พิมพ์
หมวด: The Only Perfect Man
ฮิต: 2025

pdf pic

 

 

บทที่ 5

 

 ch1 1

 

เสาหลักที่สามของ

 

ความเชื่อในตรีเอกานุภาพ: ฮีบรูบทที่ 1

 

     

 

      ฮีบรูบทที่ 1 นี้ผมเคยเรียกว่าเป็นเสาหลักที่สามของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ  การเรียบเรียงของบทนี้เป็นความต่อเนื่องของข้อความอ้างอิงจากพระคัมภีร์เดิมซึ่งใช้เนื้อที่มากกว่าครึ่งบท และทำให้เห็นจุดประสงค์ที่จะแสดงให้เห็นว่าพระเยซูทรงเป็นพระเมสสิยาห์ กษัตริย์ของอิสราเอลตาม   พระสัญญา  ไม่มีข้อความในพระคัมภีร์เดิมที่เคยพูดถึงพระเมสสิยาห์ว่าเป็นพระเจ้า และนี่ก็ไม่ใช่ความมุ่งหมายของหนังสือฮีบรู  ต่อไปนี้คือฮีบรูบทที่ 1 ทั้งบท

 

ฮีบรู 1:1-14 1นานมาแล้วพระเจ้าได้ตรัสกับบรรพบุรุษของเรา​​ทางพวกผู้เผยพระวจนะหลายครั้งและหลายวิธีการ 2แต่ในวาระสุดท้ายนี้พระองค์ได้ตรัสกับเราทางพระบุตรของพระองค์ ผู้ที่พระองค์ทรงตั้งให้เป็นองค์ทายาทรับสิ่งทั้งปวง โดยผู้ที่พระองค์ได้ทรงสร้างโลกโดยเฉพาะ  3พระบุตรเป็นแสงเจิดจ้าของพระสิริของเจ้าและทรงมีสภาวะเป็นพิมพ์เดียวกันกับพระองค์ และทรงค้ำจุนจักรวาลไว้ด้วยพระวจนะอันทรงฤทธานุภาพของพระองค์  หลังจากที่พระองค์ทรงชำระบาปทั้งหลายแล้ว พระองค์ก็ประทับที่เบื้องขวาขององค์ผู้สูงสุดเบื้องบน 4 ทรงมาเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่กว่าเหล่าทูตสวรรค์มากนักเพราะพระองค์ทรงได้รับพระนามที่สูงส่งกว่านามของเหล่าทูตสวรรค์ 5พราะว่า​​พระเจ้าเคยตรัสกับทูตสวรรค์องค์ไหนอย่างนี้บ้างว่า “เจ้าเป็นบุตรของเรา วันนี้เราได้ให้กำเนิดเจ้า และตรัสอีกว่า “เราจะเป็นบิดาของเขา และเขาจะเป็นบุตรของเรา” 6และอีกครั้งเมื่อพระองค์ทรงนำพระบุตรหัวปี​​เข้ามาในโลก พระองค์ตรัสว่า “ให้ทูตสวรรค์ทั้งหมดของพระเจ้ากราบนมัสการพระบุตร” 7พระองค์ตรัสถึงเหล่าทูตสวรรค์ว่า “พระองค์ทรงสร้างพวกทูตสวรรค์ของพระองค์ให้เป็นเหมือนลม และทรงสร้างบรรดาผู้รับใช้ของพระองค์ให้เป็นเหมือนเปลวไฟ 8แต่พระองค์ตรัสถึงพระบุตรว่า “ข้าแต่พระเจ้า พระบัลลังก์ของพระองค์ดำรงเป็นนิตย์ พระคทาแห่งความเที่ยงธรรมคือพระคทาแห่งราชอาณาจักรของพระองค์ 9พระองค์ทรงรักความชอบธรรมและทรงเกลียดความมชั่ว เพราะฉะนั้นพระเจ้า ซึ่งเป็นพระเจ้าของพระองค์ จึงได้ทรงเจิมพระองค์ด้วยน้ำมันแห่งความยินดีเหนือบรรดาพระสหายของพระองค์ 10องค์ผู้เป็นเจ้า พระองค์ได้ทรงวางรากฐานของแผ่นดินโลกในปฐมกาล และฟ้าสวรรค์เป็นผลงานจากฝีพระหัตถ์ของพระองค์  11สิ่งเหล่านั้นจะพินาศ แต่พระองค์ทรงดำรงอยู่ สิ่งเหล่านั้นจะเก่าไปเหมือนเสื้อผ้าที่สวมใส่  12พระองค์จะทรงม้วนสิ่งเหล่านั้นหมือนทรงม้วน​​เสื้อคลุม สิ่งเหล่านั้นจะเปลี่ยนไปเหมือนกับเสื้อผ้า แต่พระองค์ยังทรงเหมือนเดิม และปีเดือนของพระองค์จะไม่​​สิ้นสุด 13และมีทูตสวรรค์องค์ไหนบ้างที่พระองค์เคยตรัสอย่างนี้ว่า “จงนั่งที่เบื้องขวาของเรา จนกว่าเราจะทำให้ศัตรูของเจ้าเป็นที่รองเท้าของเจ้า” 14ทูตสวรรค์ทั้งปวงเป็นเพียงวิญญาณที่ปรนนิบัติรับใช้ ที่ถูกส่งออกไปเพื่อช่วยบรรดาผู้ที่จะได้รับความรอดไม่ใช่หรือ? (ฉบับ ESV)

 

ฮีบรู 1:2

      การที่จะพิสูจน์ความเป็นพระเจ้าของพระเยซูนั้น บรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพจำเป็นต้องหาข้อที่พูดถึงพระองค์ว่าเป็นพระผู้ทรงสร้างโลกนี้  ถ้าพระเยซูทรงเป็นพระผู้สร้าง หรือพระผู้ร่วมสร้าง หรือแม้แต่เป็นตัวแทนของการสร้าง ก็แสดงว่าพระองค์ทรงดำรงอยู่ก่อนและเป็นพระเจ้าอย่างชัดเจน  การหาข้อดังกล่าวได้ยากในพระคัมภีร์ทำให้บรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพพยายามจะค้นหาให้ได้  และในเมื่อหาข้ออย่างนั้นไม่ได้ แล้วทำไมจึงไม่คิดขึ้นมาใหม่ล่ะ?  คำกล่าวนี้ไม่ได้พูดให้เป็นเรื่องตลก แต่เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างจริงจัง

      ในบทที่แล้วเราได้เห็นแล้วว่า “โดยผู้ที่พระองค์ได้ทรงสร้างโลกโดยเฉพาะ” ในฮีบรู 1:2 ก็อาจหมายถึง “เพราะผู้ที่พระองค์ได้ทรงสร้างโลกโดยเฉพาะ”  ซึ่งเป็นการอ่านที่ไม่สนับสนุนการดำรงอยู่ก่อนของพระคริสต์  ตอนนี้เราจะกลับมาดูข้อนี้จากมุมมองที่ต่างออกไปและสังเกตการแปลสี่แห่งของข้อนี้ในฉบับ ESV ที่คลาดเคลื่อนจากตัวบทภาษากรีก

ต่อไปนี้เราจะอ้างถึงฮีบรู 1:2 สองครั้ง ครั้งแรกจากฉบับ ESV และครั้งที่สองก็จากฉบับ ESV แต่มีความคลาดเคลื่อนสี่แห่งจากตัวบทภาษากรีกที่เห็นเป็นตัวหนาและมีตัวเลข 1, 2, 3, 4 ข้างบน สำหรับการอ้างอิง

 

ฮีบรู 1:2 แต่ในวาระสุดท้ายนี้พระองค์ได้ตรัสกับเราทางพระบุตรของพระองค์ ผู้ที่พระองค์ทรงตั้งให้เป็นองค์ทายาทรับสิ่งทั้งปวง โดยผู้ที่พระองค์ได้ทรงสร้างโลกโดยเฉพาะ

ฮีบรู 1:2 แต่ในวาระสุดท้ายนี้พระองค์ได้ตรัสกับเราทางพระบุตรของพระองค์1 ผู้ที่พระองค์ทรงตั้งให้เป็นองค์2ทายาทรับสิ่งทั้งปวง  โดยผู้ที่พระองค์ได้ทรงสร้าง3โลก4โดยเฉพาะ (ฉบับ ESV)[1]

 

      ถ้อยคำตอนท้ายของข้อนี้ที่ว่า “โดยผู้ที่พระองค์ได้ทรงสร้างโลกโดยเฉพาะ” เป็นการอ่านอย่างที่ความเชื่อในตรีเอกานุภาพต้องการ เพราะมันบอกเป็นนัยว่าพระเยซูทรงมีบทบาทในการสร้างในปฐมกาล  กระนั้นสัญญาณบอกความผิดปกติก็ดังขึ้นเมื่อพระคัมภีร์ใหม่ฉบับนิวเยรูซาเล็มกล่าวบางอย่างที่แตกต่างออกไปว่า “โดยผู้ที่พระองค์ได้ทรงทำให้มียุคต่างๆ”  คำแปลอย่างไหนถูกต้องกันแน่?  นี่คือข้อตามที่ปรากฏในฉบับ NJB และในข้อความภาษากรีก

 

ฮีบรู 1:2 ฉบับ NJB ...ในยุคของเรา ในวาระสุดท้ายนี้พระองค์ (พระเจ้า) ได้ตรัสกับเราในองค์พระบุตรของพระองค์1 ผู้ที่พระองค์ทรงตั้งให้เป็นทายาทของสิ่งทั้งปวงและโดยผู้ที่พระองค์ได้ทรงทำให้มียุคต่างๆ

Hebrews 1:2 NA28 ἐλάλησεν ἡμῖν ἐν υἱῷ, ὃν ἔθηκεν κληρο­νόμον πάντων, δι᾽ οὗ καὶ ἐποίησεν τοὺς αἰῶνας [aiōnas]

 

      ใครๆที่อ่านภาษากรีกได้ก็จะรู้ทันทีว่าฉบับ NJB ที่มีคำแปลที่ถูกต้อง ไม่ใช่ฉบับ ESV  ในภาษากรีกนั้น คำสำคัญจะเป็นคำท้ายสุดในข้อนั้น ซึ่งก็คือ aiōnas คำพหูพจน์ของ aiōn[2]  อันที่จริงแล้วคำภาษาอังกฤษว่า “eon” (ยุค) มาจากภาษากรีกว่า aiōn  ทางภาษาละตินว่า aeōn

      ในขณะที่ฉบับ ESV ได้ทำการดัดแปลงสี่แห่งในฮีบรู 1:2  ในส่วนภาษากรีกนั้น ฉบับ NJB ได้ทำการดัดแปลงเพียงแห่งเดียว  ต่อไปนี้เราจะแสดงรายการดัดแปลงของฉบับ ESV สี่รายการที่ทำเครื่องหมายไว้ด้วยตัวเลขสี่ตัวข้างบน และตามมาด้วยการพิจารณารายละเอียดของการดัดแปลงที่สี่

      การดัดแปลงที่ 1  ในคำว่า “พระบุตรของพระองค์” จากฮีบรู 1:2 นั้น เราจะไม่พบคำว่า “ของพระองค์” ในภาษากรีก  แล้วเหตุใดฉบับ ESV จึงเพิ่มเข้าไป? การรวมคำว่า “ของพระองค์” เข้าไปก็ไม่ได้ทำให้คำกล่าวนั้นผิดไปจากหลักคำสอน แต่ทำไมจึงใส่คำนี้เข้าไปในตัวบททั้งๆที่ไม่ได้มีอยู่ ดังนั้นจึงเป็นการจำกัดความหมายของคำว่า “บุตร”? ความจริงก็คือ พระคัมภีร์สอนว่าพระเจ้าทรง “นำบุตรจำนวนมากไปสู่ศักดิ์ศรี” (ฮีบรู 2:10) ไม่ใช่แค่บุตรคนเดียว

      การดัดแปลงที่ 2 ในทำนองเดียวกันคำว่า “the” ในคำ the heir (องค์ทายาท)” นี้ไม่มีในภาษากรีก แล้วทำไมฉบับ ESV จึงเพิ่มคำนี้เข้ามา?  คำว่า “องค์ทายาท” บ่งบอกอะไรหรือ ถ้าไม่ใช่ว่าพระเยซูทรงเป็นทายาทเพียงคนเดียว?  มีเหตุผลอะไรหรือที่กำหนดข้อจำกัดที่ไม่ได้พบในพระคัมภีร์ให้กับคำว่า “ทายาท”?  เปาโลกล่าวว่าผู้เชื่อทั้งหลายก็เป็นทายาทด้วย คือ ถ้าเป็นบุตรของพระองค์แล้ว เราก็เป็นทายาท คือเป็นทายาทของพระเจ้าและเป็นทายาทร่วมกับพระคริสต์” (โรม 8:17)

      การดัดแปลงที่ 3  คำว่า “ได้ทำให้มี” (ซึ่งคงไว้อย่างถูกต้องในฉบับ NJB) และฉบับ ESV ได้เปลี่ยนให้เป็น “ได้สร้าง”  เหตุผลของการเปลี่ยนที่เห็นได้ชัดก็คือ มนุษย์สามารถทำสิ่งต่างๆให้มีขึ้นได้ แต่มีเพียงพระเจ้าเท่านั้นที่สามารถสร้างสิ่งต่างๆได้  การเปลี่ยน “ได้ทำให้มี” มาเป็น “ได้สร้าง” เป็นการดัดแปลงพื้นฐานที่บอกเป็นนัยว่าพระเยซูคือพระเจ้า  ความแตกต่างของความหมายระหว่าง “ได้ทำให้มี” กับ “ได้สร้าง” นั้นไม่ชัดเจนมากในภาษาอังกฤษเหมือนในภาษากรีก  แต่ถึงแม้ในภาษาอังกฤษ คำว่า “ฉันได้ทำ (ให้มี) ขนมปังนี้” (อาจโดยการอบ) ก็จะเข้าใจแตกต่างจาก “ฉันได้สร้างขนมปังนี้” (ซึ่งอาจใช้เป็นหนึ่งในหลายความหมายที่รวมถึงการสร้างขนมปังโดยการอัศจรรย์)[3]

      การดัดแปลงที่ 4  นี่เป็นการดัดแปลงครั้งใหญ่ซึ่งสะท้อนให้เห็นในคำแปลที่ขัดแย้งกับฉบับ NJB (“โดยผู้ที่พระองค์ได้ทรงทำให้มียุคสมัยต่างๆ”) และ ESV (“โดยผู้ที่พระองค์ได้ทรงสร้างโลกโดยเฉพาะ”) ฉบับ NJB แปล tous aiōnas ได้อย่างถูกต้องว่าเป็น “ยุคต่างๆ” (ซึ่งเป็นคำแปลตรงตัวเลย)[4] ในขณะที่ฉบับ ESV เปลี่ยนคำนี้เป็น “โลก” เพื่อบ่งบอกว่าโลกนี้ได้ถูกสร้างขึ้นทางพระเยซู  มันน่าสนใจที่การผูกประโยคอย่างเดียวกันนี้มีปรากฏ 29 ครั้งในพระคัมภีร์ใหม่ภาษากรีก แต่ฉบับ ESV ไม่เคยแปลว่า “โลก” ยกเว้นในฮีบรู 1:2!

