล่วมาก ระหว่างสภาวะมนุษย์ของพระเยซู (ซึ่งสามารถถูกทดลองได้และไม่รู้ถึงเวลานั้น) กับสภาวะพระเจ้าของพระองค์ (ซึ่งไม่สามารถจะถูกทดลองได้และรู้ถึงเวลานั้น) จึงเป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่า พระเยซูไม่สามารถจะเป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์ในเวลาเดียวกันได้ แต่ในความเชื่อตรีเอกานุภาพแล้ว ทั้งสองสภาวะมีอยู่ร่วมกันในพระเยซูอย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดชะงัก

      ถ้าพระบิดาทรงรู้ถึงเวลานั้น แล้วทำไมพระบุตรจะไม่ควรรู้ด้วย? มันไม่ใช่แค่คำถามว่าทำไมโดยหน้าที่แล้วพระเยซูจึงไม่รู้ แต่มีคำถามว่าทำไมพระองค์จึงไม่ควรรู้ แต่ภาพในพระคัมภีร์ทำให้ทุกอย่างชัดเจน เหมือนอย่างที่พระบิดาทรงกำหนดเวลาที่พระเยซูจะบังเกิดมาในโลก “เมื่อถึงกำหนด” (กาลาเทีย 4:4) และตามพระสัญญาของพระเจ้า (ข้อ 23)[85] ดังนั้นการเสด็จกลับมาของพระเยซูจะเป็นช่วงเวลาที่พระบิดาทรงกำหนดตามพระประสงค์นิรันดร์ของพระองค์เอง ไม่ใช่ที่พระบุตรจะเสด็จมาในโลกเมื่อใดก็ได้ที่พระองค์ทรงเลือก

 

การร่วมคุณสมบัติของพระเจ้าและมนุษย์ในองค์พระเยซูคริสต์ เป็นความพยายามที่จะอธิบายพระเจ้าที่มาเป็นมนุษย์

      เพื่อให้เข้าใจถึงความคิดของความเชื่อในตรีเอกานุภาพในการจุติลงมาเกิดของพระองค์ที่สองซึ่งกลายเป็นพระเจ้าที่มาเป็นมนุษย์นั้น เราจำเป็นต้องอธิบายคร่าวๆถึงความพยายามของผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพที่จะอธิบายว่าบุคคลที่เป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์ในเวลาเดียวกันนั้นจะสามารถทำหน้าที่ได้อย่างไร คำถามนี้ทำให้มีการโต้แย้งและถกเถียงกันอย่างมาก แม้กระทั่งเกิดความรุนแรงในช่วง แรกๆของคริสตจักร ประวัติศาสตร์ของความขัดแย้งนี้ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการพิจารณาของเรา เราบอกได้เพียงว่าสุดท้ายแล้วฝ่ายหนึ่งได้เอาชนะอีกฝ่ายหนึ่ง แต่นำมาซึ่งความขัดแย้งค่อนข้างมาก[86]

      ตอนนี้เรากำลังตรวจสอบอย่างคร่าวๆเกี่ยวกับแนวคิดของการร่วมคุณสมบัติ[87] ที่ผู้นำคริสตจักรยุคแรกๆบางคนเสนอไว้เกี่ยวกับ communicatio idiomatum ซึ่งเป็นคำละตินที่หมายถึง “การร่วมคุณสมบัติ” โดยที่ “คุณสมบัติ” หมายถึงลักษณะเฉพาะที่มีอยู่อย่างถาวรหรือเป็นธรรมชาติของบุคคลๆหนึ่ง[88] จี เอ็น ดี เคลลี่กล่าวว่าการร่วมคุณสมบัติเป็นวิธีการซึ่ง “คุณสมบัติและประสบการณ์ของมนุษย์และพระเจ้า ฯลฯ อาจถูกสับเปลี่ยนอย่างเหมาะสม” (หลักคำสอนของคริสเตียนในยุคแรก, หน้า 143)

      พระเจ้าและมนุษย์จะสัมพันธ์ต่อกันอย่างไรภายในพระเยซูคริสต์ผู้เป็นพระเจ้าที่มาเป็นมนุษย์? ทั้งสองจะแยกตัวตนกันอย่างไร หากทั้งสองมีความแตกต่างกันในแก่นแท้ หรือเนื้อแท้ หรือธรรมชาติ เนื่องจากฝ่ายหนึ่งเป็นพระเจ้าและอีกฝ่ายหนึ่งเป็นมนุษย์ที่ทั้งสองรวมกันเป็นบุคคลเดียว? แนวคิดนี้ได้เสนอไว้ว่าลักษณะพิเศษของสภาวะหนึ่งจะถูกถ่ายโอนหรือ “ส่งต่อ” ต่อกันกับอีกสภาวะในการรวมกันเป็นหนึ่งของทั้งสองฝ่ายนี้

      เป็นเรื่องยากที่จะให้คำนิยามที่ชัดเจนของ communicatio idiomatumพราะงานเขียนโบราณที่นำเสนอแนวคิดนี้แต่แรกนั้นให้คำอธิบายเพียงเล็กน้อยนอกเหนือจากคำกล่าวซึ่งมีเพียงว่า คุณสมบัติพระเจ้าของพระเจ้าพระบุตรได้สื่อสารกับพระเยซูที่เป็นมนุษย์ซึ่งพระองค์มาจุติอยู่ภายใน และในทิศทางที่กลับกันก็จากพระเยซูที่เป็นมนุษย์กับพระคริสต์ที่เป็นพระเจ้า หากมีใครขอให้เจาะจงถึงคุณสมบัติของการสื่อสาร คนนั้นจะสามารถพูดได้อย่างมากที่สุดว่า คุณสมบัติ (“idioms”) ของพระองค์ที่สองในตรีเอกานุภาพถูกโอนไปยังพระเยซูที่เป็นมนุษย์ ซึ่งรวมถึงคุณสมบัติ เช่น ฤทธา   นุภาพ พระปัญญา ความเที่ยงธรรมของพระเจ้า เป็นต้น

      แต่หนึ่งในคุณสมบัติเกี่ยวกับแก่นแท้ของพระเจ้าที่ไม่สามารถจะถ่ายโอนกันได้ก็คือความเป็นอมตะ คุณสมบัติพื้นฐานนี้จะต้องถูกถ่ายโอนไปยังพระเยซูผู้เป็นมนุษย์ เพราะเป็นไปได้ไหมที่จะร่วมเฉพาะคุณสมบัติบางอย่างของพระเจ้าและไม่ได้ร่วมคุณสมบัติอื่นๆ? จากการร่วมคุณสมบัติที่รู้กันนั้น ไม่ได้มีข้อเสนอแนะว่าจะถ่ายโอนเฉพาะคุณสมบัติบางอย่างเท่านั้น ในขณะที่คุณสมบัติอื่นๆไม่ได้ถูกถ่ายโอน ถ้าสิ่งนี้ยังเป็นไปได้แม้รวมตัวกันในบุคคลเดียว

      เราเห็นปัญหาของความคิดเรื่องการร่วมคุณสมบัติชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ้ามนุษย์ผู้นี้ที่พระเจ้าพระองค์ที่สองมาจุติอยู่ภายในจึงทำให้เป็นอมตะโดยการรวมกันเป็นหนึ่งนั้น ก็เห็นได้ชัดว่าผู้นี้จะไม่สามารถตายเพื่อความผิดบาปของเราได้ ซึ่งในกรณีนี้ แผนการแห่งความรอดของพระเจ้าจะถูกล้มล้างไป ในความพยายามที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างความตายกับความเป็นอมตะที่ อยู่ในบุคคลเดียวกันนั้น บรรดาผู้นำคริสตจักรต่างชาติไปไกลจนถึงขนาดพูดว่า จะอย่างไรก็ตาม พระองค์ที่สองของตรีเอกานุภาพผู้ที่เป็นพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ ได้ทรงสิ้นพระชนม์เพื่อความบาปของเรา มันกลับเป็นว่าสำหรับคริสเตียนเหล่านี้ พระเจ้าผู้ทรงอมตะไม่ได้เป็นอมตะเลย!

      มีอีกตัวอย่างหนึ่งคือ ในเมื่อพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพสูงสุดทรงมีอำนาจทุกอย่าง แล้วจะไม่เป็นการหมิ่นประมาทหรือที่จะพูดถึงพระองค์ว่าทรงอ่อนแอ? ในทางกลับกัน ถ้าพระเจ้าพระบุตรทรงมีแก่นแท้เดียวกันกับพระเจ้าพระบิดา พระองค์ก็จะทรงมีอำนาจทุกอย่างด้วย และจะไม่สามารถพูดได้ว่าทรงอ่อนแอแต่อย่างใด ประเด็นนี้เป็นเรื่องง่ายๆ คือถ้าพระเยซูทรงอ่อนแอ พระองค์ก็ไม่ใช่ พระเจ้า ถ้าพระเยซูทรงเป็นผู้ทรงฤทธานุภาพสูงสุด พระองค์ก็ไม่ใช่มนุษย์ ถ้าพระองค์ทรงตายได้ พระองค์ก็ไม่ใช่พระเจ้า ถ้าพระองค์ทรงเป็นอมตะ พระองค์ก็ไม่ใช่มนุษย์

      ในหลักเหตุผลที่บิดเบือนของความเชื่อในตรีเอกานุภาพนั้น พระเจ้าพระบุตรทรงเป็นสองฝ่ายที่ตรงกันข้ามกันซึ่งไม่สามารถจะเป็นพร้อมกันได้จริงๆ มารวมตัวกันเป็นสองขั้วในพระเยซู คือเป็นทั้งผู้ที่ต้องตายและผู้ที่เป็นอมตะ เป็นทั้งมนุษย์และพระเจ้า และเพราะฉะนั้นจึงเป็นทั้งมนุษย์ที่ต้องตายและเป็นพระเจ้าผู้เป็นอมตะ ใครก็ตามที่สามารถเชื่อหลักคำสอนที่บิดเบือนและขัดแย้งกันนี้ ก็จะเชื่อข้อผิดพลาดใดๆก็ได้ที่ตามมาได้ไม่ยาก นี่จะต้องใช้พลังในการโน้มน้าวอย่างแรงที่จะขจัดการหลอกลวงนี้ออกไปได้ ไม่ใช่แค่กับคนเพียงไม่กี่คนเท่านั้น แต่กับคนจำนวนมากตลอดประวัติศาสตร์ของคริสตจักร สิ่งนี้ทำให้คนสงสัยว่าการโน้มน้าวของการหลอกลวงนี้มาจากพลังบางอย่างที่เหนือธรรมชาติหรือไม่ เรานึกถึงคำกล่าวในวิวรณ์ว่า “คืองูดึกดำบรรพ์ ที่เขาเรียกกันว่ามารและซาตานผู้ล่อลวงมนุษย์ทั้งโลก” (วิวรณ์ 12:9) ความหมายก็คือ ไม่มีใครที่ไม่ว่าจะฉลาดหรือมีการศึกษาขนาดไหน จะสามารถหลีกหนีจากเงื้อมมือของการหลอกลวงทางจิตวิญญาณไปได้ ในอีกด้านหนึ่ง การมองเห็นในฝ่ายวิญญาณเกี่ยวข้องกับ “การมีตาใจสว่างขึ้น” โดยพระเจ้า (เอเฟซัส 1:18) ทำให้ใจมองเห็นแสงแห่งการปลดปล่อยจากความจริงของพระองค์

      พระองค์ที่สองของตรีเอกานุภาพ ตามที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่าสิ้นพระชนม์บนกางเขนนั้นชัดเจนว่า ไม่สามารถจะเป็นพระเจ้าผู้ซึ่งตามคัมภีร์แล้วทรงเป็นอมตะอย่างแน่แท้ที่สุด เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ใครล่ะที่เป็นพระเจ้าองค์นี้ที่เรียกว่าพระองค์ที่สองของตรีเอกานุภาพ? และใครเป็นผู้ที่บรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพได้นมัสการมาตั้งแต่หลักความเชื่อของพวกเขากลายเป็นหลักคำสอนอย่างเป็นทางการของคริสตจักรในศตวรรษที่สี่? คำถามนี้น่ากลัวขึ้นกว่าเดิม