      ตามคำศัพท์แล้ว tous aiōnas ในฮีบรู 1:2 ไม่ได้หมายถึง “โลก” แต่หมายถึง “ยุคต่างๆ”  นั่นเป็นคำพหูพจน์ของ aiōn ซึ่งหมายความว่า “ยุค” (ดังนั้นพหูพจน์จึงเป็น “ยุคต่างๆ”) สำหรับคนที่พูดภาษาอังกฤษแล้วจะเข้าใจจุดนี้ได้ง่าย เพราะคำภาษาอังกฤษว่า “eon” มาจาก aiōn  ที่ว่า aiōn ให้ความหมายเกี่ยวกับเวลาและยุคต่างๆ (เหมือนกับ “eon” ในภาษาอังกฤษ) นั้นจะ เห็นมากขึ้นในข้อเท็จจริงที่ว่า eis ton aiōna (หรือ eis tous aiōnas) เป็นสำนวนภาษากรีกมาตรฐานสำหรับคำว่า “เป็นนิตย์” (มีปรากฏ 54 ครั้ง, เช่น 2 ยอห์น 1:2)[5]

 

ความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงฮีบรู1:2

      [หมายเหตุ: ผู้อ่านบางคนอาจต้องการข้ามส่วนนี้ไป]

      พจนานุกรมภาษากรีก-อังกฤษฉบับเธเยอร์และฉบับอื่นๆต่างยอมรับว่าaiōn ให้ความหมายเกี่ยวกับเวลาและยุคสมัยต่างๆต่เธเยอร์พยายามอย่างมากที่จะหาทางหลีกเลี่ยงของความเชื่อในตรีเอกานุภาพเกี่ยวกับข้อเท็จจริงนี้ในฮีบรู 1:2 ด้วยคำนามนัยที่มมุติขึ้น

      คำว่า “นามนัย” อาจดูลึกลับ แต่แนวความคิดของมันเข้าใจได้ง่าย  พจนานุกรมฉบับอเมริกัน เฮริเทจ (AHD)[6]กล่าวว่า นามนัยเป็นรูปแบบคำพูดที่แทนด้วยคำอื่นที่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก  พจนานุกรมฉบับอเมริกันเฮริเทจ ยกตัวอย่างคำนามนัยสองตัวอย่างคือ “วอชิงตัน” (Washington) ซึ่งหมายถึงรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และ “ดาบ” (sword) ซึ่งหมายถึงอำนาจทางทหาร

      พจนานุกรมภาษากรีก-อังกฤษฉบับเธเยอร์ (หน้า 19) หยิบยกนามนัยที่ไม่มีอยู่จริงเพื่อจะบอกว่า aiōn หมายถึง “โลก, จักรวาล” โดยนามนัย  พจนานุกรมนี้ดูเหมือนจะเป็นฉบับเดียวที่พบการใช้นามนัยนี้ที่คิดขึ้น  คำนิยามของ aiōn ถูกต้องจนถึงจุดที่มุ่งเน้นอยู่ที่ “ยุค” มากกว่า “โลก” นั่นคือ จนกระทั่งมีการหยิบยกนามนัยในประโยคสุดท้าย

 

1. ยุค, ช่วงชีวิตของมนุษย์, ชีวิต

2. ยุคที่ไม่ขาดช่วง, ความไม่มีที่สิ้นสุดของกาลเวลา, ความนิรันดร์กาล

                1a. เป็นสากล, เป็นนิตย์, ยอห์น 6:51, 58; 14:16; ฮีบรู 5:6; 6:20 เป็นต้น

2. โดยนามนัยของสิ่งที่บรรจุสำหรับบรรจุไว้ hoi aiōnes หมายถึงโลก, จักรวาล  

          ได้แก่ การรวมตัวกันของสิ่งต่างๆที่บรรจุไว้ในกาลเวลา ฮีบรู 1:2; 11:3

 

      นี่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เธเยอร์กล่าวไว้ในคำกล่าวสุดท้ายว่า aiōn ไม่เคยถูกเรียกด้วยนามนัยว่า  “ที่บรรจุ” ของจักรวาลวัตถุที่ถูกสร้างขึ้น  ไม่มีหลักฐานในพระคัมภีร์เกี่ยวกับนามนัยที่กล่าวถึงนี้  จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่เธเยอร์ไม่ได้อ้างอิงงานเขียนก่อนหน้านี้เกี่ยวกับความหมายที่ผิดธรรมดานี้  เห็นได้ชัดว่านามนัยดังกล่าวคิดขึ้นเพื่อใช้กับความเชื่อในตรีเอกานุภาพ  นี่เป็นการ “ใช้พระวจนะแห่งความจริงอย่างถูกต้อง” ไหม (2 ทิโมธี 2:15) หรือนี่เป็นการ “บิดเบือนพระวจนะของพระเจ้า” หรือไม่ (2 โครินธ์ 4:2)?

      ในทางตรงกันข้าม พจนานุกรมภาษากรีก-อังกฤษฉบับมาตรฐาน 1973 ที่ไม่ตัดย่อของลิดเดล-สก็อต-โจนส์[7] ไม่ได้กล่าวถึง “โลก” หรือ “จักรวาล” ในคำนิยามของ aiōn (ตรงข้ามกับฉบับ ESV) นี่ยิ่งไม่ต้องพูดถึงว่า aiōn เป็นที่บรรจุของโลกหรือจักรวาล (ตรงข้ามกับเธเยอร์)  พจนานุกรมภาษากรีก-อังกฤษฉบับพิมพ์ครั้งแรกของลิดเดล-สก็อต-โจนส์ ได้ตีพิมพ์ในปี 1843 เป็นเวลา 46 ปีก่อนการตีพิมพ์พจนานุกรมภาษากรีก-อังกฤษฉบับเธเยอร์ในปี 1889  แล้วทำไมเธเยอร์จึงให้คำนิยามที่ไม่เคยมาก่อนของ aiōn ที่ไม่พบในฉบับของลิดเดล-สก็อต-โจนส์ ซึ่งเป็นพจนานุกรมภาษากรีก-อังกฤษที่ได้รับการยอมรับและเชื่อถือในสมัยของเธเยอร์เหมือนที่ยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้ โดยไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการเขียนใดๆในเรื่องนี้?

      ต่อไปนี้เป็นคำนิยามของ aiōn (ที่ทับศัพท์ภาษากรีก) ในฉบับ 1996 พิมพ์ครั้งที่ 9 ของพจนานุ กรมภาษากรีก-อังกฤษฉบับลิดเดล-สก็อต-โจนส์ LSJ ซึ่งไม่ได้ให้ความหมายว่าเป็น “โลก” หรือ “พิภพ” (ตรงข้ามกับฉบับ ESV) นี่ยิ่งไม่ต้องพูดถึงข้อเสนอแนะใดๆของนามนัยที่กล่าวถึง

 

       aiōn, ōnos, ho: - ช่วงเวลาหนึ่งของการมีชีวิตอยู่:

      1. ช่วงชีวิตของคนๆหนึ่ง, ชีวิต

2. ยุคหนึ่ง, รุ่นอายุ

3. ระยะเวลาอันยาวนานของช่วงเวลาหนึ่ง, ยุคหนึ่ง, ap aiōnos แต่เก่าก่อน, สำหรับทุกวัย, พระคัมภีร์ใหม่; ton di 'aiōnos chronon, เป็นนิตย์

4. ระยะเวลาที่แน่นอนของช่วงเวลาหนึ่ง, ศักราช, ยุคสมัย, ยุค, ช่วงสมัย, ho aiōn houtos โลกในปัจจุบันนี้, ตรงข้ามกับ to ho mellōn, พระคัมภีร์ใหม่: ดังนั้นการใช้ในพหูพจน์, eis tous aiōnas เป็นนิตย์

 

      พจนานุกรมภาษากรีก-อังกฤษฉบับที่สามของ BDAG เกี่ยวกับ aiōn  จัดให้ฮีบรู 1:2 อยู่ภายใต้หัวข้อที่ 3 ด้วยคำนิยามว่า “โลกในแนวคิดเชิงพื้นที่”  แต่พจนานุกรมฉบับ BDAG ไม่แน่ใจกับการจัดหมวดหมู่นี้และยอมรับว่า “ข้อพระคัมภีร์หลายตอนเหล่านี้” (กล่าวคือ ข้อความที่ BDAG เพิ่งอ้างถึงซึ่งรวมฮีบรู 1:2) อาจอยู่ภายใต้หัวข้อที่ 2”  หัวข้อที่ 2 ให้คำนิยามว่า “ส่วนหนึ่งของช่วงเวลาที่เป็นส่วนเฉพาะของประวัติศาสตร์, ยุค” ซึ่งสอดคล้องกับความหมายพื้นฐานและตามคำของ aiōn  ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม โลกที่ได้สร้างขึ้นในปฐมกาลไม่ได้เป็นเพียง “แนวคิดเชิงพื้นที่” แต่ยังเป็นแนวคิดทางจิตวิญญาณที่ชี้ไปถึงการทรงสร้างใหม่  การทรงสร้างใหม่มีความสำคัญต่อการเข้าใจฮีบรู 1:2 และข้ออื่นๆในฮีบรู (เช่น ฮีบรู 11:3)[8]

      คำว่า aiōn ในพระคัมภีร์ ไม่เคยหมายถึงการสร้างสิ่งที่เป็นวัตถุในปฐมกาล  ดังนั้นฮีบรู 1:2 จึงไม่ได้พูดถึงการมีส่วนร่วมใดๆของพระเยซูในการสร้างโลกในปฐมกาล  แต่ตรงกันข้ามกับที่พระประสงค์ของพระยาห์เวห์ในการทรงสร้างของพระองค์ก็คือว่า พระเยซูคริสต์ควรจะเป็นทายาทรับทุกสิ่งโดยมีพี่น้องของพระองค์เป็นทายาทร่วมกับพระองค์  ด้วยเหตุนี้ในฮีบรู 1:2 ข้อเดียวกัน จึงพูดถึงพระบุตรว่าเป็นผู้ที่พระเจ้า “ได้ทรงตั้งให้เป็นทายาทรับสิ่งทั้งปวง” แล้วกล่าวต่อไปว่าพระเจ้าได้ทรงกำหนดยุคต่างๆโดยทางพระคริสต์ (ฉบับ NJB “โดยผู้ที่พระเจ้าได้ทรงทำให้มียุคต่างๆ; ฉบับ ITNT “พระองค์ยังทรงกำหนดยุคสมัยต่างๆขึ้นรอบพระองค์”)

      สรุปแล้ว aiōn ไม่ได้หมายถึงโลกวัตถุหรือจักรวาล แต่หมายถึงยุคหรือยุคสมัยต่างๆของประวัติ ศาสตร์มนุษย์จากปฐมกาลจนถึงสิ้นยุค เราได้เห็นแล้วว่าคำภาษาอังกฤษว่า eon  นี้มาจากคำภาษา  กรีกว่า aiōn ทางคำภาษาละตินว่า aeōn

 

สองยุคหลักๆในประวัติศาสตร์ของความรอด

      พระคริสต์ทรงเป็นศูนย์กลางของยุคต่างๆในทางใดหรือ?  สิ่งที่หนังสือฮีบรูนึกถึงก็คือ “ประวัติ ศาสตร์แห่งความรอด”  ในพระคัมภีร์ใหม่และในศาสนายิวนั้น ประวัติศาสตร์แห่งความรอดได้แบ่งออกเป็นสองยุคหลักๆคือ “ยุคนี้” และ “ยุคที่จะมาถึง”  ทั้งสองยุคมาบรรจบกันที่พระเยซูคริสต์พระเมสสิยาห์และถูกกล่าวถึงพร้อมกันในมัทธิว 12:32 (“ผู้ใดที่กล่าวร้ายพระวิญญาณบริสุทธิ์ จะไม่ได้รับการยกโทษ ทั้งในยุคนี้หรือในยุคหน้า”) และในเอเฟซัส 1:21 (พระเจ้าทรงตั้งพระคริสต์ไว้ “เหนือกว่านามทั้งหมดที่ถูกกล่าวถึง ไม่เฉพาะแต่ในยุคนี้ แต่ในยุคที่จะมาถึงด้วย”)  พระยาห์เวห์ ทรงทำให้พระคริสต์เป็นศูนย์กลางของยุคสมัยต่างๆ เพราะว่าพระยาห์เวห์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงดำรงอยู่นิรันดร์ของ “ยุคต่างๆ” (1 ทิโมธี 1:17 ซึ่งมี aiōn คำพหูพจน์คำเดียวกัน)[9] ทรงทำให้แผนงานของพระองค์เกี่ยวกับความรอดสำหรับมนุษย์สำเร็จโดยทางพระคริสต์

      ยุคปัจจุบันเริ่มต้นกับอับราฮัมและดำเนินต่อมาจนถึงปัจจุบัน  ยุคที่จะมาถึงเริ่มต้นกับพระเยซูพระเมสสิยาห์และจะดำเนินต่อไปจนเมื่อสิ่งทั้งปวงที่พระเจ้าได้ทรงสัญญาไว้นั้นสำเร็จ  นี่หมายถึงการคาบเกี่ยวกันของสองยุค และยุคทั้งสองนี้จะคาบเกี่ยวกันต่อไปจนกว่าพระเยซูจะเสด็จกลับมา  อีกครั้ง (กิจการ 1:11; มาระโก 13:26)  การคาบเกี่ยวกันของทั้งสองยุคนี้ทำให้เป็นไปได้ที่เราจะมีประสบการณ์กับ “ฤทธิ์เดชแห่งยุคที่จะมาถึง” ได้ในขณะนี้ (ฮีบรู 6:5)[10]  ถึงแม้ว่า “ยุคนี้” อาจพูดได้ว่าเริ่มต้นกับอับราฮัม แต่ก็ถูกต้องพอๆกันที่จะพูดว่าเริ่มต้นด้วยการไม่เชื่อฟังของอาดัม  ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ยุคนี้ก็จะดำเนินต่อไป “จนกว่าจะสิ้นยุค” (มัทธิว 28:20, tēs sunteleias tou aiōnos) จะสิ้นสุดด้วยการที่ผู้เชื่อทั้งปวงจะเป็นขึ้นจากความตาย  ซึ่งเป็นสิ่งสุดยอดที่แสดงให้เห็นถึงฤทธานุภาพของพระยาห์เวห์ในการประทานชีวิตให้  และด้วยการพิพากษาสุดท้าย

      ในยุคนี้ พระเจ้าทรงทำการอัศจรรย์มากมาย เช่น การเปิดเผยพระนามพระยาห์เวห์ของพระองค์ การช่วยกู้ชนอิสราเอลออกมาจากอียิปต์ การประทานพระบัญญัติสิบประการแก่โมเสสบนภูเขาซีนาย และที่สำคัญที่สุดคือการมาบังเกิดอันน่าอัศจรรย์ของพระเยซู ตามมาด้วยความสมบูรณ์แบบของพระองค์ (ที่สำเร็จโดยผ่านความทุกข์ทรมาน) ความตายของพระองค์ และการคืนพระชนม์ของพระองค์ เพื่อความรอดของโลก

      ในฮีบรู สองยุคหรือสองยุคสมัย (ยุคนี้และยุคที่จะมาถึง) นี้สอดคล้องกับสองพันธสัญญาคือ “พันธสัญญาแรก” และ “พันธสัญญาใหม่” (ฮีบรู 8:7-8)[11] ฮีบรูกล่าวถึงพันธสัญญาเดิมว่า “พ้นสมัยไปแล้ว สิ่งที่พ้นสมัยและเก่าไปแล้วนั้นก็จะเสื่อมสูญไป” (8:13) พันธสัญญาใหม่เป็น “พันธสัญญาที่ดีกว่า” (7:22)[12] และมีลักษณะในฝ่ายวิญญาณที่เกี่ยวข้องกับใจและจิตใจ  “เราจะบรรจุพระธรรมของเราไว้ในจิตใจของเขา และเราจะจารึกพระธรรมบัญญัตินั้นไว้ที่ในดวงใจของเขา และเราจะเป็นพระเจ้าของเขา และเขาจะเป็นชนชาติของเรา” (8:10; 10:16)   พระเยซู “ทรงได้รับมอบหมายพันธกิจที่ประเสริฐกว่า เช่นเดียวกับพันธสัญญาที่พระองค์ทรงเป็นผู้กลางนั้น ซึ่งเป็นพระสัญญาที่ดียิ่งกว่า” (ฮีบรู 8:6, ฉบับ NJB)  ด้วยเหตุนี้พันธสัญญาใหม่จึงถูกเรียกว่าเป็น “พันธสัญญานิรันดร์” (13:20)[13]