      มีคริสเตียนไม่มากที่รู้เกี่ยวกับศาสนศาสตร์ที่น่ากลัวนี้ซึ่งสนับสนุนความเชื่อในตรีเอกานุภาพ มีแง่มุมอื่นๆของศาสนศาสตร์นี้ที่มีความสมเหตุสมผลน้อยมากหรือไม่มีเหตุผลเลย แต่ผมจะไม่พูดถึงในเวลานี้นอกจากจะถามว่า ในการสับเปลี่ยนหรือการแลกเปลี่ยนภายในของคุณสมบัติเหล่านี้ มีคุณสมบัติใดของมนุษย์หรือที่จะสามารถถ่ายโอนจากมนุษย์และไปเพิ่มให้กับพระเจ้าได้? มนุษย์มีคุณสมบัติอะไรในแก่นแท้และสภาวะของเขาที่จะแลกเปลี่ยนกับแก่นแท้และสภาวะของพระเจ้าไหม? มีสิ่งใดที่จะสามารถเพิ่มให้กับพระเจ้าในทางใดทางหนึ่งได้หรือไม่? ตัวอย่างเช่น เป็นไปได้อย่างไรที่ความอ่อนแอของมนุษย์จะสามารถถ่ายโอนไปยังพระเจ้าผู้ทรงมีอำนาจทุกอย่าง โดยที่ความมีอำนาจทุกอย่างของพระองค์นั้นจะลบล้างความอ่อนแอได้ไม่ว่ากรณีใดๆ? นี่คือตัวอย่างที่ผมหมายถึงลักษณะที่เหลวไหลของหลักคำสอนเกี่ยวกับการร่วมคุณสมบัติ

      ความคิดเกี่ยวกับพระเจ้าที่มาเป็นมนุษย์เป็นเรื่องที่ไม่สามารถเข้าใจได้อย่างชัดเจนแม้กับบรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพที่เสนอความคิดนี้ และพยายามจะอธิบายถึงความสัมพันธ์ของสองสภาวะของพระเยซูด้วยแนวความคิด เช่น การเป็นพระเจ้าและเป็นมนุษย์รวมอยู่ในบุคคลเดียวกัน[89] และการร่วมคุณสมบัติที่ทำให้ความขัดแย้งกันนั้นดูมีเหตุผล นี่คือสิ่งที่เราเมื่อเป็นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพได้ใช้เวลาอย่างมากและใช้ความพยายามอย่างไร้ผล

      แต่สภาวะของพระเยซูตามพระคัมภีร์นั้นมีความสมเหตุสมผลที่สุด พระองค์ทรงเป็นผู้ที่เรา คิดว่าสามารถเป็นเหมือนได้ และมองว่าเป็นตัวอย่างของชัยชนะของเราที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับเรา แม้ว่าเราจะอ่อนแอ แต่พระเจ้าจะทรงเสริมกำลังภายในให้เราและให้กำลังเรามีชัยชนะอุปสรรคทั้งสิ้นทางพระเยซูคริสต์ถึงแม้ว่าเราจะมีความอ่อนแอมากมาย แต่เราจะไม่บรรลุถึงความสมบูรณ์แบบในชีวิตนี้เหมือนที่พระเยซูได้ทรงบรรลุ แม้แต่เปาโลอัครทูตคนสำคัญก็ยอมรับว่า “ไม่ใช่ว่าข้าพเจ้าได้รับแล้ว หรือสมบูรณ์แบบแล้ว[90]... แต่ข้าพเจ้าบากบั่นมุ่งไปสู่หลักชัย เพื่อจะได้รับรางวัลคือการทรงเรียกจากพระเจ้าในพระเยซูคริสต์” (ฟีลิปปี 3:12,14)

      จากทั้งหมดนี้ เราได้แต่เกรงขามในชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของพระยาห์เวห์ในพระคริสต์ ผู้ทรงบรรลุในสิ่งที่มนุษย์คนใดทำได้มาก่อนจนกระทั่งบัดนี้ ขณะที่บรรดาผู้เชื่อทุกคนได้รับสิทธิพิเศษในพระคริสต์โดยพระเมตตาของพระเจ้าในการมาเป็นบุตรชายและหญิงของพระเจ้านั้น มีเพียงพระเยซูเท่านั้นที่สามารถเรียกได้อย่างถูกต้องว่า “พระบุตรองค์เดียวของพระเจ้า”

 

ใจปรารถนาที่แตกต่างกันภายในตรีเอกานุภาพ

      ในขณะที่ความรักที่ให้ตนเองของพระเยซูของพระคัมภีร์นั้นตรงไปตรงมา และเข้าใจได้ง่ายในแง่ของการกระทำด้วยความสมัครพระทัยตามพระทัยปรารถนาของพระองค์ แต่เราไม่สามารถพูดได้แบบเดียวกันกับพระเยซูของความเชื่อในตรีเอกานุภาพได้ ตัวอย่างเช่น มันจะเป็นปัญหาถ้าหากเป็นพระเยซูของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ ผู้ที่ตรัสในสวนเกทเสมนีว่า “อย่าให้เป็นไปตามใจปรารถนาของข้าพระองค์ แต่ให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์” ใครเป็นคนพูดถ้อยคำนี้? เป็นพระเจ้าพระบุตรไหมที่กำลังพูดกับพระเจ้าพระบิดา? ถ้าเป็นเช่นนั้น สิ่งนี้จะทำให้เกิดปัญหาของใจปรารถนาที่แตกต่างกันภายในตรีเอกานุภาพ โดยที่พระองค์ที่สองทรงยอมอยู่ใต้พระประสงค์ของพระองค์แรกหลังจากมีการต่อสู้อย่างมาก ด้วยใจปรารถนาที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนภายในตรีเอกานุภาพนี้ เราจะยังสามารถพูดถึงสามพระองค์ว่ามีแก่นแท้เดียวกันได้อย่างไร ในเมื่อมีสามใจปรารถนาที่แตกต่างกันที่ไม่จำเป็นจะต้องสอดคล้องกันอย่างสมบูรณ์จนกว่าการต่อสู้ภายในจะรวมใจปรารถนาของทั้งสามพระองค์ให้เป็นหนึ่งเดียวเหมือนกรณีที่สวนเกทเสมนี? คำกล่าวที่ตรงกันข้ามว่า “อย่าให้เป็นไปตามใจปรารถนาของข้าพระองค์ แต่ให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์” จะเข้าใจได้ง่ายถ้ามันมาจากพระเยซูคริสต์ผู้ที่ไม่ใช่พระเจ้าซึ่งเป็นมนุษย์ที่พูดกับพระบิดาของพระองค์ผู้ที่ส่งพระองค์มาทำให้ความรอดของมวลมนุษย์บรรลุผล

      ปัญหาไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น เพราะตามความเชื่อในตรีเอกานุภาพแล้ว การเชื่อฟังของ “พระเจ้าพระบุตร” ต่อพระเจ้าพระบิดานั้นเป็นการเชื่อฟังภายในอย่างสมบูรณ์ต่อพระเจ้าที่มีแก่นแท้เดียวกัน และไม่สามารถอธิบายได้อย่างถูกต้องว่าเป็น “การเชื่อฟังพระเจ้า” การเชื่อฟังภายในนี้ไม่มีผลกับคำกล่าวที่สำคัญในโรม 5:18-19[91]ว่า สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับความรอดของมนุษย์ก็คือการเชื่อฟังในความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพระเจ้า มากกว่าจะเป็นความสัมพันธ์ภายในตรีเอกานุภาพ

      ถ้าบรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพกล่าวว่า ผู้ที่พูดในสวนเกทเสมนีคือพระเยซูที่เป็นมนุษย์ผู้ที่ “พระเจ้าพระบุตร” มาจุติอยู่ภายใน ผลที่ได้จะเป็นความร้ายแรงพอๆกัน เพราะเมื่อพระเยซูตรัสว่า “ให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์” พระเยซูกำลังตรัสกับใครหรือ กับพระเจ้าพระบุตรหรือว่า พระเจ้าพระบิดา? ในทั้งสองกรณีจะมีใจปรารถนาสองอย่างที่แตกต่างกันอยู่ภายในพระเยซู คือใจปรารถนาของมนุษย์ที่กล่าวว่า “ให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์” และพระทัยปรารถนาของพระเจ้าแสดงให้เห็นถึงสภาวะพระเจ้าของพระเยซูที่ทำให้เกิดสถานการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ของการมีสองใจปรารถนาอยู่ภายในพระเจ้าที่มาเป็นมนุษย์ และเนื่องจากว่าใจปรารถนาไม่สามารถดำรงอยู่เองได้โดยปราศจากตัวบุคคล นี่จะหมายความว่า พระเยซูไม่ได้เป็นบุคคลคนเดียว แต่เป็นสองบุคคล[92]

      นี่เป็นหนึ่งในปัญหาที่ยากจะรับมือ ที่บรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพในยุคแรกๆเข้าไปพัวพัน และพยายามที่จะออกมา เพื่อหลีกเลี่ยงความคิดที่ยอมรับไม่ได้เกี่ยวกับการมีสองใจปรารถนาที่เป็นอิสระ (โดยที่ใจปรารถนาของมนุษย์ไม่อยู่ภายใต้พระทัยปรารถนาของพระเจ้า) และดังนั้นจึงมีสองบุคคลในพระเจ้าที่มาเป็นมนุษย์ ซึ่งจะสร้างพระเยซูที่เป็นผู้ป่วยจิตเภท จึงได้กำหนดไว้ว่าเป็นพระเจ้าพระบุตรที่เป็นพระเจ้า แทนที่จะเป็นพระเยซูที่เป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการประกอบขึ้นเป็นพระเจ้าที่มาเป็นมนุษย์ ผู้ที่ใจปรารถนาของพระอง์มีอำนาจเหนือพระเยซูที่เกทเสมนี แต่สิ่งนี้ไม่ได้   แก้ไขภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะมันจะหมายความว่าสภาวะมนุษย์ของพระเยซูจะไม่มีใจปรารถนาที่จะทำการใดๆ ซึ่งในกรณีนี้พระองค์ (หรือสภาวะมนุษย์ของพระองค์) จะไม่ใช่มนุษย์ที่สมบูรณ์เพราะมนุษย์ทุกคนมีใจปรารถนาของมนุษย์ที่เป็นอิสระ (บรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพกล่าวว่า พระเยซูคริสต์ทรงเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการยืนยันที่กำหนดให้พระองค์มีร่างกายของมนุษย์ มีวิญญาณของมนุษย์ และมีใจปรารถนาของมนุษย์ที่เป็นอิสระ) สิ่งนี้แสดงให้เห็นสิ่งที่เราได้พูดมาตลอดว่า พระเยซูของความเชื่อในตรีเอกานุภาพไม่ใช่มนุษย์ อย่างที่เรารู้ว่ามนุษย์เป็นอย่างไร สิ่งนี้ทำให้เราย้อนกลับไปที่ข้อสังเกตของเราว่า การเชื่อฟังของ “พระเจ้าพระบุตร” ต่อพระเจ้าพระบิดานั้นเป็นการเชื่อฟังภายในตรีเอกานุภาพ และไม่มีผลกับเรื่องสำคัญยิ่งของความรอดของมนุษย์ที่กล่าวไว้ในโรม 5:18-19 ว่าขึ้นอยู่กับการเชื่อฟังของมนุษย์ต่อพระเจ้า

      ตามศาสนศาสตร์แบบอเล็กซานเดรียที่มีชัยชนะเหนือศาสนศาสตร์แบบอันติโอคีน[93]ในคริสต จักรยุคแรกๆนั้น ไม่มีการแยกภายในพระเจ้าที่มาเป็นมนุษย์ ระหว่างพระเจ้าที่เป็นพระเจ้าพระบุตรกับพระเยซูที่เป็นมนุษย์[94] แต่ในความเชื่อตรีเอกานุภาพนั้น เป็นพระเจ้าพระบุตรที่เป็นบุคคลจริงในพระเจ้าที่มาเป็นมนุษย์ ในขณะที่มนุษย์ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงใจปรารถนาของพระเจ้าที่มาเป็นมนุษย์ ดังที่ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพที่ร้อนรนคนหนึ่งกล่าวไว้ว่า “พระองค์ทรงมีรูปร่างหน้าตาและเนื้อหนังมังสาของมนุษย์คนหนึ่ง แต่ทรงมีลักษณะเฉพาะ มีฤทธานุภาพ และมีสภาวะของพระเจ้า”[95]

      ความเชื่อในตรีเอกานุภาพต้องเผชิญกับภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกซึ่งแก้ไม่ตกอีกครั้ง ดังนั้นจึงเผยให้เห็นความเท็จของหลักคำสอน เพราะความเท็จทุกอย่างจะมีความขัดแย้งในตัวเองที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่จะทำลายตนเองเมื่อถูกตรวจสอบและถูกตีแผ่

      สิ่งที่น่าเศร้าก็คือคริสเตียนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าพระเยซูของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ ผู้เป็นพระเจ้าที่มาเป็นมนุษย์นั้น เป็นผู้ที่มนุษย์สร้างขึ้นจากส่วนเสี้ยวของพระคัมภีร์ใหม่ โดยสร้างบุคคลหนึ่งให้เป็นพระเจ้าโดยที่ไม่ได้มีอยู่ในพระคัมภีร์นั่นก็คือ พระเจ้าพระบุตร ซึ่งที่จริงคือ “พระบุตรของพระเจ้า” ที่กลับตาลปัตรกันอย่างแรงหรือไปผิดทาง กล่าวโดยสรุปก็คือ บรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพได้สร้างรูปเคารพทางศาสนศาสตร์ที่พวกเขากราบนมัสการและต้องการให้คนอื่นๆทำในแบบเดียวกัน

      ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพที่รักทั้งหลาย ถ้าพระเยซูคริสต์เป็นพระเจ้าตามที่พวกคุณบอกว่าพระองค์ทรงเป็น ก็แสดงว่าพวกคุณและผมยังคงอยู่ในความบาปของเรา โดยที่ไม่มีความหวังในความรอด เพราะลักษณะที่สำคัญยิ่งของพระเจ้าก็คือทรงเป็นอมตะ ซึ่งหมายความว่าพระองค์จะไม่สามารถตายเพื่อความผิดบาปของเราได้ แต่ถ้าพระเจ้าสามารถตายได้ พระองค์ก็จะไม่ใช่พระเจ้า แต่พระองค์ ก็ไม่สามารถเป็นมนุษย์ที่แท้จริงได้เพราะคุณบอกว่าพระองค์ก็เป็นพระเจ้าด้วย ในกรณีเช่นนี้ ความตายของพระเยซูไม่สามารถจะลบล้างความบาปของคุณหรือของผมได้

 

เหตุใดจึงมีคนจำนวนน้อยที่รอด?

      หลังจากที่ได้สอนพระคัมภีร์มาหลายสิบปี อยู่มาวันหนึ่งผมรู้สึกตกใจเมื่อตระหนักว่าทั้งผมหรือผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพคนไหนๆก็ไม่สามารถจะอ้างอิงพระคัมภีร์สักข้อจากพระคัมภีร์ใหม่หรือพระคัมภีร์โดยรวม ที่เป็นคำเรียกสำคัญของพระเยซูของความเชื่อในตรีเอกานุภาพว่า “พระเจ้าพระบุตร” ไม่พบเลยสักข้อ! เช่นเดียวกับอีกคำเรียกสำคัญของพระเยซูของความเชื่อในตรีเอกานุภาพว่า พระองค์ที่สองของตรีเอกานุภาพ การที่ไม่พบคำเรียกนี้ในพระคัมภีร์ก็คาดหมายได้ว่า เป็นเพราะคำว่า “ตรีเอกานุภาพ” เองก็ไม่ได้มีอยู่ในพระคัมภีร์ สรุปก็คือ ในทุกหน้าของพระคัมภีร์นั้น เราไม่สามารถจะแสดงให้เห็นการมีอยู่จริงของ “พระเจ้าพระบุตร” ได้ แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจก็คือ เราสามารถที่จะพูด ที่จะเทศนา ที่จะสอน ที่จะคิด และเขียนหนังสือได้หลายๆเล่มถึงบุคคลที่เราไม่สามารถแสดงให้เห็นได้จริงว่ามีอยู่ในพระคัมภีร์หน้าต่างๆ!

      สิ่งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรหรือ? ผมสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อผมมองย้อนกลับไปในงานเทศนา งานสอน และงานเขียนหนังสือมายาวนาน กล่าวกันว่ากว่าจะเข้าใจถึงปัญหาต่างๆได้ชัดขึ้น ก็หลังจากที่เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นไปแล้ว และการเข้าใจถึงปัญหาในอดีตจากกรณีเฉพาะนี้จะทำให้คนที่ย้อนดูประวัติศาสตร์ในหน้าต่างๆ ต้องเย็นสันหลังวาบ เมื่อมองดูจากศตวรรษแรกๆของคริสตจักร เราจะเห็นความเชื่อที่ถูกสร้างขึ้นบนพระเยซูที่ไม่ได้มีอยู่ในพระคัมภีร์ และเป็นผู้ที่ถูกปั้นแต่งขึ้นอย่างเฉียบแหลมในลักษณะที่ปลดพระองค์ออกอย่างถาวรจากรากเหง้าของชาวยิวของพระองค์ที่เชื่อในพระเจ้าเพียงองค์เดียว สิ่งนี้เตือนเราถึงสิ่งที่พระเยซูได้ตรัสถึงยุคสุดท้ายว่า บรรดาผู้เชื่อจะต้องเฝ้าระวัง เพราะแม้แต่ผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกก็ถูกล่อลวงได้ (มัทธิว 24:24)[96]

      ปัจจุบันมีคริสเตียนประมาณสองพันล้านคนทั่วโลกและคิดเป็น 1 ใน 3 ของประชากรโลก[97] เมื่อพิจารณาถึงชัยชนะของศาสนาคริสต์ในโลกนี้อย่างน้อยก็ในแง่ของจำนวนผู้ติดตาม แล้วทำไมพระเยซูจึงตรัสว่ามี “คนจำนวนน้อย” ที่จะรอด (ลูกา 13:23-24)? เราเข้าใจคำกล่าวของพระองค์อย่างไร? เรื่องที่พูดถึงจำนวนที่มีมากของคริสต์ศาสนิกชนที่เป็นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพนั้น ผมไม่เคยได้ยินผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพคนไหนจะถามคำถามที่ทำให้เย็นสันหลังวาบเช่นนี้เลยว่า เหตุใดคนทั้งหมดจากจำนวนเป็นพันล้าน จึงมีคนที่จะรอดเพียง “จำนวนน้อย” เท่านั้น?

      คำถามนี้ตอบได้ไม่ยาก คือถ้าเราเข้าใจข้อเท็จจริงที่น่าตกใจว่า ผู้เชื่อส่วนใหญ่ในโลกทุกวันนี้ถูกหลอกอย่างน่าสลดใจที่สุด มีคำตอบอื่นให้กับคำถามที่น่าสะพรึงกลัวนี้ไหม ที่สอดคล้องกับคำกล่าวของพระเยซูว่า มีคนเพียงจำนวนน้อยเท่านั้นที่จะรอด? ผู้คนมากมายจะรอดหรือเข้าไปประตูแคบแห่งชีวิตได้อย่างไร ถ้าพวกเขาฝากความเชื่อ ความไว้วางใจ ความหวังของพวกเขาไว้กับพระเยซูของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ ผู้เป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งไม่ได้มีอยู่ในพระคัมภีร์แห่งชีวิต?

      ความเชื่อในพระเยซูของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ จะทำให้ความหวังในความรอดต้องเป็นโมฆะ นี่ไม่ใช่คำกล่าวรวมๆที่จะกล่าวว่าผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพทุกคนจะถูกกล่าวโทษ และผู้ที่ไม่เชื่อในตรีเอกานุภาพทุกคนจะรอด เพราะมีหลักการอย่างอื่นทางฝ่ายวิญญาณในการพิพากษาของพระเจ้า (เช่น ลูกา 12:48)[98] แต่คงเป็นเรื่องโง่เขลาที่จะเพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงในพระคัมภีร์ว่าการไหว้รูปเคารพ รวมถึงการไหว้รูปเคารพของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ จะมีผลทางวิญญาณที่ตามมา

      การพิจารณาของเราในเวลานี้ไม่ได้เป็นเพียงการโต้แย้งทางวิชาการเกี่ยวกับหลักคำสอนที่ไม่มีผลต่อสวัสดิภาพนิรันดร์ของเรา เรากำลังพูดถึงเรื่องสำคัญในฝ่ายวิญญาณซึ่งข้อผิดพลาดเล็กน้อยเพียงครั้งเดียวจะมีผลชั่วนิรันดร์ ความจริงที่น่าสะพรึงกลัวเกี่ยวกับข้อผิดพลาดของความเชื่อในตรีเอกานุภาพซึ่งเรียกอย่างถูกต้องว่านอกรีต ก็คือว่ามันแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากความจริงในพระคัมภีร์

 

ความบริบูรณ์ทั้งสิ้นของพระเจ้า

      ในความเชื่อตรีเอกานุภาพนั้น พระเจ้าพระบุตร ผู้ซึ่งเป็นพระองค์ที่สองของตรีเอกานุภาพ ได้มาจุติเป็นพระเยซูคริสต์ แต่พระเจ้าพระบุตรเป็นเพียงหนึ่งในสามพระองค์ และดังนั้นจึงไม่สามารถแสดงให้เห็นถึง “ความบริบูรณ์ทั้งสิ้นของพระเจ้า” ได้ดังที่กล่าวถึงในโคโลสี 2:9 ว่า “เพราะในพระคริสต์นั้น ความบริบูรณ์ทั้งสิ้นของพระเจ้าดำรงอยู่ในพระกายของพระองค์” (ฉบับ NIV)

      มีแต่เพียงพระยาห์เวห์ตามพระคัมภีร์เท่านั้นที่เป็นพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียวที่มี “ความบริบูรณ์ ทั้งสิ้นของพระเจ้า” และมีเพียงการสถิตอยู่ของพระยาห์เวห์ในพระเยซูคริสต์ที่เป็นมนุษย์เท่านั้น ที่จะอธิบายโคโลสี 2:9 ได้อย่างถูกต้อง ข้อผิดพลาดของความเชื่อในตรีเอกานุภาพก็ถูกเปิดเผยอีกครั้ง

      คำกล่าวของเปาโลว่าความบริบูรณ์ของพระเจ้า อันที่จริงความบริบูรณ์ทั้งสิ้นของพระเจ้าที่สถิตอยู่ในพระกายของพระคริสต์นั้น ถูกเปรียบกับข้อเท็จจริงที่ว่า ประชากรของพระเจ้าก็เต็มด้วยความบริบูรณ์ทั้งสิ้นของพระเจ้า “เพื่อท่านจะเต็มด้วยความบริบูรณ์ของพระเจ้า” (เอเฟซัส 3:19) การสถิตของพระเจ้าหรือการมาสถิตอยู่ในพระคริสต์เป็นการอยู่ “ในพระกาย” ซึ่งเป็นความจริงอันน่าทึ่งที่ยังเห็นได้ในโคโลสี 1:19 ว่า “เพราะว่าพระเจ้าพอพระทัยที่จะให้ความบริบูรณ์ทั้งสิ้นของพระองค์​​อยู่ในพระคริสต์

      การมาสถิตของพระเจ้าใน “พระกาย” ของพระคริสต์นั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากการดำรงอยู่ร่วมกันของสองสภาวะของพระคริสต์ ที่เป็นทั้งพระเจ้าและเป็นมนุษย์ในคนเดียวกัน แนวคิดหลังได้ทำให้เกิดปัญหาว่า พระเจ้าที่มาเป็นมนุษย์จะสามารถทำหน้าที่ได้อย่างไร เป็นความยุ่งยากที่นำไปสู่หลักคำสอนของการร่วมคุณสมบัติ ซึ่งเป็นแนวคิดทางปรัชญาอย่างมาก ที่พยายามจะอธิบายว่าทั้งสองสภาวะมีความเกี่ยวข้องต่อกันและกันอย่างไร หลักคำสอนนี้ไม่ได้ยึดจากสิ่งใดในพระคัมภีร์ แต่เป็นแนวคิดที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกที่มนุษย์สร้างขึ้น