      “พันธสัญญา” (diathēkē) เป็นคำสำคัญในหนังสือฮีบรูและมีปรากฏบ่อยครั้งในหนังสือฮีบรู (14 ครั้ง) มากกว่าหนังสือเล่มอื่นๆในพระคัมภีร์ใหม่ (เล่มที่มีปรากฏสูงสุดรองลงมาคือกาลาเทีย ซึ่งมีปรากฏ 3 ครั้ง)  พันธสัญญาที่บันทึกไว้แรกสุดระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ก็คือพันธสัญญาที่พระเจ้าองค์เดียวได้ทรงทำไว้กับโนอาห์ที่พระองค์ทรงสัญญาว่าจะไม่ให้น้ำท่วมโลกอีก (ปฐมกาล 9:9-17)

      ในพันธสัญญาแรกๆ มีพันธสัญญาหนึ่งที่สำคัญคือ พันธสัญญาที่พระยาห์เวห์ได้ทรงทำไว้กับ อับราฮัมเมื่อเขายังคงใช้ชื่ออับราม (ปฐมกาล 15:18) พันธสัญญาได้กำหนดอาณาเขตของดินแดนที่จะประทานให้แก่ชนอิสราเอล  เครื่องหมายของพันธสัญญานี้คือการเข้าสุหนัต (ปฐมกาล 17:10) ดังที่เป็นมาจนทุกวันนี้ในหมู่ชาวยิว  ต่อมาพันธสัญญานี้ได้มาเป็นรากฐานพันธสัญญาของพระเจ้ากับชนอิสราเอลทางโมเสสที่ว่า “พระเจ้าทรงสดับเสียงคร่ำครวญของเขา จึงทรงระลึกถึงพันธสัญญาที่พระองค์ได้ทรงกระทำไว้กับอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ” (อพยพ 2:24; 6:5 เป็นต้นไป)

      ฮีบรู 1:2 ข้อที่เรากำลังพูดถึงนี้กล่าวว่าพระคริสต์ “เป็นผู้ที่พระเจ้าทรงตั้งให้เป็นทายาทรับสิ่งทั้งปวง” คำว่า “สิ่งทั้งปวง” ตรงนี้มีความหมายที่มากกว่าดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว เพราะว่าพระคริสต์จะทรงครอบครองในฐานะที่เป็นองค์ผู้เป็นเจ้าเหนือสิ่งมีชีวิตทั้งปวง รวมทั้งและโดยเฉพาะมนุษย์และบรรดาทูตสวรรค์  คำว่า “สิ่งทั้งปวง” ไม่ได้มุ่งความสนใจของเราไปที่อดีต (การทรงสร้างในปฐมกาล) แต่มุ่งไปที่อนาคต (เปรียบเทียบกับคำที่มองไปข้างหน้าว่า “ทายาท”)

      แต่ก่อนที่จะได้รับมรดกในอาณาจักรฝ่ายวิญญาณ เรื่องความจริงของความบาปซึ่งผูกมัดมนุษย์และบรรดาทูตสวรรค์นั้นจะต้องถูกจัดการ  ความบาปของ “คนในยุคที่ชั่วร้ายนี้” ในปัจจุบัน (มัทธิว 12:45; ลูกา 11:29) จะต้องได้รับการลบล้างและการคืนดีกับพระยาห์เวห์จะต้องสำเร็จ ก่อนที่เราจะพูดถึงมรดกของพระบุตรได้  ตามคำนิยามแล้ว บุตรชายจะได้มรดกจากบิดาของเขาในสิ่งที่เป็นของบิดา ฉะนั้นสิ่งใดก็ตามที่พระคริสต์ทรงรับมรดกจากพระบิดานั้น จะต้องไม่มีมลทินและบริสุทธิ์เนื่องจากความบริสุทธิ์ของพระเจ้า  ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องลบล้างบาปของมนุษย์และการที่เขาจะต้องได้คืนดีกับพระบิดา

      ระเจ้าได้ทรงสร้างยุคเหล่านี้โดยทางพระคริสต์และโดยมีพระคริสต์อยู่ในความตั้งพระทัย  เช่น เดียวกับการอิทธิฤทธิ์ การอัศจรรย์ และหมายสำคัญต่างๆที่พระเจ้าทรงกระทำ “โดยทาง” พระเยซู (กิจการ 2:22) ยุคเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่พระเจ้ากระทำโดยทางพระเยซู[14] เช่นกัน  ยุคเหล่านี้ไม่ได้เป็นช่วงเวลาที่สุ่มเอาหรือเป็นช่วงเวลาที่บังเอิญ เพราะในยุคเหล่านี้ พระเจ้าทรงดำเนินแผนงานนิรันดร์ของพระองค์ในการช่วยให้รอดโดยทางพระคริสต์  เหมือนกับ​​หมายสำคัญและการอัศจรรย์ต่างๆที่พระเจ้าได้ทรงทำผ่านทางพระคริสต์นั้นก็มีจุดประสงค์เพื่อชี้นำเราไปถึงความรอดในพระคริสต์

      ถึงแม้มนุษย์จะมีอิสระอยู่บ้างในการวางแผนภายในส่วนเสี้ยวของเวลา แต่ว่าเขาไม่สามารถจะควบคุมเวลาได้และเขาอยู่ภายใต้การควบคุมของเวลา แต่นี่ตรงกันข้ามกับพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพสูงสุด ผู้ทรงดำรงอยู่นิรันดร์ เพราะพระองค์ “ทรงสร้างกาลเวลา” (เปรียบเทียบกับ “พระองค์ได้ทรงทำให้มียุคต่างๆขึ้น” ฮีบรู 1:2, ฉบับ NJB) และทรงกำหนดยุคต่างๆนั้นตามพระประสงค์นิรันดร์ของพระองค์[15]

      คำว่า aiōn เกี่ยวข้องกับเวลา (เปรียบเทียบ eon)  การแปลว่า “โลก” หรือ “จักรวาล” ทำให้เข้าใจผิดเพราะ “โลก” มีความหมายที่ไม่เกี่ยวข้องกับเวลาดังจะเห็นได้ในพจนานุกรมภาษากรีกหรือภาษาอังกฤษ  กระนั้นบางฉบับก็แปล aiōn ในฮีบรู 1:2 ว่า “โลก” แทนที่จะแปลว่า “ยุค” เพื่อบอกว่าพระเจ้าได้ทรงสร้างโลกแห่งวัตถุโดยทางพระเยซู ดังนั้นจึงเป็นการ “บอกเป็นนัย” ถึงการดำรงอยู่ก่อนของพระเยซู

 

ฮีบรู 1:3

 

ฮีบรู 1:3 พระบุตรเป็นแสงสะท้อนพระสิริของพระเจ้า และทรงเป็นตัวแทนที่เหมือนพระเจ้า และทรงค้ำจุนทุกสิ่งไว้ด้วยถ้อยคำที่ทรงอานุภาพของพระองค์ หลังจากที่ได้ทรงชำระบาปแล้ว พระองค์ก็ได้ประทับที่เบื้องขวาขององค์ผู้สูงสุดในสวรรค์ (ฉบับ NIV)

      เราจะเปรียบเทียบส่วนแรกของข้อนี้กับสองข้อจาก 2 โครินธ์ 4

ฮีบรู 1:3a พระบุตรทรงเป็นแสงสะท้อนพระสิริของพระเจ้า และทรงเป็นตัวแทนที่เหมือนพระเจ้า

2 โครินธ์ 4:6b   พระสิริของพระเจ้าที่ปรากฏบนพระพักตร์ของพระเยซูคริสต์

2 โครินธ์ 4:4b   คือเรื่องพระสิริของพระคริสต์ผู้ทรงเป็นพระฉายาของพระเจ้า

 

      สองข้อหลังมาจากพระคัมภีร์ตอนเดียวกันและห่างกันเพียงข้อเดียว (ข้อ 5)  เมื่อมองรวมกันจะเห็นว่าทั้งสองข้อมีความคล้ายกันกับฮีบรู 1:3a  เนื่องจากพระเยซูคริสต์ทรงเป็น “พระฉายาของพระเจ้า” พระองค์ทรงเป็น “แสงสะท้อนพระสิริของพระเจ้า” ที่เห็นได้ “บนพระพักตร์ของพระเยซูคริสต์”  ให้ดูคำที่เป็นตัวหนา

      แต่ถ้าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าเหมือนที่พระองค์ทรงเป็นในความเชื่อตรีเอกานุภาพ ฮีบรู 1:3 ก็จะเข้าใจไม่ได้ เพราะพระสิริที่พระองค์ทรงสำแดงนั้นจะเป็นพระสิริของความเป็นพระเจ้าของพระ องค์เอง  แต่ตรงกันข้ามกับพระสิริที่ฉายผ่านพระเยซูของพระคัมภีร์นั้นเป็นพระสิริของพระเจ้า

คำกรีก  charaktēr ซึ่งแปลในฮีบรู 1:3 ว่า “เป็นตัวแทนที่เหมือน” (ฉบับ NIV) หรือ “พิมพ์เดียวกัน” (ฉบับ ESV)[16] หมายถึงรูปแบบภายนอกที่มองเห็นได้  พจนานุกรมภาษากรีก-อังกฤษฉบับ BDAG นิยามคำนี้ว่าเป็น “สิ่งที่ปรากฏให้เห็น, ลักษณะภายนอก, รูปลักษณ์ที่มองเห็น, แบบพิมพ์”  คำว่าแบบพิมพในคำนิยามนี้สอดคล้องกับความจริงที่ว่า พระเยซูคริสต์ทรงเป็น “พระฉายาของพระเจ้า” (2 โครินธ์ 4:4)[17]  เนื่องจาก “เป็นตัวแทน” และ “พระฉายา (รูปจำลอง)” ถูกใช้กับพระเยซูผู้ทรงเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ จึงมีการเปิดเผยบางสิ่งสำคัญ คือเพราะความสมบูรณ์แบบของพระองค์นี่เอง พระเยซูจึงทรงเป็นรูปจำลองพิเศษที่ให้เห็นพระเจ้าที่มองไม่เห็น และเป็นตัวแทนที่เหมือน (สมบูรณ์แบบ) ของพระเจ้า  ความจริงที่ว่าพระเยซูทรงทำให้มองเห็นพระเจ้าที่มองไม่เห็นนั้น เป็นการบรรลุผลที่มีอานุภาพมากที่สุดตามจุดประสงค์ของพระเจ้าในการสร้างมนุษย์ นั่นก็คือ ที่จะทรงเปิดเผยพระองค์เองกับมนุษย์และทุกสิ่งที่ทรงสร้าง  การเปิดเผยพระองค์เองของ    พระเจ้าเป็นขั้นแรกที่สำคัญในการสื่อสารกับมนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้าง

      ฮีบรู 1:3 การกล่าวถึงพระคริสต์ว่า “ทรงค้ำจุนทุกสิ่งไว้ด้วยถ้อยคำที่ทรงอานุภาพของพระองค์” โดยที่คำว่า “ค้ำจุน” แปลจากคำ pherō ซึ่งเป็นคำกริยาที่มีความหมายหลากหลายคือ นำ, เกิดขึ้น, แบกรับ, ค้ำจุน, แบก (เช่น ใช้กับพระเยซูในการแบกกางเขน, ลูกา 23:26)

      ในฮีบรูมีการเปรียบเทียบพระเยซูกับโมเสส แต่ก็มีเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างกันด้วย (เช่น ฮีบรู 3:3พระเยซู​​ทรงสมควรได้รับ​​เกียรติยิ่งกว่าโมเสส”)  จึงไม่น่าแปลกใจที่คำ pherō นี้ใช้ในพระคัมภีร์กับทั้งโมเสสและพระเยซู  คือโมเสส “แบก” (นำ, แบกรับ) คนอิสราเอล[18] และในทำนองเดียวกันพระเยซูก็ทรง “แบก” โลกโดย “ทรงค้ำจุนสิ่งทั้งปวงไว้ด้วยถ้อยคำที่ทรงอานุภาพของพระองค์” (ฮีบรู 1:3)  ในฮีบรู 1:3 นั้น pherō เป็นคำกริยาในกาลปัจจุบันซึ่งบ่งชี้ว่า พระเยซูกำลังทรงค้ำจุนอยู่ในขณะนี้และจะยังคงทำเช่นนั้นต่อไปในอนาคตจนยุคสุดท้าย  การทรงค้ำจุนสิ่งทั้งปวงไว้ของพระองค์นั้นไม่ได้มองย้อนกลับไปในอดีตอันไกลโพ้น หรือย้อนไปถึงการดำรงอยู่ก่อน หรือย้อนไปถึงการทรงสร้างทางวัตถุ แต่มองไปที่ฤทธานุภาพและสิทธิอำนาจที่มาพร้อมกับการยกย่องพระองค์ให้อยู่ในที่สูงสุด ณ เบื้องขวาของพระเจ้า (ฮีบรู 1:3)  นี่ไม่ใช่ที่นั่งอันมีเกียรติสำหรับพระเยซูที่จะ “นั่งพอใจผลงาน” ชื่นชมกับความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมของพระองค์  การที่พระองค์ได้รับการยกย่องอย่างสูงส่งนั้นจึงทรงมีสิทธิอำนาจที่จะปกครองในฐานะผู้แทนที่มีอำนาจเต็มของพระยาห์เวห์เหนือจักรวาลของพระองค์เพื่อบัญชา “สิ่งทั้งปวง” (1:3)  เนื่องจากพระเยซูทรงได้รับการยกย่องจากพระเจ้าและได้รับนามที่เหนือนามทั้งหมด (ฟีลิปปี 2:9)[19] ในเวลานี้พระองค์จึงทรงเป็น “องค์​​ผู้เป็นเจ้าเหนือคนทั้งหลาย” (กิจการ 10:36)[20] ทรงได้รับสิทธิอำนาจให้อยู่เหนือทุกคนและทุกสิ่งในสวรรค์และบนแผ่นดินโลกโดยยกเว้นตัวพระเจ้าเอง (1 โครินธ์ 15:27)[21] ที่พระเยซูทรงประทับอยู่เบื้องขวาของพระองค์  ในข้อฮีบรู 1:3 นี้ พระยาห์เวห์ได้ถูกกล่าวถึงโดยคำนามนัยว่า “ผู้ทรงเดชานุภาพ” (เหมือนกับในฮีบรู 8:1)[22]

 

ฮีบรู 1: 4-5

ฮีบรู 1:4 ทรงมาเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่กว่าพวกทูตสวรรค์มากนัก เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงได้รับพระนาม

ที่ประเสริฐกว่านามของพวกทูตสวรรค์

 

      คำว่า “ทรงมาเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่กว่าพวกทูตสวรรค์มากนัก” จะไม่สมเหตุสมผลหากนำไปใช้กับพระเจ้าพระบุตรของความเชื่อในตรีเอกานุภาพ เพราะถ้าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าดังที่พระองค์ทรงเป็นตามความเชื่อในตรีเอกานุภาพนั้น โดยธรรมชาติแล้วพระองค์จะทรงยิ่งใหญ่กว่าพวกทูตสวรรค์  พระองค์ไม่สามารถ “มาเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่กว่า นั่นก็คือ ยกระดับให้เหนือกว่าพวกทูตสวรรค์ เพราะนั่นจะหมายถึงว่าทรงต่ำกว่ามาก่อน  การที่ผู้เขียนฮีบรูสามารถพูดถึงพระคริสต์ได้ง่ายๆและสบายๆว่า “มาเป็น” ผู้ที่ยิ่งใหญ่กว่าพวกทูตสวรรค์ ก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเขาไม่ได้คิดว่าพระคริสต์ทรงเป็นพระเจ้า

 

ฮีบรู 1:5  เพราะ​ว่า​พระ​เจ้า​เคย​ตรัส​กับพวก​ทูต​สวรรค์ไหนบ้าง​ว่า “เจ้า​เอง​เป็น​บุตร​ของ​เรา วัน​นี้​เราได้​ให้​กำ​เนิด​เจ้า”?  หรือตรัส​อีก​ว่า “เรา​จะ​เป็น​บิดา​ของ​เขา และ​เขา​จะ​เป็น​บุตร​ของ​เรา” (ฉบับ ESV)

 

      ความสัมพันธ์แบบบิดากับบุตรนี้ไม่ได้ให้กับทูตสวรรค์ แต่ให้กับกษัตริย์ผู้เป็นพระเมสสิยาห์ (“เจ้าเป็นบุตรของเรา วันนี้​​เราได้มาเป็นบิดาของเจ้าแล้วสดุดี 2:7) ให้กับซาโลมอน (“เพราะเราได้เลือกเขาให้เป็นบุตรของเรา1 พงศาวดาร 28:6) และให้กับผู้ที่อยู่ในพระคริสต์ (“เพราะว่าในพระเยซู พวกท่านทุกคนจึงเป็นบุตรของพระเจ้า” (กาลาเทีย 3:26)  ต่อไปนี้เป็นข้อที่เกี่ยวข้องกัน

 

สดุดี 2:7 ข้าพเจ้าจะประกาศกฎเกณฑ์ของพระยาห์เวห์ พระองค์ตรัสกับข้าพเจ้าว่า

“เจ้าเป็นบุตรของเรา วันนี้เราได้มาเป็นบิดาของเจ้าแล้ว

1 พงศาวดาร  22:10  [โซโลมอน] จะเป็นบุตรชายของเรา และเราจะเป็นบิดาของเขา

และเราจะสถาปนาบัลลังก์แห่งราชอาณาจักรของเขาในอิสราเอลเป็นนิตย์ (รวมทั้ง 17:3; 28:6)

สดุดี 89:26 [ดาวิด] จะร้องต่อเราว่า ‘ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์

พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของข้าพระองค์ และเป็นศิลาแห่งความรอดของข้าพระองค์’

 

ฮีบรู 1:6

ฮีบรู 1:6 เมื่อพระองค์ทรงนำพระบุตรหัวปีนั้นเข้ามาในโลก พระองค์ตรัสว่า

ให้ทูตสวรรค์ทั้งหมดของพระเจ้ากราบนมัสการพระองค์(ฉบับ ESV)

 

      ฮีบรู 1:6 น่าจะเป็นการเชื่อมต่อกันของพระคัมภีร์เดิมสองข้อ คือสดุดี 97:7 (สดุดี 96:7 ในฉบับ LXX) และเฉลยธรรมบัญญัติ 32:43 ในรูปแบบที่ปรากฏในฉบับ LXX (พระคัมภีร์เดิมภาษากรีกหรือเซปทัวจินต์) มากกว่าในพระคัมภีร์ภาษาฮีบรู[23]  ลักษณะที่แน่ชัดของการเชื่อมต่อนี้ ไม่อาจกำหนดได้อย่างแน่นอน เนื่องจากฮีบรู 1:6 มีการเชื่อมต่อกันที่ไม่จำกัด โดยใช้สองสามคำจากหนึ่งในข้อต่างๆ และสองสามคำจากข้ออื่น

      แต่เราก็ไม่อาจพลาดการสังเกตความคล้ายคลึงกันในการใช้คำระหว่างฮีบรู 1:6 กับพระคัมภีร์เดิมสองข้อที่อยู่ในฉบับ LXX  ตอนนี้เราจะเทียบฮีบรู 1:6 กับข้อที่คล้ายกันของฉบับ LXX จากสดุดี 96:7 (สดุดี 97:7 ในพระคัมภีร์ส่วนใหญ่) และเฉลยธรรมบัญญัติ 32:43

 

ฮีบรู 1:6 เมื่อพระองค์ทรงนำพระบุตรหัวปีนั้นเข้ามาในโลก พระองค์ตรัสว่า

ให้ทูตสวรรค์ทั้งหมดของพระเจ้ากราบนมัสการ*พระองค์(ฉบับ ESV)

สดุดี 96:7 ฉบับ LXX “ทูตสวรรค์ทั้งหมดของพระองค์เอ๋ย จงก้มคำนับ*ต่อพระองค์!

(ฉบับแปลนิวอิงลิชจากฉบับเซปทัวร์จินต์[24])

เฉลยธรรมบัญญัติ 32:43 ฟ้าสวรรค์เอ๋ย จงยินดีกับพระองค์ บรรดาพระทั้งหลาย

จงก้มกราบ*พระองค์” (ฉบับ ESV; ฉบับ LXX ใช้ “บรรดาบุตรของพระเจ้า”)

 

      เครื่องหมายดอกจัน*บ่งชี้ว่าคำกรีกของคำที่ทำเครื่องหมายไว้ ไม่ว่าจะในพระคัมภีร์ใหม่หรือพระคัมภีร์เดิมภาษากรีก (ฉบับ LXX) ก็คือ proskyneō (ซึ่งมีหลายความหมาย ความหมายพื้นฐานคือ “กราบลง” หรือ “กราบไหว้” แต่บางครั้งก็ “นมัสการ”)  พระคัมภีร์เดิมสองข้อซึ่งเป็นที่มาของฮีบรู 1:6 คือสดุดี 96:7 (ฉบับ LXX) และเฉลยธรรมบัญญัติ 32:43 ทั้งสองข้อกล่าวถึงพระยาห์เวห์[25]  ดังนั้น proskyneō ซึ่งในฮีบรู 1:6 แปลไว้ว่า “นมัสการ” (ฉบับ ESV) หรือ “กราบไหว้” (ฉบับ NJB, REB) หรือ “การแสดงความเคารพ” (ฉบับ ITNT)[26] ในพระคัมภีร์เดิมได้ใช้กับพระยาห์เวห์ พระเจ้าเดียวและเพียงองค์เดียว

      ทำไมฮีบรู 1:6 จึงกล่าวว่า “ให้ทูตสวรรค์ทั้งหมดของพระเจ้ากราบนมัสการพระองค์”?  ถ้าข้อนี้มาจากสดุดี 97:7 (96:7 ในฉบับ LXX) และเฉลยธรรมบัญญัติ 32:43 ซึ่งแม้จะมีความไม่แน่นอนบางประการเกี่ยวกับเรื่องนี้ (คู่มืออธิบายพระคัมภีร์ของคลาร์ก,[27] ฮีบรู 1:6) มันก็คงเป็นการรวมบางคำจากข้อหนึ่งและบางคำจากอีกข้อหนึ่งเข้าด้วยกัน  การเชื่อมต่อกันอาจทำได้อย่างไม่มีข้อจำกัด แต่ข้อความโดยรวมก็ไม่ผิดเพี้ยน คือพระเมสสิยาห์ทรงเป็นบุตรหัวปี ดังนั้นพวกทูตสวรรค์ของพระเจ้าจึงจะต้อง “นมัสการพระองค์” (ฉบับ ESV) หรือ “กราบไหว้พระองค์” (ฉบับ NJB, REB) หรือ “เคารพพระองค์” (ฉบับ ITNT) หรือ “เทิดทูนพระองค์” (ฉบับ Douay-Rheims )

      พระคริสต์ทรงได้รับเกียรติและสิทธิพิเศษในฐานะบุตรหัวปีที่ยิ่งใหญ่กว่าบรรดาทูตสวรรค์  ความที่พระองค์ทรงยิ่งใหญ่กว่าบรรดาทูตสวรรค์ปรากฏให้เห็นในบริบทถัดมาของฮีบรู 1:6 ไม่ต่ำกว่าสามคำกล่าวที่ว่า พระคริสต์ทรงยิ่งใหญ่กว่าพวกทูตสวรรค์ (ข้อ 4) พระคริสต์ทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้าในลักษณะที่พวกทูตสวรรค์ไม่ได้เป็น (ข้อ 5) พระคริสต์ประทับอยู่เบื้องขวาของพระเจ้าในขณะที่พวกทูตสวรรค์ไม่ได้อยู่ (ข้อ 3)  เนื่องจากฮีบรู 1:6 ตามหลังสามข้อนี้ (3,4,5) มาติดๆ มันจึงเป็นความต่อเนื่องของแนวความคิด นั่นก็คือ ที่พระคริสต์ทรงยิ่งใหญ่กว่าพวกทูตสวรรค์  ดังนั้นทูตสวรรค์ทั้งหมดจึงต้อง “นมัสการพระองค์” หรือ “กราบไหว้พระองค์”

      การยกย่องพระคริสต์ขึ้นสูงมีให้เห็นในหนังสือพระกิตติคุณและในจดหมายของเปาโล และจากการแสดงออกของมนุษย์และพวกทูตสวรรค์  ในมัทธิว 2:11[28] พวกนักปราชญ์ก้มลงตรงหน้าพระกุมารเยซูและ “นมัสการพระองค์” (ฉบับ ESV) หรือ “กราบไหว้พระองค์” (ฉบับ NJB, REB) หรือ “เทิดทูนพระองค์” (ฉบับ Douay-Rheims)  หลายปีต่อมาพระเจ้าได้ทรงยกย่องพระองค์จนกระทั่งว่า “โดยพระนามของพระเยซูนั้นทุกหัวเข่า ทั้งในสวรรค์ บนแผ่นดินโลก และใต้พื้นแผ่นดินโลก จะต้องคุกเข่าลงกราบพระองค์” (ฟีลิปปี 2:10)  คำว่า “ในสวรรค์” ใช้กับพวกทูตสวรรค์ของพระเจ้าอย่างเด่นชัด และดังนั้นจึงใช้กับฮีบรู 1:6 (“ให้ทูตสวรรค์ทั้งหมดของพระเจ้ากราบนมัสการ [หรือเคารพ] พระองค์”) โดยมีความแตกต่างที่ชาวฟีลิปปีกำลังกล่าวถึงสถานการณ์หลังการฟื้นขึ้นจากความตาย

 

              หมายเหตุ: ในบทที่ 8 ของหนังสือเล่มนี้  เราจะตรวจสอบข้อมูลของพระคัมภีร์ใหม่

              เกี่ยวกับ proskyneō และค้นหาว่าเมื่อคำนี้ใช้กับพระเยซู จะหมายถึง “กราบไหว้”

              มากกว่าเป็นการนมัสการพระเจ้า

 

      ความจริงที่ว่า proskyneō หมายถึง “กราบไหว้” มากกว่า “นมัสการ” เมื่อใช้กับพระเยซู (ดังที่จะเห็นในบทที่ 8) นอกจากนี้ยังพบได้ในบริบทของฮีบรู 1:6 ซึ่งกล่าวถึงสองสิ่งคือ (i) พระคริสต์ทรงเป็นบุตรหัวปี (ii) พระคริสต์ทรงยิ่งใหญ่กว่าพวกทูตสวรรค์ของพระเจ้า  เกี่ยวกับ (i) นั้น ไม่มีที่ไหนในพระคัมภีร์ที่บุตรหัวปีเคยถูกนมัสการเป็นพระเจ้า ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ด้วยการรวบรวมข้อพระคัมภีร์มากกว่า 100 ข้อในพระคัมภีร์เดิมและพระคัมภีร์ใหม่ที่กล่าวถึงบุตรหัวปี  ในทางตรงกันข้าม พระเยซูผู้เป็นบุตรหัวปีทรงประกาศว่า พระบิดาของพระองค์เป็น “พระเจ้าเที่ยงแท้เพียงองค์เดียว” (ยอห์น 17:3)[29]  การที่จะใช้ “การแสดงความเคารพ” มากกว่า “การนมัสการ” ในฮีบรู 1:6 จะสอดคล้องกับความจริงนี้ และเป็นการยืนยันว่าพระคริสต์ทรงยิ่งใหญ่กว่าพวกทูตสวรรค์  พวกทูตสวรรค์จะต้องกราบไหว้พระคริสต์ผู้ทรงยิ่งใหญ่กว่าพวกตน และโดยพระนามของพระองค์นั้น ทุกหัวเข่าจะต้องคุกลงกราบพระองค์ (ฟีลิปปี 2:10)

 

ฮีบรู 1:8

ฮีบรู 1:8 แต่พระองค์ตรัสถึงพระบุตรว่า “ข้าแต่พระเจ้า พระบัลลังก์ของพระองค์ดำรงเป็นนิตย์

พระคทาแห่งความเที่ยงธรรมคือพระคทาแห่งราชอาณาจักรของพระองค์” (ฉบับ ESV)

สดุดี 45:6 ข้าแต่พระเจ้า พระบัลลังก์ของพระองค์​​ดำรงอยู่เป็นนิตย์

พระคทาแห่งราชอาณาจักรของพระองค์เป็นพระคทาเที่ยงธรรม (ฉบับ ESV)

 

      ฮีบรู 1:8 เป็นคำอ้างอิงมาจากสดุดี 45:6  จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องสังเกตว่าสดุดี 45 เป็นเพลงสดุดีในการขึ้นครองราชย์ว่า “ข้าพเจ้าร่ายคำกลอนของข้าพเจ้าถวายพระราชา” (ข้อ 1) ท่านผู้นี้ได้มาเป็นกษัตริย์ของอิสราเอลโดยการเจิม (ข้อ 7พระเจ้าผู้เป็นพระเจ้าของพระองค์ได้ทรงเจิมพระองค์ไว้ด้วยน้ำมันแห่งความยินดี”) ซึ่งทำให้เราระลึกถึงว่ากษัตริย์ทั้งหลายของอิสราเอลได้รับการเจิม  สดุดี 45 กำลังประกาศการเจิมของกษัตริย์ที่เป็นมนุษย์เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์ของอิสราเอล  เห็นได้ชัดเจนว่ากษัตริย์เป็นมนุษย์มากกว่าจะเป็นพระเจ้าเพราะข้อ 2 กล่าวว่า พระองค์มาจาก “บุตรทั้งหลายของมนุษย์”[30]

      ในแง่หนึ่ง กษัตริย์ทรงเป็นมนุษย์ แต่ในอีกแง่หนึ่ง พระองค์ทรงถูกกล่าวว่า “ข้าแต่พระเจ้า”  นี่จะเข้าใจได้ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจ “พระเจ้า” ในลักษณะเดียวกับคำกล่าวของพระเยซูว่า “เรากล่าวว่าพวกท่านเป็นพระ” (ยอห์น 10:34) ซึ่งเป็นคำอ้างอิงจากสดุดี 82:6 (“เจ้าทั้งหลายเป็นพระ”)[31]

      เป็นที่ทราบโดยทั่วกันในหมู่นักวิชาการที่ได้ศึกษาสดุดี 45:6 ว่า แม้ว่ากษัตริย์นั้นจะถูกเรียกว่า “พระเจ้า” หรือ “พระ” (gods) ในข้อนี้ พระองค์ก็ยังเป็นมนุษย์  นี่จะเห็นได้จากแหล่งข้อมูลของความเชื่อในตรีเอกานุภาพดังต่อไปนี้

 

ผู้เขียนเรียกกษัตริย์ของเขาที่เป็นมนุษย์ว่า “พระเจ้า” (Elohim) เขาไม่ได้หมายความว่ากษัตริย์เป็นพระเจ้า แต่อยู่ในฐานะของพระเจ้าและเป็นตัวแทนของพระองค์ (หนังสืออธิบายสดุดี 45:6 ของ ดร. คอนสเตเบิล)[32]

นื่องจากกษัตริย์ที่เป็นเชื้อสายของดาวิดเป็นผู้รักษาการแทนของพระเจ้าบนโลกนี้  ผู้เขียนสดุดีจึงเรียกกษัตริย์เหมือนกับว่าพระองค์เป็นพระเจ้าที่จุติลงมา  การใช้คำพูดที่เกินจริงซึ่งคล้ายกันนี้ปรากฏในอิสยาห์ 9:6[33]  ที่กษัตริย์ที่ดีที่สุดแห่งยุคสุดท้ายซึ่งเป็นเชื้อสายของดาวิดได้ชื่อว่า “พระเจ้าผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ (ฉบับ NET กับสดุดี 45:6)

เราจะเรียกกษัตริย์ว่า “พระเจ้า” ได้ในแง่ไหนหรือ?  เนื่องมาจากว่าการที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งกษัตริย์ในตะวันออกใกล้ในสมัยโบราณเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อพลเมืองในฐานะตัวแทนของอาณาจักรของพระเจ้า (คู่มือเบื้องหลังพระคัมภีร์ใหม่พร้อมภาพประกอบของซอนเดอร์วาน: พระคัมภีร์เดิม, เล่ม 5, สดุดี 45:6)[34]