      พระคัมภีร์ไม่ได้สนับสนุนหลักคำสอนของสองสภาวะ คือพระเจ้าและมนุษย์ซึ่งรวมเป็นหนึ่งอย่างแยกกันไม่ได้อยู่ในพระคริสต์ โดยที่พระเยซูทรงเป็นพระเจ้าที่แท้จริงและเป็นมนุษย์ที่แท้จริง ในปี ค.ศ. 451 หลักคำสอนที่ไม่ตรงตามหลักพระคัมภีร์นี้ได้ประกาศใช้โดยหลักความเชื่อของสภาสังคายนาแห่งแคลซีดอน (เมืองแคลซีดอนตั้งอยู่ในบิธีเนียในตุรกีในปัจจุบัน) ความพยายามที่จะพิสูจน์ความคิดนี้โดยใช้ยอห์น 1:14 (“และพระวาทะมาเป็นมนุษย์”) นั้นผิดพลาด เพราะบรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพสันนิษฐานโดยปราศจากหลักฐานว่าพระวาทะ (logos, โลกอส) หมายถึงพระคริสต์ที่คิดกันว่าทรงดำรงอยู่ก่อน ความจริงก็คือ ไม่เคยมีการระบุว่า โลกอส เป็นพระเยซูไม่ว่าจะในคำขึ้นต้นของยอห์นหรือส่วนที่เหลือของพระคัมภีร์ใหม่[99] การให้ โลกอส ที่คิดกันว่าเทียบเท่ากับพระเยซูนั้นเป็นการฝืนพระวจนะของพระเจ้า

      แนวความคิดในการรวมกันเป็นหนึ่งของพระเจ้าและมนุษย์อยู่ในบุคคลเดียวกันจากสองสภาวะของพระคริสต์ คือสภาวะพระเจ้าและสภาวะมนุษย์นั้น นอกจากจะไม่ตรงตามพระคัมภีร์แล้ว แต่ยังไม่สามารถเข้าใจได้อีกด้วย ในหัวข้อ “การรวมเป็นหนึ่งของพระเจ้าและมนุษย์อยู่ในบุคคลเดียวกัน” จากวิกิพีเดียพูดไว้อย่างสุภาพว่า “การรวมกันเป็นหนึ่งอยู่ในบุคคลเดียวกันนี้” มีขึ้นเพื่อท้าทายความเข้าใจที่จำกัดของมนุษย์” แต่ความไร้สาระในความหมายอย่างเป็นทางการก็ท้าทายความเข้าใจด้วย เพราะถ้าสิ่งนั้นมีความสมเหตุสมผล มันก็สามารถเข้าใจได้ แต่ความเข้าใจได้ยากของการรวมกันเป็นหนึ่งของพระเจ้าและมนุษย์อยู่ในบุคคลเดียวกันนั้น ไม่ได้เป็นปัญหาสำคัญกับผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพ เพราะเขามักจะปัดประเด็นนี้ให้เป็นเรื่องของ “ความล้ำลึก” แม้จะมีข้อเท็จจริงที่ว่า การที่ไม่สามารถเข้าใจได้นั้นไม่ได้เป็นความหมายของความล้ำลึกตามในพระคัมภีร์ เปาโลใช้คำว่า “ความ ล้ำลึก” เพื่อพูดถึงสิ่งที่ถูกปิดซ่อนไว้ในอดีต แต่ตอนนี้พระเจ้าได้ทรงเปิดเผยอย่างชัดเจนแล้ว

      มีการรวมบุคคลเป็นหนึ่งเพียงสองแบบเท่านั้นที่พบในพระคัมภีร์ นั่นก็คือ การรวมกันเป็นหนึ่งในการแต่งงานของชายและหญิง โดยที่ทั้งสองมาเป็นเนื้อเดียวกัน และการรวมกันเป็นหนึ่งของพระเจ้าในจิตวิญญาณกับมนุษย์ โดยที่พระเจ้ากับมนุษย์มาเป็นจิตวิญญาณเดียวกัน (1 โครินธ์ 6:17)[100] พระคัมภีร์ไม่เคยพูดถึงการรวมกันเป็นหนึ่งของพระเจ้าและมนุษย์อยู่ในบุคคลเดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพคิดขึ้นเองที่สร้างความขัดแย้งรุนแรงขึ้นในคริสตจักรยุคแรกกับสิ่งที่หมายถึง

      ในทางกลับกันนั้น พระคัมภีร์ทำให้เรามองเห็นภาพที่ยอดเยี่ยมที่พระเจ้าสถิตอยู่ในประชากรของพระองค์ ซึ่งร่างกายของพวกเขาทำหน้าที่เป็นพระวิหารของพระองค์ในโลก เราจะพบพระเจ้าในประชากรของพระองค์ เพราะว่าความบริบูรณ์ของพระยาห์เวห์ที่ดำรงอยู่ในพระเยซู ก็ดำรงอยู่ในประชากรของพระองค์ด้วย ที่กล่าวว่า “ให้เข้าใจถึงความรักของพระคริสต์ซึ่งเกินความรู้ เพื่อท่านจะบริบูรณ์ด้วยความบริบูรณ์ทั้งสิ้นของพระเจ้า” (เอเฟซัส 3:19) ดังที่มักจะอยู่ในคำสอนของเปาโลว่า อะไรที่เป็นจริงกับพระเยซู ก็เป็นจริงกับบุตรทั้งหลายของพระเจ้าด้วยเช่นกัน

 

“เราเป็น”

      ในสมัยที่เราเป็นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพนั้น เมื่อเราเห็นคำกล่าวของพระเยซูว่า “เราเป็น” ในพระกิตติคุณยอห์น เราก็คิดทันทีว่าพระเยซูกำลังประกาศพระองค์เองเป็นพระเจ้า ในความคิดของเรานั้นไม่เห็นว่าจำเป็นต้องพิสูจน์ว่าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้า เพราะพระเยซูได้ทรงประกาศเอง และแน่นอนว่าในพวกเราก็ไม่มีใครคิดว่าชายตาบอดที่พระเยซูทรงรักษาให้หายนั้น กำลังอ้างตัวว่าเป็นพระเจ้าเมื่อเขาพูดว่า “ข้าพเจ้าเป็น” (I am, เราเป็น) กับพวกที่ถามเขาว่า เขาเป็นชายตาบอดคนเดียวกับที่พวกเขารู้จักมาตลอดหรือไม่ (ยอห์น 9:9)[101] คำกล่าวว่า “เราเป็น” ที่ถกเถียงกันมากที่สุดในพระกิตติคุณยอห์นคือคำกล่าวในข้อสุดท้ายของพระคัมภีร์ตอนต่อไปนี้

 

51เราบอกความจริงกับพวกท่านว่า ถ้าผู้ใดประพฤติตามคำ​​ของเรา ผู้นั้นจะไม่เห็นความตายเลย”     52พวกยิวทูลพระองค์ว่า “ตอนนี้เรารู้แล้วว่าท่านมีผีสิง อับราฮัมตายไปแล้ว​ ​พวกผู้เผยพระวจนะก็เหมือนกัน แต่ท่านพูดว่า ‘ถ้าผู้ใดประพฤติตามคำ​​ของเรา ผู้นั้นจะไม่ได้ลิ้มความตายเลย’ 53ท่านเป็นใหญ่กว่าอับราฮัมบิดาของเราที่ตายไปแล้วหรือ? และพวกผู้เผยพระวจนะก็ตายไปแล้ว! ท่านเข้าใจว่าท่านเป็นใคร?54พระเยซูตรัสตอบว่า “ถ้าเราให้เกียรติตัวเราเอง เกียรติของเราก็ไม่มีความหมาย ผู้ที่ทรงให้เกียรติเราก็คือพระบิดาของเรา ผู้ที่พวกท่านกล่าวว่า‘พระองค์เป็นพระเจ้าของเรา 55แต่พวกท่านไม่รู้จักพระองค์ เรารู้จักพระองค์ ถ้าเรากล่าวว่าเราไม่รู้จักพระองค์ เราก็​​เป็นคนโกหกเหมือนพวกท่าน แต่เรารู้จักพระองค์ และประพฤติตามคำของพระองค์ 56อับราฮัมบิดาของพวกท่านชื่นชมยินดีที่เขาจะได้เห็นวันของเรา และเขาได้เห็นและมีความยินดี” 57พวกยิวจึงทูลพระองค์ว่า “ท่านอายุยังไม่ถึงห้าสิบปีเลย ท่านได้เห็นอับราฮัมแล้วหรือ?58พระเยซูจึงตรัสกับพวกเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านว่า ก่อนอับราฮัมเกิด เราเป็น” (ยอห์น 8:51-58 ฉบับ ESV)

 

      การโต้เถียงกับชาวยิว[102]เริ่มต้นด้วยคำประกาศของพระเยซูคริสต์ว่า “เราบอกความจริงกับพวกท่านว่า ถ้าผู้ใดประพฤติตามคำ​​ของเรา ผู้นั้นจะไม่เห็นความตายเลย” (ข้อ 51) คำกล่าวสำคัญคือ “ถ้าผู้ใดประพฤติตามคำ​​ของเรา” ถ้อยคำที่พระเยซูตรัสดังที่พระองค์ชี้ให้เห็นหลายครั้งนั้น ไม่ใช่ถ้อยคำของพระองค์เอง แต่เป็นถ้อยคำของพระบิดา การเชื่อฟังคำของพระเจ้าคือชีวิต การไม่เชื่อฟังคำก็คือความตายดังที่ชาวยิวรู้จากบทบัญญัติของพวกเขาเอง ในคำสนทนาของพระเยซูกับชาวยิวนั้น ใจความสำคัญคือการประพฤติตามคำของพระเจ้า พระเยซูทรงมีสิทธิอำนาจในการประกาศคำของพระเจ้าก็เพราะพระองค์ทรงประพฤติตาม ดังที่ตรัสว่า “แต่เรารู้จักพระองค์ และประพฤติตามคำของพระองค์” (ข้อ 55) พระเยซูทรงประกาศคำของพระเจ้าเช่นเดียวกับโมเสส แต่ในระดับที่สูงกว่าโมเสส อายุของพระเยซูซึ่งชาวยิวประมาณไว้มากไปว่าเกือบจะห้าสิบปีนั้นไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ โมเสสมีอายุประมาณแปดสิบปีเมื่อเขาเผชิญหน้ากับฟาโรห์ (อพยพ 7:7)

      สาระสำคัญหลักของเรื่องนี้ก็คือ ถ้อยคำของพระเจ้าได้ไปถึงชาวยิวทางพระเยซู แต่บรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพกลับสนใจเฉพาะสิ่งที่พวกเขาคิดว่าเป็นคำสำคัญคือ “ก่อนอับราฮัมเกิด เราเป็น”

      การอ่านยอห์น 8:58 ที่ถูกต้องจะต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงว่า “เราเป็น” ในยอห์น 8:58 ที่อยู่โดดๆ (โดยไม่มีส่วนเติมเต็มประธาน[103]ที่ชัดเจน) นั้นยังพบในข้อ 24 และ 28 ของบทเดียวกันด้วย (ข้อทั้งหมดมาจากฉบับ ESV) คำว่า “ผู้นั้น” ที่ขีดเส้นใต้ไม่ได้มีอยู่ในตัวบทภาษากรีก

 

ข้อ 24 “เราบอกพวกท่านแล้วว่า พวกท่านจะตายในการบาปของพวกท่านเพราะถ้าพวกท่านไม่เชื่อว่าเราเป็นผู้นั้น[104] พวกท่านก็จะ​​ตายในการบาปของตน”

ข้อ 28 “เมื่อพวกท่านได้ยกบุตรมนุษย์ขึ้น พวกท่านก็จะรู้ว่าเราเป็นผู้นั้น และเราไม่ได้ทำสิ่งใดด้วยอำนาจของเราเอง แต่พูดตามที่พระบิดาได้ทรงสอนเรา”

ข้อ 58 “เราบอกความจริงกับท่านว่า เราเป็น[105]ก่อนอับราฮัมเกิด”

 

      คำว่า “ผู้นั้น” (ดูที่ขีดเส้นใต้) ในข้อ 24 และข้อ 28 ไม่มีในภาษากรีก ดังนั้นทั้งสามข้อจึงมีคำว่า “เราเป็น” อยู่โดดๆในภาษากรีก พระคัมภีร์ส่วนใหญ่ (ฉบับ, ESV, KJV, NET, NIV, NRSV) จะเพิ่มคำว่า “ผู้นั้น” ในข้อ 24 และข้อ 28 ให้ดูเชื่อถือได้และพอฟังขึ้นเพื่อให้คำกล่าวว่า “เราเป็น” (“เราเป็นผู้นั้น”) เป็นตามความหมายที่ตั้งใจไว้ แต่กระนั้นพระคัมภีร์ฉบับเหล่านี้ก็ไม่ได้ทำอย่างเดียวกันกับข้อ 58