ถึงแม้ว่ากษัตริย์อิสราเอลจะไม่ได้รับการนับถือว่าเป็นพระเจ้า (เหมือนบรรดากษัตริย์ของอียิปต์) มันก็เป็นไปได้ว่าพระองค์อาจถูกเรียกว่าเป็น “พระเจ้า” ในรูปแบบของภาษาที่เกินจริงแบบตะวันออก หรือในฐานะตัวแทนของพระเจ้า (เปรียบเทียบอพยพ 21:6; 22:8, 9, 28; สดุดี 82:6) (คู่มืออธิบายพระคัมภีร์ใหม่ของซอนเดอร์วาน, ผู้รวบรวม เอฟ เอฟ บรูซ, เกี่ยวกับสดุดี 45:6)[35]

ความหมายง่ายๆและธรรมดาก็คือว่า ซาโลมอนไม่ได้ปกครองแบบเผด็จการเหมือนกษัตริย์ส่วนใหญ่ แต่ปกครองโดยธรรมและเสมอภาคตามกฎหมาย และด้วยเหตุนี้พระบัลลังก์ของพระองค์จะได้รับการสถาปนาเป็นนิตย์ ถึงแม้พระองค์จะถูกเรียกว่าพระเจ้า เพราะว่าพระเจ้าได้ประทับรอยพระสิริของพระองค์ไว้ในตัวกษัตริย์เหล่านั้น... มันเป็นความจริงที่พวกทูตสวรรค์และพวกผู้พิพากษาก็ถูกเรียกโดยรวมว่า “พระเจ้า” (เอโลฮิม), “พระทั้งหลาย” (คู่มืออธิบายสดุดี 45:6 ของจอห์น คาลวิน)[36]

อย่างไรก็ตาม ถ้ากษัตริย์ถูกเรียกว่า “เอโลฮิม” (พระเจ้า) เราควรสังเกตว่าพระองค์ก็ยังถูกระลึกถึงว่า “พระเจ้าผู้ทรงเป็นพระเจ้าของพระองค์” เป็นผู้ “ทรงตั้งพระองค์ไว้เหนือบรรดาพระสหายของพระองค์”  คำฮีบรูว่า “เอโลฮิม” มีความหมายกว้างกว่าคำว่า “พระเจ้า” และ “พระทั้งหลาย”  ในอพยพ 21:6 และ 22:8-9, 28 (อาจเป็นได้ใน 1 ซามูเอล 2:25) ดูเหมือนว่าจะใช้กับผู้พิพากษาที่เป็นมนุษย์ (ดูอพยพ 4:16; 7:1)[37] (คู่มืออธิบายการทำความเข้าใจพระคัมภีร์, สดุดี 45:6)[38]

 

      เนื่องจากพระเจ้าทรงเป็นกษัตริย์สูงสุดของอิสราเอล (“พระยาห์เวห์พระมหากษัตริย์ของอิสรา เอล” อิสยาห์ 44:6; เปรียบเทียบเศฟันยาห์ 3:15) ดังนั้นราชบัลลังก์ของอิสราเอลจึงเป็นพระราชบัลลังก์ของพระเจ้า  กษัตริย์ของอิสราเอลทุกพระองค์ที่ครองบัลลังก์นั้นก็ได้กระทำการครองราชย์ในฐานะผู้รักษาการแทนและเป็นตัวแทนของพระยาห์เวห์

      ม่ว่าจะกรณีใด อะไรคือประเด็นสำคัญของการยืนยันในความเชื่อตรีเอกานุภาพว่าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าตามฮีบรู 1:8 (“ข้าแต่พระเจ้า พระบัลลังก์ของพระองค์ดำรง​​​เป็นนิตย์”) เพราะนี่จะทำให้ “พระเจ้า” ทรงต่ำกว่าพวกทูตสวรรค์ชั่วระยะหนึ่ง (ฮีบรู 2:7)?  สดุดี 45:7 (ที่อ้างอิงในฮีบรู 1:9)[39] กล่าวว่าพระเจ้าทรงเป็นพระเจ้าของกษัตริย์ผู้ได้รับการเจิม แม้ข้อก่อนหน้าจะถูกเรียกว่า “ข้าแต่พระเจ้า”  ด้วยเหตุนี้จึงยังคงมีความแตกต่างของบุคคล ระหว่างพระเจ้ากับกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม  ถ้าเราระบุคำเรียก “ข้าแต่พระเจ้า” กับพระเยซูที่เป็นพระเจ้า ก็จะทำให้พระเจ้า (ในข้อ 9) เป็นพระเจ้าของพระเจ้า

      จุดสำคัญในฮีบรู 1:8 ไม่ได้อยู่ใน “ข้าแต่พระเจ้า” แต่อยู่ที่ “พระบัลลังก์ของพระองค์ดำรง​​​เป็นนิตย์”  ราชบัลลังก์ของพระบุตรเป็นราชบัลลังก์นิรันดร์ เพราะเป็นพระราชบัลลังก์ของพระยาห์เวห์  แม้ว่าฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลกที่พระยาห์เวห์ได้ทรงสร้างขึ้น (ฮีบรู 1:10 อ้างอิงจากสดุดี 102:25 ซึ่งกล่าวถึงพระยาห์เวห์) จะพินาศไป (ฮีบรู 1:11, 12)  แต่มีการกล่าวถึงพระยาห์เวห์ว่า “พระองค์ยังทรงเหมือนเดิม และปีเดือนของพระองค์จะไม่มีวันสิ้นสุด” (ข้อ 12)

      เนื่องจากพระลักษณะที่นิรันดร์ของพระเจ้าและพระบัลลังก์ของพระองค์ ชาวยิวในสมัยของพระเยซูจึงรู้ว่า “พระคริสต์จะอยู่เป็นนิตย์” (ยอห์น 12:34)[40] เป็นความมั่นใจที่ได้แรงสนับสนุนจากพระสัญญาของพระเจ้าที่มีต่อดาวิดว่า “พงศ์พันธุ์ของเขาจะดำรงเป็นนิตย์ บัลลังก์ของเขาจะยืนนานเท่าดวงอาทิตย์ต่อหน้าเรา(สดุดี 89:36, เปรียบเทียบอิสยาห์ 9:7, เอเสเคียล 37:24-25, ดาเนียล 7:14)

      แต่ผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพทั้งหลายก็จะโต้แย้งว่า ผู้เขียนฮีบรูตั้งใจและจงใจใช้สดุดี 45:6 ด้วยถ้อยคำที่ชัดเจนว่า “ข้าแต่พระเจ้า พระบัลลังก์ของพระองค์ดำรง​​​เป็นนิตย์” และนำไปใช้กับพระบุตร  มีข้อสังเกตหลายประการที่สามารถตอบในเรื่องนี้ได้ และข้อสังเกตเหล่านี้จะเสริมกัน

      ประการแรก  พระคัมภีร์หลักที่มีให้ชาวยิวที่พูดภาษากรีกใช้ในช่วงสมัยของพระคัมภีร์ใหม่ก็คือพระคัมภีร์ฉบับเซปทัวจินต์ (ฉบับ LXX)  ในสมัยนั้นจะไม่สามารถทำเหมือนกับเราในสมัยนี้ได้ คือเลือกพระคัมภีร์ที่จะอ่าน สดุดี 45:6 ว่า “ราชบัลลังก์ของพระเจ้า” (ฉบับ RSV) หรือพระคัมภีร์อีกฉบับกล่าวว่า “ราชบัลลังก์ของพระองค์มาจากพระเจ้า” (ฉบับ NJB) หรืออีกฉบับกล่าวว่า “ข้าแต่พระเจ้า ราชบัลลังก์ของพระองค์” (ฉบับ NIV) ส่วนผู้เขียนถึงชาวฮีบรูไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะต้องอ้างอิงถึงฉบับ LXX ที่มีอยู่ เพราะเขาจะไม่ถือโอกาสลบคำว่า “ข้าแต่พระเจ้า” ออกไปจากพระคัมภีร์ (ฉบับ LXX) ที่เขามีอยู่ ถึงแม้ว่าสิ่งที่เขาต้องการจะพูดก็คือว่า ราชบัลลังก์นั้นดำรง​​​เป็นนิตย์  ในการใช้ไม่กี่คำจากสดุดี 45:6 นี้เขาก็จะยกอ้างอิงทั้งประโยค

      ประการที่สอง  ชาวยิวโดยรวมไม่เชื่อว่าพระเมสสิยาห์เป็นพระเจ้า และจะไม่นึกถึงสดุดี 45:6 ว่าเป็นหลักฐานในการเป็นพระเจ้าของพระองค์  การเลือกข้อเดียวนี้จากพระคัมภีร์เดิมมาพิสูจน์ว่าพระเมสสิยาห์เป็นพระเจ้าก็จะเป็นเรื่องไร้สาระสำหรับชาวยิวส่วนใหญ่ที่เคร่งศาสนา

      ประการที่สาม  นักวิชาการพระคัมภีร์หลายคนตระหนักถึงวิธีที่สำคัญในการอ่านสดุดี 45:6 ที่ทำให้ข้อความนั้นเด่นชัดขึ้นสำหรับผู้ที่กำลังรอการเสด็จมาของพระเมสสิยาห์ที่จะมาปกครองประชาชาติในพระนามของพระเจ้า  ในอพยพ 4:16 พระยาห์เวห์ตรัสกับโมเสสว่าเขาจะเป็น “เหมือนพระเจ้า” ต่ออาโรน  สามบทต่อมาในอพยพ 7:1[41] พระยาห์เวห์ตรัสกับโมเสสว่า “ดูสิ เราได้ตั้งเจ้าไว้ให้เป็นดังพระเจ้าต่อฟาโรห์”  ถ้าพระเจ้าทรงทำให้โมเสส “เป็นพระเจ้า” ต่ออาโรนและเป็น “ดังพระเจ้า” ต่อฟาโรห์ ยิ่งกว่านั้นสักเพียงใด พระองค์จะไม่ทรงทำให้พระคริสต์เป็น “ดังพระเจ้า” ต่อโลก หรือเป็นพระฉายาของพระเจ้า ที่ทำให้มองเห็นพระเจ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้หรอกหรือ? (เปรียบเทียบโคโลสี 1:15)[42]

      ประการที่สี่  ในหมู่นักวิชาการที่ได้ศึกษาสดุดี 45:6 (“ข้าแต่พระเจ้า พระบัลลังก์ของพระองค์ดำรง​​​เป็นนิตย์”) ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพ (จอห์น คาลวิน) หรือไม่ได้เป็นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพ (ไมเคิล เซอร์วีตัส) และไม่ว่าพวกเขาจะเป็นคริสเตียน (เครก บรอยส์) หรือเป็นยิว (โรเบิร์ต อัลเตอร์) ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นโปรแตสแตนท์ (ปีเตอร์ เครกี้) หรือคาทอลิก (บาทหลวงมิทเชลล์ ดาฮูด)[43] ต่างก็ทราบกันโดยทั่วไปว่า ถึงแม้กษัตริย์ในสดุดี 45:6 จะถูกเรียกว่า “พระเจ้า” หรือ “พระ” พระองค์ก็ไม่ใช่พระเจ้า แต่เป็นมนุษย์ที่เป็นตัวแทนของพระเจ้า  ผมได้ตรวจสอบจากแหล่งข้อมูลหลายสิบแห่งทั้งในสมัยก่อนและสมัยปัจจุบัน ก็ไม่มีใครที่แสดงความเห็นที่ขัดกับเรื่องนี้

      เราสามารถมั่นใจได้ว่าผู้เขียนถึงชาวฮีบรู ผู้ซึ่งโชกโชนอย่างแท้จริงกับพระคัมภีร์ฮีบรูและวิถีทางของบรรพบุรุษของเขา ก็จะทราบดีว่ากษัตริย์ที่ถูกเรียกว่า “ข้าแต่พระเจ้า” ในสดุดี 45:6 นั้นไม่ใช่  พระเจ้าแต่เป็นมนุษย์ (อันที่จริง พระองค์จะต้องเป็นมนุษย์เพราะพระองค์มาจากเหล่า “บุตรทั้ง หลายของมนุษย์” ข้อ 2)[44]  ดังนั้นหากผู้เขียนถึงชาวฮีบรูสามารถใช้สดุดี 45:6 ข้อเดียวกันนี้กับพระเยซูคริสต์อย่างตั้งใจและด้วยความตระหนักถึงความต่อเนื่องของพระคัมภีร์มากขึ้น แล้วเขาจะไม่คิดถึงพระเยซูในความเข้าใจแบบเดียวกันหรือ ที่พระเยซูทรงถูกเรียกว่า “ข้าแต่พระเจ้า” ไม่ใช่เพราะพระองค์เป็นพระเจ้า แต่เพราะพระองค์เป็นมนุษย์ที่เป็นตัวแทนของพระเจ้า?  เหตุใดผู้เขียนถึงชาวฮีบรูจะเข้าใจฮีบรู 1:8 ในแบบที่ขัดแย้งกับความเข้าใจของเขาในสดุดี 45:6 หรือ? แล้วผู้อ่านที่รับจดหมายของเขาที่เขียนถึงชาวฮีบรูล่ะ ซึ่งแท้ที่จริงก็ได้ชื่อว่าชาวฮีบรู?  พวกเขาจะไม่รู้หรอกหรือว่าในสดุดี 45:6 กษัตริย์ที่ถูกเรียกว่า “ข้าแต่พระเจ้า” นั้นไม่ใช่พระเจ้าแต่เป็นมนุษย์?

      สรุปแล้ว ฮีบรู 1:8 ไม่ได้พิสูจน์ความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์  ผลกลับเป็นว่าฮีบรู 1:8 จะช่วยบรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพได้มากขึ้นถ้าหากข้อนี้ไม่ได้เชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่นกับสดุดี 45:6!

      คำอ้างอิงในฮีบรู 1:8 ซึ่งเหมือนกันเลยกับของสดุดี 45:6 ที่ทำให้คริสโตเฟอร์ เอ็ม ทัคเก็ตต์ (อาจารย์ด้านการศึกษาพระคัมภีร์ใหม่ที่อ็อกซ์ฟอร์ด) ต้องระมัดระวังในการให้ความเห็นกับการเป็นพระเจ้าของพระเยซูจากฮีบรู 1:8

 

อย่างไรก็ตาม เราควรระมัดระวังไว้หน่อย  คำอ้างอิงจากสดุดี 45 เป็นการกล่าวซ้ำของคำสดุดีต่อกษัตริย์  น่าเป็นไปได้ว่าไม่มีแนวคิดที่ลงความเห็นว่ากษัตริย์อิสราเอลเป็นพระเจ้าในภาษาดังกล่าวเมื่อถูกใช้ในพระคัมภีร์เดิม และด้วยเหตุนี้เราจึงควรระมัดระวังในการทึกทักเอาว่าแนวคิดเช่นนั้นมีอยู่ในฮีบรูบทที่ 1  อย่างไรก็ดี ความคิดที่ครอบงำดูเหมือนจะไม่อยู่ที่ว่าจะสามารถเรียกพระบุตรว่า “พระเจ้า” มากนัก แต่อยู่ที่ว่าราชบัลลังก์ของพระบุตรจะ “ดำรง​​​เป็นนิตย์”  และที่เพราะพระองค์ทรงรักความชอบธรรมและเกลียดชังความชั่วร้าย พระเจ้าจึงได้ทรงเจิมพระองค์เหนือบรรดาพระสหายของพระองค์  ตำแหน่งของพระองค์อยู่เหนือพวกทูตสวรรค์เพราะด้วยจุดยืนในคุณธรรมของพระองค์ พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้าให้ครอง “ราชบัลลังก์” ซึ่งจะดำรงเป็นนิตย์ (ความเข้าใจเรื่องพระคริสต์และพระคัมภีร์ใหม่, หน้า 96-97)[45]

 

ฮีบรู 1:10

ฮีบรู 1:10 องค์​​ผู้เป็นเจ้า พระองค์ได้ทรงวางรากฐานของแผ่นดินโลกในปฐมกาล

และฟ้าสวรรค์เป็นผลงานจากฝีพระหัตถ์ของพระองค์” (ฉบับ ESV)

สดุดี 102:25 ในกาลก่อนพระองค์ได้ทรงวางรากฐานของแผ่นดินโลก

และฟ้าสวรรค์เป็นผลงานจากฝีพระหัตถ์ของพระองค์ (ฉบับ ESV)

      ฮีบรู 1:10 เป็นคำอ้างอิงจากสดุดี 102:25  ข้ออื่นๆในพระคัมภีร์เดิมที่ใช้ภาพที่คล้ายคลึงกันนี้อธิบายถึงการสร้างฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลกของพระยาห์เวห์คือ อิสยาห์ 42:5, 48:13, 51:13; เยเรมีย์ 32:17; เศคาริยาห์ 12:1[46]

 

      คำว่า “พระองค์” ในเพลงสดุดี 102:25 หมายถึงพระยาห์เวห์จากที่กล่าวไว้ในข้อ 22 (“เพื่อนมัสการพระยาห์เวห์”)  ดังนั้นผู้ที่ถูกกล่าวถึงในสดุดี 102:25 จึงเป็นพระยาห์เวห์พระเจ้าที่เป็นพระผู้สร้างฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลก  การระบุเช่นนี้ยังมีให้เห็นในข้อต่างๆจากพระคัมภีร์เดิมที่เพิ่งอ้างถึงและในฮีบรูโดยรวม ตัวอย่างเช่น ฮีบรู 2:10 (เปรียบเทียบ 3:4; 11:3) กล่าวถึงพระเจ้าว่า “ในเรื่องที่พระเจ้าทรงนำบุตรจำนวนมากไปสู่ศักดิ์ศรีนั้น ก็เป็นการเหมาะสมแล้ว ที่พระเจ้าผู้ซึ่งทุกสิ่งดำรงอยู่เพื่อพระองค์และโดยพระองค์ จะทรงทำให้ผู้เบิกทางสู่ความรอดของพวกเขาสมบูรณ์โดยความทุกข์ทรมานต่างๆข้อนี้แยกให้เห็นความแตกต่างของบุคคล คือในด้านหนึ่งก็มีพระเจ้า ผู้ซึ่งทุกสิ่งดำรงอยู่โดยพระองค์ และอีกด้านหนึ่งก็มีพระเยซู ผู้ที่พระเจ้าทรงทำให้สมบูรณ์แบบ  สิ่งนี้สอดคล้องกับคำสอนโดยรวมที่ว่า พระยาห์เวห์ทรงเป็นพระผู้สร้างเพียงผู้เดียว

      ไม่ว่าเราจะอ่านฮีบรู 1:10 อย่างไรนั้น มันจะเป็นข้อผิดพลาดที่จะเอามาเป็นข้อยกเว้น หรือมาเป็นความขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่ฝังแน่นในพระคัมภีร์ว่า พระยาห์เวห์พระเจ้าทรงเป็นพระผู้สร้างเพียงผู้เดียว  นี่บ่งชี้ว่าฮีบรู 1:10 และข้อที่ขยายมากขึ้นในข้อ 10-12 นั้นหมายถึงพระยาห์เวห์มากกว่าพระเยซู

      มีเพียงข้อเดียวเท่านั้นที่แยกฮีบรู 1:10 ออกจากฮีบรู 1:8 (“ข้าแต่พระเจ้า พระบัลลังก์ของพระองค์ดำรง​​​เป็นนิตย์”) การรวมกันของสองข้อนี้แสดงให้เห็นว่า พระยาห์เวห์พระผู้สร้างได้ทรงให้พระบุตรและราชบัลลังก์ของพระองค์ดำรงอยู่เป็นนิตย์  เนื่องจากพระยาห์เวห์จะทรงดำรงอยู่เป็นนิตย์ (“พระองค์​​ยังทรงเหมือนเดิม และปีเดือนของพระองค์จะไม่มีวันสิ้นสุด” ฮีบรู 1:12) ดังนั้นราชบัลลังก์ของพระคริสต์ก็จะดำรงอยู่เป็นนิตย์  ความเป็นอมตะของพระเจ้านั้นจะเห็นได้ในฮีบรู 1:10-12 ในสามข้อความที่เป็นตัวเอน

 

ฮีบรู 1:10-12 “ข้าแต่องค์​​ผู้เป็นเจ้า พระองค์ได้ทรงวางรากฐานของแผ่นดินโลกในปฐมกาล และฟ้าสวรรค์เป็นผลงานจากฝีพระหัตถ์ของพระองค์  สิ่งเหล่านั้นจะพินาศ แต่พระองค์ทรงดำรงอยู่สิ่งเหล่านั้นจะเก่าไปเหมือนเสื้อผ้าที่สวมใส่ พระองค์จะทรงม้วนสิ่งเหล่านั้นเหมือนทรงม้วนผ้าคลุม และสิ่งเหล่านั้นจะ​​เปลี่ยนไปเหมือนกับเสื้อผ้า  แต่พระองค์​​ยังทรงเหมือนเดิม และปีเดือนของพระองค์จะไม่สิ้นสุด(ฉบับ ESV)

 

 

      พระคัมภีร์ตอนนี้อ้างอิงมาจากสดุดี 102:25-27[47] กล่าวถึงความเป็นอมตะของพระยาห์เวห์ ที่ปีเดือนของพระองค์จะไม่สิ้นสุด และพระองค์จะยังคงดำรงอยู่แม้ว่าฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลกจะพินาศไป  แต่ “พระเจ้าพระบุตร” ของความเชื่อในตรีเอกานุภาพสามารถตายได้ และไม่มีความเป็นอมตะดังที่กล่าวถึงในพระคัมภีร์ตอนนี้  ฉะนั้นฮีบรู 1:10-12 จะไม่สามารถเป็นจริงได้อย่างแท้จริงกับพระเมษโปดกของพระเจ้าผู้ทรงรับบาปของโลกไป (ยอห์น 1:29)

      รื่องการใช้สดุดี 102:25 ในฮีบรู 1:10 และกลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้นในการใช้ข้อความของพระคัมภีร์เดิมในฮีบรู คือถ้าผู้เขียนถึงชาวฮีบรูไม่ได้กำลังใช้ข้อต่างๆจากพระคัมภีร์เดิมที่กล่าวถึงพระยาห์เวห์มาใช้กับพระเยซูตามอำเภอใจ (ทั้งๆที่ชาวยิวเชื่อว่าพระเมสสิยาห์ พระบุตรของพระเจ้าเป็นมนุษย์ ไม่ใช่พระเจ้า) หรือไม่ก็มีเหตุผลสำคัญในการทำให้มีความเชื่อมโยงกัน  และจะมีเหตุผลอะไรได้นอกจากว่า พระเยซูคือผู้ที่เป็นตัวแทนของพระยาห์เวห์อย่างสมบูรณ์ และเป็นผู้ที่พระยาห์เวห์ปรากฏพระองค์อยู่จริงโดยที่พระเจ้าสถิตอยู่ในพระกายของพระองค์  (“ความ​​บริบูรณ์ทั้งสิ้นของพระเจ้าดำรงอยู่ในพระกายของพระองค์” โคโลสี 2:9)?

จดหมายถึงชาวฮีบรูเขียนโดยชาวยิวถึงพี่น้องชาวยิวที่เป็นผู้เชื่อ  จะมีใครสงสัยไหมที่ชาวยิวพวกนี้เป็นผู้เชื่อในพระเจ้าเพียงองค์เดียวอย่างแน่วแน่?  แม้แต่ไฟโลซึ่งเป็นชาวยิวผู้มีความเป็นกรีกที่ชุ่มโชกในปรัชญากรีก ก็เป็นผู้เชื่อในพระเจ้าเพียงองค์เดียวอย่างแน่วแน่  มันจึงขัดกับเหตุผลที่จะเป็นความเชื่อในตรีเอกานุภาพแต่เดิมจากฮีบรูบทที่ 1

      ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าผู้เขียนถึงชาวฮีบรูผู้ชุ่มโชกในพระคัมภีร์ฮีบรู ทราบดีว่าข้อจากพระคัมภีร์เดิมที่เขากำลังยกอ้างมานั้นอ้างถึงพระยาห์เวห์  แล้วทำไมเขาจะอ้างอิงข้อเหล่านี้ว่าเกี่ยวกับพระบุตรล่ะ?

      ผู้เขียนถึงชาวฮีบรูคิดว่าพระบุตรเป็นพระยาห์เวห์เองไหม?  ถ้าเขาคิดเช่นนั้น พระยาห์เวห์ก็จะเป็น “บุตรหัวปี” ที่ถูกนำ “เข้ามาในโลก” (ฮีบรู 1:6)![48]  คำตอบนี้ใช้ไม่ได้  ปัญหาในการถามของเราอยู่ในวิธีที่เรากำหนดกรอบคำถามของเรา นั่นก็คือ ด้วยข้อสันนิษฐานว่าข้อเหล่านี้จากพระคัมภีร์เดิมที่อ้างอิงในฮีบรูนั้นใช้กับพระบุตร มากกว่าจะใช้กับการเสด็จมา หรือการปรากฏพระองค์ หรือการสำแดงของพระองค์ในโลกนี้  ข้อเหล่านี้จากพระคัมภีร์เดิมที่ยกอ้างในฮีบรูนั้นใช้กับการเสด็จมาของพระบุตร นั่นก็คือ กับการที่พระองค์ได้ทรง “ถูกนำเข้ามาในโลก” (ฮีบรู 1:6)  และการเข้ามาในโลกของพระบุตรก็เกี่ยวข้องกับการเสด็จเข้ามาของพระเจ้าในโลกนี้ด้วย  ด้วยความเข้าใจเช่นนี้เท่านั้นที่ความเข้าใจต่อเนื่องหรือความเชื่อมโยงของข้อในพระคัมภีร์เดิมเกี่ยวกับพระยาห์เวห์จึงจะสมเหตุสมผลในหนังสือฮีบรู  ดังนั้นเราก็จะเห็นว่าฮีบรูบทที่ 1 ตอกย้ำถ้อยคำที่ได้ประกาศในคำขึ้นต้นของยอห์นว่า พระเจ้าได้เสด็จเข้ามาในโลกและได้สถิตในพระเยซู

จากแนวความคิดที่ปรากฏในฮีบรูบทที่ 1 นั้นเห็นชัดเจนว่า ถ้าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้า ความต่อเนื่องทั้งหมดของคำอ้างอิงจากพระคัมภีร์เดิมจะเกินจำเป็น เพราะคำอ้างอิงเหล่านั้นจะทำให้คำกล่าวเหล่านั้นชัดเจนในตัวเอง  ถ้าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้า มันก็ชัดเจนโดยไม่ต้องกล่าวว่าราชบัลลังก์ของพระองค์จะ “ดำรงอยู่เป็นนิตย์” (ข้อ 8) และพระองค์ทรงยิ่งใหญ่กว่าทูตสวรรค์ อันที่จริง ความเชื่อในตรีเอกานุภาพเผชิญกับปัญหาที่แก้ไม่ออก คือที่พระเยซูผู้ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระเจ้าได้ทรงถูกทำให้ต่ำกว่าพวกทูตสวรรค์ (2:9)[49] แล้วก็ทรง “มาเป็น” ผู้ที่ยิ่งใหญ่กว่าพวกทูตสวรรค์ (1:4)[50] ซึ่งหมายความว่าก่อนหน้านี้ทรงต่ำกว่า  ด้วยเหตุผลที่คล้ายคลึงกันนี้ มันจึงเป็นปัญหาที่จะกล่าวว่า พระเยซูที่เป็นพระเจ้านั้นทรง “ได้รับ” พระนามที่ประเสริฐกว่านามของพวกทูตสวรรค์ (ข้อ 4)  ฮีบรูบทที่ 1 ซึ่งไม่ได้สนับสนุนความคิดของความเชื่อในตรีเอกานุภาพเกี่ยวกับ “พระเจ้าพระบุตร” เลยนั้น ได้ทำให้แนวคิดเกี่ยวกับ “พระเจ้าพระบุตร” อ่อนลงอย่างได้ผล

      แต่ถ้าพระเยซูพระบุตรของพระเจ้า เป็นมนุษย์ที่แท้จริงเหมือนมนุษย์คนอื่นๆ ทุกสิ่งที่เขียนไว้เกี่ยวกับพระองค์ในฮีบรูบทที่ 1 ก็จะมีความสำคัญสูงสุด  มันเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ใจอย่างยิ่งที่พระยาห์เวห์จะทรงยกย่องมนุษย์ให้มีศักดิ์ศรีสูงสุด  มนุษย์ที่ต้องตายถูกทำให้ไม่ตาย และของประทานแห่งชีวิตนิรันดร์ได้ประทานให้แก่ทุกคนที่อยู่ในพระคริสต์  “เพราะว่าสิ่งที่เสื่อมสลายได้นี้ต้องสวมด้วยสิ่งที่เสื่อมสลายไม่ได้ และสภาพที่ต้องตายนี้ต้องสวมด้วยสภาพที่ไม่ตาย” (1 โครินธ์ 15:53)  ประชากรของพระเจ้า ผู้เป็นธรรมิกชน จะได้ครองร่วมกับพระคริสต์ในศักดิ์ศรีและฤทธิ์อำนาจ

 

ราชอาณาจักรกับราชอำนาจ และความยิ่งใหญ่แห่งบรรดาราชอาณาจักรภายใต้สวรรค์ทั้งสิ้น จะต้องถูกมอบไว้แก่บรรดาผู้บริสุทธิ์ คือประชากรขององค์ผู้สูงสุดนั้น แผ่นดินของท่านเหล่านี้จะเป็นแผ่นดิน   นิรันดร์ และราชอาณาจักรทั้งสิ้นจะปรนนิบัติและเชื่อฟังท่านเหล่านี้  (ดาเนียล 7:27; เปรียบเทียบวิวรณ์ 1:6; 5:10)

 

      พระพรอันยิ่งใหญ่ที่ประทานให้กับพระเยซู กษัตริย์ผู้เป็นพระเมสสิยาห์[51] จะถูกแบ่งปันให้กับประชากรของพระองค์  พระเยซูทรงเป็นศีรษะของร่างกาย และพระพรที่เทลงบนศีรษะนั้นก็เพื่อประโยชน์ของร่างกายเช่นกัน  นั่นเป็นความรักที่ไม่มีขอบเขตและพระทัยที่กว้างของพระเจ้าซึ่งมอบให้กับมนุษย์ในพระคริสต์  ที่จริงแล้วหนังสือฮีบรูเขียนถึงความเป็นมนุษย์ของพระเยซูมากกว่าจดหมายใดๆในพระคัมภีร์ใหม่

      การที่พระเยซูทรงถูกยกย่องในสวรรคสถานให้ “สูงส่งเหนือกว่าทุกภูตผีที่ครอบครอง ทุกภูตผีที่มีอำนาจ ทุกภูตผีที่มีฤทธิ์เดชและทุกภูตผีที่ปกครอง และเหนือกว่านามทั้งหมดที่ถูกกล่าวถึง” (เอเฟซัส 1:21) และการที่พระเยซูประทับที่ “เบื้องขวา​​ของพระเจ้าสูงสุด” (ฮีบรู 1:3) นั้น บางคนอาจคิดว่าขณะนี้พระเยซูทรงอยู่ไกลเกินเอื้อมจากมวลมนุษย์ในสถานการณ์ที่น่าสงสารและแร้นแค้นของพวกเขา  กระนั้นก็ดี พระเจ้าและพระเยซูคริสต์พระบุตรของพระองค์ก็ให้มีเราอยู่ในความตั้งพระทัยของพระองค์ โดยทรงขยายพระพรนิรันดร์ในพระคริสต์มาถึงเรา รวมถึงเรื่องของชีวิตนิรันดร์!