      พระเยซูคริสต์กำลังตรัสอะไรถึงตัวพระองค์เองเมื่อพระองค์ตรัสว่า “เราเป็นผู้นั้น” ในข้อ 24 และข้อ 28? มีผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพบางคนใช้หมายถึง “เราเป็นพระเจ้า” แต่คนอื่นๆต่างรู้ดีว่า การอ่านแบบนี้อาจเป็นปัญหาในข้อ 28 เพราะมันจะทำให้ “เราเป็น” มาอยู่ภายใต้ “อำนาจ” ของบุคคลอื่น ซึ่งไม่อาจเป็นจริงได้กับ “เราเป็น” ผู้ทรงฤทธานุภาพสูงสุด ดังนั้นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพบางคนจะอ่าน (พอฟังขึ้น) ข้อ 24 และข้อ 28 ให้หมายความว่า “เราคือพระเมสสิยาห์” ซึ่งจะสอดคล้องกับจุดประสงค์ของพระกิตติคุณยอห์นที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “เพื่อพวกท่านจะได้เชื่อว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์” (ยอห์น 20:31)[106] จอห์น คาลวิน ซึ่งเป็นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพกล่าวว่า มันน่าจะเป็น “ความผิดพลาด” ที่จะใช้ “เราเป็น” ในข้อ 24 เป็นการอ้างอิงถึง “แก่นแท้ในความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์” คาลวินยอมรับอย่างหนักแน่นว่าเป็น “เราเป็นพระเมสสิยาห์”

      ที่จริงถ้าข้อ 24 และข้อ 28 ประกาศว่าพระเยซูทรงเป็นพระเมสสิยาห์ แล้วข้อ 58 ล่ะ (“ก่อนอับราฮัมเกิด เราเป็น”)? มันอาจเป็นการประกาศในทำนองเดียวกันไหมว่าพระเยซูทรงเป็นพระเมสสิยาห์? นี่สนับสนุนโดยบริบทถัดมาว่า “อับราฮัมบิดาของพวกท่านชื่นชมยินดีที่เขาจะได้เห็นวันของเรา” (ข้อ 56) คำกล่าวที่ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพส่วนใหญ่เข้าใจว่าอับราฮัมมีนิมิตเกี่ยวกับพระเมสสิยาห์ในอนาคต

      ต่ถ้าเราใช้ยอห์น 8:58 เป็นการอ้างอิงถึงพระยาห์เวห์ว่าคือผู้เป็น “เราเป็น” ของอพยพ 3:14 มันก็จะมีสองวิธีหลักๆที่จะเข้าใจเรื่องนี้ วิธีหนึ่งก็คือการบอกว่าพระเยซูเป็นคนเดียวกันกับพระยาห์เวห์ผู้เป็น “เราเป็น” แต่นี่จะเป็นปัญหากับบรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพที่มองพระยาห์เวห์อย่างถูกต้องว่าเป็นพระเจ้าพระบิดา และไม่ใช่พระเจ้าพระบุตร ถ้าพระเยซูทรงเป็นพระยาห์เวห์จริงๆ นั่นจะเป็นการกีดกันพระบิดาว่าเป็นพระยาห์เวห์ (เนื่องจากเฉลยธรรมบัญญัติ 6:4[107] ซึ่งกล่าวว่ามีเพียงพระยาห์เวห์เดียว) แล้วยังกีดกันว่าเป็นพระเจ้าอีกด้วย (เนื่องจากอิสยาห์ 45:5 ซึ่งกล่าวว่าไม่มี   พระเจ้าอื่นใดนอกจากพระยาห์เวห์)[108]

      “เราเป็น” ไม่ใช่ชื่อทั่วไปของพระเจ้า แต่เป็นชื่อเฉพาะของพระยาห์เวห์ (“พระองค์ผู้ทรงพระนามว่า เราเป็น ทรงใช้ข้าพเจ้ามาหาท่านทั้งหลาย” อพยพ 3:14) ถ้าพระเยซูทรงอ้างว่าเป็นผู้ที่ “เราเป็น” พระองค์ก็กำลังอ้างว่าทรงเป็นพระยาห์เวห์พระเจ้า พระเยซูผู้ไม่ได้ทรงยึดฉวยที่จะเท่าเทียมกับพระเจ้า (ฟีลิปปี 2:6)[109] ตอนนี้กำลังประกาศตัวพระองค์เองต่อสาธารณชนว่าเป็นพระเจ้าองค์เดียวของอิสราเอล! ความตั้งพระทัยเช่นนี้ในส่วนของพระเยซูสามารถถูกตัดโอกาสด้วยฟีลิปปี 2:6 แต่ก็ถูกตัดโอกาสพอกันด้วยข้อเท็จจริงที่ว่ามีเพียงพระยาห์เวห์เท่านั้นเป็นพระเจ้า (อิสยาห์ 45:5)

      อีกวิธีหนึ่งในการอธิบาย “เราเป็น” จากยอห์น 8:58 ว่าหมายถึงพระยาห์เวห์ก็คือวิธีที่สอดคล้องกับพระกิตติคุณยอห์นทั้งหมด ในยอห์น 8:58 พระยาห์เวห์กำลังตรัสโดยตรงผ่านพระเยซูเพื่อตรัสกับชาวยิวว่า “ก่อนอับราฮัมเกิด เราเป็น” นี่เป็นการอ้างอิงโดยตรงถึงสิ่งที่พระยาห์เวห์ได้ตรัสโมเสสก่อนหน้านี้เกี่ยวกับพระนามของพระองค์

 

พระเจ้า​​ตรัสกับโมเสสว่า “เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น” แล้วพระองค์ก็ตรัสว่า “จงไปบอกประชาชนอิสราเอลอย่างนี้ว่า ‘พระองค์ผู้ทรงพระนามว่า เราเป็น ได้ทรงใช้ข้าพเจ้ามาหาท่านทั้งหลาย’” (อพยพ 3:14)

 

      ในยอห์น 8:58 พระยาห์เวห์ตรัสพระนามของพระองค์กับคนอิสราเอล ไม่ใช่จากพุ่มไม้ที่มีไฟลุกโชน แต่ผ่านทางพระเยซูผู้ที่พระเจ้าทรงส่งมา สิ่งนี้ยืนยันโดยข้อ 28 จากบทเดียวกันที่พระเยซูตรัสว่าพระองค์ “พูดตามที่พระบิดาทรงสอนเรา” (ยอห์น 8:58) นี่คล้ายกับกรณีของยอห์น 2:19 ที่พระเจ้าตรัสโดยตรงผ่านพระเยซูว่า “ทำลายวิหารนี้ แล้วเราจะยกขึ้น​​ใหม่ในสามวัน” (กรณีพิเศษนี้จะกล่าวถึงในบทต่อไป)

      ทั้งหมดนี้สอดคล้องกับความจริงที่ได้กล่าวซ้ำๆหลายครั้งในพระกิตติคุณยอห์นว่า พระเยซูตรัสถ้อยคำของพระบิดา

 

ถ้อยคำที่พวกท่านได้ยินนี้ไม่ใช่คำของเรา แต่เป็นถ้อยคำของพระบิดาผู้ทรงใช้เรามา (ยอห์น 14:24 ฉบับ ESV)

เพราะเราไม่ได้พูดด้วยอำนาจของเราเอง แต่พระบิดาผู้ทรงใช้เรามาได้​​บัญชาเราว่าจะกล่าวอะไรหรือพูดอะไร และเรารู้ว่าพระบัญชาของพระองค์นั้นคือชีวิตนิรันดร์ ดังนั้นสิ่งที่เราพูด เราก็พูดตามที่พระบิดาได้ทรงบอกเรา” (ยอห์น 12:49-50 ฉบับ ESV)

 

      าวยิวเข้าใจพระเยซูองค์ผู้เป็นเจ้าผิด เมื่อพระองค์ตรัสกับพวกเขาว่า “อับราฮัมบิดาของพวกท่าน ชื่นชมยินดีที่เขาจะได้เห็นวันของเรา และเขาก็เห็นแล้วและมีความยินดี” (ยอห์น 8:56) พวกเขาจึงถามพระองค์ว่า “ท่านอายุยังไม่ถึงห้าสิบปีเลย ท่านได้เห็นอับราฮัมแล้วหรือ?” (ข้อ 57)

      แต่พระเยซูไม่เคยตรัสว่าพระองค์เคยเห็นอับราฮัม แต่ตรัสว่า “อับราฮัมบิดาของพวกท่าน ชื่นชมยินดีที่เขาจะได้เห็นวันของเรา” คือวันที่ยกย่องพระเยซูว่าเป็นพระเมสสิยาห์ของพระเจ้า (มุมมองที่ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพหลายคนยึดถือ) อับราฮัมได้เห็นพระเมสสิยาห์ในอนาคตแวบหนึ่งและชื่นชมยินดีกับสิ่งที่เขาได้เห็น ท้ายที่สุดอับราฮัมเป็นคนที่เฝ้าคอย “นครที่ตั้งอยู่บนรากฐานซึ่งพระเจ้าทรงเป็นสถาปนิกและทรงเป็นผู้สร้าง” (ฮีบรู 11:10) นี่คือนครในสวรรค์ที่พระคริสต์จะทรงปกครองเหนือจักรวาลในฐานะผู้แทนของพระยาห์เวห์

      พระเยซูไม่เคยตรัสว่าอับราฮัมได้เห็นพระองค์ด้วยตาเปล่าของเขา แต่ตรัสว่าอับราฮัมเห็น “วันของเรา” ซึ่งบรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพและผู้ไม่เชื่อในตรีเอกานุภาพยอมรับอย่างเดียวกันโดยไม่มีข้อโต้แย้งว่าหมายถึงว่า โดยความเชื่อ อับราฮัมได้เห็นนิมิตที่ปลื้มปีติยินดีเกี่ยวกับพันธกิจแห่งความรอดของพระเมสสิยาห์ที่จะเสด็จมา[110]

      การเปรียบเทียบคำกล่าวว่า “ก่อนอับราฮัมเกิด เราเป็น” กับ “เราเป็น” ที่กล่าวในพระกิตติคุณยอห์น[111]แสดงให้เห็นว่า “เราเป็น” คำกล่าวแรกนั้นแตกต่างอย่างแท้จริงจากคำกล่าวอันหลัง คำว่า “เราเป็น” ที่กล่าวโดยทั่วไปเป็นภาพของพระเยซูที่ทรงเป็นความสว่าง เป็นประตู เป็นผู้เป็นขึ้นจากตาย และอื่นๆ แต่คำกล่าวว่า “เราเป็น” ในยอห์น 8:58 มีลักษณะเฉพาะและอยู่ได้เดี่ยวๆ

 

ความคิดเห็นเพิ่มเติม (เลือกอ่านได้)

      หลายคนใช้คำประกาศว่า “เราเป็น” ของพระเยซูในยอห์น 8:58 เป็นการอ้างถึงความเป็นพระเจ้า เพราะมีความคล้ายคลึงกับคำว่า “เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น” ที่ตรัสโดยพระยาห์เวห์ในอพยพ 3:14 ถ้าเราจำกัดการวิเคราะห์ของเรากับตัวบทฉบับภาษากรีก (พระคัมภีร์ใหม่และพระคัมภีร์เดิมฉบับเซปทัวจินต์) ไม่ใช่กับฉบับภาษาฮีบรู (ฉบับ MT)[112]แล้วละก็ การเปรียบ “เราเป็น” ของยอห์น 8:58 (“ก่อนอับราฮัมเกิด เราเป็น”) ให้เท่ากับ “เราเป็น” ของอพยพ 3:14 จะไม่สามารถทำต่อไปได้บนพื้นฐานของคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกันเท่านั้น

      จากหลายๆตัวอย่างของ “เราเป็น” ในพระกิตติคุณยอห์น ตัวอย่างหนึ่งผู้พูดคือชายตาบอดที่พระเยซูได้ทรงรักษาเขาให้หาย เมื่อคนถามเขาว่า เขาเป็นคนตาบอดที่พวกเขารู้จักมาก่อนหรือไม่ เขาตอบว่า “ข้าพเจ้าเป็น” (I am ยอห์น 9:9) ฉบับแปลภาษาอังกฤษส่วนใหญ่จะขยายส่วนนี้เป็น “ข้าพเจ้าเป็นคนนั้น (I am he)” หรือ “ข้าพเจ้าคือผู้นั้น (I am the one)” หรือ “ข้าพเจ้าเป็นชายคนนั้น (I am the man)” ในภาษากรีกคือคำ egō eimi (ἐγώ εἰμι) ที่ชายคนนั้นพูดก็เหมือนกับคำว่า “เราเป็น” (I am) ที่พระเยซูตรัสในยอห์น 8:58 ในฉบับเซปทัวจินต์ (ฉบับ LXX)[113] เราจะพบการใช้ egō eimi โดดๆที่คล้ายกันใน 2 ซามูเอล 2:20 (อาสาเฮลกล่าวกับอับเนอร์ว่า “I am”, ข้าเอง)[114]

      แต่มีโครงสร้างภาษากรีกอีกแบบของ “เราเป็น” คือ ho ōn ( ν) ซึ่งแตกต่างจาก egō eimi ที่ตรัสโดยพระเยซู ในอพยพ 3:14 ฉบับ LXX นั้น เมื่อพระยาห์เวห์ตรัสว่า “เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น” โดยที่ “เราเป็น” อันแรกคือ egō eimi ในขณะที่ “เราเป็น” อันที่สองคือ ho ōn พระยาห์เวห์ไม่ได้แค่ตรัสว่า egō eimi (“I am”) พระองค์ตรัสว่า egō eimi ho ōn ที่มักแปลว่า “เราเป็นอย่างที่เราเป็น (I am that I am)” หรือ “เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น (I am who I am)” นั่นคือ “ผู้ที่เป็นอยู่ หรือดำรงอยู่” พูดอีกอย่างหนึ่งคือ คำกล่าวของพระยาห์เวห์ว่า “เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น” ในอพยพ 3:14 นั้นยาวกว่าคำกล่าวของพระเยซูว่า “เราเป็น” ในยอห์น 8:58 ในคำกล่าวว่า “เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น” ของอพยพ 3:14 นั้น “เราเป็น” (I am, egō eimi) อันแรก เป็นเพียงการเกริ่นถึง “เราเป็น” (ho ōn) อันที่สองและอันที่กำหนดไว้ จากข้อมูลที่ผ่านมานั้นเป็น “เราเป็น” (ho ōn) อันที่สอง ซึ่งไม่ใช่อันแรก (egō eimi) ที่เห็นได้ชัดว่าเป็นคำพูดที่พูดกันบ่อยๆถึง “พระเจ้า” ในหมู่ชาวยิวที่พูดภาษากรีก (เช่น ชีวิตโมเสสของไฟโล และคู่มือทำความเข้าใจไฟโลของเคมบริดจ์, หน้า 198)[115]

      ในทำนองเดียวกันกับในอพยพ 3:14 เมื่อพระยาห์เวห์ตรัสสั่งโมเสสให้พูดกับชนอิสราเอลว่า “เราเป็น ได้ทรงใช้ข้าพเจ้ามาหาท่านทั้งหลาย”คำว่า “เราเป็น” นี้คือคำที่กำหนดไว้ว่า ho ōn แทนที่จะเป็นคำ egō eimi ที่พระเยซูตรัสในยอห์น 8:58

      ในเมื่อความแตกต่างของเราระหว่าง egō eimi และ ho ōn ขึ้นอยู่กับภาษากรีก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับภาษาฮีบรู ถ้าเช่นนั้นมันมีความเกี่ยวข้องใดๆกับอพยพ 3:14 (“เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น”) หรือไม่? ก็อาจเป็นไปได้และด้วยเหตุผลที่นึกไม่ถึง ในวิวรณ์ 1:4 (“ผู้ทรงเป็นอยู่ ผู้ทรงเคยเป็นอยู่ และผู้ที่จะเสด็จมา” ซึ่งพระเจ้าเป็นผู้ตรัส ไม่ใช่พระเยซูตรัส) ยอห์นพ่วงคำ ho ōn ในรูปกรรตุการกซึ่งเป็นประธานของประโยคกับคำบุพบท apo แม้ว่า apo จะเรียกร้องสัมพันธการกซึ่งบอกความเป็นเจ้าของ ความผิดปกติทางไวยากรณ์ที่โดดเด่นนี้ อาจเป็นการตั้งใจพาดพิงถึงอพยพ 3:14 ความเป็นไปได้ที่ยอห์นกำลังทำให้เห็นความต่างกันเด่นชัดขึ้นระหว่าง egō eimi โดยทั่วไป กับ ho ōn ที่ (เป็นไปได้ว่า) มีนัยสำคัญทางศาสนศาสตร์ในวิวรณ์ 1:4 นั้นหมายความว่า การใช้ egō eimi ของพระเยซูแทนที่จะเป็น ho ōn ในยอห์น 8:58 นั้นอาจมีนัยสำคัญ และอาจให้การสนับสนุนมุมมองของผู้เชื่อตรีเอกานุภาพในข้อนี้น้อยกว่าที่บรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพได้เชื่อกันโดยทั่วไป


[1] Bar Kochba

[2] Rabbi Akiba

[3] ดูบทความ “พระซุส” และ “พระเฮอร์เมส” ในวิกิพีเดียสำหรับการโต้ตอบอย่างเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเทพเจ้ากรีกสององค์ที่มีชื่อเสียงนี้

[4] ตัวอย่างของการยกพระเยซูขึ้นเป็นพระเจ้าช่วงแรกๆในศตวรรษที่สอง: “แต่กระนั้นก็ตาม พระองค์ทรงเป็นพระเจ้า โดยที่พระองค์ทรงเป็นผู้บังเกิดก่อน (บุตรหัวปีของ) สรรพสิ่งที่ทรงสร้าง” (จัสตินผู้พลีชีพ, ราว ค.ศ. 160); “พระเจ้าผู้ถูกปลงพระชนม์” (เมลิโต, ราว ค.ศ. 170); “พระองค์ทรงเป็นพระเจ้า เพราะชื่ออิมมานูเอลบ่งชี้สิ่งนี้” (ไอเรเนียส, ราว ค.ศ. 180) พจนานุกรมเกี่ยวกับความเชื่อของคริสเตียนยุคแรก, หน้า 94, 95, เดวิด ดับบลิว เบอร์คอท ผู้รวบรวม

[5] Nicene creed of 325

[6] Niceno-Constantinopo­litan creed of 381 คือหลักข้อเชื่อไนเซียที่แก้ไขในปี ค.ศ. 381 (ผู้แปล)

[7] Council of Constantinople; Theodosius I

[8] คำฮีบรูที่แปลว่า “องค์ผู้เป็นเจ้า” (ผู้แปล)

[9] หรือ “ผู้ไกล่เกลี่ย”; ผู้ที่ไม่ใช่ชาวคาทอลิกส่วนใหญ่จะไม่รู้ถึงสถานะที่สูงของชื่อเรียก “ผู้กลางที่เป็นหญิง” ซึ่งวิกิพีเดียได้อธิบายไว้ดีมากในหัวข้อ “Mediatrix: “ชื่อเรียกผู้กลางที่เป็นหญิงนี้ถูกใช้ในศาสนศาสตร์คริสเตียนส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระแม่มารีย์ของนิกายโรมันคาทอลิก เพื่ออ้างถึงบทบาทของพระแม่มารีย์ในการทูลวิงวอนในฐานะของคนกลางในการไถ่ที่นำไปสู่ความรอดโดยพระเยซูคริสต์บุตรของเธอ และที่พระองค์ประทานพระคุณผ่านทางเธอ” หัวข้อเดียวกันนี้กล่าวถึงคำกล่าวเรื่อง “ผู้กลางหญิงแห่งความเมตตา” โดยพระสันตะปาปาจอห์นปอลที่สองว่า: “ด้วยเหตุนี้จึงมีคนกลางมาไกล่เกลี่ย: มารีย์เป็นคนกลางระหว่างบุตรของเธอกับมวลมนุษย์ในความเป็นจริงตามความต้องการ ความจำเป็น และความทุกข์ยากของพวกเขา เธอเอาตัวเองมาอยู่ตรงกลาง กล่าวคือ เธอทำตัวเป็นผู้กลางที่ไม่ใช่ในฐานะของคนนอก แต่ในฐานะของเธอที่เป็นแม่”

[10] James D.G. Dunn (The New International Greek Testament Commentary, Col.1:16)

[11] Philo's De Cherubim

[12] วิวรณ์ 16:13 “และข้าพเจ้าเห็นวิญญาณโสโครกสามดวง รูปร่างเหมือนอย่างกบ ออกจากปากพญานาค จากปากสัตว์ร้าย และจากปากผู้เผยพระวจนะเท็จ”

[13] วิวรณ์ 16:14,16 “เพราะว่าวิญญาณเหล่านี้เป็นผีที่ทำหมายสำคัญ พวกมันออกไปหากษัตริย์ทั้งหลายทั่วโลก เพื่อรวบรวมกษัตริย์เหล่านั้นไปทำสงคราม (ยังสถานที่หนึ่งซึ่งเรียกตามภาษาฮีบรูว่า อารมาเกดโดน) ในวันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพสูงสุด”

[14] มาระโก 7:13 “พวกท่านจึงทำให้พระวจนะของพระเจ้าเป็นโมฆะด้วยคำสอนจากบรรพบุรุษที่พวกท่านรับและสอนต่อๆกันมา”

[15] Father John L. McKenzie

[16] ยอห์น 4:24 “พระเจ้าเป็นพระวิญญาณ และคนที่นมัสการพระองค์จะต้องนมัสการด้วยจิตวิญญาณและความจริง”

[17] ยอห์น 15:26 “เราจะส่งองค์ที่ปรึกษาจากพระบิดามาหาพวกท่าน คือพระวิญญาณแห่งความจริงซึ่งออกมาจากพระบิดา

[18] The Complete Jewish Bible

[19] ยอห์น 7:38-39 “ผู้ใดก็ตามที่เชื่อในเรา สายธารซึ่งมีน้ำที่ให้ชีวิตจะไหลออกมาจากภายในผู้นั้น” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)

[20] พจนานุกรมศาสนศาสตร์ฉบับอีแวนเจลิคอล (1984), หัวข้อ พระวิญญาณบริสุทธิ์ กล่าวว่า “ในพระคัมภีร์เดิม พระวิญญาณขององค์ผู้เป็นเจ้านั้น (ruach yhwh; LXX, to pneuma kyriou) โดยทั่วไปแล้วเป็นการแสดงถึงฤทธิ์อำนาจของพระเจ้า เป็นส่วนขยายของพระองค์เอง โดยที่พระองค์ทรงกระทำการที่ยิ่งใหญ่มากมายของพระองค์”

[21] ลูกา 1:35; 4:14; กิจการ 1:8; 10:38; โรม 15:13, 19; 1 โครินธ์ 2:4; เอเฟซัส 3:16; 1 เธสะโลนิกา 1:5

[22] ลูกา 4:14 พระเยซูเสด็จกลับไปที่แคว้นกาลิลีด้วยฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณ

[23] Gnosticism คือความเชื่อว่าความรู้เป็นทางไปสู่ความรอด (ผู้แปล)

[24] กาลาเทีย 1:6 “ข้าพเจ้ารู้สึกประหลาดใจที่พวกท่านด่วนละทิ้งพระองค์ผู้ซึ่งทรงเรียกท่านมาโดยพระคุณของพระคริสต์ และหันไปหาข่าวประเสริฐอื่นเสีย”

[25] form of God”, “image of God”

[26] 1 ทิโมธี 2:14 “และอาดัมไม่ได้ถูกล่อลวง แต่ผู้หญิงถูกล่อลวงและทำบาป”

[27] ปฐมกาล 3:22 แล้วพระยาห์เวห์พระเจ้าตรัสว่า “ดูสิ มนุษย์กลายเป็นเหมือนผู้หนึ่งในพวกเราแล้ว โดยที่รู้ความดีและความชั่ว”

[28] สารานุกรมพระคัมภีร์ ISBE (The International Standard Bible Encyclopedia), หัวข้อ “บารับบัส” กล่าวว่า: “ออริเกน [นักวิจารณ์ตัวบทที่มีชื่อเสียงที่สุดของคริสตจักรยุคแรกๆ] รู้และไม่ได้คัดค้านการอ่านมัทธิว 27:16,17 ที่มีชื่อ “เยซูบารับบัส” เลย ...นอกจากนี้ก็ยังพบในฉบับคัดลายมือไม่กี่ฉบับและในฉบับภาษาอาราเมค และฉบับเยรูซาเล็มภาษาซีเรียโบราณ”