 

ฮีบรู 2: การไตร่ตรองฝ่ายวิญญาณ

      แม้ว่าเสาหลักที่สามของความเชื่อในตรีเอกานุภาพก็คือฮีบรูบทที่ 1 แต่เราจะกล่าวถึงสองสามสิ่งเกี่ยวกับบทที่ 2 ด้วยการไตร่ตรองในฝ่ายวิญญาณ บทนี้ก็เหมือนกับบทที่ 1 ที่จะให้เห็นความต่อเนื่องกันของข้อในพระคัมภีร์เดิมที่ตอกย้ำอย่างชัดเจนถึงความเป็นมนุษย์ของพระเยซู

 

ฮีบรู 2:6มีคนกล่าวเป็นพยานในบางแห่งว่า “มนุษย์เป็นใครเล่าที่พระองค์ทรงระลึกถึงเขา

หรือบุตรมนุษย์เป็นใครเล่าที่พระองค์ทรงห่วงใยเขา?

 

      เราจะเห็นฐานะที่สำคัญของมนุษย์ในแผนการนิรันดร์และการมองของพระเจ้าอีก  ฮีบรู 2:6 เป็นการอ้างอิงจากข้อพระคัมภีร์เดิมหลายข้อ

 

สดุดี 8:4 ...มนุษย์เป็นผู้ใดเล่า ที่พระองค์ทรงระลึกถึงเขา? และบุตรของมนุษย์เป็นใครเล่า

ที่พระองค์ทรงห่วงใยเขา?

สดุดี 144:3 ข้าแต่พระยาห์เวห์ มนุษย์เป็นอะไรเล่า ที่พระองค์เอาพระทัยใส่เขา?

หรือบุตรของมนุษย์เป็นอะไรเล่า ที่พระองค์ทรงคิดถึงเขา?

                โยบ 7:17  มนุษย์เป็นผู้ใดเล่า พระองค์จึงทรงถือว่าเขาสำคัญนัก และเป็นผู้ที่พระองค์ใส่พระทัย

      ฮีบรูกล่าวต่อไปดังนี้

ฮีบรู 2:7-8 พระ​องค์​ทรง​ทำ​ให้​เขา​ต่ำ​กว่า​เหล่าทูต​สวรรค์​เพียง​ชั่ว​ระยะ​หนึ่ง ​พระ​องค์ได้​ทรง

​สวม​มงกุฎ​แห่ง​ศักดิ์ศรี​และ​เกียรติ​ให้​แก่​เขา​​​​​ทรง​ทำ​ให้​ทุก​สิ่ง​อยู่​ใต้​ฝ่า​เท้า​ของ​เขา (ฉบับ ESV)

 

      ต่อไปนี้คือข้อความอ้างอิงจากสดุดี 8:5-6 ที่เราเห็นบางอย่างเด่นชัดเมื่ออ้างอิงจากฉบับ NASB และ NIV (โปรดสังเกตตัวเอียง)

 

ฉบับ NASB แต่พระองค์ได้ทรงสร้างเขาให้ต่ำกว่าพระเจ้าแต่หน่อยเดียว และทรงสวมศักดิ์ศรีกับความยิ่งใหญ่ให้แก่เขา! พระองค์ทรงให้เขาปกครองผลงานจากพระหัตถ์ของพระองค์ พระองค์ได้ทรงให้ทุกสิ่งอยู่ใต้ฝ่าเท้าของเขา

ฉบับ NIV พระองค์ได้ทรงสร้างพวกเขาให้ต่ำกว่าบรรดาทูตสวรรค์แต่หน่อยเดียว และทรงสวมศักดิ์ศรีและเกียรติให้แก่พวกเขา  พระองค์ทรงตั้งพวกเขาให้ปกครองผลงานจากพระหัตถ์ของพระองค์ พระองค์ทรงให้ทุกสิ่งอยู่ใต้เท้าของพวกเขา

 

      การแปลของสองฉบับนี้แตกต่างกันอย่างน่าตกใจในประโยคส่วนแรกว่า “พระองค์ได้ทรงสร้างเขาให้ต่ำกว่าพระเจ้าแต่หน่อยเดียว” (ฉบับ NASB) กับ “พระองค์ได้ทรงสร้างพวกเขาให้ต่ำกว่าบรรดาทูตสวรรค์แต่หน่อยเดียว” (ฉบับ NIV)  ความไม่ตรงกันนี้เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่า ในสดุดี 8:5 พระคัมภีร์ฮีบรูใช้คำ Elohim (พระเจ้า) ในขณะที่พระคัมภีร์ภาษากรีกฉบับ LXX ใช้คำ angelos (ทูตสวรรค์ หรือ ผู้สื่อสาร)

      สองข้อถัดมาในฮีบรูก็กล่าวย้ำจุดที่พระเยซูทรงถูกทำให้ต่ำกว่าเหล่าทูตสวรรค์เพียงชั่วระยะหนึ่ง

 

ฮีบรู 2:8-9 ขณะนี้เรายังไม่เห็นว่าทุกสิ่งอยู่ใต้อำนาจของเขา  แต่เรา​​เห็นว่าพระองค์ผู้ทรงถูกทำให้ต่ำกว่าพวกทูตสวรรค์เพียงชั่วระยะหนึ่ง ซึ่งก็คือพระเยซูนั้น ทรงได้รับพระสิริและพระเกียรติเป็นมงกุฎ เพราะการสิ้นพระชนม์ด้วยความทุกข์ทรมาน.... (ฉบับ ESV)

 

      ในข้อที่อ้างอิงทั้งหมดนี้ เราไม่ได้เห็นแต่เฉพาะการมุ่งความสนใจไปที่มนุษย์เท่านั้น แต่ยังเห็นข้อเท็จจริงด้วยว่า ผู้เขียนถึงชาวฮีบรูยอมรับว่าพระเยซูทรงเป็นมนุษย์ (“มนุษย์เป็นใครเล่าที่พระองค์ทรงระลึกถึงเขา หรือบุตรมนุษย์เป็นใครเล่าที่พระองค์ทรงห่วงใยเขา?”) โดยไม่ให้คำอธิบายหรือบอกความประสงค์ไว้ และไม่มีคำพูดเป็นนัยที่อ้างถึงความเป็นพระเจ้าหรือการดำรงอยู่ก่อนแต่อย่างใด

      ข้อถัดมาในฮีบรู 2:10 ทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างพระองค์ผู้ทรงให้ทุกสิ่งดำรงอยู่ (พระเจ้า) กับพระองคผู้ที่ถูกทำให้สมบูรณ์ด้วยความทุกข์ทรมาน (พระเยซู)  ทั้งสองเป็นสองบุคคลที่แตกต่างกันโดยที่บุคคลแรกเป็นผู้ทำให้บุคคลหลังสมบูรณ์

 

เป็นการเหมาะสมแล้วที่พระองค์ (พระเจ้า) ผู้ซึ่งทุกสิ่งดำรงอยู่เพื่อพระองค์และโดยพระองค์ ทรงนำบุตรจำนวนมากไปสู่ศักดิ์ศรีนั้น จะทรงทำให้ผู้เบิกทางสู่ความรอดของพวกเขา (พระเยซู) สมบูรณ์โดยความทุกข์ทรมาน (ฮีบรู 2:10)

 

      สี่ข้อต่อมา ฮีบรู 2:11-14 มีถ้อยคำที่เด่นชัด

 

ฮีบรู 2:11 เพราะที่จริงแล้ว ทั้งผู้ที่ทำให้บริสุทธิ์และคนเหล่านั้นที่ถูกทำให้บริสุทธิ์ ก็มาจากพระองค์   (พระเจ้า) ​​เดียวกัน  สิ่งนี้อธิบายว่าทำไมพระเยซูจึงไม่ทรงละอายที่จะเห็นว่าพวกเขาเหล่านั้นเป็นพี่น้อง (ฉบับ ITNT)[52]

ฮีบรู 2:12 “เราจะประกาศพระนามของพระองค์แก่พี่น้องของเรา เราจะร้องเพลงสรรเสริญพระองค์ท่ามกลางชุมนุมชน(ฉบับ ITNT)

 ​

ฮีบรู 2:13 และ “เราเองจะไว้วางใจในพระองค์”  แล้วยังตรัสอีกว่า “ดูเถิด ตัวเรากับบรรดาบุตรที่ พระเจ้าประทานแก่เรา(ฉบับ ESV)

ฮีบรู 2:14 เพราะในเมื่อบุตรทั้งหลายมีส่วนในเนื้อและเลือด​​เช่นไร พระองค์เองก็ทรงมีส่วนเช่นนั้นด้วยช่นกัน(ฉบับ ESV)

 

      ข้อแรกของข้อเหล่านี้คือฮีบรู 2:11 กล่าวว่าผู้ที่ทำให้บริสุทธิ์ (พระเยซู) และคนทั้งหลายที่ได้ถูกทำให้บริสุทธิ์ (บรรดาผู้เชื่อ) ก็มาจากพระเจ้าองค์เดียวกัน  พระเยซูผู้สมบูรณ์แบบ ไม่ทรงละอายที่จะยอมรับผู้ที่ในเวลานี้ยังไม่สมบูรณ์แบบว่าเป็นพี่น้องของพระองค์  คำว่า “พี่น้อง” ยังปรากฏในข้อที่สองของข้อเหล่านี้คือฮีบรู 2:12 ซึ่งเป็นข้อความอ้างอิงจากสดุดี 22:22 (21:23 ในฉบับ LXX) ที่กล่าวว่า “ข้าพระองค์จะบอกเล่าพระนามของพระองค์แก่พี่น้องของข้าพระองค์ ในท่ามกลางชุมนุมชน ข้าพระองค์จะสรรเสริญพระองค์

      โดยเหตุที่พระเยซูเป็นมนุษย์ที่แท้จริง  พระองค์จึงเป็นพี่น้องของเรา  แต่บรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพกล่าวว่าพระเยซูก็ทรงเป็นพระเจ้าด้วย ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่พระเจ้าจะเป็นพี่น้องของเรา!  เนื่องจากการเชื่อมโยงแบบนี้เป็นปัญหาทางศาสนศาสตร์และเป็นปัญหายุ่งยากเฉพาะของผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพ  บรรดาผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพจึงมักจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริงจากพระคัมภีร์ว่าพระเยซูทรงเป็นพี่น้องของเรา

      ในข้อที่สี่ ฮีบรู 2:14 คำว่า “มีส่วนเช่นไร” และ “ก็มีส่วนเช่นนั้น” แปลจาก koinōneō  และ metechō ตามลำดับ ทั้งสองคำนี้ “มีความหมายแทบจะเหมือนกัน” (โมลตัน & มิลลิแกน, คำศัพท์ในพระคัมภีร์ใหม่ภาษากรีก, koinōneō)[53]  เนื่องจากพระเยซูทรงมีความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับเรา พระองค์ทรงมี “เนื้อและเลือด” ของ “บุตรทั้งหลาย” (ผู้เชื่อทั้งหลาย) ซึ่งจริงๆแล้วก็คือเนื้อหนังและเลือดของมนุษย์ทั้งหลาย

      ข้อที่สามของข้อเหล่านี้คือฮีบรู 2:13 สะท้อนให้เห็นสดุดี 16:1 ที่กล่าวว่า “ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอทรงพิทักษ์ข้าพระองค์ไว้ เพราะข้าพระองค์ลี้ภัยอยู่ในพระองค์”  ฉบับ LXX (15:1) กล่าวว่า “ข้าแต่องค์ผู้เป็นเจ้า ขอทรงปกป้องข้าพระองค์ไว้ เพราะข้าพระองค์หวังใจในพระองค์” (ANETS) ความคิดที่คล้ายคลึงกันนี้เกี่ยวกับการเข้าลี้ภัยในพระเจ้าจะเห็นได้จากสดุดี 18:2 (“พระเจ้าของข้าพระองค์ พระศิลาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ลี้ภัยอยู่ในพระองค์”); สดุดี 36:7 (“บุตรทั้งหลายของมนุษย์เข้าลี้ภัยอยู่ใต้ร่มปีกของพระองค์”); และสดุดี 91:2 (ข้าพเจ้าจะทูลพระยาห์เวห์ ผู้ทรงเป็นที่ลี้ภัยของข้าพระองค์และป้อมปราการของข้าพระองค์ พระเจ้าของข้าพระองค์ ผู้ที่ข้าพระองค์ไว้วางใจ”)  ทำไมหนังสือฮีบรูจึงอ้างถึงคำกล่าวเหล่านี้ในสดุดี ถ้าไม่ใช่เพื่อจะแสดงให้เห็นว่าพระเยซูทรงมีความไว้วางใจในพระเจ้าเหมือนที่ “บุตรทั้งหลาย” ไว้วางใจ (เหล่าสาวกของพระองค์, เปรียบเทียบอิสยาห์ 8:18)?

      นอกจากนี้ยังมีอิสยาห์ 12:2 (“พระเจ้าทรงเป็นความรอดของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะวางใจและไม่กลัว”) ซึ่งแฝงคำพูดเป็นนัยที่ใช้เยาะเย้ยพระเยซูเมื่อทรงถูกตรึงกางเขนว่า “เขาวางใจพระเจ้า ก็ขอให้พระเจ้าทรงช่วยเขาตอนนี้เถิด ถ้าพระองค์พอพระทัยในตัวเขา” (มัทธิว 27:43)  นี่คือถ้อยคำที่ไม่เป็นมิตรของผู้นำศาสนาที่ถึงอย่างไรก็ยอมรับการไว้วางใจในพระเจ้าของพระองค์ แต่สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือเหตุผลของพวกเขาที่ยอมรับความไว้วางใจในพระเจ้าของพระเยซูก็คือเพราะเขากล่าวว่าเขาเป็นพระบุตรของพระเจ้า” (ข้อ 43)[54]

      ในสมัยที่เราเป็นผู้เชื่อในตรีเอกานุภาพนั้น เราเข้าใจการอ้างตัวว่าเป็นพระบุตรของพระเจ้าก็คือการอ้างตัวว่าเป็นพระเจ้า  ในพระกิตติคุณยอห์นบางคนใช้การเชื่อมโยงที่ไม่มีมูลความจริงนี้เพื่อขว้างปาและกล่าวหาพระเยซู (ยอห์น 10:33-36; 19:7)[55]  แต่ก็น่าแปลกใจหรืออาจจะไม่แปลกใจก็คือ บรรดาผู้นำของอิสราเอลไม่รู้ถึงความเชื่อมโยงนั้น (ดังที่เราจะเห็นในบทต่อๆไป) แต่เข้าใจการอ้างตัวในการเป็น “บุตรของพระเจ้า” ของพระเยซูว่าแสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจในพระเจ้าของพระองค์ว่าเป็นพระบิดาของพระองค์ (มัทธิว 27:43; ฮีบรู 2:13)[56]  ความเข้าใจของพวกเขาถูกต้อง เพราะพระเยซูพระบุตรของพระเจ้าเรียกพระเจ้าว่า “อับบา พระบิดา” (มาระโก 14:36)[57] เหมือนเด็กที่ไว้วางใจในบิดาของเขา  พระเยซูทรงสอนเหล่าสาวกของพระองค์ให้เรียกพระเจ้าว่าพระบิดา และไว้วางใจในพระองค์อย่างทั้งหมดเหมือนที่พระองค์ได้ทรงไว้วางใจ


[1] Hebrews 1:2  “in these last days he has spoken to us by his1 Son, whom he ap­pointed the2 heir of all things, through whom also he created3 the world4.”  (ESV)

[2] คำพหูพจน์ของ aiōn (“ยุค”), พจนานุกรมภาษากรีก-อังกฤษของเธเยอร์ให้ความคิดเห็นที่งดงามว่า “พหูพจน์แสดงถึงยุคต่างๆที่เป็นเอกเทศโดยมีผลสรุปคือความนิรันดร์กาล”

[3] ภาษาจีนก็ทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างคำว่า “ทำขึ้น” ( หรือ หรือ 制造) กับ “สร้างขึ้น” (创造)