[29] CJB (Complete Jewish Bible), NIV (New International Version), NET (New English Translation), NRSV (New Revised Standard Version) -ผู้แปล

[30] 2 โครินธ์ 11:5 “เพราะข้าพเจ้าคิดว่าข้าพเจ้าไม่ด้อยกว่าอัครทูตพิเศษเหล่านั้นแม้แต่น้อยเลย”

[31] Walter Schmithals (The Office of Apostle in the Early Church, p.178)

[32] Docetism คือความเชื่อว่าพระคริสต์ไม่ได้มีร่างกายของมนุษย์ แต่เป็นกายวิญญาณที่ทุกข์ทรมานและตายบนกางเขน (ผู้แปล)

[33] สารานุกรมพระคัมภีร์ของซอนเดอร์วาน, “ซีโมนคนเล่นคาถาอาคม” สำหรับซีโมนคนเล่นคาถาอาคมที่เป็นผู้เชื่อแบบนอสติกผู้โด่งดังในคำสอนที่ตกทอดของคริสตจักรยุคแรกนั้นให้ดูหัวข้อ “ซีโมนคนเล่นคาถาอาคม” และ “หลักความเชื่อแบบนอสติกกับพระคัมภีร์ใหม่” ในวิกิพีเดีย

[34] ลูกา 22:69 อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่นี้ไปบุตรมนุษย์จะนั่งด้านขวาของพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพ”

[35] ยอห์น 14:28 “ถ้าพวกท่านรักเรา ท่านก็จะชื่นชมยินดีที่เราไปหาพระบิดา เพราะพระบิดาทรงยิ่งใหญ่กว่าเรา”

[36] eter­nal generation คำสอนว่าพระบุตรบังเกิดมาจากพระบิดาตั้งแต่นิรันดร์กาล ดังนั้นจึงดำรงอยู่นิรันดร์ด้วยกันกับพระบิดา

[37] สตีเฟ่น ฮอว์คิง, ประวัติโดยย่อของกาลเวลา (หน้า 66) และ จักรวาลโดยย่อ (หน้า 23), ฉบับรวมเล่ม, สำนักพิมพ์แบนตัม, นิวยอร์ก, 2010

[38] 2 เปโตร 3:10 แต่วันขององค์พระผู้เป็นเจ้านั้น จะมาถึงเหมือนอย่างขโมย และในวันนั้น ฟ้าจะหายลับไปด้วยเสียงดังกึกก้อง และโลกธาตุจะสลายไปด้วยไฟ และแผ่นดินกับสิ่งสารพัดที่มีอยู่บนนั้นจะถูกเผาจนหมดสิ้น

[39] สดุดี 95:3 “เพราะพระยาห์เวห์ทรงเป็นพระเจ้าใหญ่ยิ่ง และทรงเป็นกษัตริย์ใหญ่ยิ่งเหนือพระทั้งหลาย

[40] Doulos คือ “ทาส” หรือ “คนรับใช้” และคำประกาศว่า “ผู้ทรงใช้เรามา” มีปรากฏหลายครั้งในพระกิตติคุณยอห์น รวมถึง 10 ครั้งแค่ในบทที่ 6 ถึง 8 อย่างเดียว: 6:38, 39, 44; 7:16, 28, 33; 8:16, 18, 26, 29

[41] 1 โครินธ์ 11:3 “แต่ขอให้ท่านตระหนักว่าพระคริสต์ทรงเป็นศีรษะของชายทุกคนและชายเป็นศีรษะของหญิง และพระเจ้าทรงเป็นศีรษะของพระคริสต์ (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)

[42] เปรียบเทียบยอห์น 6:15 ทรงทราบว่าพวกเขาจะมาจับพระองค์ไปตั้งให้เป็นกษัตริย์ พระองค์ก็เสด็จขึ้นไปบนภูเขาอีกตามลำพัง

[43] โยบ 33:12 “ดูเถิด ในเรื่องนี้ท่านผิด ข้าพเจ้าจะตอบท่าน พระเจ้าใหญ่ยิ่งกว่ามนุษย์

[44] ESV Study Bible (English Standard Version)

[45] Frédéric Louis Godet

[46] ยอห์น 5:27 “และทรงให้พระบุตรมีสิทธิอำนาจที่จะทำการพิพากษาเพราะพระองค์ทรงเป็นบุตรมนุษย์”

[47] กิจการ 9:29 “ประกาศออกพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้าด้วยใจกล้าหาญ ท่านพูดและโต้แย้งกับพวกยิวที่พูดกรีก แต่พวกนั้น พยายามหาทางฆ่าท่านเสีย”

[48] Melito of Sardis; Tertullian

[49] ditheism; binitarianism

[50] อิสยาห์ 45:5 “เราคือพระยาห์เวห์ ไม่มีใครอื่น นอกจากเราแล้ว ไม่มีพระเจ้าอื่นใด (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)

[51] New Jerusalem Bible and Holman Christian Standard Bible

[52] 2 โครินธ์ 11:31พระเจ้าคือพระบิดาของพระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสมควรแก่การสรรเสริญเป็นนิตย์

[53] เอเฟซัส 4:6 “พระเจ้าองค์เดียวผู้เป็นพระบิดาของทุกคน ทรงมีอำนาจเหนือสรรพสิ่ง ทรงทำการผ่านสรรพสิ่งและทรงอยู่ในทุกคน

[54] 1 ยอห์น 5:18 เรารู้ว่าทุกคนที่เกิดจากพระเจ้าไม่ทำบาป แต่พระองค์ผู้ทรงบังเกิดจากพระเจ้าทรงคุ้มครองรักษาเขา”

[55] กิจการ 14:12เขาทั้งหลายจึงเรียกบารนาบัสว่า พระซุส และเรียกเปาโลว่า พระเฮอร์เมส”

[56] Ante-Nicene Fathers

[57] The Discourse on the Cross

[58] Bob Theil

[59] Bart Ehrman

[60] หนังสือของเดวิด โรกีห์ เรื่องการต่อต้านชาวยิวตลอดยุคสมัย (หน้า 57) และความเกลียดชังที่น่ากลัว: คริสต์ศาสนา, การต่อต้านชาวยิวและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ของโรเบิร์ต มิเชล (หน้า 19)

[61] Robert Michel’s Holy Hatred: Christianity, Antisemitism, and the Holocaust.

[62] Jerome

[63] John Chrysostom

[64] Ephraem of Syria

[65] De Spectaculis

[66] Ambrose; Theodosius

[67] theologia crucis

[68] Judeo-Christian คือค่านิยมที่เป็นของศาสนายูดาห์และต่อมาได้ปรับใช้ในศาสนาคริสต์ เป็นความเชื่อที่มีรากฐานมาจากพระคัมภีร์เดิมหรือพระคัมภีร์ทานัค (ผู้แปล)

[69] Ante-Nicene Fathers (10 volumes)

[70] Ni­cene and Post-Nicene Fathers (28 volumes)

[71] David Bercot’s Dictionary of Early Christian Beliefs

[72] Origen

[73] Apostolic Constitu­tions

[74] ฮีบรู 4:15 “เพราะว่าเราไม่ได้มีมหาปุโรหิตที่ไม่สามารถจะเห็นใจในความอ่อนแอของเรา แต่ทรงเคยถูกทดลองใจเหมือนเราทุกอย่าง ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังปราศจากบาป”

[75] Nestorius

[76] หรือแปลว่า “ดีพร้อม” (ผู้แปล)

[77] 1 โครินธ์ 2:16 “ใครเล่ารู้พระทัยขององค์พระผู้เป็นเจ้า? เพื่อจะแนะนำสั่งสอนพระองค์ได้” แต่เราก็มีพระทัยของพระคริสต์

[78] รม 9:3 “พร้อมที่จะถูกสาป และถูกตัดขาดจากพระคริสต์เพราะเห็นแก่พี่น้องของข้าพเจ้า”

[79] 1 โครินธ์ 15:45 ดังที่เขียนไว้ว่า “มนุษย์คนแรกคืออาดัม จึงเป็นผู้มีชีวิต” แต่อาดัมสุดท้ายนั้นเป็นวิญญาณผู้ประทานชีวิต

[80] Wayne Grudem’s Systematic Theology: An Introduc­tion to Biblical Doc­trine

[81] เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่เกี่ยวดองกับภาษาฮีบรู (ผู้แปล)

[82] Wayne Grudem in Systematic Theology

[83] ลูกา 2: 52 พระเยซูทรงเติบโตขึ้นทั้งในด้านสติปัญญาและด้านร่างกาย และทรงเป็นที่ชื่นชมทั้งของพระเจ้าและของคนทั้งหลาย

[84] ยอห์น 2:25 พระองค์ทรงรู้จักมนุษย์ทุกคน ไม่จำเป็นที่​​ใครจะ​​เป็นพยานเรื่องมนุษย์ พระองค์เองทรงทราบว่าอะไรอยู่ในตัวมนุษย์”

[85] กาลาเทีย 4:4 “แต่เมื่อถึงกำหนด พระเจ้าได้ทรงส่งพระบุตรของพระองค์มาประสูติจากครรภ์ของผู้หญิง ถือกำเนิดภายใต้บท บัญญัติ” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)

[86] เรื่องราวของความขัดแย้งที่ยืดเยื้อนี้ดูได้ในหนังสือของฟีลิป เจนกิ้น ที่ชื่อสงครามเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์: วิธีการที่สี่พระสังฆราช สามพระราชินีและสองจักรพรรดิตัดสินใจว่าคริสเตียนจะเชื่ออะไรในอีก 1,500 ปีข้างหน้า ชื่อย่อยยาวๆของหนังสือเล่มนี้ไม่ได้มุ่งหมายเพื่อจะให้เป็นเรื่องตลกหรือน่าขบขัน แต่เป็นเรื่องจริง; โดยผู้เขียนมีตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยถึงสองแห่ง

[87] Communicatio idiomatum เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของพระเจ้าและมนุษย์ในองค์พระเยซูคริสต์ (ผู้แปล)

[88] นักศาสนศาสตร์บางคนนิยามการร่วมคุณสมบัติว่า “การส่งต่อคุณสมบัติหรือภาคแสดงที่บอกคุณสมบัติ” (เช่น พจนานุกรมศาสนศาสตร์ฉบับเวสมินเตอร์, รวบรวมโดยจัสโต กอนซาเลซ, หน้า 256) ซึ่งเทียบเท่ากับ “the communication of idioms

[89] hypostatic union

[90] หรือ “ดีพร้อมแล้ว” (ผู้แปล)

[91] โรม 5:18-19 “ฉะนั้นการลงโทษได้มาถึงทุกคนเพราะการละเมิดครั้งเดียวอย่างไร การกระทำอันชอบธรรมครั้งเดียว ก็นำความชอบธรรมและชีวิตมาถึงทุกคนอย่างนั้น เพราะว่าคนจำนวนมากเป็นคนบาป เพราะคนคนเดียวที่ไม่เชื่อฟังอย่างไร คนจำนวนมากก็เป็นคนชอบธรรม เพราะพระองค์ผู้เดียวที่ได้ทรงเชื่อฟังอย่างนั้น”

[92] สภาสังคายนาแห่งคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่ 3 (680-681) กล่าวว่าพระเยซูทรงมีสองใจปรารถนาของพระเจ้าและของมนุษย์ และประณามความเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียว หลักคำสอนของใจปรารถนาเดียวในพระคริสต์ (สารานุกรมประวัติศาสตร์ของคริสตจักรฉบับนิยม, หน้า 129, สภาสังคายนาของนิกายคริสเตียนทั้งหมด) เรื่องราวเชิงลึกของสภานี้ดูได้ในบทที่ 7 หัวข้อพระเจ้าที่แท้จริงและมนุษย์ที่แท้จริง: เรื่องราวของพระคริสต์และสภาสังคายนาทั้งเจ็ดของนิกายคริสเตียนทั้งหมด แต่จากหลักความเชื่ออย่างเป็นทางการ (ดูหลักความเชื่อ สภาสังคายนา และข้อโต้แย้งต่างๆ: เอกสารแสดงภาพประกอบประวัติศาสตร์ของคริสตจักร, ค.ศ. 337-461) เป็นเรื่องยากที่จะเห็นว่า ใจปรารถนาของมนุษย์ของพระเยซูสามารถทำงานอย่างมีอิสระโดยไม่ขึ้นกับพระทัยปรารถนาของพระเจ้าได้อย่างไร ความยุ่งยากของหลักคำสอนเรื่องใจปรารถนาสองอย่างในพระคริสต์ (dyothelitism) ก็คือ มันบ่งบอกถึงสองบุคคลในพระคริสต์ หรือไม่ก็เป็นผู้ป่วยจิตเภทหนึ่งคนในพระคริสต์ นี่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่ค่อยมีการกล่าวถึงหลักคำสอนเรื่องใจปรารถนาสองอย่างในพระคริสต์ในปัจจุบัน นอกหนังสือประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสภาสังคายนาต่างๆ

[93] Alexandrian theology; Antio­chene theo­logy

[94] หลักคำสอนตามแบบยูทีเคสแห่งคอนสแตนติโนเปิลและความเชื่อตามแบบเนสโตเรียส ที่ถูกประณามในสภาสังคายนาแห่งแคลซีดอน (451) ซึ่งสอนเกี่ยวกับพระคริสต์องค์เดียวในสองธรรมชาติที่รวมเป็นหนึ่งในบุคคลเดียวหรือการดำรงอยู่ร่วมกัน แต่ยังคง ‘ไม่มีความสับสน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการแตกแยก ไม่มีการแยกจากกัน’” (พจนานุกรมศาสนศาสตร์ฉบับอีแวนเจลิคอล, หัวข้อ การศึกษาเกี่ยวกับพระคริสต์, หน้า 225)

[95] แคลเรนซ์ เอ็ม เบอร์ด, พระเจ้าที่เที่ยงแท้เพียงองค์เดียว, หน้า 179, 1956 หนังสือเล่มนี้ซึ่งเขียนขึ้นจากมุมมองของผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพ ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับประเด็นของวิทยาศาสตร์และศาสนาที่แพร่หลายมากกว่าครึ่งศตวรรษก่อน

[96] มัทธิว 24:24 เพราะว่าจะมีพระคริสต์เทียมเท็จและผู้เผยพระวจนะเทียมเท็จหลายคนปรากฏขึ้น แสดงหมายสำคัญและการ       อัศจรรย์ที่ยิ่งใหญ่ เพื่อล่อลวงแม้พวกที่พระเจ้าทรงเลือกถ้าเป็นได้

[97] ตัวเลขนี้มาจากสารานุกรมสองฉบับเกี่ยวกับศาสนาที่ระบุปี 2007 สารานุกรมศาสนาต่างๆของโลก (หน้า 87) กล่าวว่า “ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีประมาณสองพันล้านคนซึ่งเป็นจำนวนราวๆหนึ่งในสามของประชากรโลกที่อย่างน้อยก็ได้ชื่อว่าเป็นคริสเตียนหรือมีพื้นหลังวัฒนธรรมคริสเตียน “ศาสนาต่างๆของโลก: กาลานุกรม (เล่ม 1, หน้า 119) กล่าวว่า “นอกจากจะเป็นศาสนาที่แบ่งแยกมากที่สุดในโลกแล้ว ศาสนาคริสต์ยังเป็นศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีผู้ติดตามถึง 2.1 พันล้านคน มีผู้เชื่ออาศัยอยู่ทั่วโลกแต่ที่มีคริสเตียนหนาแน่นที่สุดคือยุโรป อเมริกาเหนือและใต้ สหรัฐอเมริกามีจำนวนคริสเตียนมากที่สุดโดยมีประชากรร้อยละ 85 หรือ 225 ล้านคนที่อ้างตัวว่าเป็นคริสเตียน พื้นที่อื่นๆส่วนใหญ่ของประชากรคริสเตียนที่รวมยุโรปจะมีประมาณ 550 ล้านคน; ละตินอเมริกามีประมาณ 450 ล้านคน; แอฟริกามีประมาณ 350 ล้านคน; และเอเชียมีประมาณ 310 ล้านคน”

[98] ลูกา 12:48 “แต่คนที่ไม่รู้ แล้วทำสิ่งที่สมควรจะถูกเฆี่ยน ก็จะถูกเฆี่ยนเพียงเล็กน้อย คนที่ได้รับมาก จะต้องเรียกเอาจากคนนั้นมาก และคนที่ได้รับฝากไว้มาก ก็จะต้องทวงเอาจากคนนั้นมาก”

[99] แม้แต่ในวิวรณ์ 19:13 ที่ “พระวจนะ (หรือพระวาทะ) ของพระเจ้า” ไม่ได้หมายถึงพระเยซู แต่หมายถึงพระเจ้าตามภาพที่คุ้นๆของพระเจ้าจากพระคัมภีร์เดิมว่า “พระเจ้าจอมทัพ” หรือ “พระเจ้าแห่งกองทัพ” คำว่า “เลือด” ในข้อเดียวกันไม่ได้หมายถึงเลือดของพระคริสต์ แต่เป็นเลือดของศัตรูของพระเจ้าที่ถูกกำราบ อันที่จริงในสองข้อต่อมา (14,15) ให้ภาพพระวจนะของพระเจ้าว่าเป็นผู้ทรงนำ “กองทัพแห่งสวรรค์” และใช้ดาบของพระองค์เพื่อ “ฟาดฟันประชาชาติต่างๆ” ส่งผลให้มีซากศพของกษัตริย์ นายทหาร คนที่มีกำลังมาก และม้า (ข้อ 18) คำเรียก “พระเจ้าจอมทัพ” (คำตรงตัวคือ “พระยาห์เวห์จอมทัพ”) มีปรากฏประมาณ 240 ครั้งในพระคัมภีร์เดิมและในแต่ละกรณีนั้น “องค์ผู้เป็นเจ้า” คำตรงตัวคือ “พระยาห์เวห์” (เกี่ยวกับวิวรณ์ 19:13, ดูในหนังสือพระเจ้าที่เที่ยงแท้เพียงองค์เดียว, ภาคผนวก 6) ไอ เอช มาร์แชล ซึ่งเป็นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพเสนอว่า “พระวาทะของพระเจ้า” ในวิวรณ์ 19:13 ไม่ได้หมายถึงพระคริสต์: “หลังจากคำขึ้นต้น [ของยอห์น] พระเยซูก็ไม่ได้ถูกกล่าวถึงว่า ‘พระวาทะ’ อีกต่อไป” (ศาสนศาสตร์พระคัมภีร์ใหม่ฉบับย่อ, หน้า 187) ในหน้า 220 มาร์แชลกล่าวว่า “การใช้คำเรียกที่เฉพาะว่า พระวาทะของพระเจ้า (วิวรณ์ 19:13) ทำให้เรานึกถึงยอห์น 1:1-14 กับ 1 ยอห์น 1:1-4 แต่มันก็ไม่ชัดเจนว่า เบื้องหลังที่เข้มข้นของทั้งสองข้อนี้ จำเป็นต้องเข้าใจการใช้ในวิวรณ์หรือไม่”

[100] 1 โครินธ์ 6:17 “แต่คนที่รวมตนเองเป็นหนึ่งเดียวกับองค์พระผู้เป็นเจ้าก็เป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ในจิตวิญญาณ” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)

[101] ยอห์น 9:9 บางคนก็พูดว่า “ใช่คนนั้นแหละ” คนอื่นว่า “ไม่ใช่ แต่เขาเหมือนคนนั้น” ตัวเขาเองพูดว่า “ข้าพเจ้าเป็นคนนั้น”

[102] พจนานุกรมภาษากรีก-อังกฤษฉบับเธเยอร์, Ioudaios (ชาวยิว, ชาวยูเดีย), กล่าวว่ายอห์น “อ้างถึงภาษาของพระเยซูและเหล่าอัครทูตของพระองค์ที่ทำให้พวกเขาแตกต่างจากชาวยิวเหมือนว่าพวกหลังเกิดจากเชื้อสายต่างด้าว” เราจำเป็นต้องระวังการกล่าวที่มากเกินไปในลักษณะนี้ซึ่งอาจมีความหมายโดยนัยทางชาติพันธุ์และทางศาสนาที่ไม่พึงประสงค์และยังเป็นอันตรายได้ เราควรนึกถึง สิ่งที่พระเยซูตรัสเกี่ยวกับชาวยิวว่า “พวกท่านนมัสการสิ่งที่ท่านไม่รู้จัก ส่วนเรานมัสการสิ่งที่เรารู้จัก เพราะความรอดมาจากพวกยิว” (ยอห์น 4:22) นั้นแทบจะไม่ได้เป็นคำพูดที่เป็นปฏิปักษ์กับชาวยิว เห็นได้ชัดว่าเปาโลไม่เห็นสิ่งใดในคำสอนของพระเยซูที่เป็นปฏิปักษ์กับชาวยิว เพราะในความคิดของเปาโลแล้ว “ชาวยิวต้องมาก่อน” เสมอ (โรม 1:16; 2:9,10) ทั้งเรื่องบำเหน็จและการลงโทษ

[103] predicate nominative หรือ ภาคแสดงส่วนของกริยาและกรรม ส่วนที่เป็นการกระทำของประธานในประโยค (ผู้แปล)

[104] I am he

[105] I am

[106] ยอห์น 20:31 “แต่การที่บันทึกเหตุการณ์เหล่านี้ไว้ ก็เพื่อพวกท่านจะได้เชื่อว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์พระบุตรของพระเจ้า”

[107] เฉลยธรรมบัญญัติ 6:4 “โอ คนอิสราเอล จงฟังเถิด พระยาห์เวห์ พระยาห์เวห์เท่านั้นทรงเป็นพระเจ้าของเรา

[108] อิสยาห์ 45:5 “เราคือพระยาห์เวห์ ไม่มีใครอื่น นอกจากเราแล้ว ไม่มีพระเจ้าอื่นใด” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)

[109] ฟีลิปปี 2:6 ผู้ที่แม้จะอยู่ในภาพลักษณ์ของพระเจ้า พระองค์ก็ไม่ได้ทรงยึดฉวยที่จะเท่าเทียมกับพระเจ้า (ฉบับ ESV)

[110] ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพส่วนใหญ่ยึดมุมมองนี้ของยอห์น 8:56 พระคัมภีร์ฉบับศึกษาของ NIV กล่าวว่า “พระเยซูคงไม่ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง แต่กล่าวถึงความยินดีทั่วไปของอับราฮัมกับการที่เป็นไปตามพระประสงค์ของพระเจ้าในพระเมสสิยาห์ ซึ่งทุกประชาชาติทั่วโลกจะได้รับพระพร” โธมัส คอนสเตเบิลกล่าวว่า พระเยซูทรง “ทำให้สิ่งที่อับราฮัมเฝ้าคอยเป็นจริง” และนิมิตของอับราฮัมเป็น “คำทำนายล่วงหน้าว่าพระเจ้าจะอวยพรคนทั้งโลกผ่านอับราฮัม” คู่มือพระคัมภีร์ของผู้อธิบายความกล่าวว่า “อับราฮัมได้เห็นพันธกิจของพระเยซูคริสต์ก่อนและมีความชื่นชมยินดีในเรื่องนี้”

[111] เราเป็นอาหารแห่งชีวิต (ยอห์น 6:35), เราเป็นความสว่างของโลก (ยอห์น 8:12), เราเป็นประตูของแกะทั้งหลาย (ยอห์น 10:7), เราเป็นผู้เลี้ยงที่ดี (ยอห์น 10:11), เรา​​เป็นผู้ที่เป็นขึ้นจากตายและเป็นชีวิต (ยอห์น 11:25), เราเป็นทางนั้น เป็นความจริง และเป็นชีวิต (ยอห์น 14:6), เราเป็นเถาองุ่นแท้ (ยอห์น 15:1)

[112] The Masoretic Text คือพระคัมภีร์ฉบับคัดลอกของชาวยิว เป็นภาษาฮีบรูและอาราเมค (ผู้แปล)

[113] พระคัมภีร์เดิมภาษากรีกที่แปลจากพระคัมภีร์เดิมภาษาฮีบรู

[114] 2 ซามูเอล 2:20 อับเนอร์เหลียวหลังมาพูดว่า “นั่นอาสาเฮลหรือ?” เขาตอบว่า “ข้าเอง”

[115] Philo’s Life of Moses, and Cambridge Compan­ion to Philo, p.198