[4] ดังที่เห็นในพระคัมภีร์ใหม่ภาษากรีก-อังกฤษฉบับอินเทอร์ลิเนียร์ของมาร์แชล ซึ่งให้คำแปลตรงตัวว่า “ยุคต่างๆ” มากกว่า “โลก” เช่นเดียวกับฉบับอินเทอร์ลิเนียร์โดยบราวน์/คอมฟอร์ต

[5] 2 ยอห์น 1:2  “เพราะเห็นแก่ความจริงที่อยู่ในเราทั้งหลาย และซึ่งจะดำรงอยู่กับเราเป็นนิตย์”

[6] American Heritage Dictionary

[7] the unabridged 1973 edition of the standard Liddell-Scott-Jones (LSJ)

[8] ฮีบรู 11:3 “โดยความเชื่อ เราจึงเข้าใจว่า พระเจ้าได้ทรงสร้างยุค ด้วยพระดำรัสจากพระองค์ ดังนั้นสิ่งที่มองไม่เห็นจึงปรากฏให้เห็น” (ฉบับนิวเยรูซาเล็ม) ฉบับมาตรฐาน 2011 แปลว่า “โดยความเชื่อ เราจึงเข้าใจว่า พระเจ้าได้ทรงสร้างจักรวาล (ผู้แปล)

[9] 1 ทิโมธี 1:17  “พระมหากษัตริย์ของยุคต่างๆ ผู้เป็นองค์อมตะ และไม่ทรงปรากฏแก่ตา ผู้เป็นพระเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ขอพระเกียรติและพระสิริจงมีแด่พระองค์ในยุคต่างๆสืบๆไป อาเมน” (แปลจากต้นฉบับภาษากรีก)

[10] ฮีบรู 6:5 “และได้ชิมความดีงามแห่งพระวจนะของพระเจ้า และฤทธิ์เดชแห่งยุคที่จะถึงนั้น”

[11] ฮีบรู 8:7-8  7เพราะว่าถ้าพันธสัญญาเดิมนั้นไม่มีข้อบกพร่องแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีพันธสัญญาที่สองอีก 8ด้วยว่าพระเจ้าตรัสติเขาว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า ดูเถิด วันหนึ่งข้างหน้าเราจะทำพันธสัญญาใหม่กับชนชาติอิสราเอล และชาติยูดาห์

[12] ฮีบรู 7:22 ข้อนี้กระทำให้พันธสัญญาที่พระเยซูทรงรับประกันนั้น ดีกว่าพันธสัญญาเก่าสักเพียงใด

[13] ฮีบรู 13:20 “ขอพระเจ้าแห่งสันติสุข ผู้ทรงบันดาลให้พระเยซูเจ้าของเราเป็นขึ้นมาจากความตาย คือผู้ทรงเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดีเลิศ  โดยโลหิตแห่งพันธสัญญานิรันดร์

[14] ความเชื่อมโยงระหว่างฮีบรู 1:2 กับกิจการ 2:22 เห็นได้จากการเปรียบเทียบ δι᾽ οὗ καὶ ἐποίησεν τοὺς αἰῶνας (“โดยทางผู้ที่พระองค์ได้ทรงทำให้มียุคต่างๆขึ้น”) ในฮีบรู 1:2 กับ δυνάμεσι καὶ τέρασι καὶ σημείοις οἷς ἐποίησεν δι᾽ αὐτοῦ ὁ θεὸς (“การอิทธิฤทธิ์ การอัศจรรย์และหมายสำคัญต่างๆที่พระเจ้าได้ทรงทำโดยทางพระบุตร”) ในกิจการ 2:22 ให้สังเกตถ้อยคำตรงกันที่เป็นตัวหนา

[15] ในฮีบรู 1:2 (“โดยผู้ที่พระองค์ได้ทรงทำให้มียุคต่างๆขึ้น” ฉบับ NJB) คำกรีกของคำว่า “ทำให้มีขึ้น” คือ poieō (ποιέω)  ตรงนี้ไม่ได้หมายถึง “ได้สร้างโลก” (ฉบับ ESV) แต่หมายถึง “ทำให้มี (กำหนด, แต่งตั้ง) ยุคต่างๆขึ้น”  ความหมายของการแต่งตั้งในคำ poieō จะเห็นได้ในฮีบรู 3:2 (“ผู้ได้ทรงแต่งตั้งพระองค์ไว้”); กิจการ 2:36 (“พระเจ้าได้ทรงแต่งตั้งพระเยซูให้เป็นทั้งองค์ผู้เป็นเจ้าและเป็นพระคริสต์”); วิวรณ์ 5:10 (“พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งให้พวกเขาเป็นอาณาจักรและเป็นปุโรหิตของพระเจ้าของเรา”); มาระโก 3:14 (“พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งคนสิบสองคน”) และข้ออื่นๆ

[16] ทรงเป็นเหมือนพระเจ้าทุกประการ” (ฉบับอมตรรมร่วมสมัย) และ “ทรงมีสภาวะเป็นพิมพ์เดียวกันกับพระองค์” (ฉบับ ESV)

[17] จะกล่าวถึงเรื่องนี้อย่างครบถ้วนมากขึ้นในบทที่ 10 ของหนังสือเล่มนี้

[18] ในฉบับ LXX นั้น pherō ใช้กับโมเสสที่เป็นผู้ “แบก” ชนอิสราเอล ตัวอย่างเช่น กันดารวิถี 11:14 (“ข้าพระองค์ไม่สามารถแบกคนเหล่านี้แต่ลำพัง” เปรียบเทียบข้อ 11, 17) และเฉลยธรรมบัญญัติ 1:9 (“ข้าพเจ้าคนเดียวแบกพวกท่าน [คนอิสราเอล] ไม่ไหว”)

[19] ฟีลิปปี 2:9 “เพราะฉะนั้นพระเจ้าจึงทรงยกพระองค์ขึ้นสูงสุด และประทานพระนามเหนือนามทั้งหมดแก่พระองค์”

[20] กิจการ 10:36 “เรื่องที่พระองค์ทรงฝากไว้กับพวกอิสราเอลคือการประกาศข่าวประเสริฐเรื่องสันติสุขโดยทางพระเยซูคริสต์ผู้เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าเหนือคนทั้งหลาย

[21] 1 โครินธ์ 15:27 เพราะว่า “พระเจ้าทรงให้ทุกสิ่งอยู่ใต้อำนาจภายใต้พระบาทของพระบุตร” แต่เมื่อพระคัมภีร์กล่าวว่าทรงให้ทุกสิ่งอยู่ใต้อำนาจนั้น ก็รู้ชัดกันอยู่แล้วว่า ยกเว้นพระเจ้าผู้ทรงให้ทุกสิ่งอยู่ใต้อำนาจพระองค์

[22] ในฮีบรู 8:1 “เรามีมหาปุโรหิตอย่างนี้เอง ผู้​ได้ประ​ทับ​เบื้อง​ขวา​พระ​ที่​นั่ง​แห่งผู้ทรงเดชานุภาพ​ในฟ้า​สวรรค์” (ฉบับไทยคิงเจมส์)

[23] ในการแปลเฉลยธรรมบัญญัติ 32:43 พระคัมภีร์บางฉบับ (ESV, NJB, NRSV) จะตามฉบับ LXX และบางฉบับ (NASB, HCSB, NIV) จะตามพระคัมภีร์ฮีบรู

[24] ฉบับแปลนิวอิงลิชจากฉบับเซปทัวจินต์ เป็นการแปลเชิงวิชาการของฉบับวิจารณ์ที่สำคัญจากฉบับภาษากรีก LXX, the Göttingen Septuaginta editio maior)

[25] นั่นเป็นเพราะสดุดี 97 (สดุดี 96 ในฉบับ LXX) กล่าวถึงพระยาห์เวห์ถึงหกครั้ง (ข้อ 1, 5, 8, 9, 10, 12)  ส่วนเฉลยธรรมบัญญัติ 32:43 จะพบคำอ้างอิงถึงพระยาห์เวห์ในสองสามข้อก่อนหน้า

[26] New Jerusalem Bible (NJB), Revised English Bible (REB)The Idiomatic Translation of the New Testament (ITNT)

[27] Clarke’s Commentary

[28] มัทธิว 2:11 “เมื่อเข้าไปในบ้านก็พบพระกุมารกับนางมารีย์มารดา จึงก้มลงนมัสการพระกุมารนั้น แล้วเปิดหีบสมบัติของพวกเขาและถวายเครื่องบรรณาการแด่พระกุมาร คือ ทองคำ กำยาน และมดยอบ”

[29] ยอห์น 17:3 “และนี่แหละคือชีวิตนิรันดร์ คือการที่พวกเขารู้จักพระองค์ ผู้ทรงเป็นพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียว และรู้จักพระเยซูคริสต์ที่พระองค์ทรงใช้มา”

[30] สดุดี 45:2 พระองค์ท่านงามเลิศยิ่งกว่าบุตรทั้งหลายของมนุษย์ พระคุณหลั่งลงบนริมฝีปากของพระองค์ท่าน” (ฉบับไทยคิงเจมส์)

[31] หรือ “พวกท่านเป็นพระเจ้า” และ “เจ้าทั้งหลายเป็นพระเจ้า” (“You are gods”)

[32] Dr. Constable’s Exposi­tory Notes, on Psalm 45:6

[33] อิสยาห์ 9:6 ด้วยมีเด็กคนหนึ่งเกิดมาเพื่อเรา มีบุตรชายคนหนึ่งประทานมาให้เรา และการปกครองจะอยู่บนบ่าของท่าน และเขาจะขนานนามของท่านว่า “ที่ปรึกษามหัศจรรย์ พระเจ้าผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ พระบิดานิรันดร์ และองค์สันติราช”

[34] Zondervan Illustrated Bible Backgrounds Commentary: Old Testament, vol.5, Psalm 45:6

[35] Zondervan Bible Commentary, F.F. Bruce ed., on Psalm 45:6

[36] Elohim,” “gods”;  John Calvin’s Comment­ary, on Psalm 45:6

[37] อพยพ21:6 ให้นายพาทาสนั้นไปเข้าเฝ้าพระเจ้า (หรือ “ผู้พิพากษา” ในฉบับไทยคิงเจมส์) ผู้แปล

[38] Understanding the Bible Commentary, Psalm 45:6

[39] ฮีบรู 2:7 “พระองค์ทรงทำให้เขาต่ำกว่าเหล่าทูตสวรรค์ชั่วระยะหนึ่ง และพระองค์ทรงสวมมงกุฎแห่งศักดิ์ศรีและเกียรติให้แก่เขา”

   ฮีบรู 1:9  “พระเจ้า ซึ่งเป็นพระเจ้าของพระองค์ ทรงเจิมพระองค์ไว้ด้วยน้ำมันแห่งความยินดี เหนือบรรดาพระสหายของพระองค์”

[40] ยอห์น 12:34 ฝูงชนจึงทูลพระองค์ว่า “เราทราบจากธรรมบัญญัติว่า พระคริสต์จะอยู่เป็นนิตย์

[41] อพยพ 4:16 “เขาจะพูดกับประชาชนแทนเจ้า เขาจะเป็นเหมือนปากของเจ้า ส่วนเจ้าจะเป็นเหมือนพระเจ้าสำหรับเขา” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย) และ อพยพ 7:1 พระยาห์เวห์จึงตรัสกับโมเสสว่า “ดูสิ เราตั้งเจ้าไว้เป็นดังพระเจ้าต่อฟาโรห์

[42] คโลสี 1:15 “พระคริสต์ทรงเป็นพระฉายาของพระเจ้าผู้ไม่ทรงปรากฏแก่ตา ทรงเป็นบุตรหัวปีเหนือทุกสิ่งที่ทรงสร้าง”

[43] Michael Servetus, Craig Broyles, Robert Alter, Peter Craig­ie, Father Mitchell Dahood

[44] สดุดี 45:2 “พระองค์ท่านงามเลิศยิ่งกว่าบุตรทั้งหลายของมนุษย์ พระคุณหลั่งลงบนริมฝีปากของพระองค์ท่าน เพราะฉะนั้นพระเจ้าทรงอำนวยพระพรพระองค์ท่านตลอดกาล” (ฉบับไทยคิงเจมส์)

[45] Christopher M. Tuckett, Christology and the New Testament, pp.96-97

[46] อิสยาห์ 42:5 พระยาห์เวห์พระเจ้า ผู้ทรงสร้างฟ้าสวรรค์และทรงขึงมันไว้ ผู้ทรงแผ่แผ่นดินโลกและสิ่งที่บังเกิดออกมาจากโลก ผู้ประทานลมหายใจแก่ประชาชนบนโลก และประทานวิญญาณแก่ผู้ดำเนินอยู่บนโลก ตรัสว่า”

[47] สดุดี 102:25 “ในกาลก่อนพระองค์ทรงวางรากฐานของแผ่นดินโลก และฟ้าสวรรค์เป็นผลงานแห่งพระหัตถ์ของพระองค์  สิ่งเหล่านี้จะพินาศ แต่พระองค์จะทรงดำรงอยู่ สิ่งเหล่านี้จะเก่าไปเหมือนเครื่องนุ่งห่ม  พระองค์ทรงเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้เหมือนเสื้อผ้า แล้วมันก็สิ้นไป ​ ​​​​แต่พระองค์ทรงเหมือนเดิม และปีเดือนของพระองค์ไม่มีที่สิ้นสุด

[48] ฮีบรู 1:6 เมื่อพระองค์ทรงนำพระบุตรหัวปีนั้นเข้ามาในโลก ก็ตรัสว่า “ให้ทูตสวรรค์ทั้งหมดของพระเจ้ากราบนมัสการ*พระบุตร”

[49] ฮีบรู 2:9 แต่เราก็เห็นว่าพระเยซู ผู้ทรงถูกทำให้ต่ำกว่าพวกทูตสวรรค์เพียงชั่วระยะหนึ่งนั้น ทรงได้รับพระสิริและพระเกียรติเป็นมงกุฎ เพราะพระองค์สิ้นพระชนม์ด้วยความทุกข์ทรมาน ทั้งนี้โดยพระคุณของพระเจ้า พระองค์จึงได้วายพระชนม์เพื่อทุกคน

[50] ฮีบรู 1:4 “พระองค์ทรงมาเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่กว่าพวกทูตสวรรค์มากนัก เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงได้รับพระนามที่ประเสริฐกว่านามของพวกทูตสวรรค์

[51] เมสสิยาห์ หมายถึงผู้ที่ถูกเจิมไว้ หรือหมายถึง “พระคริสต์” (ผู้แปล)

[52] ฮีบรู 2:11 “เพราะทั้งผู้ชำระให้บริสุทธิ์และคนเหล่านั้นที่ได้รับการชำระ ก็มีพระบิดาองค์เดียวกัน ด้วยเหตุนี้ พระเยซูจึงไม่ทรงละอายที่จะเรียกเขาเหล่านั้นว่าพี่น้อง”

[53] share” and  “partook; Moulton & Mill­igan, Vocabulary of the Greek NT, koinō­neō

[54] มัทธิว 27:43 “เขาวางใจพระเจ้า ถ้าพระองค์พอพระทัย​​ก็ขอให้​​ช่วยเขาเดี๋ยวนี้เถิด เพราะเขากล่าวว่าเขาเป็นพระบุตรของพระเจ้า

[55] ยอห์น 19:7 พวกยิวตอบท่านว่า “เรามีกฎหมาย และตามกฎหมายนั้นเขาสมควรตาย เพราะเขาตั้งตัวเป็นพระบุตรของพระเจ้า”

[56] ฮีบรู 2:13 “เราเองจะไว้วางใจในพระองค์ท่าน ทั้งยังตรัสอีกว่า ตัวเรากับบรรดาบุตรที่พระเจ้าประทานแก่เราอยู่นี่แล้ว”

[57] มาระโก 14:36 พระองค์ทูลว่า “อับบา (พ่อ) ทุกสิ่งเป็นได้สำหรับพระองค์ ขอโปรดให้ถ้วยนี้เลื่อนพ้นไปจากข้าพระองค์เถิด”